Tags:
Node Thumbnail

การออกแบบอินเทอร์เฟซเพื่อให้มนุษย์ทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้โดยไม่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะเป็นหัวข้อวิจัยที่วงการคอมพิวเตอร์พยายามพัฒนาอย่างหนักในช่วงหลายปีที่ผ่านมา จุดสำคัญที่สุดคงเป็นการที่คอมพิวเตอร์เปลี่ยนจากระบบอินพุตหลักเป็นคีย์บอร์ดและเมาส์มาเป็นจอสัมผัส

alt="upic.me"

ในงาน NAIAS นอกจากฟอร์ดจะเปิดตัวรถหลายรุ่น (รุ่นสำคัญที่สุดที่สื่อสหรัฐฯ ให้ความสนใจคือ GT ที่เป็นรถแข่งที่ยังใช้วิ่งบนถนนจริงได้) หัวข้อนำเสนอหนึ่งคือกระบวนการพัฒนาอินเทอร์เฟซของ SYNC 3 ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขว่าผู้ใช้ต้องเข้าถึงฟีเจอร์สำคัญๆ ของรถได้โดยที่ไม่เสียสมาธิต่อการขับขี่ หัวข้อนี้นำเสนอโดย Parrish Hanna ผู้อำนวยการฝ่าย Human Machine Interface

alt="upic.me"
alt="upic.me"

คำถามสำคัญของการออกแบบ SYNC 3 คือการถามว่าผู้ใช้ทั่วไปเข้าใจและใช้งานฟีเจอร์ที่รถให้มาหรือไม่ โดยทุกวันนี้รถยนต์มีฟีเจอร์เพิ่มขึ้นมากกว่าเมื่อร้อยปีก่อนอย่างมาก แต่อินเทอร์เฟซของรถกลับพัฒนาอย่างสะเปะสะปะ ผู้ใช้เข้าใจได้ยากว่าสุดท้ายแล้วจะต้องการใช้ฟีเจอร์เหล่านั้นอย่างไร

alt="upic.me"

เป้าหมายหนึ่งของการออกแบบของฟอร์ดคือเปิดให้รถยนต์ทำงานร่วมกับโทรศัพท์ได้ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถตอบโต้กับโทรศัพท์ได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย Parrish ระบุว่าผู้ใช้จำนวนมากวางโทรศัพท์ไว้บนหน้าตักตลอดเวลา บางคนวางไว้ในที่วางแก้วแล้วหันไปมองตลอดเวลาซึ่งอันตรายมาก ทางฟอร์ดพิจารณาแนวทางที่จะวางอินเทอร์เฟซใหม่นี้ลงไปหลายจุด แล้วตัดสินใจว่าจะวางลงไปแทนวิทยุในรถยนต์

alt="upic.me"
alt="upic.me"
alt="upic.me"

กระบวนการออกแบบอินเทอร์เฟซจะวนเป็นรอบๆ ออกแบบและทดสอบกับกลุ่มทดสอบไปเรื่อยๆ โดยบางครั้งผู้ทดสอบจะต้องอยู่ในรถจำลอง บางครั้งอยู่ในคอนโซลจำลองเพื่อถามว่าสามารถเปิดปิดฟังก์ชั่นที่กำหนดได้ถูกต้องหรือไม่ ในการทดสอบหนึ่งผู้ทดสอบจะได้รับมอบหมายให้ขับรถจำลองต่อเนื่อง 8 ชั่วโมงเพื่อสังเกตว่าเขายังตอบสนองได้ดีหรือไม่หากขับรถยาวจนเหนื่อยล้า จากนั้นจึงนำผลที่ได้มาปรับปรุงเป็นเวอร์ชั่นต่อไป

alt="upic.me"

หน้าจออินเทอร์เฟซของ SYNC 3 ถูกเลือกมาหลากหลายว่าจะออกแบบในธีมแบบไหน และได้ข้อสรุปว่าจะอาศัยความเคยชินกับโทรศัพท์อยู่แล้วโดยปรับเป็นการออกแบบแบบ flat

alt="upic.me"

จากนั้นจึงออกแบบอินเทอร์เฟซพื้นฐานว่าควรจะมีหน้าจออะไรบ้าง อินเทอร์เฟซถูกปรับมาเรื่อยๆ จนกระทั่งได้รูปแบบที่ทีมงานพอใจเมื่อช่วงกลางปี 2013 แล้วจึงเริ่มกระบวนการทดสอบครั้งแรกในเดือนกันยายน ทีมงานได้รับเสียงตอบรับว่าอินเทอร์เฟซมีปัญหาอะไรบ้าง การทดสอบหนึ่งแสดงให้เห็นว่าการ "เลื่อน" บนหน้าจอสัมผัสไม่เหมาะกับการใช้งานในรถนักเพราะผู้ใช้ไม่สามารถปรับค่าได้ตามต้องการ

alt="upic.me"

การทดสอบแต่ละรอบผู้ใช้จะมีโจทย์ให้สั่งงานรถในฟังก์ชั่นพื้นฐานที่ใช้งานบ่อยๆ เช่น เล่นเพลงจาก USB, สั่งโทรศัพท์ด้วยเสียง, หาเส้นทางในแผนที่, ปรับอุณหภูมิในห้องโดยสาร ฯลฯ ผลการทดสอบได้คำตอบอย่างหนึ่งคือผู้ใช้ส่วนมากไม่ต้องการปุ่ม "Home" บนคอนโซลรถ ต่างจากการใช้งานแท็บเล็ตและโทรศัพท์

alt="upic.me"

เมื่อมาถึงขั้นสุดท้ายก่อนอินเทอร์เฟซจะได้รับอนุมัติ ทีมงานจึงทดสอบกับ "ANN" หญิงคนหนึ่งที่ขับรถจำลองแล้วขอให้ทำตามคำสั่งที่กำหนดขณะที่ขับรถไปด้วย

alt="upic.me"

ทางฟอร์ดยอมรับว่าปัญหาอินเทอร์เฟซนั้นไม่ได้จบแค่การทดสอบภายใน แต่เมื่อรถยนต์ที่ใช้ SYNC 3 ออกสู่ตลาดจริงๆ แล้วน่าจะมีปัญหาอื่นๆ เข้ามายังฟอร์ดจากการซัพพอร์ต ทางฟอร์ดเตรียมเก็บข้อมูลที่ได้รับรายงานจากซัพพอร์ตเพื่อมาอัพเดตซอฟต์แวร์ให้สมบูรณ์ขึ้นไปภายหลัง เพราะ SYNC 3 นั้นรองรับการอัพเดต OTA ผ่าน Wi-Fi ได้ด้วย

ความสำเร็จของ SYNC 3 คงไม่ได้ขึ้นกับกระบวนการออกแบบเพียงอย่างเดียว ยังมีความท้าทายอื่นๆ ทั้งการหาแนวร่วมและการแข่งขันจากคู่แข่ง แต่บทเรียนการออกแบบส่วนอินเทอร์เฟซระหว่างรถและผู้ใช้ของฟอร์ดก็น่าจะเป็นบทเรียนให้กับกระบวนการออกแบบแอพพลิเคชั่นได้

อัลบั้มภาพทั้งหมดของการบรรยายนี้อยู่ใน Google+ ครับ

Get latest news from Blognone

Comments

By: RyoDaii
Windows PhoneAndroidWindows
on 13 January 2015 - 23:34 #781241

อยากเห็นระบบจริงๆซะแล้วสิ

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 13 January 2015 - 23:44 #781244
panurat2000's picture

เป้าหมายหนึ่งของการออกแบบทของฟอร์ดคือ

การออกแบบท => การออกแบบ

หน้าจออินเทอร์เฟซของ SYNC 3 ถูกเลือกมาหลายหลายว่า

หลายหลายว่า ?

จากนั้นจึงออกแบบอินเทอร์เฟซะพื้นฐาน

อินเทอร์เฟซะ => อินเทอร์เฟซ

ปรับอุณหถูมิในห้องโดยสาร ฯลฯ

อุณหถูมิ => อุณหภูมิ

ผู้ใช้ส่วนมากไม่ต้องการปุ่ม "Home" บนโทรศัพท์ ต่างจากการใช้งานแท็บเล็ตและโทรศัพท์

ไม่ต้องการปุ่ม "Home" บนโทรศัพท์ ?

เตรียมเก็บข้อมูลที่ได้รับรายงานจากซัพพอร์ด

ซัพพอร์ด => ซัพพอร์ต

เพื่อมาอัพเดตซอฟต์แวร์ให้สมบูรณ์ขึ้นไปภายหลัก

ภายหลัก => ภายหลัง

By: LazarusSP1
ContributoriPhone
on 14 January 2015 - 00:00 #781251

จริงๆ ฟีเจอร์พวกนี้สนใจมากเลย แต่ถ้าเข้ามาในไทยต้องชั่งน้ำหนักระหว่างศูนย์บริการที่แล้วแต่ดวงคนจะเจอ กับการ QC รถรุ่น Sub compact ที่เขากล่าวลือในโลกออนไลน์ว่าเป็นขวัญใจรถยกแทนเชฟโรเรตไปเสียแล้ว

By: BlackMiracle
WriterAndroidUbuntuWindows
on 14 January 2015 - 10:28 #781317

รถฟอร์ดน่าใช้ขึ้นเรื่อยๆ แต่ในไทยติดเรื่องศูนย์บริการเนี่ยแหละ


Pitawat's Blog :: บล็อกผมเองครับ

By: HudchewMan
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 14 January 2015 - 10:57 #781327
HudchewMan's picture

ผู้ใช้ส่วนมากไม่ต้องการปุ่ม "Home" บนโทรศัพท์ ต่างจากการใช้งานแท็บเล็ตและโทรศัพท์

งงกับตรงนี้ครับ


~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 15 January 2015 - 11:12 #781723 Reply to:781327

เดาว่าน่าจะต้องการเรียกใช้ฟังก์ชันต่าง ๆ ได้ทุกหน้าจอ แทนที่จะต้องกลับโฮมก่อนมั้งครับ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: HudchewMan
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 15 January 2015 - 14:11 #781773 Reply to:781723
HudchewMan's picture

คุณ lew แก้ไขประโยคใหม่ล่ะครับ ที่ผมงงเพราะตอนแรกเขียนผิดนั่นเอง ฮา

ไม่ต้องการปุ่ม "Home" บนคอนโซลรถ

จะว่าไป การควบคุมในคอนโซลรถ ผมก็ไม่อยากได้ Home นะ

คือให้มีแต่ละปุ่มรออยู่คงที่ไว้เลย แล้วหน้าจอส่วนที่แสดงผลเป็นหลักให้เปลี่ยนไปตามโหมดที่เลือก เหมือนการใช้ tab ui :)


~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~

By: keen
iPhoneAndroidUbuntu
on 15 January 2015 - 06:48 #781638
keen's picture

นอกเรื่องนิดนึง สงสัยว่าจอที่ใช้ในการบรรยายแบบนี้เป็นจออะไรครับ เพราะดูไม่ใช่โปรเจ็คเตอร์แน่ ไม่ทราบว่ามันเป็นจอ led หรืออะไรกันแน่ ราคาแพงมากไหมครับ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 15 January 2015 - 22:47 #781876 Reply to:781638
lew's picture

LED ครับ เต็มกำแพง (กำแพงบูตเลย) ส่วนที่ใช้แสดง slide นี่แค่ตัดบางส่วนของบูตมาขึ้น slide


lewcpe.com, @wasonliw