PromptPay

update: สรรพากรยืนยันไม่บังคับคืนภาษีผ่าน PromptPay เป็นแค่ทางเลือก ยังมีจ่ายเป็นเช็คตามปกติ

กรมสรรพากรแถลงประชาชนยื่นภาษีผ่านเน็ต และผู้ที่จ่ายเกินสามารถรับเงินคืนได้ผ่านระบบ PromptPay

วันนี้ (22 ธันวาคม 2559) กรมสรรพากรออกมาแถลงให้ประชาชนยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2559 รวมถึงสิทธิลดหย่อนต่างๆ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. - 31 มี.ค. 2560 ผ่านอินเทอร์เน็ตเว็บไซต์กรมสรรพากร www.rd.go.th หรือยื่นผ่าน RD Smart Tax Application และผู้ที่จ่ายภาษีเกิน กรมสรรพากรจะคืนภาษีให้ผ่านระบบ PromptPay

นอกจากนี้ยังระบุอีกว่าคนที่ยังไม่ผูกบัญชี PromptPay ให้ทำการลงทะเบียนด้วยหมายเลขบัตรประชาชนกับธนาคารที่ใช้บริการอยู่ อย่างไรก็ตาม จากการโทรศัพท์สอบถามกับกรมสรรพากร ยังไม่มีรายละเอียดแน่ชัดว่าถ้าคนที่ไม่มีบัญชี PromptPay จะคืนภาษีช่องทางใด

นางสาวพัดชา พงศ์กีรติยุต รองอธิบดีกรมสรรพากร
ภาพจาก กรมสรรพากร

ที่มา - จดหมายข่าวกรมสรรพากร ผ่าน @Admod

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

การบังคับให้ใช้บริการแบบนี้ ถือเป็นการผูกขาดทางการค้ารึเปล่าครับ และการบังคับให้ใช้บริการที่ไม่มีความปลอดภัยแบบนี้ เราฟ้องศาลปกครองได้มั้ยครับ

ปล. ต่อต้านแบบนี้คงกลายเป็นคนไม่รักชาติ หรือเป็นแนวทางทำลายความมั่นคงของชาติอีกแน่เลย

ผมไม่เข้าใจว่าทำไมรัฐต้องเป็นโจทย์ รัฐเป็นจำเลขก็ได้คับ
ก็ที่ฟ้องค่าโง่กันสารพัดรัฐก็เป็นจำเลยทั้งนั้นอะครับ

nzangel Thu, 12/22/2016 - 16:40

ไม่ใช่ อย่างมากจำเป็นจริงก็เปิดบัญชี temp ไว้อันเพื่อรับ จบ

promptpay ไม่ปลอดภัยยังไงครับ ตอนแรกผมก็ไม่เชื่อมือรัฐบาลเลยกังวลว่าอาจไม่ปลอดภัย แต่พอศึกษาแล้วตามที่เข้าใจก็แค่เอาบัญชีไปผูกกับเลขบัตรประชาชนและหมายเลขโทรศัพท์ เพื่อให้เวลาจะโอนเงินให้ใครรู้เลขบัตรประชาชนหรือเบอร์โทรก็จะโอนได้เลยไม่ต้องรู้เลขบัญชีแค่นั้น
ตามที่เข้าใจความปลอดภัยเท่าขึ้นอยู่กับธนาคาร วิธีการเบิกเงินถอนเงินโอนเงินยังใช้แบบเดิมคืใช้สมุดบัญชี ebanking หรือ atm เดิมความปลอดภัยยังไง มีpromtpay ก็ไม่ต่างกัน

มีที่น่าเป็นห่วงหน่อยคือรัฐอาจรู้ว่าใครโอนให้เราเราโอนให้ใคร จริงแล้วตอนนี้รัฐถ้าต้องการรู้ก็ทำได้อยู่แล้ว

ในทางหนึ่งมันก็เป็นข้อมูลให้ทำ social engineering ได้ คือ เมื่อก่อน มีแต่เบอร์ จะรู้ชื่อจริงปลายสาย ยากหน่อย แต่ถ้าบังคับ promptPay ปุ๊บ ง่ายขึ้นอีกขั้น

รึถ้าหนักไปกว่านั้น อยากได้รายชื่อหมายเลขบัตรประชาชน พร้อมชื่อ-นามสกุลจริง คนไทยที่สมัครใน promptPay ก็ไม่ยาก

คือสุ่มเลขโทรศัพท์มั่วๆ ขึ้นมา พิมพ์เข้าระบบตู้เอทีเอ็ม ทำท่าเหมือนจะโอนเงินให้ ก็จะรู้ชื่อจริง นามสกุลจริงได้ !?! หรือ สุ่มเลขบัตรประจำตัวประชาชนมั่วๆ พิมพ์เข้าระบบตู้เอทีเอ็ม พิมพ์เข้าระบบตู้เอทีเอ็ม ก็จะได้ชื่อจริง นามสกุลจริง

ทีนี้ก็ทำเป็นตีเนียน โทรไปหาเบอร์เป้าหมาย สร้างความน่าเชื่อถือด้วยการรู้ชื่อ นามสกุลจริง แอบอ้าง หลอกให้โอนเงิน หลอกให้เปลียนรหัสผ่านอีเมล์ สารพัด

คือก็ไม่ได้อะไรหรอกนะ แต่ทำไมต้องประชาชนเอาข้อมูลส่วนตัวที่ไม่มีทางที่จะเปลี่ยนได้อย่างเลขบัตรประจำตัวประชาชนไปลงทะเบียน promptPay เพื่อที่จะให้ถูกทำสำเนาไปเพิ่มเติมนอกจากในสำนักทะเบียนราษฎร์อีกทำไม ซึ่งพอไปอยู่อีกทีคราวนี้มันหลุดไปไหนต่อไหน ชั้นความลับต่ำขนาดไหนก็ไม่มีวันรู้ วันหนึ่งชื่อ นามสกุล พร้อมหมายเลขบัตรฯ มันอาจจะอยู่ในถุงกล้วยแขกขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ ไม่มีใครรับประกันว่าจะไม่เกิด ถามว่า "เรา" ทุกคนต้องจำเป็นต้องแลกความเป็นส่วนตัวกับประโยชน์ที่ไม่ค่อยจะเห็นเด่นชัด ขนาดนั้นเลยรึเปล่า?

ทุกวันนี้ หมายเลขสมุดบัญชี (+ รหัสธนาคาร) หรือแม้แต่ชื่อจริงที่พิมพ์ลงเช็คแลกเงิน ไม่พอจะใช้รับโอนเงินรึไง?

เอาจริงๆ การหาเบอร์มาโทร หาชื่อนามสกุลจริง เดี๋ยวนี้มันก็ไม่ได้ยากขนาดนั้นแล้วนะครับ
จริงๆ ในกรณีPromptpay อาจจะแก้ด้วยการเซ็นเซอร์บางส่วนของชื่อ-นามสกุล ไว้ขณะที่ทำการโอนเงินก็น่าจะช่วยได้เยอะแล้ว จะได้มีแต่คนที่โอนเงินหากันจริงๆที่รู้ว่าชื่อ-นามสกุล ที่ถูกคืออะไร

ถึงยังไง Promptpayมันก็ต้องมาครับ
มันมีข้อดีหลายอย่าง และเด่นชัดด้วย ไม่ว่าจะ
ค่าธรรมเนียมฟรี/ถูกลง
ลดปัญหาการโอนเงินเข้าผิดบัญชี เพราะกดเลขบัญชีผิด และอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก เหมาะแก่คนสูงอายุทั้งหลาย(หวังว่าPromptpayมันจะทำชื่อคนเป็นภาษาไทยด้วยนะ)
โอนเงินหากันง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องจำเลขบัญชี อยากยืมเงินเพื่อนก็แค่โทรหาให้เพื่อนโอนเข้าเบอร์โทรได้เลย ไม่ต้องไปความหาสมุดบัญชี(อย่ายืมโดยไม่จำเป็นและรู้จักคืนเงินด้วย)
ลดการใช้กระดาษ ลดการตัดไม้ ลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับกระดาษลง
ถ้าคนหันมาใช้Promptpayกันหมด พวกมิจฉาชีพที่ชอบหลอกคนโอนเงิน ก็อยู่ยากขึ้น เพราะมันระบุตัวตนบุคคลปลายทางได้ชัดขึ้น เอาเบอร์โทร เลขบัตรไป แจ้งความได้เลย

สิ่งที่Promptpayควรจะแก้ไขก่อเพื่อนเลย คือ หามาตรการมารองรับกรณีเงินโอนแล้วไม่เข้าบัญชีมากกว่า เพราะเงื่อนไขทุกธนาคารปฏิเสธความรับผิดชอบกันหมด
และกรุณาแก้กฏหมายเกี่ยวกับการมอบอำนาจในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลใหม่ซักหน่อยเถอะ ลุงป้าน้าอาผู้สูงอายุโดนธนาคารเอาข้อมูลไปขายกันหมดแล้วเดี๋ยวนี้

ขอตอบทีละข้อ ด้วยความเห็นส่วนตัวผมนะครับ

  1. ค่าธรรมเนียมฟรี/ถูกลง // ข้อนี้ถ้ารัฐอยากส่งเสริมให้ลดค่าธรรมเนียม ก็ให้ธนาคารแห่งประเทศไทยสั่งไปเลยครับ ว่าโอนไม่เกิน 5000 ต้องไม่มีค่าธรรมเนียมทุกธนาคาร
  2. ลดปัญหาการโอนเงินเข้าผิดบัญชี เพราะกดเลขบัญชีผิด // เบอร์โทรศัพท์ก็กดผิดได้นะครับ เลขบัตร ปชช ยิ่งแล้วใหญ่เลยครับ ยาวกว่าเลขบัญชีมาก
  3. และอ่านภาษาอังกฤษไม่ออก // เข้าใจว่าธนาคารทุกแห่งก็มีชื่อสกุลภาษาไทยอยู่แล้วนะครับ แต่บางธนาคารเลือกที่จะแสดงภาษาอังกฤษ ข้อนี้ถ้าแบงค์ชาติต้องการก็สั่งไปได้เลยว่าถ้าเลือกเมนูภาษาไทย ต้องแสดงภาษาไทย ไม่จะเป็นต้องเป็นเฉพาะพร้อมเพย์ครับ
  4. โอนเงินหากันง่ายขึ้น เพราะไม่ต้องจำเลขบัญชี อยากยืมเงินเพื่อนก็แค่โทรหาให้เพื่อนโอนเข้าเบอร์โทรได้เลย ไม่ต้องไปความหาสมุดบัญชี // ข้อนี้จริงครับ เห็นด้วยว่าจะทำให้คนบอกเบอร์ที่จะโอนเข้าได้เลย ไม่ต้องไปหาเลขบัญชี แต่ก็ไม่แน่ใจว่าเรื่องนี้สำคัญและมีประโยชน์มากพอที่จะแลกกับความเสี่ยงอย่างที่ข้างบนว่าหรือเปล่า
  5. ลดการใช้กระดาษ ลดการตัดไม้ ลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับกระดาษลง // ข้อนี้ไม่แน่ใจว่าเกี่ยวกับพร้อมเพย์อย่างไร? เพราะปกติคนก็โอนหน้าตู้ ATM หรือผ่าน Web, App ได้อยู่แล้ว และคนที่เลือกที่จะโอนหน้าเคาท์เตอร์ก็ยังคงโอนหน้าเคาท์เตอร์อยู่ดี
  6. ถ้าคนหันมาใช้Promptpayกันหมด พวกมิจฉาชีพที่ชอบหลอกคนโอนเงิน ก็อยู่ยากขึ้น เพราะมันระบุตัวตนบุคคลปลายทางได้ชัดขึ้น เอาเบอร์โทร เลขบัตรไป แจ้งความได้เลย // ปกติเวลากดโอน ถ้ารู้เลขบัญชีก็รู้ชื่อสกุลอยู่แล้วนะครับ ไม่เกี่ยวกับพร้อมเพย์ อีกอย่างถ้ารู้เฉพาะเลขบัญชี ถ้าแจ้งตำรวจแล้วก็น่าจะสอบถามไปยังธนาคารได้อยู่แล้วนะครับ

เลขประจำตัวประชาชนมันมี checksum อยู่ (หลักที่ 13) ซึ่งถ้าผิดแค่ตัวเดียวมันจะรู้เลยว่าผิด เว้นแต่ผิดแล้วกรอก checksum ตรงกับตัวเลขที่ผิดด้วยครับ อย่างของผมทำงานราชการแล้วต้องยุ่งกับเลขฯ เยอะอยู่ เวลามีใครกรอกผิดแบบนี้จะรู้ทันทีว่าเขากรอกผิดครับ

ผมรู้สึกสงสัยว่าทำไมรัฐถึงพลักดันจัง ระบบก็ทำเร็วมาก มันก็น่าระแวงอยู่นะ
ทำไม่ถึงพยายามให้ใช้จังเลย มันมีอะไรที่รัฐบอกไม่หมดหรือเปล่า
คือ ถ้าต้องการลดการใช้เงินสด ถ้าระบบดีจริง สะดวกจริง ค่าธรรมเนียมถูกจริง คนก็มาใช้เองแหละ ไม่เห็นต้องลดแลกแจกแถมเลยนิ

ผมว่าที่ธนาคารลดแลกแจกแถมกันกระหน่ำขนาดนั้น
น่าจะเพราะว่าบัญชีที่ผูกกับPromptpayมันมีโอกาสที่จะมีเงินไหลเข้ามาสูงครับ(ที่แน่ๆก็พวกคืนเงินภาษี)
น่าจะทำให้ธนาคารมีสภาพคล่องทางการเงินมากขึ้น

และเนื่องจากมันสมัครได้แค่ธนาคารเดียว งานนี้ใครเร็วใครได้ครับ

เอาจริงๆ นะครับ ผมไม่ได้กลัวระบบนี้ (ในระดับนี้น่ะ) ถ้าเป็นรูปแบบรัฐส่งเงินให้คน อย่างมากมีปัญหาเงินไม่เข้าก็ไล่จี้เอา

ที่ผมกลัวคือขั้นต่อไปที่จะทำเป็นระบบชำระเงินระหว่างบุคคล ผมไม่ได้กลัวข้อมูลหลุด ผมกลัวเงินหายแล้วตามกันไม่ได้ครับ ขนาดระบบของธนาคารที่ทำกันเป็นมาตรฐานใช้กันระหว่างประเทศยังมีหลุดโดน Hack แล้วระบบที่ไทยทำขึ้นมาจะรอดได้อย่างไร

ถ้าทำงานกับภาครัฐก็จะเห็นกันว่าในด้าน IT ภาครัฐค่อนข้างจะหละหลวมกันมาก ไม่เหมือนกับฝั่งเอกชนที่รัดกุมและรับผิดชอบมากกว่า (ขนาดรัดกุมกว่ายังมีปัญหาหลุดมาเรื่อยๆ) ผมพึ่งคุยกับรุ่นน้องคนนึงที่ทำงานในธนาคารแห่งหนึ่ง เค้าก็ยังบ่นให้ฟังว่า แบงค์ชาติ ไม่ให้เวลาพัฒนาเลย ธนาคารที่เค้าทำงานอยู่ก็พึ่งเสร็จส่วนที่เป็นรัฐกับคนไปไม่นาน คนรู้จักของผมที่อยู่ในวงการ IT ของธนาคารก็ไม่มีใครอยากเปิดใช้ระบบ PromptPay กัน

ทางที่ผมป้องกันตัว (เพราะยังไงก็โดนบังคับใช้อยู่แล้ว) ก็เลยใช้วิธีผูกบัญชีที่ไม่ค่อยมีเงินไป มีปัญหาเกิดขึ้นก็จำกัดความเสียหายไว้แค่นั้น ไม่มีปัญหาก็ดีไป มองเหมือนกับกระเป๋าเงินอะครับ ปกติก็ไม่ค่อยพกกันเยอะอยู่แล้ว

ไม่อยากใช้ จะฟ้อง
เพื่อนไปสมัครใช้เบอร์โทรและ id card ผูกกสิกร
และ id card ผูกกรุงไทย ได้
ปรากฏว่ากสิกรตอบว่า id card ไม่ได้ เบอร์โทรได้ อย่างงง

ที่ผมกำลังจะสือคือ id card กรุงไทยสมัครผ่าน
กสิกรก็ผ่านแต่เป็นเบอร์โทร
สรุปมีสอง id ที่เพื่อนผมได้รับ msg ตอบกลับจาก กรุงไทย+กสิกร

งงอะครับ มันก็ถูกแล้วหนิครับ

คน 1 คนสามารถสมัคร promptpay ได้โดยผูกกับ id card ได้ 1 id และ เบอร์โทรได้ (จำไม่ได้ว่า 2 หรือ 3 เบอร์)
id card ผูกกับ กรุงไทย ผ่าน
id card ผูกกับ กสิกร ไม่ผ่าน (เพราะไปผูกกับกรุงไทยแล้ว)
เบอร์โทร ผูกกับ กสิกร ผ่าน เพราะเข้าเงื่อนไขใช้เบอร์โทรผูก

มี 2 id ก็ถูกแล้วนี่ครับ ถ้ามีใครโอนเงินให้คุณโดยใช้เลข id มันก็จะไปเข้ากรุงไทย แต่ถ้าเค้าโอนเงินให้คุณโดยใช้เบอร์โทร มันก็ไปเข้ากสิกร

Perl Thu, 12/22/2016 - 16:45

ทุเรศมาก คืนด้วยเช็คแบบเดิมมันจะชักดิ้นหรือไง

พัฒนาไปทางไหนครับ ผมเป็น Developer ผมยังไม่กล้าใช้ระบบ promptpay เลย

เจอโปรแกรมของรัฐหลายตัว ความมั่นใจไม่มีน่ะครับ

งั้นก็ควรตอบคำถามเรื่องความปลอดภัยให้เคลียร์ก่อนนะครับ กรณีแบบนี้มันต่างจากบังคับให้ประชาชนฉีดวัคซีนที่ยังไม่ได้ทดสอบกับคนตรงไหน?

ถ้าคุณใช้ระบบที่ความปลอดภัยต่ำ แถมยังแสดงความโปร่งใสไม่ได้

ผมรับรองว่าคุณ cashless แน่ๆ ครับ

Zeta_G Thu, 12/22/2016 - 17:00

ดีครับ คืนมาเป็นเช็คยังไงก็ต้องเข้าบัญชีอยู่ดี
ก็โอนเงินเข้าบัญชีเลยซิ จะเปลืองกระดาษทำไม

เหตุผลที่ผมยังไม่ใช้ promtpay ในตอนนี้เลย เพราะในรายละเอียดความรับผิดชอบ ธนาคารเขียนไว้ว่าจะไม่รับผิดชอบกรณีเกิดจากความผิดพลาดของ promtpay

.. ถ้าเงินหายแล้วใครจะชดใช้? ฟ้องรัฐ?

ผมคิดว่าถ้าคนที่ไม่ขวางโลก(รัฐบาล)จนเกินไป
ผมก็คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาอะไรนะครับ
แค่ผูกเลขบัตรกับบัญชีสักอันเพื่อเอาไว้เชื่อมต่อกับรัฐ

และยังไม่เข้าใจว่าผูกบัญชีไว้รับเงินเนื่ยมันไม่ปลอดภัยอย่างไร

ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องบังคับกันไปทำไมครับ ถ้าจะบังคับแนะนำว่าออกกฏหมายครับ ทำแบบนี้มันเรียกว่าละเมิดสิทธิ์

เงื่อนไขของระบบ PromptPay คือ ธนาคารจะไม่รับผิดชอบใดๆ ถ้าเป็นความผิดพลาดของระบบ แค่เงื่อนไขนี้ผมก็ไม่พิจารณาที่จะทำ PromptPay แล้วหล่ะครับ

ผมไม่ขวางโลกนะ คิดจะผูกเหมือนกัน ปัญหาของผมคือ
รอให้ระบบมันทำงานไปก่อน เพื่อดูว่าไม่มีข้อผิดพลาดอะไร ถ้าระบบมันทำงานกันง่ายๆ แค่โอนเงินเข้ามันจะมีปัญหาอะไรนักหนา รัฐก็คงไม่ประกาศเลื่อนเปิดตัวหรอกครับ
รอให้พนักงานมีความรู้เรื่องพวกนี้ก่อน ไม่ใช่ถามอะไรไปรอถามนู้นนี่ เวลาสอบถามอะไรจะได้ตอบเร็วๆ ชัวร์ๆ (บางเรื่องที่คุยผมขอจดชื่อ พนง. วันเวลาและสรุปความเรื่องที่คุยไว้ด้วยครับ) เข้าใจว่ามีเทรนแต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงกับการเทรนมันไม่เหมือนกัน

อีกอย่างก็ไม่รู้จะบังคับใช้กับไปทำไม จำนวนคนที่สมัครใช้ก็ไม่ใช่น้อยก็น่าจะรันระบบได้แล้ว ถ้าเกิดอะไรขึ้นมาจะได้ไม่กระทบเยอะ
หรือว่าธนาคารเค้ามีทำทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างภายนอกไปแล้ว แต่ผมไม่รู้ข่าว

ทั้งนี้ทั้งนั้นผมก็ไม่ได้มองว่าตัวระบบมันมีปัญหานะ แค่รอให้มันเข้าที่เข้าทางก่อน

ระบบเรื่องเงินเนี่ยเป็นอะไรที่ไม่ควร bleeding edge สุด ๆ เลยครับ

มีคนจ้องจะเล่นงานตลอดเวลา ระบบต้องถูกทดสอบรัดกุมและมีความปลอดภัยมากพอ ส่วนตัวยังไม่เคยเห็นวิธีการทดสอบและผลการทดสอบก็เลยยังไม่ค่อยอยากจะไว้ใจครับ

วันนี้เพิ่งมีเมล์ส่งมาพยายามจะ spoof email บริษัทอยู่เลย (ฮา) ถ้า information security ไม่เก่งพออาจจะซวยกันหมดได้

แต่ถ้าเอาแบบแค่เอาไว้รับส่งเงินเป็นบัญชีชั่วคราวก็โอเคนะ ทำแบบจำใจทำน่ะครับ แบบรับเสร็จปุ๊บเรียบร้อยปิดบัญชีแล้วค่อยเปิดใหม่ตอนจำเป็นต้องรับใหม่ (ฮา)

แพลตฟอร์มการเงินจำเป็นต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านน่ะครับ ถ้าไม่มั่นใจจริง ๆ ไม่ควรใช้ อย่างเห็นเว็บอะไรสักอย่างสร้างระบบรับจ่ายเงินเองแล้วก็โดนขโมยข้อมูลไปยกชุดเลย

อย่าลืมอีกอย่างว่าตราบใดเรายังใช้ "สำเนาบัตรประชาชน" อยู่ อะไรก็ตามที่สามารถนำทางไปหาสำเนาที่ว่าได้ก็ไม่ปลอดภัยทั้งนั้นครับ

เรื่อง spoof email นี่ก็ทำให้นึกไปถึงเรื่องที่สังเกตมานานคือ อีเมลจากธนาคารไทยบางเจ้า ทำไมไม่มี dkim signature ซึ่งมันออกแบบมาให้ลด phishing, แถมบางเจ้า ตัว MTA ไม่มี TLS อีก ... หรือผมเข้าใจอะไรผิด (เช่น ใส่ไปก็งั้นๆ แหละ แฮ็กเกอร์ก็ปลอมเมลได้อยู่ดี เลยไม่ทำดีกว่า 5555)

รูปอ้างอิง

tanit9999 Thu, 12/22/2016 - 18:04

ไม่มี prompt pay ไม่ขอจ่ายภาษีบ้างได้มั้ย แบบว่าไม่รู้จะจ่ายยังไงดี

ถ้าออกมาแบบนี้ล่ะ
ไม่รู้จะจ่ายยังไง->สมัครสิครับผมว่าคนที่เสียภาษีทุกคนมีสิทธิ์สมัครและใช้งานพร้อมเพย์
ดังนั้นผู้มีหน้าที่เสียภาษีทุกคน จำเป็นต้องมีหน้าที่สมัครพร้อมเพย์เพื่อเสียภาษี

สำหรับบาง คห. ที่บอกว่าไม่ไว้ใจความปลอดภัย เลยไม่สมัคร
จริงๆแล้วมันกลับกันนะครับ ควรจะสมัครมากกว่า

สาเหตุเพราะ PromptPay ในเคสนี้ มันคือการผูกเลขบัตรประชาชน กับบัญชีเงินฝากของเรา
ซึ่งถ้าผมมองโลกแง่ร้ายสุดๆ ไม่ไว้ใจ security สุดๆ จริงๆผมควรชิงสมัครไว้ก่อน เพราะบัตรประชาชน 1 ใบ ผูกกับบัญชีได้ 1 บัญชีเท่านั้น
ดังนั้นถ้ามองแง่ร้าย อาจจะมีคนร้ายแอบเอาบัตรประชาชนเราไปผูกกับบัญชีของเค้า ทำให้เงินที่สรรพากรจะคืน ไปเข้าคนอื่นแทน ซึ่งแบบนี้แย่กว่าการที่ไม่สมัครเลยอีกครับ อย่างน้อยสมัครไว้ เงินก็ไม่หายไปไหน

แต่จริงๆสำหรับคนที่ไม่ไว้ใจ security แนะนำให้อ่านข้อมูลเพิ่มจาก blognone หรือ website ธนาคารต่างๆที่ให้ความรู้เพิ่มเติมดีกว่าครับ เพราะมันไม่ได้มีปัญหาอะไรขนาดนั้น โดย concept มันเป็นแค่ key ผูกบัญชี นอกจากเลขที่บัญชีเอง

การใช้หมายเลขโทรศัพท์มือถือเป็น key เพื่อเอาชื่อนามสกุลจริงของใครก็ได้ก็เอาไปทำ social engineering ได้หลายอย่างนะครับ

สรรพากรใช้เลขบัตรประชาชนพวกเราในการโอน promptpay เข้าครับ
ดังนั้นไม่ต้องสมัครมือถือก็ได้ ถ้าห่วงเรื่องนั้น

พูดอะพูดได้ครับ แต่เวลาไปสมัครจริงไม่มีธนาคารไหนยอมให้สมัครด้วยเลขบัตรอย่างเดียวโดยไม่มีเบอร์โทรครับ

ถ้ามี ธ ไหนยอมบอกด้วยนะครับจะรีบไปสมัครเลย

ตอนนั้นไปเปิดธนาคารไหนหรอครับ ที่เค้าไม่ยอม เพราะแบ๊งสีใหญ่ยอมหมดครับ
ถ้าธนาคารไหนไม่ยอมให้สมัครด้วยบัตรประชาชนอย่างเดียว บอกด้วยครับ จะได้เอาหลักฐานร้องเรียนไปเลย

หมายความว่า ต้องรีบไปสมัครเพราะควรกลัวว่าคนอื่นจะเอาเลขของเราไปสมัครแทน งั้นหรือครับ
ทำซะผมนึกว่าเป็นบัญชี hotmail ที่ต้องรีบสมัครชื่อที่ตัวเองชอบกันคนอื่นมาแย่งเลย

ถ้าเป็นแบบนั้น ทำแบบนั้นได้ ผมว่ายิ่งไม่น่าใช้ใหญ่เลยนะครับ แสดงว่า Security ในการสมัครขั้นแรกก็ไม่ปลอดภัยซ่ะแล้ว

เลขบัตร - ถ้าชื่อเจ้าของบัญชีไม่ตรงกับชื่อเจ้าของเลขบัตร ธนาคารไม่น่าจะให้สมัครนะครับ (หวังว่าธนาคารคงมีระบบตรวจสอบกับทะเบียนประชากร ว่าเลขบัตรนี้ชื่อนามสกุลอะไร)
เบอร์โทร - เวลาสมัครน่าจะต้องมี SMS ยืนยันนะครับ (ผมยังไม่ได้สมัคร เลยไม่รู้ แต่หวังว่าคงจะต้องมี)

เปิดทดลองให้ใช้สักปีก่อนไหม แล้วค่อยมาบังคับกัน ระบบเป็นไง ความปลอดภัยเป็นไง
เอาเถอะผมต้องจ่ายเพิ่มอยู่แล้วไม่ได้ขอคืน 555

เหมือนกัน ปล่อยให้หนูลองยารับกรรม(ที่ไม่ได้ก่อ)กันไปก่อน

ส่วนผม... แค่เรื่องสวมเบอร์กับช่องโหว่ protocol SS7 ทำผมเลิกคิดเรื่องสมัครไปเลย

ผมเคยเห็นข่าวเก่าสรรพากรก็เคยบอกตั้งนานแล้วว่าจะคืนภาษีผ่านทาง Prompt Pay โดยคนที่ไม่มี Prompt Pay ก็จะคืนผ่านทางเช็คธนาคารเหมือนเดิม ล่าสุดก็ออกมายืนยันว่า Prompt Pay พร้อมแล้ว เพราะได้ทดลองกับบริการภาครัฐไปหลายอย่างแล้วเท่านั้นเอง

ผมสมัคร Prompt Pay ไปแล้ว จะได้รับเงินคืนสะดวก ไม่ต้องเสียเวลารอเช็ค แลัวยังต้องเสียเวลาเอาเช็คไปเข้าธนาคารอีก

เรื่องความกังวล คงอยู่ที่เหตุผลของแต่ละคนหล่ะครับ
กังวลมาก ก็อย่าเพิ่งสมัคร
กังวลน้อยหน่อย ก็ผูกกับบัญชีย่อย
ไม่กังวลเลย ก็สมัครไป

ส่วนผมสมัครไปแล้วครับ

เงินก็เงินเรา...ให้หักก่อนก็ดีแล้ว
หักเกินก็ควรรีบคืน...มาลีลาช่องทางนั้นช่องทางนี้
ถ้าไม่คืนก็โจรดีๆ นี่เอง

ROBONIN Fri, 12/23/2016 - 04:32

เท่าที่รู้ ระบบนี้มันช่วยในการรับเงินจากรัฐ
ประเภทที่ว่าเงินจ่ายทันทีและได้ตรง
เช่นเงินช่วยเหลือต่างๆ เงินยังชีพเบี้ยคนชราหรืออื่นๆ

คือ สมัยนี้มันมีการทุจริตแบบเอาเงินรัฐไปจากส่วนกลางลงพื้นที่
ใช้ในการช่วยเหลือ แต่พอเงินลงไปพื้นที่
มันก็จะมีพวกทุจริตไม่จ่ายชาวบ้าน หรือจ่ายแล้วเงินไม่ได้เต็มหักค่าหัวคิวกินเอง
เช่นรัฐให้ไป 2000 พอคนไปรับบอกว่าได้คนละ1500นะ รัฐให้มาเท่านี้
แต่จริงๆกินเองไปส่วนนึง หรือไม่ก็พวกที่ไม่ยอมจ่ายเงินแจกชาวบ้านสักที
เงินไปหมักในธนาคารกินดอกเบี้ย

ระบบนี้แทนที่จะให้มีการจ่ายผ่านเจ้าหน้าที่หรือคนกลาง แล้วไปเซ็นกันที่ปลายทาง
ซึ่งเซ็นแล้วไม่รู้ว่าเงินถึงจริงมั้ย เพราะบางที่บอกให้เซ็นก่อนเงินจะตามมา
หรือบางที่จ่ายเช็ค ปรากฎว่ามีการเอาเจ้าหน้าที่ธนาคารมาขึ้นเงินกันตรงนั้น
และหักหัวคิว ณ ตอนนั้นเลย

ระบบช่วยให้มันก็ไปถึงมือผู้เดือดร้อนหรือผู้รับโดยตรงเลย
ทั้งยืนยันได้ด้วยว่าใช่บุคคลคนนั้นแน่นอน โดยใช้เลขบัตร
เพราะชื่อ-สกุลเหมือนกันมีกันได้ และใช้บัญชีธนาคารนั้นแน่ๆในการรับเงิน
เพราะคนเราก็มีบัญชีหลายธนาคาร บางอันเลิกใช้แล้วแต่ไม่ปิดบัญชี

ส่วนเรื่องผูกติดเบอร์โทร ผมว่ามันเป็นการยืนยันตัวตนอีกที
ถ้ามีการสวมสิทธิ์ปลอมมาเปิดบัญชีธนาคาร
เบอร์โทรก็จะเป็นตัวที่ใช้ยืนยันอีกกรณีเมื่อมีปัญหา

นั่นแหละข้อดีของระบบนี้
เงินต่างๆของระบบนี้ได้ตรงจากรัฐไม่เสียเวลาขึ้นเงิน
ส่วนตัวผมคิดว่าสมัครไว้ไม่เสียหาย
เพราะเป็นช่องทางไว้รับตังค์แบบไม่เสียเวลา

อันนี้คงนอกเนื่อง promptpay ไป (ซึ่งผมก็ไม่เข้าใจว่ารัฐบาลจะเอามารวมกันทำไม)

คือการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์มันไม่ใช่สิ่งแปลกประหลาดที่คนไทยไม่เคยเห็น รัฐบาลบอกว่าจะไม่จ่ายเงินสด แต่จะโอนเท่านั้น วันนี้ก็ทำได้ ไม่ต้องใช้ promptpay ไปลงทะเบียนก็ลงหมายเลขบัญชีด้วยก็เท่านั้น

ปัญหาเดิมที่คุณว่ามันก็มีเหมือนเดิม คนได้สิทธิ์แต่ไม่มีบัญชี หรือไม่สะดวกรับเงินผ่านบัญชีธนาคาร (ประเภทมีบัญชีนิ่งๆ ไปฝากปีละครั้ง) สุดท้ายต้องจ่ายเงินผ่านตัวกลาง จะมีกี่ promptpay มันก็ไม่ได้แก้ปัญหา คนพื้นที่ห่างไกลหรือมีปัญหาอื่นเข้าถึงบริการธนาคารไม่ได้ก็ต้องแก้ไป ไม่ใช่เปิดบริการใหม่แล้วฝันเอาดื้อๆ ว่าปัญหาจะหายไป

เรื่องผูกเบอร์โทรตรงกันข้ามกับทุกคุณอธิบาย มันเป็นการเพิ่มจุดเสี่ยงในระบบอย่างชัดเจน แทนที่จะโจมตีบริการธนาคาร (ไปหลอกเปิดบัญชีในชื่อคนอื่น) ก็สามารถไปหลอกผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือแทน (การขโมยเบอร์มีข่าวเนืองๆ) แม้ความเสี่ยงไม่สูงมาก แต่มันเป็นการ "เพิ่ม" ไม่ใช่ "ลด" ความเสี่ยง การบอกว่ามันสะดวกขึ้นก็เข้าใจได้ แต่คุ้มความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นไหมก็ต้องมาถกกันต่อไป

Ktnoiy Fri, 12/23/2016 - 05:51

งง? ระบบไม่ปลอดภัยยังไงหรอครับ??
การ register promptpay ก็แค่เป็นการเอาเลขประจำตัวประชาชนไปผูกกับเลขที่บัญชีเราเพื่อให้สามารถรับเงินโอนด้วยเลขประจำตัวประชาชนได้ มันเป็นฝั่งรับเงินอย่างเดียวนะครับ ไม่มีสิทธิ์ถอนหรือโอนออกไปไหนด้วยการใช้เลขนี้ จะถอนก็ต้องใช้สมุดบัญชี หรือบัตร ATM ตามเดิม แล้วกลัวอะไรกัน? กลัวไม่ได้รับเงิน? งั้น promptpay ตอบโจทย์แน่ๆ

การที่รัฐเช่นสรรพากรโอนเงินด้วยเลขประจำตัวประชาชนก็เพื่อให้แน่ใจว่าเงินเข้าถูกคนแน่ๆเพราะเลขประจำตัวประชาชนเป็น unique สำหรับคนๆนั้น ยังไงโอนด้วยเลขประจำตัวประชาชนก็โอนเข้าให้ถูกคนแน่ๆ อย่าลืมว่าการยื่นภาษีบางคนก็ให้คนอื่นยื่นให้ แล้วถ้าเค้าแจ้งเลขที่บัญชีเค้าเองแต่บอกว่าเป็นเลขที่บัญชีคุณแล้วพอสรรพากรโอนเข้าบัญชีนั้นแล้วเอาเงินคุณไปจะทำยังไง (อย่าลืมว่าสรรพากรไม่มีทางตรวจได้ 100% ว่าเลขที่บัญชีนั้นเป็นของคนที่ได้คืนภาษีแน่ๆ และเคยมีเคสที่ก่อนหน้านี้สรรพากรก็เคยคืนภาษีด้วยวิธีการโอนเข้าบัญชีแต่ปรากฏว่าเจ้าหน้าที่สรรพากรทุจริตแอบเปลี่ยนเลขที่บัญชีในคำสั่งโอนเงินให้ธนาคารจนเกิดความเสียหายทำให้สรรพากรกลับมาคืนภาษีด้วยเช็คแบบเดิม) ดังนั้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ประชาชนในการได้รับเงินคืนภาษีอย่างรวดเร็วแทนการที่เราจะต้องรอเช็คจากสรรพากรมาส่ง แล้วก็ต้องเอาเช็คไปขึ้นอีก สรรพากรจึงจะใช้วิธีการโอนเงินและการโอนเงินที่จะแน่ใจได้ว่าเงินเข้าตรงตามบุคคลที่มีสิทธิ์จะได้คืนภาษีจริงก็คือการโอนผ่าน promptpay ที่ลงทะเบียนด้วยเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น (สรรพากรไม่ได้จะโอนด้วยเบอร์มือถือ)

ปล.ผมไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่สรรพากรเด้อ แต่เข้าใจในเหตุผล

ผมคิดว่าคุณกำลังสับสนระบบนะครับ ถ้าจะถามต้องถามว่า คุณเคยเห็นข่าว Clearing House (บริษัท NITMX) โดนแฮครึเปล่าครับ? อันนี้คือบริษัทที่เป็นผู้ Implement ระบบ Promptpay (และระบบโอนเงินต่างธนาคารที่พวกเราใช้กันอยู่แล้วทุกวันนี้) เลยครับ

ซึ่งคำตอบคือไม่เคยนะครับ เพราะมันไม่เคยเกิดขึ้น ก็น่าจะเป็น Track Record หนึ่งที่เอามาใช้พิจารณาได้นะครับ

คนที่ไม่ใช้ promtpay ก็คืนเงินผ่านเช็คเหมือนเดิมไง นั่งดูข่าวอยู่เมื่อคืน

เป็นครั้งแรกที่ผิดหวังชาว blognone

ณ เวลาที่แถลง (บ่ายสาม) ไม่มีข้อมูลนี่ครับ โทรไปสอบถามตามหมายเลขที่ให้ไว้ในจดหมายข่าวก็ไม่ได้ข้อมูล

ส่วน "เมื่อคืน" จะมีข่าวเพิ่มเติมอย่างไรก็บอกกันได้ครับ ว่าข่าวจากไหน

ข่าวเพิ่งออกอัพเดทวันที่ 23 ข่าวข้างบนออกวันที่ 22

หากเช็คกับแหล่งข่าว ณ วันที่ 22 ก็ไม่มีบอกว่าจะออกเป็นเช็ค เพิ่งมีแจ้งเพิ่มเติมวันที่ 23 นี้เอง

ปัญหาจริงๆ ของราชการไทย ที่แก้ไม่เคยหายเลย คือไม่มีความเป็นมืออาชีพในการแถลงข่าว
แถลงทุกครั้ง ไม่เคยครบใจความสำคัญเลย คลุมเคลือ ให้คิดไปต่างๆ นานาเองทุกครั้ง
ขนาดออกเป็นเอกสาร official ยังไม่ได้ใจความเลย

ตกลงปีนี้ 'เพิ่ม' วิธีการคืนภาษีด้วย พร้อมเพย์ ให้มันเร็วกว่า จ่ายเช็คแบบเดิม แล้วยังมีระบบเช็คอยู่ตามเดิม
หรือ ไม่จ่ายเช็ค ตัดออกจากระบบไปเลย
ในกรณี ที่ยื่นผ่าน web และ App ของ RD.go.th

แล้วถ้ายื่นเอง เป็นเอกสาร
คืนผ่านพร้อมเพย์ ด้วยมั้ย ?

4 บรรทัด พิมพ์ ไว้หน้าแรก web RD.go.th ตัวใหญ่ๆ ไม่เป็นหรือไง ?
จะถ่ายรูปการประชุม ลง web ราชการเพื่อให้ประชาชนเอาไปปริ๊น แปะผนังบ้านเล่นเหลอ ?

ทางนั้นรัฐขอตรวจสอบไม่ได้ ไม่รู้เส้นทางการเงิน เป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติคับ ชาวคนดีเข้าไม่ทำกัน

แล้วเมื่อไหร่ PromptPay จะใช้ได้สักที ว่าแต่ตอนใช้อย่าให้มีแบบ เงินต้นทางโดนตัดแต่ปลายทางไม่ได้รับนะครับ ไม่รู้จะไปตามที่ไหนเลยนะ

ส่วนเรื่องคืนภาษี ก็เพิ่มค่าธรรมเนียมไปตามช่องทางที่จ่ายนั่นหล่ะอยากได้เต็มก็ใช้ PromptPay ก็แค่นั้น

จริงๆพร้อมเพย์เป็นเทคโนโยลีที่น่าสนใจและมีประโยชน์นะครับ ผมก็ไม่ต่อต้านแต่อยากให้จะให้เทสรันไปสักพักแล้วค่อยสมัครแต่นี่สงสัยคงต้องทำแล้วแฮะ เหอๆ แต่หลายคนที่ก็อคติจนเกินไปโยงเรื่องอื่นมาเข้ากับเรื่องนี้ทั้งๆที่เรื่องนี้ก็มีข้อมูลออกมาให้ศึกษาเยอะแยะแม้แต่ในเวปนี้ ตลกดีนึกว่าคนที่นี่น่าจะมีวิจารณญานสูงเรื่องเทคโยโลยีกว่าที่อื่น

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find My Device
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png
Airbnb
public://topics-images/airbnb.png
PS5
public://topics-images/ps5.png
Krafton
public://topics-images/krafton.png
Doom
public://topics-images/doom-game-s_logo.svg_.png
AMD
public://topics-images/amd_logo.svg_.png
GTA
public://topics-images/gta_0.png
DoorDash
public://topics-images/doordash.png
YouTube
public://topics-images/yt.png
YouTube Music
public://topics-images/yt-music.png
Facebook
public://topics-images/fb.png
iQiyi
public://topics-images/iqiyi_0.png
Viu
public://topics-images/viu.png
Amazon Prime Video
public://topics-images/prime-vid.png
Spotify
public://topics-images/spotify.jpg
Apple TV
public://topics-images/apple-tv.png
HBO Max
public://topics-images/max.png
Threads
public://topics-images/threads.png
Alexa
public://topics-images/alexa.png
Kindle App
public://topics-images/kindle.png
Shopee
public://topics-images/shopee.png
Waze
public://topics-images/waze.png
Bilibili
public://topics-images/bili.png
Google Maps
public://topics-images/maps.png
Apple Music
public://topics-images/apple-music.png
Claude
public://topics-images/claude.png
TikTok
public://topics-images/tiktok.png
Xbox
public://topics-images/xbox.png
Tesla
public://topics-images/tesla.png
Chrome
public://topics-images/chrome.png
Google Calendar
public://topics-images/gcal.png
Google Home
public://topics-images/ghome.png
Google Meet
public://topics-images/meet.png
NotebookLM
public://topics-images/notebooklm.png
Reddit
public://topics-images/reddit.png
Assassin’s Creed
public://topics-images/ac.png
Mark Zuckerberg
public://topics-images/zuck.jpg
Meta
public://topics-images/meta.png
Meta AI
public://topics-images/meta-ai.png
Epic Games
public://topics-images/epic_games_logo.svg_.png
Unreal
public://topics-images/unreal_engine_logo-new_typeface-svg.png
Fortnite
public://topics-images/fortnite.png
DeepMind
public://topics-images/deepmind.png
Databricks
public://topics-images/databricks.png
Netflix
public://topics-images/netflix-logo.png
Microsoft Azure
public://topics-images/azure.png
Microsoft Copilot
public://topics-images/microsoft_copilot_icon.svg_.png
Bing
public://topics-images/bing.png
EA
public://topics-images/ea.png
Intel
public://topics-images/intel.png
Amazon
public://topics-images/amazon.png
AWS
public://topics-images/aws.png
Zoom
public://topics-images/zoom.png
Dropbox
public://topics-images/dropbox_0.png
Roblox
public://topics-images/roblox.png
Dell Technologies
public://topics-images/dell-tech.png
Nothing
public://topics-images/nothing.svg_.png
Microsoft Teams
public://topics-images/teams.png
Mojang
public://topics-images/mojang.png
Minecraft
public://topics-images/minecraft.png
Redis
public://topics-images/redis_logo.svg_.png
Ubisoft
public://topics-images/ubisoft_logo.svg_.png
Elden Ring
public://topics-images/elden.png
Brave
public://topics-images/brave.png
Opera
public://topics-images/opera.png
Vivaldi
public://topics-images/vivaldi.png
Microsoft Edge
public://topics-images/edge.png
Duolingo
public://topics-images/duolingo.png
LinkedIn
public://topics-images/linkedin.png
Canva
public://topics-images/canva.png
Realme
public://topics-images/realme.png
NASA
public://topics-images/nasa-logo.png
Booking.com
public://topics-images/booking.png
Agoda
public://topics-images/agoda.png
Bolt
public://topics-images/bolt.png
Grab
public://topics-images/grab.png
Temu
public://topics-images/temnu.png
LINE
public://topics-images/line.png
Facebook Messenger
public://topics-images/messenger.png
WhatsApp
public://topics-images/whatsapp.png
Telegram
public://topics-images/telegram.png
Signal
public://topics-images/signal.png
X.com
public://topics-images/x.png
Grok
public://topics-images/grok.png
xAI
public://topics-images/xai.png
CapCut
public://topics-images/capcut.png
Edits
public://topics-images/edit.png
Google One
public://topics-images/gone.png
Tinder
public://topics-images/tinger.png
Whoscall
public://topics-images/whoscall.png
OneDrive
public://topics-images/onedrive.png
Lightroom
public://topics-images/lr.png
Meitu
public://topics-images/meitu.png
Outlook
public://topics-images/outlook.png
Excel
public://topics-images/excel.png
PowerPoint
public://topics-images/ppt.png
Microsoft Word
public://topics-images/word.png
Phone Link
public://topics-images/phone-link.png
OneNote
public://topics-images/onenote.png
Windows App
public://topics-images/windows-app.png
Notion
public://topics-images/notion.png
Google Drive
public://topics-images/drive.png
YouTube Kids
public://topics-images/yt-kids.png
Gboard
public://topics-images/gboard.png
DeepSeek
public://topics-images/deepseek_logo.svg_.png
Prince of Persia
public://topics-images/prince-persia.png
Sony
public://topics-images/nq0nd2c0_400x400.jpg
Tencent
public://topics-images/z4xi4oyc_400x400.jpg