Tags:
Node Thumbnail

อนุกรรมการประมูล 3G (ที่ mk ไปร่วมอยู่ด้วย) เริ่มมีข้อสรุปบางส่วนออกมาเป็นข่าวกันแล้ว โดยประเด็นแรกที่ออกมาคือการประมูลที่มีกฏ N-1 หรือกฏที่บังคับว่าต้องมีผู้ร่วมประมูลรายหนึ่งแพ้ประมูลเสมอนั้นจะถูกตัดออกไป

รูปแบบการประมูลที่เปลี่ยนไป การแข่งขันจะเปลี่ยนไปคือจะแบ่งเป็นช่วงๆ ประมูลทีละ 5MHz หากต้องการคลื่นมาก (เพื่อเตรียมรองรับผู้ใช้บริการเยอะๆ) ก็ต้องประมูลไปหลายช่วง รูปแบบนี้ทำให้น่าจะเกิดผู้ให้บริการรายเล็กที่ประมูลคลื่นไปได้เพียง 5MHz ขึ้นมา

งานนี้กสทช. ยังมั่นใจว่าจะประมูลได้ภายในไตรมาสที่สามของปีนี้ หมายความว่าตอนนี้ก็เหลือเวลาห้าเดือนครึ่งแล้ว ที่รายละเอียดการประมูลยังไม่เสร็จออกมา โดยรายละเอียดทั้งหมดน่าจะสรุปได้ในปลายเดือนนี้ และเรื่องสุดท้ายคือราคาขั้นต่ำจะสรุปหลังได้รายละเอียดโดยคณะทำงานจะคำนวณอีกครั้ง

หลังสรุปรายละเอียดกันได้แล้ว คงมีร่างกฏเกณฑ์การประมูลออกมาให้ชาว Blognone ได้ทำการบ้านออกความเห็นกันอีก งานนี้ก็เตรียมรออ่านกันได้

ที่มา - ไทยรัฐ

Get latest news from Blognone

Comments

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 11 April 2012 - 01:30 #406779
hisoft's picture

เย้ รอ

By: Jai_Magical
iPhoneWindows
on 11 April 2012 - 01:55 #406796
Jai_Magical's picture

นานแล้วเน่อ 3Gที่สยามเดี๋ยวนี้เล่นไม่ได้แล้ว เป็นเพราะคลื่นมันมีช่วงไม่กว้างรึเปล่า(คิดเอาเอง) ถ้าเป็น 2100MHz แล้วจะใช้กันได้เยอะขึ้น(มั้ง)

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 11 April 2012 - 02:37 #406804 Reply to:406796
hisoft's picture

น่าจะรองรับได้มากกว่าคลื่นเดิมนะครับ เพราะต้องติดตั้งเสาถี่กว่า XD

ยิ่งถ้าทำควบสองความถี่คงช่วยได้เยอะเลย มีประเทศไหนทำ 3G เจ้าละสองคลื่นบ้าง?

By: doraemon
iPhoneAndroidRed HatUbuntu
on 11 April 2012 - 02:48 #406811 Reply to:406804
doraemon's picture

ตาม Model ของ 3G เลยต้องมีสองช่วงเลยครับ เผื่อลด distortion ใน City ในกรณีในเมืองนั้น ความถี่สูงจะทำงานได้ไม่ดีหากจำนวน BS น้อย ความถี่ที่ต่ำกว่าจะเข้ามา support ตรงนี้ครับ

By: Gonk
AndroidWindows
on 11 April 2012 - 08:05 #406831 Reply to:406804

Australia ครับ ผู้ให้บริการรายใหญ่ทั้งสามต่าง ใช้หลายความถี่ให้บริการ

Telstra 2G:900MHz 3G:2100MHz 850Mhz 4G:1800MHz
Optus 2G:900Mhz 3G:2100MHz 900Mhz
Vodafone 2G:900Mhz 3G:2100MHz 850Mhz 900Mhz

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 11 April 2012 - 11:14 #406897 Reply to:406804
lew's picture

อังกฤษใช้ 900+2100 ครับ


lewcpe.com, @wasonliw

By: chayaninw
WriterMEconomicsAndroidIn Love
on 11 April 2012 - 15:27 #407061 Reply to:406804
chayaninw's picture

เข้าใจว่าอย่าง AT&T หรือ Rogers ก็ใช้ 850 กับ 1900 ครับ

By: darkleonic
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 11 April 2012 - 02:06 #406799
darkleonic's picture

ผมคิดว่าควรกำหนดด้วยว่าแต่ละเจ้าจะประมูลได้สูงสุดกี่คลื่น และห้ามเจ้าที่ได้มากกว่าหนึ่งคลื่นทำ roaming กันเอง เพื่อป้องกันการเหมาแผงของเจ้าไหนเจ้าหนึ่ง หรือนอมินี


I need healing.

By: tonkung
Windows Phone
on 11 April 2012 - 02:38 #406806 Reply to:406799

ผมว่าอย่างมากก็ได้เจ้าล่ะ 10 ล่ะครับ ไม่น่าจะมากไปกว่านี้มัง

By: pd2002 on 11 April 2012 - 03:57 #406819 Reply to:406806

10 น้อยมากครับ
เกาหลีใต้ เจ้านึงถือกัน 40-60Mhz (ประมูลสะสมไปเรื่อยๆเหมือนกัน)

By: psemanssc
Blackberry
on 11 April 2012 - 03:51 #406818

ถ้าเกิดสมมุติประมูลได้ช่วงคลึ่น 2110-2115 และประมูลอีกทีได้ช่วง 2120-2125งี้มันจะยุ่งยากขึ้นในการทำระบบหรือเปล่าอะครับขอความรู้หน่อย แล้วคลึ่นที่จะประมูลนี่มีรวมทั้งหมด45Mhzใช่ไหมคับ

By: tanit9999
iPhoneAndroidUbuntu
on 11 April 2012 - 04:04 #406821 Reply to:406818
tanit9999's picture

เท่าที่รู้มา(ไม่ชัวว์) ไม่ยุ่งยากมากนะครับ อุปกรณ์ตัวเสารับส่ง 3g ตอนนี้มันก็มีฟังชันรองรับการใช้งานแบบนี้แล้ว (รอผู้รู้ชัดแจ้งมาแถลงไข)

By: mk
FounderAndroid
on 11 April 2012 - 10:01 #406863 Reply to:406818
mk's picture

ในทางทฤษฎีนะครับ การประมูลแบบนี้จะมี 2 ช่วง คือประมูลจำนวนบล็อคก่อน แล้วค่อยเอาผู้ชนะมาประมูลเลือกตำแหน่งบล็อคกันอีกทีหนึ่งครับ ถ้าอยากได้ช่วงติดกันก็จ่ายเพิ่มอีกหน่อย (หรือถ้าตกลงกันเองได้ก็ง่ายหน่อย)

By: F16
iPhoneWindows PhoneAndroidIn Love
on 11 April 2012 - 05:11 #406826

ฟังแล้วงง ทำไมยุ่งยากจัง

By: Be1con
ContributorWindows PhoneWindowsIn Love
on 11 April 2012 - 08:33 #406840
Be1con's picture

รอครับรอ จะได้มี 3G 2100 ใช้เสียที

แล้วทีนี้ AIS ก็คงจะอัพเป็น 42 Mbps แบบไม่กั๊กลูกค้าเสียที


Coder | Designer | Thinker | Blogger

By: AlninlA
ContributorAndroidUbuntu
on 11 April 2012 - 08:59 #406847
AlninlA's picture

Bandwidth 2100 MHz ที่จัดสรรมันมีเยอะแค่ไหนครับเนี่ย อยู่ในช่วง 2100-2195 Mhz ประมาณนี้รึเปล่าครับ ถ้าแค่นี้ก็ดูไม่มากเท่าไหร่นะ

By: deeplite
Android
on 11 April 2012 - 09:20 #406850
deeplite's picture

แบบนี้เขาไม่เรียกประมูลครับ เขาเรียกว่า แจก

ไม่เห็นด้วยกับการยกเลิกระบบ N-1 แบบนี้มันออกกฎมาเพื่อฮั๊วกันชัดๆ

การจับค่ายมือถือลงสัตยาบันอะไรนั่นมันละครลวงโลก

ถึงแม้จะมีผู้แข่งขันรายใดรายหนึ่งแพ้ไป ผู้แข่งขันรายนั้นก็ยังเป็นผู้ประกอบการ mvno ภายใต้ผุ้ให้บริการรายอื่นได้อยู่ดี
การลงทุนในโครงข่ายโทรคมนาคมไม่มีรายเล็กลงเล่นหรอกครับ

ข้าพเจ้าอยากถามไปยัง กสทช. ทั้ง 11 คนว่า ถ้าทุกคนได้หมดแล้วจะแข่งกันทำไม

กสทช. ชุดนี้เป็น องค์กรณ์อิสระ ที่ประหลาดที่สุด

องค์กรณ์อิสระที่ไม่ตอบสนองต่อความต้องการของสังคม

ตั้งแต่เรื่อง 5-10-15 ละ ตอนนี้ยังจะมายกเลิก N-1

และที่เที่ยวว่าคนอื่นว่าเป็นตัวถ่วงความเจริญ ไม่รักชาติ หันกลับมาย้อนมองการกระทำของตัวเองบ้างนะครับ ที่ทำอยู่นะเป็นแบบที่ด่าคนอื่นรึเปล่า

สิ่งที่ประเทศไทยต้องการไม่ใช่แค่ infrastructure แต่ต้องการความเป็นธรรมด้วย

ตอนนี้ข้าพเจ้าเริ่มเข้าใจแล้วละครับ ว่าทำไมประเทศไทยถึงไม่พัฒนา

By: uzumakics
AndroidWindows
on 11 April 2012 - 09:33 #406856 Reply to:406850

ขอถามเป็นความรู้ครับ วิธีนี้มันไม่มีความเป็นธรรมอย่างไรครับ

By: deeplite
Android
on 11 April 2012 - 09:45 #406859 Reply to:406856
deeplite's picture

ผู้ประกอบการทุกรายได้หมด แล้วประชาชนได้อะไรครับ เป็นธรรมกับประชาชนรึเปล่า

แม้แต่ในขั้นตอนการประมูลยังไม่มีการแข่งขัน คุณแน่ใจได้เหรอครับ ว่าจะมีการแข่งขันในการบริการ

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 11 April 2012 - 10:01 #406864 Reply to:406859

ไม่ใช่ได้หมดครับ ถ้าประมูลสู้คนอื่นไม่ได้ก็ไม่ได้อยู่ดี บางเจ้าอาจจะเก็บช่วงกว้างๆ เลยก็ได้ และแบบ N-1 ถ้ามีเจ้าเล็ก หรือเจ้านอมินีแกล้งเพิ่มเข้าไป แค่นี้ก็ได้ทุกเจ้าเหมือนกันแล้ว


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: deeplite
Android
on 11 April 2012 - 10:29 #406869 Reply to:406864
deeplite's picture

ข้อสังเกตุครับ

1) รายเล็กมีโอกาส ประมูลสู้รายใหญ่ได้รึเปล่า

2) รายเล็กมีย่านความถี่ที่แคบกว่าสามารถแข่งขันกับรายใหญ่ได้รึเปล่า

ยกตัวอย่าง รายเล็ก 5MHz รายใหญ่ 30MHz - 25MHz - 30MHz รายเล็กจะไม่อยู่ในสถานะที่จะแข็งขันได้อยู่ดี

3) ถ้ารายใหญ่ทุกรายตกลงสมยอมราคากันไว้ (ราคาที่รายเล็กไม่มีทางสู้ และ รายใหญ่ก็ไม่เสียหาย) รายเล็กจะมีโอกาสแข่งขันและได้ใบอนุญาตอยุ่ไหม

กรณีนอมินี ในการประมูลครั้งแรกก็มีความพยายามจะมีนอมินีครับ แต่การประมูลต้องมีเงินค่ำประกัน

ธุรกิจโทรคมนาคมเป็นธุรกิจข้ามชาติ ผู้เล่นในไทยอาจจะมีไม่กี่ราย
แต่ถ้า กฎ - กติกา เอื้อต่อการแข่งขัน และลงทุน ไม่ใช่ว่าผู้เล่นรายใหม่ จะไม่มีโอกาสเขามาเล่นในตลาดนี้

By: paween_a
Android
on 11 April 2012 - 09:54 #406860 Reply to:406850
paween_a's picture

แล้วแต่มุมมองนะครับ แบบนี้จะทำให้เอกชนพัฒนากันได้อย่างรวดเร็วเนื่องจากต้นทุนความถี่ต่ำ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือรูปแบบที่คล้าย ๆ กับ 2G ที่ผ่านมาในรอบสิบปีนี้ แต่ข้อเสียก็คือทางรัฐจะสูญเสียส่วนแบ่งรายได้จากเอกชนไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่าไร

By: deeplite
Android
on 11 April 2012 - 10:03 #406865 Reply to:406860
deeplite's picture

จากหนังสือที่ผมอ่านมาการลงทุนโครงข่าย 3G มีต้นทุนถูกกว่าการลงทุน 2G ครับ
การลงทุนโครงข่ายอาจจะมีความรวดเร็วจริงครับ แต่ด้วยอายุสัมปทาน 2G ที่กำลังจะหมดอายุ เอกชนไม่มีทางเลือกมากนักหรอกครับ ในการติดตั้งโครงข่าย

พูดง่ายๆคือ ไม่ว่าต้นทุนใบอนุญาตจะราคาเท่าไร ผู้บริการรายเดิมก็ต้องเร่งลงทุนอยุ่ดี ด้วยเงื่อนไขเวลา

ต้นทุนการผลิตต่ำ ไม่ใช่สิ่งที่จะรับประกันว่าราคา สินค้า และ บริการจะต่ำตาม ถ้าขายแพงได้จะขายถูกทำไม

By: Neon
Android
on 11 April 2012 - 10:08 #406868 Reply to:406850

N - 1 เป็นกฏที่เอื่อต้องการฮั่วที่สุดแล้วครับ

วิธีการ

สมมุติว่าการประมูลมีคนเข้าแค่ 3 รายคือบริษัท A, B, C
บริษัท A, B, C ลงขันกันจ้างบริษัท D ให้เข้ามาประมูลด้วย
โดยหารค่าใช้จ่ายกัน (ค่าใช้จ่ายปกติคือ ค่าซื้อซอง
ค่าเสียเวลา + ประมาณ 7 - 10% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดเป็นค่าเหนื่อย)
และให้ D แพ้ประมูลแน่นอน
ผลที่ได้คือ A, B, C ชนะการประมูลแน่นอน โดยมูลค่าเท่าไหร่ก็ได้

วิธีการใหม่ น่าจะได้ผลดีกว่า ในกรณีที่ ความถี่มีน้อยกว่าความต้องการขอผู้เข้าประมูลทุกคนรวมกันครับ ซึ่งหากฮั่วกัน
แล้วแบ่งคลื่นกันไม่ลงตัวก็จะเกิดการแข่งขันสมบูรณ์ขึ้น (ฮั่วไม่สำเร็จ) แต่หากความถี่มีมากกว่าความต้องการก็จะฮั่วกันได้ไม่ยาก หรืออาจจะไม่ต้องฮั่วกันก็ยังได้เลยด้วยซ้ำเพราะมีคลื่นเหลือๆอยู่แล้ว

By: deeplite
Android
on 11 April 2012 - 10:18 #406873 Reply to:406868
deeplite's picture

ขออ้างข้อสังเกตุจาก Comment 406864 ครับ
ถ้าฮั้วได้การประมูลครั้งแรกคงจะไม่ถูกยกเลิกไป

แล้วถ้ามีผู้แข่งขันราย F (ผู้เล่นรายใหม่) เข้ามาในการประมูลละครับ

By: iamfalan
iPhoneAndroidWindows
on 11 April 2012 - 11:23 #406904 Reply to:406868

ตรงข้ามครับ วิธีที่คุณว่ามามันเป็นการซิกแซกครับ สามารถแก้ไขได้ด้วยการกำหนดคุณลักษณะผู้เข้าประมูล (เช่นดำเนินงานมาไม่ต่ำกว่ากี่ปี มี subscriber กี่ราย ฯลฯ)

ถ้าไม่มี N-1 นี่ก็ง่ายๆ เลย Operator รายใหญ่ในประเทศไทยตอนนี้มี 5 ราย (รวม CAT ToT แล้ว) รายย่อยไม่ต้องพูดถึง ไม่มีปัญญาสู้อยู่แล้ว ส่วนรายใหญ่จากต่างชาติ ก็ไปออกกฎกั๊กเขาไว้เรียบร้อยแล้ว
เรียกว่า 5 รายที่เหลือ มาคุยกันดีๆ ว่าจะเขียนเท่าไหร่ ก็เขียนจำนวนเงินน้อยๆ ได้กันทุกราย อย่างนี้สิครับที่เรียกว่า "ฮั้ว"

แทนที่จะเกิดการแข่งขัน แล้วรายได้จากคลื่นความถี่เข้าคลัง อย่างไหนมันจะดีกว่าครับ

ส่วนเรื่องต้นทุนถูก ราคาจะถูก มันก็มีส่วน แต่ส่วนนึงก็คงไม่ถูกอะไรไปกว่าทุกวันนี้หรอกครับ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 11 April 2012 - 11:31 #406909 Reply to:406904
lew's picture

ของเดิมนั้นคนที่มีคลื่นเดิมอยู่แล้วไม่สามารถเข้าแข่งขันได้ครับ เลยตัดสิทธิทั้ง TOT และ CAT ออก


lewcpe.com, @wasonliw

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 11 April 2012 - 11:30 #406907 Reply to:406850
lew's picture

การใส่ N-1 ไม่มีที่ไหนเขาทำกันในโลกครับ เพราะเขาต้องการเอาทรัพยากรออกมาใช้งานให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ และเพิ่มผู้เข้าแข่งขันให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้

การที่คลื่นไม่มีใครใช้ เป็น channel ว่างๆ อยู่อย่างตอนนี้ไม่มีใครได้ประโยชน์อะไร และประเทศเราไม่น่าแข่งขันจากเหตุผลหลายๆ อย่าง ทำให้ผู้เข้าแข่งขันไม่พอที่จะสร้างการแข่งขันที่มากอย่างที่เราหวังได้

ส่วนตัวผมไม่เห็นด้วยกับกสทช. หลายอย่าง แต่กรณีนี้ผมเห็นด้วยครับ ผมมองไม่เห็นประโยชน์ที่เราจะมาหวงคลื่นดองไว้


lewcpe.com, @wasonliw

By: deeplite
Android
on 11 April 2012 - 11:44 #406916 Reply to:406907
deeplite's picture

ไม่มีที่ไหนเขาทำกันในโลก - ไม่ได้แปลว่าเราทำไม่ได้ครับ เพราะสภาพแวดล้อมในไทยก็ไม่เหมือนที่ไหนในโลกเช่นกัน

ตามกฎการประมูลข้างต้น ไม่สามารถรับประกันได้หรอกครับว่าจะมีการเพิ่มผู้เล่นในตลาด แต่กฎนี้ก็เอื้อต่อการลงแข่งของรายใหม่(แต่ไม่ใช่รายเล็กครับ)จริงๆ

แต่รายใหญ่ที่มีทุนหนาสามารถประมูลย่านความถี่เพื่อเก็บไว้ใช้ได้ เท่าที่มีความสามารถ ถ้า กสทช ไม่จำกัดเลย

ผมเห็นด้วยครับกับการใช้ประโยชน์คลื่นความถี่

และการใช้วิธี N-1 อาจจะไม่มีการดองคลื่นก็ได้ครับ ถ้ามีผู้เล่นมากกว่าจำนวนคลื่นความถี่
แต่ในทางกลับกัน ในวิธีข้างต้นถ้ามีผู้เล่นน้อย เราจะเสียประโยชน์จากคลื่นความถี่ที่มีจำกัดครับ

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 11 April 2012 - 11:50 #406923 Reply to:406916
lew's picture

ตัวเลขเพดานคลื่นยังไม่ออก แต่ยังไงก็คงจำกัดแน่ครับ หนังสือพิมพ์บางฉบับ quote ว่า 15-20MHz การที่คุณมากลัวว่าจะไม่มีจำกัดนี่กลัวไปเอง


lewcpe.com, @wasonliw

By: deeplite
Android
on 11 April 2012 - 12:03 #406928 Reply to:406923
deeplite's picture

แล้วผลจะต่างกันยังไงละครับระหว่าง N-1 กับการไม่มี ในเมื่อแต่ละรายก็สามารถมี คลื่นได้แค่ 15-20MHz

แต่เมื่อผู้ให้บริการเปิดให้บริการ เราจะเห็นความแตกต่างครับระหว่าง ผู้ให้บริการที่มีคลื่นความถี่ 5-10Mhz กับ 15-20MHz

ยิ่ง 5MHz กับ 20MHz เราจะเห็นควมต่างอย่างชัดเจน

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 11 April 2012 - 12:21 #406942 Reply to:406928
lew's picture

คือตอนนี้ยังไม่มีรายละเอียดอะไรนอกไปจากว่าจะไม่มี N-1 กับประมูลทีละสล็อต แล้วก็มี cap ว่าประมูลได้เจ้าล่ะไม่เกินกี่สล็อตเท่านั้นครับ

ที่ผมนึกออกจากระบบนี้คงเป็นการสร้างการแข่งขัน เพราะเดิมรอบที่แล้ว กทช. จัดชุดไว้ให้ว่าคลื่นช่วงไหนได้ล็อตละเท่าใหร่ มีแค่ล็อตใหญ่กับล็อตเล็ก รอบนี้ก็สู้กันเอาเองว่าใครได้เท่าใหร่

ทำไมต้องกลัวความต่างของปริมาณคลื่นขนาดนั้นล่ะครับ ในเมื่อผู้บริการรายเล็กมีศักยภาพน้อยอยู่แล้ว (หาทุนมาประมูลได้น้อย) ก็ได้คลื่นไปน้อย และบริการจนจำนวนน้อยกว่า มันก็ถูกต้องแล้วนี่ครับ


lewcpe.com, @wasonliw

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 11 April 2012 - 12:42 #406963 Reply to:406942
btoy's picture

เห็นด้วยเลย ..ทำไมมากลัวอะไรที่มันไม่ใช่สาระสำคัญแบบนี้ งงเหมือนกัน


..: เรื่อยไป

By: deeplite
Android
on 11 April 2012 - 12:48 #406966 Reply to:406942
deeplite's picture

เอาเป็นว่าให้มีรายละเอียดออกมาหมด แล้วเราค่อยมาคุยกันอีกครังนะครับ ว่าเห็นด้วย เห็นต่างกันยังไง

ตอนนี้เหมือนกับเรามาวิพากษ์ในสิ่งที่ยังไม่มีอะไรแน่ชัดเลย

ข้าพเจ้าขออนุญาตไปทำงานก่อน วันนี้ยังไม่ได้ลงมือทำงานเลย

ถ้าไม่ตอบ comment เป็นเพราะติด limited นะครับขอบคุณ

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 11 April 2012 - 12:40 #406960 Reply to:406850
btoy's picture

N-1 รายย่อย ยังไงก็ไม่ชนะการประมูลแน่ๆ ผมงงว่าการที่รายย่อยไปทำแบบ mvno(ที่อ้างถึง) มันแข่งขันแบบเสรีตรงไหน

อนึ่ง ผมก็ไม่คิดว่าการที่แจกให้ใช้ มันส่งผลเสียต่อประชาชนตรงไหน ในเมื่อรัฐกำหนดอัตราขั้นต่ำในราคาที่เหมาะสมและเป็นธรรมได้

คุณคิดในเชิงการเมือง, ธุรกิจหรือว่า ...หลักการครับ


..: เรื่อยไป

By: deeplite
Android
on 11 April 2012 - 13:54 #407016 Reply to:406960
deeplite's picture

N-1 แบ่งเป็น สล๊อตเล็ก กับ สล๊อตใหญ่ครับ

รายเล็กไม่มีความสามารถจะแข่งกับ รายใหญ่ได้อยู่แล้วในทางปฏิบัติ
มอไซ จะเข่งกับ F1 เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ครับ

คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรที่มีจำกัดครับ และเป็นทรัพยากรของคนทั้งประเทศ ไม่ใช่แค่เอกชนไม่กี่ราย

เอกชนเปิดให้ประชาชนใช้บริการ ประชาชนอาจได้ประโยชน์จากบริการนั้นครับ แต่ที่สำคัญประชาชนควรได้รับประโยชน์เต็มเม็ดเต็มหน่วยจากการหาประโยชน์ของเอกชนเช่นเดียวกัน

ต้นทุนการผลิตต่ำใช่ว่าจะทำให้ราคาสินค้าบริการต่ำนะครับ

ประเทศไทยไม่เหมือนประเทศใดในโลกครับ

กฎหมาย และ นโยบายส่วนใหญ่ของรัฐไม่เอื้อต่อประชาชน แต่เอื้อต่อเอกชน

มติที่ผ่านมาของ กสทช.มีทั้งที่ สามารถบังคับใช้ และ ไม่สามารถบังคับใช้ได้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่
การปล่อยให้เอกชนเปิดให้บริการโดยที่รู้ว่าในภายภาคหน้าจะเกิดปัญหาขึ้น แล้ว ค่อยแก้หรือผลักภาระให้ประชาชนเป็นผู้แบกรับ เป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิด

ตั้งแต่อดีต จนถึงปัจจุบัน องค์กรณ์ของภาครัฐ ไม่ว่าจะอิสระ หรือไม่อิสระ ไม่เคยรับผิดชอบต่อสิ่งที่กระทำให้เกิดความเสียหายต่อสังคม สุดท้ายประชาชนก็เป็นผู้แบกรับผลกระทบ

เอกชนไม่ควรหาประโยชน์โดยไม่รับผิดชอบต่อสังคมเลย

By: siripongz
AndroidWindows
on 11 April 2012 - 14:06 #407024 Reply to:407016

คุณ deeplite มีอะไรฝั่งใจรึเปล่าครับ เห็นตอบดุเดือนทุกคอมเมนต์เลย :P
ปล. แซวเล่นนะครับ อย่าถือสา

By: deeplite
Android
on 11 April 2012 - 14:22 #407034 Reply to:407024
deeplite's picture

สารภาพครับ ข้าพเจ้าตั้งใจจะของงบ ศปฉ. ซัก 3 ล้านครับ แต่มั่นใจว่า ศปฉ. ไม่ให้แน่ๆ เลยฝังใจ :P

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 11 April 2012 - 14:16 #407029 Reply to:407016
lew's picture

N-1 มัน "เอื้อประชาชน" อย่างไรบ้างหรือครับ? นอกจากดันราคาประมูลให้สูงสุดเพราะผู้ให้บริการกลัวถูกตัดออกจากตลาด?


lewcpe.com, @wasonliw

By: deeplite
Android
on 11 April 2012 - 15:53 #407084 Reply to:407029
deeplite's picture

ถ้าประมูลได้เงินมาก กสทชก็จะส่งคืนเงินเข้าคลังได้มาก รัฐบาลก็สามารถจะนำเงินไปพัฒนาด้านต่างๆได้

อาจจะซื้อ Tablet แจกเด็กได้มากขึ้น

สร้างสาธารณูปโภค

อุดหนุนการศึกษา

ซื้อเรือดำน้ำ(ไว้ให้นายพลพาเมียน้อยไปดูปะการัง :P )

โครงการเมียเอื้ออาทร

อุดหนุนโครงการเพิ่มค่าครองเป็นเดือนละ 15000 บาท

ป.ล.บางโครงการคิดขึ้นเพื่อความฮาเท่านั้น :P

เงินที่ได้จากการประมูลสามารถนำไปพัฒนาประเทศ ช่วยให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ครับ
หลายๆประเทศออกใบอนุญาตในราคาถูก แต่ก็ไม่ได้ทำให้ค่าบริการถูกลงแต่อย่างใด

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 11 April 2012 - 16:11 #407091 Reply to:407084
btoy's picture

สรุปประเด็นของผมให้ฟังละกัน

ผมน่ะไม่คิดว่า การประมูลโดยราคาสูงสุด มันจะเกิดประโยชน์สูงสุด

การจัดสรรคลื่นความถี่ให้ถูกนำไปใช้ประโยชน์สูงสุด ในราคาที่เป็นธรรม จะเป็นประโยชน์มากกว่า (ซึ่งทุกคนมองเหมือนกันป
ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่น การปล่อยประมูล เบื่อต้น จะแบ่งให้กี่ slot ก็ว่า แล้วจากนั้น ถ้าจะมาประมูลเพิ่ม ต้องมีหลักฐานว่า traffic มันจะเต็มจริงๆ เพื่อป้องกันการซื้อไปเก็บไว้ (ตัดขาคนอื่น)
ใช้หลักการง่ายๆ ที่เป็นธรรม น่าจะเกิดการแข่งที่เสรีกว่า

รายย่อย สู้รายใหญ่ไม่ได้แน่นอน เพราะนั้น เค้าต้องหาตลาดที่ต่างออกไป
เช่นเฉพาะพื้นที่ หรือว่าจำกัด user แต่ปล่อยความเร็วสูง ก็ว่ากันไป

ดีแล้วครับที่ได้ถกความคิดเห็นกัน


..: เรื่อยไป

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 11 April 2012 - 16:44 #407107 Reply to:407084
lew's picture

คือถ้าประเด็นเป็นเรื่องของ "เงินเข้าคลัง" เท่านั้น มันมีทางอื่นๆ ครับ เก็บภาษีสรรพสามิตเอาก็ได้อยู่แล้ว

ประเด็นสำคัญของการประมูลคือ สุดท้ายแล้วใครควรเป็นคนได้คลื่นไป ใครที่มีศักยภาพมากที่สุดที่จะให้บริการได้ทั่วถึง เราอาจจะไม่เก็บค่าคลื่นความถี่เลยก็ได้ หรือเก็บน้อย แต่เก็บภาษีให้สูงลิบ อย่างทุกวันนี้เราก็เก็บผ่านค่าสัมปทานอยู่ (แต่มีรัฐวิสาหกิจมาหักค่านายหน้าอีกที) รัฐวิสาหกิจทำเองก็อย่าง TOT ที่ไม่มีศักยภาพในการขยายเครือข่ายให้ทันต่อความต้องการ

ผลประโยชน์ของประชาชนจากเครือข่ายไม่ใช่แค่ได้เงินเข้ารัฐ แต่ผู้ที่ได้ใบอนุญาตไปต้องมีความสามารถที่จะสร้างโครงข่ายให้ ทั่วถึง (สำคัญมาก), มีประสิทธิภาพดี, และสามารถแข่งขันกันได้

อันนี้ตัดเรื่องฮั้วไป (คือถ้าฮั้ว กติกาไหนมันก็ void หมด) เรื่องฮั้วก็ต้องจัดการกันไปตามกฏหมาย ถ้ามีเบาะแสก็แจ้งเข้าไปเลยครับ แต่เรื่องกติกาการแข่งขันทั่วไปมันต้องคิดจากผู้เข้าแข่งขันทุกรายอยากได้คลื่นมากที่สุด (จัดการง่าย รับลูกค้าได้เยอะ), นักลงทุนรู้ว่าผู้ให้บริการรายใดมีศักยภาพมากที่สุด (หาลูกค้าเก่ง บริหารคลื่นเก่ง โอกาสทำกำไรสูง), ส่วนรัฐต้องอยากให้มีผู้ให้บริการมากที่สุด (แข่งกันเยอะๆ เร่งวางเครือข่าย ราคาถูก)


lewcpe.com, @wasonliw

By: deeplite
Android
on 11 April 2012 - 17:00 #407120 Reply to:407107
deeplite's picture

1) ข้าพเจ้ามองว่า คนที่จ่ายภาษีสรรพสามิตจริงๆ คือ ผู้บริโภคครับ ต้นทุนค่าใบอนุญาตต่ำกว่าสัมปทานอยู่แล้วครับ เพราะจ่ายครั้งเดียวไม่ต้องคิดจากรายได้ในแต่ละปี
2) เห็นด้วยครับ ใครที่มีศักยภาพมากที่สุดที่จะให้บริการได้ทั่วถึง
3) คิดว่า TOT ก็มีความสามารถที่จะทำได้ครับ ถ้าไม่มีโรคแทรกซ้อน CAT เองตอนนนี้ HSPA ก็ครอบครุมมากที่สุดแล้ว แต่ CAT ไม่ยอมแข่งขันกับเอกชน
4) กสทช เป็น ผุ้ออก กฎ - กติกา ควบคุม

By: mk
FounderAndroid
on 11 April 2012 - 20:25 #407211 Reply to:407120
mk's picture

คุณมั่วแล้วครับ โอเปอเรเตอร์ต้องจ่ายค่าใบอนุญาตเป็นรายปี หักตาม % จากรายได้ และในกรณีที่ต้องประมูลคลื่น ก็ต้องจ่ายเงินค่าคลื่นอีกส่วนหนึ่งด้วย

By: deeplite
Android
on 11 April 2012 - 20:40 #407223 Reply to:407211
deeplite's picture

555+

ข้าพเจ้าเข้าใจว่า จ่ายค่าค่าคลื่นเป็นก้อนใหญ่แล้วจบ และแต่ละปีก็จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมให้ กสทช. ไม่กี่ %

แล้วคุณว่า สัมปทาน กับ ใบอนุญาต แบบไหนมีค่าใช้จ่ายมากกว่ากันครับ

By: mk
FounderAndroid
on 11 April 2012 - 22:07 #407266 Reply to:407223
mk's picture

ต้นทุนค่าใบอนุญาตต่ำกว่าสัมปทานอยู่แล้วครับ เพราะจ่ายครั้งเดียวไม่ต้องคิดจากรายได้ในแต่ละปี

กับ

จ่ายค่าค่าคลื่นเป็นก้อนใหญ่แล้วจบ และแต่ละปีก็จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมให้ กสทช. ไม่กี่ %

ตกลงจะเอาอะไรกันแน่ครับ?

By: deeplite
Android
on 11 April 2012 - 22:56 #407286 Reply to:407266
deeplite's picture

ตามที่ข้าพเจ้าเข้าใจคือ เมื่อผู้ประกอบการ ประมูลคลื่นความถี่ได้มานั่นคือ ได้รับใบอนุญาต
และจ่ายเงินที่ประมูลคลื่นความถี่ซึ่งเป็นเงินก้อนใหญ่นั้นครั้งเดียว

ส่วนเรื่องจ่ายเงินให้ เป็น % ให้ กสทช. ต้องจ่ายแต่ละปีเป็นค่าดำเนินการ แต่ก็ไม่เท่าไหร่ อาจจะแค่ 2% - 5% แต่ไม่ถึง 10 % ซึ่งตรงจุดนี้ตามความเข้าใจของข้าพเจ้า

ค่าใช้จ่ายทั้งหมด ตั้งแต่ประมูล จนถึงค่าธรรมเนียมการดำเนินงานของ กสทช. ต่ำกว่า ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายในระบบสัมปทานแน่นอน

หรือคุณจะบอกว่า ค่าใช้จ่ายในระบบใบอนุญาต สูงกว่าในระบบสัมปทาน?

ข้าพเจ้าอาจจะใช้คำไม่ถูกครับเพราะไม่ได้อยู่ในวงการนี้ :)

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 11 April 2012 - 23:51 #407318 Reply to:407120
lew's picture

คือ ปัญหาของคุณคืออะไรครับ???? ผมอ่านแล้วคุณตอบวนไปวนมา

รายได้เข้ารัฐไม่พอ ก็เก็บภาษี การประมูลเอาไว้คัดเลือกคน

ยังไงซะ คนมาทำธุรกิจเขาก็ต้องเอากำไร ตั้งราคาแพง หากระบวนการที่ค่าประมูลแพงมากๆ คนก็ไม่มาประมูลกัน เราก็ไปทำอะไรไม่ได้

มันจะเงินประมูล เงินสัมปทาน หรือเงินภาษี สุดท้ายผู้บริโภคต้องจ่ายครับ บริษัทไม่ใช่หน่วยงานการกุศลมาออกให้ฟรีแน่ๆ


lewcpe.com, @wasonliw

By: deeplite
Android
on 16 April 2012 - 03:13 #407329 Reply to:407318
deeplite's picture

อย่างที่บอกครับ ขายแพงได้ จะขายถูกทำไม :)

การทำธุรกิจ ต้องมีกำไรอยู่แล้วครับ ไม่มีกำไรเขาคงไม่ลงทุน

ข้าพเจ้าไม่เคยพูดเรื่องรายได้เข้ารัฐไม่พอครับ ข้าพเจ้าบอกว่ารัฐจะมีรายได้จากการประมูลครับ

ไม่มีใครประมูลเกินกว่าตัวเองจะรับไหวหรอกครับ รายได้ของเอกชนที่หายไปอาจเป็นกำไรที่ลดลง แต่ไม่ขาดทุนครับ

ไม่มีใครตอบเลย ว่า ระบบใบอนุญาต กับ ระบบสัมปทาน อันไหนเอกชนมีรายจ่ายน้อยกว่า

อ่านเอาเองครับ เอกชนโดดรับเกณฑ์ประมูล3จี'เศรษฐพงค์'เล็งอั้น20เมก/ราย

By: เดวิลแมน on 11 April 2012 - 13:05 #406977

ผมเห็นด้วยกับยกลิก N-1 นะ จะได้มีตัวเลือกเยอะๆ แข่งขันบริการเป็นประโยชน์กับผู้ใช้

By: untilate
ContributorAndroidWindows
on 11 April 2012 - 16:02 #407089

แบบนี้แหละดีแล้ว
ใครรวยก็เอาไปเยอะ ใครจนก็เอาไปน้อย