Tags:
Node Thumbnail

ในช่วงที่ทุกฝ่ายกำลังตื่นตัวกับการหาวิธีลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ ระบบการใช้พลังงานจากก๊าซไฮโดรเจนก็ได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้น แนวทางหลักของการใช้ไฮโดรเจนในตอนนี้เป็นการใช้ระบบเซลล์เชื้อเพลิงซึ่งจะนำเอาก๊าซไฮโดรเจนไปผลิตพลังงานไฟฟ้าในตัวเซลล์

แต่ล่าสุดมีงานวิจัยใหม่จากออสเตรเลียที่ใช้ก๊าซไฮโดรเจนด้วยการเผาไหม้มันโดยตรงในเครื่องยนต์ โดยทีมวิจัยได้ดัดแปลงเครื่องยนต์ดีเซลทำให้สามารถผสมไฮโดรเจนเข้าไปกับน้ำมันเชื้อเพลิงได้ในสัดส่วน 90% ช่วยลดสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้มาก

No Descriptionทีมวิจัยของ UNSW Sydney

ทีมวิจัยจาก UNSW Sydney ใช้เวลา 18 เดือนในการพัฒนาระบบเชื้อเพลิงคู่แบบ direct injection ที่จะฉีดน้ำมันดีเซลที่ผสมกับไฮโดรเจนเข้าสู่ห้องเผาไหม้โดยตรง ซึ่งระบบนี้ยังคงสามารถใช้เครื่องยนต์ดีเซลของเดิมได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องใหม่ โดยทีมวิจัยระบุว่ารถยนต์หรือเครื่องจักรกลที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลใดๆ ก็สามารถดัดแปลงใช้งานระบบหัวฉีดเชื้อเพลิงผสมนี้ได้โดยใช้เวลาไม่กี่เดือนในการแก้ไขติดตั้งระบบ

สิ่งที่พวกเขาทำคือการคงเครื่องยนต์และชุดหัวฉีดน้ำมันดีเซลไว้ดังเดิม แต่เพิ่มหัวฉีดก๊าซไฮโดรเจนเข้าสู่ห้องเผาไหม้ แล้วกำหนดจังหวะในการฉีดน้ำมันดีเซลกับก๊าซไฮโดรเจนควบคู่กันให้เหมาะสม

No Descriptionเครื่องยนต์ดีเซลที่ติดตั้งระบบหัวฉีดเชื้อเพลิงคู่ดีเซล-ไฮโดรเจน

No Descriptionภาพอธิบายการเพิ่มหัวฉีดเชื้อเพลิงไฮโดรเจนเข้าสู่ห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์

ศาสตราจารย์ Shawn Kook หัวหน้าทีมวิจัยอธิบายว่าการเติมก๊าซไฮโดรเจนเข้าไปในเครื่องยนต์แล้วปล่อยให้มันผสมกันเอง จะมีปัญหาเกิดไนโตรเจนออกไซด์ (NOx) ปริมาณมาก ซึ่งเป็นตัวการสำคัญของปัญหามลพิษทางอากาศและฝนกรด ทีมวิจัยจึงใช้วิธีการทำให้มันเป็นชั้นปกคลุมพื้นที่ในห้องเผาไหม้อย่างเหมาะสม ในบางจุดจะมีไฮโดรเจนมากกว่าจุดอื่น ในขณะที่บางจุดจะมีไฮโดรเจนน้อยกว่า ด้วยวิธีการนี้ทำให้ระบบของทีมวิจัยสามารถลดการเกิด Nox ลงได้ต่ำกว่าการใช้เชื้อเพลิงดีเซลล้วนๆ

การทดสอบเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงผสมช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงได้ 90 g/kWh ซึ่งเท่ากับลดการปล่อยก๊าซลง 85.9% เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซลตามปกติ นอกจากนี้เครื่องยนต์ยังมีประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้นมากกว่า 26% หลังการใช้ปรับปรุงมาใช้ระบบเชื้อเพลิงผสม

ทีมวิจัยของ UNSW Sydney เชื่อมั่นว่าระบบเชื้อเพลิงผสมสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลนี้จะเป็นทางเลือกที่ผู้ประกอบการสนใจมาก เพราะสามารถดัดแปลงแก้ไขใช้กับเครื่องจักรกลหรือพาหนะที่มีเครื่องยนต์ดีเซลอยู่แล้วได้โดยไม่ต้องรื้อเปลี่ยนเครื่องยนต์ใหม่ อีกทั้งความต้องการของตลาดในเรื่องเทคโนโลยีที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก็เพิ่มสูงมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคอุตสาหกรรม เช่นการทำเหมืองที่มีปัญหาเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างการดำเนินการทางธุรกิจเป็นจำนวนมาก

ทั้งนี้หากเทียบระบบเครื่องยนต์เชื้อเพลิงผสมกับเซลล์เชื้อเพลิงแล้ว ผลงานวิจัยของพวกเขายังมีข้อดีอีกด้านคือไม่จำเป็นต้องใช้ก๊าซไฮโดรเจนที่มีความบริสุทธิ์สูงเท่ากับระบบเซลล์เชื้อเพลิง ซึ่งทำให้ต้นทุนก๊าซไฮโดรเจนที่จะนำมาใช้งานมีราคาถูกกว่า

พวกเขาตั้งเป้าว่าจะสามารถนำระบบหัวฉีดเชื้อเพลิงผสมดีเซล-ไฮโดรเจนนี้ที่มีการจดสิทธิบัตรแล้วไปใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้ภายใน 1-2 ปีข้างหน้า โดยระหว่างนี้กำลังอยู่ในช่วงหาผู้ร่วมลงทุน

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเครื่องยนต์ดีเซลดัดแปลงเพื่อใช้ก๊าซไฮโดรเจนได้ที่นี่

ที่มา - UNSW Sydney Newsroom ผ่าน Tech Xplore

Get latest news from Blognone

Comments

By: GodPapa
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 9 October 2022 - 14:54 #1264609
GodPapa's picture

จะประหลาดใจมากหากมีคนใช้ระบบนี้จริงๆ

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 9 October 2022 - 15:16 #1264611 Reply to:1264609
itpcc's picture

ผมกลับเห็นประโยชน์กับพวกโรงไฟฟ้าแฮะ ถ้ามีถังเก็บ H2 ผลิตเก็บตอนค่าไฟถูก/ไฟเกินแล้วมาปั่นเพิ่มตอนไฟขาด/ไฟแพงได้ก็น่าลองนะ ช่วงเปลี่ยนผ่านน่าจะถูกกว่ารื้อไปใช้ fuel cell ด้วย


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: zerowin007
AndroidUbuntuIn Love
on 10 October 2022 - 07:28 #1264664 Reply to:1264611

เอิ่มโรงไฟฟ้า ใช้ Fuel Cell มา ตั้งแต่ Mirai ออก Gen2 ละครับ แน่นอนเครื่องแปลงไฟคือ Fuel Stack นั่นเองงงง

By: Alphonse
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 9 October 2022 - 15:41 #1264617 Reply to:1264609

ไม่ดียังไงเหรอครับ

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 9 October 2022 - 20:34 #1264651 Reply to:1264617
  1. สุดท้ายยังก่อมลพิษอยู่ดี และประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นไม่เท่าใช้ FCEV อยู่ดี
  2. ถึงบอกใช้เครื่องยนต์เก่าได้ แต่ก็ดัดแปลงระบบผสมเขื้อเพลิงใหม่ก็ต้องดัดแปลง ECU อีก สรุปดัดแปลงไม่ต่างจากเอาดีเซลต่อ LPG แถมยุงยากกว่าด้วย
  3. ถังเก็บไฮโดรเจนจะเหมือนลูกระเบิดแรงดัน 10,000 psi มาเพิ่มอีก
  4. พอใช้ก๊าซแรงดันสูงขนาดนี้การดูแลรักษายุงยากสุดยอดแน่ๆ ทั้งที่คนขับดีเซลเพราะอยากได้เครื่องยนต์ถึกๆ งั้นก็ไปใช้แก๊ส CNG เลยจบ
  5. ดัดแปลงเครื่องยนต์ด้วยการเจาะเพิ่มหัวฉีด ทำโครงสร้างเครื่องยนต์เปลี่ยน เครื่องยนต์อายุสั้นลงแน่นอน(ดีเซลแปลงเป็นแก๊สพังกันอย่างเร็ว)เผลอๆยังไม่คุ้มราคาแปลงเครื่องพังแล้ว
  6. แค่ LNG CNG คนก็รังเกียจไม่ให้จอดในตึกละ ถ้ามีข่าวไฮโดรเจนดัดแปลงระเบิด คงให้จอดกลางสนามฟุตเท่านั้น
  7. ราคาไฮโดรเจรแพงมากที่เติมก็น้อย แล้วยิ่งต้องเติมดีเซลด้วยพร้อมกันแปลว่าต้องค่อยมาเติมทั้งสองที่เข้าสองปั๊มอีก

สรุป ไม่ประหยัด โคตรสร้างภาระ อันตราย น่าจะอยู่ได้แค่ในแลปถ้ายังไม่สามารถวิจัยต่อยอดให้ดีกว่านี้ได้

By: zda98
Windows Phone
on 9 October 2022 - 16:31 #1264620

ผมเห็นประโยชน์ในภาคขนส่งเหมือนกันไม่เหมาะกับรถตามบ้าน เอาง่ายๆปั้ม ไฮโดรเจนแพงมาก เอาแค่จุดเติมให้ถาคขนส่งก็พอ

By: specimen
Windows PhoneAndroid
on 9 October 2022 - 16:59 #1264621
specimen's picture

เอาไปพัฒนาใช้กับระบบที่ใช้เชื้อเพลิงดีเซลเยอะ ๆ อย่างพวกโรงงาน หรือเครื่องจักรกลหนัก น่าสนใจเลย

By: ZeaBiscuit
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 9 October 2022 - 18:37 #1264630
ZeaBiscuit's picture

ดัดแปลงแบบนี้ (ฝังหัวฉีด) นึกถึงตอนดีเซลแพงๆแล้วพวกรถหัวลากเอาเครื่องไปแปลงเป็น CNG เลย (ฝังหัวฉีด,หัวเทียน, ลดกำลังอัด)
อันนี้ก็คล้ายๆกัน แค่ไม่มีหัวเทียน เพราะยังใช้ดีเซลเป็นตัวจุดระเบิดอยู่
ข้อดีที่คิดออกคือกำลังน่าจะไม่ตก เพราะ CR เท่าเดิม แต่ราคาของ H2 นี่น่าจะเป็นปัญหาหลักมากกว่า

By: 02775
Windows PhoneSymbian
on 9 October 2022 - 20:43 #1264652
02775's picture

เริ่มก่อนได้เลยคงเครื่องเรือนั่นล่ะ ดัดแปลงไม่เยอะ เครื่องใหญ่ทำง่ายคุ้มทุนไว รถบรรทุกคงพอใหว แต่ต้องดูทิศสทางตลาด รถตามบ้านไม่คุ้ม

By: moojiw
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 10 October 2022 - 00:34 #1264661
moojiw's picture

ใช้ solar cell ส่วนเกินไปแยก H2 เอามาเก็บใน Tank ตอนกลางคืนดึงมาปั้นไฟครับ คำว่า battery ไม่จำเป็นต้องเป็นไฟฟ้าเสมอไป