Tags:
Node Thumbnail

หลุมอุกกาบาตนี้ถูกค้นพบอยู่บริเวณทะเลทรายซาฮาร่า และการค้นพบครั้งนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นการพบหลุมอุกกาบาตที่สภาพดีที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา โดยหลุมอุกกาบาตนี้ชื่อว่า Kamil ผู้ค้นพบคือนักวิจัยชาวอิตาลี และเขาได้ใช้โปรแกรมที่เรารู้จักกันดีอย่าง Google Earth ในการสำรวจ

หลุมอุกกาบาตนี้มีขนาดกว้างที่สุดอยู่ที่ 147 ฟุต(45 เมตร) และ ลึกที่สุดที่ 52 ฟุต(16 เมตร) นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าหลุมอุกกาบาตนี้เกิดจากอุกกาบาต ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 4.2 ฟุต(1.3 เมตร) พุ่งเข้าชนพื้นโลกด้วยความเร็ว 8,000MPH (12,875 กิโลเมตร/ชั่วโมง)

แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ต่างประหลาดใจก็คือ โดยปกติหลุมอุกกาบาตจะถูกกัดเซาะจากสภาพแวดล้อมและกาลเวลา แต่ในกรณีของหลุมอุกกาบาต Kamil นั้นกลับยังคงสภาพของรูปทรงชามไว้ได้ คือมีการกระเซ็นของหินโดยรอบๆ ลายกระเซ็นแบบนี้เรียกว่า รังสี ejecta ซึ่งโดยปกติแล้วจะเห็นได้บ่อยบนดาวเคราะห์และดวงจันทร์ แต่ไม่พบบนโลก

ที่มา - Gizmodo

Kamil

Get latest news from Blognone

Comments

By: sdh on 25 July 2010 - 14:29 #195834

น่าจะเรียกว่า หลุมอุกกาบาต

By: RYUTAZA
Contributor
on 25 July 2010 - 14:40 #195835 Reply to:195834

+1 crater แปลตาม longdo ได้ว่าปล่องภูเขาไฟ แต่จากภาพประกอบและกูเกิลพบว่ามันคือหลุมอุกกาบาตนี่เอง..

By: coolmilk
ContributorAndroidWindows
on 25 July 2010 - 14:54 #195836 Reply to:195835

จากรูปผมก็ว่ามันแปลกๆ เหมือนกัน เพราะในข่าวเขียนว่า crater นะครับ ถ้าหลุมอุกกาบาตต้อง impact crater ผมเข้าใจถูกหรือเปล่า = = ถ้าผิดจะได้แก้ไขเลยครับ

By: mementototem
ContributorJusci's WriterAndroidWindows
on 25 July 2010 - 15:06 #195837 Reply to:195836
mementototem's picture

หลุมอุกกาบาตน่าจะถูกกว่าครับ ในทางดาราศาตร์ crater แปลว่า หลุมอุกาบาตได้ครับ

(Astronomy) any of the circular or polygonal walled formations covering the surface of the moon and some other planets, formed probably either by volcanic action or by the impact of meteorites (#ref)


Jusci - Google Plus - Twitter

By: lancaster
Contributor
on 25 July 2010 - 15:19 #195838 Reply to:195836

คือถ้าอุกาบาตตกใส่จนเป็นหลุม มันก็คือหลุมอุกาบาตครับ

By: coolmilk
ContributorAndroidWindows
on 25 July 2010 - 15:34 #195843 Reply to:195838

ขอบคุณทุกคนครับ แก้ตามนั้นแล้วครับ ^^

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 25 July 2010 - 19:33 #195868
tekkasit's picture

ได้รูปประกอบแล้วครับ พิกัดอยู่ที่ N 22°1'6" E 26°5'16" อยู่บริเวณใกล้ๆชายแดนอียิปต์กับซูดาน

เด๋วก่อน 3.5 กิโลเมตร ต่อวินาที!

By: RYUTAZA
Contributor
on 25 July 2010 - 20:30 #195889 Reply to:195868

เห็นภาพแล้วชวนให้จินตนาการณ์ว่าเป็นฐานทัพลับองค์กรก่อการร้าย
หรือเป็นทางเข้าโครงการทดลองพิศดารอะไรของปรเทศไหนรึเปล่า..
ป.ล.เป็นทะเลทรายที่กว้างและเวิ้งว้างดีจริง ๆ :D

By: theoneox
Android
on 25 July 2010 - 20:29 #195888

เห็นได้บ่อยในดาวเคราะห์และดวงจันทร์ แต่ไม่พบบนโลก

หึ หึ

By: mementototem
ContributorJusci's WriterAndroidWindows
on 25 July 2010 - 20:36 #195895 Reply to:195888
mementototem's picture

พอคุณพูดถึง ผมเลยสังเกต

เห็นได้บ่อยในดาวเคราะห์และดวงจันทร์ แต่ไม่พบบนโลก

:D


Jusci - Google Plus - Twitter

By: EThaiZone
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 25 July 2010 - 20:58 #195903 Reply to:195895
EThaiZone's picture

เขาเรียกสองมาตรฐานหรือเปล่า LOL


มันไม่ง่ายเลยที่จะทำ GIF ให้มีขนาดน้อยกว่า 20kB

By: coolmilk
ContributorAndroidWindows
on 25 July 2010 - 21:06 #195906 Reply to:195903

แก้ไขแล้วครับ

By: Lightwave
iPhoneAndroidWindows
on 25 July 2010 - 21:42 #195915 Reply to:195906

ทำไมไม่เอาในโลกล่ะครับ -*-

By: neizod
ContributorTraineeIn Love
on 25 July 2010 - 23:07 #195944 Reply to:195888
neizod's picture

ดาวเคราะห์ที่เรารู้จัก มี 2 ประเภทหลักๆ นะครับ
คือดาวเคราะห์ที่ทั้งดาวมีส่วนประกอบหลักเป็นแก๊ส (เช่น ดาวพฤหัส ดาวเสาร์)
กับดาวเคราะห์ที่ทั้งดาวมีส่วนประกอบหลักเป็นของแข็ง (เช่น ดาวพุธ ดาวอังคาร)
ซึ่งเราอาจเรียกชื่อดาวพวกนี้ได้อีกชื่อนึงว่า "ดาวเคราะห์ชั้นใน" เนื่องจากดาวเคราะห์เหล่านี้อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์
จึงถูกลมสุริยะพัดแก๊สปลิวออกจากตัวดาวไปเกือบหมด จนเห็นแกนที่เป็นของแข็งบนดาวได้ชัดเจน

สำหรับดาวเคราะห์ที่มีส่วนประกอบหลักเป็นของแข็งนั้น ก็ยังแบ่งได้อีกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
แบบที่มีชั้นบรรยากาศบนผิวหนาแน่น (ในระบบของเราเช่น ดาวศุกร์ โลก ดาวอังคาร ดวงจัทนร์ไททันของดาวเสาร์)
และแบบที่มีชั้นบรรยากาศบนผิวดาวเบาบาง (เช่น ดาวพุธ ดวงจันทร์ ดาวพลูโต-ถ้ายังนับว่าเป็นดาวเคราะห์อยู่ :D)

และในดาวที่มีชั้นบรรยากาศหนาแน่นเฉกเช่นโลกเรานั้น เราจะพบหลุมอุกาบาตเหล่านี้ได้ยากมาก เนื่องจาก

  • มีชั้นบรรยากาศคอยเสียดสีกับอุกาบาตที่พุ่งเข้ามาหาโลก ทำให้อุกาบาตมีขนาดเล็กลงมากก่อนประทะผิวดาว

  • เมื่ออุกาบาตประทะผิวดาวแล้ว ลมและแก๊สในดาวจะพัดพาเศษฝุ่นต่างๆ ขัดกร่อนหลุมอุกาบาตจนมองเห็นได้ยาก (ใช้เวลาระดับพันปี+)

  • ดาวเคราะห์ที่จะมีชั้นบรรยากาศเป็นของตัวเองได้นั้นต้องมีขนาดใหญ่พอควร ส่งผลให้แกนกลางของดาวนั้นไม่เย็นจนเกินไป ดาวประเภทนี้มักมีของเหลวหนืด (ลาวา) อยู่ภายในดาว จึงมีการเคลื่อนที่ของผิวเปลือกดาวอยู่บ่อยๆ และมีการผลัดเปลี่ยนผิวดาวอยู่บ่อยครั้ง (ภูเขาไฟระเบิด)

  • ฯลฯ ฯลฯ อิอิ

ซึ่งลักษณะเหล่านี้จะไม่พบในดาวเคราะห์ชั้นในที่มีชั้นบรรยากาศเบาบางเลย จึงทำให้เวลาโดนอุกบาตชนที หลุมอุกาบาตจะติดแน่น ทนนานครับ
(รอยเท้าบนดวงจันทร์ของเหล่านักบินอวกาศสหรัฐยังคงรูปอยู่เลยครับ!)

ดังนั้น จะเขียนข่าววิทยาศาสตร์ต้องมีฐานความรู้เยอะพอสมควรครับ และผมเห็นว่าการใช้คำว่า "ดาวเคราะห์" ในบทความนั้น ค่อนข้างกว้างเกินไปมากจนทำให้เข้าใจผิดได้ง่าย
เห็นว่าสมควรเปลี่ยนเป็น "ดาวเคราะห์หิน" น่าจะเป็นการจำกัดความที่สั้นที่สุด เท่าที่คนทั่วไปที่ไม่ใช่นักวิทยาศาสตร์อ่านแล้วจะทำเข้าใจได้อย่างง่ายที่สุดครับ

By: SZealotry on 26 July 2010 - 00:22 #195976 Reply to:195944
SZealotry's picture

+1 ชอบมากเป็นหลักการมาก

By: GoblinKing
Windows PhoneWindows
on 26 July 2010 - 07:27 #196007 Reply to:195944
GoblinKing's picture

รอยหยักขดขึ้นมา 1 มม. ขอบคุณครับ

By: baanmaew on 26 July 2010 - 08:35 #196010 Reply to:195944

ไม่รู้ว่าผมจะเข้าใจผิดเองหรือเปล่าครับว่าเหมือนเคยอ่านมาว่า“ดาวเคราะห์ชั้นในจะเริ่มนับจากโลกไปหาดวงอาทิตย์ และดาวเคราะห์ชั้นนอกก็จะเริ่มนับจากโลกออกไปจนถึงดาวพลูโต(ตอนนั้นยังนับดาวพลูโตเป้นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะอยู่) ก็มีหลายกรณีเหมือนที่นักวิทยาศาสตร์มักจะเอาโลกของเราเป็นที่ตั้งเช่นการนับระยะหน่วยดาราศาสตร์ (AU) ก็นับระยะจากโลกเราไปถึงดวงอาทิตย์ อะไรประมาณนี้แหละครับ ส่วนของหินละลายที่อยู่ภายในโลกเราถ้ายังไม่ระเบิดออกมาจะเรียกว่า Magma เมื่อเวลาระเบิดออกมาสู่พื้นผิวโลกเราถึงจะเรียกว่า ลาวา” ถ้าผมเข้าใจผิดช่วยตอบด้วยนะครับ

By: neizod
ContributorTraineeIn Love
on 26 July 2010 - 10:59 #196018 Reply to:196010
neizod's picture

เข้าใจถูกแล้วครับ นั่นก็นับว่าเป็นวิธีนับอีกแบบหนึ่งได้เหมือนกัน ^^

แต่ถ้าจะเอาตามหลักการและลงรายละเอียดจริงๆ แล้ว ทั้งสองแบบนั้นมีวิธีเรียกที่ "คล้าย" กันมากจนเข้าใจผิดได้บ่อยๆ เลยครับ

แบบแรก ดาวเคราะห์ "วง" ในและวงนอก (Inferior and Superior planets)
แบบนี้จะเอาโลกเป็นที่ตั้ง โดยดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลกจะเป็นดาวเคราะห์วงใน ส่วนไกลกว่าก็จะเป็นดาวเคราะห์วงนอก
ด้วยหลักนี้ เราจะมีดาวเคราะห์วงในคือ ดาวพุธกับดาวศุกร์ 2 ดวง ส่วนตั้งแต่ดาวอังคารเป็นต้นไปนั้นนับเป็นวงนอก (สังเกตว่า โลกเรา ไม่ถูกจัดเป็นวงในหรือวงนอกครับ)

การจัดหมู่แบบนี้มีมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลแล้ว เพราะสมัยนั้นไม่มีกล้องดูดาว/ยานอวกาศไว้สำรวจดาวพวกนี้ในเชิงโครงสร้าง
เราสามารถรับรู้ได้ว่าดาวเหล่านี้เป็น "ดาวเคราะห์" (planet: นิยามสมัยโบราณแปลว่า ดาวเพนจร) เนื่องจากเราสังเกตเห็นว่า ตำแหน่งของมันบนท้องฟ้าเปลี่ยนไปตามเวลา
โดยนักปราชญ์สมัยนั้นก็ได้สังเกตต่อไปอีกว่า มีดาวบางดวงเท่านั้นที่ไม่ยอมขึ้นมาจนถึงจุดสูงสุดของท้องฟ้ายามค่ำคืนเลย
จนเมื่อนำข้อมูลที่เก็บได้ในสมัยนั้นมาคำนวณดู ก็พบว่า ดาวเคราะห์จำพวกนี้ใช้เส้นทางเดินบนท้องฟ้าร่วมกับกับดวงอาทิตย์ แถมยังไม่ยอมหนีห่างจากดวงอาทิตย์อีกต่างหาก! (ระลึกไว้ว่า สมัยนั้นพวกเขาเชื่อว่าโลกเป็นจุดศูนย์กลางของทุกสรรพสิ่งนะครับ)
พวกเขาจึงเรียกดาวเคราะห์พวกที่อยู่ใกล้ๆ ดวงอาทิตย์ว่า ดาวเคราะห์ชั้นผู้น้อย (Inferior planets)
ส่วนดาวเคราะห์ที่เหลือที่มีวงโคจรเป็นของตัวเองนั้น ก็ได้รับศักดิ์เป็น ดาวเคราะห์ชั้นผู้ใหญ่ (Superior planets) ครับ

ด้วยเหตุนี้ ชาวกรีกจึงตั้งชื่อให้ดาวเคราะห์ชั้นผู้น้อยตามชื่อเทพที่พวกเขานับถือคือ เฮอร์เมส (โรมัน: Mercury) ผู้ส่งสารของพระเจ้า เนื่องจากเคลื่อนที่ไวและไม่ออกมาให้เห็นได้โดยง่าย
ส่วนอีกดวงคืออโฟรไดที (โรมัน: Venus) เทพีแห่งความงาม เพราะแสงสว่างนวลตาที่ปรากฏให้ให้ตอนหัวค่ำ/รุ่งสาง

สำหรับดาวเคราะห์ชั้นผู้ใหญ่ได้แก่ เอเรส (โรมัน: Mars) เทพแห่งการสงคราม เนื่องจากชาวกรีกนิยมสงครามมาก และดาวดวงนี้ก็มีสีแดงดุดัน
ซีอัส (โรมัน: Jupiter) เทพเจ้าผู้ปกครองสวรรค์ เทพที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในตำนานกรีก-โรมัน ถูกตั้งให้ดาวนี้เพราะมีสีสว่างนวลตา เหมือนเทพผู้ปกครองที่อ่อนโยน แต่ก็เปี่ยมด้วยอำนาจบารมี
และโครนัส (โรมัน: Saturn) อดีตเทพผู้ยิ่งใหญ่ บิดาแห่งซีอัส ผู้กลืนกินบุตรธิดาแห่งตนเนื่องจากหวงแหนอำนาจ ภายหลังถูกซีอัสบุตรชายและพี่น้องโค่นลงได้ จึงมีแสงสว่างริบหรี่ลง
(สำหรับดาวเคราะห์ดวงอื่นๆ นั้น ไม่สามารถสังเกตด้วยตาเปล่าได้ ชาวกรีกสมัยนั้นที่ใช้แต่ตาเปล่าดูดาวจึงไม่ได้เป็นผู้ตั้งชื่อให้ยูเรนัส เนปจูน และพลูโตนะครับ :P)

แบบแรก เวอร์ชันสอง เกิดขึ้นในยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา ได้เกิดกลุ่มนักดาราศาสตร์ที่ปฏิเสธความเป็นศูนย์กลางของโลก
เนื่องจากพบความยุ่งยากในการคำนวณเส้นทางการโคจรของดาวเคราะห์ ประจวบเหมาะกับการเกิดขึ้นของกล้องส่องทางไกล
ทำให้เราพบสัจธรรมความจริงเพิ่มขึ้นมาว่า สิ่งเล็กย่อมเคลื่อนที่รอบสิ่งใหญ่ และโลกไม่ใช่สิ่งที่ใหญ่ที่สุดในจักรวาล
ดังนั้น เราจึงมีโมเดลระบบสุริยะที่ใช้กันจนถึงทุกวันนี้ คือระบบที่มีดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลาง ล้อมรอบด้วยดาวเคราะห์ต่างๆ และ "โลก" ของเรา
ในสมัยนี้ โลกเราจึงได้กลายเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง (เหมือนกับเพื่อนๆ) เป็นที่เรียบร้อย
และการแบ่งแยกดาวเคราะห์ชั้นในกับชั้นนอกนั้นก็ง่ายขึ้นมาก เพียงแค่ดาวเคราะห์ชั้นในคือดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก ส่วนชั้นนอกก็อยู่ใกล้กว่า
(สมัยนี้กล้องโทรทัศน์มองเห็นอย่างมากก็แค่ดาวบริวารเป็นจุดๆ ไม่เห็นรายละเอียดพื้นผิวดาวครับ)

ข้อแตกต่างที่เราพบมากขึ้นระหว่างดาวเคราะห์ชั้นในและดาวเคราะห์ชั้นนอกในยุคนี้ มีเพิ่มเพียงแค่ข้อเดียว
คือเมื่อส่องดูดาวด้วยกล้องโทรทัศน์นั้น พบว่าดาวเคราะห์ชั้นในมีการเกิดเป็นเสี้ยวบางๆ เหมือนดวงจันทร์ และไม่มีวันเต็มดวง
ในขณะที่ดาวเคราะห์ชั้นนอกนั้น เห็นอย่างน้อยสุดก็ประมาณครึ่งดวง และสามารถเห็นดาวเคราะห์เต็มดวงได้ไม่ยาก

แบบที่สอง ดาวเคราะห์ "ชั้น" ในและชั้นนอก (Inner and Outer planets)
นิยามนี้เกิดขึ้นเมื่อโลกก้าวสู่ยุคอวกาศอย่างจริงจัง มีการประดิษฐ์กล้องโทรทัศน์ที่มีกำลังขยายสูง มีการส่งยานอวกาศไปสำรวจดวงดาวต่างๆ และมีทฤษฎีทางดาราศาสตร์ใหม่ๆ ขึ้นมา
เราพบว่า ดาวพุธ ศุกร์ โลก และอังคารนั้น มีขนาดเล็กนิดเดียว ส่วนดาวพฤหัส เสาร์ ยูเรนัส และเนปจูนนั้น มีขนาดใหญ่มากๆ
ทั้งนี้ก็เพราะว่าดาวเคราะห์กลุ่มแรกนั้นอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ จึงถูกลมสุริยะหอบเอาแก๊สต่างๆ ออกจากดาวจนเกือบหมด
เหลือก็แค่ชั้นบรรยากาศบางๆ เท่าที่มวลของดาวจะสามารถกักเก็บเอาไว้ได้
ส่วนดาวเคราะห์กลุ่มหลังที่มีขนาดใหญ่โตมโหราฬนั้น ก็เพราะอยู่ไกลดวงอาทิตย์มากพอที่ลมสุริยะจะมีผลน้อยลง
ส่งผลให้ดาวเคราะห์จำพวกนี้สามารถกักเก็บแก๊สไว้กับตัวเองได้มาก
(เชื่อว่า) ด้วยมวลอันมหาศาลของดาวพฤหัส มันได้ทำการฉีกดาวเคราะห์เล็กๆ เมื่อครั้งระบบสุริยะเกิดใหม่ๆ โน่น จนเกิดเป็นแถบดาวเคราะห์น้อยระหว่างดาวอังคารและดาวพฤหัสขึ้นมา
เราจึงแบ่งดาวเคราะห์เป็น ดาวเคราะห์ชั้นใน เมื่อดาวดวงนั้นอยูใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าแถบดาวเคราะห์น้อย (เนื่องจากแถบนี้ไม่สามารถเกิดดาวเคราะห์ได้)
ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกนั้น ก็คือดาวที่อยู่เลยแถบดาวเคราะห์น้อยนี้ออกไป (สมัยนั้นยังมีดาวพลูโตครับ)

เมื่อครั้งล่าสุดที่มีการถกเถียงกันว่า ดาวพลูโตควรได้รับฐานะดาวเคราะห์หรือไม่ และได้มีการตัดดาวพลูโตออกไป
ทำให้ตอนนี้เหลือดาวเคราะห์ 8 ดวงเท่านั้น (เชื่อว่าไม่น่าจะสามารถหาดาวเคราะห์เพิ่มได้แล้ว) และจากกายภาพของดาวเคราะห์ก็ทำให้เราแบ่งแยกดาวได้ชัดเจนขึ้นคือ
ดาวเคราะห์ชั้นในนั้นจะมีพื้นผิวเป็นของแข็ง มีขนาดเล็ก มีชั้นบรรยากาศเบาบาง
ส่วนดาวเคราะห์ชั้นนอกนั้นเป็นดาวเคราะห์ที่พื้นผิวเป็นแก๊ส มีขนาดใหญ่มาก
(หรือจะบอกว่าเป็นดาวที่มีบรรยากาศหนาแน่นมากๆ ก็ได้ครับ)
ส่วนดาวพลูโตนั้น แท้จริงแล้วมันคือดาวหางนั่นเอง เนื่องจากที่ผิวดาวมีน้ำแข็งเกาะเต็มไปหมด เพียงแต่มันไม่มีโอกาสได้เข้าใกล้ดวงอาทิตย์ จึงไม่โผล่หางมาให้ได้ยลกันครับ :P

ส่วน Magma กับ Lava อันนี้ผมพลาดเองครับ ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ^^"

By: iStyle
ContributoriPhoneAndroidSymbian
on 26 July 2010 - 11:42 #196026 Reply to:196018
iStyle's picture

ขอบคุณครับ
พึ่งรู้ว่ามีการแบ่งสองแบบ= ='


May the Force Close be with you. || @nuttyi

By: mementototem
ContributorJusci's WriterAndroidWindows
on 26 July 2010 - 16:36 #196067 Reply to:196018
mementototem's picture

อธิบายได้ละเอียดชัดเจนมากเลยครับ แถมยังอ่านเพลินดีอีกด้วย

/คาราวะ 1 จอก


Jusci - Google Plus - Twitter

By: Thaina
Windows
on 26 July 2010 - 17:43 #196082 Reply to:196018

ขอค้านเล็กน้อยครับ ผมเคยได้ยินว่า สมัยโบราณ ยุคกรีก มีการคำนวนทางดาราศาสตร์ที่แม่นยำ และจัดตำแหน่งให้โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์อย่างถูกต้องครับ

จนสมัยโรมันยึดกรีก และมีการเผยแพร่ศาสนา ทำลายวิชาการ(น่าจะเป็นช่วงที่เผาหอสมุดอเล็กซานเดรีย) จึงมีการนำความรู้เรื่องโลกเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาลมาแทนที่(ตามทฤษฎีพระเจ้าสร้างโลก)

ครับ

By: neizod
ContributorTraineeIn Love
on 26 July 2010 - 19:16 #196099 Reply to:196082
neizod's picture

โอ้ ครับผม ความรู้ใหม่เลยครับ ^^

By: baanmaew on 26 July 2010 - 08:33 #196011 Reply to:195944

..

By: neizod
ContributorTraineeIn Love
on 25 July 2010 - 22:38 #195930
neizod's picture

147 ฟุต, 52 ฟุต และ 4.2 ฟุต

เข้าใจว่าคนไทยชินกับหน่วยในระบบเมตริกมากกว่านะครับ ถ้าไม่ลำบากเกินไปจับยัด Wolfram Alpha
แปลงหน่วยพวกนั้นให้เป็นเมตร แล้วเลือกเอาว่าจะเขียนข่าวด้วยหน่วยฟุต แล้ววงเล็บหน่วยเมตรเอาไว้
หรือจะใช้ระบบเมตรทั้งข่าวเลย ส่วนหน่วยฟุตนั้นจะใส่วงเล็บครอบหรือไม่ก็ได้ครับ

12874.8 กิโลเมตร/ชั่วโมง

ใส่ , คั่นตัวเลขทุก 3 ตัวครับ (12,874.8) ยกเว้นกรณีที่มีตัวเลขแค่ 4 ตัว ไม่ต้องใส่ก็ได้
หรือถ้าอยากเขียนให้ออกแนววิทยาศาสตร์จ๋าไปเลย ให้ใช้การเคาะแทน , ครับ (12 874.8)

By: anu
Contributor
on 25 July 2010 - 22:48 #195941 Reply to:195930

กูเกิลก็พอแล้ว "147 feet in meter"

By: neizod
ContributorTraineeIn Love
on 26 July 2010 - 11:15 #196019 Reply to:195930
neizod's picture

ก่อนวงเล็บอย่าลืมเคาะ 1 ครั้งนะครับ ^__^

By: nicnep
Android
on 25 July 2010 - 22:50 #195942

Google Earth ทำเจ๋ง เปลี่ยนเป็น Google Earth เจ๋ง เฉยๆดีไหมครับอ่านครั้งแรกรู้สึกแปลกๆไงไม่รู้(หรือผมคิดมากไปเอง???)

By: idewz
ContributorAndroidUbuntu
on 25 July 2010 - 23:29 #195961 Reply to:195942

รู้สึกเหมือนกัน ตอนแรกอ่านเป็น "Google Earth ทำเจ๊ง!"

By: viroth
ContributorBlackberryIn Love
on 26 July 2010 - 01:21 #195983 Reply to:195961
viroth's picture

เหมือนกันเลย

By: coolmilk
ContributorAndroidWindows
on 26 July 2010 - 08:31 #196009

เป็นข่าวจับผิดกันไปแล้ว อิอิ จะเก็บทุกๆ คอมเมนต์ไว้เป็นประสบการ์ณนะครับ ^^

By: mementototem
ContributorJusci's WriterAndroidWindows
on 26 July 2010 - 16:25 #196066 Reply to:196009
mementototem's picture

สนุก ๆ ครับ อย่าเครียด ; )


Jusci - Google Plus - Twitter

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 26 July 2010 - 17:34 #196081 Reply to:196009
mr_tawan's picture

เป็นเรื่องธรรมชาติของที่นี่ครับ :-)


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: Virusfowl
ContributorAndroidSymbianWindows
on 26 July 2010 - 19:14 #196098

กระทู้ดาราศาสตร์แห่งปี..

คุณ neizod เขียนบล็อกอยู่ที่ไหนหรือเปล่าครับ จะไปตามอ่าน อิๆ


@ Virusfowl

I'm not a dev. not yet a user.

By: neizod
ContributorTraineeIn Love
on 26 July 2010 - 21:57 #196133 Reply to:196098
neizod's picture

เขียนๆ ขาดๆ ครับ 555+
http://neizod.blogspot.com/

By: btxxxx
AndroidWindows
on 27 July 2010 - 09:47 #196260

ดูรูปหน้าแรก นึกว่ามีใครเอารูปปากแบบนี้--> (:3) ไปวาดเล่นซะอีก! มีใครเห็นเหมือนผมไหมเนี่ย ยังกะหน้าหมีหันข้าง (ดูรูปใหญ่ก็เหมือนอยู่ดี)