Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

สภานิติบัญญัติแห่งชาติผ่านพ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ วาระที่สาม เตรียมประกาศเป็นกฎหมายต่อไป ด้วยคะแนน 133 คะแนนจากผู้ร่วมประชุม 149 คน ไม่มีผู้คัดค้าน

กฎหมายนี้นับเป็นความพยายามอันยาวนานของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ที่ผลักดันมาตั้งแต่ต้นปี 2015 ร่วมกับกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล ฉบับอื่นรวม 8 ฉบับ

No Description

Get latest news from Blognone

Comments

By: PokkyBN
Windows PhoneAndroidWindows
on 28 February 2019 - 15:26 #1099094
PokkyBN's picture

ฉบับล่าสุด สอดส่องโดยไม่ต้องมีหมายศาลเช่นเดิม

ข้อแตกต่างสำคัญของ ร่าง พ.ร.บ. ฉบับปัจจุบัน จากฉบับปี 2560 คืออำนาจในการเข้าถึงข้อมูลของประชาชนเป็นหน้าที่ของเลขาธิการคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ โดยเลขาธิการมาจาการแต่งตั้งของ คณะกรรมการกำกับสำนักงาน ซึ่งประกอบไปด้วย ประธานคณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม อธิบดีกรมบัญชีกลาง เลขาธิการ ก.พ. เลขาธิการ ก.พ.ร. และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนไม่เกินหกคน

มาตรา 58 เป็นหนึ่งในมาตราที่ถูกตั้งคำถามเป็นอย่างมาก โดยระบุว่า "ในกรณีที่ 'มีเหตุอันควรสงสัย' ... สามารถเข้าถึง ทำสำเนา สกัดกรองข้อมูลสารสนเทศ รวมทั้งสามารถยึดคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ใด ๆ ได้ไม่เกิน 30 วัน หากเกินกว่านั้นต้องให้ศาลแพ่งพิจารณา

จะเห็นได้ว่าเป็นกระบวนการที่คล้ายกันกับร่างฉบับที่แล้วซึ่งเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการไปก่อนแล้วค่อยรายงานต่อศาลได้ภายหลัง
https://www.bbc.com/thai/international-47371101

By: psuusp
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 28 February 2019 - 15:26 #1099105
psuusp's picture

ทำไมในเพจจ่า บอกว่ายังไม่ผ่านเลย อยู่วาระ 3

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 28 February 2019 - 15:34 #1099108 Reply to:1099105
lew's picture

ถามที่ Blognone ไม่น่าได้คำตอบนะครับ


lewcpe.com, @wasonliw

By: avaya
Android
on 28 February 2019 - 16:00 #1099120 Reply to:1099105
avaya's picture

ศาสดาของ ...

By: aomnaruk
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 28 February 2019 - 16:39 #1099132 Reply to:1099120

คน ...


"Those who make peaceful revolution impossible will make violent revolution inevitable." JFK.

By: whitebigbird
Contributor
on 28 February 2019 - 16:43 #1099133 Reply to:1099132
whitebigbird's picture

ไหน

By: zyzzyva
Blackberry
on 28 February 2019 - 16:05 #1099122 Reply to:1099105

เมื่อกี้เห็นโพสต์อยู่ แต่ลบไปแล้ว ไม่ได้แคปเอาไว้ แต่ก็นะ เพจนี้เขาเงิบบ้างอะไรบ้างแต่ตอนขยี้นี่ไร้ความปรานีจัง 5555

By: popwow on 28 February 2019 - 17:29 #1099137 Reply to:1099122

ไม่ควรให้ค่า...

By: popwow on 28 February 2019 - 17:29 #1099138 Reply to:1099122

ไม่ควรให้ค่า...

By: madnug
iPhoneAndroidWindows
on 28 February 2019 - 15:31 #1099107
madnug's picture

คือ ยึดแล้ว ยัดข้อหา ทำลาย ปลอมแปลงหลักฐานที่ยึดไปให้เข้ากับรูปคดีได้เลยว่างั้น?
ใครเป็นคู่แข่งทางการเมืองโดนงาน จับแล้ยึดคอมไป ใส่หลักฐานปลอมก็ติดคุก ง่ายๆเลยหรือปล่าว?

By: darkfaty
AndroidWindows
on 28 February 2019 - 16:08 #1099123 Reply to:1099107
darkfaty's picture

อวัยวะศพยังหายได้นับประสาอะไรกับชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ครับ

By: chettaphong
iPhoneWindows PhoneAndroidRed Hat
on 28 February 2019 - 15:41 #1099111

สภาตรายาง

By: xenatt
ContributorWindows PhoneRed HatSymbian
on 28 February 2019 - 15:44 #1099112
xenatt's picture

อยากทราบประโยชน์ของกฏหมายฉบับนี้ต่อประชาชนครับ รบกวนผู้รู้ช่วยตอบที


Opensource - Hackintosh - Graphic Design - Scriptkiddie - Xenlism Project

By: darkfaty
AndroidWindows
on 28 February 2019 - 16:04 #1099121 Reply to:1099112
darkfaty's picture

ตัวกฏหมายจริง ๆ มีประโยชน์ในการป้องปรามอาชญกรรมไซเบอร์ครับ แต่การแอบซ่อนเทคนิคเดิมในการร่างกฏหมายให้มีการตีความว่าถ้าเร่งด่วนไม่ต้องใช้หมายศาลเป็นความต้องการที่จะให้หน่วยงานทำตามคำสั่งได้โดยไม่ต้องมีผู้รับผิดชอบใด ๆ

ตัวกฏหมายนี้มีกันทั่วโลกครับ แต่ต่อให้เร่งด่วนทุกประเทศก็บังคับให้ขอหมายศาลก่อน

By: gift099
Windows PhoneAndroidWindowsIn Love
on 28 February 2019 - 15:46 #1099113

มาตรา 35 (3) "ให้อำนาจเจ้าหน้าที่เข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสาร ทั้งทางไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์หรือสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศอื่น เพื่อประโยชน์ในการรักษาความมั่นคงไซเบอร์ ภายใต้หลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด"

สอบถามเฉพาะในส่วนของ internet
ถ้า มือถือ Laptop ผมไปใช้ VPN ของต่างประเทศ ทางรัฐ สามารถเข้าถึงข้อมูลของผมไม๊ ? ถ้าเข้าถึงได้ ได้มากแค่ไหน ?

By: sCRIPTPER
iPhoneAndroidWindows
on 28 February 2019 - 15:51 #1099115 Reply to:1099113

สงสัยเหมือนกันครับ ผมลองถามพี่ที่ทำงานที่ทำด้าน infrastructure แกบอกเจ้าหน้าที่ทำได้แต่ต้องติดต่อกับ ตปท. ส่วน ตปท. นั้นจะให้ข้อมูลหรือป่าวนั่นอีกเรื่อง

รอผู้อื่นมาเสริมครับ

By: zazaz
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 28 February 2019 - 15:51 #1099114
zazaz's picture

555 เป็นอำนาจแบบเบ็ดเสร็จ รึเปล่านะ

By: Diew
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 28 February 2019 - 16:11 #1099126
Diew's picture
By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 1 March 2019 - 00:00 #1099202 Reply to:1099126
lew's picture

อันนี้มาแนบไว้ ว่าอ่านโพสนี้แล้ว (ซึ่งควรอ่านนะครับ เป็นคำชี้แจง) ก็ควรอ่านที่คุณอาทิตย์เข้าไปตอบข้างล่างด้วย ในโพสเดียวกัน


lewcpe.com, @wasonliw

By: sakura
ContributorWindows PhoneSymbian
on 28 February 2019 - 16:20 #1099128

No Description

By: gorawin
iPhoneAndroidUbuntuWindows
on 28 February 2019 - 17:23 #1099136

พรบ ผ่านสภาทั้ง 2 ฉบับแล้วนะครับ เราควรใช้เวลาอ่านศึกษาให้เข้าใจโดยถ่องแท้และเตรียมการบริหารจัดการภายในองค์กรไว้แต่เนิ่นๆครับผม

ร่าง พรบ. ไซเบอร์
http://library.senate.go.th/document/mSubject/Ext84/84936_0001.PDF?fbclid=IwAR3xfZk5tSuxIVXIWUHFJl1-ZR9vHZY9EiW-D6TQnnUw01311xhXyilwKJw

ร่าง พรบ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
http://library.senate.go.th/document/mSubject/Ext84/84934_0001.PDF?fbclid=IwAR37FydtiXsI0F9ZhOa9hbENElzKX8dd62vz_IL-0NTn2kAIKB1_CYA7OpE

ที่มา FB อ.ปริญญา

By: kevin4real on 28 February 2019 - 17:55 #1099139
kevin4real's picture

พรบ.นี้มีทั้งดีละไม่ดี ยังไม่มีตรงไหนคนที่บอกว่าหน้าที่จะไปยุ่งกับคอมชาวบ้านได้ แต่มาตรา67นี้แหบะที่เป็นปัญหา

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 28 February 2019 - 19:51 #1099156

ใช้อำนาจสั่งบ.ในไทยให้ข้อมูลได้หมด โดยไม่ต้องขอหมายศาล ถ้าคณะกรรมการตีความว่าเป็นภัยระดับวิกฤติ

แต่ในนิยามของภัยระดับวิกฤติ มีคำว่า เป็นภัยต่อรัฐ

แต่ไม่มีนิยามของ "รัฐ" สมมติ เจอหลักฐานกระทำผิดที่ทำให้ลุงxxxต้องออกจากตำแหน่งหัวหน้ารบ. ก็ถือเป็นภัยต่อรัฐได้ไหม?

และที่บอกว่าต้องรายงานต่อศาลภายหลังก็ไม่กำหนดเวลา อาจจะรออีกสามปีห้าปีค่อยรายงานก็ได้? (ตีความอย่างกว้างได้เสมอ...ของตปท.ระบุกรอบเวลาชัดเจน)

พวกบอกที่ไม่ทำผิดจะกลัวอะไร คงไม่เคยเห็น ฝ่ายตรงข้ามรบ.ทหารโดนยัดข้อหาพรบ.คอมฯ หรือมาตรา.... ที่สุดท้ายหลายคดีก็พ้นผิด แต่ระหว่างดำเนินคดีไม่ได้ประกันตัว

อย่าคิดว่าตัวเองจะโชคดี เป็นฝ่ายเดียวกับรัฐที่ตัวเองชื่นชอบไปตลอดกาล วันดีคืนดี คุณอาจไปเดินสะดุดขาใครก็ได้?

By: gololo
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 1 March 2019 - 06:27 #1099210 Reply to:1099156

ช่วยยกข้อหาของคดีที่เคยเกิดขึ้นหน่อยครับอยกรู้ว่ามีเยอะใหมและเป็นคดีอะไร อ่านข่าวเวปต่างๆแล้วไม่เคยเจอ

By: darkfaty
AndroidWindows
on 1 March 2019 - 11:16 #1099286 Reply to:1099210
darkfaty's picture

ผมไม่แน่ใจว่าคุณ gololo หมายถึงกฏหมายอันไหนครับ พรบ.ความมั่นคงไซเบอร์ เพิ่งผ่านดังนั้นยังไม่มีครับ หรือถ้าหมายถึง พรบ.คอม หรือ มาตรา... มีตัวอย่างให้ดูเยอะแยะครับ น่าจะหาดูจากข่าวได้ไม่ยาก

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 28 February 2019 - 20:09 #1099163

รอดูเซิฟประชาไทกับบีบีซี ว่ากฎหมายนี้จะจัดการกับพวกเขาอย่างไร

By: udornrt
AndroidWindows
on 28 February 2019 - 20:32 #1099166

http://library.senate.go.th/document/mSubject/Ext84/84726_0001.PDF?fbclid=IwAR2z3wfdp8Kg7UVE9q4N815LrgDKY_l8DBmZ-8YDIAhTkL1pNm5JQaXKMlY

By: IDCET
Contributor
on 28 February 2019 - 21:26 #1099182

เพราแบบนี้ไงถึงไม่อยากให้มีรัฐบาลรัฐประหาร ออกกฎหมายตามใจชอบมาบังคับข่งเหงประชาชนแบบนี้ คนที่โหวดก็เอาแต่ผลประโยชน์เข้าตัวเอง จ้องทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามอย่างเดียวจริงๆ ถ้าเป็นระบบประชาชนปกครองกันเอง จะไม่เกอดแบบนี้ เพราะเป็นแบบสามัคคีหรือตัวใครตัวมัน ก็แค่นั้น ไม่สามารถบังคับใครได้ มีความเท่าเทียมทางการเมืองและการปกครองกันหมด

แง่กฎหมายก็รู้กันอยู่แล้วว่าจะเอามาทำอะไรกับเรา เราต่อต้านแต่รัฐฯ ไม่สนใจ เพราะมองประชาชนเป็นแค่หมากในเกมการเมือง กับศัตรูของรัฐ เราเป็นแบบนี้มานานมาก และนานเกินไปด้วยซ้ำ ทำอะไรก็ไม่ได้ สิ้นหวังมาก

คนธรรมดาก็อาจกลายเป็นเหยื่อทางการเมืองได้โดยง่าย อย่าลืมนะ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: iStyle
ContributoriPhoneAndroidSymbian
on 1 March 2019 - 02:09 #1099206
iStyle's picture

มันต่างจาก พรบ คอม ที่ส่วนไหนบ้างครับ?


May the Force Close be with you. || @nuttyi

By: Nonthanat
Android
on 1 March 2019 - 12:41 #1099321
Nonthanat's picture

จากที่ผมอ่าน พรบ. ทั้ง 2 ฉบับได้แก่ ไซเบอร์ และคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ผมว่าทั้ง 2 พรบ. เป็นพรบ. ที่น่าจะเป็นพื้นฐานของกระบวนการ digital transformation นะครับ
โดยสาระสำคัญของพรบ. ไซเบอร์นั้นจะเน้นเรื่องการทำให้ระบบโครงสร้างพื้นฐานปลอดภัย และมีมาตรการกรณีถูกโจมตี แต่ก็มีข้อให้กังวลอยู่ อย่างที่หลายๆคนกังวล ผมได้เขียนข้อสังเกตไว้ตามลิงค์
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=2539499646092385&id=100000971224795

ส่วน พรบ. ข้อมูลข่าวสารค่อนข้างจะรัดกุมมากทีเดียว ต่อไปนี้เราจะมีกม. มาจัดการพวกที่ทำข้อมูลรั่วแล้วไม่ยอมแจ้ง หรือไม่แก้ไข พวกเอาข้อมูลไปขายต่อ พวกที่เอาเบอร์โทรเราไปแจก สามารถใช้สิทธิที่จะถูกลืมได้ คล้ายๆกับของ europe และมีสิทธิอื่นๆอีก ถือว่า ok เลยทีเดียว

สรุปคือ 2 พรบ. นี้จะทำให้ digital transformation ไม่ว่าจะเป็น government, economics, medical มีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น และคุ้มครองข้อมูลครับ

By: jokerxsi on 2 March 2019 - 00:50 #1099386 Reply to:1099321

ผมคิดว่าความปลอดภัยของ IT อยู่ที่การแข่งขันทางธุรกิจ และความสามารถของคน IT ที่ทำงานครับ
ผมไม่เชื่อว่ากฎหมายจะทำให้ความปลอดภัยทาง IT สูงขึ้นเลย

ดูกรณี True ถูกแฮก/หรือเปล่า, ระบบธนาคารล่ม มันก็ไม่เห็นมีอะไรเกี่ยวกับกฎหมายเลยนะ
แต่กฎหมายที่ไม่ดีอาจทำให้ IT หนีไปต่างประเทศหรือหยุดการ Focus ตลาดในไทยได้นะ