Tags:
Node Thumbnail

ข่าวนี้จะต่อจาก EU เข้าสืบสวนกูเกิลข้อหาผูกขาด ครับ เรื่องคืออัยการประจำรัฐเท็กซัส ได้เริ่มสอบสวนกูเกิลว่าดัดแปลงผลการค้นหาให้เป็นโทษต่อคู่แข่งธุรกิจหรือไม่ โดยในเบื้องต้นได้สอบถามข้อมูลไปยังกูเกิล

ทางกูเกิลเองก็เปิดเผยผ่าน Google Public Policy Blog ว่าอัยการได้ขอข้อมูลเกี่ยวกับผลการค้นหาของ 3 บริษัท ได้แก่ Foundem (ดูรายละเอียดได้จากข่าวเก่า), SourceTool และ myTriggers ซึ่งกูเกิลก็โต้ว่าทั้งสามบริษัทใช้ทนายด้านการผูกขาดของไมโครซอฟท์ พร้อมทั้งยืนยันว่ากระบวนการจัดอันดับผลการค้นหาของตัวเองนั้นโปร่งใส

เรื่องนี้ต้องดูกันยาวๆ แต่ในภาพรวมจะเห็นว่ากูเกิลเริ่มโดนควบคุมโดยองค์กรภาครัฐมากขึ้นเรื่อยๆ

ที่มา - CNET

Get latest news from Blognone

Comments

By: JPorsh
iPhoneWindowsIn Love
on 6 September 2010 - 00:12 #206888
JPorsh's picture

แล้วถ้าแบบนี้ถ้าผมมีเงิน แล้วจะโปรโมทเว็บตัวเองด้วยการจ่ายเงินให้กูเกิ้ล แล้วใส่ผลการค้นหาที่มีเว็บผมลงไปด้วย
แบบนี้อะหรอครับ?

By: narok119
ContributoriPhone
on 6 September 2010 - 06:13 #206900

ผมมีความไม่เข้าใจหลายเรื่อง เกี่ยวกับผู้ที่มีสิทธิ์จะโดนข้อหา "ผูกขาด"

ไม่เข้าใจว่าบริษัทเอกชน หรือ มหาชน บริษัทหนึ่งจะสามารถบังคับให้เกิดการผูกขากทางธุรกิจได้ยังไง
โดยไม่ได้ทำผิดกฎหมายอาญาเช่น lobby สมาชิกวุฒิสภา หรือ ส่งคนไปข่มขู่ผู้บริหารบริษัทฝ่ายตรงข้าม

จริงๆผมก็ชอบไอ่ข้อหาแบบนี้นะครับ เพราะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคอย่างเราๆ
แต่ไม่เข้าใจหลักการตัดสินว่าบริษัทใดสามารถเข้าข่ายนี้ได้ เพราะมัน subjective สุดๆเลยในความคิดผม

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 6 September 2010 - 08:03 #206901 Reply to:206900
lew's picture

ผมเข้าใจว่ามันมีสองประเด็นครับ คือเรื่องการมีอำนาจเหนือตลาด กับการป้องกันการผูกขาด

บริษัทห้างร้านใดๆ สามารถมีส่วนแบ่งสูงๆ มีอำนาจเหนือตลาดได้เสมอครับ อาจจะเพราะพนักงานทำงานกันมีประสิทธิภาพมาก จนให้บริการที่ดี มีราคาถูกจนคู่แข่งรายอื่นๆ เข้ามาในตลาดไม่ได้เลย อันนี้ไม่ผิด

แต่โลกมักไม่สวยงามอย่างนั้น บริษัทที่มีส่วนแบ่งสูงขึ้นหน่อย ไม่ว่าจะได้ส่วนแบ่งนั้นมาได้อย่างไร มีแนวโน้มจะใช้ส่วนแบ่งนั้นเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เช่น ขายพ่วง (มีสินค้า X ขายดีมากๆ เปิดตัวสินค้า Y แล้วบังคับลูกค้าซื้อไปพร้อมกัน), บล็อคไม่ให้คู่แข่งรายอื่นๆ ทำธุรกิจด้วยการห้ามคู่ค้าของตัวเองไปให้บริการคู่แข่งรายใหม่ๆ (ที่ทำได้เพราะตัวเองเป็นลูกค้ารายใหญ่), หรือกำหนดราคาต่ำกว่าทุนคู่แข่งจะได้ไม่เกิด (เรียกว่าทุ่มตลาด)

บริษัทที่จะถูกข้อหาผูกขาดได้ ต้องอยู่ในกลุ่มของบริษัทที่มีอำนาจเหนือตลาดเสียก่อน โดยเกณฑ์การมีอำนาจเหนือตลาดเสียก่อน โดยเกณฑ์ก็ต่างกันไปในแต่ละประเทศ ของไทยนั้นกำหนดไว้เมื่อปี 2550 มีสองข้อ

  1. บริษัทเดียวมีคู่แข่งเกิน 50% และยอดขายเกิน 1,000 ล้าน
  2. สามบริษัทมีส่วนแบ่งเกิน 75% และยอดขายรายใดรายหนึ่งเกิน 1,000 ล้าน

พอเข้าเกณฑ์การมีอำนาจเหนือตลาดแล้ว (ย้ำอีกที การมีอำนาจเหนือตลาดไม่ได้เป็นความผิดโดยตัวมันเอง) จะถูกควบคุมเพิ่มเติมจากธุรกิจอื่นๆ เช่น ดันราคาขึ้นลงจากอำนาจของตัวเอง, รวมบริษัทต้องขออนุญาต ฯลฯ ถ้าทำผิดหลักการเหล่านี้ จะเป็นความผิดฐานผูกขาด

อ่านเพิ่มเติม พรบ.การแข่งขันทางการค้า พ.ศ.2542


lewcpe.com, @wasonliw

By: narok119
ContributoriPhone
on 6 September 2010 - 19:01 #206973 Reply to:206901

ขอบคุณมากสำหรับข้อมูลครับ กระจ่างแจ้งเลย

แต่ผมก็ยังมีคำถามนะครับว่า
รัฐบาลจะเอาอะไรมาตรวจสอบส่วนแบ่งตลาด อะครับ เช่นว่าเราจะรู้ได้ไงว่าบริษัท A มีส่วนแบ่งตลาดเดียวเกิน 50% จริงๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเป็นบริษัทจำกัด ไม่ใช มหาชน หรือว่ามีหน่วยงานของรัฐที่คอยตรวจสอบเรื่องพวกนี้อยู่แล้ว?

By: TOTEETIME on 6 September 2010 - 12:54 #206926

ถ้าดัดแปลงผลการค้นหาจริง คงรู้สึกไม่ดีกับ google และรู้สึกไม่ไว้วางใจมากขึ้น
คงรู้สึกว่า google นั้น Evil และต้องระมัดระวังตลอดเวลาเหมือนที่รู้สึกกับ Microsoft

ขอให้สู้กันจนความจริงกระจ่าง
ถ้า Google ผิดจริง รัฐเท็กซัสก็น่าจะลงโทษให้จั๋งหนับ
ถ้ารัฐเท็กซัสมั่ว กล่าวหาเท็จ Google ก็น่าจะหาทางฟ้องกลับให้รัฐกลัว ไม่กล้ามากล่าวหามั่วๆ กับเอกชนอีก