Tags:
Node Thumbnail

เอกสารงานวิจัยที่เพิ่งได้รับการเผยแพร่ใหม่ระบุว่า ภาพถ่ายดิจิทัลแต่ละภาพมีลักษณะเฉพาะซึ่งรวมถึงรูปแบบของ noise ที่เกิดในภาพแตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจทำให้ระบุได้ว่าภาพถ่ายนั้นถูกถ่ายโดยใคร และงานวิจัยนี้อาจเป็นประโยชน์ต่องานสืบสวนหาผู้กระทำผิด (เช่น ถ่ายภาพอนาจารเด็ก, ขโมยสมาร์ทโฟนแล้วมาใช้งานถ่ายภาพ) ในอนาคต

งานวิจัยนี้เป็นผลงานของ Riccardo Satta และ Pasquale Stirparo ซึ่งเป็นนักวิจัยจากสถาบันเพื่อการป้องกันและความปลอดภัยพลเมืองของคณะกรรมการยุโรป มีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาลักษณะเฉพาะของภาพถ่ายดิจิทัล โดยระบุว่าภาพที่ถูกถ่ายมาจากอุปกรณ์ตัวเดียวกัน จะมีลักษณะเฉพาะซึ่งรวมถึงรูปแบบของ noise เกิดขึ้นในรูปแบบเดียวกันในทุกภาพ ทว่าภาพที่ถ่ายมาจากอุปกรณ์ต่างชิ้นกันจะมีลักษณะดังกล่าวแตกต่างกัน

ทีมวิจัยได้ทดลองรวบรวมข้อมูลภาพถ่ายจากเครือข่ายสังคมออนไลน์อย่าง Facebook, Google+, Tumblr, Flickr รวมถึงบล็อกต่างๆ และทำการจับคู่ภาพถ่ายที่มีลักษณะเฉพาะแบบเดียวกันเพื่อระบุตัวผู้ถ่ายภาพ ผลการทดสอบมีความถูกต้องราว 56%

แม้ว่าผลการทดสอบที่ออกมายังถือว่าการระบุผู้ถ่ายภาพจากภาพถ่ายยังไม่แม่นยำนัก แต่ผู้วิจัยก็มองว่าอย่างน้อยเทคนิคนี้ก็ยังคงเป็นประโยชน์สำหรับงานสืบสวนหาผู้กระทำผิดบนอินเทอร์เน็ตได้โดยการจำกัดวงผู้ต้องสงสัยให้แคบลง ซึ่งก็ถือว่ายังดีกว่าการสุ่มไล่ตรวจสอบรายละเอียดข้อมูลของทุกคนบนอินเทอร์เน็ต

ที่มา - The Verge, เอกสารงานวิจัย

Get latest news from Blognone

Comments

By: lingjaidee
ContributoriPhoneAndroid
on 7 May 2014 - 11:30 #701289
lingjaidee's picture

มันอาจพิสูจน์ว่าถ่ายโดยอุปกรณ์รุ่นไหน แต่ต้องพิสูจน์ให้ได้ด้วยว่าใครเป็นคนถ่าย ;)


my blog

By: pepporony
ContributorAndroid
on 7 May 2014 - 13:16 #701329 Reply to:701289

ผมว่าเค้าพยายามทำให้มัน unique จนถึงขั้น "กล้องตัวนี้" เลยนะครับถ้าอ่านจากข่าว

ทีนี้ก็อาจจะเอามาใช้เป็นหลักฐานได้เหมือนกับเวลาเราตรวจว่ากระสุนถูกยิงจากปืนกระบอกไหนได้ล่ะมั้ง

By: art_duron
AndroidWindows
on 7 May 2014 - 13:35 #701336 Reply to:701329
art_duron's picture

งาน​วิจัยหัวข้อแนว​นี้​ผมเคยอ่านเจอมาหลายปีแล้วครับ
ว่าสามารถ​ระบุ​ว่าใช้กล้อง​ตัว​ไหน​ถ่าย​ได้​
แต่ข้อจำกัด​เมื่อ​ก่อน​คือ ถ้า​รูป​ถูก​ย่อหรือ​ขยาย​ ก็ตรวจสอบไม่ได้แล้ว

By: revensoft
Windows PhoneWindows
on 7 May 2014 - 11:34 #701292

ถ้าภาพนั้นถูกดัดแปลงตัดแต่งก่อนทำการเผยแพร่ เทคนิคนี้จะยังได้ผลอีกหรือไม่ครับ ?

By: nrml
ContributorIn Love
on 7 May 2014 - 12:39 #701315 Reply to:701292
nrml's picture

น่าจะคล้ายๆ รอยนิ้วมือนะครับ คือมีลักษณะร่วมบางอย่างที่ทำให้สามารถพิสูจน์บุคคลได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะตรง 100% ในกรณีนี้ก็คงต้องมีหลักฐานอื่นประกอบด้วย

By: Arvinman
AndroidWindows
on 7 May 2014 - 12:35 #701313

"ผลการทดสอบมีความถูกต้องราว 56%"

ถ้ายังทำได้แค่นี้เอารูปสองใบมาวางแล้วโยนหัวก้อยทายเอาก็ได้รึเปล่านะ?

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 7 May 2014 - 13:00 #701321
tekkasit's picture

คงใช้หา lead มากกว่าจะเอามามัดตัวนะ

เพราะถ้าแม่นยำแค่นี้ ผมสุ่มเอารูปสองใบจากคนสองคนใดๆ ทุกๆสองคู่ ระบบจะบอกว่ามาจากกล้องเดียวกัน ?!?

By: ipats
ContributorNOOBIn Love
on 7 May 2014 - 23:42 #701516

ก่อนโพส เอาเข้า photoshop สั่ง reduce noice แล้ว add noice เข้าไปเพิ่ม ซัก 2-3 รอบ, ขยายภาพแบบ resample ซัก 4 เท่า แล้วลดขนาดมาเท่าเดิม..


iPAtS

By: mementototem
ContributorJusci's WriterAndroidWindows
on 8 May 2014 - 09:51 #701606 Reply to:701516
mementototem's picture

+1 คิดแบบเดียวกันเลย แล้วก็ลบ exif ทิ้งด้วย


Jusci - Google Plus - Twitter

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 8 May 2014 - 14:12 #701689 Reply to:701516
put4558350's picture

แค่ noise reduction ในกล้องก็น่าจะพอแล้วมั้งครับ


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: nrml
ContributorIn Love
on 8 May 2014 - 14:53 #701700 Reply to:701689
nrml's picture

ผมว่าไม่น่าจะพอนะครับ จากที่คิดๆ ดูน่าจะเป็นการหาลักษณะเฉพาะของ defect ที่เป็นรูปแบบเฉพาะตัวของแต่ละกล้องถึงจะใช้กล้องตัวนั้นมาทำ noise reduction ก็อาจจะยังหลงเหลืออัตลักษณ์เฉพาะตัวจากอัลกอริทึ่มที่เอามาทำ noise reduction เข้าไปอีก

By: adamy
iPhoneAndroidBlackberryUbuntu
on 10 May 2014 - 16:31 #702459

Noise Pattern มีอยู่ในกล้องทุกตัวนะครับ แต่สงสัยว่าหากมีการปรับเปลี่ยน Firmware ที่มีการเปลี่ยน Noise Pattern ไปแล้ว การตามรอยคงจะยากขึ้นมากครับ แต่สัญลักษณ์ Noise Pattern แต่ละกล้องก็น่าจะมีลักษณะเฉพาะตัวอยู่แล้วครับ แค่รู้สึกว่ามันจะไม่นิ่งหากเจอสภาพการใช้งานแตกต่างกัน ทั้งความร้อน จำนวนแสงที่เข้ามา การปรับ ISO ที่ค่าสูงมากๆ หรือถ่ายในสภาพที่ทำให้เซ็นเซอร์เสียศูนย์ (ถ่ายเลเซอร์ในผับ)

การจับหา % ความเหมือนจาก Pattern Noise ที่คงเหลืออยู่จึงไม่ค่อยแน่นอนและแม่นยำครับ .... ผมว่าคงเอาไว้ได้แค่อ้างอิงพื้นฐานเท่านั้นครับ

คงใช้เป็นหลักฐานหลักมัดตัวยากอยู่นะครับ : )

ขอบคุณครับ สวัสดีครับ