กลุ่มพนักงาน SpaceX จำนวนกว่า 400 คน เข้าชื่อเขียนจดหมายถึงผู้บริหาร ประท้วงพฤติกรรมของซีอีโอ Elon Musk ว่าไม่เหมาะสม และทำให้บริษัทเสียชื่อเสียง
พฤติกรรมที่ว่าหมายถึงสิ่งที่ Musk พูดหรือเขียนต่อที่สาธารณะในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาในหลายประเด็น ทั้งเรื่อง Twitter, Tesla และเรื่องการเมืองสหรัฐ กลุ่มพนักงานบอกว่าการที่ Musk มีสถานะเป็นหน้าตาของบริษัท ทำให้บริษัทโดนวิจารณ์และเสียชื่อเสียงตามไปด้วย
กลุ่มพนักงานที่ไม่พอใจต่อท่าทีของ Musk จึงเสนอให้บริษัท SpaceX ควรรักษาระยะห่างจากแบรนด์ส่วนบุคคลของ Musk ให้มากขึ้น
หลังจดหมายนี้เผยแพร่ผ่านระบบ Microsoft Teams ภายใน SpaceX เพียงวันเดียว ก็มีข่าวว่า SpaceX ไล่พนักงานที่เกี่ยวข้องกับจดหมายนี้จำนวนอย่างน้อย 5 คนออกไปเรียบร้อยแล้ว และหลังจากนั้น Gwynne Shotwell ประธานของบริษัทก็ส่งอีเมลหาพนักงานทุกคน ว่าบริษัทยังมีงานอีกมากที่ต้องทำ จดหมายนี้ต่างหากเป็นสิ่งที่ทำให้พนักงานเสียโฟกัส ไม่ใช่พฤติกรรมของ Musk แต่อย่างใด
The Verge สัมภาษณ์พนักงาน SpaceX คนหนึ่งที่ไม่เกี่ยวข้องกับจดหมาย เธอแสดงความผิดหวังกับท่าทีของบริษัท และบอกว่าพนักงานที่ไม่เห็นด้วยกับ Elon จะเลือกปิดปากแล้วลาออกไปเงียบๆ เธอบอกว่าพนักงานยอมรับในความฉลาดของ Musk แต่ไม่ยอมรับในพฤติกรรมของเขาบนโซเชียล ทำให้เกิดความรู้สึกทั้งภูมิใจและอับอายที่ทำงาน SpaceX ไปพร้อมๆ กัน
Comments
เราไม่อยากเป็นเพิ่อนกับแก่แล้วอะ เราอายคน
บางทีก็งงๆกับแนวคิดฝรั่งนะ
จ้างมาทำงานหรือจ้างมารวมหัวขับไล่หัวหน้าออก……
ถ้าบริษัทเสียชื่อเสียงเพราะผู้บริหารทำงามหน้า มันก็ฟีลลิ่งเดียวกับลุงคนนึงทำประเทศงามหน้าในเวทีโลกอะฮะ
การทำงานบริษัทเราไม่พอใจก็ลาออกไปทำงานที่บริษัทอื่นได้ง่าย ๆ
แต่กับลุงคนหนึ่งนั้นการลาออกจากประเทศหนึ่งไปอยู่อีกประเทศหนึ่งนั้นไม่ง่ายเลย
ถึงงามหน้าเพียงใด แต่เป็นผู้ถือหุ้นอะค๊าาบ แถมเป็นผู้ก่อตั้งอีกต่างหาก
คนเก่งแรงจูงใจมันไม่ใช่แค่เรื่องเงิน แต่มันเป็นเรื่องการมีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรม หรือสร้างชื่อเสียงด้วย สิ่งที่ยึดเหนี่ยวเขาอาจไม่ใช่แค่ตัวบุคคล แต่เป็นภาพรวมองค์กร ดังนั้นหากผู้นำทำเรื่องด่างพร้อยมันก็ย่อมทำให้เขาเสียกำลังใจไปด้วย เพราะสุดท้ายผู้นำอาจเปลี่ยนไป แต่องค์กรก็ยังต้องคงอยู่
บางบริษัทอาจถึงกับต้องแยกบริหารระหว่างคนเก่ง กับพนักงานทั่วไปเป็นการภายในรับรู้กันกลุ่มเล็กๆ แต่ก็ต้องไม่กระทบถึงกำลังใจของมดงานของบริษัทด้วย เพราะในบริษัทมันต้องมีทั้งคนที่เป็นสมองและแขนขาขาดส่วนไหนไปก็ทำงานงานใหญ่ งานยากลำบาก
คนเก่งจะบ่นเรื่องทำไมได้งานไม่ท้าทาย มดงานจะบ่นเรื่องสวัสดิการไม่เพียงพอ มันก็มีที่มาที่ไปแหล่ะครับ
ถ้าบริษัทไหนอยู่ในสภาพที่ต้องคอยง้อคนเก่ง บริษัทนั้นมีปัญหาแล้ว
จริงหรือครับ แสดงว่าบริษัทนั้นทำงานรูทีนไม่ได้สร้างนวัตกรรมอะไร จะเปลี่ยนใครเข้าออกก็ได้ในไทยเยอะซะด้วย เขาเรียกบริษัทล้างสมองจนคนเก่งเป็นธรรมดาดาษๆ ลองเปิดบริษัทของตัวเองซักบริษัทสิครับแล้วคุณจะรู้ว่าบริษัทไหนไม่ต้องการคนเก่ง เพียงแต่เขาไม่ได้บอกคุณก็แค่นั้น 555
ลองคิดง่ายๆ ว่ามีผู้บริหารที่ทำตัว Toxic บ่อยๆ แล้วเป็นข่าวลบ พอพนักงานทักท้วงว่าให้แก้ปัญหากลับโดนไล่ออก สังคมการทำงานของบริษัทนี้จะน่าอยู่เชิญชวนให้คนเข้าไปทำเหรอ วันดีคืนดีเกิดหัวหน้าไปลวนลามลูกน้อง ไม่พอก็ใจก็อย่าพูด ลาออกไป??? ที่ยกมานี่เพราะมัสก็โดนแฉเรื่องแอร์โฮสเตจก่อนนี้มาแล้วยังแก้ข้อหาไม่ได้ แค่บ่ายเบี่ยง
เห็นว่าบ.ใหญ่ๆ หลายบ.ก็ต้องขึ้นเงินเดือนพนักงานเพื่อดึงตัวกันยกใหญ่นะครับ
ทุกบ.ต้องการคนเก่ง คนเก่งเป็นใครก็ได้ ยกเว้นตำแหน่งคีย์แมนที่ต้องเป็นบุคคลใดบุคคลนึง
อย่างกรณีของ Mrs.Sandberg ที่ออกจากเฟสบุคไงครับ
ตัวอีลอนมัสก์เองก็เป็นคนที่มีแนวคิดว่าใครไม่พอใจบ.ก็ลาออกไปอยู่แล้ว
องค์กรที่ผมทำงาน พนักงานใหม่ทุกคน (ระดับเจ้าหน้าที่) ทุกฝ่ายจะมี Mentor ที่ถูกกำหนดไว้ให้มาประกบเพื่อสอนงาน หลังช่วงทดลองงานพนักงานใหม่จะได้ทำแบบสอบถามเพื่อประเมินคนที่เป็น Mentor ด้วยว่า ช่วยสอนดีมั้ย มอบหมายงานได้ท้าทายพอหรือเปล่า หรือใช้ไปถ่ายเอกสารไปวันๆ KPI ปีนั้นของ Mentor ก็จะงอกเรื่องดูแลน้องใหม่เพิ่มมาด้วย
ที่ทำแบบนี้เพราะเมื่อก่อนคนเข้าใหม่ ถ้าไปอยู่ฝ่ายใหญ่ๆ ก็มักจะเคว้ง ไม่มีใครสนใจสอนเพราะทุกคนสนใจงานตัวเอง จนน้องเบื่อลาออก พอ HR ไปถามทีหลังก็บอกว่ารู้สึกงานไม่ท้าทาย จนต้องปรับระบบเพื่อง้อคนเก่งนี่แหละครับ
องค์กรที่ผมทำงาน พนักงานใหม่ทุกคน (ระดับเจ้าหน้าที่) ทุกฝ่ายจะมี Mentor ที่ถูกกำหนดไว้ให้มาประกบเพื่อสอนงาน หลังช่วงทดลองงานพนักงานใหม่จะได้ทำแบบสอบถามเพื่อประเมินคนที่เป็น Mentor ด้วยว่า ช่วยสอนดีมั้ย มอบหมายงานได้ท้าทายพอหรือเปล่า หรือใช้ไปถ่ายเอกสารไปวันๆ KPI ปีนั้นของ Mentor ก็จะงอกเรื่องดูแลน้องใหม่เพิ่มมาด้วย
ที่ทำแบบนี้เพราะเมื่อก่อนคนเข้าใหม่ ถ้าไปอยู่ฝ่ายใหญ่ๆ ก็มักจะเคว้ง ไม่มีใครสนใจสอนเพราะทุกคนสนใจงานตัวเอง จนน้องเบื่อลาออก พอ HR ไปถามทีหลังก็บอกว่ารู้สึกงานไม่ท้าทาย จนต้องปรับระบบเพื่อง้อคนเก่งนี่แหละครับ
ไม่ง้อไม่เท่ากับไม่ต้องการคนเก่งนะ แต่ระบบสำคัญกว่าคน
ถ้ากลัวลูกน้องเก่งๆลาออกแปลว่าความเสี่ยงของบริษัทอยู่ที่ลูกน้องบางคน
ถ้าเป็นตำแหน่งงานที่ต้องแย่งกันอยู่แล้วในตลาด ก็ไม่แปลกครับ
บ.ที่ไม่มีปัญหาเรื่องการหาคนนี่สิผมว่าน่าสงสัยมากกว่า
จริงในความคิดของคนผู้นั้น แต่ในโลกความเป็นจริง หลายบริษัทใหญ่น้อยที่ล้มไม่เป็นท่า หรือต่อให้ยังเจริญรุ่งเรือง หรืออยู่ต่อไปได้แบบทรง ๆ ก็เพียงเพราะเปลี่ยนผู้บริหารครับ
จำนวนไม่น้อยเลย ที่แทบจะล้ม หรือล้มหายไปเพียงเพราะเปลี่ยนผู้บริหาร
ในกรณีไหน ๆ ก็แล้วแต่ ผู้บริหารอาจจะเป็นคนสร้างภาพลักษณ์ด้านบวก และลบ ผสมออกมาแล้วมันคือบริษัทนี้นั้นแหละ เมื่อเปลี่ยนกลไกในการแสดงออกตรงนี้ไป มันก็มีนะครับที่ว่า แรงผลักดัน เสน่ห์ลึก ๆ มันหายไป ซึ่งบริษัทใหญ่ ๆ มันมักจะมีลักษณะ (เสน่ห์) ที่เป็นรูปร่างชัดเจนของมันอยู่ การเปลี่ยนคนที่เป็นสร้างลักษณะเหล่านี้ไป มันแทบจะเหมือนบริษัทคนละบริษัทเลย
เพจตัวอย่างผลงานถ่ายภาพ / วีดีโอ
บริษัทมันมีผู้บริหารมาก็เพื่อสร้างระบบงานนั่นแหล่ะครับ มันอาจดูเหมือนย้อนแย้งกับการชูคนเก่ง แต่จริงๆแล้วมันเป็นเป็นการบริหารทรัพยากรบุคคล เพราะสุดท้ายบริษัทร้อยปีก็ต้องอยู่ด้วยระบบงานไม่ได้อยู่ที่บุคคล และหากต้องเสียคนเก่งไปก็ต้องหาคนทดแทนได้ทันท่วงที มันก็มีบ้างที่บางช่วงเวลาที่จะทรุดเมื่อคนเก่งลาออกไป แต่สุดท้ายด้วยอำนาจเงิน แหละวิสัยทัศน์ของผู้นำมันก้จะชักพาคนเก่งคนถัดไปเข้ามา
ไม่ชอบก็ลาออกไปก็ได้นินา หรือรักบริษัทเกินไป?
ไล่เจ้าของบริษัทซะเลย
ผมว่ามันย้อนแย้งนะในขณะที่ตอนซื้อ twitter เพราะอยากให้มี Free Speech มากขึ้นแต่พอลูกน้องออกมาโวยวายก็ไล่ออกเฉยเลย
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
ผมมองว่าปกติ คุณจะพูดอะไรก็ได้แต่ต้องรับผลการกระทำด้วย บริษัทส่วนตัวเขาจะทำอะไรก็ได้ ไม่ชอบหน้าก็ไล่ออกไปจ่ายเงินชดเชยตามกฏหมายก็จบกันไป มันไม่เหมือนเวลาใช้สื่อแล้วโดนแบนพูดอะไรไม่ได้ ไม่ได้มีใครห้ามใครพูดอะไร คุณถูกไล่ออกก็ยังด่า elon ต่อไปได้
ใช่ครับมันไม่ผิดครับแต่ทุเรศลูกตาที่แกพล่ามเรื่อง Free of Speech ตอนซื้อ Twitter คือทำตัวเหมือนกับตัวเองเป็นคนใจกว้างจะไม่มีการแบนบลาๆๆซึ่งพอเอาเข้าจริงพอโดนลูกน้องตัวเองโวยวายก็เชือดทิ้ง
"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.
เป็นพนักงานกินเงินเดือน พูดตรงโดนใจแบบนี้ ก็จะโดนไล่ออกแหละ ยังไงก็ไม่มีความเท่าเทียม ตำแหน่งใหญ่อำนาจมากกว่า ฝ่ายบุคคลก็ฟังแต่คนตำแหน่งใหญ่ ไม่งั้นเดี๋ยวโดนให้ออกไปด้วย
โอ้ ยังรู้สึกดีใจว่า ในนี้ยังมีคนที่มีความคิดปกติ ไม่ได้วิ่งอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์กันแบบข้างนอกเท่าไร
ไม่แปลกที่โดน เพราะ SpaceX คือบริษัทลูกรักของ Elon แถมยังไม่ใช่แค่ผู้บริหารแต่เป็นเจ้าของด้วย (คาดว่า Elon ถือหุ้นเกินครึ่ง) ให้เปรียบก็เหมือนพนักงานเด็กเสิร์ฟบ่นไม่พอใจเถ้าแก่ต่อหน้า แถมยังจะแยกเถ้าแก่ไม่ให้เสนอหน้าอยู่หน้าร้านตัวเองอีก ทำงานร่วมกับเจ้าของร้านไม่ได้ ไม่ไล่ออกก็แปลกละ
เกือบครึ่งครับ แต่อำนาจโหวตสูงถึง 80% ก็คือไม่ว่ามีเรื่องอะไรก็ไม่มีทางโหวตแพ้
แล้วทีนี้ถ้าเอา5ลูกจ้างเก่านั้นเอาข้อมูลไปขายหรือแฉกับบริษัทคู่แข่งล่ะ
ก็ฟ้องฐานขโมยความลับบริษัทไป
เคยเม้นท์หลายๆครั้งในเพจนี่แหละ
ระบบบริษัทไม่ใช่ระบบประชาธิปไตย เจ้าของบริษัทหรือหัวหน้า ก็ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง
"เงิน" คือสิ่งสุดท้ายที่บริษัทจะแคร์ (เงิน อาจจะตรงไป ในบางครั้งก็มาอ้อมๆในรูปแบบ ความก้าวหน้าของบริษัท ความมั่นคงของบริษัท ภาพลักษณ์ของบริษัท ฯลฯ)
บริษัทไม่ใช่องค์กรณ์การกุศลที่จะจ่ายเงินไปเฉยๆเพื่อให้โลกสดใส โดยบริษัทไม่ได้อะไรกลับมาเลย เราอาจจะบอกว่า ระบบที่ดีทำให้บริษัทคุณยั่งยืนนะ คุณได้เงินเพิ่มขึ้นนะ อันนั้นก็แล้วแต่เจ้าของเงิน ถ้าเค้าไม่อยากได้เพิ่ม เค้าคิดว่าทุกวันนี้เค้าได้พอแล้ว เค้าก็ไม่จำเป็นต้องฟังเสียงคุณเลย และถึงแม้สิ่งที่คุณพูดจะเป็นจริง คือการทำตัวแย่ๆของเค้าทำให้บริษัทเค้าล่มจม เค้าก็ไม่ได้คิดถึงคุณหรอก เค้ามีความสุขกับการทำตัวแย่ๆของเค้าและเงินที่สูญเสียไปคือเงินเค้าเอง เค้าก็ไม่แคร์ คนแบบนี้เค้าไม่มามัวคิดว่าทำไปแล้วคนนั้นจะว่า ทำไปแล้วคนนั้นจะนินทา ทำไปแล้วลูกน้องในบริษัทจะไม่คุยด้วย ลูกน้องจะไม่รัก เค้าไม่แคร์ตรงนั้นเลย เค้าจะแคร์แค่ผู้ถือหุ้นหรือแหล่งเงินของเค้าเท่านั้นแหละ ถ้าผู้ถือหุ้นจะถอนหุ้น เค้าดิ้นรนแน่นอน
โลกมันไม่ได้ยุติธรรมขนาดนั้น และถ้าที่ทำงานหรือหัวหน้าหรือเจ้าของบริษัทที่ Toxic มีผลกระทบให้เราแย่ วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับเรา ก็คือออกไปอยู่บริษัทอื่น
แต่อย่าลืมล่ะ ทุกๆบริษัทก็มีหัวหน้างาน และทุกๆบริษัทก็มีเจ้าของบริษัท
ถ้าเป็น public company ก็ยังพอจะเล่นได้ครับ เพราะหลายๆ แหล่ง ผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นสถาบันการเงิน ตัวบุคคลที่อาจจะชี้นกชี้ไม้ไปเรื่อย อาจจะไม่ได้มีอำนาจสูงขนาดนั้น และยังต้องแคร์ public opinion อยู่
พวกนี้หลาย ๆ แห่งอาจจะเห็นผู้บริหารงัดกับบอร์ดบริหาร และ/หรือผู้ถือหุ้นอยู่บ้าง
แต่ถ้าเป็น private owned นี่คือจบเลย อย่าไปหือ เค้าไม่ฟังเรา เขาไล่เราออกอย่างเดียว ชดเชยก็ไม่ได้ด้วย
ทั้งนี้ผมเดาว่าคนที่มาอยู่ SpaceX เค้าค่อนข้างเฉพาะทาง และคิดว่าน่าจะใช้สกิลเฉพาะทางที่ว่างัดข้อกับระดับบน ๆ อยู่เหมือนกัน ถ้าคนพร้อมใจกันออกการจะหาคนมาแทนก็ไม่น่าง่ายครับ
ผมว่าบริษัทระดับนี้น่าจะมีแผนรองรับไว้อยู่แล้ว ขนาดบริษัทผมระดับเล็กๆยังมีแผนในสถานการณ์ต่างๆรองรับประมาณ 8 สถานการณ์ หนึ่งในนั้นคือแผนรองรับโรคระบาด แผนเสร็จก่อนโควิดมาประมาณ 1 ปี เลยไม่กระทบกับoperation เลย
ก็เป็นสิทธิ์ของเขาจะพูดจะทำอะไรยังไงก็ได้มันก็ไม่ได้ผิดกฎหมายอะไร
เก่งแค่ไหนเขาก็หาคนแทนได้ครับ