Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

หากยังพอจำกันได้ ในปี 2014 ศาลยุติธรรมยุโรป ได้ตัดสินให้กูเกิลลบผลการค้นหาตามคำร้องขอของคนที่อยากจะถูกลืมบนโลกอินเทอร์เน็ต หรือที่เรียกว่า right to be forgotten

ล่าสุดมีคำตัดสินอย่างเป็นทางการจากศาลยุติธรรมยุโรปอีกครั้งระบุว่า กูเกิล มีสิทธิ์ที่จะจำกัดขอบเขตของสิทธิที่จะถูกลืมได้ นั่นหมายความว่า กูเกิลและผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายอื่นสามารถลบข้อมูลของผู้ร้องขอได้ตราบใดที่ยังอยู่ในขอบเขตของสหภาพยุโรปเท่านั้น

ย้อนไปยังปี 2015 องค์กรสิทธิของฝรั่งเศสเรียกร้องให้กูเกิลขยายผลสิทธิที่จะถูกลืมให้ครอบคลุมทั่วโลก เพราะแม้จะค้นหากูเกิลในยุโรปไม่เจอก็จริง แต่ถ้าไปค้นใน Google.ca ผลการค้นหาของคนที่ร้องขอสิทธิที่จะถูกลืมก็ยังปรากฏอยู่ดี

อย่างไรก็ตาม ยังมีประเด็นเรื่อง "สิทธิที่สังคมจะได้รับรู้" เกิดขึ้นมาขัดแย้งกับสิทธิที่จะถูกลืมด้วย Aeryn Palmer ปรึกษากฎหมายของ Wikimedia เคยบอกไว้ว่า ไม่ควรมีประเทศไหนจะมาควบคุมข้อมูลที่ทั้งโลกควรจะสามารถเข้าถึงได้ กฎสิทธิที่จะถูกลืมนั้นขัดแย้งกับอุดมการณ์ของ Wikimedia ที่มนุษย์ทุกคนสามารถแบ่งปันความรู้ข้อมูลได้อย่างอิสระ

No Description
ภาพจาก CVRIA

ที่มา - Venture Beat

Get latest news from Blognone

Comments

By: api on 24 September 2019 - 20:26 #1129983

ศาล eu ก็ช่วยเฉพาะคนใน eu ซะเอง

By: xlightman
iPhoneAndroidWindows
on 24 September 2019 - 20:30 #1129984 Reply to:1129983
xlightman's picture

ผมมองว่าเป็นเรื่องของขอบเขตอำนาจศาลมากกว่าประเด็นเรื่องช่วยไม่ช่วยนะครับ

By: akira on 24 September 2019 - 21:21 #1129987 Reply to:1129983

หือ อำนาจศาลก็มีขอบเขตนะครับ ตัดสินใน eu จะให้คลอบคลุมทั่วโลกเป็นไปไม่ได้หรอกครับ ทุกประเทศมีขอบเขตและอำนาจเหนือดินแดนตัวเองทั้งนั้น ยกเว้นว่าไปทำความผิดในสถานทูต ที่มีเอกสิทธิทางการทูตก็อีกเรื่องนึง

By: PriteHome
ContributorAndroidWindows
on 25 September 2019 - 08:12 #1130031
PriteHome's picture

"สิทธิที่จะถูกลืม" น่าจะหมายถึงการลบข้อมูล sensitive ส่วนบุคคลมากกว่านะ ไม่น่าขยายไปถึงเรื่องข่าวในลักษณะบุคคลสาธารณะ