Tags:
Node Thumbnail

ช่วงโค้งสุดท้ายก่อนเลือกตั้งนี้ จะมีการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ในการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยนายอาทิตย์ สุริยะวงศ์กุล เครือข่ายพลเมืองเน็ต ระบุ ยังมีความน่ากังวลหลายประการ

  • บังคับผู้เกี่ยวข้องกับภัยไซเบอร์ระดับวิกฤต ต้องให้ข้อมูลแก่เจ้าหน้าที่ถ้าโดนร้องขอ และเจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องขอหมายศาล

โดยใน พ.ร.บ. ไซเบอร์มีการกำหนดระดับของความรุนแรงภัยไซเบอร์ไว้ 3 ระดับ

1) ภัยระดับไม่ร้ายแรง หน่วยงานที่ดูแลคือ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กมช.) สั่งดำเนินการได้ แต่ต้องขอหมายศาลก่อน
2) ภัยระดับร้ายแรง หน่วยงานที่ดูแลคือ คณะกรรมการกำกับดูแลด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (กกม.) หน่วยงานสามารถสั่งดำเนินการได้ ต้องรายงานศาลภายใน 48 ชั่วโมง
3) ภัยระดับวิกฤต หน่วยงานที่ดูแลคือ สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ดำเนินการได้เลย ไม่ต้องขอหมายศาล

เนื่องจากเนื้อหากฎหมาย มาตราที่ 66 - 68 ระบุว่า ถ้าเกิดมีภัยไซเบอร์ระดับวิกฤต ร้ายแรง เลขาธิการสามารถดำเนินการได้ทันทีไม่ต้องขอหมายศาล และสามารถขอข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้องกับภัยไซเบอร์นั้นได้แบบเรียลไทม์ และบังคับว่าผู้นั้นต้องให้ความร่วมมือโดยเร็ว (มาตรา 67) และเพียงมีเหตุต้องสงสัย ก็สามารถขอข้อมูลได้

No Description
ภาพจาก สนช.

  • นิยามของภัยความมั่นคงไซเบอร์ กินความหมายกว้าง อาจส่งผลให้ "เนื้อหา" ก็สามารถเป็นภัยไซเบอร์ได้

ตัวนิยามภัยไซเบอร์ นอกจากจะมีความหมายเป็นภัยต่อระบบโครงสร้างความปลอดภัยแล้ว ยังรวมถึงภัยที่กระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน หรือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ ซึ่งยังกำกวม และอาจทำให้ "เนื้อหา" สามารถเป็นภัยไซเบอร์ได้

สำหรับความคืบหน้า พ.ร.บ. ไซเบอร์ จากที่จะมีการพิจารณาใน สนช. วันที่ 22 ก.พ. ที่ผ่านมา ได้เลื่อนออกไปเป็นสัปดาห์ถัดไปแทน (25 ก.พ.-1 มี.ค.) อ่านกฎหมายฉบับเต็มได้ ที่นี่

ที่มา - Art Suriyawongkul, Post Today

Get latest news from Blognone

Comments

By: มายองเนสจัง
iPhone
on 23 February 2019 - 20:10 #1097958
มายองเนสจัง's picture

เอาให้เต็มที่เลยค่ะ อยากทำไรก็ทำ

By: IDCET
Contributor
on 23 February 2019 - 20:14 #1097959

เนื้อหาเป็นภัยต่อประเทศ ผมว่าเป็นภัยของ คสช. หรือภัยของตัวเองซะมากกว่า ออกกฎหมายกดขี่ประชาชนอีกแล้ว น่าเบื่อจริงๆ


ความล้มเหลว คือจุดเริ่มต้นสู่ความหายนะ มีผลกระทบมากกว่าแค่เสียเงิน เวลา อนาคต และทรัพยากรที่เสียไป - จงอย่าล้มเหลว

By: mrdd on 23 February 2019 - 21:00 #1097966

ผมว่าจะโอนเงินไปสิงคโปร์ซักหมื่นล้านครับ

By: whitebigbird
Contributor
on 23 February 2019 - 22:35 #1097977
whitebigbird's picture

ถ้าไม่เห็นด้วย เราทำอะไรได้บ้างครับ

By: K.D.ANGELO
iPhoneAndroidWindows
on 24 February 2019 - 05:13 #1098004 Reply to:1097977
K.D.ANGELO's picture

ถ้าเข้าใจไม่ผิด เราต้องร้องผ่านสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ให้ส่งคำร้องขอต่อศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัย ในประเด็นที่เราไม่เห็นด้วยครับ ตามมาตรา 213 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

By: zerost
AndroidWindows
on 23 February 2019 - 23:04 #1097983
zerost's picture

ไม่ขัดข้องหรอกนะถ้ามันเป็นสิ่งที่วิกฤติ​จริงๆ แต่นิยามวิกฤติ​คืออะไรมีเหมือนไม่มีแล้วกระบวนการแนวทางตัดสินก็ไม่ชัดเจนสุดท้ายก็ตามใจกูแบบนี้คือจะยัดเยียดความวิกฤติ​ให้ใครก็ได้น่ะสิ เฮ่อ

อยากให้มีประชามติ​ออนไลน์​ที่ประชาชนจำนวนนึงสามารถทำได้เองและไปขอหยั่งเสียงแบบทั่วไปได้ ถ้าถึงระดับนึงแล้วสามารถยกระดับไปสู่การทำประชามติ​จริงๆได้จัง

By: shikima
Windows PhoneAndroidUbuntu
on 24 February 2019 - 03:51 #1098002

กฎหมายประเทศไทย เขียนขึ้นเพื่อตีความอีกที ยิ่งใช้กับระบบการพิพากษาแบบกล่าวหาของไทยอีกแล้ว ยิ่งฉิบหายกันไปใหญ่

By: darkfaty
AndroidWindows
on 24 February 2019 - 10:16 #1098019
darkfaty's picture

การวิพากษ์วิจารณ์กฎหมายนี้ตอนนี้เค้าก็อาจจะตีความว่า กฏหมายนี้นำมาซึ่งความมั่นคงทางไซเบอร์ คนที่วิพากษ์วิจารณ์มีเจตนาทำให้กฏหมายนี้ไม่เกิดขึ้น เป็นเจตนาจะทำให้เกิดความไม่มั่นคงทางไซเบอร์ เป็นความผิดได้อีก ผมว่าเค้าทำได้ถ้าเค้าจะทำ

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 24 February 2019 - 10:59 #1098023

จากที่ผ่านมาพรบ.คอมฯ มันเป็นเครื่องมือของฝ่ายเผด็จการเพียงฝ่ายเดียว แค่วิจารณ์รบ. ก็กลายเป็นภัยต่อความมั่นคง แต่พอเป็นรบ.พลเรือนแม้แต่กล่าวหาใส่ร้ายหยาบๆคายๆก็ตีความว่าเป็นการวิจารณ์โดยสุจริต?

By: Diagnos on 25 February 2019 - 16:54 #1098310 Reply to:1098023
Diagnos's picture

+1 บังคับใช้กับผู้กระทำความผิดจริงๆมันก็พอได้อยู่ แต่ส่วนใหญ่เอาไปใช้กับฝ่ายตรงข้ามหรือพวกเห็นต่าง... เฟี้ยววว.....