Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยจาก University of Glasgow ทำการทดลองแฮครหัสผ่านโดยใช้ปัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์ภาพถ่ายความร้อนที่ที่ถ่ายคราบความร้อนที่หลงเหลือบนแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถเดาได้ว่าผู้ใช้กดรหัสผ่านอะไรบนแป้นพิมพ์

พวกเขาพัฒนาปัญญาประดิษฐ์เพื่อการวิเคราะห์หารหัสผ่านจากภาพถ่ายความร้อนนี้โดยตั้งชื่อว่า ThermoSecure และเรียกการแฮครหัสผ่านด้วยวิธีการนี้ว่า "thermal attack"

การทดลองนี้ใช้กล้องถ่ายภาพความร้อนมาถ่ายภาพแป้นพิมพ์หลังเพิ่งผ่านการใช้งานใหม่ๆ ภาพถ่ายความร้อนที่ได้จะแสดงร่องรอยความร้อนที่ถูกถ่ายเทจากนิ้วมือของผู้ใช้ลงสู่พื้นผิวของแป้นพิมพ์ของมัน โดยบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงในภาพนั้นบ่งบอกถึงว่าปุ่มดังกล่าวบนแป้นพิมพ์ถูกนิ้วมือของผู้ใช้สัมผัสบ่อยครั้ง

ด็อกเตอร์ Mohamed Khamis ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมวิจัยนี้เคยทำการวิจัยทดลองการเดารหัสผ่านด้วยการดูภาพถ่ายความร้อนที่แป้นพิมพ์หลังการใช้งาน 30-60 วินาที ซึ่งพบว่าแม้ผู้ที่ไม่ได้มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษด้านการวิเคราะห์ภาพถ่ายก็มีโอกาสเดารหัสผ่านได้ถูกต้อง และเมื่องานวิจัยล่าสุดนี้มีการพัฒนา ThermoSecure มาช่วยในการวิเคราะห์ภาพก็ยิ่งทำให้ความแม่นยำในการเดารหัสผ่านสูงขึ้นมาก

No Descriptionด็อกเตอร์ Mohamed Khamis หัวหน้าทีมวิจัยผู้พัฒนาระบบ ThermoSecure

ทีมวิจัยทำการเทรนระบบ ThermoSecure ด้วยภาพถ่ายความร้อนที่ได้จากการถ่ายภาพแป้นพิมพ์แบบ QWERTY หลังการใช้งานใหม่ๆ จำนวน 1,500 ภาพ ซึ่งมีการถ่ายภาพในมุมองศาต่างกันออกไปคละเคล้ากัน จากนั้นป้อนข้อมูลที่ได้จากการใช้โมเดลทางสถิติที่สร้างขึ้นไปเทรน ThermoSecure ว่าภาพที่มันมองเห็นนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะมาจากการกดรหัสผ่านอะไรบ้าง

หลังการเทรนปัญญาประดิษฐ์ทีมวิจัยก็ได้ทำการทดสอบระบบ ThermoSecure ว่ามีความสามารถในการวิเคราะห์ภาพถ่ายความร้อนเพื่อเดารหัสผ่านได้แม่นยำเพียงใดโดยใช้มันเดารหัสผ่านจากภาพถ่ายความร้อนที่ถ่ายหลังการใช้งานแป้นพิมพ์ในช่วงระยะเวลาต่างๆ ได้ผลการทดสอบดังนี้

  • การเดารหัสผ่านจากภาพถ่ายความร้อนที่ถูกถ่ายหลังการใช้งาน 20 วินาที มีความถูกต้อง 86%
  • การเดารหัสผ่านจากภาพถ่ายความร้อนที่ถูกถ่ายหลังการใช้งาน 30 วินาที มีความถูกต้อง 76%
  • การเดารหัสผ่านจากภาพถ่ายความร้อนที่ถูกถ่ายหลังการใช้งาน 60 วินาที มีความถูกต้อง 62%

และหากเจาะลึกลงไปอีก ผลการทดสอบวิเคราะห์ภาพถ่ายความร้อนที่ถูกถ่ายภายใน 20 วินาทีหลังการใช้งานแป้นพิมพ์พบว่า ThermoSecure สามารถเดารหัสผ่านที่มีความยาวแตกต่างกันด้วยระดับความแม่นยำดังนี้

  • รหัสผ่านยาว 16 ตัวอักษร เดาได้ถูกต้อง 67%
  • รหัสผ่านยาว 12 ตัวอักษร เดาได้ถูกต้อง 82%
  • รหัสผ่านยาว 8 ตัวอักษร เดาได้ถูกต้อง 93%
  • รหัสผ่านยาว 6 ตัวอักษร เดาได้ถูกต้อง 100%

หรือกล่าวโดยสรุปคือเทคนิคการโจมตีแบบ thermal attack นี้ยิ่งใช้ภาพถ่ายที่มีความสดใหม่มากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสประสบความสำเร็จสูงขึ้น และยิ่งหากบุคคลเป้าหมายใช้รหัสผ่านสั้นๆ ก็ยิ่งมีโอกาสเดารหัสผ่านได้สำเร็จสูงขึ้นไปอีก

ทีมวิจัยเชื่อว่าด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ในตอนนี้ บวกกับราคาของกล้องถ่ายภาพความร้อนที่ลดลงจนกลายเป็นอุปกรณ์ที่หาซื้อได้ไม่ยาก ทำให้ความเสี่ยงที่จะมีการแฮคข้อมูลแบบ thermal attack เกิดขึ้นได้ง่ายขึ้น

การโจมตีวิธีนี้ไม่ได้จำกัดเป้าหมายว่าจะต้องเป็นแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์เท่านั้น อุปกรณ์อื่นอย่างเช่นหน้าจอสมาร์ทโฟน หรือยิ่งไปกว่านั้นคืออุปกรณ์ที่มีการใช้งานร่วมกันในพื้นที่สาธารณะซึ่งถูกบุคคลอื่นเข้าถึงได้ง่าย เช่น แป้นกดเลขที่ตู้ ATM หรือแป้นกดรหัสผ่านสำหรับระบบล็อกประตูแบบดิจิทัล ก็ล้วนแล้วมีโอกาสถูกโจมตีด้วยวิธีนี้ได้ทั้งสิ้น งานวิจัยนี้จึงเกิดขึ้นเพื่อพิสูจน์หลักการโจมตีที่ว่าโดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการคิดค้นแนวทางการป้องกัน

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดงานวิจัยการพัฒนาระบบ ThermoSecure และการโจมตีแบบ thermal attack เพิ่มเติมได้จากที่นี่

ที่มา - University of Glasgow ผ่าน Tech Xplore

Get latest news from Blognone

Comments

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 14 October 2022 - 08:37 #1265120
TeamKiller's picture

ต้องมีระบบอุ่นคีย์บอร์เลยไหมนะจะได้ร้อนเท่าๆ กันตลอด หรือหล่อเย็นดี

By: zda98
Windows Phone
on 14 October 2022 - 08:48 #1265122 Reply to:1265120

น่าจะต้องทำให้เย็นมากกว่าครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 14 October 2022 - 09:33 #1265129 Reply to:1265122
hisoft's picture

ไม่ใช่ว่าถ้ามันอุ่นเท่านิ้วเราแล้วจะแยกไม่ออกเหรอครับ?

By: ipats
ContributorNOOBIn Love
on 14 October 2022 - 23:23 #1265199 Reply to:1265120

ต้นทางมีบอกไว้ด้วยครับ ว่าคีย์บอร์ดที่มีไฟจะทำให้อ่านค่ายากขึ้น (เพราะมันมีความร้อนจากไฟด้วย)

นอกจากนี้ พวกที่พิมพ์สัมผัสไวๆ ก็ทำให้หลงเหลือความร้อนน้อยกว่าพวกหาปุ่มแล้วจิ้มๆ ประเภทวัสดุของปุ่มก็มีผล


iPAtS

By: Neroroms
Windows
on 16 October 2022 - 16:32 #1265328 Reply to:1265199

เกมมิ่งเกียร์​นี่มาก่อนกาลตริง ๆ

By: TheOrbital
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 14 October 2022 - 08:46 #1265121
TheOrbital's picture

ไม่รู้ทำไม อ่านบทความแล้วได้ยินเสียง BGM เป็นเพลง Mission Impossible

By: Bigkung
iPhoneWindows Phone
on 14 October 2022 - 10:29 #1265137
Bigkung's picture

เรื่องนี้คิดว่ามีคนนานแล้วซะอีก กล้องจับความร้อนมีนานแล้วเหลือแค่โปรแกรมเอาคีย์ที่โดนใช้งานมาสุ่ม
คีย์บอร์คคอมหน่ะดักคนใช้ภาษาอื่นๆยาก ถ้าใช้อังกฤษเป็นฐาน password dictionary ชาติหน้าก็หาไม่เจอนะ ถ้าใช้ระบบสุ่มไปเรื่อยๆก็โดนล็อค และจอมือถือก้อันตรายหน่อย ถ้า password ใช้ภาษาประเทศตัวเองตั้งได้ก็จบ เพราะขนาดภาษาไทยกับ อังกฤษ จำนวนปุ่มยังไม่เท่ากันเลย

By: langisser
In Love
on 14 October 2022 - 14:10 #1265157 Reply to:1265137

เค้าก็ไม่ได้บอกว่าเป็นเรื่องใหม่นะครับ แต่อันนี้เป็นงานวิจัยที่ดูจริงจังขึ้นมาอีกระดับนึง

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 14 October 2022 - 10:47 #1265138
Holy's picture

อีกหน่อยคงต้องมีคำแนะนำว่า เมื่อกดรหัสผ่านเสร็จแล้วให้เอามือทาบคีย์บอร์ดทิ้งไว้ 5 วินาที เพื่อพรางร่องรอยความร้อน

By: poa
Android
on 14 October 2022 - 15:09 #1265162

ใช้กับพวกชอบไว้เล็บไม่ได้ ใช้เล็บกดน่าจะแทบไม่ทิ้งความร้อนไว้เลย ต้องอ่านจากลอยถลอกที่ปุ่มแทน

By: aeksael
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 14 October 2022 - 20:06 #1265180
aeksael's picture

แล้วเมืองร้อนล่ะ โอกาสน่าจะต่ำลงอีกพอดู


The Last Wizard Of Century.

By: rainhawk
AndroidWindows
on 14 October 2022 - 20:43 #1265184
rainhawk's picture

+1 ถ้าอุณหภูมิห้องสูงความแม่นย่ำคงลดหวบๆ

By: PH41
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 14 October 2022 - 22:27 #1265194
PH41's picture

Yubikey ต้องมาแล้ว

By: may2190 on 16 October 2022 - 13:55 #1265319

ใช้ password manager ไม่กระทบครับ เว้นแต่ master key จะโดนเอาไป