Tags:
Node Thumbnail

ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ IBM Blue Gene/P ที่ศูนย์วิจัยอาร์กอนน์ติดอันดับ 5 ใน TOP500 ครั้งล่าสุด นอกเหนือพลังประมวลผลที่มากถึง 450.30 เทราฟลอปแล้ว ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ระบบนี้ยังช่วยประหยัดค่าไฟต่อปีได้มากกว่าหนึ่งล้านเหรียญ (เมื่อเทียบกับระบบที่มีสมรรถนะการประมวลผลเท่าๆกัน) สำหรับเคล็ดลับของความสำเร็จนี้ เกิดจากการออกแบบสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และสร้างระบบทำความเย็นที่มีประสิทธิภาพ

Blue Gene/P ใช้พลังงานไฟฟ้าปริมาณต่ำ เพราะว่าใช้โปรเซสเซอร์ที่กินไฟน้อยและทำงานที่ความเร็วสัญญาณนาฬิกาเพียง 850 เมกะเฮิรตซ์ ซึ่งถือว่าช้ากว่าโปรเซสเซอร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ปัจจุบันถึง 3 เท่า * และเพื่อทดแทนความเร็วที่ช้านี้ Blue Gene/P จึงติดตั้งโปรเซสเซอร์ชนิดนี้ถึง 163,840 คอร์ นอกจากนี้ Blue Gene/P เลือกใช้สถาปัตยกรรมแบบซิสเต็มออนชิป ซึ่งมีลักษณะเป็นบอร์ดที่รวมเอาโปรเซสเซอร์ 4 คอร์และวงจรที่สำคัญไว้บนบอร์ดเดียว ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพการประมวลผลและประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ Blue Gene/P ยังมีระบบจัดการพลังงาน โดยงดการจ่ายไฟฟ้าไปที่ชิปและอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้งาน

ศูนย์วิจัยอาร์กอนน์จัดการระบบทำความเย็นของ Blue Gene/P โดยใช้พัดลมแทนเครื่องปรับอากาศ ซึ่งพัดลมดังกล่าวจะใช้ในการไหลเวียนความเย็นที่เกิดจากระบบทำความเย็นด้วยน้ำ ทั้งนี้ อาร์กอนน์มีถังเก็บน้ำเย็นที่ติดตั้งไว้นอกอาคาร หากว่าสภาพอากาศภายนอกอาคารต่ำกว่า 35 องศาฟาเรนไฮน์ จะทำให้ได้น้ำเย็นมาโดยไม่ต้องใช้เครื่องทำความเย็นเลย และประหยัดค่าไฟได้มากถึง 25,000 เหรียญต่อเดือน

* ความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วสัญญาณนาฬิกาของโปรเซสเซอร์และการใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นแบบเอกซ์โพเนนเชียล ดังนั้น ทางออกในการแก้ปัญหาคือ เพิ่มจำนวนคอร์ของโปรเซสเซอร์ แต่ไม่เพิ่มความเร็วให้เกินไปกว่า 4 กิกะเฮิรตซ์ หากสูงกว่านี้ ระบบคอมพิวเตอร์จะใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างมากและสร้างความร้อนที่มากขึ้นตามมาด้วย

ที่มา - EETimes

Get latest news from Blognone

Comments

By: pawinpawin
Writer
on 22 December 2008 - 19:12 #77325

โอ้ เกือบสองแสนคอร์แน่ะ

___________pawinpawin

By: javaboom
WriteriPhone
on 22 December 2008 - 19:53 #77330 Reply to:77325
javaboom's picture

ถ้าหากเป็น IBM Blue Gene/L ที่ติดอันดับ 4 ของTOP500 ครั้งล่าสุด มีทั้งหมด 212,992 คอร์เลยแหละครับ

JavaBoom (Boom is not Java, but Java was boom)
http://javaboom.wordpress.com


My Blog