เมื่อต้นปีนี้ เราเห็นข่าวจากผู้บริหารกูเกิลว่า Chrome OS จะรัน Steam ได้ แล้วเงียบหายไปพักใหญ่ๆ
ล่าสุดเว็บไซต์ 9to5google ไปค้นพบโค้ดใน Chromium OS อ้างถึงโครงการโค้ดเนม "Borealis" ที่เกี่ยวข้องกับ Steam แล้ว
Chrome OS เริ่มรองรับการรันโปรแกรมจากลินุกซ์มาตั้งแต่ปี 2018 โดยใช้โค้ดเนมว่า "Crostini" มันเป็นการนำลินุกซ์ทั้งตัว (ในที่นี้คือ Debian) มารันใน VM อีกทีหนึ่ง
Linux Mint ออกเวอร์ชัน 20 โค้ดเนม Ulyana ที่อิงจาก Ubuntu 20.04 LTS โดยเป็นรุ่นสนับสนุนระยะยาวไปจนถึงปี 2025
Linux Mint 20 มีทั้ง 3 เวอร์ชันตามระบบเดสก์ท็อป 3 รูปแบบคือ Cinnamon (GNOME 3), MATE (GNOME 2) และ Xfce ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญได้แก่
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 20150 ในรุ่นทดสอบ Dev Channel (Fast Ring) เดิม มีของใหม่คือ Windows Subsystem for Linux (WSL) รองรับ GPU แล้ว ตามที่เปิดตัวในงาน Build 2020 เมื่อเดือนที่แล้ว ช่วยให้เราสามารถรันงานที่ต้องใช้ GPU (เช่น เทรน AI) บน WSL ได้โดยตรง
ไมโครซอฟท์ยังแก้ปัญหา WSL ติดตั้งยาก เพราะต้องกดเปิดใช้งานจากหน้า Settings ก่อนหลายขั้นตอน ด้วยคำสั่งเดียวจบ wsl.exe --install จากนั้นค่อยไปติดตั้งดิสโทรลินุกซ์ในขั้นถัดไป (ไมโครซอฟท์บอกว่าในอนาคตจะใช้คำสั่งเดียว เปิดใช้ WSL และติดตั้งดิสโทรให้ด้วยเลย)
Cloudflare เขียนบล็อกเล่าถึงประสบการณ์อัพเกรด load balancer แบบใหม่ จากเดิมอาศัย TCP proxy และ NAT ซ้อนกันไปมาหลายชั้น โดยระบุว่าช่วงหลังสถาปัตยกรรมแบบนี้ไม่เหมาะกับบริการที่เปลี่ยนไป ทำให้ต้องออกแบบใหม่ แล้วหันไปทำ tunnel จาก load balancer ไปยังเซิร์ฟเวอร์แทน
เงื่อนไขการเปลี่ยนสถาปัตยกรรมของ Cloudflare ระบุว่า ต้องการให้เซิร์ฟเวอร์เห็นไอพีต้นทางที่ถูกต้อง โดยไม่ต้องใช้ท่าเฉพาะสำหรับโปรโตคอล เช่น X-Forwarded-For ใน HTTP หรือ PROXY TCP, ทราฟิกต้องวิ่งบนอุปกรณ์เน็ตเวิร์คเดิมที่ติดตั้งไปแล้วได้, เครื่องมือต้องพร้อมใช้งานมีการทดสอบมาเป็นอย่างดีแล้ว, ไม่เพิ่มการสื่อสารระหว่าง load balancer และเซิร์ฟเวอร์เพิ่มเติมซึ่งจะทำให้ระบบซับซ้อนเกินไป, และกระบวนการย้ายไปยังระบบใหม่ทำได้ง่าย
Andrea Righi พนักงานของ Canonical และทีมงานพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์ของ Ubuntu เสนอแพตช์เข้าเคอร์เนลลินุกซ์ ช่วยให้ระยะเวลาการ hibernate/resume ของลินุกซ์เร็วกว่าเดิมมาก
หลักการทำงานของ hibernate คือนำข้อมูลจากในแรมเก็บลงดิสก์ และเรียกกลับคืนแรมตอน resume ซึ่งเคอร์เนลสั่งอาจคืนบางส่วนของแรมออกก่อนเพื่อประหยัดพื้นที่ดิสก์ โดยสร้างข้อมูลเหล่านี้ใหม่หลัง resume
จากประเด็น Linux Mint ประกาศไม่ใช้แพ็กเกจ Snap ตาม Ubuntu ตัวแทนของบริษัท Canonical ก็ออกมาชี้แจงแล้วว่า Chromium เป็น Snap มาตั้งแต่ Ubuntu 19.10 แล้ว ไม่ใช่เพิ่งเปลี่ยนในเวอร์ชัน 20.04 LTS
ส่วนเหตุผลที่ทำแพ็กเกจ Chromium เป็น Snap เพียงอย่างเดียวเป็นเพราะ
ทีมงานซอฟต์แวร์ของ SpaceX ตั้งกระทู้ตอบคำถามบน Reddit ให้คนทั่วไปตั้งคำถามใดๆ ก็ได้ ทำให้ทีมงานมีโอกาสเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติม โดยประเด็นที่สำคัญคือหน้าจอสัมผัสของยาน Dragon นั้นรันอยู่บน Chromium โดยมีไลบรารีจาวาสคริปต์แบบ reactive ที่พัฒนาขึ้นเองเป็นการภายใน โดยหน้าจอนี้ไม่เกี่ยวอะไรกับหน้าจอรถของ Tesla
ทีมงานยืนยันว่าหน้าจอบนยานไม่ได้มีอะไรเกี่ยวข้องกับเกมจำลองการเชื่อมต่อแคปซูลเข้ากับสถานีอวกาศนานาชาติ แม้จะพัฒนาโดยทีมงานเดียวกันแต่ก็เป็นโปรเจคทำเอาสนุกของทีมงานบางคนและสุดท้ายบริษัทตัดสินใจพัฒนาต่อเปิดให้คนทั่วไปเข้ามาเล่น
Linux Mint เป็นดิสโทรลินุกซ์ที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยตัวมันพัฒนาต่อมาจาก Ubuntu อีกทีหนึ่ง แต่ล่าสุดทีมพัฒนา Linux Mint ประกาศไม่ใช้ ระบบแพ็กเกจแบบ Snap ที่ Ubuntu พยายามผลักดันแล้ว
Visual Studio 2019 16.7 Preview 2 ที่ปล่อยมาวันนี้ นอกจากการรองรับการทดสอบโค้ดบน Kubernetes แล้ว ยังปรับปรุงการพัฒนาซอฟต์แวร์บนลินุกซ์ชุดใหญ่ ทางไมโครซอฟท์ก็เขียนบล็อคแสดงแนวทางการพัฒนา Visual Studio อีกอย่างหนึ่ง นั่นคือการรองรับการพัฒนาซอฟต์แวร์บนลินุกซ์เต็มรูปแบบ ด้วยแนวทาง 3 แนวทาง คือการรองรับ CMake บนลินุกซ์, การเชื่อมต่อ gdbserver, และการปรับปรุงการเชื่อมต่อ SSH
การรองรับ CMake บนลินุกซ์เริ่มรองรับตั้งแต่ Visual Studio 2019 version 16.6 Preview 3 ผ่านเอนจิน Ninja ข้อดีของมันคือทำงานได้เร็ว กระบวนการ build โครงการขนาดใหญ่ๆ อาจจะเร็วขึ้นถึงสามเท่าตัว
เมื่อไม่นานมานี้ เราเพิ่งเห็น Lenovo ออก ThinkPad Fedora Edition ล่าสุด Lenovo ก้าวไปอีกขั้น ด้วยการประกาศว่าพีซี ThinkStation ทุกรุ่น และโน้ตบุ๊ก ThinkPad P Series จะผ่านการรับรองว่าใช้งานลินุกซ์ได้
ดิสโทรที่ Lenovo รับรองมีทั้ง Red Hat Enterprise Linux (RHEL) และ Ubuntu LTS ซึ่งเป็นดิสโทรยอดนิยมในโลกองค์กรอยู่แล้ว
Lenovo บอกว่าในอดีต บริษัทรองรับลินุกซ์กับฮาร์ดแวร์เพียงบางรุ่น แต่คราวนี้ตั้งใจรองรับทั้งซีรีส์ (ทุกตัวที่เป็นสินค้ากลุ่มเวิร์คสเตชันคือ ThinkStation และ ThinkPad P) เพื่อให้ลูกค้ามั่นใจว่าลงทุนกับผลิตภัณฑ์เหล่านี้แล้วใช้ได้ยาวๆ
ไมโครซอฟท์ปล่อย Windows 10 รุ่น 2004 ตามรอบปล่อยอัพเกรดปีละสองครั้ง โดยเวอร์ชั่นนี้มีฟีเจอร์สำคัญคือ WSL2 ที่ทำให้วินโดวส์สามารถรันเคอร์เนลลินุกซ์เต็มรูปแบบผ่านทาง VM แบบพิเศษที่ไมโครซอฟท์พัฒนาขึ้นมาเฉพาะ
เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม เว็บไซต์ AndroidRookies รายงานว่า วิศวกรคนหนึ่งของ Huawei ได้ส่งแพตช์ความปลอดภัย ชื่อ HKSP (Huawei Kernel Self Protection) เข้าไปเคอร์เนลลินุกซ์ โดยแพตช์นี้จะแนะนำตัวเลือกชุดเครื่องมือเสริมความปลอดภัยให้แก่เคอร์เนลของลินุกซ์
ซึ่งต่อมา ทาง Grsecurity ได้ตรวจพบช่องโหว่ในแพตช์ HKSP และได้เผยแพร่รายละเอียดออกมาบนบล็อกของตัวเอง ซึ่งแพตช์ HKSP ก่อให้เกิดช่องโหว่ buffer overflow ที่ทำให้ผู้ใช้สิทธิ์ปกติอาจจะรันโค้ดในเคอร์เนลได้ โดยทาง Grsecurity ระบุว่าช่องโหว่นี้เจาะได้ง่ายมาก
ในข่าว Windows Terminal 1.0 ไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะเรนเดอร์กราฟิกของแอพจากลินุกซ์ด้วย GPU ด้วย เบื้องหลังของมันคือสิ่งที่อาจจินตนาการไม่ถึงเมื่อหลายปีก่อนอย่าง DirectX บนลินุกซ์ (ในความหมายนี้คือลินุกซ์ที่ติดตั้งบน Windows Subsystem for Linux 2 หรือ WSL 2)
ไมโครซอฟท์อธิบายว่าพัฒนาเทคนิค GPU paravirtualization (GPU-PV) บนวินโดวส์มาหลายปีแล้ว และใช้งานในโปรแกรมฝั่งวินโดวส์หลายตัว เช่น Windows Defender Application Guard, Windows Sandbox และอีมูเลเตอร์ของ Hololens
งาน Microsoft Build 2020 ปีนี้จัดเป็นงานออนไลน์ และไมโครซอฟท์กำลังเปิดบริการออกมาชุดใหญ่ โดยหนึ่งในนั้นคือ Windows Terminal ที่ออกรุ่น 1.0 ถือเป็นรุ่นพร้อมใช้งานจริงจังรุ่นแรกนับแต่ไมโครซอฟท์ประกาศโครงการมา
แต่จุดที่เปลี่ยนเยอะกว่าคือ Windows Subsystem for Linux หรือ WSL ที่ประกาศจะรองรับ GPU ในการประมวลผล พร้อมกับรองรับแอป GUI จากลินุกซ์ได้โดยตรง ทำให้นักพัฒนาสามารถติดตั้งแอป GUI โดยไม่ต้องติดตั้ง X Server เพิ่มเติมอีกต่อไป
นอกจากการเพิ่มฟีเจอร์แล้ว WSL จะสามารถติดตั้งด้วยคำสั่ง wsl.exe --install
ใน command line ได้โดยตรง
ปัญหาสำคัญของการอัพเดตเคอร์เนลลินุกซ์ คือต้องรีบูตเครื่องซึ่งเกิดดาวน์ไทม์ ทางออกในเรื่องนี้จึงเกิดเทคนิคที่เรียกว่า Kernel Live Patching (บ้างก็เรียก KLP, Livepatch, Kpatch ตามแต่ละยี่ห้อ) ที่สามารถอัพเดตแพตช์ให้เคอร์เนลโดยไม่ต้องรีบูต (รายละเอียดทางเทคนิคว่าทำอย่างไร)
ฟีเจอร์ Kernel Live Patching มักมีในลินุกซ์เวอร์ชัน Enterprise ที่ต้องเสียเงินซื้อ subscription เช่น RHEL, Oracle Linux, Ubuntu Enterprise, SUSE Enterprise หรือบริการ KernelCare ที่ใช้กับดิสโทรได้หลายราย
Fedora ออกเวอร์ชัน 32 ของใหม่ได้แก่
เราเห็นข่าวผู้ผลิตโน้ตบุ๊กบางเจ้าออกเวอร์ชัน Ubuntu พรีโหลดมาให้ด้วย (เช่น Dell XPS คราวนี้เป็นข่าวของฝั่ง Fedora ที่ประกาศความร่วมมือกับ Lenovo ThinkPad บ้าง
Lenovo จะออก ThinkPad 3 รุ่นคือ ThinkPad P1 Gen 2, ThinkPad P53, ThinkPad X1 Gen 8 ที่เป็น Fedora Edition ใช้ระบบปฏิบัติการ Fedora 32 Workstations (ที่กำลังจะออกตัวจริงในเร็วๆ นี้)
วิธีการสั่งซื้อสามารถเลือก OS ได้จากหน้าเว็บของ Lenovo ตามปกติ รายละเอียดเพิ่มเติมจะประกาศในงาน Red Hat Summit สัปดาห์หน้า
Ubuntu 20.04 LTS Focal Fossa เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้ นับเป็นเวอร์ชั่นซัพพอร์ตระยะยาวตัวที่ 8 นับจาก Ubuntu 6.06 เป็นต้นมา
เวอร์ชั่นนี้ปรับซอฟต์แวร์ต้นน้ำ เช่น GNOME 3.36, เคอร์เนล Linux 5.4 LTS พร้อมพอร์ต WireGuard ใส่มาให้ รองรับซีพียูรุ่นใหม่ๆ หลายรุ่น รวมถึง RISC-V 64 บิต, สำหรับผู้ดูแลระบบ OpenSSH ปรับเป็นเวอร์ชั่น 8.2 ซึ่งรองรับกุญแจ U2F
Python จะถูกปรับเป็น Python 3 ทั้งหมด และตัว Python 2.7 จะต้องติดตั้งผ่าน Universe เท่านั้น ภาษาโปรแกรมมิ่งอื่นอัพเดตเวอร์ชั่น เช่น PHP 7.4, Ruby 2.7
ไมโครซอฟท์ออก Windows 10 Insider Preview Build 19603 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ แสดงไฟล์จากลินุกซ์ใน File Explorer
ฟีเจอร์นี้เป็นผลพวงมาจาก Windows Subsystem for Linux (WSL) หากเครื่องนั้นเปิดใช้ WSL อยู่ จะเห็นไอคอนรูปเพนกวินโผล่ขึ้นมาใน File Explorer เมื่อเปิดเข้าไปแล้วจะเห็นดิสโทรลินุกซ์ที่เราติดตั้งไว้ (เช่น Debian, Ubuntu) และเข้าไปเจอกับ root file system ที่คุ้นเคย (เช่น /bin /boot /etc)
ที่มา - Microsoft
เมื่อพูดถึงคอนเทนเนอร์ เรามักนึกถึง Docker แต่ในตลาดก็ยังมีเทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ตัวอื่นๆ เช่น LXC (Linux Containers) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ Docker ใช้ในช่วงแรกๆ ด้วย
โครงการ LXC พัฒนาต่อมาเป็น LXD ที่เพิ่มเครื่องมือและ API จัดการคอนเทนเนอร์แบบ LXC เข้ามา โครงการ LXC/LXD เป็นโอเพนซอร์ส ที่มีสปอนเซอร์หลักคือ Canonical บริษัทแม่ของ Ubuntu (LXD เป็นส่วนหนึ่งของ Ubuntu เวอร์ชัน LTS ทุกตัว)
Linus Torvalds ประกาศออกเคอร์เนลลินุกซ์เวอร์ชัน 5.6 ตามรอบปกติ ของใหม่ที่สำคัญคือ WireGuard ซอฟต์แวร์ VPN ที่ถูกผนวกเข้ามายังเคอร์เนลลินุกซ์
สิ่งที่น่าสนใจคือในอีเมลของ Linus พูดถึงสถานการณ์ "social distancing" ที่ทั้งโลกกำลังเผชิญอยู่ว่าไม่มีผลกระทบต่อการพัฒนาเคอร์เนล เพราะนักพัฒนาเคอร์เนลส่วนใหญ่ทำงานจากที่บ้านอยู่แล้ว กรณีของตัวเขาเองยังโดนลูกสาวแซวด้วยซ้ำว่าเป็น "แชมป์ social distancing" (social distancing champ) และเขาก็คาดว่าเคอร์เนล 5.7 จะพัฒนาเสร็จตามปกติ
ที่มา - LKML, The Register
ไมโครซอฟท์ประกาศว่าฟีเจอร์ Windows Subsystem for Linux 2 (WSL 2) ที่เปิดตัวช่วงกลางปี 2019 และพัฒนามานานเกือบปี จะเสร็จสมบูรณ์และเข้าสถานะ GA (generally available) ใน Windows 10 เวอร์ชันหน้า v2004 ที่จะออกช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมนี้
จุดเด่นของ WSL2 คือมีเคอร์เนลลินุกซ์จริงๆ รันอยู่ข้างในวินโดวส์ (ซ้อนอยู่ด้วย VM เพื่อความปลอดภัย) ทำให้โปรแกรมบนลินุกซ์สามารถรันบน WSL2 ได้ตรงๆ ต่างจาก WSL1 ที่เป็นการจำลองเคอร์เนลลินุกซ์บนเคอร์เนลวินโดวส์ ผลคือประสิทธิภาพดีขึ้นมาก และรองรับโปรแกรมเพิ่มขึ้น เช่น Docker ที่สามารถรันบน Windows 10 Home ได้แล้ว
หลังเทคโนโลยีคอนเทนเนอร์ได้รับความนิยมอย่างสูง (รู้จัก Container มันคืออะไร แตกต่างจาก Virtualization อย่างไร?) ทำให้เกิดกระแสการปรับแต่งระบบปฏิบัติการของโฮสต์ เพื่อรีดประสิทธิภาพออกมาให้มากที่สุด ลดปริมาณพื้นที่สตอเรจ-แรมที่ใช้งานลง
ตัวอย่างลินุกซ์ที่พัฒนามาเพื่อคอนเทนเนอร์โดยเฉพาะ ได้แก่ CoreOS (ปัจจุบันกลายเป็น Fedora CoreOS), Ubuntu Core, RancherOS รวมถึง Alpine Linux ลินุกซ์ขนาดเล็กที่นิยมใช้ในสายคอนเทนเนอร์
ล่าสุด Amazon เปิดตัวระบบปฏิบัติการใหม่ชื่อ Bottlerocket มันเป็นลินุกซ์ที่ปรับแต่งเพื่องานคอนเทนเนอร์เช่นกัน โดยตั้งใจออกแบบมาสำหรับ AWS โดยเฉพาะ เชื่อมโยงกับ EC2 และ Amazon EKS มาตั้งแต่ต้น
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วไมโครซอฟท์ประกาศว่าจะขยาย Microsoft Defender ATP (MTP) ชุดซอฟต์แวร์ความปลอดภัยออกไปทุกแพลตฟอร์มรวมถึงลินุกซ์ วันนี้ไมโครซอฟท์ก็ออกมาให้รายละเอียดสำหรับเวอร์ชั่นลินุกซ์เพิ่มเติม
MTP รองรับลินุกซ์ดิสโทรหลักแทบทั้งหมด ได้แก่ RHEL 7+, CentOS Linux 7+, Ubuntu 16 LTS, or higher LTS, SLES 12+, Debian 9+, และ Oracle EL 7 โดยสามารถติดตั้งผ่าน Puppet หรือ Ansible ก็ได้
การควบคุม MTP จะสามารถควบคุมผ่าน command line ได้ทั้งหมดผ่านคำสั่ง mdatp
และยังรายงานข้อมูลการการสแกนเครื่องกลับไปยัง Microsoft Defender Security Center
รุ่นพรีวิวจะเปิดให้ดาวน์โหลดจริงในอีกไม่กี่วันข้างหน้า ส่วนฟีเจอร์เพิ่มเติมไมโครซอฟท์สัญญาว่าจะอัพเดตให้ในไม่กี่เดือน
Microsoft Threat Protection (MTP) เป็นชื่อเรียกรวมๆ ของชุดฟีเจอร์-บริการด้านความปลอดภัยของไมโครซอฟท์แบบเสียเงินหลายตัว ประกอบด้วย Microsoft Defender ATP ที่คุ้มครองเครื่อง, Office 365 ATP คุ้มครองอีเมล, Azure ATP คุ้มครองบัญชี, Microsoft Cloud App Security คุ้มครองแอพ
วันนี้ไมโครซอฟท์ประกาศว่า Microsoft Threat Protection มีสถานะเปิดบริการเป็นการทั่วไป (generally available) องค์กรที่จ่ายแพ็กเกจ Microsoft 365 E5 อยู่แล้วสามารถเปิดใช้งานได้ทันทีผ่านหน้าแอดมินของระบบ