Mark Davis พนักงานของ Google และเป็นประธานของ Unicode Consortium ซึ่งเป็นองค์กรที่ดูแลเรื่องการพัฒนา Emoji ได้ออกมาอธิบายผ่านเอกสารชุดหนึ่งว่า ผู้ผลิตสามารถสร้าง Emoji รูปธงสีรุ้งเพื่อชาว LGBT ได้ด้วยวิธี zero-width joiner (ZWJ)
วิธี ZWJ คือการนำ Emoji 2 ตัวที่มีอยู่แล้วมารวมกัน จากนั้นนำมาผสมกันด้วยเทคนิคของ ZWJ ผลที่ได้ก็คือ Emoji ที่ต้องการ ซึ่งเทคนิคนี้เป็นแบบเดียวกับการเพิ่มสีผิวให้ Emoji รูปคนนั่นเอง ในที่นี้หากต้องการสร้าง Emoji รูปธงสีรุ้ง ก็นำ Emoji รูปธงสีขาวและรูปสายรุ้งมาผสมกันด้วย ZWJ ก็จะได้ Emoji รูปธงสีรุ้งโดยไม่จำเป็นต้องออกแบบตั้งแต่แรกและผู้ผลิตสามารถนำไปประยุกต์ใช้บนอุปกรณ์ต่างๆ ได้ทันที
ทฤษฎีนี้อาจทำให้สามารถใช้งาน Emoji รูปธงสีรุ้งได้ภายในสิ้นปีนี้ โดยไม่ต้องรออัพเดต Unicode เวอร์ชัน 10.0 ที่จะปล่อยให้ใช้งานในมิถุนายนปีหน้านั่นเอง
ที่มา : The Next Web
Comments
LGBT ย่อมาจากอะไรบ้าง 2 ตัวแรกพอเดาออก แต่ 2 ตัวหลังไม่รู้
Bi-Sexual กับ Transgender ครับ
ย่อมาจาก lesbian, gay, bisexual, and transgender ครับ (อ้างอิงจาก Wikipedia)
มันเป็นความลำบากที่ผมต้องแปลง emoji เช่นจาก :) เป็น : ) เพื่อไม่ให้ app ต่างๆ เปลี่ยนจาก text เป็น image อัตโนมัติ
ผมรู้สึกว่ารูป emoji มันไม่สื่อความรู้สึกหรือความหมายอย่างที่ผมต้องการ แถม app ต่างยี่ห้อกันก็แสดงผลไม่เหมือนกันอีก
อย่างอันนี้ :P เฟสบุ๊กเปลี่ยนเป็นรูปยังกะคนติงต๊องแลบลิ้น
หรืออันนี้ :( ก็เปลี่ยนเป็นรูปเหมือนคนกำลังหลับ หรือพระกำลังนั่งสมาธิซะมากกว่า (หางตาตกเกินไป)
+1
ปัญหาของ emoji อย่างนึงคือ 1 รูปมันตีความหมายเป็นประโยคได้เลยตามบริบท ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้ว emoji มันเอาไปใช้เป็นคำหรือไม่ก็เป็นวลีได้เลย และไม่ถูกควบคุมรูปแบบโดยใคร จึงทำให้การตีความนั้นขึ้นกับรูปที่เห็นและสามัญสำนึกของแต่ละคน แต่ภาษาทั่วไป 1 ตัวอักษรแทบจะไม่มีความหมายเลย ยกเว้นภาษาจีนที่ 1 ตัวอักษรมันเป็น 1 คำได้ตามบริบท แต่มันก็ไม่สื่อความหมายอะไรมากไปกว่าคำที่มันสื่อถึง และยังถูกควมคุมรูปแบบตัวอักษรโดยเจ้าของภาษาที่หากเพี้ยนไปจากที่ใช้กันตามปกติอาจทำให้อ่านไม่รู้เรื่องเลยครับ