Thailand

ในวันนี้ (25 มิถุนายน) บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ได้ออกแถลงถึงกรณีที่ลูกค้าจำนวนมากได้ร้องเรียนถึงกรณีบิลช็อคจากเกม Cookie Run ที่เกิดขึ้นจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้เล่นอย่างเป็นทางการ และประกาศยกหนี้เฉพาะในส่วนของยอดจาก Google Play Carrier Billing ที่มียอดสูงผิดปกติให้ลูกค้าทุกรายแล้ว โดยลูกค้าทุกรายจะได้รับการติดต่อจากเจ้าหน้าที่เพื่อให้ความเยียวยาต่อไป

ทั้งนี้เอไอเอสได้ปิดให้บริการในส่วนของบริการ Google Play Carrier Billing สำหรับลูกค้าในระบบรายเดือนตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคมที่ผ่านมา และขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนาระบบการจำกัดยอดเงินของ Google Play Carrier Billing ซึ่งเอไอเอสคาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในช่วงเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้

อย่างไรก็ดีเอไอเอสยังได้กล่าวเพิ่มถึงกรณีที่มีผู้ออกมาร้องเรียนว่าได้รับใบแจ้งหนี้จากธนาคารไทยพาณิชย์ที่ยอดสูงผิดปกติจากการเล่นเกม Cookie Run เพิ่มเติมด้วยว่าเอไอเอสไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องในเรื่องนี้แต่อย่างใดครับ

ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ของเอไอเอส

นายปรัธนา ลีลพนัง รองกรรมการผู้อำนวยการ สายงานการตลาด เอไอเอส กล่าวว่า “จากการที่ขณะนี้ได้มีข่าวเผยแพร่เกี่ยวกับกรณีที่ประชาชนใช้บริการซื้อคอนเทนต์ของ Google Play และชำระผ่านช่องทางบัตรเครดิตธนาคารฯ (นายทัศนะ พยัคฆินทร์ อายุ 62 ปี และนางวีนัส พยัคฆินทร์ อายุ 58 ปี ที่หลานชายวัย 8 ขวบ จังหวัดลำปาง เล่นเกมบนมือถือ และถูกเรียกเก็บเงินโดยหักจากบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ เป็นจำนวน 129,123 บาท) และคิดว่ามีความเกี่ยวข้องกับบริการของเอไอเอสนั้น ขอเรียนชี้แจงว่า ถือเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะหลังจากตรวจสอบแล้ว พบว่ากรณีดังกล่าวเป็นการชำระผ่านบัตรเครดิตธนาคารที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับเอไอเอสแต่อย่างใด เพราะลักษณะบริการของเอไอเอส คือเป็นช่องทางรับชำระค่าสินค้าและบริการให้กับ Google Play โดยหักจากบิลล์ค่าโทรศัพท์ของเอไอเอสเท่านั้น และขณะนี้ได้ปิดการให้บริการพร้อมดูแลลูกค้าที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว”
โดยเอไอเอสใคร่ขอเรียนถึงความคืบหน้า กรณีลูกค้าใช้งานเล่นเกมบนมือถือ และมีค่าบริการสูงผิดปกติ ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาว่า จากการที่บริษัทได้มีความห่วงใยและยินดีให้การดูแลลูกค้าโดยหลังจากเปิดบริการนี้เมื่อ 30 เมษายน 2557 และได้ทำการระงับบริการนี้ไปตั้งแต่วันที่ 31 พฤษภาคม 2557 โดยยกเว้นค่าสินค้าและบริการของ Google Play ที่หักจากบิลค่าโทรศัพท์ของเอไอเอสให้แก่ลูกค้าในระบบโพสต์เพดทุกรายที่ใช้งานโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และขณะนี้ได้ทยอยสื่อสารไปยังลูกค้าที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวเพื่อบรรเทาความกังวลแล้ว ดังรายละเอียด ประกอบด้วย

  1.  สำหรับลูกค้าที่ใช้บริการดังกล่าวโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ บริษัทได้ทยอยส่ง SMS เรียนให้ลูกค้าทราบถึงการดูแลยกเว้นค่าใช้จ่ายส่วนนี้
    
  2.  บริษัทฯ อยู่ระหว่างการพัฒนาระบบแจ้งเตือน และเพิ่มเติมระบบการกำหนดยอดการใช้งานสูงสุดในการชำระค่าสินค้าและบริการได้ด้วยตนเอง (Credit Limit) เพื่อป้องกันการเกิดผลกระทบในอนาคต ซึ่งคาดว่าจะเสร็จภายในเดือน ก.ค. 57
    
  3.  ให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้บริการในโลก Online เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป
    

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

ผมถือว่าผู้ใช้ไม่มีความรู้และไม่มีความรับผิดชอบนะครับ ก่อนที่จะซื้อของมันก็บอกราคา (พร้อมค่าเงินบาท) อยู่แล้วด้วย ผู้ให้บริการจำเป็นต้องลิมิตการใช้งานด้วยเหรอครับ

เอาอย่างงี้ ถ้าจะให้เปรียบเทียบกันให้เห็นภาพแบบสมัยก่อน ที่มีนิตยสารเป็นกดหมายเลขเพื่อโหลดเกม แล้วถ้าผู้ใช้กดซื้อจนไม่สนใจ ผู้ให้บริการต้องรับผิดชอบเหรอครับ?

บางทีผู้ให้บริการไม่จำเป็นที่จะต้องรับผิดชอบสักนิดเลยครับ ความผิดของผู้ใช้งานเอง

ผมว่าบางทีคนไทยได้รับการให้อภัยจนเคยชินด้วยแหละครับ มันเลยหละหลวมกันอย่างงี้ คงต้องมีบทเรียนราคาแพงกันซะบ้าง ถึงจะจำกันครับ

คุณยังอยากจะทำธุรกิจในประเทศที่ประชาชนยังขาดความรับผิดชอบแบบนี้อยู่หรือเปล่าล่ะครับ ? คิดจะเปลี่ยนคนเป็นล้านๆ คน สู้เปลี่ยนองค์กรของคุณง่ายกว่าไหม ?

การกำหนดเพดานค่าใช้จ่ายมองอีกแง่ก็เป็นการปกป้องสิทธิของผู้ให้บริการเหมือนกัน เพราะมีเพดานขั้นสูงแล้ว ต่อไปลูกค้าก็ต้องรับผิดชอบตัวเอง

แต่เห็นด้วยว่าประเทศนี้อะไรๆ มันได้มาง่ายเกินไป บางทีมันไม่ได้มาพร้อมความรู้ ก็เข้าข่ายมอมเมาได้เหมือนกัน

ด้วยเหตุนี้ผู้ใช้จึงจะต้องหาความรู้เข้าตัวเองไงครับ ไม่ใช่ว่าสักแต่ใช้ๆ พอดีเกิดปัญหาก็โบ้ยความผิดพลาดของตนเองให้ผู้อื่นแล้วบอกว่า "ฉันไม่รู้" อย่างงี้เหรอครับ?
ผมว่าตรรกะนี้มันโคตรวิบัติเลยแหละครับ เพราะฉะนั้นจึงต้องสอนด้วยบทเรียนราคาแพงไงครับ

แต่อีกอย่างหนึ่งผู้ให้บริการก็ควรมีจรรณาบรรณด้วย (แต่ไม่ใช่ปล่อยให้ความผิดของผู้ใช้ปล่อยผ่านๆ ไป) ด้วยเหตุนี้ผมคิดว่าเจอกันครึ่งทาง น่าจะลงตัวที่สุดครับ

ต้องบอกครับ

ผมใช้บัตรเครดิต ถ้าวันหนึ่งผมเลินเล่อทำบัตรเครดิตหาย ชะล่าใจไม่โทรแจ้งอายัด มีคนเอาไปรูดเป็นความผิดของผมครับ วงเงินผมสองหมื่นผมรับผิดชอบสองหมื่น ผมเคยรูดเองเกินวงเงิน ธนาคารก็หยุดไม่ให้รูดครับ ราคาของผมก็รู้ครับ

บัตรเครดิตเกิดคิดบริการพิเศษ จ่ายผ่านร้านอะไรสักอย่าง ไม่รวมวงเงิน คนเอาไปรูด บัตรเครดิตต้องรับส่วนต่างครับ ผมรับผิดชอบของผมไป

บริการรับจ่ายเงิน ให้บริการเกินวงเงิน คือการละเมิดผู้บริโภคครับ

บทเรียนราคาแพง คือบทเรียนของผู้ให้บริการครับ ผู้ให้บริการคิดบริการวิเศษจากไหนมาได้ จะเก็บค่าบริการ ก็เคารพวงเงินที่ผู้ใช้ตั้งไว้ซะ คิดตามนั้น วงเงินเกินก็ต้องแจ้ง ผู้ใช้ไม่ยินดีเพิ่มวงเงินก็ต้องหยุดให้บริการ

-1

ส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเมินเฉยละเลยต่อการคุ้มครองผู้บริโภค??

เป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการที่จะต้องให้ข้อมูลแก่ผู้ใช้บริการอย่างชัดเจนด้วย ไม่ใช่วันดีคืนดีมีบริการใหม่โผล่มา แล้วก็งุบงิบไม่บอกลูกค้าถึงความเสี่ยง แบบนี้ลูกค้าก็มีสิทธิ์ไม่รู้

บางคนอาจคิดว่าตนเองรอบรู้มาก และคิดว่าคนอื่นต้องรอบรู้เหมือนตนไปเสียหมด ถ้าโลกเป็นอย่างนั้นได้ก็คงจะดีครับ แต่มันไม่ใช่ และต้องยอมรับว่าผู้รู้เท่าไม่ถึงการณ์เป็นเรื่องปกติที่มีในสังคมมนุษย์ ต่อให้คนที่คิดว่าตนเองรอบรู้มาก เช่นพวกไอที แต่ก็อาจไปพลาดพลั้งกับเรื่องอื่นๆ ได้เช่นกัน

ผมมองว่าควรดูที่เจตนา ถ้ารู้เท่าไม่ถึงการณ์จริง เจตนาในที่นี้คือตั้งใจเสียค่าบริการเป็นแสน แต่ในที่นี้คือผู้ใช้ไม่คิดจะเสียค่าบริการเป็นแสนอยู่แล้ว และถ้ารู้คงไม่ทำ ซึ่งแบบนี้ถือว่าผู้ใช้รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ไม่มีเจตนา ก็ต้องเยียวยายกเว้นค่าใช้จ่ายกันไปก็เป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลดี นอกเสียจากว่ากดไปโดยรับรู้ว่าตนจะต้องเสียเงินแสนจริงๆ แบบนี้จึงถือว่ามีเจตนา

+1000 กับความคิดเห็นนี้ครับ
ภาคธุรกิจบ้านเราบกพร่องเรื่องแบบนี้มาก ถ้าเป็นต่างประเทศ ได้ sue กันแหลกลาน

อีกเรื่องนึงคือบ้านเราเรื่องผิดกฏหมายเยอะมาก ยกตัวอย่างคือการขายยาของในอินเตอร์เน็ต
ยาลดความอ้วน อาหารเสริม ครีมทาผิว ไม่มี อย. รับรอง ขายกันอย่างละเมิดกฏหมาย
ของคุณภาพต่ำ หรือ Placebo ด้วยซ้ำ มีคนซื้อกันโจ่งครึ่ง คนขายแต่ละคนมีรายได้นับล้านบาท
ไม่ใช่ทุกคนหรอกครับ ที่สามารถจะแยกแยะเรื่องที่ควรและไม่ควรได้

ผมคิดว่าอันนี้ไม่ใช่ "รู้เท่าไม่ถึงการณ์" ครับ เพราะว่าช่วงที่จ่ายเงินก็จะมีจำนวนเงินบอกอยู่และเป็นค่าเงินไทยด้วยครับ

และสิ่งที่ผมต้องการบอกคือ ผู้ใช้บริการเองก็ควรศึกษาข้อมูลก่อนใช้บริการครับ ไม่ใช่เอาแต่กด Next อย่างเดียว

ต่างประเทศเขาเป็นมาก่อนแล้วข่าวก็นานมากแล้ว ลองไปดูแล้วกันว่าเขาแก้ยังไงแล้วเพราะอะไร

ผมเข้าคิดว่าควรให้ผู้ใช้จ่ายเท่าที่วงเงินจำกัดครับ ส่วนที่เหลือให้บริษัทออก

ถ้ากรณีเด็ก กดเล่นมั่วซั่ว ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ แอ๊บแบ๊ว ไร้เดียงสาหรืออะไรก็แล้วแต่แล้วบริษัทรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมดผมเข้าใจครับ
แต่กรณีเด็กตั้งใจโกงแต่แรก แล้วบริษัทรับผิดทั้งหมดผมไม่ค่อยเข้าใจครับ แต่ถ้าเป็นเรื่องของการตลาดก็อาจพอเข้าใจได้

เรื่องนิสัยของเด็ก เป็นอีกประเด็นหนึ่งครับ ที่พูดกันว่าเด็กคิดจะโกงก่อนโดนแบบนี้ก็สมควรแล้ว มันไม่ใช่ครับ ไม่ว่าเด็กจะทำอะไรก็ตามผู้ปกครองคือด่านแรกที่รับผล ถ้ายอดมันลิมิตไว้ทุกยอด ก็จ่ายเท่าที่ลิมิตครับ คำถามคือแล้วทำไมไม่ลิมิตยอด google carrier billing แต่แรก? ถ้าผู้ปกครองทราบว่ามียอดอื่นนอกจากการโทร การใช้เน็ต เขาจะลิมิตไหม? เรื่องเจตนาโกงก็ว่ากันไปอีกเคสหนึ่ง

AIS มีความผิดฐานไม่แจ้งข้อมูลให้ชัดเจนแต่แรก เชื่อว่าถ้าผู้ปกครองรับทราบและเข้าใจแต่แรก เรื่องนี้จะเกิดได้ยาก

ส่วนที่ AIS ต้องยกยอดให้ คือยอด google carrier billing หัก ยอดที่ผู้ปกครองแจ้งลิมิต(นับตามการใช้งาน+โปร)

บางทีก็มีจิตใจช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์บ้างเถอะครับ ที่ AIS เค้าออกมาทำแบบนี้ก็ดีแล้ว ถือว่าช่วยเหลือคนไม่ให้เป็นหนี้หรือหนี้ลดน้อยลง ไม่ใช่ทุกคนหรอกครับที่เค้าจะรู้เรื่อง คนที่รู้น้อยเกี่ยวกับมือถือยังมีอีกเยอะ แนะนำให้ลองไปสมัครงานเป็นพนักงานใน shop มือถือดูนะครับ คุณจะเข้าใจมากขึ้นว่าคนที่รู้เยอะแบบใน blognone ไม่ได้มีทุกที่และไม่ได้เป็นคนส่วนมาก

ผมเอาโทรศัพท์ให้ลูกเล่นเกม Danger Dash เป็น Game Offline แต่ถ้าต่อ Net ก็ซื้อ Item ได้เช่นกัน ลูกผม 3 ขวบ ก็กดเล่นไปเรื่อย กดไปโดนซื้อ Item ใน Game ก็ถูกหักเงินเลย ไม่เคยมีการถามว่าจะยินยอมใช้บริการหักเงินโทรศัพท์หรือไม่ ถูกบังคับให้ยินยอมเป็นค่า Default ดีที่โทรศัพท์ผมใช้แบบเติมเงิน เลยไม่เดือดร้อน ที่พอจะป้องกันตัวเองได้ก็คือปิด Net ก่อนให้ลูกเล่น

ผมใช้ Nokia X ซึ่งใช้ Nokia Store ลองหาวิธีตั้ง Password แล้วแต่หาไม่เจอ ไม่สามารถตั้งได้เหมือน Google Play Store

มันเป็นความผิดพลาดของผู้ให้บริการที่ไม่limitวงเงินด้วยส่วนหนึ่ง

แต่ต้นตอจริงๆแล้ว มาจากการที่เด็กจงใจพยายามจะโกงAISนะครับ ตามข่าวว่าช่วงแรกระบบคิดเงินจาก AISมีช่องโหว่ ก็มีคนทำคลิปวิธีโกงเงินจากAISให้ได้เพชรฟรีๆเต็มไปหมด

เด็กมันก็เลียนแบบ แต่ไปเลียนแบบตอนที่AISปิดช่องโหว่ไปแล้ว ก็เลยโดนคิดเงินเต็มๆ

คำถามคือ ผู้จงใจโกงเงินผิดหรือไม่?

ลองคิดดูง่ายๆครับ ถ้าเด็กแค่เล่นเกมปกติ กดเพลินมันก้ไม่มีทางเยอะได้ขนาดนี้ แต่เด็กกดมากขนาดนี้เพราะคิดว่าโกงเงินสำเร็จแล้ว

ผมยืนยันอย่างหนึ่งว่าพ่อแม่ต้องจ่ายนะครับ แต่จ่ายตามวงเงินเท่านั้น

พ่อแม่ซื้อเบอร์ให้ลูกวงเงินสองพัน ลูกเอาไปใช้ จะเอาไปทำอะไร เกินไปไหม บิลมาสิ้นเดือนเจอเต็มวงเงินสองพัน พ่อแม่ไปจ่ายแล้วจะสั่งสอนลูกยังไงก็ว่ากันไปครับ

พ่อแม่ซื้อเบอร์ให้ลูกวงเงินสองพัน บิลมาสองแสน อันนี้อีกเรื่องครับ

เห็นด้วยทุกประการครับ
ผมเพิ่งทราบว่าพ่อแม่ต้องจ่ายตามวงเงิน ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ

ผมไม่ทราบว่าจริงๆ จ่ายเท่าไหร่ครับ แต่ผม "ไม่ได้" เรียกร้องให้ไม่จ่ายเลย แต่เรียกร้องให้ "จ่ายตามวงเงิน"

ถ้า AIS จะรับเกินนั้นผมมองว่าเป็นเรื่องของการตกลงกันเองครับ ไม่ใช่เรื่องสิทธิผู้บริโภคแล้ว ในมุมมองของผม

+1 กับความเห็นของท่านครับ ผมก็คิดอย่างนั้นเช่นกัน
เด็กอยากโกง โกงได้ บริษัทเสียหาย บริษัทรับต้องผิดชอบ พอโกงแล้วไม่ได้(ตามข่าว) เด็กเสียหาย บริษัทรับผิดชอบให้ - -'
ที่บริษัทออกมาแสดงรับผิดชอบในส่วนที่ผิดพลาดของตัวเอง ผมเห็นว่าถูกต้องสมควร น่าชื่นชมครับ

แต่ประเด็นจองผมอยู่ตรบนี้ครับ ใครก็ได้ตอบผมที

  1. เด็กเจตนาที่จะโกงตั้งแรกต้น "ผิดไหม" ? ไม่ใช่ไม่รู้ แต่นี่ตั้งใจ(โกง)
  2. สืบเนื่องจากข้อแรกครับ Operator ควรรับผิดชอบยอดค่าใช้บริการทั้งหมดเลยหรอ ?
  3. ข้อนี้ไม่ค่อยเกี่ยวกันแต่ว่าอยากทราบความเห็นจากท่านอื่นครับ เพราะเป็นเด็กทำอะไรก็ไม่ผิด ? ทำอะไรไม่ต้องคิดก็ได้ ไม่ต้องมีส่วนรับผิดชอบในความผิดใดๆ ผมเป็นเด็ก ผมรู้เท่าไม่ถึงการณ์ครับ (ยิ้ม)

เจตนาโกงกับค่าบริการเป็นแสนนี่คนละเรื่องกันครับ เอามารวมกันมันก็มั่วไปหมด

1.เจตนาโกง ผิด แจ้งความ ดำเนินคดีตามกฏหมาย
2.วงเงินมีอยู่ ถ้าไม่มีก็ตีซะสองเท่าของค่าบริการายเดือน ที่เหลือ Operator ควรรับผิดชอบทั้งหมด
3.เด็กทำผิดก็มีความผิดครับ ไปดูตามสถานพินิจก็จะเห็นเด็กที่ทำผิดเต็มไปหมด

เอาจริงๆปัญหามันไม่ได้อยู่แค่ที่ carrier billing ของ AIS อย่างเดียวนี่ครับ ถึงพวกตัดกับบัตรเครดิตกับหักจากบัญชีธนาคารมันมีลิมิต แต่คนยิ่งรวย วงเงินเยอะ ยิ่งโดนเยอะ เป็นแสนก็มีเหมือนกัน

ทางไลน์หรือทางกูเกิลน่าจะออกมาพูดอะไรมั่งนะครับ เหมือนตอนนี้ที่โดนจะเห็นมีแต่ทางกูเกิลเพลย์ ทางแอปสโตร์ยังไม่เห็นอ่ะ

แล้วเหมือนเคยเห็นข่าวเก่าของต่างประเทศ ที่มีเด็กซื้อของทางแอปสโตร์นี่ก็ขอคืนเงินได้

ของ App Store นั้นเป็นคนละกรณีกันครับ อันนั้นเป็นการกดซื้อ paid app หลายตัวรัวๆ เลยเกิดค่าใช้จ่าย เพราะ appstore ถาม password แค่ครั้งแรก ครั้งต่อๆ มาถ้าซื้อภายใน 15 นาทีไม่ต้องป้อนรหัสผ่าน หลังจากเคลียร์กันไปรอบนั้น appstore ก็ได้เพิ่มตัวเลือกในระบบให้ถาม password ทุกครั้งที่กดซื้อแล้ว

บัตรเครดิตนี่ปกติถ้ายอดผิดปกติเขาต้องโทรมาแจ้งเตือนแล้วสิครับ ถ้ารู้ตัวว่าผิดปกติต่อให้ไม่รู้ว่าหลานเอาไปใช้ก็ควรจะนึกได้ว่ารหัสอาจถูกขโมยไปใช้ ไม่ว่ายังไงก็น่าสั่งระงับก่อนได้นี่นา......

ส่วนตัวแล้วไอพวกที่ผูกกับบริการต่างๆที่ไม่ต้องยืนยันด้วย otp ผมจะใช้ K-Web Shopping Card เพราะจำกัดวงเงินง่ายใครเอาเครื่องไปใช้กดให้ตายยังไงก็ไม่เกินวันละ 1000 บาทและผมก็จะรู้ตัวด้วยเมลใบเสร็จที่มันส่งมาให้อยู่ดี ต่อให้ไม่รู้ตัวด้วยเมลผมก็จะรู้ตัวด้วย sms อยู่ดี

เคสแบบนี้ส่วนตัวผมไม่ช่วยเรียกร้องอะไรให้นะครับ ตัวผมเองมีบัตรเครดิต เปิดบัตรครั้งแรกผมลดวงเงินทันทีตามที่ตัวเองรับผิดชอบไหว ผมมองว่าธนาคารค่อนข้างให้ข้อมูลชัดเจน ตอนบอกลดวงเงินก็ไม่มีอิดออด (เข้าใจว่าถูกคุมจากแบงค์ชาติหนักกว่าฝั่ง telecom เยอะ)

ผู้ใหญ่ไม่ผิดเหรอไง ปล่อยให้ลูกตัวเองเล่นไม่ดูแล แล้วไอดีพวกนี้ควรแบนไปเลย ได้เพชรอื้อซ่าไปอวดเพื่อนอีก แล้วไอ้ที่บอกคลิปสอนโกงก็น่าเอามาให้ดูด้วยว่ามันจริงไหม ผมว่าเด็กมันโกหกมากกว่า

อย่างเด็กคนแรก คำแก้ตัวฟังไม่ขึ้นนะ

ฮีบอกเปิดยูทูปดูวิธีโกงเลยคิดว่าทำตามได้ไม่เสียเงิน

“ส่วน ด.ช.XXXเปิดเผยว่า ได้เล่นเกมคุกกี้รันมาระยะหนึ่งแล้วแต่ไม่เคยมีปัญหาอะไร
กระทั่งไปเปิดในยูทูปพบ เว็บไซต์หนึ่งบอกว่าสามารถซื้อเพชรในเกมคุกกี้รันได้ฟรีโดยไม่ต้องเสียเงิน”

แต่พอให้สัมภาษณ์ปรากฎว่า

“นึกว่าเงินในเกมสามารถสั่งซื้อเพชร หรือ ตัวการ์ตูนตัวใหม่ๆ ได้ตามใจชอบ

เพราะหวังทำคะแนนสูงสุดกว่าเพื่อนๆ ที่แข่งกัน 10 คน มีหลายครั้งที่กดสั่งซ้ำๆ เพื่อให้ทันใจ”

มันฟังแล้วขัดกันพิกล แสดงว่าเด็กรู้ว่าการซื้อของในเกมต้องเสียเงิน เลยเปิดดูยูทูปเพื่อหาวิธีให้ไม่เสียเงิน

แต่พอให้สัมภาษณ์กลับบอกนึกว่าเงินในเกมใช้ซื้อของได้…

~

ตอนนี้มีเปิดโรมมิ่งเสีย 14 ล้านโผล่มาด้วยนะ…

ส่วนนึงก็เพราะเทคโนโลยีเข้าหาเด็กเร็วเกินไป บางคนนี่ยังไม่มีนิติภาวะ บางคนยังแยกเงินจริงกับเงินในเกมไม่ออก ส่วนนี้ก็น่าจะผิดทั้งคู่ ผมว่าทางAISน่าจะจ่ายเพียงครึ่งเดียวแล้วอีกครึ่งให้ชำระจ่ายเป็นงวดๆไปจะดีกว่า จะไม่ได้มีพฤติกรรมเลียนแบบแบบนี้
โตไปไม่โกง ก่อนโตก็โกงไปก่อน :D

"โตไปไม่โกง แต่ก่อนโตก็โกงไปก่อน" อันนี้ฮาครับ
ว่าแต่จะสอนยังไงให้ไม่โกงนี่สิครับ ทุกวันนี้บ้านเราไอ้เรื่องโกงนี่ ไม่รู้ว่าต้องให้ผู้ใหญ่สอนเด็ก หรือว่าให้เด็กสอนผู้ใหญ่

ที่จริงไม่ใช่เรื่องซีเรียส AIS เอา ID มาทำเรื่อง Refund ก็น่าจะจบบิลก็บอกอยู่แล้วว่าชาจมาจาก ID ไหน เพราะกรณีนี้ Refund จากต้นสังกัตน่าจะได้อยู่แล้วนะ

ในทางกลับกันผู้ให้บริการเกมเครียดหนักเลยครับ ตอนนี้ใครซื้อของอะไรเสร็จปุ๊บเกิดไม่พอใจไปบีบคอ operator ขอให้คืนเงิน (แล้ว operator ก็มาบีบอีกต่อ)

รายได้ทางเดืยวที่มีเหลืออยู่อย่าง IAP ก็กลายเป็นว่าเอาแน่เอานอนไม่ได้แล้ว

สำหรับผมรู้สึกว่าการให้ IAP ปลดล็อกเมื่อไหร่เท่าไหร่ก็ได้เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำครับ มีปัญหาทั้งในแง่ความสนุกของเกมและยังมีปัญหาทางสังคมตามมาอีก อีกทั้งการปล่อยให้ปลดล็อกด้วยเงินปริมาณมาก ๆ ได้สุดท้ายตัวผู้ให้บริการก็เก็บเงินไม่ได้อยู่ดีครับ

เห็นใจผู้ให้บริการเหมือนกัน

มันก็น่าสงสัยอยู่นะ บริการของ ais ที่ให้ซื้อแอพหรือไอเท็มในเกมส์โดยไม่ต้องมีบัตรเครดิตเนี่ย มันต้องสมัครสมาชิกและกรอกข้อมูลก่อนไม่ใช่หรือ ถ้ามีการกรอกข้อมูลเพื่อยอมรับเงื่อนไขจริงแบบนี้ทางผู้บริโภคก็ควรมีส่วนรับผิดชอบด้วย ส่วนทาง ais ก็น่าจะมีระบบเครดิตลิมิตให้เหมือนกัน

ถ้าการไปเปิดใช้โทรศัพท์แล้ว เขา ส่งบิลมาเก็บเงินเท่าไหรก็ได้นี้ ผมว่าไม่ถูกต้องนะครับ การเปิดเบอร์นี้ง่าย ๆ เลยนะครับ
แม้แต่การยืนยันรหัสผ่านโทรศัพท์ ผมว่ามันก็ยังไม่ดีพอนะ มันต้องมีรหัส 2 ฝั่งมารวมกันถึงจะใช้ได้ ไม่งั้น มีอย่างอื่น ๆ ตาม
อีกหลายอย่าง อย่าลืมเรื่อง internet banking

ส่วนเรื่องเด็กโกงนี้ เด็กนะครับ ยังต้องสอนต้องเตือนอีกเยอะ ยิ่งเป็นเกมแล้ว ยิ่งแยกลำบาก

Negator Thu, 06/26/2014 - 10:00

AIS ก็ยอมเข้าเนื้อกันไปครับแหม่ แต่ผมรู้สึกหมั่นไส้เคสที่ออกมาแถว2 แถว3 ตามกระแสยังไงไม่รู้สิ

นึกถึงเคสวงโย คุณตันเลยนะครับแหม่

วัวหายล้อมคอมแหะงานนี้
บทเรียนราคาแพงเลย แต่ผมเห็นด้วยกับหลายๆท่านแหะ ที่บอกว่าผิดทั้งเด็กและ AIS ความจริงวงเงินมันน่าจะมีการเตือนบ้างเป็นระยะๆ อาจจะเป็น SMS หรือ อีเมล์หรือ Call Center โทรมาสอบถามก็แล้วแต่ เพราะแน่นอนว่า คนซื้อแพ๊คเกจแค่ 399 หรือ 599 บางทีก็คงไม่คิดจะใช้ถึงขนาด 10000 Up หรอก บางที การทำแบบเตือนเป็นระยะๆ ให้ทราบถึงยอดเกิน น่าจะแก้ปัญหาได้ ดีกว่าการลิมิต เพราะการลิมิตมันเหมือนกับการกักขัง ทำให้เหมือนรู้ว่า เด็กไทย หรือคนไทย ไม่มีวุฒิภาวะ ในการใช้เงินเลย บริหารไม่เป็นสะท้อนอะไรบางอย่างออกมาเลยนะเนี่ย
แต่ถ้าให้ดี ควรจะให้เด็กรู้จักการจัดการพื้นฐานเรื่องเงินๆทองๆ ตั้งแต่เล็กๆก็ดีนะครับ (ความคิดส่วนตัว)

ล้อมแล้วก็ยังดีกว่าไม่ล้อมครับ ถ้าล้อมแล้วก็ควรจะล้อมให้หมดเลย ไม่ใช่เอาแค่ google play เอาโรมมิ่งด้วย ให้จำกัดค่าบริการให้ได้ทั้งหมดเลย

โรมมิ่งก็จำกัดวงเงินได้ครับ ตอนผมมาอังกฤษวันแรก ยังไม่ได้ซื้อซิม เลยใช้โรมมิ่ง แต่ไม่ได้เปิดเน็ต พอเปิดเครื่อง เอไอเอสส่งข้อความมาก่อนเลยว่าจำกัดค่าบริการ2000บาทก่อนนะถ้าอยากใช้เพิ่มให้โทรไป(ฟรี)

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find Hub
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png
Airbnb
public://topics-images/airbnb.png
PS5
public://topics-images/ps5.png
Krafton
public://topics-images/krafton.png
Doom
public://topics-images/doom-game-s_logo.svg_.png
AMD
public://topics-images/amd_logo.svg_.png
GTA
public://topics-images/gta_0.png
DoorDash
public://topics-images/doordash.png
YouTube
public://topics-images/yt.png
YouTube Music
public://topics-images/yt-music.png
Facebook
public://topics-images/fb.png
iQiyi
public://topics-images/iqiyi_0.png
Viu
public://topics-images/viu.png
Amazon Prime Video
public://topics-images/prime-vid.png
Spotify
public://topics-images/spotify.jpg
Apple TV
public://topics-images/apple-tv.png
HBO Max
public://topics-images/max.png
Threads
public://topics-images/threads.png
Alexa
public://topics-images/alexa.png
Kindle App
public://topics-images/kindle.png
Shopee
public://topics-images/shopee.png
Waze
public://topics-images/waze.png
Bilibili
public://topics-images/bili.png
Google Maps
public://topics-images/maps.png
Apple Music
public://topics-images/apple-music.png
Claude
public://topics-images/claude.png
TikTok
public://topics-images/tiktok.png
Xbox
public://topics-images/xbox.png
Tesla
public://topics-images/tesla.png
Chrome
public://topics-images/chrome.png
Google Calendar
public://topics-images/gcal.png
Google Home
public://topics-images/ghome.png
Google Meet
public://topics-images/meet.png
NotebookLM
public://topics-images/notebooklm.png
Reddit
public://topics-images/reddit.png
Assassin’s Creed
public://topics-images/ac.png
Mark Zuckerberg
public://topics-images/zuck.jpg
Meta
public://topics-images/meta.png
Meta AI
public://topics-images/meta-ai.png
Epic Games
public://topics-images/epic_games_logo.svg_.png
Unreal
public://topics-images/unreal_engine_logo-new_typeface-svg.png
Fortnite
public://topics-images/fortnite.png
DeepMind
public://topics-images/deepmind.png
Databricks
public://topics-images/databricks.png
Netflix
public://topics-images/netflix-logo.png
Microsoft Azure
public://topics-images/azure.png
Microsoft Copilot
public://topics-images/microsoft_copilot_icon.svg_.png
Bing
public://topics-images/bing.png
EA
public://topics-images/ea.png
Intel
public://topics-images/intel.png
Amazon
public://topics-images/amazon.png
AWS
public://topics-images/aws.png
Zoom
public://topics-images/zoom.png
Dropbox
public://topics-images/dropbox_0.png
Roblox
public://topics-images/roblox.png
Dell Technologies
public://topics-images/dell-tech.png
Nothing
public://topics-images/nothing.svg_.png
Microsoft Teams
public://topics-images/teams.png
Mojang
public://topics-images/mojang.png
Minecraft
public://topics-images/minecraft.png
Redis
public://topics-images/redis_logo.svg_.png
Ubisoft
public://topics-images/ubisoft_logo.svg_.png
Elden Ring
public://topics-images/elden.png
Brave
public://topics-images/brave.png
Opera
public://topics-images/opera.png
Vivaldi
public://topics-images/vivaldi.png
Microsoft Edge
public://topics-images/edge.png
Duolingo
public://topics-images/duolingo.png
LinkedIn
public://topics-images/linkedin.png
Canva
public://topics-images/canva.png
Realme
public://topics-images/realme.png
NASA
public://topics-images/nasa-logo.png
Booking.com
public://topics-images/booking.png
Agoda
public://topics-images/agoda.png
Bolt
public://topics-images/bolt.png
Grab
public://topics-images/grab.png
Temu
public://topics-images/temnu.png
LINE
public://topics-images/line.png
Facebook Messenger
public://topics-images/messenger.png
WhatsApp
public://topics-images/whatsapp.png
Telegram
public://topics-images/telegram.png
Signal
public://topics-images/signal.png
X.com
public://topics-images/x.png
Grok
public://topics-images/grok.png
xAI
public://topics-images/xai.png
CapCut
public://topics-images/capcut.png
Edits
public://topics-images/edit.png
Google One
public://topics-images/gone.png
Tinder
public://topics-images/tinger.png
Whoscall
public://topics-images/whoscall.png
OneDrive
public://topics-images/onedrive.png
Lightroom
public://topics-images/lr.png
Meitu
public://topics-images/meitu.png
Outlook
public://topics-images/outlook.png
Excel
public://topics-images/excel.png
PowerPoint
public://topics-images/ppt.png
Microsoft Word
public://topics-images/word.png
Phone Link
public://topics-images/phone-link.png
OneNote
public://topics-images/onenote.png
Windows App
public://topics-images/windows-app.png
Notion
public://topics-images/notion.png
Google Drive
public://topics-images/drive.png
YouTube Kids
public://topics-images/yt-kids.png
Gboard
public://topics-images/gboard.png
DeepSeek
public://topics-images/deepseek_logo.svg_.png
Prince of Persia
public://topics-images/prince-persia.png
Sony
public://topics-images/nq0nd2c0_400x400.jpg
Cisco
public://topics-images/jmyca1yn_400x400.jpg
Alibaba
public://topics-images/4axflwia_400x400.jpg
Alibaba Cloud
public://topics-images/qm43orjx_400x400_cloud.png
Coinbase
public://topics-images/consumer_wordmark.png
CarPlay
public://topics-images/carplay.png
Rust
public://topics-images/rust-logo-blk.png
Red Hat
public://topics-images/redhat.png
Anthropic
public://topics-images/anthropic.png
Xcode
public://topics-images/xcode.png
Tim Cook
public://topics-images/tim-cook.jpg
Donald Trump
public://topics-images/trump.jpg
Microsoft Surface
public://topics-images/surface.jpg
Copilot+ PC
public://topics-images/copilotpc.png
Stellar Blade
public://topics-images/stellar-blade.jpg
Snapdragon
public://topics-images/snapdragon_chip.png
Qualcomm
public://topics-images/qualcomm-logo.svg_.png
CoreWeave
public://topics-images/coreweave.png
Ford
public://topics-images/ford.png
Xiaomi
public://topics-images/xiaomi.png
Google Cloud
public://topics-images/google_cloud_logo.svg_.png
PlayStation Network
public://topics-images/psn.png
PlayStation Plus
public://topics-images/ps-plus.png
Windsurf
public://topics-images/windsurf.png
Square Enix
public://topics-images/square-enix.png
MIT
public://topics-images/x7hyjl3t_400x400.jpg
Zoox
public://topics-images/zoox.jpg
Evernote
public://topics-images/1neatidg_400x400.jpg
Magic the Gathering
public://topics-images/magic.png
Call of Duty
public://topics-images/cod.png
NVIDIA
public://topics-images/nvidia_logo.svg_.png
Satya Nadella
public://topics-images/nadella.png
Nintendo
public://topics-images/nintendo.png
Japan
public://topics-images/japan_flag.png
China
public://topics-images/china-flag-sq.png
Sam Altman
public://topics-images/sam-altman.png
SNK
public://topics-images/snk_logo.svg_.png
EPYC
public://topics-images/epyc.png
HPE
public://topics-images/hpe.png
Juniper
public://topics-images/juniper.png
CMA
public://topics-images/cma.png
App Store
public://topics-images/app-store.png
DoJ
public://topics-images/doj.png
Siri
public://topics-images/siri.png
Apple Intelligence
public://topics-images/apple-intelligence.png
Acer
public://topics-images/acer.png
GeForce
public://topics-images/geforce.png
Omen
public://topics-images/omen.png
HP
public://topics-images/hp.png
Alienware
public://topics-images/alienware.png
Dell
public://topics-images/dell.png
Bungie
public://topics-images/bungie.png
Marathon
public://topics-images/marathon.png
Lenovo
public://topics-images/lenovo-2015-svg.png
Intel Arc
public://topics-images/badge-arc-graphics.png
GitHub
public://topics-images/8zfrryja_400x400.png
GitHub Copilot
public://topics-images/copilot.png
Foxconn
public://topics-images/foxconn_0.png
Visual Studio
public://topics-images/vs.png
Visual Studio Code
public://topics-images/vscode.png
WSL
public://topics-images/wsl.png
Linux
public://topics-images/linux.png
Tencent
public://topics-images/tencent_logo_2017.svg_.png
Entra
public://topics-images/microsoft_entra_id_color_icon.svg_.png
RHEL
public://topics-images/rhel-icon.png
MSI
public://topics-images/msi-logo-for_digital_use_b.png
MCP
public://topics-images/mcp.png
Docker
public://topics-images/docker.png
RISC-V
public://topics-images/risc-v-logo.svg_.png
Fedora
public://topics-images/fedora.png
ASUS
public://topics-images/asus.png
ROG
public://topics-images/rog-logo_red.png
Naughty Dog
public://topics-images/naughty-dog.png
AIS
public://topics-images/357073423_657473419752809_8491928084596189631_n.png
National Telecom
public://topics-images/nt.jpg
Elon Musk
public://topics-images/elon_musk_2015_0.jpg
OpenShift
public://topics-images/openshift-logotype.svg-0.png
Shift Up
public://topics-images/shiftup.png
Bethesda
public://topics-images/bethesda.png
The Elder Scrolls
public://topics-images/tes.png
CATL
public://topics-images/img_7841.png
Radeon
public://topics-images/radeon.png
Waymo
public://topics-images/waymo.jpg
Borderlands
public://topics-images/borderlands4.png
Android XR
public://topics-images/android-xr.png
Ninja Theory
public://topics-images/ninja.jpg
Jonathan Ive
public://topics-images/ive.jpg
Bitcoin
public://topics-images/bitcoin.svg_.png
Baidu
public://topics-images/baidu.jpg
Wear OS
public://topics-images/wearos.png
Activision
public://topics-images/activision.svg_.png
Netmarble
public://topics-images/netmarble.png
NetEase
public://topics-images/netease.png
Fujifilm
public://topics-images/l_9ycfw2_400x400.png