ปัจจุบัน RFID ได้มีที่ใช้แพร่หลาย โดยเฉพาะในโรงพยาบาล เริ่มมีความคิดที่จะนำมาใช้เพื่อ tag ถุงยา, เลือดที่จะให้ผู้ป่วย เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการจ่ายผิดราย อย่างไรก็ดี ยังไม่ค่อยมีงานวิจัยเกี่ยวกับความปลอดภัยของเทคโนโลยีนี้ต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์
นักวิจัยชาวดัตช์ ได้ทำการศึกษาผลกระทบของ RFID ต่ออุปกรณ์ทางการแพทย์สำหรับหอผู้ป่วยวิกฤตหลายชนิด จำนวน 123 ครั้ง พบว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่เกิดขึ้นจากการใช้งาน RFID อาจส่งผลให้เครื่องมือทางการแพทย์ทำงานผิดพลาดถึง 34 ครั้ง และ 22 ครั้งในจำนวนนี้เป็นความผิดพลาดขั้นร้ายแรงเช่น เครื่องฉีดสารน้ำ (Syringe Pump) ไม่ยอมฉีดสารน้ำ, เครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker) และเครื่องช่วยหายใจ ไม่ยอมทำงานเป็นต้น
อย่างไรก็ดี ทางผู้วิจัยสรุปไว้ว่า อาจไม่จำเป็นถึงขั้นจะต้องห้ามใช้อุปกรณ์ RFID ในหอผู้ป่วยวิกฤต แต่เราอาจจะต้องทำการศึกษาผลกระทบในลักษณะนี้ให้มากขึ้น
จะว่าไปแล้ว RFID ก็เข้ามาอยู่ในชีวิตประจำวันเราเยอะเหมือนกันนะครับ อย่างการ์ด RFID เนี่ยผมมีในกระเป๋าสตางค์ตั้ง 8 ใบแหน่ะ
Comments
ในกระเป๋าผมมันเยอะเกินไปจนมันตีกันแล้วล่ะครับ - -*
อยากให้บัตรรถไฟฟ้าสองเจ้ารวมกันได้ซะที ..
บล็อกของผม: http://sikachu.com
บล็อกของผม: http://sikachu.com
เป็นเหมือนกันครับ
ผมไว้คนละด้านครับ กระเป๋ามันคงหนาด้วยแหละ เลยไม่กวนกัน สบายใจไปหน่อย
Ford AntiTrust’s Blog | PHP Hoffman Framework
แค่เอา bts กะ mrt ไว้กระเป๋าเดียวกัน ก็ใช้ไม่ได้ล่ะเนี่ย ... เซ็ง
---------- iPAtS
iPAtS
ผมว่า จะรวมกันได้ ก็ต่อเมื่อ
ทั้งสองเจ้า ตั้งบริษัทกลางมา ถือเงินกองกลางล่ะครับ ปัญหาถึงจบ
ทุกวันนี้ เค้าไม่รวม เนื่องมาจากเหตุผล เงินที่ได้รับจากลูกค้า ก่อนที่จะใช้บัตร เนี่ยะ เป็นหลักเลยครับ
ของผมบัตร BTS, MRT, 7-11 Smart Purse ตีกันกระจาย
ก็เลยต้องไปซื้อซองใส่บัตร เวลาจะใช้ก็ควักขึ้นมากรีด ๆ หน่อยนึงแล้วค่อยเอาไปทาบ ยุ่งยากดีแท้น้อ ^^"
RFID ถ้าเอาไปใช้ในงานเหมาะสมก็จะดีแต่ งานบางอย่างก็จะเจอจุดบอดของเทคโนโลยีตัวนี้
ผมเคยเขียนโปรแกรมใช้กับเจ้านี่ ก็เห็นปัญหาหลายอย่างครับ ข้อจำกัดมันมีมากพอๆกับข้อดีของมันนะแหละ
notz-dev :: RIA Develop & Design
RFID ของบัตรนิสิตผมเปิดหอพักบางหอได้ด้วยครับ
เฮ่ย?
ในรายงานบอกถึงการใช้ หมายถึงต้องมี reader ด้วย ไม่ใช่มีแต่ tag
ไม่มีอะไรน่ากลัวหรอกครับ สำหรับคนพก tag
ผมก็เล่น rfid อยู่หลายย่านความถี่
ตัว passive tag เองถ้าไม่ได้พลังงานกระตุ้นจาก reader ก็เหมือนเศษพลาสติก
ตอนที่ส่งข้อมูลกับไป reader มันก็แค่สะท้อนพลังงานกลับไป ไม่ได้มีแรงส่งสัญญาณเอง
แล้ว reader ที่แรงๆพอจะกวนจอ CRT ให้เห็นได้ก็มีแต่ reader พวก long range
ซึ่งอยู่ตามทางเข้าลานจอด หรือที่เก็บทางด่วน
reader ที่เห็นๆกัน กำลังส่งไม่ได้ครึ่ง ของมือถือ GSM
สรุป กลัวมือถือดีกว่ากลัว RFID ครับ
ใช่ครับ นั่นก็เลยเป็นสิ่งที่ผู้วิจัยสรุปไว้ด้วยครับ
แต่ผมว่ามันก็น่ากลัวเหมือนกันถ้าเราคิดแต่ในด้านที่ดี เพราะอีกหน่อย คงใช้เยอะมากๆ แน่ๆ เพื่อป้องกัน Human Error ดังนั้นจึงคงไม่แปลกถ้าจะเอาตัวอ่านไปอ่านข้างคนไข้ ข้างเครื่องมือทางการแพทย์ ถ้าเราไม่คิดเผื่อความผิดพลาดนี้เลย หากมันเกิดขึ้น มันจะเป็นเรื่องใหญ่น่ะสิครับ ^^"