Tags:
Node Thumbnail

โลกอินเทอร์เน็ตถูกสร้างขึ้นมาบนพื้นฐานของความเชื่อใจกันนับแต่วันแรก เราคงจำกันได้กับวันที่เราเคย finger ว่าใครออนไลน์บนเครื่องไหนกันบ้าง เพราะยุคแรกของอินเทอร์เน็ตนั้นมันเป็นช่องทางเชื่อมต่อระหว่างนักวิจัยเป็นหลัก

แต่ในยุคนี้ที่อินเทอร์เน็ตนั้นเต็มไปด้วยอันตราย ความเชื่อใจแบบเดียวกันนี้ แม้จะลดลงอย่างมากในช่วงหลายปีมานี้ แต่เรายังคงล็อกอินเว็บด้วยการเชื่อมต่อแบบไม่เข้ารหัส ไวร์เลสแลนของเราส่วนมากมีการป้องกันเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีการป้องกันใดๆ เลย ปัญหาหลักในเรื่องนี้คงเป็นเรื่องของความยุ่งยากในการติดตั้ง แต่ความเป็นจริงอีกอย่างหนึ่งคือการเพิ่มความปลอดภัยให้อินเทอร์เน็ตนั้นมีค่าใช้จ่ายที่แพงมาก การเข้ารหัสแบบ TLS ให้กับการเชื่อมต่อทั้งหมด หมายถึงการคำนวณปริมาณมากมายให้กับผู้ใช้ทุกๆ คนโดยที่เซิร์ฟเวอร์ไม่สามารถแคชผลการคำนวณไว้ใช้งานได้

แต่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปด้วยสองเทคโนโลยีหลัก

  1. การทำงานแบบมัลติเธรด ที่กระจายงานไปยังหลายๆ ซีพียูได้ เมื่อผู้ใช้เพิ่มขึ้น การเพิ่มจำนวนคอร์ของซีพียูช่วยให้เราสามารถรองรับผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นเหล่านั้นได้

    1. Multi-Core เช่น Core 2 เป็นการใส่ซีพียูจำนวนมากกว่าหนึ่งชุดเข้าไปในแพคเกจเดียวกัน ทั้งสองคอร์มักจะสามารถสื่อสารถึงกันได้เร็วเป็นพิเศษทำให้แชร์ข้อมูลกันได้ง่าย
    2. SMT เป็นการแยกร่างซีพียูคอร์เดี่ยวให้ทำงานเสมือนว่ามีสองคอร์ไป ผลที่ได้อาจทำให้หลายๆ คนแปลกใจคือหากเราสามารถแยกงานออกเป็นสองเธรด แล้วทำงานบนซีพียูแบบ SMT แล้ว ผลลัพธ์จะเร็วขึ้น 14-200% เลยทีเดียว
  2. การใช้ซีพียูแบบเฉพาะทาง ลองนึกถึงการ์ดกราฟิกที่ทำหน้าที่คำนวณข้อมูลสามมิติโดยเฉพาะ ทำให้มันทำงานได้เร็วอย่างไม่น่าเชื่อ การเข้ารหัสก็สามารถใช้ชิปแบบเฉพาะได้เช่นกัน แต่ใน Core Microarchitecture ได้มีการใส่คำสั่งหลายคำสั่งเพื่อเพิ่มความเร็วการเข้ารหัสมาอยู่แล้ว คือ
    1. ชุดคำสั่ง AES ได้แก่ AESENC, AESENCLAST, AESDEC, และ AESDECLAST ชุดคำสั่งเหล่านี้สามารถเร่งความเร็วการเข้ารหัสในแบบ AES ให้เร็วกว่าการใช้คำสั่ง x86 ตามปรกติได้ประมาณสามถึงสี่เท่าตัว
    2. ชุดคำสั่งการคูณแบบเป็นชุด ได้แก่ PCLMULQDQ ซึ่งเป็นคำสั่งคูณเลข 64 บิตทีละสี่ชุดพร้อมๆ กัน การคุณจำนวนมากๆ นั้นเป็นเรื่องปรกติมากในการเข้ารหัสแทบทุกอัลกอลิธึ่ม ดังนั้นคำสั่งแบบนี้จึงสามารถช่วยเพิ่มความเร็วการเข้ารหัสได้แทบทุกรูปแบบ

การเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ยังต้องการการปรับปรุงจากโลกซอฟต์แวร์อีกมากให้สามารถทำงานโดยใช้ทรัพยากรในซีพียูได้อย่างเต็มที นับแต่การคอมไพล์ใหม่เพื่อให้ซอฟต์แวร์ใช้คำสั่งใหม่ๆ ได้ หรือการออปติไมซ์ในด้วยมือ ตลอดจนการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมซอฟต์แวร์ใหม่ทั้งหมด

อ้างอิง - Bookmark on Delicious
https://everywhere! Encrypting the Internet

Get latest news from Blognone

Comments

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 7 October 2008 - 06:45 #67384
tekkasit's picture

RSS หรือว่า TLS (Transport Layer Security) หรืออีกชือ SSL (Secure Sockets Layer)

By: Thaina
Windows
on 8 October 2008 - 11:31 #67462

สรุปแล้ว อนาคตมันจะวิ่งไปทาง General Purpose หรือ Multi Chip เฉพาะทาง กันแน่ ครับเนี่ย = =?

เห็นช่วงนี้ GPU ชอบปรับเป็น General Purpose ผมก็นึกว่าอนาคตจะกลายเป็น General Purpose เต็มเครื่อง
กลายเป็นจะกลับมาเฉพาะทางอีกละรึ

By: mk
FounderAndroid
on 8 October 2008 - 15:54 #67483 Reply to:67462
mk's picture

general purpose กับ multichip มันเกิดพร้อมกันได้นะครับ ไม่ได้เป็น mutual exclusion กัน

ส่วน general purpose กับ specific purpose นี่ต้องดูว่า มาจากฝั่ง GPU หรือ CPU ซึ่งก็หวังจะกินตลาดฝ่ายตรงข้าม

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 8 October 2008 - 16:14 #67485 Reply to:67462
lew's picture

แนวโน้มมันจะประหลาดๆ ครับ เป็นชิป General Purpose แบบ Core จำนวนมาก ที่มีบางส่วนได้รับการ Optimize ในแบบเฉพาะทาง

LewCPE


lewcpe.com, @wasonliw

By: Thaina
Windows
on 9 October 2008 - 11:21 #67508 Reply to:67462

เข้าใจละ

ขอบคุณครับ