การประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ของ กสทช. ที่กินเวลายาวนานอย่างเหลือเชื่อถึง 4 วันได้จบลงไปแล้วเมื่อเที่ยงคืนที่ผ่านมา พร้อมกับตัวเลขที่ทำสถิติเป็นประวัติการณ์ถึง 151,952 ล้านบาท โดยราคาต่อสล็อตสูงถึงมากกว่า 75,000 ล้านบาท มากมายยิ่งนักเมื่อเทียบกับการประมูล 1800 MHz ที่ยอดรวมสองสล็อตอยู่ที่ 80,778 ล้านบาท พร้อมผู้ชนะที่ว่ากันว่าพลิกโผทุกสำนักคือ Jas และ True
คำถามใหม่ที่เกิดขึ้นหลังการประมูลครั้งนี้ก็คือ อะไรเป็นสาเหตุให้ราคาคลื่นพุ่งสูงได้มากขนาดนี้ และผลที่ออกมาเช่นนี้จะเกิดอะไรกับอุตสาหกรรมและผู้เล่นแต่ละรายต่อไป บทวิเคราะห์นี้เกิดจากการรวมรวมข้อมูล ทั้งจังหวะการประมูล บทวิเคราะห์ทั้งหลาย รวมถึงความเห็นข้อสังเกตตลอด 4 วันจากมิตรสหายหลายท่านของผู้เขียนครับ ต้องขอบคุณมา ณ ที่นี้
เป็นคำอธิบายเดียวกันกับบทวิเคราะห์ของ mk เมื่อตอน 1800 MHz นั่นคือ ทำไมต้องแย่งคลื่นกัน ซึ่งคำอธิบายในรอบ 900 MHz นี้ก็ไม่ต่างกัน เพราะทรัพยากรคลื่นมีอยู่จำกัด การสะสมคลื่นจึงเป็นเรื่องสำคัญในการอยู่รอดของโอเปอเรเตอร์
ที่สำคัญกว่าคือเมื่อจบการประมูลคลื่น 900 MHz นี้แล้ว คลื่นในอนาคตที่มีโอกาสจะนำมาประมูลในระยะอันใกล้ ก็มีเพียง 850 MHz / 1800 MHz ของ Dtac ซึ่งจะหมดสัมปทานปี 2561 หรืออีกสามปีข้างหน้า อย่างไรก็ตามสถานการณ์ที่ผ่านมานั้นคงไม่มีโอเปอเรเตอร์รายใดมั่นใจเต็มร้อยว่าจะมีคลื่นให้ประมูลในปี 2561 แบบแน่นอน การคว้าอะไรใกล้มือให้ได้จึงสำคัญ
ถ้าหากสังเกตจังหวะในการประมูลครั้งนี้ จะพบว่าแตกต่างจากตอน 1800 MHz มาก เพราะผู้ร่วมประมูลเดินหน้าเสนอราคาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดนานถึง 83 รอบ จึงเริ่มเกิดการหยุดเคาะราคาเพิ่ม เพื่อดูเชิงคู่แข่ง เหตุการณ์นี้น่าจะเป็นผลจากการประมูล 1800 MHz ที่แสดงให้เห็นว่าคู่แข่งต่างพร้อมสู้ในราคาที่สูง ทุกคนจึงเดินหน้าลุยโดยไม่ต้องหวังว่าจะมีใครยอมแพ้รวดเร็ว
แต่ถึงแม้จะพร้อมลุยแค่ไหน ทุกบริษัทก็น่าจะมีราคาสูงสุดที่ยอมรับได้ในใจ นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไม AIS และ Dtac จึงไม่ชนะการประมูลครั้งนี้ ด้วยตัวเลขผลการประมูลคือ
จากตัวเลขทำให้พอเห็นภาพว่า AIS มีราคาในใจสูงสุดราว 75,000 ล้านบาท ขณะที่ Dtac เตรียมไว้ 70,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามมีข้อสังเกตว่า AIS นั้นดูจะต้องการสล็อต 2 (905 – 915 MHz/950 – 960 MHz) เท่านั้น เพราะราคานี้ยังสามารถไปประมูลแย่งสล็อต 1 จาก Jas ต่อได้ แต่ AIS ไม่ได้ทำ
ราคาคลื่นซึ่งจบลงที่มากกว่า 75,000 ล้านบาท ถือเป็นราคาที่สูงที่สุดในโลก (แม้ กสทช. จะบอกว่ายังไม่ใช่หากคิดตามปริมาณความถี่) อย่างไรก็ตามแค่เพราะความต้องการคลื่น ก็ดูไม่น่าทำให้ราคาประมูลดุเดือดมาได้ขนาดนี้ เหตุผลหนึ่งที่มีน้ำหนักพออธิบายได้ก็คือข้อกำหนดในการชำระเงินที่เปลี่ยนไป
ในการประมูลความถี่ 1800 MHz นั้น กสทช. กำหนดให้ผู้ชนะประมูลต้องจ่ายเงินงวดแรก 50% ของราคาที่เสนอภายใน 90 วัน หลังชนะประมูล และปีที่สองและสามอีกปีละ 25% เท่ากับว่าผู้ชนะต้องจ่ายเงินครบตามที่ประมูลจบตั้งแต่ 3 ปีแรก อย่างกรณีของ AIS งวดแรกก็ต้องจ่ายถึง 20,493 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามเงื่อนไขดังกล่าวมีข้อเสีย ที่ทำให้ กสทช. ต้องมาแก้เงื่อนไขในการประมูล 900 MHz เพราะการต้องหาเงินเป็นหมื่นล้านมาจ่ายใน 90 วันนั้น คงไม่มีหนทางอื่นนอกจากไปกู้จากธนาคาร แต่ธนาคารเองก็ต้องการทราบวงเงินที่จะใช้เบื้องต้น ซึ่ง กสทช. มองว่าทำให้ผู้ร่วมประมูลต้องเปิดเผยราคาเป้าหมายในใจก่อนการประมูล ซึ่งไม่เป็นผลดีนัก
เงื่อนไขการชำระเงินของ 900 MHz จึงเปลี่ยนไป โดยปีแรก ชำระเงิน 8,040 ล้านบาท (50% ของมูลค่าคลื่นเริ่มต้น) ปีที่สองและสามอีกปีละ 25% คือ 4,020 ล้านบาท แล้วส่วนที่เหลือให้ไปชำระทั้งหมดในปีที่ 4 การกำหนดเงื่อนไขแบบนี้ ทำให้ผู้ประมูลทุกคนมีภาระหาเงินมาเตรียมจ่าย 3 ปีแรกเท่ากัน ขณะที่เงินก้อนใหญ่ในปีที่ 4 นั้น สามารถเจรจากับธนาคาร-สถาบันการเงินได้ในภายหลัง
ตรงนี้ทำให้เห็นว่า Jas และ True จะจ่ายเงินใบอนุญาตใน 3 ปีแรกรวม 16,080 ล้านบาทเท่านั้น ถูกกว่าที่ AIS จ่ายในปีแรกปีเดียวกับ 1800 MHz เสียอีก ฉะนั้น 3 ปีแรกก็น่าจะเป็นโอกาสในการตักตวงสร้างกระแสเงินสดให้มากที่สุด ส่วนปีที่ 4 ซึ่งเป็นภาระก้อนใหญ่นั้น ก็ค่อยหาหนทางกู้จากสถาบันการเงินเอาต่อไป เพราะยังมีเวลา
ด้วยเหตุผลว่าใน 3 ปีแรก วงเงินที่ต้องจ่ายถูกกำหนดไว้แล้ว ไม่ว่าราคาประมูลจะจบที่เท่าใด แถมไม่สูงมากด้วย ก็น่าจะเป็นเหตุผลมากพอให้บริษัทกล้าเดิมพันกับราคาประมูลที่มากขึ้นนั่นเอง
แต่ละบริษัทน่าจะมีแถลงการณ์ถึงการประมูลที่เกิดขึ้น แต่ดูจากตอนนี้ก็พอจะอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
True - เท่าไหร่เท่ากันคว้าให้หมด
หลายคนที่ติดตามล้วนมองว่า True ดูมีความอยากได้คลื่นน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับรายอื่น เพราะ True มีคลื่นในมือมากที่สุดทั้ง 2100 MHz, 1800 MHz และ 850 MHz (สัญญาร่วม CAT) แต่ True ก็ตัดสินใจประมูล 900 MHz ให้ชนะอีก
คงไม่มีคำอธิบายใดมากกว่านี่คือเกมการสะสมคลื่นตุนไว้ให้มากที่สุด ส่วนคำถามว่าด้วยสถานะทางการเงินปัจจุบัน (เงินสด 11,000 ล้านบาท หนี้สินกว่า 7 หมื่นล้านบาท) True จะหาเงินจากไหนมาจ่าย ทั้งคลื่น 1800 MHz และ 900 MHz อันนี้คงต้องถามคนถือหุ้น True ทุกท่านเอาเอง
Jas - ก็บอกแล้วพี่ไม่ได้มาเล่นๆ
Jas สร้างความประหลาดใจตั้งแต่ประมูล 1800 MHz จากดูเหมือนเป็นไม้ประดับ แต่กลับจริงจังมากและแพ้แบบเฉียดฉิว แต่ในรอบนี้ Jas มีการปรับแผนเล็กน้อยโดยซีอีโอ คุณพิชญ์ โพธารามิก เลือกไม่เข้าห้องประมูลแบบรอบก่อนหน้า หลายคนมองว่าถอดใจ แต่ผลที่ออกมาน่าจะแปลว่า เท่าไหร่เท่ากัน ซีอีโอไม่จำเป็นต้องอยู่ช่วยตัดสินใจมากกว่า
Jas มีธุรกิจหลักคือบริการบรอดแบนด์ 3BB แต่ตอนนี้กำลังจะเป็นโอเปอเรเตอร์รายที่ 4 ซึ่งนักวิเคราะห์หลายคนมองว่าเป็นสถานการณ์จำเป็น เพื่อให้ Jas แข่งขันกับ AIS และ True ที่มีทั้งมือถือและบรอดแบรนด์ได้
อย่างไรก็ตามมูลค่าใบอนุญาตที่ Jas ได้มาคงเป็นคำถาม เพราะมูลค่ากิจการของ Jas ตามราคาหุ้นล่าสุดอยู่ที่ 34,000 ล้านบาท แต่ใบอนุญาตนั้นราคา 75,654 ล้านบาท แพงกว่าทั้งบริษัทปัจจุบันเสียอีก ต้องรอดูต่อไปว่า Jas จะทำอย่างไร (คนที่อยู่ในแวดวง อาจพอทราบแล้ว แต่เนื่องจากไม่เป็นทางการก็จะขอไม่พูดถึงตรงนี้)
AIS - มันเกินจะรับไหว
AIS ดูเป็นตัวเก็งอันดับหนึ่งที่น่าจะชนะประมูลรอบนี้ ทั้งความแข็งแกร่งด้านการเงินมากกว่าคู่แข่ง แถมตอนนี้ AIS มีแต่คลื่นสั้น 2100 MHz และ 1800 MHz หากได้คลื่นยาว 900 MHz ก็น่าจะสมบูรณ์แบบดี มองไปมีแต่หนทางสดใส แต่ผลคือ AIS เลือกที่จะแพ้การประมูลแบบที่หลายคนประหลาดใจ
มีคำชี้แจงจากทาง AIS ภายหลังการประมูลเสร็จสิ้นว่า AIS ได้ประเมินราคาสูงสุดของใบอนุญาตที่บริษัทมองว่าเหมาะสมไว้แล้ว แต่ราคาประมูลกลับสูงขึ้นจากราคานั้นมาก AIS จึงต้องหยุดสู้ เพราะจะส่งผลเสียทั้งต่อคุณภาพการบริการลูกค้า และผู้ถือหุ้น
AIS บอกว่าราคานี้แพงเกินไป แต่ True กับ Jas เขาเลือกที่จะเอา ก็ไม่รู้ว่าใครถูกผิดงานนี้
ความเสี่ยงของ AIS จากนี้ก็คือคลื่นที่มีอยู่จะเพียงพอต่อการให้บริการหรือไม่ และ AIS จะมีโอกาสประมูลคลื่นมาเสริมในอนาคตได้หรือไม่
Dtac - คนที่แพ้ก็ต้องดูแลตนเอง
Dtac ทำให้กองเชียร์ประหลาดใจ เพราะเลือกยอมแพ้ในการประมูล 1800 MHz เร็วมาก แต่ก็มีเหตุผลอธิบายได้ เมื่อมาในการประมูล 900 MHz ไม่มีใครรู้ว่า Dtac จะต้องการคลื่นนี้หรือไม่ แต่ผลการประมูลก็ชี้ว่า Dtac ยังต้องการคลื่น พร้อมให้ราคาที่เหมาะสมสูงถึง 7 หมื่นล้านบาท เพียงแต่มันยังน้อยกว่าที่คนอื่นยินดีจ่ายจึงต้องแพ้ไป
สถานการณ์ Dtac ตอนนี้เรียกว่าพอทนไหว เพราะมีคลื่น 2100 MHz ที่อีกนานกว่าจะหมดอายุ และคลื่น 850 MHz / 1800 MHz ที่จะหมดอายุสัมปทานปี 2561 เพียงแต่หลังจาก 2561 แล้ว Dtac จำเป็นต้องได้คลื่นนี้มาเพื่อให้เพียงพอกับการบริการลูกค้า แต่ก็ไม่รู้ว่าถึงเวลานั้นคู่แข่งจะพร้อมจ่ายมากกว่าที่ Dtac ต้องการจ่ายหรือไม่
ถ้าเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น สถานการณ์ของ Dtac คงไม่สู้ดีนัก ความกังวลนี้ยังสะท้อนไปที่ราคาหุ้นของ Dtac ด้วย ซึ่งมีราคาปรับลดลงมามากเมื่อเทียบผู้ร่วมประมูลรายอื่น
สูตรการชนะประมูลรอบนี้เหนือความคาดหมายของใครต่อใคร และเนื่องจากเราคงไม่เห็นการประมูลคลื่นเพิ่มเติมอย่างน้อยก็ 3 ปี จากนี้จึงเป็นการแข่งขันกันบนทรัพยากรที่โอเปอเรเตอร์แต่ละค่ายมี สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นจากนี้ก็มีดังนี้
ภาพ: @somying_pptv และ @panraphee
Comments
jas ซื้อ dtac ไม่ก็ dtac ซื้อ jas ไม่ก็ ais ซื้อ dtac หรือ jas
มั่นใจว่าทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้น
มันส์ลื้ม...
Dtac ไปเทค Jas ยังถูกกว่าจ่ายค่าสัมปทาน
เทคไปก็เป็นคนจ่ายสัมปทานรายใหม่
แปลกใจที่คนคิดง่ายแบบนี้ โดยลืมไปว่า มีค่าเทค+ค่าสัมปทาน ซึ่งถ้าไม่มีทุนพออ่วมแน่นอน และ DTAC ที่สู้ราคาที่เท่านี้ จะทำแบบนั้นไปทำไมกัน อันนี้รวมถึงกรณีที่บริษัทอื่นๆ มองว่าจะเกิดการเทคขึ้นด้วย พูดกันที่ระดับเงินแสนล้านเลยนะ
งานนี้ dtac หลังชนฝาแล้ว อีกสามปีถ้าประมูลไม่ได้อีกคงได้กลายเป็นรายเล็ก(มาก) หรืออาจจะม้วนเสื่อไปเลย (อย่างที่ใครบางคนต้องการ)
ประเด็นคือ AIS มี option 2100 15 MHz กับ 2300 30 MHz ของ TOT ซึ่งจิง ๆ มี 2300 อยู่ 60 MHz ด้วยนะสิครับ
ส่วน TRue ที่ได้ 900 ไปไม่รู้วาขะเป็นขนมหวานหรือยาพิษกันแน่
สงสัยอย่างนึงครับไม่ค่อยได้ตามข่าว ทำไม2100 ส่วนที่ TOT ถืออยู่ถึงไม่ถูกเอามาประมูลด้วยเมื่อปี 55
มันคือส่วนที่จัดสรรไว้เพื่อให้หน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจไว้ใช้งานเป็นกรณีพิเศษ ที่สำคัญคือ TOT ยังคงใช้งานอยู่ ถ้าตอนนั้นว่าง ๆ ไม่ได้ใช้งาน อาจถูกนำออกประมูลด้วยก็ได้ครับ
ขอให้ถูกลงแล้วกัน
แบบนี้ Dtac ก็....
ถ้านับผลกระทบ AIS น่าจะซวยที่สุดครับ
เพราะเอาจริงๆคลื่น
- 2300 ยังขาดอุปกรณ์รับส่งสัญญาณที่จะใช้
- 2100 เริ่มครอบคลุมแต่ก็เริ่มแน่นในบางพื้นที่แล้วแล้วเช่นกัน(จากรประสบการณ์เพราะเขตที่อาศัยหนาแน่นเน่าไปเลย)
- 1800 เหมือนยุคแรก 3G คงต้องรออีกพักนึง
ส่วนรายอื่นๆต้องรอดูหลังจะจ่ายปีที่ 4 จะล้มหรือจะรอด
สถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงที่สุดคือ DTAC ที่มีคลื่นจำเขียดมากๆๆๆ
และอดเป็นห่วงไมไ่ด้จริงๆ
แต่มองในมุมกลับ DTAC จะมีเงินในมือประมูล 850 ในอีก 3 ปีข้างหน้ามากที่สุด
กับ AIS น่าจะสู้ไม่ถอยเหมือนกันหากยังต้องการรักษาฐานลูกค้า
และคาดว่า อาจจะแตะสล็อตละ 80,000 ล้านได้ถ้าไม่มีคนมายุ่งหรือเบรค
ผมว่าได้เสาเก่าของตัวเองสมัยสัมปทานที่คืน tot ไปกับคลื่นของ tot ที่เช่ามาได้นี่ไม่ต้องกังวลเรื่องการให้บริการทั้งด้านแอเรียกับจำนวนคลื่นเลยนะครับ เกินพอ เพราะเสาไม่ต้องตั้งใหม่อาจต้องซื้ออุปกรณ์มาเพิ่มนิดหน่อยเท่านั้นเอง สรุปคือจริงๆ ais นั่นแหละชิวสุดว่าจะได้ก็ดีไม่ได้ก็ไม่เป็นไร เดาเล่นๆจาก ตอนเรียกหมอมาตรวจอีก3บ.ความดันขึ้นหมด มีแต่aisปกติอยู่บ.เดียว (อันนี้ขำๆนะครับ)ส่วนเรื่องที่เราคิดกันว่า ais คลื่นไม่พอเป็นแค่การคาดเดาของพวกเราเท่านั้นเองที่จะสนับสนุนให้เชื่อว่าเขาจะชนะ (ซึ่งจริงๆคือแพ้)
ส่วนการประมูลรอบหน้าคิดว่าข้อมูลยังน้อยเกินกว่าจะคาดเดานะครับ ดีไม่ดีที่ประมูลมาได้รอบนี้อาจทำให้ บ.ที่ชนะประมูลมีสถานะเกือบเจ๊งก็ได้จนเหลือผู้เล่น2รายแล้วคลื่นรอบหน้าก็ประมูลกันจุ๋มจิ๋มก็ได้คลื่นไป
Edit
มเพิ่งอ่านเม้นล่างๆ
มือถือรองรับ 1800 จะรองรับ2300 หรือครับ???
โปรแจกเครื่องเหมือนที่เคยทำไงครับ เอามือถืออินเดียถูกๆมาขายแบบแทบแจกฟรี หรือฟรีเลย ซึ่งที่เคยทำมาก็จุดติดซะด้วยนะ อีกอย่าง 2300 นี่เช่ามาแล้วเหรอครับ ที่เช่ามาแล้วคือ 2100 นี่ครับ แค่ตอนนี้ที่ยังไม่เช่า 2300 ก็มีคลื่นตั้ง 3 ย่านแล้ว (ประมูล2 เช่า1) ผมว่าก็น่าจะพอให้บริการแล้วนะ ถ้าเช่า 2300 ได้นี่ยิ่งมีคลื่นเหลือเกินพอเลย
จริงๆได้ 900MHz มาก็ไม่ช่วยตรงนี้เท่าไหร่ครับ เพราะคงไม่เปิดซ้ำซ้อนกับ 2100MHz(3G เหมือนกัน คนละ band กันต้องสลับความถี่อีก ไม่ได้ + ได้ตรงๆ) และถ้าเอามาเปิดแทนแล้วระยะคลื่นที่ไกลกว่าจะทำให้เครือข่ายที่หนาแน่นหนาแน่นขึ้นไปอีกครับ ที่ทำได้คือลด cell power/ขนาดพื้นที่ที่ครอบคลุม แล้วเพิ่มปริมาณเสาของ 2100MHz, เพิ่มช่วงคลื่นอย่างที่เช่าช่วงคลื่นของ TOT 2100MHz, หรือเอาเทคโนโลยีอื่นมาเปิดใช้บริการเพื่อลดผู้ใช้ของเทคโนโลยีเดิมลง(เช่น LTE1800)
แต่จริงๆแล้ว AIS ก็ซวยจริงๆครับ เพราะว่าจะขาดคลื่นที่พื้นที่ครอบคลุมกว้างกว่า ซึ่งเหมาะกับการนำไปใช้ในเขตภูมิภาค แต่ดูจากพื้นที่ coverage ของ 3G ในปัจจุบันแล้วปัญหานี้ก็ผ่อนคลายไปได้หากลูดค้าต้องการเพียงแค่ใช้งาน 3G ปัญหาที่ใหญ่ก็คือถ้าต้องการเปิด LTE1800 ในเขตภูมิภาคก็ต้องตั้งเสาใหม่จำนวนมาก เมื่อเทียบกับ 900MHz ที่ใช้จำนวนเสาน้อยกว่า ทางเลือกของ AIS มีไม่มากนักคือลงทุนกับ LTE1800 หรือรอ 850 ซึ่งไม่รู้ว่าจะได้หรือเปล่าและระยะเวลา 3 ปีเป็นระยะเวลาที่นานมากของโลกไอที
ตัว 2300TDD-LTE, 1800FDD-LTE นี่ในต่างประเทศมีการใช้งานกันเยอะแล้วนะครับ โทรศัพท์มือถือที่รองรับ 4GLTE ส่วนใหญ่ก็รองรับแล้ว ไม่น่าจะเป็นปัญหาเท่าไหร่ครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
"ถ้าต้องการเปิด LTE1800 ในเขตภูมิภาคก็ต้องตั้งเสาใหม่จำนวนมาก"
ไม่ค่อยเข้าใจ เสาต้นเดียวกันวางสองความถ่ี่ไม่ได้เหรอครับ
ลืมไปเลยครับ ขอบคุณที่ท้วงมาครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เสา ais 2100 เกือบทุกเสารองรับ multi band ครับ แถมเจ๋งกว่าด้วยการแค่แก้ software แล้วเปิดใช้ 1800 ได้เลย ถึงได้เริ่มเปิดใช้งานได้เร็วขนาดนี้ครับ
+1800ครับ
AISจะเสียลูกค้าตจว.ไปพอสมควรเลย เพราะ coverage 3G 2100 ปัจจุบัน ยังไม่เท่ากับ 2G 900 เดิมในพื้นที่ชุมชนเบาบางครับ อันนี้ว่าตามประสบการณ์ส่วนตัว ที่ได้ไปเส้นทางที่ออกจากทางหลักบ้างนะ มีคลื่นอยู่เจ้าเดียวเลย
แต่นั่นแหละ ปริมาณผู้ใช้ตรงนี้อาจจะน้อย(รวมถึงARPU) จนAISยอมเสียก็ได้
ผมว่า เค้าตั้งราคามา และคงมีแผนสอง หรือ สาม เตรียมไว้แล้ว
คิดว่า คงมี co กับ JAS
ไม่รู้สิ ผมรู้สึกว่าผลออกมาแบบนี้ เจ็บกันทุกฝ่าย
Jas เหมือนจะดีที่มีผู้เล่นใหม่ แต่ใช่ว่ามีคลื่นไม่ลงทุนเพิ่มแล้วจะไปรอด และที่สำคัญก็จะโดนกระจุกตัวอยู่แค่หัวเมืองใหญ่ไปอีกหลายปี
AIS คลื่นน้อย ไม่พอกับจำนวนคนใช้ ก็คงจะโดนบ่นเรื่องเรื่องสัญญาณต่อไป
True หนี้เดิมพี่ก็เพียบ หนี้ใหม่อีก ร่วมๆแสนล้านเลย แต่ผมถือว่าเป็นค่ายที่น่าย้ายไปใช้ที่สุดแล้ว
Dtac ย้ายหนีกันด่วนเถอะ ขนาดมีคลื่นอยู่ตอนนี้ 4G ยังมีแค่หัวเมือง 3 จียังลุ่มๆดอนๆ ติดบ้างไม่ติดบ้าง
เลือดสาด แล้วช้ำในตามมา
ใช่ครับ เจ็บทุกฝ่าย เจ็บคนละอย่าง
ถ้ามองจากฝั่งนักลงทุน หรือเจ้าของ
แต่ถ้าเรามองจากการเป็นผู้บริโภค เหมือน TRUE จะมีภาษีดีกว่าในระยะยาว
พูดตรงๆว่าต่อให้TRUEมีคลื่นเยอะกว่านี้ ก็ทำใจใช้เป็นเบอร์หลักไม่ได้เลยครับ
แค่ไปศูนย์บริการ ก็แตกต่างกันเยอะแล้ว ถ้าTRUEไม่คิดปรับปรุงตรงนี้ ก็คงไม่มีทางเป็นอันดับหนึ่งได้ แม้ว่าปีๆนึงผมจะไปศูนย์บริการไม่ถึงห้าหนก็เถอะ แต่ไปที แล้วเสียเวลา เสียอารมณ์ สู้AISไม่ได้เลยสักเสี้ยวเดียวก็ว่าได้ การแก้ปัญหายามเกิดปัญหา ให้AISคะแนนเต็ม ระบบบิลลิ่งค่ายAก็ปัญหาน้อยกว่ามากๆ
ทางเลือกตอนนี้คือมีมีอถือหลายเครื่อง ใส่ซิมทุกเจ้าสำรองกัน มือถือสมัยนี้ถูกกว่าสมัยก่อนเยอะ
เห็นด้วยเลยไปทรูนี่จะจ่ายบิลต้องรอเป็นครึ่งชม.แต่AISครจะเยอะแค่ไหนรอไม่เกิน15นาทีก็จ่ายได้แล้ว
บางทีผมก็ไม่เข้าใจว่าทำไมคิวจ่ายบิลยาวครึ่งชั่วโมง แต่ตู้จ่ายบิลสี่ตู้ว่างหมด - -"
ผมจ่ายผ่านตู้อ่ะ ไม่ถึง 5 นาทีเสร็จ ก็เลยงงๆว่าที่อื่นเขาไม่ใช้ตู้กันเหรอ
จ่ายเงินยังมีทางเลือกครับ ปกติผมจ่ายผ่านหน้าเวบโดยใช้บัตรเครดิต(ทั้ง A และ T)ไม่ต้องเสียเวลาไปศูนย์
แต่ถ้าต้องไปศูนย์แสดงว่ามีปัญหา เช่นเกี่ยวกับโปรโมชั่น หรือบิลลิ่งผิดพลาด ตรงนี้แหละ ค่าย A ก็ยังรับเรื่องและแก้ไขได้ดีกว่ามากๆครับ
ผมมีบัตรแต่ชอบจ่ายเงินสดมากกว่า
ตู้ไม่ทอนเงินนี่ครับรับแต่แบงค์ร้อย เศษยี่สิบบาทจะให้เอาไปแปดสิบบาท ผมก็ไม่เอานะ
จ่ายเกินไว้เดือนหน้าก็ได้ครับ แต่ปกติผมเตรียมไปพอดี (จริงๆ แถวบ้านมีพนักงานถือตะกร้าใส่เงินให้แลกให้พอดีด้วยครับ แต่ไม่ค่อยอยากยุ่งกับพนักงานค่ายนี้เท่าไหร่)
รอดูค่ายใหม่ ว่าน่าย้ายไปใช้แค่ไหน
ดีแทคไม่น่าเลยโปรรายเดือน (ลับ)
ของดีแทคน่าใช้ทีเดียว
รอดูกันยาวๆ
Dtac จะป่วยอีกนานไหม หายป่วยได้แล้ว ไม่อยากให้เหลือแค่ 3 เจ้า
วันนี้ป่วยหนักทุกค่ายครับ หุ้นร่วงเละเทะมาก ราคาแทบจะหารสองเมื่อเทียบกับปีก่อนเลย
อวสานใบพัดสีฟ้า??
True จะเป็นเบอร์หนึ่ง ถ้าแก้เรื่องบริการได่
ผมว่เกมนี้ ais เล่นได้ถูกสุด
AIS ขนาดตอนมีแค่ 2100 คนยังใช้เยอะ ตอนนี้มี1800 ผมมองว่าถ้าเข้าบริหารเก่ง ก็เอาอยู่ แล้วค่าประมูลที่แพงนี้จะเป็นตัวล้มคู่แข่งด้วยตัวมันเอง แล้ว 3 ปีจากนี้ก็เก็บกำไรชิวๆ ไปประมูลรอบให้ คนถือหุ้นก็ happy บริษัทก็มี Perfomace ในการแข่งขันสูงสุดอยู่ดี
JAS ประมูลได้แต่น่าเป็นห่วงที่สุดต่อให้มีการร่วมทุน เพราะถือว่าประมูลมาราคาแพงมาก ไหนจะฐานลูกค้าที่เป็น O บริการ และ service ที่ไม่ค่อยจะดีสักเท่าไร แล้วการลงทุนในเสาอีก เงินลงทุนที่ต้องใช้อีกบาน
DTAC มีเงินทุนเหลือไปประมูลอีก 3 ปีข้างหน้า 2เจ้าที่ผมว่าไม่ค่อยกล้าแล้วรอบหน้าคือ Jas True เพราะปีที่ 4 มีเงินก้อนใหญ่ของทั้ง2 เจ้าที่ต้องจ่าย ผมยังคงไม่มอง dtac อาการร่อแร่นะ ยังดู ok ในสายตา แต่ที่ผิดพลาดที่สุดคือตอนประมูล1800 ไม่ลงมาแข่งราคาเพื่อดันราคากับเขาซึ่งมองว่าผิดพลาดมากตรงจุดนี้
TRUE มีภาระทางการเงินเยอะมาก กลับมาเป็นเหมือนเมือก่อนแน่นอนตอนเข้าตลาดใหม่ๆ จนกว่าจะกลับมาทำกำไรได้ผมมองว่ารอบนี้คงไม่ตำกว่า 10 ปี ใช้กระแสเงินสดไปแสนกว่าล้านรอบนี้ผู้ถือหุ้นกับบริษัทคงเหนือย ต่อให้หุ้น true มีสูตรโกงเงิน แต่ผมว่าผู้ถือหุ้นคงจะไม่ชอบด้วย ประเด็นกลัวจะเหมือน makro ซื้อมาแพง ตอนนี้ดูเหมือนว่าเกิดหนี้สินจากการซื้อมาแพงเกินไปจะมีข่าวว่าจะโดนขายออกไปอีก แต่ถ้าเป็นตัวเลือกในการใช้บริการ ก็น่าสนใจอยู่
ผมกลัวว่าสุดท้าย JAS จะเข้ามาแล้วออกจากตลาดไปอย่างไวมากกว่า
ผมคงใช้บริการของ CAT เป็นหลักได้ความเร็ว 512 Unlitmite แท้ๆ สบายใจกว่าเยอะ แถมราคาไม่มีทางที่เจ้าไหนจะทำได้ถูกกว่าแน่นอน
CAT จะยกเลิกโปรต้องติดต่อ call center โทรไปรอสาย ส่งเมลล์ไม่มีคนตอบ
ย้ายกลับ ais เลยผม
ผมใช้net ต่ออายุอันโนมันติคับ การได้ค่าบริการถูกเวอร์ก็ต้องยอมแลกกับ serviec แย่ๆหน่อยนะคับ มาใช้ cat ต้องทำใจตรงนี้เลย แต่เรื่องใช้บริการ voice ผมใช้เครือข่ายอื่นนะคับ
ผมก็ต่ออัตโนมัติครับ แต่เป็นเติมเงิน แล้วลืมเติม - -
คือพอเป็นค่ายอื่น มันจะ retry ซัก 2 รอบแล้วยกเลิกโปรเราไปเลย พอเราเติมเงินก็ไปสมัครใหม่
เพิ่งเจออันนี้ มัน disabled แล้วบอกให้ติดต่อ CC
เข้าใจผิดนะครับ
ที่ AIS มีคนใช้เยอะมันไมได้มาจาก 2100 อย่างเดียว
ยังมาจากคลื่น 900 ด้วย เป็นคลื่นที่ใช้กับ 2G ในต่างจังหวัดจำนวนมาก ระยะส่งไกล AIS เองก็ลงทุนตั้งเสาไปแล้ว
คลื่น 900 อันนี้ก็คือคลื่นอันเดียวกับที่เอามาประมูลนี่แหละ
จะบอกว่าตอนมี 2100 คนยังใช้เยอะเลยมันก็ไม่ถูกครับ เพราะตอนนั้นมันมี 900 อยู่
ตอนนี้เสีย 900 ไปแล้ว และต้องวางเสาเพิ่มสำหรับคลื่น 2100 กับ 1800 เพิ่มเพื่อให้ได้ระยะเท่าเดิม
การประมูลคลื่น 900 ครั้งนี้สำหรับ AIS ไม่ใช่ประมูลคลื่นใหม่ ที่จะมาอ้างได้ว่าเมื่อมันแพงไปก็ไม่คุ้ม แต่เป็นการประมูลคลื่นเก่าที่ตัวเองเคยลงทุนไปแล้วมีลูกค้าใช้อยู่แล้ว แต่คนอื่นกำลังจะแย่งเอาไป
สำหรับค่ายที่มีคนใช้เยอะ ทุนหนามาก ผมก็นึกไม่ออกว่าจะเอาเงินไปทำอะไรให้คุ้มได้มากกว่านี้อีกแล้วนะ
ปัจจุบัน ais ย้ายลูกค้ามาคลื่น 21000 เยอะแล้วครับ เหลื่อ 2 ล้าน จาก 40 กว่าล้าน
หมายถึงตอนที่มีคืนเดียวตอนคลื่น 900 หมดนะคับ
ผมมองว่าเข้าเก็บเงินเอาไปประมูลรอบสุดท้ายน่าจะคุ้มกว่าแล้วเพิ่มภาระทางการเงินและกระแสเงินสดของให้บริษัทคู่แข่ง
เข้าใจผิดแล้วครับ
อย่างแรกคือ AIS ทยอยย้ายลูกค้ามาคลื่น 2100 ตั้งแต่ได้คลื่นมาแล้ว คร่าวๆว่าสามเดือนแรกก็เกิน 60% ปัจจุบันน่าจะราวๆ 95%
อย่างที่สองคืออุปกรณ์ของคลื่น 900 ทั้งหมดเป็นสิทธิ์ของ ToT ครับ ต่อให้ประมูลคลื่น 900 มาได้ก็ต้องลงทุนใหม่ไม่ก็เช่าต่อ ToT อยู่ดี
ทุนหนาก็ใช่ว่าควรเอาลงทุนเต็มจำนวนครับ เมื่อมองจากรายได้ต่อประชากรแล้วผมว่าเราประมูลแพงไปมากจริงๆ
AIS ผมว่าคงหาทางไว้แล้วว่าเอาเงินไปทุ่มเพิ่มเสา และรีบเข็นบริการร่วมกับคลื่นของ TOT ออกมามากกว่า แต่จะเสีย Position เดิมเรื่องความครอบคลุมแบบตอน Voice แน่นอน ต้องยกให้ True ไป เพราะตอนนี้แค่คลื่น 850 ที่ทำอยู่น่าจะคลุมกว่าแล้ว ถ้าได้ 2300 มาอีกจาก TOT คิดว่าไม่มีปัญหาครับ เพราะคนที่ใช้งานเยอะจริงๆ น่าจะเป็น early adopter ใช้เครื่องใหม่ เครื่องแพง ปริมาณเยอะคงจะย้ายมาคลื่นพวกนี้ได้ไม่ยาก ลูกค้าทั่วไปใช้คลื่นเก่าหาลูกค่ายง่ายอย่าง 2100 ต่อไป น่าจะแออัดน้อยลง
dtac จริงๆผมว่ายังอยู่ได้ ถ้าไม่ได้คลื่นอีก 3 ปีค่อยคิดย้ายก็ได้ ถ้าเจ้านี่จะทำต่อจริงๆ คงต้องทุ่มเงินลงเสาเยอะสำหรับคลื่นที่ยังไม่รู้จะได้มาด้วยไหมนี่แหละ การพลาดครั้งนี้คงเป็นการกดดันให้ลงทุนคลื่น 2100 ให้เท่า AIS ไม่พึ่ง 850 แล้ว และเสริม 1800 นิดหน่อย รอประมูลใหม่ ก็น่าจะดันไปได้นะครับ จริงๆ คลื่นดีกว่า AIS ถ้าลงทุนเต็มๆสถานการณ์น่าจะดีกว่า
ว่าแล้วก็ถามเพิ่มท่านอื่นๆ มีใครทราบไหมครับทำไมบ้านเราไม่ใช้คลื่น 1700 หรือมันรวมไปในคลื่น 1800 ไม่เหมือนการจัดคลื่นที่อเมริกา
จริงๆผู้บริหารเค้าคงมีราคาในใจอยู่แล้วอะ แต่แกล้งยืดเวลาประมูลมาถึงวันเสาร์ คนจะได้ไม่แห่กันทิ้งหุ้น 555
มันยืดไม่ได้หรอกครับ กสทช กำหนดวิธีประมูลไว้แบบนี้ เคาะแต่ละครั้งราคาขึ้นไม่กี่ร้อยล้าน มีเว้นห่างรอบ และมีเวลาพัก ยังมีเจ้าที่ขอเคาะครั้งเดียว ราคาขึ้นเท่าสิบครั้งอยู่เลย
ทรูสบายอยู่ละ พ่อเค้าขายผักขายหมู
ส่วน ais dtac น่าจะพอเอาตัวรอดได้
JAS นี่ละซิ ประมูลมาแพง เสายังไม่มี แถมมีคลื่นเดียว จะเอางัยต่อ... นึกถึงตอน CTH ประมูล พรีเมี่ยร์ได้เลยผม
งานนี้ หนักสุดคือ JAS ยังไม่มีฐานลูกค้าเลย ต้องไปชิงเอาของค่ายอื่นมา ระบบเครือข่ายก็ยังไม่มี ต้องสร้างใหม่ทั้งหมด ใช้เงินลงทุนอีกไม่ใช่น้อย จะเอาเงินมาจากไหน มูลค่าหนี้ที่เกิดจากการประมูล ก็เลยส่วนมูลค่าบริษัทไปแล้ว
ส่วนค่ายอื่นก็ต้องรักษาฐานลูกค้าไว้ แข่งขันด้วยราคากับคุณภาพการบริการ กำไรก่อนการประมูลก็หดหาย กลายเป็นหนี้กันคนละหลายหมื่นล้าน งานนี้โดนรัฐกับแบ้งก์กินกำไรหมด คาดว่าคงได้ขายหุ้นเพิ่มทุนกันยกใหญ่
JAS ถ้าจะให้ดี ควร swap หุ้นกับ DTAC ซะ ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย ได้ใช้เครือข่ายของ DTAC ไม่ต้องลงทุนมาก ส่วน DTAC ก็ ได้บรอดแบนด์ของ JAS ไว่สู้กับ TRUE และ AIS แบบนี้ ทั้ง JAS และ DTAC ลอยลำ
Jas มีช่วงนึงออกหุ้นกู้นี่ครับ น่าจะพอมีเงินจากตรงนั้นบ้าง
ไม่ลำบากหรอกครับ มีคลื่นในมือ ถึงไม่ขายเบอร์เองก็ยังร่วมมือกับ operator เจ้าอื่นให้เขาเช่าคลื่นได้
สมมติปล่อยร่วมใช้กับ AIS คิดค่าเช่าปีละ 1 หมื่นล้าน แค่ 7 ปีก็คืนทุนแล้ว
ถึงปล่อยให้เช่าก็คงไม่ใช่ ais แน่ๆครับ รายนั้นเขาเช่า tot แล้วยังจ่ายแค่ราวๆ3พันล้านเอง
ตัวใบอนุญาตเค้าย่อมให้เช่าช่วงด้วยหรือครับ?
ค่อยห้ามปล่อยต่อไม่ใช่หรอครับ
ครับผมอาจจะเข้าใจผิด
อาจเป็นการลงทุนแบบ CAT+True H ได้ครับ
ผมว่าที่ลำบากสุดนะ TOT กะ CAT
แต่ TOT นิแย่กว่า ดูจากที่กลับมาจูบปาก AIS ทำให้รู้ว่า ..ลำบากแน่ถ้าฉันจะขายเอง ทั้งๆที่ได้คืนมาแล้วทั้งอุปกรณ์
นอนกินแบบเดิมดีกว่า
กำๆ
เราเป็นประเทศกำลังพัฒนา
แต่มีการประมูลคลื่นโทรศัพท์มือถือที่แพงที่สุดในโลก
แสดงถึงปัญหาบางอย่างอะไรรึเปล่า
อยากอ่านข้อวิเคราะห์ด้านนี้มั่งอะครับ
แปลว่าผู้ประมูลประเมินว่า ตลาดมีโอกาสพัฒนาต่อได้อีกมากครับ
หรือผู้ประกอบการมองว่าการนำคลื่นที่มีอยู่ออกมาประมูลอีกอาจจะไม่แน่นอน?
หรือว่ามันไม่พอใช้จึงต้องประมูลกันสูงขนาดนี้
ต่อให้มีเหตุผลดังว่ามาด้วยจริงๆ เค้าก็ต้องมั่นใจว่าตลาดจะโตจนคุ้มทุนได้ครับ
ให้กำลังใจทุกค่ายครับ
ติดตามตอนต่อไป
jas + dtac ฟันธง
เป็นประวัติศาสตร์ => เป็นประวัติการณ์
ตอนแรกก็ไม่เอะใจ แต่พอลองดูใหม่ อุบัติการณ์ มันใช่กกว่าจริงด้วย!!
๐_O
\ชาบูรัวๆ
bot เว็บนี้น่ากลัวจริงๆ ฮะ ;___;
เหมือนลุงโดนอะไรฝังใจมานะครับ ;)
ผมยอมเขาเลยครับ ท่านมหาบอทคนนี้
ตอนแรกผมคิดว่าน่าจะมี script เขียนไว้ดัก keyword ที่ผิดบ่อยๆ เลยเจอคำผิดตลอด
แต่เจอแก้คำนี้นี้ script เอาไม่อยู่จริงๆ ต้องยอมจริงๆครับ
เห็นบางคนลือกันมาว่า JAS มี SK Telecom ของเกาหลีหนุนหลังอยู่
ใครพอมีข้อมูลบ้างไหมครับ
ถ้าจริงนี่ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมกล้าทุ่มหนักขนาดนี้
ลองติดตามเฟสบุ๊ค IT24Hrs ดูครับ คุณปานระพีบอกไว้ว่า SK Telecom ของเกาหลีใต้ อยู่เบื้องหลัง JAS
เท่าที่ตามข่าวมาก็เจอจากแหล่งข่าวนี้นี่แหละครับ แต่ยังไม่เจอแหล่งข่าวอื่นร่วมยืนยันด้วยเลยอยากทราบข้อมูลเพิ่มครับ :)
Jas น่าเล่นเหมือนmy
เพียงแต่ว่าmyผมช่วงเปิดบริการแรกๆ(คนใช้น้อย)ก็เสถียรดีอยู่หรอก พอมาตอนนี้อยากกลับไปtrueมากกว่า ถ้าวัดกันที่คุณภาพสัญญาณนะ
The Last Wizard Of Century.
งานนี้ Telenor อาจขาย DTAC ทิ้งก็เป็นได้ หากอีก 3 ปีประมูลคลื่นใหม่มาไม่ได้ เหลือแต่ 2100 เก็บกระเป๋าย้ายฐานดีกว่า
ส่วน AIS น่าจะเหนื่อยนิดนึง เพราะไม่มีคลื่นต่ำแอบมาใช้ใน voice แล้ว และฐานลูกค้า AIS ก็ voice ซะเยอะ คนเฒ่าคนแก่ ตอนนี้ทั้งที่มีในมือ และ MOU มีแต่คลื่นสูง ยิ่งสูงยิ่งหนาว ต้องตั้งเสาถี่มาก งานนี้น่าจะหนัก แต่เทมาเส็กเทหมดหน้าตักอยู่แล้ว ไม่น่ากังวลเท่าไร
ด้าน True คงต้องดูความสามารถในการชำระหนี้ พูดตรง ๆ ว่าต่อให้มีคลื่นเยอะแค่ไหน แต่ลูกค้าทรูคงไม่เพิ่มอย่างมีนัยยะสำคัญหรอกครับ คงต้องดูว่า China Mobile จะเอายังไงกับคลื่นที่ทรูมี แต่ค่ายนี้มีคลื่นเยอะ ผมก็ว่าสัญญาณคงไม่โอเท่าไร เพราะคงไม่ใจป้ำเหมือน AIS แน่ ๆ
JAS คงมีลับ ลวง พราง แน่ ๆ แล้วล่ะ เห็นหะแรก CEO ท่านว่าจะเช่าเสา TRUEGIF แต่เอาเข้าจริงอะไรก็เกิดขึ้นได้ น่าสนุกดีเหมือนกันแฮะ
สงสัยว่า JAS ได้คลื่นมา 10 Mhz จะเอามาทำอะไรต่อได้ ถ้าเปิด 4G หมด ก็จะไม่เหลือคลื่นไว้ทำ 3G สำหรับรองรับ Voice
หรือถ้าแบ่งคลื่นมาทำทั้ง 4G / 3G มันก็จะดูแปลกๆไปรึเปล่า? เพราะคลื่นมีแค่ 10 Mhz
หรือเปิด 3G หมด...
หรือไปโรมมิ่ง Voice กับเจ้าอื่น?
นี่ยังไม่ต้องพูดถึง VoLTE นะครับ เพราะสมาร์ทโฟน 4G ปัจจุบัน ก็ไม่ได้รองรับไปหมดทุกรุ่น
สำหรับเครื่องที่แอพโทรศัพท์ของเครื่องไม่รองรับ VoLTE ในตัว แค่ทำ app ออกมาให้ใช้ทดแทนบน Android กับ iOS ก็ได้ครอบคลุมเครื่องเยอะแล้ว ผู้ใช้จะยุ่งยากหน่อยต้องลงแอพเพิ่ม แต่ก็ยังพอมีทางใช้งานได้
ใครซื้อเครื่องจากผู้ให้บริการ ก็คงจะได้เครื่องที่รองรับมาแล้ว
กำลังเล็งๆจะย้ายค่ายเลย รอศึกลดราคา
ต่อไปศึกแย่งลูกค้า อยากให้ Jas รอดต้องช่วยกันอุดหนุน บริการเจ้าอื่นจะได้ดีขึ้นบ้าง
ไม่งั้น ทรูกินนิ่ม
ถ้าjas เปิดอาจมีโปรเหมือน my ที่ว่าเน็ตเดือนละสิบบาท เสียดายครั้งนั้นผมพลาดไป ไม่ทราบว่าครั้งหน้าถ้าjasเปิดโปรดีๆจะสามารถเขียนเป็นได้ไหมครับ ประมาณว่ามาแล้วโปรแรกจากน้องใหม่jasmin(กลัวพลาดอีก)
The Last Wizard Of Century.
M.cap ที่เหมาะสมของ JAS อยู่แถวๆ 70,000 ล้านบาท ราคานี้มันต่ำมากน่าสะสม
JAS มีเงินสดจากการขาย Jasif อยู่เป็นหมื่นล้าน แล้วก็ยังมี Jas-w3 รอแปลงอีก รวมๆแล้ว Jas จะมีเงินอยู่ 25000 ล้าน ช่วง 3 ปีต่อจากนี้ยังไม่กระทบกระแสเงินสดเพราะจ่ายค่าสัมปทานไม่มาก
Jas มีเวลา 3 ปีในการสร้างกระแสเงินสดไว้ให้สูงกว่าดอกเบี้ยที่จะต้องจ่ายจากการกู้เงินอีก 50000 ล้านในปีที่ 4 ถ้าธุรกิจไปได้ใน 3 ปีต่อจากนี้ อนาคตก็ไม่น่าเป็นห่วง
รอบประมูล 1800 เจ้าของ JAS เข้าประมูลด้วยเลยถอยกลางทาง รอบนี้แก้เกมไม่เข้าประมูล ลูกน้องเดินหน้าอย่างเดียว จึงได้คลื่นมาในที่สุด
Voice ของ True ตอนนี้แย่มาก!! รับโทรศัพท์ทีต้องวิ่งออกนอกห้อง ทั้งๆที่ ขีดสัญญาณเยอะกว่า AIS ด้วยซ้ำ. AIS ในห้องผมสัญญาณ ขีดถึงสอง Net, Voice คุณภาพมาก. True ได้ 900 ไปรอบนี้หวังว่าจะได้ Voice. ที่คุณภาพกว่านี้ ตอนแรกใช้ iPhone 5 ก็นึกว่าโทรศัพท์เราสงสัยมันเก่าแล้วเลยเปลี่ยนไปใช้ Note 4 ก็เหมือนเดิมครับ
จริงครับ โทรไม่คอยติด เมื่อไหร่จะ VoLTE หรือผ่านไวไฟสักที...
ถ้า AIS ประเมินราคาที่คุมการลงทุนที่ 75,000 ล้าน จริง ที่ประมูลจบ ก็เกินมานิดหน่อย แน่นอนว่าทรูก็คงจะประเมินไว้ใกล้กันแต่คงกัดฟันประมูลไป
แต่ทรูเหมือนคนเป็นหนี้บัตรเครดิตหลายใบ วันนึง หมุนเงินไม่ทัน งานมาละครับ
ดูอันดับ 1-14 อ่ะครับ
Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)
เข้าใจคับว่าบริษัท โกงเงินได้ แต่ภาระนี้อีกหลายปีกว่าจะหมด เหมือนตอน ทำแรกๆ ทำบริษัทโดยไม่ใช้เงินตัวองสักบาท แต่พอเริ่มลืมตาอาปากได้ กลับมาเป็นหนี้ก่อนใหญ่ต่ออีก
เจ้านี้ถึงหนี้เยอะแต่แบคหนา ความเชื่อมั่นยังดี
โดยเฉพาะเบอร์สอง แค่ Operator ที่ใหญ่ที่สุดในโลกเอ๊งงงง
onedd.net
Jas จะเหมือน cth หรือเปล่าเพราะเป็นผู้เล่นหน้าใหม่ขาดความพร้อม
ไม่หรอกครับ
เพราะโครงข่าย 3BB ของ JAS ตอนนี้มีทั่วประเทศ แค่ติดอุปกรณ์เพิ่มก็ได้แล้ว ไม่ต้องตั้งเสาใหม่เยอะแยะครับ ส่วน CTH ที่มีปัญหานั้นเพราะเป็นแค่เจ้าใหญ่ที่มารวบรวมผู้ประกอบการทีวีรายเล็กตามท้องที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ไม่ได้มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง ดังนั้น ในแง่ของ JAS หากเงินมากพอ การวางโครงข่ายพื้นฐานผมเชื่อว่าไม่ถึง 1 ปี ก็ครอบคลุมแล้วล่ะครับ
ยุค data ผนวกพื้นฐาน broadband ด้วย Wireless broadband ลูกค้าเดิมกว่า 2 ล้านครัวเรือน และ 1 หลังใช้สมาร์ทโฟนเสียส่วนใหญ่ นั้นคือกลุ่มลูกค้าในอนาคตที่เพิ่มอย่างรวดเร็ว เดี่ยวนี้ย้ายค่ายง่ายกว่าเปลี่ยนเบอร์
ขอบคุณมากครับ