Readability

ถ้ายังจำกันได้ เมื่อครั้งที่ Safari 5 ออกและมีฟีเจอร์ช่วยจัดหน้าข้อความชื่อ Safari Reader โค้ดส่วนนี้เอามาจากโปรแกรม Readability ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส

ภายหลัง Readability ได้ปรับธุรกิจของตัวเอง โดยสร้างแอพบน iPad/iPhone แบบเก็บค่าสมาชิก และอาศัยจุดขายว่าผู้ใช้แอพตัวนี้ "ชอบอ่าน" เนื้อความที่เป็นข้อความ จูงใจให้สำนักพิมพ์และเจ้าของเนื้อหาส่งเนื้อหาเข้ามาเผยแพร่ โดยคิดค่าหัวคิว 30% จากค่าสมาชิก

แต่เมื่อแอปเปิลสร้างบริการสมัครสมาชิกของตัวเอง และคิดค่าหัวคิว 30% จนเจ้าของแอพบางรายอย่าง Real Rhapsody ต้องออกมาโวยวาย ทาง Readability ก็ได้รับผลกระทบจากนโยบายนี้เช่นกัน และล่าสุดออกมาโวยบ้างแล้ว

สถานการณ์ที่เกิดขึ้นคือแอพ Readability โดนปฏิเสธจาก App Store โดยแอปเปิลให้เหตุผลว่าแอพนี้ใช้ระบบการสมัครสมาชิกแบบอื่นที่ไม่ใช่ in-app purchase ของแอปเปิลเอง ทำให้ Readability ไม่พอใจและเขียน "จดหมายเปิดผนึก" บนบล็อกของตัวเอง

Readability บอกว่าการหัก 30% ของแอปเปิลจะทำให้แอพนี้อยู่ไม่ได้ และโจมตีนโยบายของแอปเปิลว่า "ตะกละ"

Readability ให้ความเห็นว่าแอปเปิลมีสิทธิ์ทุกประการที่จะควบคุมฮาร์ดแวร์และช่องทางจัดจำหน่ายของตัวเอง แต่การควบคุม "บริการบนเว็บ" ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ของแอปเปิลไม่ใช่เรื่องถูกต้อง และจะยิ่งผลักดันให้นักพัฒนารายเล็กถอยหนี

Readability ประกาศว่าทิศทางต่อจากนี้จะมุ่งไปบนเว็บแทน แต่ก็ทิ้งท้ายว่าถ้าแอปเปิลยอมเปลี่ยนเงื่อนไข ก็ยินดีจะส่งแอพกลับเข้า App Store ใหม่อีกครั้ง

ที่มา - Readability, The Register

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

กินบนเรือน ขี้บนหลังคา

อ่านข่าวนี้แล้วสำนวนนี้แวบขึ้นหัวมาเลย

อันนี้ผมงงนะ ถ้าสถานการณ์เปลี่ยนเป็น

ตั้งแต่ July 2011 ไมโครซอฟท์ประกาศ โปรแกรมที่รันบนแพลตฟอร์มของไมโครซอฟท์ทุกตัว ถ้ามีการชำระเงินเพื่อซื้อเนื้อหาเพื่อใช้อ่านบนวินโดว์ส จะต้องหักหัวคิวให้ไมโครซอฟท์ 30% ทุกรายไม่มีข้อยกเว้น

และจากนี้ไป บน Windows 8.75 ที่จะปล่อยมาในปีหน้า โปรแกรมใหม่ทุกตัวที่พัฒนาเพื่อทำงานบนวินโดว์สจะต้องติดต่อไมโครซอฟท์เพื่อรีวิวและขอ certificate เพื่อให้ทำงานบนวินโดว์ส 8.75

เรื่องจะเป็นไง จะโดนรุมด่า แถมตั้งสอบคดีผูกขาดรึเปล่า

คนละเรื่องแล้วครับ 30% คือค่าบริการขายของผ่าน app store ทีนี้พอมีการแจก app free แต่ต้องไปเสียเงินนอก store เพื่อซื้อ content จริงๆ มันเหมือนการเลี่ยง ต่อไปถ้าทำกันหมด app store ก็เป็นตลาดฟรี(ที่เจ้าของก็ต้องเสียค่าดำเนินการต่อไป) ผมเห็นว่ากรณีนี้ไม่ควรใช้กับพวก service แต่พวกขาย content ก็น่าจะต้องจ่ายนะ แม้คุณจะขายหนังสือ หนังสือพิมพ์ตามร้าน คุณก็ไม่ได้ 100% หรอก ถ้าคุณจะเอา 100% จากขายที่ร้านไม่มีใครให้หรอกครับ แม้แต่ขายเองก็ยังมีค่าที่ ค่าวัสดุ ค่าขนส่ง ค่าพนักงานขาย

Apple ประกาศว่า ถ้าแอพของคุณที่รันบน iOS มีการบอกรับสมาชิกในการเข้าถึงเนื้อหา เพลง, ข่าว, วิดีโอ, วารสาร จะต้องหักค่าหัวคิว 30%

ผมเลยก็เปรียบไปอีกหน่อยว่า ถ้าแอพของคุณรันบน Windows ... แล้วไมโครซอฟท์ทำแบบเดียวกัน คุณๆจะว่าอย่างไร

ไม่เหมือนกันนี่ครับ ในคอมเมนท์ข้างบนไม่ได้บอกว่า Dev สามารถให้ผู้ซื้อสามารถไปซื้อข้างนอกได้ ซึ่งนั่นก็ทำให้ Dev ไม่โดนหักหัวคิว ซึ่งไม่ใช่ว่าต้องโดนหักแน่นอน

ประเด้นคือ 30% หน้าเลือดไปไหม ไม่เกี่ยวว่าเป็น apple ครับ เป็นหมาแมวที่ไหนก็ควรที่เราจะระแวงระวังและโวยวาย

ถามก่อนว่าคุณยอมถูกปกครองโดยระบบเผด็จการไหม (close system ห้ามหือ ทุกอย่างต้องตามใจฉัน)
ถ้าบอกว่าอยู่ได้ ไม่เดือดร้อน เพราะเผด็จการแบบนี้เหมากับคุณ มันก็จบครับ

แต่นี่คือปัญหาของการผูกขาดไงครับ นั่นคือเมื่อคุณสามารถครอบครองตลาดได้เบ็ดเสร้จ คุณจะออกกฏอะไรก็ได้ เพราะให้ผู้ประกอบการอื่นๆไม่มีทางเลือก แม้มันจะดีกับผู้บริโภค (ในระยะสั้นๆ) ก็เถอะ

เห็นด้วย ว่านี่คือการมัดมือชก และเป็นการผูกขาดชัดเจน ซึ่งผมเคยบอกไปแล้วว่า 30% มันเป็นไปไม่ได้สำหรับพ่อค้าคนกลางหรือพวก Content Provider ทั้งหลาย เพราะเค้าก็ต้องจ่ายให้ผู้ผลิตอีกที ซึ่งถ้าจะขายแบบนี้จริงๆ ราคาคงจะเท่ากันหรือแพงกว่าที่ขายตามร้าน

จริงๆ Apple แก้ปัญหาง่ายนิดเดียวแค่อย่างไปผูกขาดว่าต้องจ่ายเงินผ่าน Apple แค่เป็นทางเลือกเฉยๆ ก็น่าจะดูดีกว่า ถ้ามีคุณภาพสม 30% จริง ยังไงเค้าก็ต้องเลือกอยู่แล้ว

ถ้าจะมองในแง่ดีก็คือทำไมเราต้องมีตัวกลางหลายๆต่อด้วยล่ะครับ? ในเมื่อระบบของเค้าสามารถเชื่อมโยงกลุ่มลูกค้าจำนวนมหาศาลเข้ากับสินค้าได้โดยง่ายอยู่แล้ว แถมยังครอบคลุมทั้งโลกเสียด้วย ถ้ามองในมุมมองผม Apple ก็คงอยากให้ตัดพ่อค้าคนกลางทิ้งและแบ่งกำไรกันกับผู้ผลิตก็เป็นได้ เพราะในแง่ผู้หลิตก็อาจมอง Apple เป็นพ่อค้าคนกลางซะเองได้เหมือนกัน

แต่เป็นไปไม่ได้ที่จะมีคนกลางในการขายของ ไม่งั้น App คงมีเป็นล้านแปด เช่น ถ้าจะซื้อหนังสือสำนักพิมพ์ A ก็ต้องโหลดแอป A มา ถ้าจะซื้อของสำนักพิมพ์ B ก็ต้องโหลดแอป B มาแล้วถ้าเป็นสำนักพิมพ์ที่ไม่ค่อยรู้จักล่ะ หรือเป็นสำนักพิมพ์ที่เค้าไม่มีงบพัฒนา App ล่ะถามว่าผู้ใช้จะมีทางซื้อได้ไหม? ถ้าไม่มีคนกลางเลย

ปล. แต่จริงๆ กรณีนี้ Apple อาจเป็นคนขายเองก็ได้ แต่ผมกำลังยกตัวอย่างรูปแบบการขายของที่หลายๆ กัน แล้วยิ่งถ้าเป็นพวกเว็บเกี่ยวการประมูลของยิ่งไม่ต้องคิดว่ามันจะเกิดไหม?

ในแง่มุมของหนังสือพิมพ์ปัจจุบันก็เป็นของแต่ละสำนักพิมพ์อยู่แล้วนี่ครับเพราะงั้น 1 App 1 หนังสือผมว่าก็เหมาะสมดีแล้ว หรือจะทำเป็น App ของสำนักพิมพ์ไปเลยก็ได้

อย่างน้อยๆถ้าลองดูสำนักพิมพ์บ้านเราเช่นพวก A day สยามอินเตอร์ฯ เนชั่นฯ อยากทำ E-Books ก็ต้องเป็นสำนักพิมพ์เป็นผู้ทำมากกว่าจะให้ตัวแทนจำหน่ายแบบ SE-ED หรือ ร้านนายอินทร์มาทำมากกว่าใช่ไหมล่ะครับ ผมมองว่า Apple ก็คงมองในลักษณะนี้เช่นกัน และพยายามตัดช่องทางของคนกลางซึ่งไม่มีความจำเป็นในระบบอีกต่อไปมากกว่า

และอีกมุมที่ผมมองคือ จากการเปลี่ยนหนังสือมาเป็น e-book เนี่ยยังไงซะจากสำนักพิมพ์มาถึงคนกลางเช่น Amazon เนี่ย มันก็มีการลดต้นทุนค่าผลิต,ขนส่ง,ตัวแทนจำหน่าย เช่นกัน แล้วส่วนต่างตรงนี้มันหายไปไหนหมด? แถมกลับกลายเป็นเพิ่มขึ้นอีก

อย่างราคาหนังสือ The Lord of the Rings: 50th Anniversary, One Vol. Edition by J. R. R. Tolkien

Paperback 11.23$ Kindel 16.42$

กลับกลายเป็นว่า e-book ที่ไม่มีวัตถุในโลกจริงๆ ไม่มีค่าผลิต ขนส่ง จัดจำหน่ายกลับราคาแพงกว่าซะงั้น - -"

ทางแก้สำหรับระบบนี้ง่ายๆนะผมว่าให้ Apple ทำ Template ของ App แจกให้สำนักพิมพ์เอาไปใช้งานฟรีได้เลย แค่นี้แหละจบข่าว จ้างคนไม่กี่คนมาแก้ App นิดๆหน่อยๆให้มีเอกลักษณ์ของสำนักพิมพ์ แล้วส่งเข้า App Store โลด เสร็จแล้วใครอยากอ่านหนังสืออะไรก็กดเข้าโซนหนังสือแล้วหา App ตามที่ต้องการกด Subscribe ก็เสร็จเลย

ถ้าทำได้ก็น่าจะ Win-Win แบ่งกำไรกันสบาย Apple กับสำนักพิมพ์ แต่คนกลางนอนตายอยู่ตรงนั้นเลยทีเดียว XD

ไม่ได้บังคับให้จ่ายเงินผ่าน apple หนิครับ ให้จ่ายข้างนอกได้ แต่ต้องกดซื้อผ่าน apple ได้เหมือนกัน

แต่เค้าบังคับให้ราคาในตัว apple ต้องน้อยกว่าเท่ากับราคาข้างนอก แล้วใครมันจะบ้าไปซื้อข้างนอกละจริงไหม? ถ้าเป็น app บน Windows ก็ว่าไปอย่างจะ link ไปเว็บข้างนอกก็ไม่ขัดเท่าไร แต่นี่บน iPhone คนใช้เค้าเอาสะดวกเข้าว่าอยู่แล้ว มีก็เหมือนไม่มีละแบบนี้ แถมจะทำราคาแข่งก็ไม่ได้ เพราะมีเงื่อนไขราคากดหัวอยู่อีกที

คนใช้ใช้จากอะไรก็น่าจะซื้อจากตรงนั้นถ้าวิธีซื้อไม่ยุ่งยากต่างกันมาก ถ้าคนใช้บนไอโฟนเป็นหลักแปลว่าไอโฟนทำให้คุณขายของได้คุณจะไม่แบ่งค่าร้านให้ app store หรือ ถ้าไม่มีกฏนี้เจ้าของหนังสือก็ขายได้เต็มโยที่ไม่แบ่ง apple ทั้งที่ไอโฟนไอแพดทำให้ขายของได้แบบนั้นยุติธรรมกว่าหรือ ผมไม่รวมพวก service นะเพราะเห็นด้วยว่า service ไม่ควรหัก

แต่จริงๆ ถ้าจะเก็บ 30% จริงๆ Apple ต้องมีบริการรับฝาก content ที่จะด้วยโดยวางไว้บน Cloud ของ Apple เอง โดยอาจจะเป็น file แห้งหรือเป็น web server ให้บริการก็ได้ ซึ่งแบบนั้นก็ยุติธรรมเหมือนกัน อย่างน้อยก็ดูดีกว่าอยู่ๆ ก็หักค่าขนส่งเงิน 30%

karaboon Tue, 02/22/2011 - 16:32

แค่คิด ...

นโยบายของแอปเปิ้ลนี้จะช่วยผู้สร้างแอพหรือเนื้อหาสาระเอง โดยกันหรือไล่พวกยี่ปั้ว (หรือพวกทำธุรกิจเป็นนายหน้ารับขายแอพหรือเนื้อหาสาระให้กับผู้พัฒนาหรือสร้าง) หรือเปล่าครับ?

เพราะกลุ่มผู้สร้างหรือพัฒนา แอพหรือเนื้อหาสาระเองนั้น จะไม่มีต้นทุนด้านการตลาดมากนักยิ่งเป็นบริษัทเล็ก ผิดกับกลุ่มพวกยี่ปั้วที่ต้องมีค่าการตลาดและต้นทุนอื่นๆ ที่หักจากผู้สร้างหรือพัฒนาตัวจริง ...

แต่ก็ต้องถามไปที่บริษัทเล็ก หรือ ผู้สร้างหรือพัฒนาตัวจริงว่า อยู่ได้ไหมหากถูกแอปเปิ้ลหักร้อยละ ๓๐ จากรายได้ ... ครับ

แต่ผมว่ามันก็โหดอยู่ดีละ ... ร้อยละ ๓๐ นี่
เพราะ ในมุมกลับกันหากเป็นแอปเปิ้ลโดนหักร้อยละ ๓๐ แล้วอยู่ได้ แสดงว่ากำไรสินค้าแต่ละชิ้นที่ได้มากน่าดูจริงๆ ครับ ...

ก็ไม่ต้องอยู่ ลองไม่อยู่กันเยอะๆ Apple คงรู้ตัวเองแหละ

แต่ถ้ามีคนยอมอยู่เยอะกว่าแปลว่ามันคุ้ม

จะว่าหน้าเลือดมั้ย? ผมว่าต้องดูโมเดลธุรกิจที่มาลงนะ อย่างเช่นพวกหนังสือต่างๆที่เคยเป็นวัตถุจับต้องได้ เมื่อกลายมาเป็นแบบนี้มันก็ลดขั้นตอนได้หลายอย่างตั้งแต่การผลิต,จัดส่ง,ตัวแทนจำหน่าย,หัวคิว,การควบคุมมาตราฐาน มันลดต้นทุนตรงนี้ได้เยอะ และก็น่าจะเกิน 30% แน่ๆ

giogio Tue, 02/22/2011 - 17:04

evil เกินก็ไม่ไหว 30% ถ้าลองนึกว่ามันเป็นภาษีที่เราต้องจ่ายให้แอบเปิ้ล ผมคงไม่อยากอยู่ในอณาจักรนี้เลย

ถ้าเป็นการหักหัวคิวจากแอพ 30% ผมรับได้นะ เทียบกับผู้ผลิตแอพไม่ต้องสร้างระบบรับจ่ายเงินที่ทรงประสิทธิภาพ ยิงตู้มเดียวออกทั่วโลก แล้วยังไม่ได้สร้าง server ให้ดาวน์โหลดแอพเองอีก บางแอพใหญ่เป็น 100 MB โหลดเป็นพันเป็นหมื่น server ก็รับไม่ไหวเหมือนกัน แต่เครือข่าย server ของ App Store นี้เหนียวจริงๆ

ส่วนเรื่องบริการบนเว็บนั้น ก็ต้องพิจารณาดีๆ ไป เพราะ Apple เป็นคนลงทุนสร้างระบบพวกนี้มาตั้งเยอะ ก็มีพวกอยากฉวยผลประโยชน์ เช่นปล่อยให้โหลดแอพฟรี แล้วไปคิดเงินข้างนอก เพื่อให้มาใช้บนระบบของ Apple ซึ่งกรณีนี้ Apple ไม่ได้อะไรเลย

ผมว่ามันก็เป็นข้อเสียของ Single App Store อยู่แล้วครับ ถ้าอยากทำก็ต้องรับกันไป แต่จริงๆ รายได้ Apple ก็มาจากพวกนี้เยอะอยู่นะผมว่า

pines Wed, 02/23/2011 - 00:58

แสดงว่าระบบ App Store ของเขาแข็งแกร่งจริงๆ อำนาจการต่อรองสูงมาก อิอ

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Doom
public://topics-images/doom_logo.png
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Threads
public://topics-images/threads-app-logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Fortnite
public://topics-images/fortnitelogo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
Tinder
public://topics-images/hwizi8ny_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
PS5
public://topics-images/playstation_5_logo_and_wordmark.svg_.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find My Device
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png