Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ระยะหลังเราคงได้ยินข่าวของ SpaceX ที่รับจ้างยิงจรวดเป็นว่าเล่น ขณะนี้มีสตาร์ตอัพหน้าใหม่จากสหรัฐอเมริกาชื่อ Rocket Lab เข้าร่วมธุรกิจนี้ด้วย โดยเมื่อวานได้ยิงจรวดออกไปสู่วงโคจร Low Earth orbit ได้สำเร็จเป็นครั้งแรก

ภารกิจนี้ใช้ชื่อว่า Still Testing เป็นการปล่อยดาวเทียมขนาดเล็กจำนวน 3 ดวงให้ลูกค้า 2 ราย ยิงจากฐานปล่อยที่คาบสมุทร Mahia ประเทศนิวซีแลนด์ โดยใช้จรวดที่พัฒนาขึ้นเองในชื่อ Electron ซึ่งเป็นจรวดขนาดเล็ก สูงเพียง 16.7 เมตร (Falcon 9 สูง 55 เมตร) สอดคล้องกับแนวทางของบริษัทที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายในการทำภารกิจด้วยการใช้จรวดขนาดเล็ก มีต้นทุนการผลิตต่ำเพราะใช้การพิมพ์สามมิติเข้ามาผลิตชิ้นส่วนต่างๆ ของเครื่องยนต์ กล่าวคือต้องการลดค่าใช้จ่ายเหมือน SpaceX แต่ใช้วิธีผลิตจรวดลำเล็ก ราคาถูก ในขณะที่ SpaceX นำจรวดมาใช้ซ้ำ

ปัจจุบันความต้องการใช้จรวดขนาดเล็กสูงขึ้น เพราะลูกค้ารายเล็กไม่มีเงินพอที่จะจ้างเอกชนรายใหญ่ยิงจรวดให้ โดยมากต้องรอบริษัทใหญ่ๆ จ้างยิงแล้วตัวเองก็ไปขอพ่วงปล่อยดาวเทียมด้วย เลยมีข้อจำกัดว่าอาจต้องรอนาน และไม่ได้ตำแหน่งวงโคจรที่ตนต้องการ เมื่อมีบริษัทอย่าง Rocket Lab เข้ามาจับตลาดตรงนี้ทำให้บริษัทเล็กๆ สามารถจ้างทำภารกิจได้เองตามต้องการ โดย Rocket Lab ระบุว่าการยิง 1 ครั้งมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้นที่เพียง 4.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 156 ล้านบาท) และตอนนี้มีลูกค้ามารอคิวแล้วจำนวนมาก

ภารกิจครั้งแรกของ Rocket Lab มีขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคมปีที่แล้ว ใช้ชื่อภารกิจว่า It's a Test โดยครั้งนั้นสามารถยิงเข้าเขตอวกาศได้สำเร็จ แต่ยังไม่ถึงวงโคจรกลับมีปัญหาด้านการติดต่อกับศูนย์ควบคุมเสียก่อน จึงต้องสั่งให้จรวดทำลายตัวเองไปอย่างน่าเสียดาย ทำให้ภารกิจครั้งที่สองนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะทำสำเร็จทั้งการยิงจรวดขึ้นไปถึงวงโคจรและปล่อยดาวเทียมของลูกค้าได้สำเร็จด้วย

ที่มา - Fortune, The Verge, SpaceNews

No Description

No Description

No Description

No Descriptionชมรูปเพิ่มเติมได้ที่ Rocket Lab

Get latest news from Blognone

Comments

By: Kimi4ne
AndroidUbuntuWindows
on 22 January 2018 - 14:26 #1029710

จรวดเล็กราคาถูก กับจรวดขนาดกลางเอามาใช้ซ้ำ ผมก็ยังมองว่าแบบหลังดีกว่านะ

By: ravipon
iPhoneWindows
on 22 January 2018 - 17:16 #1029736 Reply to:1029710
ravipon's picture

กับจรวดเท่าเดิมไปซอยดาวเทียมเอา จรวด 1 ส่งดาวเทียมได้ 20 ดวงงี้ ประหยัดต่อขนาด//อินเดีย

By: devilblaze
iPhoneAndroidWindows
on 22 January 2018 - 21:21 #1029766 Reply to:1029710
devilblaze's picture

ทุกๆอย่างมันมีค่าใช้จ่ายนะ เคยอ่านข่าวว่า SpaceX ได้กำไรราวๆ 40% จากค่ายิงจรวด

หาก Rocket Lab ทำจรวดต้นทุนต่ำและคุมสัดส่วนกำไรได้ใกล้เคียงกัน จะเป็นใช้แล้วทิ้งหรือนำกลับมาใช้ใหม่ ก็ไม่แตกต่างกันหรอกมั่ง

By: PsFreedom
ContributorAndroidRed HatUbuntu
on 23 January 2018 - 03:21 #1029787 Reply to:1029710
PsFreedom's picture

การเอามาใช้ซ้ำผมเชื่อว่ามีข้อจำกัดเช่นกันครับ คงไม่สามารถใช้ซ้ำได้ตลอด อาจจะจำกัดจำนวนครั้ง 20 ครั้ง 50 ครั้ง 100 ครั้งก็ว่ากันไป เพราะอะไหล่ต้องมีสึกหรอ ต้องเปลี่ยน ต้อง Maintenance อยู่แล้ว ซักระยะนึงมันอาจะเปลี่ยนครบทุกชิ้นจนเป็นลำใหม่เลยก็ได้

ในขณะเดียวกัน ก็มีส่วนที่ใช้ซ้ำไม่ได้เลยอยู่ด้วย (SpaceX ก็ไม่สามารถใช้ซ้ำได้ 100%) ชัดๆ เลยก็เชื้อเพลิงใช้แล้วหมดไป บางชิ้นส่วนก็ต้องทิ้ง ดังนั้นถ้าจรวดขนาดเล็กไม่ได้แพงกว่า "ส่วนที่ใช้ซ้ำไม่ได้" แน่นอนว่ามันเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

แต่ถ้าต้องการขนอะไรใหญ่ๆ จรวดเล็กก็ตัดทิ้งได้เลยเช่นกัน บรรทุกไม่ไหว

By: Noblesse
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 25 January 2018 - 05:54 #1030123 Reply to:1029787
Noblesse's picture

นอกจากเรื่องเงินๆ แล้วคงมีเรื่องขยะอวกาศที่เพิ่มขึ้นทุกวันด้วย ถ้าไม่มีชิ้นส่วนที่ถูกทิ้งกลางอวกาศเลยน่าจะดีกว่าในระยะยาว?

By: winit_a on 22 January 2018 - 17:00 #1029733

ภาพแรกในหัว... ถ้าจีนจับตลาดนี้ด้วย...คงยิงขึ้นอวกาศเป็นว่าเล่น จีนตัดราคาแน่ๆ

แต่นึกอีกที... ท่าจะยากที่เอกชนจีนจะทำได้ข้อจำกัดการเมืองการปกครองเยอะน่าดู

By: bankbook555
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 22 January 2018 - 17:40 #1029741

อยากเห็นลิฟต์วงโคจรหรือแมสไดร์ฟเวอร์บ้างจัง 55+

ถ้าเราเปลี่ยนจากการใช้จรวด(ท่อนล่าง)เป็นแมสไดร์ฟเวอร์ แล้วบูสเตอร์น้ำกลับมาใช้ซ้ำได้
ตอนนี้มโนไปก่อน อาจจะมีคนสนใจทำก็เป็นได้ หลังจาก Hyper Loop เกิด

By: ravipon
iPhoneWindows
on 22 January 2018 - 19:32 #1029753 Reply to:1029741
ravipon's picture

อยากได้ลิฟวงโคจร น่าจะเป็นวิธีที่ประหยัดที่สุดแล้วละ
เพราะไต่เสาเอาไม่น่าจะเปลืองเท่าใช้เชื้อเพลิงมาขับดัน

อันนี้มีซับไทยด้วย - https://www.youtube.com/watch?v=qPQQwqGWktE
- https://www.youtube.com/watch?v=RVMZxH1TIIQ

By: Jirawat
Android
on 22 January 2018 - 20:39 #1029759
Jirawat's picture

ขยะอวกาศเพิ่มขึ้นเปนกองแน่ๆ

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 23 January 2018 - 00:06 #1029779
TeamKiller's picture

CubeSat นี่เล็กๆ นี่จะตรวจเจอกันยังไงนี่ อีกหน่อย ยานไม่ชนเข้าให้หรอนี่

พึ่งดูในวีดีโอตอนปล่อย ที่ศูนย์ใช้ headset เกมมิ่งซะด้วยมั้ง Logitech