NBTC

หลังจาก กสทช. เรียกทรูเข้าชี้แจง กรณีภาพบัตรประชาชนที่ลงทะเบียนสามารถเข้าถึงได้เป็นสาธารณะ ล่าสุด กสทช. ส่งหนังสือถือบริษัท เรียล มูฟ จำกัด (TrueMove H) ให้รับผิดชอบและเยียวยาความเสียหาย ทั้งทางแพ่งและอาญา ให้กับผู้ที่ได้รับผลกระทบ พร้อมจัดให้มีช่องทางการตรวจสอบการได้รับผลกระทบโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

กสทช. ยังระบุให้ TrueMove H จัดมาตรการป้องกันและรักษาข้อมูลส่วนบุคคลทั้งทางเทคนิคและการจัดการภายในองค์กร โดยระดับการรักษาความปลอดภัยต้องเหมาะสมกับความเสี่ยงที่จะเกิด ตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเป็นอย่างน้อย และจะต้องมีการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัย

TrueMove H จะต้องรายงานผลมายัง กสทช. ภายใน 7 วันและรายงานความคืบหน้าทุกๆ 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากไม่ปฏิบัติตาม TrueMove H จะถูกปรับไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อวัน

นอกจาก TrueMove H แล้ว กสทช. ยังส่งหนังสือถึงผู้ให้บริการเครือข่ายอื่นๆ ให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งด้านเทคนิคและการจัดการภายในองค์กรด้วยเช่นกัน

ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์

สำนักงาน กสทช. มีหนังสือแจ้งทรูให้รับผิดชอบและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ใช้บริการทั้งทางแพ่งและอาญา กรณีข้อมูลบัตรประชาชนลูกค้าหลุด พร้อมกำชับโอเปอเรเตอร์รายอื่นต้องจัดให้มีมาตรการป้องและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลผู้ใช้บริการ

  นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากที่สำนักงาน กสทช. ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ปรากฏข่าวผ่านสื่อสารมวลชนว่า ทรูมูฟ เอช ทำข้อมูลบัตรประชาชนลูกค้าหลุดเป็นจำนวนมาก มาชี้แจงข้อเท็จจริง  ณ สำนักงาน กสทช. เมื่อวานนี้ (17 เม.ย. 2561) ในวันนี้ สำนักงาน กสทช. ได้มีหนังสือถึงบริษัท เรียล มูฟ จำกัด เรื่อง ให้ปฏิบัติตามประกาศคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคม โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 64 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 มีคำสั่งให้ บริษัทฯ ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน แก้ไขปรับปรุง และปฏิบัติให้ถูกต้องเหมาะสม ในเรื่องดังต่อไปนี้
  1. จัดให้มีมาตรการป้องกันและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลทั้งทางด้านเทคนิคและการจัดการภายในองค์กรในรูปแบบที่เหมาะสมกับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยอย่างน้อยต้องปรับระดับรักษาความปลอดภัยให้เหมาะสมกับความเสี่ยงที่เกิดขึ้นตามการพัฒนาทางเทคโนโลยี และให้มีการตรวจสอบระบบการรักษาความปลอดภัยจากผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยของข้อมูล

  2. จัดให้มีช่องทางการตรวจสอบจากประชาชนที่อาจได้รับผลกระทบ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

  3. ให้ บจ. เรียล มูฟฯ รับผิดชอบและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ใช้บริการที่ได้รับผลกระทบ ทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นในทางแพ่งและทางอาญา

  4. ให้รายงานผลการดำเนินการตามคำสั่งตามข้อ 1. 2. และ 3. มายังสำนักงาน กสทช. ภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ และรายงานความคืบหน้าในการดำเนินการตามคำสั่งนี้เป็นระยะๆ ทุก 15 วัน

หากบจ. เรียล มูฟฯ ไม่ดำเนินการตามคำสั่งนี้ เลขาธิการ กสทช. จะใช้มาตรการบังคับทางปกครองกำหนดค่าปรับทางปกครองตามกฎหมายไม่ต่ำกว่าสองหมื่นบาทต่อวัน ตามมาตรา 66 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544 ทั้งนี้ บจ. เรียล มูฟฯ มีสิทธิโต้แย้งคำสั่ง ดังกล่าวได้โดยยื่นอุทธรณ์ต่อ กสทช. ภายในระยะเวลา 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือฉบับนี้ ตามมาตรา 65 แห่งพ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544

นายฐากร กล่าวว่า พร้อมกันนี้ สำนักงาน กสทช. ได้มีหนังสือถึงผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายอื่นๆ ว่า ต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันและและรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคลทั้งทางด้านเทคนิคและการจัดการภายในองค์กรในรูปแบบที่เหมาะสมกับแต่ละบริการโทรคมนาคม ตามข้อ 10 ของประกาศ กทช. เรื่อง มาตรการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการโทรคมนาคมเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล สิทธิในความเป็นส่วนตัว และเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางโทรคมนาคมกำหนด โดยผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศอย่างเคร่งครัด และหากเกิดกรณีที่ไม่เป็นไปตามที่ประกาศกำหนด ผู้รับใบอนุญาตต้องควบคุมดูแลให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืน หรือแก้ไขปรับปรุงหรือปฏิบัติตามให้ถูกต้องเหมาะสม และผู้รับใบอนุญาตต้องผูกพันในการดำเนินการใด ๆ ของบุคคลดังกล่าวเสมือนว่าผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้ดำเนินการด้วยตนเอง ตามข้อ 18 ของประกาศดังกล่าวกำหนดไว้

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

คูปองส่วนลด50% สำหรับลูกค้ารายเดือนที่package1500ขึ้นไป
โทรฟรี 100นาทีห้าทุ่มถึงตีห้า
อินเตอร์เน็ต 5 ชั่วโมง(ใช้แล้วอย่าลืมปิดนะ เหอๆๆๆ)

ยกเลิก ให้หมดครับ ถ้าสมัครแพกเก็จไว้ เดี๋ยวงานมานะครับ หรือ เงินอาจหายจากบัญชีได้

Mars2005 Wed, 04/18/2018 - 19:41

เรารอด เพราะไม่เคยคิดใช้อะไรของค่ายนี้ 55

ทรูต้องไปเชคอีกว่า บัตรแต่ละใบ ของใครเบอร์ของใคร

และทรูควรจะโทรไปบอกด้วยตนเองทุกคน ไม่ใช่เปิดเพียงแต่ช่องทางเชคของตนเอง(ที่ทรูอาจทำเนียนไม่ค่อยประกาศ)

ที sms เถื่อนเอย โปรโมชั่นเอย แทบโทรหารายตัว เคสนี้ทรูก็ควรโทรแจ้งทุกคนเอง

ในแง่วิธีการควรจะแจ้งครบทุกช่องทาง
1-> เช็คจากบัตรไปหาเลขหมาย (ซึ่งถ้าข้ามค่ายก็ไม่ควรมีข้อมูลนี้สินะ) และแจ้งผ่านเลขหมาย
2-> เช็คจากอีเมล์ที่ใช้ในการสั่งซื้อ และแจ้งไปยังอีเมล์
3-> จัดทำ Service Portal สำหรับการตรวจสอบ (โดยอาจจะใช้ Key-Value เป็น รหัสบัตรประชาชนไม่ครบหลักอาจจะ 9 หลักแรก/+เบอร์โทรไม่ครบหลัก อาจจะ 7 หลักแรก+ชื่อไม่ครบตัว หรืออื่นๆ เพื่อป้องกันการฉวยโอกาสเก็บข้อมูลอีกรอบ แล้วแสดงข้อมูลว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือเปล่า)

เพราะถ้าเลือกทางใดทางนึง ไม่มีอะไรการันตีได้เลยว่าข่าวสารจะไปถึงผู้รับ
เบอร์อาจจะปิดไปแล้ว / หรือเมล์อาจจะยกเลิกไปแล้ว

ไปอ่านมาแล้วครับ (หลังจากคอมเมนต์นะ) จริงๆแค่มีเลขบัตรประชาชนก็หนักหนาแล้วล่ะครับ แล้วถึงทำบัตรใหม่ก็ไม่ได้ปลอดภัย เช่นข่าวก่อนหน้านี้ที่มีคนทำบัตรประชาชนหาย ขนาดว่าแจ้งความบัตรหายแล้ว ซึ่งถ้าเลขท้ายบัตรมันมีประโยชน์จริงๆมันก็ควรจะตัดทิ้งไปจากระบบ (เพราะใบใหม่ก็ได้เลขใหม่มาแล้วด้วย) แต่ก็ยังมาพบทีหลังว่ามีคนเอาบัตรประชาชนที่ทำหายไปเปิดบัญชีธนาคารตั้งหลายบัญชี

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็เข้าใจและเห็นด้วยนะครับ แค่มาออกเสียงว่าระบบบ้านเรามันไม่ได้เป๊ะแบบที่ควรจะไว้ใจได้

บัตรประชาชนใช้แค่ชื่อ กับเลขบัตร

ไม่เหมือนบัตรเครดิตโทรไปอายัดได้ ขอบัตรใหม่ก็เลขใหม่ บัตรเก่าใช้งานต่อไม่ได้

บัตรประชาชน มีข้อมูลอื่นๆ มากกว่ารูป และเลขบัตรจ๊ะ

มันมีเลขที่เหมือน CVV ของบัตรเครดิต ที่อยู่หลังบัตรด้วย เขาถึงรณรงค์ให้ไม่ต้องถ่ายเอกสารหลังบัตรไงจ๊ะ แต้ก็น่าจะมีคนถ่ายไปอยู่

ตัวข้อมูล เลขบัตร วันเดือนปีเกิด มันหาได้นอกเหนือจากบัตรประชาชนก็มี

แต่สิ่งที่บัตรประชาชนมีคือ
รหัสออกบัตรที่อยู่ใต้รูป
วันที่ออกบัตร วันหมดอายุ
และเลขรหัสหลังบัตรที่ออกใหม่ทุกครั้งที่ทำบัตรใหม่

สิ่งเหล่านี้มัน unique key

โดยเฉพาะเลขหลังบัตร เปรียบเสมือน CVV ขอวบัตรเครดิต เป็นรหัสดึงข้อมูลจาก api กรมการปกครองได้ด้วย ทราบทั้งชื่อพ่อ ขื่อแม่ ที่อยู่พ่อแม่ ทุกอย่าง

การออกบัตรใหม่ ก็จะได้รหัสหลังบัตรใหม่ ก็จะช่วยปกป้องได้

Laser ID นี่ออกบัตรเปลี่ยนด้วยเหรอครับ ไม่เคยสังเกตเลย (ไม่ได้เปลี่ยนกันบ่อยๆนี่หน่า)
Edit:: เช็คแล้วเปลี่ยนตามล๊อตแฮะ

รู้แต่เลขใต้รูปเปลี่ยน แต่เท่าที่เจอมา เอกชนแทบไม่มีที่ไหนเอาเลขใต้รูปไปใช้เลย
(และส่วนใหญ่ผมก็เซ็นทับเลขบางหลักไว้)

แต่ความเป็นจริงที่อยู่บนบัตรที่เปลี่ยนไม่ได้ ก็มากพอทำธุรกรรมเยอะแยะมากมายแล้ว
(เอาว่า ที่หลุดจาก iTruemart บางส่วนก็ไม่ได้สแกนหลังบัตรไป - เพราะนโยบายไม่ได้ให้สแกนหลังบัตรนานแล้ว .. ก็คือสิ่งที่สำหรับบางคน อาจจะไม่ได้หลุดแต่แรกอยู่แล้ว) ส่วนหน่วยงานที่ใช้ Laser ID ยืนยันตัวที่เห็นก็มีแค่สรรพากรที่เดียว (หน่วยงานราชการอื่นๆ อาจจะมีหน่วยออกหนังสือเดินทางอีกที่ ... หรือเดี๋ยวนี้เค้าเปิด LASER ID API ให้บุคคลภายนอกราชการใช้แล้ว?)

แต่เปลี่ยนใบใหม่ก็เป็นเรื่องดีอ่ะล่ะ

Edit2:: แต่ไปหาดูเหมือนแบงก์ก็จะติดต่อขอใช้ข้อมูลหลังบัตรแล้วแฮะ (อนุมานว่าใช้ทุกที่แล้วกัน แต่ทางปฏิบัติจะใช้หรือเปล่าไม่รู้นะครับ)

มันก็มีประโยชน์ที่ว่า การทำบัตรใหม่ ได้รหัสใหม่ คือรหัสยืนยันว่าเป็นบัตรจริงๆ ของจริง พวกที่เอาสำเนาหน้าบัตรเก่าไปใช้ อย่างน้อยมันก็ช่วยเราได้ว่า บัตรเก่าที่ถูกนำไปใช้ คือ สำเนาบัตรที่ถูกขโมยไป และเราได้ทำบัตรใหม่ตั้งแต่ทราบเรืองว่าถูกขโมยแล้ว

จุดแตกต่าง ที่จะบอกว่าบัตรเก่าหรือใหม่ ก็เลขรหัสใต้รูป มันไม่มีที่ไหนเอาไปใช้ก็จริง แต่มันคือ ตัวเลขยืนยันได้ว่าบัตรที่เราถือของใหม่ คือ ของใหม่ล่าสุดของเรา

ส่วนรหัสหลังบัตร API อาจไม่ได้เปิดให้ภายนอก แต่จะบอกว่ามันมีวิธีใช้ และถ้า token ของหน่วยงานใดถูกแฮกไป ก็อาจถูกนำไปใช้ควบคู่การใช้งานพวกนี้ได้

เท่าที่เคยถามแบงก์นึง เวลา "ขอ" ดึงข้อมูล Real Time จากปกครอง พอเสียบบัตรแล้วต้องกรอกเลขหลังบัตรถึงจะดึงได้นะครับ และตอนนี้แบงก์พาณิชย์ทุกแห่งใช้ Real Time หมด ก็เดาว่าต้องกรอกหมดครับ

สำหรับใครที่บัตรหลุดรอบนี้ ไปทำบัตรใหม่ก็ช่วยลดความเสี่ยงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับแบงก์ได้ครับ แต่หน่วยงานอื่นๆ ก็แล้วแต่ดวง

ความเสียหายด้านข้อมูลมันอาจจะเกิดขึ้นในภายภาคหน้า ทำไมเป็นจับมือเซ็นสัญญาเลยว่า ถ้า..
หาก ภายภาคหน้ามีความเสียหายเกิดขึ้นกับผู้ที่ข้อมูลหลุดในครั้งนี้ และมีการสอบสวนว่าเกิดจากการใช้ข้อมูลที่หลุดไปนั้น ให้ทรูเป็นผู้รับผิดชอบความเสียหายนั้นโดยตรง ให้กับทุกๆคนที่ข้อมูลหลุดจากทรู แบบนี้น่าจะการันตีให้สบายใจได้

ปรับวันละ2หมื่น... เทียบกับทุนและค่าใช้จ่าย​ดอกเบี้ย​ของบริษั​ทเขาผมว่ายอมโดนปรับไป 10 ปีก็คงไม่เป็นไร​ล่ะครับ ปีละ7ล้านนิดๆเอง

ปรับ 20,000 บาท/วัน / 45,736 บัตร (ไฟล์) = 0.43729 บาท/วัน

สรุปคือ กสทชให้ความสำคัญแค่ 43 สตางค์ ต่อคน/วัน ... เจริญพร กสทช

เฉพาะลูกค้าที่มีปริมาณใช้งานมากกว่า 1000 บาทขึ้นไป ตรวจสอบสิทธิ์และส่ง SMS เพื่อสมัครขอรับสิทธิ์ได้ที่ลิงค์ ....

ปรับเยอะจังครับ นึกว่าจะปรับซัก 500 บาทซะอีก แบบนี้บริษัทต้องกลัวหัวหดรีบทำตามแน่ๆ

ทรูควรโทร หรือส่งจดหมาย หาเจ้าของบัตรทุกคน ชี้แจงว่าเกิดอะไร บอกเจ้าของบัตรให้มั่นตรวจสอบว่าได้ไปสมัครอะไรแปลกบ้างหรือเปล่า

บางคนอาจไม่ได้ติดตามข่าว กว่าคนกลุ่มจะรู้ตัว คงมีใบแจ้งหนี้/หมายศาล มาถึงบ้านแล้ว

20000 ต่อวันสำหรับทรู ไม่รู้สึกหรอกครับ ลอง 20000 ต่อชั่งโมงสิ รีบแก้ไขให้แน่

ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม จะต้องมีมาตรการลงโทษที่มากกว่าการปรับเงิน เพราะบริษัทเหล่านี้ทุนหนา แถมสามารถกู้จากที่ไหมมาใช้ก็ได้ ตราบใดที่บริษัทยังทำกำไรได้มากกว่าค่าปรับของ กสทช.

โทษของ กสทช. ไม่ได้ต่างอะไรกับเสือกระดาษที่เขียนไว้เพื่อขู่แต่ใช้จริงไม่ได้หรือทำได้แค่เสียดสีผู้กระทำความผิด ผิดหวังมากที่ก่อตั้งมาแต่ไม่มีประโยชน์อะไรเลยเหมือน สคบ. แค่เคส Huawei กับ AIS ยังทำอะไรไม่ได้ เคสนี้จะเหลือเหรอ

iStyle Thu, 04/19/2018 - 09:24

ขอแบบ 20,000 และเพิ่มเป็นเท่าตัวในทุกๆ วันครับ 20,000..40,000..80,000..160,000...

ทำไมรู้สึกว่าบนลงโทษมันน้อยจัง เทียบกับความเสียหายที่ก่อขึ้น
ไม่รู้ว่า ตปท มีบทลงโทษแบบนี้ไหม หรือไทยแลนด์โอนลี่
อีกอย่าง ถ้าคนมาแจ้งไม่ใช่ ฝรั่ง ป่านนี้เรื่องเงียบไปนานแล้ว

Niel Thu, 04/19/2018 - 09:46

ผมว่าเบรคๆ กันนิดนึงก็ดีนะครับ

“TrueMove H จะต้องรายงานผลมายัง กสทช. ภายใน 7 วันและรายงานความคืบหน้าทุกๆ 15 วันนับตั้งแต่วันที่ได้รับหนังสือ หากไม่ปฏิบัติตาม TrueMove H จะถูกปรับไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อวัน”

จากจดหมายข้อสาม

  1. ให้ บจ. เรียล มูฟฯ รับผิดชอบและเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ใช้บริการที่ได้รับผลกระทบ ทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นในทางแพ่งและทางอาญา

แปลว่า ถ้าไม่รายงานความคืบหน้า จะเจอปรับเพิ่มจากค่าเยียวยา ค่าเยียวยาอยู่ในจดหมาย กสทช. ไม่ใช่เหรอครับ ?

มันเป็นภาษากฏหมายต้องตีความต่อเนื่อง อ่านแล้วหลุดได้ง่ายๆน่ะครับ ก่อนอ่านคอมเมนท์คุณผมก็แอบด่าในใจเหมือนกัน
เพราะงั้นต้องขอบคุณที่ช่วยเน้นเนื้อหาให้เข้าใจมากขึ้น

มีความรู้สึกว่าถ้าทางผู้เขียนข่าวที่มีความรู้ด้านกฏหมายจะช่วยเน้นจุดแบบนี้ก็น่าจะดี เพราะคนอ่านส่วนใหญ่(รวมผมด้วย)อ่านเงื่อนไขทางกฏหมายแบบนี้บางทีก็หลุดได้ง่ายๆ ถือว่าเป็นการช่วยให้ความรู้กับผู้อ่านไปในตัว

หรือการที่คนคอมเมนท์ช่วยจับจุดมาอธิบายแบบคุณก็น่าขอบคุณเช่นกันครับ

เยียวยา​ ​!= ค่าปรับ​ และ​!= การกระตุ้นให้บริษัทเร่งจัดการนิครับ​ เพราะยังไงเร่งไม่เร่งก็ต้องโดนค่าเยียวยาเหมือน​ ซึ่งค่าเยียวกว่าจะฟ้องได้ก็แค่ดึงเรื่องไปเรื่อยๆนัดไกเกลียไปๆมาๆค่าเสียหายที่ชดเชยแต่ละรายอาจจะน้อยมากรายหนึ่งหารเฉลยผมว่าไม่เกินหนึ่งล้าน​เพราะไม่ใช่ทุกคนจะมีปัญหา​ ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องจ่าย​

ผมว่าถ้าอ่านดีๆ มานั่งตีความทีละคำเลย พบว่า แย่กว่าเก่าอีกนะครับ

  1. ไม่มีการกำหนดข้อบังคับว่าต้องทำการชดใช้ 100% หรือแม้แต่ขั้นต่ำเท่าไร ถ้าทรูบอกว่าชดใช้แค่ 1 บาทก็ถือว่าชดใช้ complied ตามกฏข้อนี่ไหมครับ?

  2. คำถามกลับมาจุดเดิมว่า กสทช ให้ความสำคัญในการบังคับทรูให้แก้ไขแค่ไหน ปรับแค่ 2 หมื่นต่อวัน ถ้าเทียบกับต้องรื้อ project จ้าง engineer มาแก้ มา test จ้าง security ข้างนอกมา audit เผลอๆ บางทีทรูเมินเฉยอาจจะคุ้มซะกว่า ฉะนั้นค่าปรับที่สมเหตุสมผลควรจะอยู่ในจุดที่ถ้าเมินเฉยแล้วจะไม่คุ้มทุนนะครับ จนต้องมาแก้ไข

  3. ความคืบหน้าแค่ไหน กสทช ก็เขียนคลุมเครือ ไม่ได้มีมาตรวัดมาชี้วัดว่าอะไรคือความคืบหน้า อะไรคือ objective และ target อยู่ที่ตรงไหน การแก้ code 1 บรรทัด หรีอเปลี่ยนชื่อ bucket สัก 1 ตัวอักษร จะถือว่าเป็นความคืบหน้าไหมครับ?

จุดที่อยากจะสื่อถึงคือ สองส่วนที่ผมพูดถึงนั้นเป็นคนละส่วนกันน่ะครับ (เอาจริงๆ ผมก็คิดว่า กสทช. ห่วย 555+)

แต่ว่า การจะด่าเนี่ย ด่าให้ถูกจุด หรือด่าด้วยความจริง หรือสิ่งที่เข้าใจถูก ดีกว่าด่าด้วยความเท็จ ความเข้าใจผิดนะครับ

ส่วนเรื่องที่คุณบอกว่า แย่กว่าเก่า น่ะ “เก่า” นี่คือที่อาจจะเข้าใจผิดรึเปล่าครับ ?

  1. จากข้อสามเขียนไว้แล้วว่า รับผิดชอบ “และ” เยียวยา ทั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งทางแพ่งและทางอาญา

ซึ่งแน่นอน ถ้าทางนั้นชดเชยไม่เป็นธรรม การฟ้องร้องเป็นเรื่องที่ต้องทำอยู่แล้วครับ

  1. ปรับไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อวันนะครับ แปลว่าเกินได้ (ซึ่ง 2 หมื่นเป็นเลขขั้นต่ำตามกฎหมาย) หรือถ้าไม่ดำเนินการอะไรเลย ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่สามารถโดนโทษอื่นนะครับ

มาตรา 66 พระราชบัญญัติการประกอบการกิจการโทรคมนาคม ...ในกรณีที่ผู้รับใบอนุญาตยังเพิกเฉยไม่ปฏิบัติการให้ถูกต้อง หรือฝ่าฝืนคำสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือกรณีที่มีความเสียหายร้ายแรงต่อสาธารณะ ให้คณะกรรมการมีอำนาจพักใช้หรือ “เพิกถอนใบอนุญาต” ได้...

  1. ส่วนข้อสามนี่ ถ้าจงใจยืดหรือ etc. อาจจะ lead ไปมาตรา 66 พระราชบัญญัติการประกอบการกิจการโทรคมนาคมได้นะครับ

เขาจะไม่กังวลหรอกครับถ้าผู้บัวคับใช้กฎหมายนี่ไม่ใช่กสทช.​ผลงานที่ผ่านมาคุณก็รู้เสือกระดาษ​ ปรับไม่ต่ำกว่าสองหมื่นมันก็แสดงอีกนัยว่าสองหมื่นก็ปรับได้ครับ​ ถ้าจะปรับแค่สองหมื่นคุณจะทำอะไรได้?​ ปรับวันละสองหมื่นใต้โต๊ะคนละแสนต่อวันยังไม่สะดุ้งรายนี้เลยย​ ไอเพิกถอนใบอนุญาตุคุณคิดว่าทางนั้นจะไม่เอาประชาชนเป็นตัวประกันหรอครับคนใช้เป็นล้าน​เชื่อว่าคนกสทช.ก็ใช้ไม่มีทางและไม่มีวันที่จะพักใบอนุญาต​ด้วยซ้ำ

ปล.เยียวยานะบริษัทใหญ่เขามีทีมทนายไกเกลี่ย​ขึ้นศาลให้ถ้าเป็นคนตาดำๆ​แค่จ้างทนายก็เหนื่อยแล้วไหนจะต้องขึ้นศาลยังไงเยียวยาก็ไม่คุ้มแน่นอนครับ

ผมก็กังวลครับ

เพียงแต่กังวลไม่ใช่ข้ออ้างของการตีความผิดนะครับ

ตอนนี้มีการอ้างอิงกฎหมายซึ่งเกี่ยวโยงไปกับการพัก / การเพิกถอน บังคับหรือไม่บังคับมันเป็นอีกเรื่องนึง

ถ้าไม่บังคับใช้ หรือบังคับใช้ได้ไม่ดี กสทช. ก็สมควรถูกด่าครับ

เคยเห็นเคสแบบว่า​ต้องปะกาศขอโทษลงหนังสือพิมพ์เป็นเวลา​1 อาทิตย์​ด้วย

ศาลประเทศไหนไม่รู้

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find Hub
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png
Airbnb
public://topics-images/airbnb.png
PS5
public://topics-images/ps5.png
Krafton
public://topics-images/krafton.png
Doom
public://topics-images/doom-game-s_logo.svg_.png
AMD
public://topics-images/amd_logo.svg_.png
GTA
public://topics-images/gta_0.png
DoorDash
public://topics-images/doordash.png
YouTube
public://topics-images/yt.png
YouTube Music
public://topics-images/yt-music.png
Facebook
public://topics-images/fb.png
iQiyi
public://topics-images/iqiyi_0.png
Viu
public://topics-images/viu.png
Amazon Prime Video
public://topics-images/prime-vid.png
Spotify
public://topics-images/spotify.jpg
Apple TV
public://topics-images/apple-tv.png
HBO Max
public://topics-images/max.png
Threads
public://topics-images/threads.png
Alexa
public://topics-images/alexa.png
Kindle App
public://topics-images/kindle.png
Shopee
public://topics-images/shopee.png
Waze
public://topics-images/waze.png
Bilibili
public://topics-images/bili.png
Google Maps
public://topics-images/maps.png
Apple Music
public://topics-images/apple-music.png
Claude
public://topics-images/claude.png
TikTok
public://topics-images/tiktok.png
Xbox
public://topics-images/xbox.png
Tesla
public://topics-images/tesla.png
Chrome
public://topics-images/chrome.png
Google Calendar
public://topics-images/gcal.png
Google Home
public://topics-images/ghome.png
Google Meet
public://topics-images/meet.png
NotebookLM
public://topics-images/notebooklm.png
Reddit
public://topics-images/reddit.png
Assassin’s Creed
public://topics-images/ac.png
Mark Zuckerberg
public://topics-images/zuck.jpg
Meta
public://topics-images/meta.png
Meta AI
public://topics-images/meta-ai.png
Epic Games
public://topics-images/epic_games_logo.svg_.png
Unreal
public://topics-images/unreal_engine_logo-new_typeface-svg.png
Fortnite
public://topics-images/fortnite.png
DeepMind
public://topics-images/deepmind.png
Databricks
public://topics-images/databricks.png
Netflix
public://topics-images/netflix-logo.png
Microsoft Azure
public://topics-images/azure.png
Microsoft Copilot
public://topics-images/microsoft_copilot_icon.svg_.png
Bing
public://topics-images/bing.png
EA
public://topics-images/ea.png
Intel
public://topics-images/intel.png
Amazon
public://topics-images/amazon.png
AWS
public://topics-images/aws.png
Zoom
public://topics-images/zoom.png
Dropbox
public://topics-images/dropbox_0.png
Roblox
public://topics-images/roblox.png
Dell Technologies
public://topics-images/dell-tech.png
Nothing
public://topics-images/nothing.svg_.png
Microsoft Teams
public://topics-images/teams.png
Mojang
public://topics-images/mojang.png
Minecraft
public://topics-images/minecraft.png
Redis
public://topics-images/redis_logo.svg_.png
Ubisoft
public://topics-images/ubisoft_logo.svg_.png
Elden Ring
public://topics-images/elden.png
Brave
public://topics-images/brave.png
Opera
public://topics-images/opera.png
Vivaldi
public://topics-images/vivaldi.png
Microsoft Edge
public://topics-images/edge.png
Duolingo
public://topics-images/duolingo.png
LinkedIn
public://topics-images/linkedin.png
Canva
public://topics-images/canva.png
Realme
public://topics-images/realme.png
NASA
public://topics-images/nasa-logo.png
Booking.com
public://topics-images/booking.png
Agoda
public://topics-images/agoda.png
Bolt
public://topics-images/bolt.png
Grab
public://topics-images/grab.png
Temu
public://topics-images/temnu.png
LINE
public://topics-images/line.png
Facebook Messenger
public://topics-images/messenger.png
WhatsApp
public://topics-images/whatsapp.png
Telegram
public://topics-images/telegram.png
Signal
public://topics-images/signal.png
X.com
public://topics-images/x.png
Grok
public://topics-images/grok.png
xAI
public://topics-images/xai.png
CapCut
public://topics-images/capcut.png
Edits
public://topics-images/edit.png
Google One
public://topics-images/gone.png
Tinder
public://topics-images/tinger.png
Whoscall
public://topics-images/whoscall.png
OneDrive
public://topics-images/onedrive.png
Lightroom
public://topics-images/lr.png
Meitu
public://topics-images/meitu.png
Outlook
public://topics-images/outlook.png
Excel
public://topics-images/excel.png
PowerPoint
public://topics-images/ppt.png
Microsoft Word
public://topics-images/word.png
Phone Link
public://topics-images/phone-link.png
OneNote
public://topics-images/onenote.png
Windows App
public://topics-images/windows-app.png
Notion
public://topics-images/notion.png
Google Drive
public://topics-images/drive.png
YouTube Kids
public://topics-images/yt-kids.png
Gboard
public://topics-images/gboard.png
DeepSeek
public://topics-images/deepseek_logo.svg_.png
Prince of Persia
public://topics-images/prince-persia.png
Sony
public://topics-images/nq0nd2c0_400x400.jpg
Cisco
public://topics-images/jmyca1yn_400x400.jpg
Alibaba
public://topics-images/4axflwia_400x400.jpg
Alibaba Cloud
public://topics-images/qm43orjx_400x400_cloud.png
Coinbase
public://topics-images/consumer_wordmark.png
CarPlay
public://topics-images/carplay.png
Rust
public://topics-images/rust-logo-blk.png
Red Hat
public://topics-images/redhat.png
Anthropic
public://topics-images/anthropic.png
Xcode
public://topics-images/xcode.png
Tim Cook
public://topics-images/tim-cook.jpg
Donald Trump
public://topics-images/trump.jpg
Microsoft Surface
public://topics-images/surface.jpg
Copilot+ PC
public://topics-images/copilotpc.png
Stellar Blade
public://topics-images/stellar-blade.jpg
Snapdragon
public://topics-images/snapdragon_chip.png
Qualcomm
public://topics-images/qualcomm-logo.svg_.png
CoreWeave
public://topics-images/coreweave.png
Ford
public://topics-images/ford.png
Xiaomi
public://topics-images/xiaomi.png
Google Cloud
public://topics-images/google_cloud_logo.svg_.png
PlayStation Network
public://topics-images/psn.png
PlayStation Plus
public://topics-images/ps-plus.png
Windsurf
public://topics-images/windsurf.png
Square Enix
public://topics-images/square-enix.png
MIT
public://topics-images/x7hyjl3t_400x400.jpg
Zoox
public://topics-images/zoox.jpg
Evernote
public://topics-images/1neatidg_400x400.jpg
Magic the Gathering
public://topics-images/magic.png
Call of Duty
public://topics-images/cod.png
NVIDIA
public://topics-images/nvidia_logo.svg_.png
Satya Nadella
public://topics-images/nadella.png
Nintendo
public://topics-images/nintendo.png
Japan
public://topics-images/japan_flag.png
China
public://topics-images/china-flag-sq.png
Sam Altman
public://topics-images/sam-altman.png
SNK
public://topics-images/snk_logo.svg_.png
EPYC
public://topics-images/epyc.png
HPE
public://topics-images/hpe.png
Juniper
public://topics-images/juniper.png
CMA
public://topics-images/cma.png
App Store
public://topics-images/app-store.png
DoJ
public://topics-images/doj.png
Siri
public://topics-images/siri.png
Apple Intelligence
public://topics-images/apple-intelligence.png
Acer
public://topics-images/acer.png
GeForce
public://topics-images/geforce.png
Omen
public://topics-images/omen.png
HP
public://topics-images/hp.png
Alienware
public://topics-images/alienware.png
Dell
public://topics-images/dell.png
Bungie
public://topics-images/bungie.png
Marathon
public://topics-images/marathon.png
Lenovo
public://topics-images/lenovo-2015-svg.png
Intel Arc
public://topics-images/badge-arc-graphics.png
GitHub
public://topics-images/8zfrryja_400x400.png
GitHub Copilot
public://topics-images/copilot.png
Foxconn
public://topics-images/foxconn_0.png
Visual Studio
public://topics-images/vs.png
Visual Studio Code
public://topics-images/vscode.png
WSL
public://topics-images/wsl.png
Linux
public://topics-images/linux.png
Tencent
public://topics-images/tencent_logo_2017.svg_.png
Entra
public://topics-images/microsoft_entra_id_color_icon.svg_.png
RHEL
public://topics-images/rhel-icon.png
MSI
public://topics-images/msi-logo-for_digital_use_b.png
MCP
public://topics-images/mcp.png
Docker
public://topics-images/docker.png
RISC-V
public://topics-images/risc-v-logo.svg_.png
Fedora
public://topics-images/fedora.png
ASUS
public://topics-images/asus.png
ROG
public://topics-images/rog-logo_red.png
Naughty Dog
public://topics-images/naughty-dog.png
AIS
public://topics-images/357073423_657473419752809_8491928084596189631_n.png
National Telecom
public://topics-images/nt.jpg
Elon Musk
public://topics-images/elon_musk_2015_0.jpg
OpenShift
public://topics-images/openshift-logotype.svg-0.png