Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

คล้อยหลังการยิงจรวด Falcon Heavy มาราว 2 สัปดาห์ เมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา SpaceX ได้ยิงจรวด Falcon 9 อีกครั้ง ภารกิจหลักคราวนี้เป็นการปล่อยดาวเทียม Paz ให้บริษัท Hisdesat จากสเปน ซึ่ง Paz เป็นดาวเทียมถ่ายภาพให้กับรัฐบาลสเปนและลูกค้าอื่นๆ

นอกจากนี้ยังมีภารกิจรอง คือการปล่อยดาวเทียมขนาดเล็ก 2 ดวง ที่ระดับ low-Earth orbit (LEO) ชื่อ Microsat-2a และ Microsat-2b ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมภายใต้โครงการชื่อ Starlink

อย่างไรก็ตาม การให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียมไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ปัจจุบันมักพบปัญหาว่ามีจุดบอดของสัญญาณ รวมถึงคุณภาพสัญญาณจะแย่ลงหากสภาพอากาศไม่เอื้ออำนวย แต่โครงการ Starlink ใช้แนวคิดว่าจะปล่อยดาวเทียมขนาดเล็กออกไปจำนวนมากแทนเพื่อสร้างเครือข่ายขนาดใหญ่ และเชื่อว่าจะเพิ่มความเร็วอินเทอร์เน็ตรวมถึงคุณภาพการบริการโดยรวมได้

No Descriptionภาพโดย SpaceX

ในส่วนของภารกิจการยิงจรวด ยังมีสิ่งที่น่าสนใจอีก 2 เรื่อง คือบูสเตอร์ที่ใช้งานรอบนี้ก็ไม่ได้บินกลับมาลงจอดที่ฐานแต่อย่างใด หากแต่ปล่อยทิ้งลงน้ำไปเลย โดยบูสเตอร์ดังกล่าวเคยใช้ทำภารกิจปล่อยดาวเทียมให้ไต้หวันเมื่อเดือนสิงหาคม 2017 มาแค่ครั้งเดียว ซึ่ง SpaceX ไม่ได้ให้เหตุผลว่าทำไมถึงไม่นำบูสเตอร์ตัวนี้กลับมาใช้อีก

สิ่งที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ ภารกิจนี้เป็นครั้งแรกที่ SpaceX พยายามเก็บ "เปลือก" ของส่วนหัวจรวดหรือที่เรียกว่า fairing ที่ห่อหุ้ม payload เอาไว้ ซึ่งจะเปิดออกก่อนปล่อย payload ออกสู่อวกาศ โดยชิ้นส่วน fairing ได้ตกกลับลงมายังโลก แล้ว SpaceX ได้ใช้เรือที่ Elon Musk ตั้งชื่อว่า Mr. Steven ซึ่งติดตั้งตาข่ายขนาดใหญ่ แล่นออกไปรอรับ fairing ที่ตกลงมาจากฟ้า

ระหว่างที่ fairing ตกลงมา มันจะปล่อยร่มชูชีพ (parafoil) เพื่อชะลอความเร็ว อย่างไรก็ตาม ความพยายามรอรับ fairing ในรอบแรกนี้ล้มเหลว โดย Elon Musk ได้ทวีตว่าพลาดไปไม่กี่ร้อยเมตร แต่ตัว fairing ก็ไม่ได้รับความเสียหายจากการตกลงน้ำ และ Elon ก็ระบุว่าน่าจะรับได้ไม่พลาด หากใช้ร่มชูชีพที่ใหญ่กว่าเดิมเพื่อให้ตกลงมาช้ากว่านี้

ที่มา - Space.com, Motherboard

No Descriptionภาพโดย SpaceX

Get latest news from Blognone

Comments

By: Boomeranz
iPhoneAndroid
on 24 February 2018 - 12:24 #1035397
Boomeranz's picture

สงสัยจะเตรียมเทสต์ Block 5 กันแทน Block เก่า ๆ คงไม่คุ้มเปลืองค่าเช่าที่เก็บ 555

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 24 February 2018 - 12:37 #1035398
hisoft's picture

ดูจากภาพเปลือกที่เก็บไม่ได้มันลอยแบบนั้นแล้ว ไม่ต้องเก็บหรอกครับ ติดใบพัดให้มันแล่นกลับฝั่งเลยดีกว่า

By: pepporony
ContributorAndroid
on 24 February 2018 - 15:04 #1035417 Reply to:1035398

Forum ตปท คุยกันว่าการปล่อยลงน้ำทะเล ทำให้อุปกรณ์เสียหาย เอากลับมาใช้ไม่ได้ครับ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 24 February 2018 - 16:54 #1035425 Reply to:1035417
hisoft's picture

ครับ ไม่งั้นคงไม่ต้องกางตาข่ายรอลากกลับมาเอาก็ได้

By: mrkad
AndroidUbuntuWindows
on 24 February 2018 - 12:45 #1035400
mrkad's picture

เหมื่อนกำลังทดสอบอะไรบ้างอย่าง คร่าวก่อนก็มีชิ้นส่วนตกลงน้ำเหมื่อนกัน

By: konga143
iPhoneAndroid
on 24 February 2018 - 13:54 #1035409
konga143's picture

ครั้งถัดไปทดลองปล่อย Tesla Roadster แล้วไปกางสวิงรอรับ

By: atheist
AndroidUbuntuWindows
on 24 February 2018 - 14:05 #1035411

อ่านข่าวนี้จบแล้วก็ไปอ่านเพจโลกแบนต่อ อืม...

By: Sephanov
iPhoneUbuntu
on 24 February 2018 - 14:33 #1035415
Sephanov's picture

กำลังคิดว่าบูสเตอร์รุ่นที่กลับลงมาจอดได้นั้น ยังเป็นส่วนหนึ่งของการทดลอง
หากจะปล่อยดาวเทียมระดับธุรกิจขนาดนี้ คงไม่เอาบูสเตอร์ทดลองมาเสี่ยงเปล่าๆ จนกว่าจะมั่นใจได้ว่าใช้แล้วได้ผลจริง

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 24 February 2018 - 15:48 #1035422 Reply to:1035415

ตัวที่เอาไปทิ้งน้ำก็ไปกลับมาแล้วครับ แต่อันนี้อาจจะทดสอบลับ ประมาณว่าประหยัดเชื้อเพลิงด้วยการทิ้งลงน้ำแล้วดำน้ำกลับมาฐาน

ปล.การปล่อยให้จมน้ำเฉยๆไม่ใข่เรื่องดีครับเพราะมันอันตรายมากต้องคำนวนจุดตกไม่ให้ดเนใครถ้าจะทำลายเฉยๆสู้เผาในชั้นบรรยากาศง่ายกว่า

By: tontpong
Contributor
on 24 February 2018 - 18:26 #1035429 Reply to:1035422

stage 0/1 นี่ยังไงก็ตกลงพื้นผิวรึป่าว?.. ขนาดก็ใหญ่, ความเร็วก็ไม่พอที่จะเสียดสีกับบรรยากาศจนเผาไหม้ได้ ?

บริเวณพื้นที่ตกนี่พอจะคำนวณได้อยู่ละ, แล้วก็ประกาศให้ช่วงนั้นห้ามสัญจรผ่าน.. ถ้าจะซวยคือควบคุมทิศทางไม่ได้ แล้วระบบทำลายดันไม่ทำงานอีก

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 25 February 2018 - 00:02 #1035431
tekkasit's picture

เรื่องการเอาจรวดท่อนแรกกลับมาใช้นั้น ผมว่าขึ้นอยู่กับน้ำหนัก payload และที่สำคัญกว่าคือระดับความสูงที่จะต้องเอาไปปล่อยครับ

เนื่องจากปริมาณเชื้อเพลิงสูงสุดที่จรวดท่อนแรกจะบรรทุกได้นั้นมีจำกัด ถ้าน้ำหนัก payload มากขึ้นก็ยิ่งใช้เชื้อเพลิงมากขึ้นในการผลักดันขึ้นวงโคจรที่ต้องการ แต่ปัจจัยที่สำคัญกว่าคือความสูง ยิ่งวงโคจรสูงๆ ก็ต้องใช้เชื้อเพลิงมากทวีคูณในการทำความเร็วให้มากพอที่จะพลักให้จรวดท่อนสองที่มีขนาดเล็กที่บรรจุ payload ไปถึงวงโคจรที่ต้องการ

ดังนั้นแล้ว ถ้า SpaceX รับงานง่ายๆ เชื้อเพลิงใช้ไม่เยอะก็อาจจะยังสามารถเติมเชื้อเพลิงจรวดท่อนแรกให้เหลือพอที่จะชะลอความเร็วแล้วพอที่จะเปลี่ยนย้อนทิศกลับลงที่ฐานบนบก แต่ถ้าต้องใช้เชื้อเพลิงมากขึ้น ทำให้เหลือเชื้อเพลิงน้อยจนไม่พอที่จะเปลี่ยนทิศ แต่ยังมากพอจะชะลอความเร็วลงสู่ระดับพื้นดิน (reentry burn) ก็แค่ไปจอดบนเรือนอกชายฝั่ง แต่ถ้าเป็นงานยาก เชื้อเพลิงหมดเกลี้ยง ไม่พอที่จะชะลอความเร็ว ก็คงต้องยอมทิ้งจรวดท่อนแรกปล่อยตกน้ำไปก็เท่านั้นครับ