Tags:
Node Thumbnail

ยานอวกาศ Juno ของ NASA โคจรใกล้ "จุดแดงยักษ์" (Great Red Spot) ของดาวพฤหัส และส่งภาพถ่ายความละเอียดสูงกลับมาถึงโลก ช่วยให้มนุษย์ได้เห็นภาพจุดแดงยักษ์แบบชัดๆ อย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน

ยาน Juno ถูกยิงขึ้นอวกาศตั้งแต่ปี 2011 และทำภารกิจโคจรรอบดาวพฤหัสมาเป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม ล่าสุด Juno เข้าไปใกล้ผิวดาวพฤหัสโดยลอยอยู่เหนือขอบเมฆ 3,500 กิโลเมตร เพื่อถ่ายภาพจุดแดงยักษ์นี้มา

จุดแดงยักษ์ของดาวพฤหัสมีขนาดยาวประมาณ 16,000 กิโลเมตร (เส้นผ่านศูนย์กลางของโลกยาว 12,742 กิโลเมตร) และถูกมนุษย์ค้นพบครั้งแรกในปี 1830

NASA เผยแพร่ภาพถ่ายจาก Juno เป็นไฟล์ RAW ให้ดาวน์โหลดไปใช้งานกันต่อได้ และเชิญชวนให้ทางบ้านช่วยกันส่งรูปที่ผ่านกระบวนการ process แล้วกลับเข้ามา

ที่มา - NASA, ภาพที่แต่งโดย Sean_Doran

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: Pinery
ContributoriPhoneAndroidIn Love
on 13 July 2017 - 11:10 #997667

เหมือนข้างในจะมีพายุเล็กสองลูกด้วยนะ

By: keen
iPhoneAndroidUbuntu
on 13 July 2017 - 11:36 #997678
keen's picture

เปิดจินตนาการจริงๆ

By: Yoonuch on 13 July 2017 - 12:42 #997683
Yoonuch's picture

อยากรู้เขาส่งข้อมูลผ่านอะไร และใช้เวลานานแค่ไหน...

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 13 July 2017 - 21:28 #997750
btoy's picture

ดาวพฤหัสฯนี่เป็นดาวเคราะห์แก๊สใช่มั้ยครับ เท่าที่อ่านดูแบบมั่วๆเหมือนจุดแดงนี่คือพายุที่มีขนาดใหญ่กว่าโลก 3 เท่า บรึ๋ยยยยยยย อยากรู้ว่าชั้นของพายุเนี่ยมันลงไปถึงแกนของดาวที่เป็นของแข็งเลยรึเปล่า


..: เรื่อยไป

By: MaxxIE
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 13 July 2017 - 22:30 #997763 Reply to:997750
MaxxIE's picture

เคยดูสารคดีนานแล้ว เห็นเค้าว่าไม่ใช่แก๊ส แต่เป็นแกนน่าจะเป็นโลหะกับพวกสารแก๊สต่างๆที่โดนแรงดึงดูดและความดันมหาศาลกระทำจนเป็นของเหลวครับ
เพราะดาวพฤหัสนั้นแรงดึงดูดมหาศาลมาก เลยน่าจะมีมวลมากกว่าที่จะเป็นแค่ดาวเคราะห์แก๊ส
แรงดึงดูดเยอะขนาดว่าพี่แกคอยดูดดาวหางและอุกกาบาตไม่ให้เข้ามาไกล้โกลเราได้เยอะเลยแหละครับ เยอะจนเค้าตั้งฉายาว่าเป็นพี่ใหญ่ใจดี
เคยมีคนอัดวิดีโอดาวหางขนาดใหญ่จนสามารถล้างโลกได้ ชนดาวพฤหัสด้วย
เวลาที่จะส่งยานไปสำรวจรอบนอกระบบสุริยะก็ต้องแวะให้แรงโน้มถ่วงดาวพฤหัสเหวี่ยงเพิ่มความเร็วทุกเที่ยว