Tags:
Node Thumbnail

"ฟาร์มแม่นยำ" คือแอพเพื่อเกษตรกรที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ดีแทค และ รีคัลท์ สตาร์ทอัพที่ใช้เทคโนโลยีภาพถ่ายดาวเทียมและ machine learning เพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร มีฟีเจอร์สำคัญคือ พยากรณ์อากาศเฉพาะพื้นที่แบบรายชั่วโมง, อุณหภูมิ, โอกาสในการเกิดฝน และปริมาณฝนในพื้นที่ล่วงหน้าทั้งแบบรายวัน, 7 วัน, 6 สัปดาห์ และ 9 เดือนล่วงหน้า

ล่าสุดดีแทคร่วมกับ รีคัลท์ ออกมาคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง ให้เกษตรกรเตรียมรับมือ ดังนี้

  • ฟาร์มแม่นยำได้คาดการณ์ปริมาณน้ำฝนแบบ 9 เดือนล่วงหน้าของพื้นที่ทำนาใน อ. ชุมพวง จ. นครราชสีมา พบว่าปริมาณน้ำฝนจะต่ำกว่าช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว หากไม่กักเก็บน้ำต้นข้าวจะยืนต้นตาย
    No Description
  • เกษตรกร จ. อุบลราชธานี ต้องกักเก็บน้ำในเดือนกันยายน-ตุลาคม มิฉะนั้นเมล็ดข้าวจะลีบแบน
    No Description
  • เกษตรกรใน อ. เมือง จ.สุรินทร์ ต้องระวังปริมาณน้ำน้อยในเดือนตุลาคม
    No Description
  • ปริมาณน้ำใน เขื่อนป่าสักฯ จ. ลพบุรี และเขื่อนอุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น ลดลงอย่างมากจนถึงขั้นวิกฤติ จนอาจส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชน
    No Descriptionการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนแบบ 9 เดือนล่วงหน้าใน เขื่อนป่าสักฯ จ. ลพบุรี
    No Descriptionการคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนแบบ 9 เดือนล่วงหน้าใน เขื่อนอุบลรัตน์ จ. ขอนแก่น

โดยฟีเจอร์คาดการณ์น้ำฝนสามารถใช้ได้ในแอพ ฟาร์มแม่นยำ

ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์

Get latest news from Blognone

Comments

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 31 July 2019 - 15:02 #1122128

หากไม่กักเก็บน้ำต้นข้าวจะยืนต้นตาย

Thank you captain obvious.

เขื่อน******(เซ็นเซอร์) ลดลงอย่างมากจนถึงขั้นวิกฤติ

อันนี้เป็นความอัจฉริยะที่หาได้ยากในโลกนี้ครับ ปีที่แล้วอ้างว่าฝนอาจจะถล่มหนักช่วงปลายฤดูทำให้น้ำล้นเขื่อนเลยเปิดแบบจัดเต็ม (ปลาตายบนโขดหินเพียบ เหม็นเน่ามาก) สุดท้ายแล้วไม่มีฝนสักหยด ก็...อย่างที่เห็นครับ 0%

By: IDCET
Contributor
on 31 July 2019 - 15:19 #1122131 Reply to:1122128

อันสุดท้ายมันแก้ได้ง่ายๆ โดยสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่พร้อมระบบบำบัดและระบบกระจายน้ำสำหรับใช้ในพื้นที่หรือจังหวัดอื่นๆ และป้องกันภัยแล้งในตัว ไม่ต้องเสียเวลาปล่อยทิ้งลงแม่น้ำแล้วปล่อยลงทะเลแบบทิ้งๆ ขว้างๆ แถมพื้นที่ด้านล่างเขื่อนเสี่ยงน้ำท่วมด้วย ถ้าจัดการตั้งแต่แรกมันก็จบแล้ว

ปัญหาและวิธีแก้ก็มีแต่ไม่มีใครสนใจ ชอบมาวัวหายล้อมคอกกันอยู่แบบนี้ไปวันๆ เห้อ.....


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 31 July 2019 - 18:40 #1122169 Reply to:1122128

ผมไม่ทราบว่าคนอื่นนี้ทำนายอย่างไร แต่ปกติเราดูการทำนายโดย ENSO ก็ค่อนข้างแม่นยำนะครับ เขาบอกตั้งกะต้นปีแล้วว่าปีนี้เราจะแล้งเพราะอิทธิพลของ el nino แล้วจะค่อยๆดีๆขึ้นช่วงปลายปี (บ้านเราเป็นเขตมรสุม รับน้ำฝนจากมรสุมมากกว่าจากป่า แบบป่าฝนในอินโดฯ)

จำได้ว่า ตอนต้นฤดูฝนต้นเดือนพ.ค.นั้นที่มีนักวิชาการออกมาพูดเตือนภัยแล้ง ก็ไม่มีใครสนใจ ยังบอกว่าพระโค ทำนายว่าน้ำท่าอุดมสมบูรณ์อยู่เลย แถมตอนหลัง รบ.ยังบอกให้เก็บผักตบชวาคนละสามต้นเพื่อให้ทางน้ำไหลได้ดี และกักเก็บน้ำในโอ่งกัน....แถมตอนหลังไปโทษจีนกับลาวอีกว่า เก็บน้ำในเขื่อนทำให้ไทยแห้งแล้ง...

จนพอช่วงนี้ฝนขาดช่วงจริงๆ ตามที่ ENSO ทำนายไว้ ก็ค่อยแตกตื่นกัน....

By: AMp
In Love
on 31 July 2019 - 16:02 #1122148

ชอบชื่อ

By: peakna
Android
on 31 July 2019 - 16:33 #1122151
peakna's picture

ไม่รู้ว่ามีคนคิดแบบผมป่าวนะตามแม่น้ำหรือเขื่อนหรืออะไรที่เก็บน้ำได้เนี่ยความลึกที่ควรจะเป็นมันเท่าไรแล้วมันสามารถเพิ่มความลึกได้อีกเท่าไร เศษดินหินทรายขยะที่ไปกองอยู่ก้นแม่น้ำต่างๆมันทำให้เก็บน้ำได้น้อยลงหรือว่าไม่มีผลต่อระดับน้ำ? ทำไมข่าวตลิ่งพังมีให้เห็นตั้งแต่ทุกปีไม่เคยมีใครไปคิดทำให้มันแข็งแรง? บ่นไปก็เท่านั้นเนอะนโยบายอะไรที่ควรจะเป็นพื้นฐานที่สุดมันก็ไม่เกิดอยู่ดี

By: Gazmin
iPhoneAndroidWindows
on 31 July 2019 - 17:05 #1122159 Reply to:1122151

ขุดลอกได้ครับแต่เพิ่มความลึกไปผมว่ามันไม่ได้ช่วยอะไรเพราะมันจะทำให้ตลิ่งพังทางน้ำเปลี่ยน

By: PowerBerry
Android
on 31 July 2019 - 19:32 #1122173

พูดไปไม่รู้จะโดนด่าไหม สุดท้ายแล้วชาวไร่ชาวนาก็เลือกที่จะไม่เชื่อ

ยอมเสี่ยงปลูกทั้งที่เค้าก็เตือนแล้ว คำนวณทางวิทยาศาสตร์ คิดวิเคราะห์มาหมดว่าปลูกไปมีปัญหาแน่ แต่ก็ยอมเสี่ยงปลูกแล้วไปหวังน้ำบ่อหน้าสุดท้ายก็ให้รัฐเยียวยา ขาดทุน เป็นหนี้ วนลูป

ส่วนไร่นายทุน เค้าคิดประเมินความเสี่ยงมาหมด แล้วก็บ่นว่าพวกนี้รวยเอาๆ

By: puwadon
Windows
on 31 July 2019 - 21:01 #1122186 Reply to:1122173

+1 ครับ

By: ravipon
iPhoneWindows
on 31 July 2019 - 22:40 #1122196 Reply to:1122173
ravipon's picture

ก็ใช่ครับ แต่ถ้าไม่ให้เค้าปลูกแล้วจะให้เค้าทำอะไรกินละครับ?
คิดว่าเหมือนบางกิจการที่บางปี บางเดือนก็ทำแล้วขาดทุนแต่ก็ต้องฝืนทำต่อไปเนี่ยละครับ ต่างกันตรงรัฐบาลไม่ได้มาช่วยเหลือเหมือนเกษตรกร T_T)

By: ปาโมกข์
iPhoneAndroidWindows
on 31 July 2019 - 22:50 #1122197 Reply to:1122173
ปาโมกข์'s picture

จะไม่ให้เขาทำก็ได้ แต่ต้องมีทางออกให้เขา
วุฒิไม่สูง อยู่ชนบท ไม่เป็นเทคโนโลยี
การหาอาชีพใหม่ๆเลี้ยงปากท้องเป็นเรื่องยากมาก

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 31 July 2019 - 23:25 #1122201 Reply to:1122173
zerocool's picture

นี่คือตัวอย่างของวิธีคิดแบบหอคอยงาช้างครับ ถ้าไม่ให้เขาปลูก ณ ตอนนั้นที่เขาต้องตัดสินใจ จะให้เขาทำอย่างไรครับ ? ไม่ได้อยู่ในจุดนั้นก็พูดเหมือนง่าย และที่สำคัญตำหนิกระทบกระเทียบอย่างเดียวแต่ไม่เห็นนำเสนอทางเลือกที่ดีกว่ามาให้เลย

พยากรณ์อากาศอย่างมากผมว่าก็รู้ล่วงหน้าแบบชัดเจนแค่ปีเดียว ไม่มีใครบอกได้แน่นอนว่าปีถัดไปจะแล้งหรือว่ามีน้ำมาก แล้วจะให้เกษตรกรเปลี่ยนไปทำอาชีพอะไรครับในระยะเวลา 1 ปีที่มีภัยแล้ง ทักษะความรู้โอกาสทางสังคมเปิดทางเลือกให้เขาไหม วิถีชีวิตของครอบครัวรวมไปถึงหนี้สินภาระต่าง ๆ เปิดโอกาสให้ยอมรับความเสี่ยงไปทดลองงานใหม่ได้ไหม

ในเมื่อทางไหนก็ล้วนแล้วแต่มีความเสี่ยง เกษตรกรเขาผิดขนาดนั้นเลยเหรอครับที่จะเสี่ยงปลูกดูเผื่อว่าน้ำฝนจะมา ?


That is the way things are.

By: PowerBerry
Android
on 2 August 2019 - 08:46 #1122387 Reply to:1122201

แล้วจะต้องเสี่ยงปลูกทั้งที่รู้ว่า % ขาดทุนยับมากกว่าได้กำไร กล้าแนะนำชาวนาแบบนี้ไหมครับ

คนเราบางทีถ้าถึงเวลาต้องเปลี่ยนแปลงก็ต้องเปลี่ยนไม่ใช่ทำผิดซ้ำซาก ทุกทางออกมันล้วนแล้วแต่ต้องเสี่ยงทั้งนั้นอยู่ที่ว่าจะเลือกทางไหน

By: zerocool
ContributoriPhoneAndroid
on 2 August 2019 - 14:23 #1122445 Reply to:1122387
zerocool's picture

ตกลงคุณจะเสนอให้เกษตรกรเปลี่ยนไปทำอะไรแทนใน "ปี" ที่ฝนแล้งนะครับ ?

หรือแค่วิจารณ์เขาอย่างเดียวว่าไม่รู้จักการเปลี่ยนแปลง ไม่เชื่อข้อมูล ดื้อรั้น ฝืน สุดท้ายก็ต้องขาดทุน

เสนอทางออกมาด้วยก็จะดีครับ ถ้าจะให้ดีกว่านั้นลองไปคลุกคลีกับวิถีชีวิตเกษตรกรดู จะได้เข้าใจว่าการเปลี่ยนอะไรเพียงชั่วคราว 1 ปีฤดูกาล (พยากรณ์อากาศทำนายอย่างแม่นยำได้อย่างมาก็แค่ 1 ปี ไม่มีอะไรการันตีว่าปีถัดไปจะแล้งต่อเนื่องหรือไม่) มันไม่ใช่เรื่องง่าย และรัฐก็ไม่ได้วางแผนหรือมาตรการทางโครงสร้างใด ๆ เอาไว้เลย รัฐก็แค่รู้ว่าฝนอาจจะแล้งแล้วก็จบ อย่าว่าไปถึงเรื่องมาตรการรองรับเลย บางทีแค่การจัดการน้ำรัฐยังวางแผนผิดพลาดเองด้วยซ้ำ

กลับมาที่คำถามของคุณ ถ้า % ขาดทุนมากกว่าได้กำไร ผมกล้าแนะนำหรือไม่ คำตอบคือกล้าครับ ถ้าหากว่าทางเลือกอื่นมี % ที่จะล้มเหลวมากกว่าหรือพอ ๆ กัน และก็ต้องประเมินต้นทุนศักยภาพเดิมที่ตัวเกษตรกรมีอยู่ก่อนด้วย ไม่ใช่ว่าถนัดทำนา สภาพดินฟ้าอากาศภูมิศาสตร์เหมาะกับการทำนา แต่ไปแนะนำเปลี่ยนให้ไปเลี้ยงไก่ ไปปลูกหมามุ่ย ไปปลูกทุเรียน มันก็คงไม่ใช่ จะแนะนำให้ไปทำงานก่อสร้าง ก็ต้องดูด้วยว่าครอบครัวยอมรับได้ไหมที่ต้องย้ายถิ่นฐานไปตาม site งานต่าง ๆ (คนงานก่อสร้างนอนที่ site งานนะครับ) สุดท้ายมันก็ต้องดูองค์ประกอบหลาย ๆ อย่างถึงจะแนะนำอะไรไปได้

คงไม่ใช่ดูแค่ตัวเลขคาดการณ์ปริมาณน้ำฝนอย่างเดียว แล้วก็ไปเหน็บเกษตรกรรายย่อยว่าไม่รู้จักเชื่อวิทยาศาสตร์ ก่อหนี้ เป็นภาระ วนลูป ผมว่าคำตำหนิพวกนี้ "ง่าย" ไป


That is the way things are.

By: Thaitop_BN
Windows PhoneUbuntuWindows
on 31 July 2019 - 23:52 #1122203 Reply to:1122173
Thaitop_BN's picture

ไม่อยากช่วยชาวไร่ชาวนานี่อยากให้เขาหนีจากบ้านมาหางานทำในเมืองหลวงกันหมดเหรอครับ แล้วอย่าบ่นละกันว่าคนเยอะขึ้นรถติดหนักขึ้น

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 1 August 2019 - 00:07 #1122204 Reply to:1122173

ตอบ จขม. และทุกท่านที่ reply ด้านบนพร้อมกันนะครับ

ใช่ครับชาวนานี่ดื้อรั้นจริง ๆ ไม่ต้องไปไหนไกล บ้านผมเองครับ บอกว่าจะแล้งก็ไม่เชื่อ เชื่อปฏิทินเพาะปลูกครับ เค้าเขียนมางี้ก็ปลูกไปตามนั้น (ทั้ง ๆ ที่ตอนปลูกเนี่ยแล้วสาหัสมาก) ปฏิทินมันเขียนทำนายไว้ตั้งแต่ปีก่อน ถ้าตามพยากรณ์อากาศไปเรื่้อย ๆ ตามข่าวสารซักหน่อย เขาก็ใช้ข้อมูลอัพเดทมาคำนวณ โดยทั่วไปมันต้องแม่นยำกว่าอยู่แล้ว ตอนนี้เกือบยืนต้นตายกันหมดละ คาดว่าปีหน้าได้ซื้อข้าวกิน (เป็นแบบนี้บ่อยครับ ผมชินแล้ว)

แต่ก็นั่นแหละครับ เหมือนที่หลายท่านด้านบน Reply มาครับ ไม่ให้ทำนาจะให้ไปทำอะไร? อันนี้โทษชาวนาอย่างเดียวไม่ได้นะครับ ต้องโทษรัฐด้วย ทั้งนักการเมืองและข้าราชการ นักการเมืองชอบมาสั่งอะไรประหลาด ๆ ออกนโยบายประชานิยมโง่ ๆ มา (โดยไม่สนใจผลระยะยาว) ส่วนข้าราการที่เคยสัมผัส ก็เช้าชามเย็นชาม (ส่วนนึงก็เข้าใจเค้านะ ไม่รู้จะขยันไปทำบ้าอะไร เดี๋ยวการเมืองเปลี่ยนก็โดนสั่งให้เปลี่ยนอีก เหนื่อยเปล่า ๆ) ไม่เคยมาให้ความรู้แบบสุดจริง ๆ ซักที ยกตัวอย่างง่าย ๆ นะครับ วันดีคืนดีมาสอนให้เพาะเห็ด เลี้ยงเป็ด เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงกบ ฯลฯ เยอะแยะไปหมดครับ แต่สอนแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ อะ ไม่สุดตั้งแต่ไปเอาพันธุ์มาจากไหน ช่วงแรกเลี้ยงยังไง ช่วงปลายเลี้ยงยังไง และสำคัญสุดคือ "จะเอาไปขายใคร" อันหลังนี่ไม่ค่อยมี พูดแต่ว่าลองทำดู ๆ เดี๋ยวก็ขายได้

จ้ะ.... ที่ร่ายมาทั้งหมดคือมักจะมาสอนแบบไม่ครบครับ ไม่บอกว่าตอนต้นทำไง หรือตอนปลายทำไง หรือไม่บอกว่าแล้ววัตถุดิบในการเลี้ยงหรือปลูกไอ้ของพวกนี้จะไปหามาจากไหน (ยกตัวอย่างของฮิตสุดเวลาพูดถึงน้ำหมักก็คือกากน้ำตาล....พูดจังเลย แต่แถวนั้นไม่มีโรงงานน้ำตาล จะให้ไปเอาจากไหน? ซื้อไทวัสดุขวดกระจิ๋วเดียวสามสิบกว่าบาท?)

ส่วนเรื่องนโยบายก็มีประกันความเสียหายครับ เป็นนโยบายที่งี่เง่าสุด ๆ ชาวนาไปลงทะเบียนกับ ธกส. ได้เลยครับ จ่ายค่าประกันไม่กี่ร้อย แล้งเหรอ น้ำท่วมเหรอ อ่ะ เอาเงินก้อนไป ไม่เห็นมีเงื่อนไขบ้าบออะไรเลย เป็นการเอาเงินภาษีมาผลาญเล่นแบบไม่มีใครได้ประโยชน์ในระยะยาวเลย เพราะชาวนาก็มองตรงนี้ว่าต่อให้เจ๊ง ข้าวตายหมดก็ยังไมีเงินประกันพอยาไส้อยู๋บ้าง จะไปมีแรงผลักอะไรให้เขาดิ้นรนไปเสี่ยงกับพืชหรืออาชีพอื่นล่ะครับ? อันนี้เรื่องจริง เจอมากะตัวกับคนที่บ้านและแถวบ้าน (อย่าลืมช่วงนี้มีบัตรคนจนด้วย ใครที่ลูกหลานโตหมดแล้ว เขาทำนาไปงั้นแหละ รอเอาประกัน)


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: Kojorn on 1 August 2019 - 08:34 #1122220 Reply to:1122173

ไม่ใช่ว่าบอกไม่ให้ปลูก ให้นั่งเฉยๆ ไม่มีทางเลือกให้นะครับ เพราะเท่าที่ผมเคยได้ยินจากข่าวในทีวีมาบ้าง ก็จะมีบอกว่าปีนี้น้ำน้อย บางพื้นที่จะมีการแนะนำให้เกษตรกรเลี่ยงการปลูกพืชชนิดเดิมๆที่เคยปลูกกัน ให้เปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นที่ใช้น้ำน้อย ทนแล้งได้ดีแทนนะครับ หรือบางทีก็มีบอกให้ปรับรอบการปลูกเป็นช่วงอื่นแทนก็มี รายละเอียดลึกๆไม่ทราบเหมือนกัน แต่เข้าใจว่าแต่ละพื้นที่จะมีหน่วยงานราชการในพื้นที่ที่ดูแลเรื่องนี้คอยให้คำปรึกษาแก่เกษตรกรได้ครับ

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 1 August 2019 - 10:02 #1122236 Reply to:1122220

ปลูกอย่างอื่นทดแทนนี่ทำได้ยากมากครับ โดยเฉพาะถ้า characteristic ของพืชแตกต่างกันมากๆ เช่นปกติปลูกข้าว ปีนี้แล้ง ให้ไปปลูกผลไม้แทน?!?!?!

มันทำไม่ได้ง่ายๆไงครับ การปรับเปลี่ยนมีต้นทุน และองค์ความรู้ที่ต้องใช้ ขนาดสวนผลไม้เจ้าใหญ่ๆ ยังเปลี่ยนไม่ง่าย ทำได้แค่หาตลาดใหม่ๆ

ภาครัฐต้องมีทางออก หรือกำหนดระดับนโยบาย เช่นช่วงนี้น้ำแล้ง ห้ามปลูกข้าว แต่หางานอย่างอื่นมาทดแทนชั่วคราวให้ ไม่ใช่พูดลอยๆ ว่าให้งดปลูก หรือให้ปลูกอย่างอื่น มันเป็นไปไม่ได้ในทางปฎิบัติ

By: zipper
ContributorAndroid
on 1 August 2019 - 09:36 #1122231 Reply to:1122173

คือฝั่งนึงมองว่าให้ข้อมูลไปพิจารณาแล้ว จะทำอะไรยังไงก็คิดกันต่อ ส่วนอีกฝั่งได้ข้อมูลมาแล้วก็คิดไม่ออกว่าจะต้องทำยังไงต่อ มันก็เลยดูเหมือนไม่มีประโยชน์อะไร

ครั้นจะให้บอกให้ทำอะไรเป็นสเตปต่อๆ ไปเช่น ปลูกอะไรแทน และเอาไปขายได้ที่ไหนบ้าง รัฐเป็นคนคิดและวางแผนการปลูกการขายให้หมด ก็ดูเหมือนเป็นการบังคับ ทำเหมือนคิดว่าชาวนาไม่มีหัวคิด

แต่ถ้าไม่คิดและวางแผนให้ ชาวนาบางคนก็คิดไม่ได้อีก ถึงจะรู้ว่าน้ำน้อยแล้วยังไงล่ะ ยังไงก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างอื่นทำอะไรอยู่ดี ปลูกอย่างอื่นเอาไปขายที่ไหนล่ะ และถ้าราคามันต่ำกว่าราคาข้าวอีกล่ะ เสี่ยงปลูกข้าวจะดีกว่าหรือเปล่า อะไรงี้

By: IDCET
Contributor
on 1 August 2019 - 10:31 #1122242 Reply to:1122173

ก็คงต้องหาเงินแล้วใชีวิธีพึ่งพาตนเอง และเรียนรู้วิธีเอาครับ ถ้าไม่เรียนรู้ ปัญหาเดิมก็มาไม่รู้จักจบ อย่างเก็บกักน้ำทำนา ซื้อแทงค์น้ำ เปลี่ยนวิธีการปลูก หรือหาผลผลิตทดแทนหากปลูกไม่ได้ ยังไงก็ต้องทำครับ ไม่งั้นก็ลูปเดิมแบบที่คุณว่ามา

ส่วนรัฐก็มีส่วนผิดด้วยที่ไม่แจ้งหรือให้ความรู้ที่ดีพอ ไม่ให้ความช่วยเหลือหรือแนะนำการแก้ปัญหาให้คนกลุ่มนี้เข้าใจและเรียนรู้ ระบุทางเลือกแต่ไม่มีวิธีหรือการเตรียมตัวอะไรเลย แถมบางที่ยังเดินหน้าตามคำทำนายทั้งๆ ที่มีข้อมูลและคำเตือนหลายแหล่งออกมาก็เยอะ

เอาง่ายๆ ว่า ผิดทุกภาคส่วนครับ ไม่ต้องทะเลาะกัน แล้วกลับไปแก้ซะ อย่าโทษคนอื่นนอกจากตัวเองเป็นพอ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 1 August 2019 - 11:36 #1122251 Reply to:1122242

ผมมองว่า ถ้าการเปลี่ยนแปลงต้องการองค์ความรู้ หรือการสนับสนุนจำนวนมาก ภาครัฐต้องเป็นคนช่วยเหลือครับ

ลองนึกถึง ถ้ามีโรงงานนึงเจ๊ง คนงานหลายพันคนตกงานทันที หลายคนอาจจะหางานใหม่ได้ไม่ง่าย เพราะทำมาหลายสิบปี ภาครัฐก็ต้องมีระบบจัดหางาน ฝึกวิชาชีพทดแทนให้ด้วยครับ เพราะมันอยู่เหนือจากการปรับตัวของตัวบุคคล

ภาครัฐมีไว้เพื่อสร้างกระบวนการ ที่คนเพียงคนเดียวไม่สามารถทำได้ครับ

By: osmiumwo1f
ContributorWindows PhoneWindows
on 2 August 2019 - 11:55 #1122422 Reply to:1122251
osmiumwo1f's picture

ถ้าจะช่วยเหลือควรจะเน้นไปที่กลุ่มที่พร้อมหรืออยากปรับตัวดีกว่า เพราะพอกลุ่มนี้ทำแล้วได้ดีเดี๋ยวกลุ่มหัวรั้น ไม่ยอมปรับตัวจะเริ่มคิดได้ว่าต้องปรับตัว แต่จะมีกลุ่มนึงที่ยังไงก็ช่วยไม่ได้เพราะหัวรั้นจัดจนคนช่วยไม่อยากจะช่วย แถวเวลามีคนยื่นมือเข้าไปช่วยก็บอกให้ทำให้เลยครับ

ส่วนเรื่องกรณีโรงงานปิด เท่าที่รู้กรมการจัดหางานจะเข้าไปช่วยหางานให้อยู่ เพียงแต่อาจจะต้องย้ายไกลหน่อยครับ

By: qo
iPhoneUbuntuWindows
on 1 August 2019 - 11:44 #1122256 Reply to:1122242
qo's picture

เห็นด้วยเลย
สุดท้ายคนที่เดือดร้อนมันก็คือตัวเอง ยังไงนี่ก็ชีวิตตัวเอง ทำอะไรได้ก็ต้องทำแหละ ถ้ามัวแต่อ้างองค์ความรู้ อ้างฟ้าฝน สุดท้ายคนเดือดร้อนมันก็เข้าตัวเองอยู่ดี สู้ไปลองผิดลองถูก หาช่องทางทำเงินใหม่ๆ ผมว่ายังไงก็ไม่อดตายหรอก

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 5 August 2019 - 16:42 #1122713 Reply to:1122256

ก็เป็นการพูดโดยไม่พูดพื้นฐานข้อเท็จจริงไงครับ

ลองไปถามชาวนา บอกปีนี้แล้ง ให้เลิกปลูกข้าวไปปลูกผลไม้แทนแล้วกันครับ....

สู้บอกให้เลิกทำนาไปทำงานโรงงานยังเป็นไปได้จริงมากกว่า

ชีวิตทุกคนต้องดิ้นรน แต่หลายคนพูดเหมือนทำอย่างอื่นง่ายๆ แล้วก็ด่าเขาโง่...

By: MrThursday
ContributorRed HatUbuntuWindows
on 4 August 2019 - 10:49 #1122604 Reply to:1122173

อีกหนึ่งตัวอย่างที่หยิบข้อมูลมาจากตำราแล้วหวังว่ามันจะดี แต่ไม่เข้าใจ domain process และข้อจำกัดด้านอื่น เทคโนโลยีมันดีครับ แต่เอามาใช้เป็นแล้วมันก่อเกิด value จริงหรือเปล่านั้นอีกเรื่อง ลำพังแค่พูดว่าให้ไปดู​ app แล้วทำตาม มันไม่ได้หรอกครับ เกษตกรรมมันไม่เหมืนกับซื้อมาขายไป มันต้องมีหน่วยงานมา buffer สักหน่อย เพื่อปรับ momentum และช่วยเกษตรกรวางแผน อันที่จริงข้อมูลเหล่านี้ end user ควรเป็นระดับทีมวางแผนของแต่ละจังหวัดนะ ไม่ใช่เกษตรกร คนทำแอพถ้าคุณหวังว่าแอพคุณจะถูกเกษตรกรเอาไปใช้ในวงกว้าง คุณคิดผิดแล้ว มันเหมือนเป็นแค่ของเล่น ไปคุยกับหน่วยงานภาครัฐด้วยแอพนี้ ผมเดาว่าน่าจะ effective กว่าเยอะ
ml ทำให้มันแม่นคือดีครับในเชิงวิจัย แต่เมื่อใดก็ตามที่คุณมาแตะที่ real world use case แล้วมันไม่ได้สร้าง value คือจบเลยนะ เหมือนส่ง bible มาจากหอคอยงาช้างแล้วไม่ได้ส่งทีมมาช่วย implement 555+

By: sirikiat on 31 July 2019 - 23:44 #1122202

ถ้าไม่เสี่ยงปลูก แล้วคนอื่นเค้าปลูก ถ้ารอด ปีนั้นราคาผลผลิตจะดีมากๆเลยครับ สุดท้ายก็ลองเสี่ยงปลูกอยู่ดี

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 1 August 2019 - 00:11 #1122205

ไม่แน่ใจว่าคนทำแอพมาอ่านด้วยรึเปล่า แต่อยากบอกว่าแอพคุณปัญหาเยอะนะ คอมเมนต์ใน Play Store ไม่รู้เข้าไปอ่านบ้างมั้ย เรื่องต้องใช้ดีแทคเท่านั้น เห็นคนด่ากันกระจายก็ยังไม่เห็นปรับปรุง (ไม่ได้ให้ปรับปรุงให้ใช้กับค่ายอื่นได้ เพราะเข้าใจว่ารับเงินดีแทคมา แต่ให้ปรับปรุงให้เขียนชัด ๆ ว่าต้องใช้ดีแทคเท่านั้น)

ส่วนตัวผมเอง เจอกับตัวคือเข้าไปใช้ มีข้อความขึ้นมาบอกว่า ให้ใช้ฟรีสามเดือน หลังจากนั้นจะหักเป็นรายเดือน แต่ไม่ยักบอกว่าอ้าว แล้วจะเลิกใช้ให้ทำยังไง? ผมลบแอพทิ้งไปละ (ก่อนครบสามเดือน) นี่ก็ลุ้น ๆ ว่าพอครบสามเดือนจะมีการเก็บค่าแอพมั้ย ถ้ามีการเก็บเกิดขึ้น ก็คงบ๊ายบายละดีแทค (ผมตั้งกระทู้จะย้ายออกจากดีแทคเอง และสุดท้ายก็ให้โอกาสไปก่อนอีกนิด ถ้าเกิดเหตุการณ์เก็บเงินขึ้นมาก็คงไม่ให้ละโอกาส)


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!