Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

ความคืบหน้าล่าสุดของโครงการ Project Loon ที่ Google ได้เลือกทำเลทดสอบอุปกรณ์ที่ออสเตรเลียโดยได้รับความร่วมมือจาก Telstra ในการทดสอบส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตจริง ตอนนี้ Google ได้ออกมาประชาสัมพันธ์ความคืบหน้าของโครงการว่าทีมงานสามารถส่งบอลลูนขึ้นไปบนชั้นบรรยากาศได้ถึงวันละ 20 ลูก และบอลลูนเหล่านั้นก็สามารถลอยค้างฟ้าได้นานขึ้นเป็น 100 วัน

แนวทางที่สำคัญของโครงการ Project Loon นั้นก็คือการส่งบอลลูนขึ้นสู่ท้องฟ้าให้กระจายตัวเป็นวงแหวนรอบโลก ซึ่งประเมินจำนวนบอลลูนที่ต้องใช้มากถึง 7,000 ลูก ดังนั้นการปรับปรุงกระบวนการทำงานส่งบอลลูนขึ้นฟ้าให้รวดเร็วขึ้นจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันโครงการนี้ให้สำเร็จเร็วขึ้น โดยตอนนี้ทีมปฏิบัติการได้สร้างเครื่องเติมแก๊สอัตโนมัติช่วยย่นเวลาบรรจุแก๊สใส่บอลลูนได้ใน 5 นาที ทำให้สามารถปล่อยบอลลูนได้วันละ 20 ลูก

ในแง่ของการปรับปรุงอุปกรณ์ เมื่อเปรียบเทียบกับตอนเริ่มโครงการในปีที่แล้ว ตอนนั้นบอลลูนของ Google สามารถลอยอยู่บนชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์แค่ราว 10 วันเท่านั้น ดังนั้นการที่อุปกรณ์ซึ่งได้รับการปรับปรุงสามารถทำงานบนชั้นบรรยากาศได้นานกว่าเดิมมากกว่า 10 เท่าจึงถือเป็นพัฒนาการสำคัญ (สถิติสูงสุดตอนนี้คือ 130 วัน) ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของทีมงานให้ทนุถนอมบอลลูนก่อนทำการปล่อยยิ่งขึ้น เป็นต้นว่า ทีมผลิตบอลลูนต้องสวมถุงเท้าขนปุยในระหว่างทำงานซึ่งต้องเดินเหยียบไปบนบอลลูนระหว่างการผลิต

นับถึงตอนนี้การทดสอบของโครงการ Project Loon ได้ปล่อยบอลลูนเคลื่อนที่รวมเป็นระยะทางกว่า 3 ล้านกิโลเมตรแล้ว ด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมาทำให้ทีมโครงการสามารถพยากรณ์ทิศทางของกระแสลมบนบรรยากาศชั้นสตราโทสเฟียร์ได้แม่นยำยิ่งขึ้น ดังตัวอย่างการปล่อยบอลลูนชุดหนึ่งให้เคลื่อนที่ไกลกว่า 9,000 กิโลเมตรนั้นพบว่ามันสามารถเดินทางไปถึงพิกัดทำการจากพื้นที่เป้าหมายเพียง 1.5 กิโลเมตรเท่านั้น ซึ่งความแม่นยำในการกำหนดจุดปล่อยบอลลูนเพื่อส่งมันไปยังพื้นที่เป้าหมายนี้จะช่วยให้ประสิทธิภาพการรับ-ส่งสัญญาณอินเทอร์เน็ตระหว่างบอลลูนและภาคพื้นดินทำได้ดีขึ้น

หวังว่าโครงการ Project Loon จะประสบความสำเร็จใช้งานได้จริงในอีกไม่ช้า

ที่มา - +Project Loon

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 24 November 2014 - 20:38 #766512
hisoft's picture

เอาจริงๆ ผมยังมองไม่เห็นภาพของโครงการนี้เลยแฮะ - -" สงสัยต้องรอดูต่อไป ผลักดันขนาดนี้น่าจะมีอะไรดี

By: Golflaw
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 24 November 2014 - 21:07 #766517
Golflaw's picture

ใช้บอลลูนแทนเสาเซลล์ไซด์


A smooth sea never made a skillful sailor.

By: Mc_Jewel on 24 November 2014 - 21:28 #766521

จะเอามาทำเป็นเครื่องพยากรณ์อากาศได้ป่าวคับ

By: dekdar on 24 November 2014 - 21:31 #766522

แสดงว่าต้องมีการปล่อยตลอด ในระยะเวลา 100 วัน เพื่อที่จะได้จำนวนที่ต้องการ ใช่ไหมครับ

By: zotix
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 24 November 2014 - 21:58 #766528

เครื่องบินจะชนไหม หรือยานอวกาศ

By: I3assy on 25 November 2014 - 00:12 #766563 Reply to:766528
I3assy's picture

อเมริกานั้นกว้างใหญ่มากครับ

By: HackKingSoft
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 25 November 2014 - 02:38 #766579 Reply to:766563
HackKingSoft's picture

ตอบไปสิครับว่าโดนไม่โดนแบบนี้ตอบไม่ตรงคำถามนิ! (ขนาดเจ้าตัวยังไม่แน่ใจตอบแบบไม่ตรงเลย) :P

By: Fzo
ContributorAndroid
on 24 November 2014 - 21:59 #766531
Fzo's picture

หมดอายุการใช้งาน จะเป็นปัญหามลภาวะมั๊ยครับ หรือมันย่อยสลายเองได้ ?


WE ARE THE 99%

By: ตะโร่งโต้ง
WriterAndroidWindows
on 25 November 2014 - 12:58 #766699 Reply to:766531
ตะโร่งโต้ง's picture

พอมันตกลงมา ทีมงานจะตามสัญญาณที่ปล่อยจากบอลลูนเพื่อไปเก็บกลับมาใช้งานใหม่คับ


ช่างไฟสมัครเล่น (- -")

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 24 November 2014 - 22:06 #766534
Holy's picture

มันไม่เปลืองฮีเลียมเหรอครับ เคยได้ยินว่าสุดท้ายฮีเลียมอาจกลายเป็นของหายาก?

By: AMp
In Love
on 24 November 2014 - 22:15 #766537 Reply to:766534

นั่นสิ ผมก็ทราบมาประมาณนี้เหมือนกัน

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 24 November 2014 - 22:23 #766540 Reply to:766534
hisoft's picture

นักวิทยาศาสตร์โวยลูกโป่งสวรรค์ "เอาฮีเลียมคืนมา!"

ถึงจะไม่ได้หายากขนาดนั้น แต่ถ้าเอามาลงกับโครงการนี้ก็คงหมดเร็วล่ะครับ ไม่แน่ว่าโครงการนี้อาจจะใช้อย่างอื่นก็ได้ (แต่คงไม่)

ว่าแต่ถ้าเราทาบอลลูนเป็นสีดำ ตอนกลางวันแดดแรงๆ มันจะลอยได้สูงขึ้นมั้ยครับ ;)

By: vitnu
iPhone
on 24 November 2014 - 23:14 #766557 Reply to:766534

ผมก็ได้ยินมาว่างั้น แต่สงสัยว่าฮีเลียมที่ขายๆกันอยู่ ก็คงแยกมาจากอากาศรอบๆตัวเรา ฉะนั้น จะเอามาใช้ใส่บอลลูน หรือลูกโป่งสวรรค์ หรือไม่เอามาใช้เลย สักวันมันก็หมดโลกอยู่ดี นอกจากแยกไปเก็บเอาไว้ในถังเฉยๆ ผมเข้าใจถูกป่าว ล่าสุดผมเอาถัง 1.5 ไปเติมฮีเลียม เค้าคิด 3000 บาท แพงมากๆ

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 24 November 2014 - 23:51 #766561 Reply to:766557
Holy's picture

"ฮีเลียมบนโลกของเราได้มาจากการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี (ในรูปของอนุภาคอัลฟ่า) ฮีเลียมส่วนใหญ่จะลอยหลุดพ้นบรรยากาศของโลกไปเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกไม่พอที่จะยั้งฮีเลียมไว้ได้ แต่ฮีเลียมในรูปของก๊าซบางส่วนจะถูกกักไว้ในหิน, แร่, และปิโตรเลียม เมื่อขุดปิโตรเลียมขึ้นมา ฮีเลียมจะถูกกลั่นแยกลำดับส่วนและเก็บไว้"

ตามลิ้งค์คุณ hisoft ด้านบนเลยครับ

By: iStyle
ContributoriPhoneAndroidSymbian
on 24 November 2014 - 22:08 #766535
iStyle's picture

เครื่องมือครองโลกสินะ


May the Force Close be with you. || @nuttyi

By: narongworlds
AndroidRed HatUbuntuWindows
on 24 November 2014 - 22:11 #766536

คำนวนแบบหยาบๆ ทั่วโลกใช้เจ็ดพันลูก
โลกมีพื้นที่ 510,072,000 ตร.กม.
โลกมีพื้นดินอยู่ 29% คิดเป็น 148,940,000 ตร.กม
หนึ่งลูกครอบคลุมพื้นที่ใช้งาน 148,940,000ตร.กม/7000ลูก = 21,278 ตร.กม
หนึ่งลูกจะต้องเติ่มแก๊ส 365วัน/100วัน = 3.65 ครั้ง/ปี
หนึ่งปีต้องเติมแก๊ส 7,000ลูกx3.65ครั้ง = 25,550 ครั้ง/ปี
หนึ่งวันต้องเติ่มแก๊ส 25,550ลูก/365วัน = 70 ลูก/วัน
ถ้าใครไปทำงาน คุณจะใช้เวลา 100 วันในการเที่ยวรอบโลก
ลองไปสมัครกันดูครับ // คิดเลขเล่นๆน่ะครับอย่าถือสา555

By: JackieNP
ContributorUbuntu
on 24 November 2014 - 22:35 #766543 Reply to:766536
JackieNP's picture

ผมนี่งงกับตัวเลขเลย ฮ่าๆ


รักนะคะคนดีของฉัน

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 24 November 2014 - 22:44 #766549 Reply to:766536

ไม่เล่น ๆ แล้วครับเนี่ย ไหน ๆ ก็ไหน ๆ ขอปริมาณแก๊สที่จะต้องใช้ด้วยสิครับ ^^


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: jack8855
iPhoneAndroidRed HatSymbian
on 24 November 2014 - 22:41 #766546
jack8855's picture

ดาวเทียมมันไม่ดีพอหรือครับ

By: ตะโร่งโต้ง
WriterAndroidWindows
on 24 November 2014 - 23:00 #766553 Reply to:766546
ตะโร่งโต้ง's picture

ผมเข้าใจว่ามือถือส่วนใหญ่ที่วางขายกันไม่น่าจะต่อเน็ตจากดาวเทียมได้โดยตรงนะคับ


ช่างไฟสมัครเล่น (- -")

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 26 November 2014 - 06:39 #766892 Reply to:766546
TeamKiller's picture

ดีเลย์.เยอะ และต้องใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณด้วยนะครับ

By: Syndrome
iPhoneWindows PhoneAndroid
on 25 November 2014 - 10:21 #766645

วิสัยทัศน์ของบ.นี้ นับวันยิ่งน่าทึ่งเข้าไปทุกที

By: shelling
ContributoriPhoneAndroidUbuntu
on 25 November 2014 - 15:58 #766754
shelling's picture

การปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานของทีมงานให้ทนุถนอมบอลลูน

ทนุถนอม -> ทะนุถนอม

By: gingtalk
Windows PhoneAndroidWindows
on 25 November 2014 - 16:24 #766759
gingtalk's picture

ถ้ามันตกมาสร้างอุบัติเหตุ เค้าจ่ายขนาดใหน หรือ ต้องฟ้องเอาเอง

By: thailandebiz
ContributorAndroid
on 26 November 2014 - 15:18 #767046
thailandebiz's picture

คงกะให้บอลลูนอยู่ได้นานที่สุด เป้าหมายคงกะให้ลอยได้เป็นปีๆ เลย