Tags:
Node Thumbnail

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ เคยเปิดรายงานศึกษา Hyperloop และความเป็นไปได้ที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเป็นรายงานที่คุณธนาธรจ้างให้บริษัท Hyperloop ในแคนาดาทำการศึกษา โดยเริ่มศึกษาในเส้นทางเชียงใหม่-กรุงเทพ-ภูเก็ต

ธนาธร บรรยายในหัวข้อ Hyperloop and Path Skipping Development Strategy ที่งาน Blognone Tomorrow 2019 ระบุว่าแนวคิดของ Hyperloop ไม่ใช่แค่การอำนวยความสะดวกในการเดินทางด้วยความเร็วสูง แต่ยังเป็นโอกาสของคนไทย ที่จะพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (middle income trap) และโอกาสในการเป็นเจ้าของเทคโนโลยีของตัวเอง

No Description

คุณธนาธรเริ่มต้นบรรยายด้วยการยกตัวอย่างจำนวนประเทศที่ถูกจัดอันดับให้เป็นประเทศรายได้ปานกลาง ในปี 1960 มีจำนวน 101 ประเทศ ผ่านมา 50 ปี เหลือ 88 ประเทศ มีแค่ 13 ประเทศที่หลุดออกจากกับดักรายได้ปานกลางได้

No Description

4 ประเทศในยุโรปที่หลุดจากกับดักคือ กรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส สเปน ได้ประโยชน์จากการเข้าร่วมสหภาพยุโรป ที่คนเดินทางเข้าหางานในสหภาพยุโรปได้อย่างเสรี อีก 2 ประเทศ เปอร์โตริโกและมอริเชียส เป็นหมู่เกาะเล็กทำรายได้จากการขุดเจาะน้ำมัน ส่วนอีก 6 ประเทศที่เหลือเป็นประเทศแถบเอเชียที่เราคุ้นเคยกันดีคือ อิสราเอล ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน

หากเทียบระยะเวลาที่ประเทศต่างๆ ใช้ในการก้าวข้ามการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง จะเห็นว่าประเทศตะวันตกอย่างอังกฤษ อเมริกา ใช้เวลานับร้อยปี แต่พอถึงยุคของประเทศฝั่งเอเชีย กลับสามารถใช้เวลาน้อยกว่ายุโรปและอเมริกามาก ถือเป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า "ความมหัศจรรย์แห่งเอเชียตะวันออก" (East Asia Miracle)

ไม่ต้องเดินตามรอยใคร หลุดจากกับดักรายได้ปานกลางด้วยยุทธศาสตร์ Path-Skipping

ประเทศแถบเอเชียข้างต้น สามารถก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางได้อย่างรวดเร็ว เพราะใช้วิธีไม่ต้องเดินตามรอยประเทศตะวันตกไปเสียทุกก้าว จึงใช้เวลาน้อยกว่ามาก

ในสายวิชาด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ มีแนวคิด "ห่านบิน" (flying geese model) ที่มองว่าสินค้าประเภทต่างๆ เริ่มถูกพัฒนาในประเทศที่มีรายได้สูงก่อน เมื่อมันผลิตได้แพร่หลาย ฐานการผลิตก็จะถูกย้ายไปยังประเทศที่ค่าแรงการผลิตต่ำกว่า เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมแบบ catch-up industrialization หรือการพัฒนาแบบไล่กวด ประเทศที่มีรายได้สูงแล้วก็ต้องคิดค้นสินค้าและนวัตกรรมใหม่ที่มีมูลค่าสูงพอจะผลักดันตัวเองขึ้นไปอีกขั้น โมเดลการพัฒนาแบบนี้เรียกว่าเป็นการเดินตามรอย (path-following)

ในไทยเองเราก็มีเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมแนวทางเช่นนี้ ธนาธรเล่าถึงในสมัยเขายังเด็กเมืองไทยเองก็เคยเต็มไปด้วยอุตสาหกรรมสิ่งทอ แต่หลังจากนั้นไม่นานอุตสาหกรรมสิ่งทอก็ออกจากประเทศไทยไปยังประเทศอื่นเช่นศรีลังกา
No Description

ส่วนแนวทางการพัฒนาอีก 2 แบบที่เหลือคือ path-skipping หรือการเดินตามแบบข้ามจังหวะเป็นช่วงๆ ที่ช่วยลดระยะเวลาลงได้มาก และอีกทางคือ path-creating ที่เป็นการสร้างทางเดินของตัวเอง ซึ่งยากที่สุดในบรรดาแนวทางทั้งหมด

คุณธนาธรยกตัวอย่าง DRAM หน่วยเก็บความจำในยุค 90 เพดานสูงสุดอยู่ที่ 16 เมกะไบต์ แต่เกาหลีใต้คิดใหม่ ซื้อเทคโนโลยีจากต่างประเทศและก้าวข้ามไปทำที่เพดานสูงสุด 32 เมกะไบต์เลย นี่คือ Path-Skipping แม้เป็นทางเลือกที่ยากและซับซ้อน แต่เป็นหนทางให้หลุดกับดักรายได้ปานกลางได้

การเปลี่ยนแปลงระดับจุลภาค ที่สามารถทำได้เองเลย

คุณธนาธรยกตัวอย่างบริษัทไทยซัมมิทที่ตนเคยเป็นผู้บริหาร ซึ่งเริ่มปรับวิธีการทำงานมาตั้งแต่ปี 2012-2013 โดยจำนวนพนักงานลดลง แต่ยอดขายกลับเพิ่มขึ้น เพราะพัฒนากระบวนการทำงานให้ productivity เพิ่มขึ้นแทน

No Description

สิ่งที่กลุ่มบริษัทไทยซัมมิททำคือปรับตัว นำเอาเทคโนโลยีมาใช้อย่างเต็มที่ ตอบสนองความต้องการของตลาดและทิศทางของโลก

ตัวอย่างการปรับตัวของไทยซัมมิท คือ การคิดค้นบอดี้รถที่มีน้ำหนักเบาเพื่อตอบโจทย์ลูกค้า เป็นเสนอโซลูชั่นเพื่อแก้ปัญหา แทนการเสนอขายสินค้าตรงๆ ที่จะต้องลงไปสู้ในสงครามราคา และทำให้สัดส่วนกำไรลดลง แต่การเสนอโซลูชั่นให้ลูกค้าใช้ material ที่มีน้ำหนักเบา แต่รับแรงกระแทกมากขึ้นได้ เป็นการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนกว่า และดีกว่าในเชิงธุรกิจ

ไทยซัมมิทยังถือเป็นกลุ่มบริษัทที่มีหุ่นยนต์มากที่สุดในประเทศไทย คือ 1,765 ตัว มีการใช้ระบบ IoT เซนเซอร์เข้ามาในโรงงาน ตรวจจับข้อมูลการผลิตได้เรียลไทม์ มีการประดิษฐ์เครื่องพิมพ์สามมิติขึ้นมาใช้เองในโรงงาน ไม่ต้องสั่งจากญี่ปุ่นอีกต่อไป เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดไทยซัมมิทพัฒนาขึ้นเองแบบ in-house เพราะไม่สามารถหาผู้ขายโซลูชั่นที่ตรงตามต้องการได้

ธนาธรชี้ว่าระบบอัตโนมัติในโรงงานเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ยังมีโรงงานในประเทศไทยอีกมากที่ยังเข้าไม่ถึง หรือไม่ได้นำระบบอัตโนมัติมาใช้อย่างเต็มที่ ดังนั้นนี่จึงเป็นโอกาสมหาศาลสำหรับใครก็ตามที่กำลังลงทุนด้านนี้ หรือบริษัทที่จะสามารถเป็น system provider ให้แก่โรงงานอุตสาหกรรมเหล่านี้ได้

No Description

การเปลี่ยนแปลงระดับมหภาค Hyperloop ที่ไทยสร้างเอง

ที่คุณธนาธรกล่าวมาข้างต้นเป็นการเปลี่ยนแปลงระดับจุลภาค ในระดับขององค์กรตัวเอง แต่ถ้ามองสเกลในระดับประเทศ การพัฒนาเฉพาะจุดเล็กๆ คงไม่เพียงพอ ต้องมีกลยุทธ์ในการพาประเทศไปข้างหน้าได้อย่างมีพลัง ไทยต้องสร้างอุตสาหกรรมที่ Path-Skipping ขึ้นมาให้ได้ และเขาเชื่อว่า Hyperloop ตอบโจทย์เรื่องการพัฒนาอุตสาหกรรมครั้งใหญ่

คุณธนาธรไม่ได้เน้นเรื่องเทคนิคของ Hyperloop เหมือนกับตอนแถลงข่าวเรื่องนี้ครั้งแรก แต่เน้นว่า Hyperloop จะให้อะไรกับคนไทยมากกว่า (หากต้องการรู้เรื่องเทคนิค สามารถอ่านย้อนหลังได้ที่นี่)

No Description

ในบางอุตสาหกรรมเราอาจยังต้องเลือก path-following อย่างเช่นกรณีรถไฟความเร็วสูง แต่การลงทุนรถไฟความเร็วสูงนั่นหมายถึงเม็ดเงินแสนล้าน ลงทุนในเทคโนโลยีที่ประเทศอื่นนำไปไกลแล้ว สุดท้าย เงินแสนล้านจะถูกนไปจ้างผู้ผลิตจากจีน ญี่ปุ่นมาทำงานให้เรา

แต่ถ้าเราหยุดการลงทุนความเร็วสูงไว้ก่อน หันมาทำรถไฟปัจจุบันให้เป็นรางคู่ ทำให้รถไฟวิ่งด้วยความเร็วปานกลาง 120 กม.ต่อชั่วโมงให้ได้ก่อน และหันไปลงทุนวิจัยสร้าง Hyperloop ล่วงหน้าไว้เลย และรอให้เทคโนโลยี Hyperloop มันเติบโตจนใช้งานได้จริง ไทยจะสามารถสร้าง Hyperloop เองได้โดยไม่ต้องพึ่งพาการซื้อเทคโนโลยีจากต่างชาติ

คุณธนาธรเชื่อว่าถ้าเริ่มลงทุนตั้งแต่ตอนนี้ ในเวลา 10-12 ปี ยังมีความเป็นไปได้ที่จะเห็น Hyperloop ของไทยใช้งานได้จริง ซึ่งจะเป็นการสร้างอุตสาหกรรมที่มีตัวเลขการจ้างงานคนไทย 180,000 ตำแหน่ง และเป็นงานที่หนีการไล่ล่าของเทคโนโลยีได้ทัน หรือถึงแม้ว่า ต่อให้ Hyperloop ของไทยใช้งานไม่ได้จริง ความรู้ที่ได้จากการลงทุนวิจัยจะนำไปประยุกต์ใช้กับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้เช่นกัน
No Description

คุณธนาธร มองไกลไปถึงการตั้งไทยเป็นแหล่งผลิต Hyperloop และวางตัวเองเป็นฮับของการเดินทางในอาเซียน โดยฮับที่มองไว้คือ พิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดตัดของสี่แยกอินโดจีน
No Description

รัฐที่ไม่เปิดรับสิ่งใหม่ เป็นต้นทุนมหาศาล

คุณธนาธรเชื่อว่าคนไทยมีความสามารถพอในการที่จะเป็นเจ้าของเทคโนโลยีเอง และนี่เป็นหนทางที่ช่วยให้ไทยหลุดจากกับดักรายได้ปานกลางได้

เขาชี้ว่าการจะสร้างสิ่งใหม่ได้ ประเทศไทยต้องมีระบบนิเวศน์ 3 อย่างคือ

  • คนต้องกล้าเสี่ยง มีสวัสดิการในสังคมที่รองรับความผิดพลาดในการสร้างสิ่งใหม่ ให้อย่างน้อยคนแพ้ยังมีที่ยืน ให้คนกล้าคิดถึงโอกาสในระยะยาว
  • โอกาสต้องเปิด เราไม่สามารถสร้างสังคมที่ตอบโจทย์การพัฒนาต่อโลกหมุนเร็ว ถ้าไม่ยอมรับสิ่งใหม่ ความหลากหลาย และการแข่งขัน
  • การปรับตัวของรัฐ รัฐที่ไม่ฟังเสียงประชาชน ไม่เข้าใจความเปลี่ยนแปลง จะกลายเป็นต้นทุนมหาศาลของสังคมที่ต้องแข่งกับโลกหมุนเร็ว

คุณธนาธรปิดท้ายการบรรยายว่าประเทศไทยยังมีความหวังอยู่ โดยยกตัวอย่างกลุ่มนักศึกษาไทยที่กำลังสร้าง POD ในงานที่ อีลอน มัสก์ จัดการแข่งขันทุกปี และปีนี้เป็นปีแรกที่มีนักศึกษาไทยไปแข่งด้วย และเชื่อว่าพวกเขาสามารถทำได้ รวมทั้งยังมีความหวังว่าไทยจะไปไกลกว่านี้ได้ด้วย

สามารถดูคลิปบรรยายฉบับเต็มได้ด้านล่าง

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: Anonymous on 10 September 2019 - 16:23 #1127422
Anonymous's picture

จนตอนนี้ ผมก็ยังไม่เข้าใจ คนที่คัดค้านตอนลงข่าวว่า ธนาธร จะมาพูดในงาน

By: loptar on 11 September 2019 - 11:24 #1127688 Reply to:1127422
loptar's picture

ผมว่าคนที่ค้าน เค้าเกรงจะเอาโอกาสนี้ มาแฝงเรื่องของการเมืองด้วยนะครับ
แต่ถ้าเอาเท่าที่สรุปมา ผมว่า ทำไ้ดดี คือนำเสนอแนวคิด และมีประเด็นการเมือง
แค่นิดหน่อย พอกรุบกริบ 555

By: WattZ
AndroidRed HatSymbianWindows
on 10 September 2019 - 16:33 #1127424
WattZ's picture

คนไทยไม่มีความสามารถในการทำอะไรแบบนี้ รอซื้ออย่างเดียว ไม่ก็เป็นลูกจ้าง

By: poa
Android
on 10 September 2019 - 17:16 #1127437 Reply to:1127424

ความสามารถผมว่ามี แต่ที่ไม่มีคือทุนวิจัย สัดส่วนค่าใช้จ่ายงานวิจัยของไทยน้อยมาก เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ

By: rattananen
AndroidWindows
on 10 September 2019 - 19:58 #1127479 Reply to:1127424

ผมคิดว่าความสามารถน่ะมี
แต่กลัว/อาย/ไม่กล้ารับ ความผิดพลาดตนเอง "อาจจะ" ก่อขึ้น จนคิดว่าอยู่เฉยๆ น่ะดีแล้วไม่เสียหายอะไร
มากกว่าครับ

By: loptar on 11 September 2019 - 11:25 #1127690 Reply to:1127479
loptar's picture

attitude

By: fullstepmixsong
Contributor
on 10 September 2019 - 16:33 #1127425

อ่านบทความจบ หันหน้ามามองนายกคนปัจจุบันของประเทศไทย..

By: Aoun
AndroidWindows
on 10 September 2019 - 17:47 #1127452 Reply to:1127425

มองทำไม ว่างนักก็ไปเลี้ยงปลาซิ
เดี๋ยวน้ำที่ท่วมอยู่ลดลง แบ้วจะไม่ได้เลี้ยงนะเออ

By: IZaCl2eam
iPhone
on 11 September 2019 - 16:25 #1127775 Reply to:1127425

รถไฟความเร็วสูงก็ไม่แย่นะคุณ

By: thanyadol
iPhone
on 11 September 2019 - 17:48 #1127791 Reply to:1127775

ไม่แย่ แต่ห้าปีผ่านไป ไม่มีอะไร และ สองอย่างนี้ ไม่ dependency กัน

By: udornrt
AndroidWindows
on 12 September 2019 - 16:32 #1127964 Reply to:1127791

ถ้าไม่อ่านจะไปรู้อะไร

By: tom789
Windows Phone
on 10 September 2019 - 16:35 #1127427

เป็น แนว ความคิด ที่ด ี

By: zyzzyva
Blackberry
on 10 September 2019 - 16:45 #1127429

วิธีหลุดออกจากกับดักรายได้ปานกลางอีกวิธีนึงก็คือเศรษฐีในไทยทุกคนต้องเสียสละตัวเองคล้ายๆ Bill Gates ที่บริจาคทรัพย์สินหรือตั้งองค์กรการกุศลด้วยทุนไม่ต่ำกว่าหนึ่งในสามของทรัพย์สินตัวเอง ไม่รู้จะเป็นไปได้มากหรือน้อยกว่า Hyperloop นะ

By: xanthics on 10 September 2019 - 16:56 #1127435

ธนาคารชี้ว่าระบบอัตโนมัติในโรงงานเกิดขึ้นมานานแล้ว >> ธนาธร?

By: sunnywalker
WriterAndroid
on 10 September 2019 - 17:19 #1127439 Reply to:1127435

ขอบคุณค่ะ

By: title_za
iPhoneAndroidWindows
on 10 September 2019 - 17:18 #1127438
title_za's picture

"รัฐที่ไม่เปิดรับสิ่งใหม่ เป็นต้นทุนมหาศาล" ใช่เหรอ Hyperloop นี่แพงมากเลยนะ และกว่าจะวิจัยและใช้งานได้จริงมันแพงโคตรๆกว่าด้วย และพลังอุตสาหกรรมไทยก็ไม่ได้ใหญ่มากมายอะไรถ้าจะให้ก้าวกระโดดข้ามไป Hyperloop
ถ้าล้มเหลวมันจะไม่ใช้แค่ล้มแล้วลุกขึ้นมาใหม่ แต่อาจถึงขั้นล้มละลายเลยยังได้

By: flittleconan
AndroidUbuntuWindows
on 10 September 2019 - 17:38 #1127448 Reply to:1127438

ความรู้ที่ได้จากการศึกษา วิจัย Hyperloop นี่ เราจะไม่มีปัญญาเอาไปใช้ทำอย่างอื่นเลยใช่ไหมครับ ถึงว่าถ้า Hyperloop ใช้ไม่ได้แล้วเราจะล้มละลายเลย?

ลงทุนแล้วล้มเหลว ยังไงเราก็ได้"ความรู้"ครับ แต่ถ้าไม่คิดจะทำอะไรเลย ก็มีแต่"ความไม่รู้"แล้วก็ใช้เงินซื้ออย่างเดียว ต้นทุนมหาศาลแค่ไหน?

By: PandaBaka
iPhoneAndroidWindows
on 10 September 2019 - 18:54 #1127466 Reply to:1127448
PandaBaka's picture

ผมมองว่าโดยธรรมชาติของหน่วยงานรัฐแล้ว น่าจะเสียเปล่าอ่ะ เพราะทั่วไปแล้วเวลาวิจัยหยุดกลางทางแล้วยุบหน่วยนั้นความรู้ก็ไปพร้อมกับนักวิจัยที่เผ่นไปหางานใหม่นั่นแล ส่วนเอกสารทิ้งไว้แต่แทบจะไม่มีใครรื้อกลับขึ้นมาอีกทิ้งให้ฝุ่นจับอยู่มุมใดมุมหนึ่งรอการจำหน่าย (ชั่งโลขาย) ต่อไป - -"

ถึงจะคิดถึงในทางอุดมคติ สืบต่อความรู้ได้ แต่ในความเป็นจริงหากความรู้นั้นไม่ได้ถูกจำกัดด้วยทรัพยากรที่เป็นเอกลักษณ์ หรือข้อกฏหมาย พอผ่านไปซักพักก็จะมีความรู้ที่ใหม่และดีกว่ามาแทนที่ โดยทีมวิจัยที่ใดที่หนึ่งในโลกที่ทรัพยากรและทุนพร้อมกว่าแทน

By: flittleconan
AndroidUbuntuWindows
on 10 September 2019 - 18:55 #1127467 Reply to:1127466

แปลว่าสมมติถ้าเราเกิดเลือกวิจัย Hyperloop ขึ้นมาจริงๆจังๆ เราจะไม่มีการทำอย่างอื่นควบคู่ ไม่ว่าจะเป็นการแก้กฎหมาย ปรับปรุงโครงสร้าง อะไรพวกนี้เลยใช่ไหมครับ ถึงจะกลับไป loop เดิมๆอย่างเดียว ถ้าคิดอย่างนั้น ผมก็ไม่เห็นด้วยครับให้วิจัย ไม่ใช่แค่ไม่เห็นด้วย ไม่เห็นอนาคตของประเทศด้วย เหมือนกลับไป 2500 เลยครับ ย่ำที่เดิมเลย

By: PandaBaka
iPhoneAndroidWindows
on 10 September 2019 - 19:10 #1127469 Reply to:1127467
PandaBaka's picture

การแก้กฏหมายและข้อบังคับต่างๆ เพื่อเอาไปลงกับโครงการที่ไม่เห็นอนาคตชัดเจน ไม่ต่างจากการเอาไปเล่นการพนันหรอกครับคงไม่มีใครทำแน่

และที่สำคัญคืองบประมาณครับ ลองประกาศว่าจะดึงงบชนบท งบโครงการประชานิยม มาวิจัย hyperloop เดี๋ยวก็มีคนมาประท้วงว่าเหลื่อมล้ำในอีกแง่นึงแหง

By: mrmamon
ContributorAndroidWindows
on 10 September 2019 - 19:47 #1127477 Reply to:1127467

ใน session เค้าบอกว่าจะเอางบรถไฟความเร็วสูงมาแบ่งทำรถไฟความเร็วปานกลาง รถเมล์ไฟฟ้า และ R&D hyperloop แทนครับ

By: PandaBaka
iPhoneAndroidWindows
on 10 September 2019 - 20:00 #1127480 Reply to:1127477
PandaBaka's picture

อันนั้นยิ่งยากใหญ่ครับรถไฟความเร็วสูงที่ได้ราคานั้นคือต่อแบบลดแล้วลดอีก ถ้าเจียดมาปั่นโครงการอื่นแล้วมันจะไม่ได้ราคาเดิม แถมน่าจะผิดสัญญาที่ยื่นกู้ในประเทศด้วย - -"

By: mrmamon
ContributorAndroidWindows
on 10 September 2019 - 23:37 #1127510 Reply to:1127480

ไม่ใช่ครับ เค้าหมายถึงไม่สร้างรถไฟความเร็วสูงแล้วเอางบมาทำอย่างอื่นแทนดีกว่าเลย

By: PandaBaka
iPhoneAndroidWindows
on 11 September 2019 - 01:59 #1127538 Reply to:1127510
PandaBaka's picture

เอิ่ม อันนี้ผมไม่รู้เค้าคิดไปได้ไงเหมือนกันนะ

ถ้าหยุดสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงอันนี้ไปเลย แล้วเอางบไปทำอย่างอื่นทั้งหมดแบบนี้ แทนที่จะได้งบจะกลายเป็นจะได้หนี้มหาศาลแทนแน่ครับ เงินที่เหลือไม่น่าจะจ่ายค่าปรับเอกชนพอ แถมน่าจะโดนคนให้กู้เงินฟ้องอีกกระทง เพราะเอาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

ที่สำคัญดีไม่ดีคราวนี้จีนจะขึ้นบัญชีดำไทยเอา อันนี้ก้าวกระโดดแน่ครับ กระโดดถอยหลังไปหลายก้าวเลย - -"

By: mrmamon
ContributorAndroidWindows
on 11 September 2019 - 10:27 #1127662 Reply to:1127538

อันนี้ผมก็งง งบสร้างรถไฟความเร็วสูงนี่กู้มานี่นา หรือว่าเค้าหมายถึงกู้สัญญาอื่น งบเท่ากัน ละเอามาทำแบบที่ว่ามาแทน ไม่กู้สัญญาเดิมแล้ว

By: m.chatiwat
Contributor
on 12 September 2019 - 01:59 #1127846 Reply to:1127538

ถ้าผมจำไม่ผิด รถไฟความเร็วสูงที่เข้าขั้นเซ็นสัญญาแล้วนี่มีแต่เส้นกรุงเทพ โคราชเองนะครับ เส้นอื่นยังไม่ถึงไหนเลย ก็อาจจะเก็บไว้แค่เส้นนี้ ส่งนเส้นทางอื่นๆก็ยกเลิกไปก่อน

By: PandaBaka
iPhoneAndroidWindows
on 12 September 2019 - 02:32 #1127849 Reply to:1127846
PandaBaka's picture

คิดว่าโครงการเจรจามาหลายสิบรอบคงยกเลิกไม่ได้ง่ายๆ น่ะครับ และส่วนหนึ่งที่จีนยอมให้เราเยอะมากทั้งลดค่าสร้าง ทั้งแถมรถไฟรุ่นใหม่ และเปลี่ยนสัญญาสัดส่วนการกู้ในประเทศ เพราะเค้าต้องวางรางรถไฟยิงยาวจากจีนไปสิงคโปร์ให้ได้น่ะครับ

By: m.chatiwat
Contributor
on 12 September 2019 - 03:48 #1127851 Reply to:1127849

โครงการใหญ่ระดับนี้ มันก็ต้องมีการเจรจาหลายรอบเป็นธรรมดาครับ เราน่าจะมาถกกันว่าทางเลือกไหนดีที่สุดสำหรับประเทศในระยะยาวมากกว่าจะมากังวลเรื่องเจรจามาเยอะแล้ว ตราบในที่ยังไม่ลงนามก็คือไม่ลงนามครับ ยกตัวอย่างรัฐบาลนี้ก็เพิ่งยกเลิกสัญญานำเข้า LNG 1.5 ล้านตันไป เพราะสถานการณ์การใช้พลังงานเปลี่ยน ในเมื่อสัญญายังไม่ลงนามก็ไม่มีผลผูกพันธ์ การเอาการเจรจามาเป็นข้ออ้างมันเป็น Sunk Cost Fallacy ครับ

By: PandaBaka
iPhoneAndroidWindows
on 12 September 2019 - 08:37 #1127860 Reply to:1127851
PandaBaka's picture

เอ ทางเลือกไหนดีมากกว่าในระยะยาว ถ้าหลักสิบปีรถไฟความเร็วสูงครับ เพราะเป็นอันที่ทำได้เลยเอกชนสนับสนุนมีเงินทุนเพราะจะใช้ประโยชน์ด้วย

ส่วน hyperloop อันนี้ยังทำไม่ได้ เพระมันเป็นส่วนที่กู้มาครับ มองอีกแง่เหมือนกูเงินมาซื้อบ้าน แต่เราเอาเงินนั้นไปแทงหวยก็โดนเจ้าหนี้ฟ้องสิ

By: mrmamon
ContributorAndroidWindows
on 12 September 2019 - 13:21 #1127912 Reply to:1127860

ผมว่าแทงหวยก็ไม่ถูก จริงๆ ถ้าจะให้เทียบคือ เราจะกู้เงินมาซื้อบ้านหรือเอาไปเรียนมหาลัยน่าจะตรงกว่า

By: port on 12 September 2019 - 09:20 #1127867 Reply to:1127538

reply ผิดตำแหน่งจากที่ post

By: port on 12 September 2019 - 09:20 #1127869 Reply to:1127538

reply ผิดตำแหน่งจากที่ post

By: port on 12 September 2019 - 09:15 #1127868 Reply to:1127480

+1

By: title_za
iPhoneAndroidWindows
on 10 September 2019 - 20:39 #1127484 Reply to:1127448
title_za's picture

ที่บอกว่า อุตสาหกรรมไทยก็ไม่ได้ใหญ่มากมายอะไร เพราะประเทศอื่นๆเขาไม่ได้เริ่มที่ 1 เขามีพื้นฐานทางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่รองรับอยู่แล้ว เขาจะไปเริ่มที่ 8-9-10 ในขณะที่ไทยจะยังอยู่ที่ 1-2 มันยากมาเลยนะที่จะมองในแง่ดีว่าเราจะเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีแข่งกับประเทศอุตสาหกรรมขนาดใหญ่

By: m.chatiwat
Contributor
on 12 September 2019 - 01:59 #1127847 Reply to:1127484

แต่ถ้าเราไม่ทำอะไรเลย เราก็จะไม่มีวันไปเป็น 8-9-10 ไงครับ

By: port on 12 September 2019 - 09:05 #1127865 Reply to:1127448

ข้อแรก
ส่วนตัวไม่ทราบรายเอียด

ข้อสอง
ถ้าเป็นบริษัทเอกชน หรือใช้งบส่วนตัวจะไม่ว่านะ

By: IZaCl2eam
iPhone
on 11 September 2019 - 16:26 #1127776 Reply to:1127438

+100 เอาทุนไปละลาย ต่อให้สำเร็จซึ่งคงยากมากๆ ก็ต้นทุนสูงกว่ารถไฟความเร็วสูงอยู่ดี

By: gololo
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 10 September 2019 - 18:03 #1127456

จริงๆคิดว่าจะได้เห็นแผนดำเนินงาน เหมือนกำลังบอกว่าเราจะทำหุ่นironman แข่งกับ โทนี้สตาก และมีจีนรอกอปอยู่ข้างหลัง

ถ้าอยากจะทำจริงๆควรทำในสิ่งที่เราคิดเองไม่มีคนทำมาก่อน

และถ้าเราได้ทำHyperloopจริงทำนายได้เลยว่า
ถ้าให้เดาเหตุการณ์สมมุตว่าทำสำเร็จแล้ว Hyper loop เป็นที่นิยม คนทำเสร็จคนแรกจะเป็น อิลอนมาค ส่วนไทยก็กำลังทำอยู่แต่ด้วยบุคลากรของเราไม่พร้อมจึงใช้เวลามากในการพัฒนา และในเวลาเดียวกัน จีนและยี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยีรถไฟฟ้าอยู่แล้วเป็นเรื่องง่ายที่จะนำมาต่อยอดและก็จะใช้ความสามารถทุกๆทางเพื่อสร้างสิ่งที่เหมือนกันและผลิตออกมาโดยจีนจะทำในราคาที่ถูกกว่า และยี่ปุ่นจะทำได้ในคุณภาพที่สูงกว่า ถ้าเราสามารถทำเสร็จก่อนจีนและยี่ปุ่นแต่คิดว่าคงไม่

By: Hoo
AndroidWindows
on 11 September 2019 - 11:23 #1127687 Reply to:1127456

เห็นด้วยเลย เชิงวิจัย/พัฒนา เราไม่ได้มีศักยภาพพื้นฐานของ Hyperloop ที่จะไปสู้ประเทศพัฒนาแล้วได้เลย
ทั้งด้านวิจัย(สู้อเมริกาไม่ได้) และ ด้านการผลิตที่(สู้จีนไม่ได้)
เหมือน อึ่งอ่างพองตน ที่พยายามพองตัวให้ใหญ่เท่าวัว อะ
ซึ่งแน่นอนว่าจบไม่สวยแน่

ไม่รวมกับแนวคิดของ Hyperloop ที่มีความเป็นไปได้น้อย/ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจไม่มากพอ

เราควรเอาทรัพยกรที่เรามีอยู่อย่างจำกัดไปพัฒนาด้านอื่นจะดีกว่า

By: m.chatiwat
Contributor
on 12 September 2019 - 04:00 #1127852 Reply to:1127456

Elon Musk จะทำสำเร็จเป็นคนแรกได้ยังไงครับ ในเมื่อเขาไม่ได้ลงมาพัฒนาด้วยเลย (- -")

เขาขุดเสนอไอเดียนี้ (ซึ่งจริงๆในทางทฤษฎีก็มีมานานแล้ว) แล้วเสนอว่าเทคโนโลยีมันน่าจะถึงจุดที่สามารถเอามาทำจริงได้แล้ว และให้เงินมาจัดประกวด Prototype ครั้งแรกนิดหน่อยครับ กระแสการพัฒนามันเลยเกิดขึ้นมา แต่ปัจจุบันผู้เล่นหลักๆที่มีอยู่ 2-3 บริษัท ไม่ใช่ของ Elon โดยตรงเลยครับ (พี่แกทำแค่ Tesla, SpaceX และ Neuralink ก็โหดพอแล้ว)

ส่วนจีนและญี่ปุ่นเทคโนโลยีก้าวหน้ากว่าเราก็จริง แต่เขาลงทุนกับรถไฟความเร็วสูงไปมากแล้ว ทำให้ incentive การลงมาเล่น Hyperloop น้อยกว่าเรา (Innovator's Dilemma) ส่วนเทคโนโลยีที่เรายังขาดก็ไปหาทาง Joint มาสิครับ

ลองดูอย่างจีน พื้นฐานทางเทคโนโลยีเขาเมื่อ 10 กว่าปีก่อน ก็ไม่ได้ดีไปกว่าเรา แต่รัฐเขาบีบให้บริษัทผู้ผลิตรถไฟต่างชาติมาลงทุนตั้งโรงงาน "และถ่ายทอดเทคโนโลยี" จนเขามีทรัพยากรบุคคลจะพัฒนาเอง มาขายเราได้ คือถ้าคิดแค่ว่าเราไม่มีพื้นฐาน แล้วจะไม่ทำอะไรเลย มันก็อยู่แบบนี้ไปเรื่อยๆอะครับ

By: ปาโมกข์
iPhoneAndroidWindows
on 10 September 2019 - 18:49 #1127465
ปาโมกข์'s picture

งานวิจัยไทย ส่วนใหญ่เข้าถึงยาก ไม่มีใครต่อยอด
วิจัยแล้วความรู้ถูกเก็บไว้ในมหาลัย
ได้คะแนนทุกอย่างก็จบ
คำว่า นวัตกรรม จึงได้แค่ตื่นเต้นเวลาเห็นข่าว
จริงๆผมอยากให้คนไทยวิจัย หรือคิดค้นพัฒนาเรื่องใช้สมุนไพรแทนยาฝรั่ง
เรื่องการนำผลิตภัณฑ์การเกษตรมาใช้ประโยชน์ เช่น เอามาทดแทนภาชนะพลาสติก
เรื่องเกษตรอินทรี เกษตรชีวภาพ
แบตเตอรี่ รถยนต์ไฟฟ้า
หลายๆด้านคู่แข่งอาจจะเยอะ ก็ต้องสู้มันทุกทาง มันต้องชนะซักทางสิ

By: whitebigbird
Contributor
on 10 September 2019 - 22:22 #1127503 Reply to:1127465
whitebigbird's picture

คุณคงไม่รู้ว่าผลิตภัณฑ์หลายตัวเป็นการต่อยอดจากการวิจัยในไทย และการวิจัยไม่ได้เกิดเพียงเป็นโปรเจ็คจบ มันยังมีงานวิจัยเชิงธุรกิจ ฯลฯ อีกเยอะ

งานวิจัยต่อยอดกราฟีนหลายตัวก็ต่อยอดมาจากของไทย งานวิจัยยา และทางด้านสาธารณสุขก็เยอะมาก และใช้งานได้จริงด้วยครับ

ล่าสุดก็ส่งงานวิจัยไปกับยานอวกาศของนาซาครับ อาทิตย์ก่อนนี่เอง

By: jokerxsi on 10 September 2019 - 21:20 #1127488

เมื่อวานนี้อยากบอกว่า "ประเทศไทยใช้แผนการพัฒนาแบบที่ 3 Path-creating Strategy แน่นอน เพียงแต่ว่าอาจจะไม่ได้ไปข้างหน้า" เพราะเรามีอะไรแบบไทยๆ ไม่สนใครอยู่ไม่น้อย และคงจะมีการพูดกันต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลหน้าใหม่เป็นอย่างน้อย

พอเข้าใจว่าทำไมถึงศึกษา Hyperloop แต่ผมเองก็ยังไม่เชื่อว่า Hyperloop จะสร้างได้คุ้มค่าคุ้มเสียง แต่ถ้าสร้างรถไฟความเร็วสูงในท่อทนสถาพอากาศ เพื่อให้ระบบรถไฟฟ้าทำงานได้แม้เจอสภาพพายุฝนฟ้าคนองโดยไม่ต้องหยุดเดินรถอันนี้ก็น่าสนใจ

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 11 September 2019 - 16:12 #1127769 Reply to:1127488
TeamKiller's picture

ปกติรถไฟฟ้าน้ำไม่ท่วมหนักๆ ก็น่าจะวิ่งได้อยู่นะครับ ยกเว้นพวกพายุหมุนไรงี้ หรือแผ่นดินไหว ถึงในท่อก็อาจจะไม่ช่วยไร

By: je901
iPhoneAndroidWindows
on 10 September 2019 - 23:13 #1127507

ลบก่อนดีกว่า ขอไปดูคลิปให้จบก่อนค่อยมาแสดงความเห็นอีกที

By: port on 11 September 2019 - 00:24 #1127518

เหมือนไม่ได้มองเรื่องรัฐศาสตร์

By: orchidkit on 11 September 2019 - 01:04 #1127520

เห็นด้วยเรื่องเร่งทำรถไฟรางคู่ทั่วประเทศก่อน
แล้วเอาประสิทธิผลจากมูลค่าที่เกิดขึ้นทั่วประเทศนั้นมาเป็นทุนวิจัยเรื่องที่ใหญ่กว่า
ดีกว่าเมกกะโปรเจคให้บางพื้นที่แล้วจบแค่นั้น

แต่จะทำเป้าหมายที่ธนาธรเสนอนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อำนาจต้องมาจากประชาชน มันจึงจะถูกใช้เพื่อประชาชน
และคนไทยต้องเห็นคุณค่าของสิทธิและเชื่อในคุณค่าความสามารถตัวเองก่อน

ผมนับถือเขาที่มักจะเชิดชูความสามารถพนักงานเขาบ่อยๆ
ก้าวแรกในการพัฒนาคือการเชื่อว่าเรามีคุณค่า ไม่ใช่ฝุ่น

By: qweret
AndroidWindowsIn Love
on 11 September 2019 - 07:10 #1127571
qweret's picture

ทำไมนึกถึง fuel cell ของ Toyota ทุกที

By: Orion
Windows PhoneAndroidWindows
on 11 September 2019 - 11:09 #1127681 Reply to:1127571
Orion's picture

พัฒนามาหลายปีสุดท้ายไม่มีใครใช้เพราะเทคโนโลยีที่ดีกว่ามาแทน

By: superheroo
AndroidRed HatWindows
on 11 September 2019 - 09:10 #1127619

ผู้นำวิสัยทัศน์ก้าวไกล จะนำพาประเทศเดินหน้าอย่างรวดเร็ว

By: sdc on 11 September 2019 - 11:35 #1127693

มองในแง่ร้ายที่สุดคือ ไทยไม่เหมาะที่จะพัฒนาเลยเพราะเวลาจะทำก็โดนว่าไม่คุ้มค่ากับเงินและเวลาที่เสียไป ไม่ต้องคิดอะไรใหม่ อยู่แต่ใน comfort zone และซื้ออย่างเดียวดีกว่า(และอาจกินได้มากกว่า) สุดท้ายผลลัพธ์ก็คือ เป็นประเทศกำลังพัฒนาตลอดไป

By: iaee
ContributorWindows PhoneAndroidUbuntu
on 11 September 2019 - 11:57 #1127696
iaee's picture

จากที่ฟังๆดู เขาสื่อถึงการวิจัยก้าวกระโดดการพัฒนาเทคโนโลยีการขนส่ง ซึ่งมันก็แนวคิดที่เขานำเสนอให้เรารับรู้ละเตรียมความพร้อมในการรับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น ส่วนไทยเรานั้นจะดำเนินการอย่างไร บางมหาลัยก็ได้ทำการศึกษาวิจัยกันมาสักพัก ผลตอบรับจากหน่วยงานรัฐและเอกชนจะเป็นอย่างไร รอดูกันต่อไป

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 11 September 2019 - 16:11 #1127768
TeamKiller's picture

คงเหมือนจีน ไปซุ่มทำรถไฟความเร็วสูง แปปเดียวสร้างได้หลายสายเลย ตอนนี้ใครทำแข่งก็เสียเวลาเสียเงินสู้ซื้อจีนง่ายกว่า

ส่วน Hyperloop คงไม่ต่างถ้าทำก็อาจจะรวยไปขายต่างชาติได้อีก ไม่ work อย่างน้อยก็มีสิ่งที่ได้วิจัยระหว่างก็เป็นองค์ความรู้หรือวิธีการใหม่ๆ ไปจดสิทธิบัตรได้

By: Orion
Windows PhoneAndroidWindows
on 11 September 2019 - 16:27 #1127777 Reply to:1127768
Orion's picture

แบบนั้นเอางบไปวิจัยอย่างอื่นที่จะมีความต้องการสูงในอนาคตไม่ดีกว่าหรอครับ เช่น แบตเตอรี่​ชนิดใหม่ๆ เพราะอุปกรณ์​ไฟฟ้าเกือบทั้งหมดก็ต้องใช้แถมรถไฟฟ้าก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นด้วย

By: IZaCl2eam
iPhone
on 11 September 2019 - 16:35 #1127781 Reply to:1127777

+1

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 11 September 2019 - 17:39 #1127790 Reply to:1127777
TeamKiller's picture

ก็ดีครับ อนาคตก็ไม่รู้อันไหนจะฮิตหรือไม่ฮิต ก็ต้องลงทุนวิจัยไปก่อน

ถ้ามีทุนเหลือหรือทีมงานวิจัยคนละทีม มีทรัพยากรเพียงพอก็วิจัยลงทุนหลายๆ ทางได้อยู่แล้วนะครับ

By: m.chatiwat
Contributor
on 12 September 2019 - 02:11 #1127848 Reply to:1127777

ทำไมถึงคิดว่าแบตเตอรี่ชนิดใหม่ๆมีความเป็นไปได้มากกว่า Hyperloop ล่ะครับ?

By: api on 12 September 2019 - 12:43 #1127899 Reply to:1127848

แบตเตอรี่เกิดขึ้นแล้ว และยังพัฒนากันอยู่
แต่ Hyperloop ยังไม่เกิดแถมมีแนวโน้มจะแป๊ก

By: Anonymous on 12 September 2019 - 13:02 #1127906 Reply to:1127899
Anonymous's picture

แป๊กแต่ได้ความรู้มาทำอย่างอื่น

By: YF-01
AndroidUbuntu
on 12 September 2019 - 13:12 #1127909 Reply to:1127906

ผมเห็นด้วยนะ แป้กก็ยังเอาองค์ความรู้มาทำอย่างอื่นต่อได้อีก

ปัญหาตอนนี้น่าจะเป็นว่า คุณธนาธรก็ยังไม่ได้แสดงวิสัยทัศน์ถัดไปว่าแล้วมันเอาไปใช้ทำอะไรต่อได้มากกว่า
คือ Hyperloop โอกาสเกิดมันก็ยังไม่ชัดเจน ถ้าอยากให้มีน้ำหนักมากขึ้น ผมว่าแผนสองก็เป็นเรื่องที่ต้องคิดต้องแสดงแล้วนะ

By: nidlittle
iPhoneWindows
on 12 September 2019 - 13:22 #1127914 Reply to:1127909

+1 เห็นพูดกันทุกคนว่าเอามาทำอย่างอื่นได้ต่อ แต่กับคนที่ไม่มีความรู้ก็ได้แต่สงสัยว่าจะเอาอะไรมาใช้ทำอะไรได้บ้าง ไม่เห็นภาพเลยจริงๆ

By: Anonymous on 12 September 2019 - 14:08 #1127925 Reply to:1127914
Anonymous's picture

ผมอยากเป็น Programmers แต่ผมไปไม่สุด ล้มเหลว และผมก็เปลี่ยนมาทำอาชีพ Designer ซึ่งไปได้สวย องค์ความรู้ที่ผมได้ตอนฝึกเขียนโปรแกรม ช่วยให้ผมสามารถคุยกับ Developers ได้สะดวกยิ่งขึ้น และผมเข้าใจเวลาที่ Developers คุยกัน (การเรียนรู้ ไม่ใช่สิ่งไร้ค่า เมื่อเทียบกับบางกลุ่มที่ไม่กล้าลองทำอะไรเลย สุดท้ายก็ไม่รู้อะไรเลย)

By: m.chatiwat
Contributor
on 13 September 2019 - 13:35 #1128145 Reply to:1127914

ผมทำงานอยู่ในบริษัท electronics ใน California ตอนนี้ บอกได้ว่าบริษัทใหญ่ๆบางบริษัทก็อยากไปตั้งทีมในไทยครับ แต่ติดที่เขาไม่มั่นใจว่าเขาจะสามารถหาบุคลากรด้านวิศวกรรมในประเทศได้ เนื่องจากไทยไม่เคยมีการผลิตโครงการด้านวิศวกรรมที่มีความซับซ้อนสูง ปัญหาของไทยคือ เราคล้ายๆนักศึกษาจบใหม่กำลังหางานอะครับ อยากได้งานแต่ไม่มีประสบการณ์ แต่จะมีประสบการณ์ต้องได้งานก่อน ผมมองว่าถ้ารัฐเข้ามาช่วยลงทุนตั้งไข่ในช่วงเริ่มต้น โดยการสนับสนุนโครงการที่ใช้เทคโนโลยีสูง แล้ว Spin-off เป็นบริษัทภายหลัง จะสามารถสร้างอุตสาหกรรม Hi-tech ในไทย และดึงดูดงานคุณภาพสูงเข้าประเทศได้

โมเดลนี้ก็คือ โมเดลเดียวกับที่ไต้หวัน และเกาหลีใต้ใช้สร้างอุตสาหกรรม Semi-conductor เมื่อ 20 ปีที่แล้วครับ (TSMC นี่ spin-off มาจากสถาบันวิจัยของรัฐบาลไต้หวัน และ Samsung ก็ได้รับเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำที่จากรัฐบาลเกาหลีใต้ผ่านระบบ Chaebol)

อย่าไปมองแค่ว่า Hyperloop มันคือรถไฟ แต่มันคือ ระบบทางวิศวกรรมขนาดใหญ่ที่ประกอบขึ้นมาจากระบบวิศวกรรมเทคโนโลยีระดับสูงย่อยๆจำนวนมาก ทั้งด้าน Mechanic, Aerodynamic, Materials, Electronics, IoT, AI, Robotics ฯลฯ การมีโครงการระดับนี้ บุคลากรในประเทศก็ยกระดับตามไปด้วย พอมีบุคลากรที่มีคุณภาพ มันก็จะดึงอุตสาหกรรมที่แชร์ทักษะเหล่านี้เข้ามา

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 13 September 2019 - 13:46 #1128153 Reply to:1128145
hisoft's picture

เห็นภาพได้ค่อนข้างชัดดีครับ ขอบคุณครับ

By: m.chatiwat
Contributor
on 12 September 2019 - 13:12 #1127910 Reply to:1127899

แบตเตอรี่นี่ถ้าเป็น Lithium-based ก็เรียกได้ว่าตันแล้วนะครับ แล้วในแง่ทรัพยากรของไทยก็ไม่ได้เอิ้อให้เป็นผู้ผลิตแบตเตอรี่เท่าจีน

เทคโนโลยีด้านแบตเตอรี่ที่จะเป็น Next-gen คือ Solid state ซึ่งยังเป็นแค่ Lab-scale อยู่เลยนะครับ

ในขณะที่ Hyperloop มันก็คือ เอา Cabin เครื่องบินมาย่อส่วน ติด Maglev ด้านล่าง แล้วเอาไปวิ่งในท่อที่ดูดลมออก คือเทคโนโลยีทั้งหมดมันมีอยู่แล้ว แค่อยู่คนละที่ ถ้ามองในแง่ความ Maturity ของเทคโนโลยี ผมว่าลง Hyperloop ยังจะมีหวังมากกว่าอีกนะครับ

By: Orion
Windows PhoneAndroidWindows
on 12 September 2019 - 14:47 #1127936 Reply to:1127910
Orion's picture

ผมเลยบอกไงครับว่าวิจัยแบตเตอรี่ชนิดใหม่ๆ หรือเอาที่เขาวิจัยแล้วมาต่อยอดให้สามารถผลิตจำนวนมากได้ในราคาที่ถูกได้ ส่วน Hyperloop ใช่ครับทุกอย่างมันมีอยู่แล้วแค่จับมารวมกันมันคือรถไฟ Maglev ในท่อเกือบสูญญากาศ แต่ปัญหามันมีเยอะ เช่น การหดขยายตัวของท่อ การรักษาระดับแรงดัน การเชื่อมต่อตัวรถไฟกับสถานี(แทบจะเกือบเหมือนการสวยอวกาศเชื่อมต่อกับสถานีเลย) รถไฟขัดข้องหยุดระหว่างทางทำอย่างไรให้ผู้โดยสารปลอดภัย แล้วทั้งหมดก็มาจบที่ราคาทั้งค่าก่อสร้างทั้งค่าบำรุงรักษายังไงมันก็ไม่ถูกกว่ารถไฟ Maglev มีแต่จะแพงกว่า คำถามมันอยู่ที่ว่าทำไมต้องใช้ Hyperloop สร้างมาเพื่อตอบสนองอะไร

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 12 September 2019 - 23:34 #1128030 Reply to:1127936
TeamKiller's picture

ก็ได้รถไฟความเร็วสูงสุดๆ ที่เดินทางข้ามประเทศ ข้ามทวีป ได้ไวขึ้น ไม่ต้องนั่งเครื่องบินแบบ Concord ในอนาคตหรือนั่งจรวจของ SpaceX กระโดดข้ามโลกไปมา

By: m.chatiwat
Contributor
on 13 September 2019 - 13:20 #1128139 Reply to:1127936

ผมอ่านคอมเมนท์คุณแล้วยิ่งงงใหญ่เลยครับ แบตเตอรี่ชนิดใหม่นี่ต้องใช้เทคโนโลยีสูงมาก ขนาดแลปดังๆในอเมริกายังพัฒนาไปไม่ถึงไหนเลย เราจะไปตามคนอื่นทันได้ยังไง หรือจะวิจัยให้ผลิตมากขึ้นได้ ก็ไม่น่าจะตาม จีนและญี่ปุ่น ที่เค้าผลิตเป็นเจ้าตลาดอยู่ทุกวันนี้ทันนะครับ

ในขณะที่ Hyperloop นี่มัน Engineering-Validated แล้วนะครับ ตัวรถนี่ก็วิ่งกันจริงๆใน Test track แล้ว รอแค่ Test track ที่ยาวและใหญ่ขึ้น โครงการที่อินเเดียก็ใกล้จะเริ่มแล้ว ส่วนปัญหาที่คุณว่ามานี่ถ้าได้ลองศึกษาดู ก็มี Solution หมดแล้วนะครับ เหลือแค่ทดลองสร้างของจริงแค่นั้น มันไม่ใช่ปัญหาที่ Core-solution ของระบบเลย

ส่วนเรื่องราคานี่ก็หลายๆเจ้าที่ประเมินตอนนี้ ไม่ได้แพงไปกว่า Maglev แถมเผลอๆจะถูกกว่าด้วยนะครับ การต้องสร้างท่อและดูดลมออกอาจจะดูแพงกว่า แต่แลกมากลับการประหยัดพลังงานที่ใช้ขับเคลื่อนตัวรถ และ Wear & Tear ที่น้อยกว่า Maglev นะ (แต่ข้อนี้ก็ต้องรอดู เพราะคนที่ประเมินก็มีแต่บริษัทที่ขาย Hyperloop)

By: darthvader
Windows PhoneWindows
on 11 September 2019 - 16:38 #1127782
darthvader's picture

‘ถนนลูกรังยังไม่หมด’

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 11 September 2019 - 16:45 #1127783

จัดเลยครับ อย่ารอ อย่าราคาคุย แล้วให้ฝั่งตรงข้ามว่าเป็นเด็กสร้างบ้าน

จริงๆอีกฝั่งก็คนหัวล้านสร้างเมืองเหมือนกัน

By: z2
Windows PhoneAndroidUbuntuWindows
on 12 September 2019 - 07:43 #1127856

นึกถึงกระทู้ต่อต้านรถไฟฟ้าสมัยก่อนในพันทิพ สุดท้ายทุกคนก็มาใช้ แถมแพงด้วย 5566

สมัยนั้นจะให้ใช้โมโนเรลกันด้วยซ้ำ

https://pantip.com/topic/32702889

By: 0FFiiz
Windows PhoneAndroidWindows
on 12 September 2019 - 13:35 #1127917
0FFiiz's picture

โชว์เลยฮะ ทำให้คนแก่มันดู
Elon Musk ยังใช้ทุนตัวเองทำได้ ไม่ต้องไปรอใช้งบประมาณประเทศทำ
คุณก็ต้องทำได้เหมือนกัน สู้ ๆ นะ

By: mrmamon
ContributorAndroidWindows
on 12 September 2019 - 14:41 #1127934 Reply to:1127917

เป้าหมายเค้าคือพาประเทศให้หลุดจากรายได้ปานกลางโดยยกระดับบุคลากรกับอุสาหกรรมในประเทศนี่ครับ ไม่ให้รัฐทำมันน่าจะไม่ได้นะ

By: 0FFiiz
Windows PhoneAndroidWindows
on 12 September 2019 - 15:41 #1127948 Reply to:1127934
0FFiiz's picture

ได้สิครับ ทำโชว์ไปก่อนเลย มีทรัพยากรณ์อยู่แล้ว
และได้ศึกษามาก่อนแล้ว ก็เดินหน้าลุยไปเองได้เลย ไม่ต้องรอรัฐบาล

พอทำไปได้จุดหนึ่ง และประสบความสำเร็จได้ดี
เดี๋ยวรัฐบาลก็เข้ามาเอง (คงไม่ใช่รัฐบาลนี้หรอก)

ตามคอนเซป blognone อยากได้อะไรก็ทำเอาเอง
ถ้าเกิดรัฐบาลมันห่วยแตกล้าหลัง ก็เริ่มเองเลย

ทำให้คนแอนตี้ได้รู้ด้วยว่า เป็นคนจริง ไม่ได้ดีแต่พูด

/ ขนาดทีมนักศึกษาของเยอรมันยังเริ่มทำไปก่อนได้เลย
คุณธนากรณ์ น่าจะมีทุนเยอะกว่าเด็กพวกนั้นเยอะมาก
ไม่น่าจะติดอะไร

By: orchidkit on 12 September 2019 - 16:12 #1127958 Reply to:1127917

แบบนั้นก็จะไม่ตรงตามจุดประสงค์หลักเขาสิครับ จะกลายเป็นรัฐมาอุ้มสมบัติเอกชน ถูกครหาว่าใช้อำนาจรัฐเอื้อตัวเอง
เหมือนผมเคยฟังคำสัมภาษณ์จากสักที่ว่าพอเข้ามาทำงานการเมือง เขาห้ามไทยซัมมิตรับงานจากรัฐบาลในอนาคต
(แน่นอน ทำได้ ไม่ผิด แต่เป้าหมายเขาใหญ่กว่าจะหยุดชีวิตที่ทำ Hyperloop เอง)

อีกอย่าง การลงมือทำที่ว่า คือการผลักดันความคิดหรือแสดงจุดยืน มันก็คือการลงมือทำในตัวมันเองอยู่นะ
การโดดลงมาสนามนี้ด้วยตัวเองก็ใกล้เคียงกับคำว่า"ทำเอง" ที่สุดแล้วนะ ถ้าเทียบกับคนรวยหลายคนที่เกาะกินกระแสที่เปลี่ยนแปลงโดยรัฐ

By: 0FFiiz
Windows PhoneAndroidWindows
on 12 September 2019 - 16:31 #1127963 Reply to:1127958
0FFiiz's picture

ข้ออ้างเยอะ

แต่ส่วนตัวก็แอบคิดนะ รูปแบบของประเทศที่โตไวแบบก้าวกระโดด
เกาหลีใต้ -> Samsung, วงการบันเทิง
จีน -> เอกชนเพียบ

รัฐเข้าไป support เอกชนทั้งนั้นเลยแฮะ ?

By: orchidkit on 12 September 2019 - 16:44 #1127966 Reply to:1127963

ก็ถึงบอกว่าทำได้ ไม่ผิดอะไร แต่เจ้าตัวจะต้องจดจ่อที่ตรงนั้นไง เวลาจะถูกตรึงตรงนั้น ถูกอุ้มเมื่อไหร่ ความต้องการห่างไกลไปทันที
ชีวิตทางการเมืองมันไปต่อไม่ได้ ไม่สามารถมีอำนาจได้เส้นทางที่เขาสร้าง มันไม่ตรงกับภาพลักษณ์ในใจเขา

ผมว่ามันเข้าใจง่ายๆว่าจุดประสงค์ของคนๆนี้อยู่ตรงไหน ทำไมคุณแกล้งไม่เข้าใจเพื่อกระแนะกระแหน

By: udornrt
AndroidWindows
on 12 September 2019 - 16:39 #1127965

หวังให้รัฐทำผมว่าม มันมีอะไรแอบแฝง หวังกล่อมประสาทสาวกนะครับ

รัฐบาลไทยหรือรัฐบาลโลกไหน การการมารีเสิร์ชแล้วทำแบรนด์เองโดยการทุ่มงบมาหาศาล
ไม่มีใครทำ อย่างมากก็ปรับปรุงพื้นฐานสังคมให้ดีขึ้น แค่นั้นพอ
ส่วนการ รีเสิร์ชที่ต่อยอดยอดจนทำรายได้จากอุตสาหกรรม ไม่มีรัฐไหนบ้าไปขนาดนั้น

คนเชื่อก็บ้าตาม ตูละงึด แถมงบลงทุนประเทศ มีกระจึ๋งนึง ทีเหลือเป็นเงินเดือนเพียวๆแหมมม

By: nkhome
iPhoneAndroidWindows
on 1 October 2019 - 14:17 #1130925
nkhome's picture

เอาจริงๆไม่ว่านโยบายหรือวิวัฒนาการด้านไหน ถ้ารัฐบาลสนับสนุนอย่างจริงจัง ก็มีโอกาสก้าวหน้านะครับ เดี๋ยวนี้คนไทย เก่งๆเยอะ หากนำงบประมาณจากภาษีคนไทยมากระตุ้นหรือส่งเสริมพัฒนาด้านต่างๆให้มีโอกาสริเริ่ม หรือเติบโตในภายภาคหน้า เชื่อว่าคุ้มกว่าให้คนแก่ๆทั้งหลายเอางบไปดูงานต่างประเทศหลายขุม แต่ความเป็นจริงคือรัฐบาลปัจจุบัน นั่นก็ไม่ได้ นี่ก็ไม่เอา แนะนำให้เลี้ยงปลา เปิดกูเกิ้ล อิหยังวะ!