Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Arkansas ได้พัฒนาเซ็นเซอร์ชีวภาพ ซึ่งมีลักษณะเป็นสารกึ่งตัวนำ ที่มีชื่อว่า Pentacene (สารอินทรีย์ไฮโดรคาร์บอน) โดยสารนี้จะสามารถฝังตัวลงไปกับเส้นใยผ้าได้หรือเคลือบตัวเครื่องสัญญาณแบบไร้สาย สมัยก่อนอุณหภูมิร่างกายจะถูกติดตามโดยเครื่องทรานซิสเตอร์แบบฟิมส์บาง และอัตราการหายใจต้องใช้เกจวัดอัตรากายหายใจ แต่อนาคตเทคโนโลยีของสารกึ่งตัวนำอินทรีย์นี้จะเข้ามาแทนที่เทคโนโลยีเดิมนี้ไป

สารกึ่งตัวนำอินทรียืนี้จะทำหน้าที่เป็นผิวเซ็นเซอ์ชีวภาพ ซึ่งเมื่อหายใจ หรืออุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น เซ็นเซอร์มีการเปลี่ยนแปลงทางกลไกซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนสรีระของร่างกาย ทำให้การต้านทานกระแสไฟฟ้าของสารอินทรีย์ในสารกึ่งตัวนำนี้มีการเปลี่ยนแปลง ส่งสัญญาณออกไปได้

ทางผู้พัฒนาหวังว่าเทคโนโลยีนี้จะสามารถนำไปช่วยเหลือผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจได้ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลหรือติดตามการเต้นของหัวใจตลอดเวลา โดยเซ็นเซอร์นี้จะไม่ทำให้เกิดความรำคาญและสามารถเก็บข้อมูลได้ตลอดเวลา แถมยังสามารถให้แพทย์ช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงทีเมื่อมีปัญหา

ที่มา - ScienceDaily.com, EnGadget.com

Get latest news from Blognone

Comments

By: 7
Android
on 31 July 2007 - 22:43 #28282
7's picture

ดีๆ เกิดเป็นลมล้มพับไป รพ. ก็รู้ ส่งทีมมาช่วยทันงี้ป่ะ

--------------------- 7blogger.com