Tags:
Node Thumbnail

กรมสรรพากรแถลงข้อสรุปแนวทางการจัดเก็บภาษีดอกเบี้ยเงินฝาก ที่ต้องการจัดเก็บภาษีกับผู้ที่ได้รับดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาทต่อปี ได้ข้อสรุปว่าธนาคารจะทำส่งข้อมูลดอกเบี้ยเป็นค่าเริ่มต้นโดยที่เจ้าของบัญชีไม่ต้องแสดงความยินยอมใดๆ แต่หากไม่ยินยอมต้องไปแจ้งธนาคารทุกแห่งที่ใช้บริการอยู่เอง

อธิบดีกรมสรรพากรระบุว่าที่ประชุม ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย, สมาคมธนาคารไทย, และสมาคมธนาคารนานาชาติ ร่วมประชุมกับกรมสรรพากรและเห็นพ้องกันว่าจะให้ธนาคารนำส่งข้อมูลดอกเบี้ยไปยังกรมสรรพากรเป็นค่าเริ่มต้น

ผู้ที่ไม่ต้องการให้ธนาคารส่งข้อมูล จะต้องเดินทางไปแจ้งธนาคารที่ใช้บริการอยู่เองให้ครบทุกธนาคาร โดยเริ่มรับแจ้งตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคมนี้ ไปจนถึงวันที่ 14 พฤษภาคม จึงจะทันรอบนำส่งข้อมูลครึ่งปีแรก

พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผ่านสนช. ไปพร้อมกับพ.ร.บ. มั่นคงไซเบอร์ โดยเนื้อหาพ.ร.บ. ห้ามเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลหากไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลอย่างชัดเจน แต่ตอนนี้ยังไม่ได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และตัวกฎหมายเองก็มีระยะเวลาก่อนเริ่มบังคับอยู่ระยะหนึ่ง

ที่มา - กรมสรรพากร

No Description

ภาพโดย rawpixel

Get latest news from Blognone

Comments

By: arth
iPhoneWindows PhoneWindows
on 3 May 2019 - 14:43 #1108455

คำถาม
- ยื่นเรื่องไม่ส่งแล้วจะเป็นยังไง บัญชีจะโดนหักภาษีทันทีเลยไหม หรือไม่มีการหักถ้ายังไม่เกิน 20,000/บัญชี
- ธนาคารส่งสรรพากรแล้ว แปลว่าสิ้นปีตอนกรอก ภงด 90,91 ต้องมากรอกภาษีส่วนนี้ด้วยไหม ต้องไปขอเอกสารดอกเบี้ยจากทุกธนาคาร?

By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 3 May 2019 - 14:45 #1108456 Reply to:1108455

ถ้ายื่นไม่ส่งข้อมูล ธนาคารจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยครับ


อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: animateex
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 3 May 2019 - 15:06 #1108472 Reply to:1108456
animateex's picture

หักภาษีแบบนั้นก็เท่ากับสรรพากรรู้ยอดเงินต้นเราอยู่ดี

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 3 May 2019 - 14:52 #1108460 Reply to:1108455
panurat2000's picture

จบดราม่าดอกเบี้ยเงินฝาก สรรพากรแจงไม่เกิน2หมื่นไม่เสียภาษี

"ผู้ฝากเงินออมทรัพย์ไม่ต้องทำอะไรเลย ไม่ต้องไปแจ้งธนาคารว่าให้ยินยอมส่งข้อมูลให้เกิดความยุ่งยากเหมือนประกาศเก่า ยกเว้นผู้ฝากเงินที่ไม่ต้องการให้ธนาคารส่งข้อมูลดอกเบี้ยให้กรมสรรพากร ก็ไปแจ้งกับธนาคารได้ แต่ธนาคารต้องหักดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ตั้งแต่บาทแรกให้กรมสรรพากร" นายเอกนิติ กล่าว

By: iamfalan
iPhoneAndroidWindows
on 3 May 2019 - 15:03 #1108469 Reply to:1108455

การกรอก ภงด 90,91 สามารถเลือกได้ครับ ว่าจะเอามาคิดภาษีหรือไม่ เหมือนกับพวกดอกเบี้ยหุ้นกู้ครับ
บางคน รายได้อยู่ในเรทที่เสียภาษี 15% หรือมากกว่าก็เลือกไม่กรอกครับ

By: arth
iPhoneWindows PhoneWindows
on 3 May 2019 - 15:25 #1108480 Reply to:1108469

กรณีจะต่างกันไหมครับ หุ้นกู้จะโดนหักภาษี ณ ที่จ่ายเลย
แต่กรณีนี้คือ สมมติแต่ละบัญชีไม่เกิน 20,000 บาท ซึ่งธนาคารไม่ได้หัก 15%
แต่พอส่งยอดไปให้กรมสรรพากรแล้วปรากฏว่าเกิน 20,000 บาท ทีนี้จะกลายเป็นว่ายื่นภาษีไม่ถูกต้องไป (ไม่ยอมยื่น ไม่ยอมจ่ายภาษีส่วนนี้) จะโดนอีกกระทงหนะสิครับ

By: Patchan
iPhone
on 3 May 2019 - 15:30 #1108481 Reply to:1108480

ถ้ามันไม่เกินส่งไปจะเกินได้ยังไงครับไม่เข้าใจ

By: Mario on 3 May 2019 - 15:48 #1108484 Reply to:1108481

ผมได้ดอกเบี้ยเงินฝากจาก 2 ธนาคาร ธนาคารละ 19500 บาท รวมกัน 2 บช.ก็เกิน 20000 บาทนะครับ

By: arth
iPhoneWindows PhoneWindows
on 3 May 2019 - 16:24 #1108487 Reply to:1108484

ใช่ครับ หมายถึงแบบนี้ครับ

By: Pichai_C
Windows PhoneWindows
on 3 May 2019 - 21:52 #1108528 Reply to:1108484

อันนี้ถ้าตามกฎหมายก็ต้องเสียภาษีอยู่แล้วหรือเปล่าครับ? เพียงแต่เดิมเรารู้ว่ามันเกินแต่สรรพากรไม่รู้ เรา(ในฐานะผู้เสียภาษี)เลยเลือกที่จะไม่เอาดอกเบี้ยมายื่นภาษี

By: po on 5 May 2019 - 00:19 #1108629 Reply to:1108455

ตอบ
1) ถ้าคุณยื่นเรื่องไม่ให้ธนาคารส่งข้อมูลให้กรมสรรพากร สิ่งที่เกิดขึ้น
1.1) ธนาคารไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย นำส่งให้ กรมสรรพากร (ตามที่ธนาคารมีข้อตกลงที่มีกับสรรพากร)
1.2) ตอนสิ้นปี ธนาคารส่งข้อมูลสรุปรายได้ดอกเบี้ยที่จ่ายให้คุณ แก่สรรพากรอยู่ดี ตามหน้าที่ของผู้จ่ายดอกเบี้ยให้คุณ (ไม่แน่ใจว่าตกอยู่ในมาตราไหน แต่ต้องมีส่งแน่นอนอยู่แล้ว)

2) จะกรอก หรือไม่กรอก ก็ได้ ถ้ากรอก หมายความว่าคุณคำนวณแล้ว จะขอเงินในส่วนหักภาษี ณ ที่จ่ายคืน จาก กรมสรรพากร ถ้าคุณโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย ทางธนาคารควรจะต้องส่งเอกสาร หัก ณ ที่จ่าย ให้คุณ (ถ้าไม่ถึงมือคุณ และคุณทราบ สามารถไปขอที่ ธนาคารได้)

By: winit_a on 3 May 2019 - 14:49 #1108458

1.ต้องมีเงินในบัญชีเท่าไหร่ถึงโดนหัก กี่ล้าน
2.แล้วถ้าแตก เงิน แยกย้าย บัญชีอื่นๆละ กระจายออกไปไม่ให้เกินละ ทำได้มั้ย บัญชีญาติๆ

By: Patchan
iPhone
on 3 May 2019 - 14:57 #1108464 Reply to:1108458
  1. ขึ้นอยู่กับดอกเบี้ยกี่ % เพราะ ดูที่มูลค่าดอกเบี้่ยไม่ได้ดูที่เงินต้น
  2. แตกแยกธนาคารไม่น่าจะโดน แต่ถ้าธนาคารเดียวกันน่าจะรวม
By: Zatang
ContributoriPhoneAndroid
on 3 May 2019 - 15:05 #1108471 Reply to:1108458
  1. ถ้าดอกเบี้ย 0.5% ก็ 4 ล้านครับ
  2. แยกไปบัญชีชื่อคนอื่นเค้าไม่รู้ว่าเป็นเจ้าของเดียวกันหรอกครับถือเป็นรายได้ของเจ้าของชื่อ แต่ถ้าชื่อตัวเองคนละธนาคาร เดิมรอดเพราะเค้าไม่มีข้อมูล แต่ตามกฎใหม่จะไม่รอดแล้ว (เกณฑ์ภาษีไม่ได้เปลี่ยน เพียงแต่ไม่มีข้อมูลให้ไปตามเก็บเลยเก็บได้เฉพาะบัญชีธนาคารเดียวกัน)

อคติทำให้คนรับเหตุผลด้านเดียว

By: alonerii
AndroidUbuntuWindows
on 3 May 2019 - 14:56 #1108463

อันนี้ถามแบบคนไม่รู้เลยนะ ข้อมูลที่ธนาคารส่งให้จะเป็นในลักษณะไหน คือเป็นยอดรวมของเงินในบัญชีกับดอกเบี้ย หรือแค่ยอดรวมดอกเบี้ยอย่างเดียว?

By: Patchan
iPhone
on 3 May 2019 - 14:57 #1108465 Reply to:1108463

สงสัยด้วย

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 3 May 2019 - 15:01 #1108467 Reply to:1108463
lew's picture

อันนี้น่าสนใจ คือจะส่งให้ตามหน้าที่ทางกฎหมายก็ไม่ว่ากัน แต่คนทั่วไปอยากเห็นหน้าตาข้อมูลที่ส่งให้ได้ไหม


lewcpe.com, @wasonliw

By: dangsystem
iPhoneAndroidBlackberryWindows
on 3 May 2019 - 18:12 #1108508 Reply to:1108463
dangsystem's picture

ถ้าส่งเลขที่บัตรประชาชนไปด้วย มีกี่ธนาคารก็ Sum อยู่ดี

By: po on 5 May 2019 - 00:25 #1108630 Reply to:1108463

ยอดรวมดอกเบี้ยอย่างเดียว ตามประกาศเกี่ยวกับ ภาษีเงินได้ ฉบับที่ 344 ข้อ 3(3)

ปล. รูปแบบข้อมูล ก็ตามประกาศ

By: Bigkung
iPhoneWindows Phone
on 9 May 2019 - 17:57 #1109128 Reply to:1108630
Bigkung's picture

เพื่อความชัวร์ขอเห็นรูปแบบตารางข้อมูลที่ส่งก่อนไปนั่นล่ะ แค่แบบตัวอย่างก็พอไม่ต้องของจริง

รอครบหนึ่งปีก็รู้เรื่องแหล่ะ

By: zyzzyva
Blackberry
on 3 May 2019 - 15:02 #1108468

ข้อเสนอแนะ
1. ให้ธนาคารแต่ละธนาคารรวมทุกบัญชีของบุคคลธรรมดานั้นๆ แล้วยื่นส่งข้อมูลกรมสรรพากรเพียงข้อมูลว่า 'ดอกเบี้ยเกิน 20000 บาทต่อปีหรือไม่' ถ้าบุคคลนั้นมีแค่ธนาคารเดียวและธนาคารนั้นระบุว่าดอกเบี้ยไม่เกิน สรรพากรก็ไม่ต้องทำอะไรต่อ บุคคลที่เข้าข่ายกรณีนี้จะได้ไม่ต้องให้ข้อมูลสรรพากรเกินความจำเป็น (สรรพากรจะรู้แค่ว่าเรามีดอกเบี้ยเงินฝากไม่ถึง 20,000 แต่ไม่รู้จำนวนที่แท้จริง) แต่ถ้าบุคคลนั้นมีหลายธนาคาร หรือมีธนาคารอย่างน้อยหนึ่งแห่งแจ้งว่ามีดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาทต่อปี กรมสรรพากรถึงค่อยขอข้อมูลจำนวนดอกเี้ยที่แท้จริงจากทุกธนาคารของบุคคลนั้นๆ
2. แต่ถ้าทุกธนาคารร่วมมือกันตั้งหน่วยงานที่ไม่ได้ควบคุมด้วยภาครัฐ ทำหน้าที่รวมดอกเบี้ยเงินฝาก และส่งข้อมูลจำนวนภาษีเงินฝากให้สรรพากรเฉพาะคนที่ถูกรวมดอกเบี้ยเกิน 20,000 บาท จะดีมาก คนที่ไม่ถึง หน่วยงานนี้ก็จะแจ้งสรรพากรแค่ว่า ไม่ถึง โดยไม่ได้ระบุจำนวนภาษีเงินฝาก ทั้งนี้ทั้งนั้น บุคคลนั้นๆสามารถเลือกได้ว่า จะให้หน่วยงานนี้เป็นคนรวม หรือจะให้สรรพากรรวมให้เอง เพราะบางคนอาจเชื่อภาครัฐมากกว่าธนาคาร บางคนเชื่อธนาคารมากกว่าภาครัฐ

By: kernelbase on 3 May 2019 - 15:15 #1108478 Reply to:1108468

ข้อ2นี่ โยนให้itmxทำได้มะ มี translation แค่ปีละครั้ง สองครั้งเอง แต่ก็ทำระบบออกมาดีดีนะ ไม่ใช่ห่วยแบบpromptpay

By: waroonh
Windows
on 3 May 2019 - 15:12 #1108475

มันจะจบลง ด้วยการที่ คนเดินไปถอนเงินสดออก เอาไปใส่ตุ่มหรือซื้อทองฝังไว้หลังบ้าน

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 3 May 2019 - 15:30 #1108482 Reply to:1108475
hisoft's picture

มีข้อดีกว่าฝากธนาคารตรงไหนบ้างครับนั่น

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 3 May 2019 - 15:40 #1108483 Reply to:1108482
nessuchan's picture

นั่นน่ะสิ เค้าไม่ได้หักเงินต้นซะหน่อย

By: arth
iPhoneWindows PhoneWindows
on 3 May 2019 - 16:26 #1108489 Reply to:1108475

เอาเงินฝาก ได้ดอกเบี้ย 19,999 (น้อยกว่า 20,000) ไม่ต้องเสียภาษี เหลือดอกเบี้ยได้จริง 19,999 บาท
เอาเงินฝาก ได้ดอกเบี้ย 20,000 ต้องเสียภาษี 15% = 3,000 บาท เหลือดอกเบี้ยได้จริง 17,000 บาท
เอาเงินฝังไว้หลังบ้าน ไม่ได้ดอกเบี้ยเลยสักบาท

By: tuinui98 on 3 May 2019 - 17:15 #1108500 Reply to:1108489
tuinui98's picture

น่าจะเป็นส่วนที่เกิน 20,000 ถึงเอามาคำนวณภาษีนะครับ ถ้าได้ 20,100 บาทก็เสีย 15 บาท ไม่น่าเอาสองหมื่นแรกมาคิด ไม่งั้นมันก็จะแปลก ๆ

By: arth
iPhoneWindows PhoneWindows
on 3 May 2019 - 17:30 #1108502 Reply to:1108500

ไม่ครับ ตามกฏหมายคือนำมาคิดตั้งแต่บาทแรกครับ

By: Hoo
AndroidWindows
on 4 May 2019 - 21:19 #1108617 Reply to:1108500

เข้าใจว่าเสียเฉพาะที่เกิน 20,000 ครับ
20,100 คือ เสียแค่ 15 บาท

1) เข้าใจว่าเดิมระบบธนาคารทำ auto ไว้แล้ว
แต่พวกหัวหมอก็แยกบัญชีหลายๆบัญชี
โดยให้แต่ละบัญชีได้ไม่เกิน 20,000 จะได้ไม่โดนภาษี
2) สรรพากรเลยจะดัดหลังโดยจะเก็บ ณ ที่จ่าย 15% เลย
อยากได้ 15% ที่ต่ำกว่า 20,000 คืน(=3,000) ก็ให้ไปกรอกขอคืนจาก ภงด. เอา
หรือไม่ก็เซ็นยินยอมให้ ธ.ส่งรายการดอกเบี้ยที่จ่ายให้สรรพากร แล้วจะไม่โดนหัก ณ ที่จ่าย แต่เท่ากับว่า สรรพากรจะสามารถตามการหนีภาษีโดยวิธีเปิดหลายๆบัญชีได้
3) แต่การเซ็นยอมทุกบัญชีทั่วประเทศมันยุ่งยากกว่า
เค้าเลยเปลี่ยนเป็น ยอมทุกบัญชีไปก่อน
ใครไม่ยอมให้มาเซ็นว่าไม่ยินยอม
แต่จะโดนหัก ณ ที่จ่าย 15% แล้วต้องไปกรอกขอคืนใน ภงด.

By: po on 5 May 2019 - 00:50 #1108634 Reply to:1108500

ตัวอย่างสมมติ
คุณทำงานทั้งปี ได้ค่าแรง เป็นเงิน 240,000 บาท
คุณฝากเงินทั้งปี ได้ดอกเบี้ย เป็นเงิน 20,000 บาท (โดนหัก ณ ที่จ่าย 15% = 3,000 บาท)
โดยปกติ คุณควรจะต้องเอาเงินทั้ง 2 ก้อน นำไปคำนวณภาษีเงินได้ ของคุณเองครับ
ในกรณีนี้ คุณโดนภาษีหัก ณ ที่จ่ายของดอกเบี้ย 3,000 บาท

เมื่อคุณนำไปคำนวณแล้ว "น่าจะ" ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ คุณก็จะสามารถขอเงินคืน 3,000 บาทจากกรมสรรพากร

By: waroonh
Windows
on 3 May 2019 - 17:16 #1108501 Reply to:1108475

ปัญหาอยู่ที่จุดนี้
"ธนาคารนำส่งข้อมูลดอกเบี้ยไปยังกรมสรรพากรเป็นค่าเริ่มต้น"
ดอก 0.5% 0.25% แลกกับ ใครก็ไม่รู มาดูว่ามีเงินเท่าไหร ดูทุกบัญชีด้วย ?
ซื้อทองผังตุ่มดีก่า

By: qo
iPhoneUbuntuWindows
on 3 May 2019 - 18:13 #1108509 Reply to:1108501
qo's picture

มีอยู่กี่ล้านหละครับพี่จะไปซื้อตุ่มเนี่ย
ถ้ามี 7 หลักแล้วลองไปคุยกับ wealth management ของแต่ละธนาคารดูนะครับ เค้าจะช่วยจัดการเงินให้เรา แบบ "ชาญฉลาด"

ปล.อย่าลืมฉีดกันปลวก ด้วยนะครับ

By: po on 5 May 2019 - 00:32 #1108631 Reply to:1108501

อ่าน ประกาศ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ ฉบับที่ 344 มาอ่านก่อน ไม่สายไปครับ

ธนาคารนำส่งข้อมูลดอกเบี้ย มันไปเกี่ยวอะไรกับการ "ดูว่ามีเงินเท่าไหร่ และดูทุกบัญชีด้วย"
ในประกาศไม่ได้บอกให้ส่งเงินในบัญชีไปนะครับ

By: cutter27
AndroidWindows
on 3 May 2019 - 22:37 #1108533 Reply to:1108475
cutter27's picture

ถอนมาเก็บไว้เอง นอกจากดอกก็ไม่ได้ ยังเสี่ยงโดนปล้นโดนขโมยอีก โดนปลวกกิน ถ้าเก็บไว้ที่แบงค์ยังได้ดอก เงินยังงอกมาบ้าง จะเลือกอันไหน?

By: zerost
AndroidWindows
on 3 May 2019 - 16:56 #1108490
zerost's picture

ผมสงสัยว่าการหักของสรรพากร​จะทำยังไง กรณีนี้คือหัก ดบ.ทุกบาทแล้วให้ผู้มีเงินฝากที่อาจได้ ดบ.ไม่ถึง 20000 บาทไปยื่นขอคืนเงินภาษีเองสิ้นปี หรือไม่หักเลย แต่เอาข้อมูลไปแล้วใครมีซัมมารี่ตามข้อมูลที่ได้จาก ธพ.ได้ ดบ.เกิน 20000 สรรพากรจะไปตามเก็บเองถ้าเป็นแบบหลังก็แล้วไปแต่ถ้าแบบแรกนี่ไม่ไหวนะไปเอาตังไม่ควรได้มาด้วย

แล้วข้อมูลเงินฝากประชาชน​นี่ผมว่ามีความสำคัญ​มากนะ มากกว่าเงิน ดบ. อีกบางทีเราควรตระหนักนะครับว่า ข้อมูลการเคลื่อนไหวเงินของประชาชนนี่มันใช้อะไรได้มากมายกว่าที่คิดและอาจส่งผลเสียให้ก็ได้ในอนาคต แต่คนทั่วไปคงไม่สนใจหรอกเพราะนึกว่าฟรี

By: arth
iPhoneWindows PhoneWindows
on 3 May 2019 - 17:06 #1108498 Reply to:1108490

ผมไปหาข้อมูลมาละ

แบ่งเป็น 2 กรณี
1. กรณีไม่แจ้งธนาคาร ธนาคารจะส่งยอดดอกเบี้ยรวมให้กรมสรรพากรเอง
1.1 ถ้ายอดรวมทุกธนาคารไม่เกิน 20,000 ไม่เสียอะไร
1.2 ถ้ายอดรวมทุกธนาคารเกิน 20,000 กรมสรรพจะส่งกลับไปให้ธนาคารทำการหัก 15% (ตั้งแต่บาทแรก) ยื่นภาษีให้เลย (ทุกบัญชี ทุกธนาคาร)
2. กรณีไปแจ้งธนาคาร ไม่ให้เปิดเผยข้อมูล ไม่ว่าจะเกิน หรือไม่เกิน 20,000 ธนาคารจะหักเงิน 15% เลย

ดังนั้น แปลว่าผู้ฝากเงินไม่ต้องทำอะไร ถ้าหากเงินรวมเกิน 20,000 (ทุกธนาคาร ทุกบัญชี) ก็จะโดนหัก 15% ไปเอง

By: zerost
AndroidWindows
on 4 May 2019 - 12:27 #1108558 Reply to:1108498
zerost's picture

สรุปคือ สรรพากร​จะสรุปข้อมูล​ส่งเรื่องให้ ธพ.หักภาษีเองภายหลัง​สินะครับ อย่างนี้แสดงว่าคนที่ได้ ดบ.เกิน20000มานิดหน่อยก็จะได้เงิน ดบ. น้อยกว่าคนที่มีดบ.รวม เกือบถึง20000สิครับ เช่นได้ ดบ. 21000บาท จะเหลือ 17850 แต่ถ้าได้ ดบ. 19000 ก็ไม่โดนหักได้ 19000 เท่าเดิม ก็คือคนฝากเงิน 4ลบ. จะได้ดบ.เท่ากับคนที่ฝากเงิน 4.7ลบ.

By: po on 5 May 2019 - 01:02 #1108635 Reply to:1108558

ธพ. ย่อมาจากอะไรครับ คืออ่านแล้วไม่เข้าใจว่าจะสื่ออะไร

ตามความเข้าใจผมนะ
1. ธนาคารรวมดอกเบี้ยทุกบัญชี ถ้าธนาคารจ่ายดอกเบี้ยน่าจะเกิน 20,000 บาท ธนาคารจะต้องทำภาษีหัก ณ ที่จ่าย
2. ในประกาศ กรมสรรพากร ไม่มีส่งเรื่องให้ธนาคารทำอะไร มันเป็นหน้าที่ธนาคารที่จะต้องนำส่งให้กรมสรรพากรอยู่แล้ว
หมายความว่า ถ้าคุณได้ดอกเบี้ยธนาคาร A 10,000 บาท และดอกเบี้ยธนาคาร B 15,000 บาท ทั้งธนาคาร A และ B จะไม่ทำภาษีหัก ณ ที่จ่าย แต่คุณต้องไปลง ภงด 90, 91 เป็นรายได้ส่วนของคุณเองเพิ่มอีก 25,000 บาท เพราะคุณไม่ได้รับการยกเว้นตามเงื่อนไขใน ประกาศ ภาษีเงินได้ ฉบับนี้

By: zerost
AndroidWindows
on 5 May 2019 - 10:40 #1108652 Reply to:1108635
zerost's picture

ธพ. ย่อมาจาก​ ธนาคารพาณิชย์​ ครับเป็นตัวย่อที่ในเอกสารแบงก์​ชาติ​ใช้บ่อย
ผมแค่ตีความตามที่คุณ arth บอกครับคือกรณีที่มียอดรวม ดบ.ทุก บช.หลายธนาคาร​เกิน20000 สรรพากร​จะแจ้งกลับไปยัง ธพ.ให้หักภาษีออกทุก บช.เพราะไม่มีทางที่ ธพ.จะทราบได้หากใน บช.ลูกค้าของตัวเองไม่เกินแต่ลูกค้ามียอดรวมจากแบงก์​อื่นที่ทำให้ยอด ดบ.เกิน20000อยู่ ดังนั้น ธพ.จะไม่ได้หักภาษี​แน่นอน ต้องให้สรรพากรจัดการเพราะเป็นผู้ที่ทราบข้อมูลรายได้รวมจริง แต่จะจัดการยังไง ส่งเรื่องให้ ธพ.หักเองหรือไปไล่เบี้ยเอากับผู้ฝากภายหลังก็อีกเรื่อง

ส่วนกรณีเรื่อง ดบ.แบงก์​เดียวเกิน20000โดนหักนำส่งเองปกติเขาก็หัก​อยู่​เองแล้วครับไม่ต้องดู กม.ใหม่ก็ได้

By: akira on 3 May 2019 - 16:47 #1108491

ส่วนตัวผมว่าสรรพากรอาจไม่ได้สนใจเรื่องภาษีดอกเบี้ยเท่าไหร่หรอก จากพฤติกรรมของสรรพากร คือ ดูต้องการข้อมูลเป็นอย่างมาก เลยพาลคิดไปว่าถ้ามันเข้าระบบ Data Mining หรือที่โปรโมทกันว่า AI นั่นแหล่ะ คิดเล่นๆ นะถ้ามีฐานข้อมูลดอกเบี้ยบัญชีออมทรัพย์ (เพื่อจับตาพ่อค้าแม่ค้า หรือบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจโดยไม่จดทะเบียน พวกร้านทอง หรือร้านใหญ่ ที่มียอดขายเยอะ แล้วเอาเงินฝากแบงค์) บวกเข้ากับข้อมูล Transaction ที่ธนาคารแจ้งจากกฎหมาย E-Payment (เผื่อจับตาพ่อค้า แม่ค้าออนไลน์ ที่ยอดขาย และ Transaction เยอะ) เอาเลขที่บัตรประชาชนไปจับกับฐานข้อมูลผู้เสียภาษี เขียน Scenario เพื่อตรวจจับบุคคลธรรมดา ที่เลี่ยงภาษีได้สบาย เดี๋ยวก็มีนิรโทษกรรม ให้ไปจดนิติบุคคล ใครไม่ไปแจ้งโดน Trigger จับเจอหนังสือถึงบ้านแน่นอน แถมน่าจะโดนหนักด้วยรอบนี้ เพราะหลักฐานกระแสเงินชัดเจนดิ้นไม่หลุด

ใครขายของออนไลน์ หรือค้าขายยอดเยอะเลี่ยงภาษีกันอยู่ ก็ไปจดทะเบียนนิติบุคคลซะเหอะ ไม่ได้ยุ่งยากอะไร เสียภาษีให้ถูกต้องจะได้สบายใจ ทั้งหมดทั้งมวลมโนล้วนนะ อาจไม่ใช่เรื่องจริงก็ได้

By: PriteHome
ContributorAndroidWindows
on 3 May 2019 - 16:53 #1108497 Reply to:1108491
PriteHome's picture

+1

By: massacre
AndroidUbuntu
on 4 May 2019 - 14:00 #1108565 Reply to:1108491

เห็นด้วยกับความคิดเห็นนี้ครับ เขาไม่ได้สนใจเรื่องดอกเบี้ยหรอก
ต้องการข้อมูล transaction มากกว่า แล้วเอาเรื่องดอกเบี้ยมาสับขาหรอก

เหมือนตอนจะขึ้นภาษีเหล้าเบียก็อ้างว่าเป็นภาษีบาปนั่นแหละ

By: po on 5 May 2019 - 01:07 #1108636 Reply to:1108491

ถ้าจำไม่ผิด ใน blognone เคยเห็นข่าวประกาศเรื่องนี้อยู่แล้ว คิดว่าเกี่ยวกับจำนวน transaction น่าจะเป็นคนละประกาศ และ ไม่น่าจะเกี่ยวกันครับ

ประกาศอันนี้ น่าจะมาเก็บรายได้ที่เกิดจากดอกเบี้ยเงินฝาก(ของคนที่มีฐานะ) มากกว่าครับ

By: akira on 5 May 2019 - 08:01 #1108646 Reply to:1108636

ประกาศคนละประกาศแต่ข้อมูลลงที่เดียวกัน หรือถูกเครื่องมือ Tranform มาให้อยู่ที่เดียวกันได้ก็จบ เพราะประกาศไม่ได้ระบุวัตถุประสงค์การนำข้อมูลไปใช้งาน หรือห้ามปรับแปลงข้อมูลหรือส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานอื่นภายในกระทรวง มันเลยเกิดช่องวางสีเทาๆ แบบจงใจ

นโยบายของสรรพากร คือ AI ซึ่งก็ตั้งเท่ห์แค่นั้นแหล่ะ มันก็ data mining ที่ใช้กันมานาน ขอแค่ข้อมูลให้มีเลขบัตรประชาชนที่เหลือเป็นอะไรมัน predict ได้ตามสูตรทางสถิติอยู่แล้ว ดอกเบี้ยมันคำนวณย้อนกลับไปหาเงินต้นได้อยู่แล้ว เพราะข้อมูลดอกเบี้ยแต่ละช่วงเวลาของแต่ละธนาคารเป็นข้อมูลเปิด และวิธีการทำงานของเจ้าหน้าที่คือตั้งข้อสงสัยแล้วเรียกมาชี้แจง เพราะแจ้งข้อกล่าวหาเลยทำไม่ได้อยู่แล้วกับข้อมูลเพียงแค่นี้ ข้อมูลตรงนี้ไม่ได้เอาไว้ชี้ว่าใครผิดหรือถูก แต่เอาไว้ตั้งข้อสงสัยซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของกรมอยู่แล้ว ที่จะเรียกคนที่ระบบ Trigger เจอว่าข้อมูลมีพฤติกรรมทางการเงินน่าสงสัย ใครชี้แจงได้ก็รอด ใครชี้แจงไม่ได้ก็เตรียมโดนเข้าสู่กระบวนการสอบสวนเพื่อได้มาซึ่งข้อมูล ซึ่งคุณก็จะถูกบังคับให้ยินยอมให้เข้าถึงทุกรายการต้นขั้วในรายการต้องสงสัยอีกที ทีนี้ภาษีย้อนหลังก็จะมาในบัดดล

แต่โดยธรรมชาติคนทั่วไปชี้แจงได้อยู่แล้วเพราะแหล่งที่มาของเงินมักมีไม่กี่แหล่ง ถ้า Senario ที่เขียนทำไว้ดี ข้อมูลตามประกาศบวกกับข้อมูลที่สรรพากรมีก็เสกคาถาไล่สอดส่องคนเลี่ยงภาษีกันได้สบาย

By: IDCET
Contributor
on 3 May 2019 - 17:11 #1108499

มาตรการต่างๆ ของสรรพากร จะไม่มีใครเกลียดเลย ถ้าภาษีที่จ่ายไป มันคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้รับกลับมาจากภาครัฐ

แต่ในเมื่อถ้าเสียภาษีแล้วไม่ได้รับประโยชน์เท่าที่จ่ายไปหรือภาพรวมยังห่วยเหมือนเดิม แย่และล้าหลังกว่าเดิม ใครเขาอยากจะเสียภาษีเหมือนตำน้ำพริกละลายแม่น้ำหละ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: MaxDOL
iPhoneWindows
on 3 May 2019 - 17:33 #1108503 Reply to:1108499

ย้อนแย้งดีนะครับ ไม่ชอบที่รัฐใช้ภาษีไม่คุ้มค่า

แต่ประชาชนก็ไม่อยากเสียภาษีซะเอง

มันผิดทั้งคู่แหละ

By: soullz
AndroidUbuntu
on 3 May 2019 - 18:00 #1108505 Reply to:1108503
soullz's picture

เพราะรัฐ ใช้เงินภาษี ไม่สมเหตุผล คนเลยไม่อยากเสียภาษี มันย้อนแย้งยังไงเหรอครับ

By: IDCET
Contributor
on 3 May 2019 - 19:10 #1108513 Reply to:1108503

ย้อยแย้งยังไง ภาษีมันมีมานานมากแล้ว และคนส่วนใหญ่รู้ดี รัฐบาลก็ต้องการเพื่อสร้าง แก้ไข และดูแลประชาชน

แต่ในเมื่อรัฐบาลเอาภาษีไปใช้ในสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบมาพากล เอาไปล้างผลาญแต่ได้ผลลัพธ์ที่แย่และเลวร้ายมาก ประชาชนก็เริ่มคิดว่าอย่าเอาเงินไปเสียให้รัฐเลย ถ้าจะเอามาผลาญและสร้างปัญหา เก็บไว้ใช้กับชีวิตตัวเองยังจะดีซะกว่า

ไม่นานครับ คนก็เริ่มหนีภาษี หาช่องว่างทางกฎหมายเพื่อประโยชน์ของตนเอง แทนการเสียภาษีไงครับ ดังนั้น ปัญหามาจากรัฐก่อเรื่องเอง ทำให้คนไม่ศรัทธาหรือเชื่อถืออีกต่อไป สุดท้ายก็โดนเมิน ไม่จ่ายภาษีไง ชัดเจนนะครับ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: Patchan
iPhone
on 4 May 2019 - 15:35 #1108574 Reply to:1108503

รัฐใช้ภาษีไม่คุ้มค้า เป็นเหตุให้ คนไม่อยากเสียภาษี "แต่" คนไม่อยากเสียภาษี ไม่เป็นเหตุให้ รัฐจะใช้ภาษีไม่คุ้มค้า
แบบนี้ไม่เรียกย้อนแย้งครับ เรียกตรระกะใหม่นะครับ

By: jokerxsi on 4 May 2019 - 18:31 #1108594 Reply to:1108503

ผมเข้าใจว่าไม่ย้อนแย้งนะครับ เพราะ
ไม่อยากจ่ายภาษี ไม่ได้หมายความว่าไม่จ่ายภาษี

เอาจริงๆ หากจ่ายภาษีถูกต้องแล้วจะบ่นหรือด่ารัฐยังมันก็ควรจะทำได้ และรัฐควรรับฟัง
ในทางกลับกัน หากหนีภาษี มันก็ผิดตั้งแต่แรกโดยไม่ต้องสนว่าจะบ่นหรือไม่บ่นนะ

สุดท้ายมันไม่ผิดที่ไม่อยากจ่ายภาษีนะครับ มันน่าจะเป็นเรื่องธรรมดาด้วยซ้ำนะ

By: GodPapa
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 3 May 2019 - 18:11 #1108506 Reply to:1108499
GodPapa's picture

บางประเทศ
เขาคิดว่าทำอะไรเพื่อประเทศชาติได้
ไม่มาคิดว่าประเทศทำอะไรให้เรา

By: IDCET
Contributor
on 3 May 2019 - 19:15 #1108515 Reply to:1108506

ถ้าให้คิดอีกมุมมอง หาเงินมายากเย็น เหนื่อยล้า แต่ต้องเสียส่วนหนึ่งให้รัฐ โดยที่รัฐไม่ต้องทำอะไรเลย ก็ได้เงินมาใช้ แทนที่จะเอาเงินมาเลี้ยงชีวิต หาครอบครัว ส่งลูกเรียน เผื่อเข้าโรงพยาบาล เอาไปลงทุน ฯลฯ

ความคิดนี้ก็ดี แต่ถ้าผลที่ได้หรือความมุ่งมั่นที่สั่งสมมานาน กลับพังเพราะรัฐที่เรานับถือและใช้ชีวิตอยู่กับเราทำพังเสียเอง ก็จะเกิดวงจรเลี่ยง หรือหนีภาษีขึ้นมาไงครับ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: Thaitop_BN
Windows PhoneUbuntuWindows
on 3 May 2019 - 19:40 #1108518 Reply to:1108506
Thaitop_BN's picture

แล้วนิยามคำว่าประเทศชาติของคุณคืออะไรล่ะ

By: whitebigbird
Contributor
on 3 May 2019 - 19:56 #1108519 Reply to:1108506
whitebigbird's picture

กลวงครับ อันนี้ไม่ได้แซะแต่ด่าครับ กลวงตั้งแต่วิธีคิด การใช้คำ และการพูดเชิงกดคนที่คิดไม่เหมือนตัวเอง

By: GodPapa
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 3 May 2019 - 23:27 #1108539 Reply to:1108506
GodPapa's picture

มีรถเก่าวิ่งช้ากินน้ำมัน
ขับไปบ่นไป จะซ่อมจะซื้อใหม่แต่เงินไม่มี
วันหนึ่งคิดขึ้นได้ ทั้งช้ากินน้ำมัน แล้วจ่ายซื้อน้ำมันมาเติมรถทำไม
สุดท้ายก็ต้องเดินขึ้นรถเมล์

By: whitebigbird
Contributor
on 4 May 2019 - 11:10 #1108555 Reply to:1108539
whitebigbird's picture

ทำไมมีแต่อะไรกลวงๆ ครับ

By: Patchan
iPhone
on 4 May 2019 - 15:38 #1108575 Reply to:1108539

ซึ่งรถเมล์ช้ากว่ารถ (ถนนมันเส้นเดียวกันแถมแวะทุกป้ายตรรกะแบบไหนรถเมล์จะเร็วกว่า) แถมเก่ากว่าด้วย แถมรถที่มีอยู่แล้วก็ทิ้งไปให้เสียทิ้งเปล่าๆ ฉลาดเหลือเกินครับ 5 5 5 ป่วยจริงๆตรรกกะ

By: zipper
ContributorAndroid
on 3 May 2019 - 19:39 #1108517 Reply to:1108499

อเมริกาตอนที่ประธานาธิปดีมีนโยบายอะไรที่ไม่ชอบใจคนก็หลบภาษีกันเยอะขึ้นหรือเปล่า

เรื่องอย่างนี้บางทีก็เหมือนงูกินหาง คนหลบภาษีเพราะไม่ชอบการใช้เงินของรัฐ แต่บางทีรัฐมีโครงการใหญ่ๆ เงินไม่พอก็หาทางรีดภาษีด้วยวิถีทางอื่น ทั้งๆ ที่บางทีถ้าประชาชนไม่หลบภาษีกันมากรัฐอาจจะมีเงินทำโปรเจคใหญ่ๆ โดนไม่ต้องหาทางเก็บภาษีโดยวิถีทางใหม่ๆ ก็เป็นได้

แต่ถ้ารัฐใช้เงินได้มีประสิทธิภาพกว่านี้แต่ละโครงการก็อาจจะใช้เงินได้น้อยกว่านี้ด้วยเช่นกัน และจะได้ความน่าเชื่อถือจากประชาชนด้วย

By: zipper
ContributorAndroid
on 3 May 2019 - 19:34 #1108516

สงสัยอยู่ว่าถ้าเป็นบัญชีร่วมหลายคนจะเก็บภาษียังไง

By: SomeThing
Windows
on 3 May 2019 - 19:59 #1108520

คนที่หนาวๆ ร้อนๆ คนแรก เจ้ามือหวยใต้ดิน

By: PandaBaka
iPhoneAndroidWindows
on 3 May 2019 - 20:31 #1108522
PandaBaka's picture

ผมคิดว่าเรื่องภาษีดอกเบี้ยมันคือส่วนเล็กน้อยมากที่สรรพกรต้องการนะ ไอ้ที่ต้องการคือเข้าถึงข้อมูลเงินฝากต่างหาก ปรกติฝั่งสรรพกรเข้าถึงข้อมูลส่วนนี้ไม่ได้ คราวนี้พอดูข้อมูลได้คราวนี้ง่ายเลยแค่ไล่กระแสเงินใหญ่ๆ ได้ไม่กี่ตัวก็ไล่ดึงภาษีได้บาน

By: swagen.xivth
iPhoneRed Hat
on 3 May 2019 - 21:01 #1108523

ถ้ามองเป็นกลาง เค้าก็ทำหน้าของเค้าดี
ควรจะด่าคนใช้เงิน มากกว่าคนหาเงินไหมอะ

By: Bigkung
iPhoneWindows Phone
on 3 May 2019 - 21:08 #1108524
Bigkung's picture

สรุปส่งอะไรไปบ้างเนี่ยถ้าส่งแค่ข้อมูลดอกเบี้ย ณ วันคิดคำนวนก็ปล่อยไป แต่ถ้ามีส่งข้อมูล ความเคลื่อนไหวเงินต้นย้อนหลังด้วยนี่ ผมไม่ถูกใจนะ

แต่อย่างว่าไปยื่นไม่ให้ตรวจไว้ก่อน อนาคตค่อยมาปลดทีหลังก็ได้ แต่ถ้าปล่อยให้ได้ข้อมูลไปก่อนนี่ จะมายื่นไม่ยินยอมทีหลังคงไม่ได้แล้ว รู้สึกแปลกๆว่าเอาไปทำอะไรบ้าง

By: moonoiz on 3 May 2019 - 22:38 #1108534

จริงๆแล้วเรื่องภาษีไม่กังวลนะครับ
แต่ธนาคารจะต้องส่งอะไรให้สรรพากรบ้างครับ
และสิ่งที่สรรพากรต้องการจริงๆแล้ว คือ จำนวนเงินคงเหลือของ "ทุก" บัญชีของประชากรทุกคนหรือเปล่า
เพราะปกติธนาคารจะหักภาษี ณ ที่จ่ายจากบัญชีที่มีดอกเบี้ยตามเกณฑ์สรรพากรเท่านั้น
แต่ถ้าประกาศใหม่ สรรพากรจะมีข้อมูลยอดเงินในคงเหลือในบัญชีโดยเฉลี่ยทั้งปีของคนไทยทุกคนเลย

By: jokerxsi on 4 May 2019 - 08:35 #1108553
  • ได้ยินว่าสรรพกรต้องการข้อมูลดอกเบี้ยมากกว่าเงินค่าดอกเบี้ยตั้งแต่แรก
  • ถ้าธนาคารส่งเฉพาะข้อมูลดอกเบี้ย น่าจะมีธนาคารออกบัญชีเงินฝากดอกเบี้ย 0% แต่มีสิทธิประโยชย์อื่นแทน เช่น บัตร ATM ฟรี ประกัน หรือกดโอนจ่ายฟรีได้ทุกค่าย
  • ถ้ามีเงินเยอะควรเปรียบเทียบการเก็บเงินในต่างประเทศด้วยไหม อาศัยความแตกต่างของกฎหมาย
  • คนต่างประเทศในไทยเขามีความคิดเห็นยังไง
By: mode on 4 May 2019 - 15:13 #1108572

เรื่องนี้เริ่มต้นที่คนเลี่ยงภาษีดอกเบี้ยเงินฝากครับ โดยการกระจายเงินฝากไปหลายบัญชีหลายธนาคาร ยอดจะได้ไม่ถึงที่ต้องเสียภาษี

สรรพากรเลยใช้วิธีหัก ณ ที่จ่าย เพราะไม่มีข้อมูลรวบรวมทุกบัญชี

คนก็โวยกันว่าจะดอกเบี้ยมากน้อยเท่าไหร่ก็จะเก็บเหรอ แต่จริง ๆ คือสามารถไปขอคืนภาษีได้ แบบปันผลหุ้น หรือจะทำเรื่องอนุญาตให้ธนาคารส่งข้อมูลบัญชีเราไปได้ เพราะมันมีกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลอยู่

แต่อันนี้จะให้เป็นแบบถ้าไม่ยินยอมให้ส่งข้อมูลก็แจ้งธนาคารเอง ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าระเบียบวิธียังไง แต่ก็เพื่อแก้ปัญหาหัก ณ ที่จ่ายที่โวยกันข้างต้นนี่แหละ

แล้วก็โดนด่าอีกจากเม้นต์ blognone ก็เอาที่สบายใจครับ ทำอะไรก็ผิดอยู่แล้ว

By: whitebigbird
Contributor
on 4 May 2019 - 15:24 #1108573 Reply to:1108572
whitebigbird's picture

ผมขอถามนอกเรื่องเป็นความรู้หน่อยครับ ทำไมดอกเบี้ยเงินฝากต้องมีภาษีเหรอครับ

By: Patchan
iPhone
on 4 May 2019 - 15:40 #1108577 Reply to:1108573

ภาษีหัก ณ ที่จ่ายครับ ผู้จ่ายเงินได้เป็นผู้หัก ถ้าทำว่าทำไมต้องหักก็เหตุผลเดียวกับทำไมรายได้อย่างอื่นต้องมีภาษีครับ

By: arth
iPhoneWindows PhoneWindows
on 4 May 2019 - 16:31 #1108579 Reply to:1108573

ทุกรายได้ ต้องเสียภาษีหมดครับ
แค่ไปซื้อข้าวกินก็เสียภาษีมูลค่าเพิ่มครับ
แต่ทุกอันมีข้อยกเว้น อย่างเงินฝากออมทรัพย์ถ้ารวมไม่ถึง 20,000 ก็ไม่เสีย หรือ vat ถ้าร้านค้ารายได้ทั้งปีไม่เกิน 1.8 บ้านก็ไม่ต้องเสียครับ

By: Avexiouz
AndroidUbuntuWindows
on 5 May 2019 - 12:50 #1108656 Reply to:1108579

ไม่เข้าใจว่าทำไมคนออกกฎหมายต้องทำให้ function ไม่เป็น linear
ดอกเบี้ย 19999.99 บาท ได้จริง 19999.99 บาท
แต่ดอกเบี้ย 20000.00 บาท ได้จริง 17000.00 บาท

แทนที่จะยกเว้นไปเลยเหมือนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 150000 บาทแรก

By: whitebigbird
Contributor
on 5 May 2019 - 15:31 #1108662 Reply to:1108656
whitebigbird's picture

กลัวคนเขียนโปรแกรมไม่มีงานทำครับ

By: arth
iPhoneWindows PhoneWindows
on 6 May 2019 - 15:47 #1108774 Reply to:1108656

จริงๆคือ เสียภาษีตั้งแต่บาทแรกครับ
ส่วน 20,000 บาท คือข้อยกเว้นที่เพิ่มขึ้นมา

By: jokerxsi on 4 May 2019 - 18:17 #1108591 Reply to:1108573

เพราะดอกเบี้ยเป็นรายได้ครับ รัฐเลยเก็บภาษี

By: whitebigbird
Contributor
on 4 May 2019 - 20:57 #1108612 Reply to:1108573
whitebigbird's picture

ขอบคุณทั้งสามท่านครับ

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 4 May 2019 - 18:33 #1108595 Reply to:1108572
McKay's picture

ใครด่าหรือครับ?


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 4 May 2019 - 22:57 #1108623

เอ๋เรื่องดอเบี้ยผมไม่สนใจอะ แต่ที่น่าจสนใจกว่า สรุปแล้วไอที่พวกเราไปเซนต์ว่ายินยอมหรือไม่ยินยอมว่าจะเปิดข้อมูลหรือไม่ มันไม่มีประโยชน์เลยนะครับ นึกอยากจะเอาข้อมูลให้ใครก็เป็นมติธนาคารแห่งประเทศไทยเอาไปได้เลย ทั้งที่ปกติแล้วกฏหมายควรจะยินยอมให้ใครเข้าถึงข้อมูลได้เมื่อมีเหตุอันสมควรสิ ไม่ใช่เอาปก่อนจะใช้ไม่ใช้ก็แล้วแต่...