Motorola

ตามสัญญาครับ หลังจาก Motorola เปิดตัว RAZR อย่างเป็นทางการในประเทศไทย ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมก็ได้รับเครื่องมารีวิวเรียบร้อย

ตอนแรกก็เขียนสั้นๆ เป็นมินิรีวิว แต่เอาไปเอามายาวกว่าที่คิด อย่างไรก็ตามจะพยายามให้สั้นกระชับได้ใจความมากที่สุดครับ ประเด็นสเปกเครื่องคงไม่ต้องฉายซ้ำให้เสียพื้นที่ ยุคสมัยของอินเทอร์เน็ต เพียงแค่คลิกไปที่เว็บ Motorola หนึ่งครั้งก็เห็นสเปกเครื่องโดยละเอียดกันหมดแล้ว เข้าประเด็นส่วนของรีวิวกันเลยดีกว่า

กล่องและอุปกรณ์ที่มาพร้อมกับเครื่อง

เราจะพูดถึงตรงนี้กันสั้นๆ RAZR มาในกล่อง 2 ชั้นสวยงาม กล่องถือว่าค่อนข้างใหญ่เทียบกับมือถือสมัยนี้ อุปกรณ์ที่แถมมาให้มีสายชาร์จ/Micro USB และชุดหูฟังมาตรฐาน นอกจากนี้มีคู่มือเล่มเล็กๆ มาให้อีก 2 เล่ม

ตามสเปกของ RAZR รองรับ 3G WCDMA บนคลื่น 850/2100/1900/900 ผมลองกับ DTAC 3G ก็ใช้งานได้ดีไม่มีปัญหาอะไรครับ (แถมตอน DTAC ล่มดันใช้งานได้ด้วยนะ)

ฮาร์ดแวร์และดีไซน์ภายนอก

Motorola RAZR เป็นฮาร์ดแวร์ในตระกูล Droid (ซึ่งเป็นชื่อทางการค้าของ Verizon ในสหรัฐ ดังนั้นการทำตลาดนอกสหรัฐจะใช้ชื่อว่า RAZR เฉยๆ ไม่ใช่ Droid RAZR) ทำให้การออกแบบภายนอกของมันยังคงสไตล์ของ Droid นั่นคือเข้มแข็ง บึกบึน เน้นโทนสีดำและโลหะสีเงิน อารมณ์เหมาะสำหรับผู้ชายมากกว่าผู้หญิง

อย่างไรก็ตาม RAZR ถือว่าพัฒนามาจากมือถือรุ่นพี่ในตระกูล Droid ตัวอื่นๆ (โดยเฉพาะ Droid 1/Milestone) คือเน้นการตกแต่งภายนอกมากขึ้นกว่าเดิม ดูไม่ geek มากเหมือนกับ Milestone ในอดีต

จุดขายสำคัญของมันอยู่ที่ความบาง ซึ่งบางเพียง 7.1 มิลลิเมตร (ไม่รวมส่วนหัวที่ปูดออกมาเป็นกล้อง) ถือว่าบางที่สุดของสมาร์ทโฟนในปัจจุบัน ตอนแรกผมดูรูปก็เฉยๆ แต่พอได้จับของจริงแล้วก็ต้องยอมรับแต่โดยดีว่า มันบางจริงๆ แฮะ

เนื่องจากผมไม่มีมือถือตัวอื่นมาเทียบ ก็ขอเทียบกับ Nexus S ที่ใช้อยู่แล้วกันนะครับ จะได้พอเห็นภาพ แต่ก็อย่างที่บอกไปว่าดูภาพมันเฉยๆ พวกนี้มันต้องลองจับเอง

ด้านหน้าของตัวเครื่องเป็นจอ Super AMOLED ขนาด 4.3 นิ้ว ความละเอียด 960x540 (16:9) สีสันสวยงาม ใช้ Gorilla Glass แข็งแกร่งบึกบึน ในวิดีโอโฆษณาของ Motorola บอกว่ามันกันน้ำหกใส่ได้ด้วยแต่อันนี้ผมก็ไม่กล้าลองน่ะนะ

ด้านบนของหน้าจอด้านหน้า เป็นโลโก้ Motorola ในแผ่นโลหะ นอกจากนี้ยังมีกล้องหน้าและ proximity sensor แต่จุดที่น่าสนใจคือมันมีไฟ LED แสดงสถานะการแจ้งเตือนด้วย (ยุคสมัยของ LED notification กำลังจะกลับมา?)

ปุ่มควบคุมด้านล่างของตัวเครื่อง เป็น 4 ปุ่มมาตรฐานของ Android และรูเล็กๆ สำหรับไมโครโฟน ปุ่มเหล่านี้ยังไม่ใช่ปุ่มบนหน้าจอเหมือนกับ Galaxy Nexus ต้องรอดูว่ามือถือรุ่นต่อไปของ Motorola (จริงๆ ก็ยี่ห้ออื่นทั้งหมด) จะเดินรอยตาม Galaxy Nexus ในเรื่องนี้หรือไม่

ปุ่มต่างๆ ของตัวเครื่องจะอยู่ที่ขอบด้านขวามือทั้งหมด ซึ่งก็มีแค่ 3 ปุ่มตามมาตรฐานมือถือสมัยใหม่ นั่นคือ power และ volume up/down

ขอบด้านซ้ายของตัวเครื่องมีบานพับสำหรับใส่ซิมการ์ดและ Micro SD อยู่ สำหรับ RAZR นี่ต้องใช้ Micro SIM นะครับ

พอร์ตเชื่อมต่อต่างๆ จะอยู่ด้านบนของตัวเครื่อง ซึ่งก็มี Micro USB, Micro HDMI (ไม่ได้ให้สายมาด้วย) และช่องเสียบหูฟัง ส่วนด้านล่างของตัวเครื่องมันบางมากจนใส่พอร์ตอะไรไม่ได้เลย

ด้านหลังของตัวเครื่อง ส่วนบนคือกล้อง 8MP พร้อมแฟลช และลำโพง (ซึ่งเสียงดังมากจนผมตกใจหลายรอบเวลามีเมลเข้า ถือเป็นมือถือที่เสียงดังมาก) ส่วนที่เห็นลายๆ ด้านล่างเป็นจุดขายอย่างที่สองของการออกแบบภายนอก มันคือ "เคฟลาร์" (Kevlar) วัสดุสังเคราะห์ที่มักใช้ในเสื้อเกราะกันกระสุนหรืออุปกรณ์ทางการทหาร ป้องกันรอยขีดข่วนได้เต็มรูปแบบ

การเลือกใช้เคฟลาร์ถือเป็นทิศทางที่น่าสนใจของ Motorola ประโยชน์ของมันคือสามารถป้องกันรอยขีดข่วนด้านหลังได้โดยไม่ต้องใส่เคส (โดยเฉพาะกรณีผู้ชายใส่มือถือไว้ในกระเป๋ากางเกง ร่วมกับกุญแจ)

ว่าแล้วเราก็ลองข่วนกันเสียหน่อย ไม่มีร่องรอยจริงตามโฆษณาครับ (เพียงแต่ประโยชน์จริงๆ ของมันอาจไม่เยอะมากนัก ถือเป็นกิมมิคทางการออกแบบเสียมากกว่า)

<embed src="http://www.youtube.com/v/0JU9t5uUOhI?version=3&feature=player_detailpage" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="360">

RAZR นี่ ถอดแบตไม่ได้ นะครับ เหตุผลเดียวกับที่แอปเปิลนำมาอ้างบ่อยๆ คือเครื่องมันบางเกินไปจนต้องรวมแบตมาให้เลย (แบตขนาด 1,780 mAh)

เท่าที่ลองใช้มาเกือบสัปดาห์ ผมพบว่าวัสดุและการประกอบภายนอกของ RAZR ถือว่าดีมาก ให้ความรู้สึกว่าเป็นอุปกรณ์มีราคา ส่วนขนาดของตัวเครื่องก็ถือว่าใหญ่พอสมควร เต็มไม้เต็มมือแต่ก็อยู่ในระดับที่ถือได้

ด้านความเบาและความบางที่เป็นจุดขายก็ทำได้ดี เพียงแต่ในทางกลับกัน ความบางกลับทำให้ถือยากอยู่บ้าง เพราะเครื่องมีขนาดใหญ่และบาง ทำให้มือถือมันแบนๆ ไม่ค่อยสอดรับกับอุ้งมือมากนัก รูปแบบการถือเครื่องเลยเป็นเราโก่งมือ กดที่ขอบทั้งสองข้างโดยไม่แตะขอบด้านหลังเสียมากกว่า

จอภาพ

RAZR ใช้จอ Super AMOLED สีสันสดใส ความละเอียด 960x540 ทำให้มีพื้นที่แสดงผลเยอะขึ้นมาก (โดยเฉพาะเทียบกับจอ 800x480 ของ Nexus S ที่ผมใช้อยู่)

เรื่องของจอภาพ RAZR นี้เป็นจอแบบ PenTile การแสดงจุดอาจจะไม่สวยเท่าไรเมื่อเทียบกับจอรุ่นใหม่กว่านี้อย่าง Super AMOLED Plus แต่ในการใช้งานจริงไม่มีปัญหาแต่อย่างใดครับ เผอิญผมไม่มี Galaxy S II หรือ Galaxy Nexus มาเทียบกันข้างๆ เลยบอกไม่ได้ว่ามันแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

ระบบปฏิบัติการ

RAZR มาพร้อมกับ Android 2.3 รุ่นปรับแต่งพิเศษของ Motorola (แต่ก่อนใช้ชื่อว่า Motoblur แต่ตอนนี้ไม่มีชื่อเรียกแล้ว) ซึ่งก็เพิ่มหลายอย่างที่ Android 2.3 รุ่นปกติของกูเกิลไม่มีมาให้ และหลายอย่างก็เป็นประโยชน์มากทีเดียว

เวอร์ชันที่ได้มาทดสอบเป็น Android 2.3.5 ครับ ลองอัพเดตดูแล้วไม่มีความเคลื่อนไหวใดๆ คาดว่าตอนนี้คงใหม่สุดแค่นี้

เริ่มจากหน้าจอล็อค ที่สามารถเข้าโหมดกล้องถ่ายภาพได้ทันที แบบเดียวกับ Android 4.0

ผมต้องยอมรับแบบตรงไปตรงมาว่า ในการใช้งานที่ผ่านมาผมไม่ค่อยชอบ ROM เวอร์ชันของผู้ผลิตฮาร์ดแวร์เท่าไร ที่ลองใช้มาคือ Sense UI ของ HTC และ TouchWiz ของซัมซุง (Timescape ของ SE นี่ไม่เคยใช้จริงจัง) และเลือกที่จะใช้ Stock ROM หรือ Custom ROM อื่นๆ มากกว่า

แต่การใช้ RAZR ที่มาพร้อมกับ Motorola ROM ทำให้ต้องเปลี่ยนความคิดตรงนี้ไปบ้าง เพราะหลายอย่างทำออกมาได้ดีทีเดียว

หน้าตาของ Motorola ROM ปรับแต่งไปจาก Stock ROM ปกติของกูเกิลพอสมควร ใช้สไตล์เหลี่ยมๆ ทั้งไอคอนและชิ้นส่วน UI อื่นๆ

ไอคอนและแอนิเมชันถูกปรับให้ต่างไปจาก Android รุ่นปกติ จะเห็นว่าเวลาเลื่อนหน้าจอไปทางซ้าย-ขวา จะมีไล่โทนสีฟ้าๆ ให้เห็น พวกนี้เป็นกิมมิค คือเป็นของแถมให้ดูสวยๆ คงไม่จำเป็นสำหรับการใช้งานจริงมากนัก (แต่ก็แน่นอนว่ามีบางคนที่ชอบ)

<embed src="http://www.youtube.com/v/Dk4fZMfHIbw?version=3&feature=player_detailpage" type="application/x-shockwave-flash" allowfullscreen="true" allowScriptAccess="always" width="640" height="360">

แอพที่แถมมาให้ก็ดูกันเองตามภาพ (แอพที่ผมลงเพิ่มเองมี Facebook, Twitter, Google+, Pulse, Fruit Ninja)

นอกจากนี้ยังมีจุดเล็กๆ อีกหลายจุดของตัวระบบปฏิบัติการที่ถูกปรับแต่งให้อำนวยความสะดวกมากขึ้น เช่น notification เพิ่มปุ่มปิดสีแดงสำหรับเคลียร์รายการนั้นๆ ออกจากหน้าจอ (คล้ายกับ Android 4.0) หรือนาฬิกาที่ถูกปรับไปนิดหน่อย พร้อมฟีเจอร์ Timer

ที่น่าสนใจคือแอพ Social Location ที่คล้ายกับ Foursquare กลายๆ แต่ดึงข้อมูลจาก Facebook Check-in แทน แถมยังแสดงสถานที่ที่น่าสนใจรอบๆ พิกัดที่เราอยู่ในตอนนั้นได้ด้วย เสียดายว่าข้อมูลสถานที่ส่วนมากยังเป็นของสหรัฐเท่านั้น แต่ก็มีข้อมูลของเมืองไทยอยู่บ้างนิดหน่อย เช่น ร้าน Starbucks รอบๆ ตัวเรา (ผมเข้าใจว่ามันดึงมาจากฐานข้อมูลทั่วโลกของ Starbucks นะครับ เลยมีของเมืองไทยด้วย)

Social

Motorola ก็เหมือนกับผู้ผลิตรายอื่น ๆ คือพยายามสร้างคุณค่าจากโซเชียลเน็ตเวิร์คเข้ามาในตัวรอม มันเลยรองรับเครือข่ายต่างๆ มากกว่า Android รุ่นปกติมาก (ยังไม่มี Google+)

ตรงนี้คงไม่ต่างอะไรจาก FriendStream ของ Sense UI หรือฟีเจอร์แบบเดียวกันของฝั่ง TouchWiz มากนัก แต่ Motorola ก็ทำออกมาได้สมบูรณ์ดี เช่น ข้อความส่วนตัวใน Facebook/Twitter/LinkedIn จะถูกแสดงในแอพ Messaging ให้ด้วย, ภาพจาก Facebook จะแสดงใน Gallery หรือสมุดที่อยู่ของเราจะแสดงใน widget บนหน้าจอให้อัตโนมัติ

ข่าวร้ายก็คือแอพสำหรับเล่นโซเชียลเน็ตเวิร์คของ Motorola กลับยังไม่ค่อยสมบูรณ์เท่าไร มีเพียงฟีเจอร์พื้นฐานเท่านั้น สุดท้ายแล้วเราก็ต้องลงแอพพวก Facebook/Twitter เองอยู่ดีครับ

Smart Actions

เป็นฟีเจอร์ที่น่าสนใจของ RAZR เอาไว้เซ็ตค่าของระบบอัตโนมัติตามเงื่อนไขที่กำหนด เช่น ปิดเสียงเมื่อเข้ามาอยู่ในที่ทำงาน หรือ ลดความสว่างของหน้าจอลงมาถ้าแบตเตอรี่ลดลงถึงระดับที่กำหนด

จริงๆ มันไม่ใช่แนวคิดใหม่เพราะมีคนทำมาบ้างแล้ว (เช่นแอพชื่อ Locale) แต่การแถมมากับตัว ROM เลยก็อำนวยความสะดวกได้มากขึ้น

รูปแบบการใช้งานอาจจะดูซับซ้อนอยู่บ้าง แต่สำหรับผู้อ่าน Blognone แล้วคงไม่ยากอะไร เพราะมันก็เป็น rule-based action trigger ทั่วๆ ไปครับ ถ้าต้องใช้คงไม่มีปัญหาว่าใช้ไม่เป็นกัน

แอพอำนวยความสะดวกอื่นๆ

ซ้ายมือ: Data Manager สำหรับควบคุมปริมาณการใช้เน็ต (เหมือนกับ Android 4.0 อีกแล้ว)

ขวามือ: Task Manager พร้อมฟีเจอร์ฆ่าอัตโนมัติ

ซ้ายมือ: GotoMeeting แอพแถมของ Citrix (ไม่ได้ลอง)

ขวามือ: File Manager ที่ทำไอคอนซะหรูหรา

MotoCast

ผมแยกประเด็นนี้มาเป็นอีกหมวดเพราะเป็นเรื่องใหญ่ ฟีเจอร์ MotoCast คือการเข้าถึงไฟล์จากระยะไกลบนระบบของ Motorola แต่ที่พัฒนาไปกว่านั้นคือเราสามารถเข้าถึงไฟล์บนพีซีของเราเอง ผ่านหน้าเว็บของ MotoCast ได้ด้วย

อธิบายง่ายๆ มันจะคล้ายกับ Dropbox ผสม DLNA แต่เป็นระบบของ Motorola เอง (เทียบกับ iCloud ก็ได้เหมือนกัน) และไม่ได้รองรับแค่การแชร์ไฟล์ (ที่เป็น generic file) แต่ยังผสานเข้ากับฟีเจอร์ Gallery/Music บนตัวมือถืออีกด้วย

ฟีเจอร์นี้มีตั้งแต่ Motorola Android รุ่นแรกๆ แล้ว แต่ต้องต่อสาย USB ในการแชร์เท่านั้น เท่าที่ผมหาข้อมูลได้บนเว็บของ Motorola เข้าใจว่า RAZR จะเป็นรุ่นแรกที่แชร์ MotoCast ผ่าน Wi-Fi ได้ด้วย

ขั้นตอนการใช้งานจะต้องลงโปรแกรม MotoCast บนฝั่งพีซีก่อนครับ (มีเวอร์ชันแมคแต่ไม่มีลินุกซ์) วิธีการคือเสียบสาย RAZR เข้ากับพีซี มันจะเห็นเป็น CD Drive ที่มีโปรแกรม MotoCast เตรียมมาให้เลย (แต่เอาเข้าจริงมันจะต้องดาวน์โหลดเวอร์ชันล่าสุดจาก Motorola อีกทีอยู่ดี)

จากนั้นก็ติดตั้งโปรแกรมตามปกติ ลงทะเบียน MotoCast ID และเลือกโฟลเดอร์ฝั่งพีซีว่าต้องการซิงก์โฟลเดอร์ไหนบ้าง

เสร็จแล้วก็ล็อกอินด้วย MotoCast ID ในฝั่งมือถือด้วย เท่านั้นก็เรียบร้อย เจ้าเครื่อง RAZR ของเราก็พร้อมจะต่อเชื่อมกับพีซีของเราแล้ว

แอพที่จะเพิ่มฟีเจอร์ของ MotoCast เข้ามาทันทีคือ Gallery และ Music

เรามาเริ่มกันที่ Gallery ก่อน ภาพซ้ายเป็น Gallery แบบปกติที่มีเฉพาะภาพถ่ายจากกล้องของมือถือ ส่วนภาพขวาจะเป็น Gallery ที่ดึงภาพที่ถูกเก็บอยู่บนพีซีของผมมาด้วย (สังเกตมุมขวาบนจะมีไอคอนวงกลมเล็กๆ เพิ่มเข้ามา เป็นสัญลักษณ์ว่าดึงข้อมูลจาก MotoCast)

ภาพจะถูกดึงมาจากโฟลเดอร์ที่เราสั่งซิงก์ และเรียงตามลำดับเวลาให้อัตโนมัติ (เลือกแสดงเป็นวัน/สัปดาห์/เดือนได้)

ถ้าพลิกเครื่องเป็นแนวนอน Gallery จะปรับวิธีการแสดงผลเป็นแบบเรียงแถว แทนการเรียงแบบตารางกริด นอกจากนี้ยังมีโหมดแบบ Coverflow ของแอปเปิลด้วยเช่นกัน

สำหรับแอพ Music ก็แบบเดียวกัน คือเลือกได้ว่าจะเอาเพลงที่เก็บอยู่ภายในเครื่อง หรือจะเอาเพลงจาก MotoCast มาฟัง (นอกจากนี้ยังรองรับ DLNA จากเครื่องอื่น และ podcast/internet radio ด้วย)

เพลงที่มาจาก MotoCast จะมีไอคอนแสดงอยู่ท้ายชื่อให้รู้ว่ามาจากไหนครับ

ผมเข้าใจว่า MotoCast สามารถติดตั้งได้บนพีซีหลายเครื่อง และเวลาเรียกใช้ก็เลือกดูได้ว่าจะเอาข้อมูลจากเครื่องไหนบ้าง เผอิญได้ลองกับพีซีเครื่องเดียว (Keymaker นี่เป็นชื่อโน้ตบุ๊กผม)

นอกจากนี้ก็อย่างที่บอกไปแล้ว เราสามารถเรียกดูข้อมูลจากเครื่องที่ลง MotoCast ผ่านเบราว์เซอร์ได้ด้วย โดยเข้าไปที่หน้าเว็บของ MotoCast แล้วก็ล็อกอิน

ที่น่าสนใจคือวิดีโอบนเครื่องของผมที่แชร์ผ่านระบบ MotoCast จะถูกแปลงเป็น FLV และเล่นผ่าน Flash บนเบราว์เซอร์โดยอัตโนมัติ (แต่ก็กระตุกๆ หน่อยขึ้นกับขนาดของวิดีโอด้วย)

โดยรวมถือว่าฟีเจอร์ MotoCast ทำมาได้สมบูรณ์ดีมาก และน่าจะเป็นประโยชน์มากถ้าเราเข้ามาอยู่ในระบบของ Motorola เต็มรูปแบบ อย่างไรก็ตามมันไม่ได้มีแต่ข้อดีอย่างเดียว ข้อเสียก็มีเหมือนกันคือ MotoCast บนวินโดวส์นั้นซดแรมเยอะมาก ใครกลัวเปลืองแรมก็ต้องพิจารณาเอาเองว่าจะใช้ดีไหม

กล้องถ่ายภาพ

RAZR มาพร้อมกับกล้อง 8MP ที่สามารถถ่ายวิดีโอ 1080p ได้ด้วย แอพกล้องของ RAZR เป็นแอพกล้องที่ Motorola ทำขึ้นมาเอง ก็มีฟีเจอร์มาให้พอสมควร เช่น โหมดมาโคร โหมดกลางคืน ปรับความสว่าง ซูม เป็นต้น

แต่ที่น่าตกใจคือแอพกล้องของ RAZR กลับไม่มีให้ปรับ white balance ครับ (ตอนแรกผมคิดว่าตัวเองหาไม่เจอเอง มาเช็คข้อมูลทีหลังพบว่าไม่มีให้จริงๆ) แต่ก็พอกล้อมแกล้มได้ผ่านการใส่เอฟเฟคต์สีสัน

การที่มันไม่สามารถปรับ white balance ได้ ทำให้การถ่ายรูปในบางสถานการณ์ก็มีปัญหา เช่น สเต๊กสามย่านของผมเมื่อวานนี้สีออกโทนเขียว เพราะถ่ายใต้แสงฟลูออเรสเซนต์และปรับแต่งไม่ได้ (อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมแล้วตรงนี้คงไม่ใช่ปัญหาเท่าไรนักเพราะ Android สามารถลงแอพกล้องที่มีอยู่มากมายได้เองอยู่แล้ว)

ตัวแอพกล้องเองยังทำงานได้แปลกๆ การเรียกแอพทำได้เร็ว ถ่ายภาพเร็ว แต่การปรับโหมดหรือตั้งค่าบนหน้าจอ กลับช้ามาก (กดปุ่มเรียกแล้วกว่า UI จะโผล่ขึ้นมาต้องรอหลายอึดใจ)

กล้องจะโฟกัสภาพให้อัตโนมัติ ทำให้จังหวะก่อนกดชัตเตอร์ต้องรอนิดหน่อย แต่หลังกดชัตเตอร์แล้วจะบันทึกภาพเร็วขึ้น (เพราะไม่ต้องหาโฟกัสอีก) ตรงนี้เลยทำให้จังหวะการถ่ายภาพงงๆ เล็กน้อยเพราะไม่รู้ว่าต้องรอนานแค่ไหนกว่ากล้องจะโฟกัสเสร็จ

ภาพถ่ายที่ได้เป็นสัดส่วน 16:9 ตามขนาดหน้าจอ แต่ก็สามารถเปลี่ยนสัดส่วนเป็น 4:3 ตามมาตรฐานได้ ภาพกลางวันออกมาค่อนข้างโอเค (ไม่ถึงกับสวยมากถ้าเทียบกับกล้องมือถือยี่ห้ออื่นๆ) แต่ภาพกลางคืนก็มีปัญหาพอสมควร

นอกจากนี้ แอพกล้องของ RAZR ยังมีระยะการถ่ายภาพที่ซูมใกล้วัตถุมากกว่าปกติ ทำให้การถ่ายวัตถุที่อยู่ใกล้ๆ ทำได้ยากเพราะภาพจะใหญ่เกินไป ต้องเดินถอยออกห่างจากวัตถุมากกว่าการใช้กล้องมือถือทั่วๆ ไป

สุดท้ายผมยังเจอบั๊กแปลกๆ คือเวลาถ่ายภาพบางครั้ง ภาพที่แสดงบนหน้าจอจะเบลอ ทำให้ต้องถ่ายครั้งที่สองซึ่งจะไม่เบลอ แต่พอมาเปิดดูภาพใน Gallery หรือบนพีซีในภายหลัง ภาพแรกกลับคมชัดสวยงาม คาดว่าเป็นบั๊กของตัวพรีวิวภาพหลังถ่ายเสร็จมากกว่า

กล้องวิดีโอ

แสดงความสามารถด้วยผลงานดีกว่าครับ อันแรก 1080p แบบไม่เปิด stabilizer (อย่าลืมกดเปลี่ยนเป็น 1080p ด้วย)

วิดีโอที่สอง 1080p แบบเปิด stabilizer (ยืนถือด้วยท่าเดียวกัน)

วิดีโอสุดท้าย 720p แบบไม่ได้เปิด stabilizer

ประสิทธิภาพและแบตเตอรี่

ประสิทธิภาพของ RAZR ถือว่าน่าประทับใจมากทีเดียว ซีพียู 1.2GHz ดูอัลคอร์ทำงานได้ลื่นไหล รวดเร็ว ทรงพลัง (แต่ก็มีกระตุกบ้างตามแบบฉบับของ Android เป็นระยะ) โดยรวมแล้วให้ประสบการณ์ใช้งานดีกว่า Nexus S คอร์เดี่ยวของผมมาก

แบตเตอรี่ถือว่าใช้ได้นานพอสมควร ทดลองใช้งานแบบปกติ นอกสถานที่ ถ่ายภาพ ทวีต ตอบเมล ผ่านเครือข่าย 3G แบบเปิดบ้างปิดบ้างตามโอกาส อยู่ได้ 1 วันทำงานเช้าจรดค่ำสบายๆ (เรื่องนี้ขึ้นกับพฤติกรรมการใช้งานของแต่ละคนด้วยนะครับ) โดยรวมแล้วถือว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานของสมาร์ทโฟนยุคนี้

ผมเจอปัญหาเครื่องร้อนบ้างเป็นบางครั้ง โดยจะร้อนที่ด้านหลังเครื่อง (ตรงเคฟลาร์นั่นแหละ) และเคยเจอปัญหาหน้าจอค้าง (แต่ปุ่มอื่นไม่ค้าง) ทำอะไรไม่ได้เลยหนึ่งครั้ง ต้องกดปุ่ม power+volume ค้างเพื่อบังคับปิดเครื่อง อันนี้เจอ 1 ครั้ง

สรุป

ข้อดี

  • บึกบึน แข็งแรง วัสดุและการประกอบดีเยี่ยม น่าจะดีที่สุดเท่าที่เคยใช้มา
  • เครื่องบางเบา ถือแล้วดูดี โดดเด่น
  • ประสิทธิภาพดี การทำงานไหลลื่น
  • รอมของ Motorola ทำออกมาได้ดี สมบูรณ์ สวยงาม มีฟีเจอร์น่าสนใจหลายอย่าง
  • ฟีเจอร์อย่าง MotoCast อำนวยความสะดวกได้ไม่น้อย

ข้อเสีย

  • สไตล์อาจดูบึกบึนไปบ้าง อาจดูไม่ค่อยเหมาะกับผู้หญิง
  • แบตถอดเปลี่ยนไม่ได้ (สำหรับบางคน ให้นำไปเป็นข้อดีครับ)
  • กล้องไม่ค่อยดีเท่าไร และแอพกล้องไม่ค่อยสมบูรณ์
  • แอพบางตัวอย่าง Social Network ก็ไม่ค่อยดีเท่าไรนัก

โดยรวมแล้ว ถ้าวัดเฉพาะตัวมือถือ RAZR ในตอนนี้ ถือว่าน่าสนใจทีเดียวสำหรับคนที่คิดจะซื้อเครื่องใหม่ในช่วงนี้

แต่ถ้าวัด "ภาพรวม" โดยคิดถึงปัจจัยอื่นๆ อย่างราคา คู่แข่ง และความสามารถในการอัพเกรดในอนาคตแล้ว อันนี้ต้องคิดหนัก เพราะ

  • Motorola ยังไม่บอกว่าจะได้ Android 4.0 เมื่อไร ถึงแม้ Android 2.3 ที่ให้มาด้วยจะใช้งานได้ดี แต่เราทุกคนก็คงอยากได้ซอฟต์แวร์รุ่นใหม่ที่สุดเมื่อมันออกใช่ไหมครับ? แถมในตลาดตอนนี้มี Android 4.0 มาให้เลือกเป็นตัวเปรียบเทียบแล้วด้วย
  • RAZR เปิดตัวในต่างประเทศเมื่อหลายเดือนก่อน ถือว่ามีข้อได้เปรียบเรื่องเวลา แต่ในเมืองไทยเปิดตัวและวางขายไล่เลี่ยกับ Galaxy Nexus ที่สเปกบางจุดดีกว่า (เช่น จอภาพ หรือ Android 4.0) แถมราคาต่างกันไม่มากเพียง 1,000 บาทเท่านั้น (RAZR 18,900 บาท ส่วน Galaxy Nexus 19,900 บาท)

เรื่องนี้ผมคงฟันธงให้ไม่ได้ ถามว่า RAZR สวยไหม สวยมากครับ แต่น้ำหนักเรื่องความสวย เมื่อเทียบกับราคาและความใหม่ของซอฟต์แวร์ อันนี้จะมีผลแค่ไหน คงต้องไปลองจับกันเองครับ

ประเด็นเรื่องซอฟต์แวร์นี้ ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยคงทำอะไรไม่ได้มาก เพราะ Motorola บริษัทแม่เองก็ทำได้แค่นี้เหมือนกัน

แต่เราต้องรอดูว่าในปีหน้า เมื่อ Motorola กลายเป็นบริษัทของกูเกิลโดยสมบูรณ์แล้ว สถานการณ์น่าจะต่างออกไปจากปัจจุบัน เพราะฮาร์ดแวร์ชั้นเลิศของ Motorola ที่แสดงออกให้เห็นใน RAZR (ยกเว้นกล้องนะ) จะไปรวมร่างกับ Android รุ่นล่าสุด ซึ่งก็คงทำให้คู่แข่งต้องคิดหนักไม่น้อยเลยทีเดียว

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

ทำไมภาพประกอบผมไม่ขึ้นซักภาพเลยครับ?

มันบอกว่า
403. That’s an error.
Your client does not have permission to get URL /-GFyrgYFcUBo/TvP1au9pIiI/AAAAAAAAPeI/lOTgY6wPZeU/s288/IMG_4093.JPG from this server. (Client IP address: 110.171.xxxxx)

Rate-limit exceeded That’s all we know.

เข้าใจว่าผมโดนปัญหา rate-limit ของ Picasa เนื่องจากทราฟฟิกภาพเพิ่มเร็วผิดปกตินะครับ (เมื่อบ่ายต้นๆ ยังดีอยู่เลย) เดี๋ยวขอดูก่อนว่าจะเอาไงดี

อ้างอิง #1 #2

ทำไมผมดูรูปได้ปกติ เป็นไม่เหมือนคนอื่นเลย แปลกดี

มือถือสมัยนี้แบนดี ของ HTC หนาๆ และหนักทั้งนั้นเลย

ข้อเสียนึงของ android ก็เรื่องกล้องนี่แหละ

OS ในส่วนเกี่ยวกับการถ่ายรูปเขียนมาแบบกลางๆ ไม่เหมือน iOS ที่รู้ว่าต้องทำงานกับ hardware กล้องตัวไหน

เห็นด้วยครับ

เท่าที่จับมาทั้ง HTC, Samsung, SE

  • SE (Ray) ก็ทำมาได้ดีมากทั้งความคมชัดและ noise รายละเอียดภาพเก็บมาได้เยอะ โดยเฉพาะในที่แสงน้อยไม่ใช้แฟลช

  • Samsung (Captivate) ค่อนข้างดี ทั้งความคมชัดและ noise รายละเอียดภาพเก็บมาได้ดี

  • HTC (Desire S) โดยรวมไม่ค่อยประทับใจ สถานที่แสงเยอะจัดว่าพอใช้ได้ แต่แสงน้อยแล้วรายละเอียดภาพแย่+ภาพเป็นวุ้น (เข้าใจว่าเกิดจากการทำ Noise Reduction และคุณภาพไฟล์ตั้งต้นที่ไม่ค่อยคมอยู่แล้ว)

ผมว่าเหมือนกัน ผทใช้ทั้ง milestone SSII Nexes ในความคิดผมกล้องส่วนมากถ่าได้ กากมาก การเข้าถึงการใช้งานก็ช้า จนทำห้ผมไม่ชอบถ่ายรูปเวลาใช้เครื่องพวกนี้ไปเลย มันดูไม่ได้อารมย์ไงไม่รู้ ขนาดผมใช้ iPhone 2g ภาพยังออกมาดี(หมายถึงอารมย์ของภาพ)และเร็วกว่า S2 อยุ่พอควร ยิ่งตอนนี้ใช้ 4s รู้สึกถึงประสบการณ์การการใช้กล้องแตกต่างมาก
ยิ่มกับ Moto ตอนนี้เป็นอะไรที่ผม ban ไปแล้ว แรกๆok ใช้ไปสักพักออกทะเล hardware รวนไปหมด

เปิดดูด้วย Chrome บนโน้ตบุ๊คไม่เห็นรูป พอเปิดทางแท็บเล็ต รูปมาเฉยเลย แปลกมาก

[แก้ไข] ไม่แปลกแล้ว เพราะโพสต์เม้งเสร็จ รูปมาเลย

ตามสเปกของ RAZR รองรับ 3G WCDMA บนคลื่น 850/2100/1900/900 ผมลองกับ DTAC 3G ก็ใช้งานได้ดีไม่มีปัญหาอะไรครับ (แถมตอน DTAC ล่มดันใช้งานได้ด้วยนะ)

อยากทราบว่า ตอนนี้ในประเทศไทยมี Motorola ที่เป็น slide keyboard มีรุ่นไหนบ้างครับ สนใจมาก ขอบคุณครับ

Motocast ใช้แรมพอ ๆ กับ Zune เลยครับ

มีเอา Motocast มาเปรียบกับ Firefox ด้วยแฮะ

/me เปิดดูของตัวเอง กินแรมมากกว่าตั้ง 4 เท่าแหน่ะ

tirakarn Sat, 12/24/2011 - 21:32

Motorola Defy ของผมมีจุดอ่อนที่กล้องเหมือนกัน ปรับอะไรไม่ได้เลย

Motocast ถ้าจำไม่ผิด มันก็คือ zumocast แอพสตรีมวิดีโอชั้นเยี่ยมของ ios และ android ที่เปิดให้โหลดฟรี แต่ตอนหลังโดน moto ซื้อไป แล้วก็เอาแอฟเวอร์ชั่น ios ออกจาก app store ไป T T

myung Sun, 12/25/2011 - 00:39

LED notification นี่ผมเห็น moto กับ htc มีทุกรุ่นนะ

จะไม่มีก็ samsung กับ lg(บางรุ่น)

โดย samsung เนี้ยโดนแซวว่าไม่มีเพราะทำตาม iphone

ความเห็นส่วนตัว "จุดด้อยแบบนี้ยังจะทำตามนะ"

เห็นด้วยครับว่า Samsung ไม่มี LED notification เพราะเลียนแบบ iPhone :P

ถ้ายังจำกันได้ Samsung สมัยฝาพับน่ะตัวแม่ในการนำ LED notification มาใช้เลย เครื่องเก่าผม LED notification 7 สี กระพริบเป็นสีรุ้งเลย ชอบมากกกก

ดังนั้นจะว่า Samsung ไม่สนใจ LED notification รึก็ไม่ใช่ สมัยก่อนเห็นใส่มาทุกรุ่น พึ่งเห็นตัดออกไปก็ตอนรุ่นหลังๆ นี่เอง (ยี่ห้อที่ไม่เคยเห็นทำเลยคือ Nokia)

ที่จริง UI ตัวนี้เป็น UI คล้ายกับ Motoblur ใน Atrix/Photon เฟิร์มแวร์ 2.3 เลยคร้บ เพียงแค่ไม่มีเอฟเฟก 3D และจะบอกว่า Motoblur หายไปซะทีเดียวก็ไม่ถูก เพราะฟั่งชั่นหลายๆอย่างใน Motocast (รวมถึงการบังคับ Log in ตอนเปิดเครื่อง) ก็เป็นยกมาจาก Motoblur เรียกว่า Motocast เป็นการอัพเกรด และรีแบรนด์มากกว่าครับ

แต่ความลื่นไหลตัวนี้ดีขึ้นมากครับ ส่วนเรื่องกล้องรอม เอาไว้ถ่าย snap shot ส่วนกล้องหลักยังไงก็ใช้ Vignette โดยรวมๆแล้ว มันเป็นมือถือที่น่าหลงไหลมากครับ! :P

ที่หายไปหมายถึง "ชื่อ" ของ MotoBlur ครับ ปัญหาคือผมไม่รู้จะเรียก interface อันนี้ว่าอะไร สรุปก็คือเรียก MotoBlur เหมือนเดิมน่าจะง่ายที่สุด (ฮา)

เรียกเหมือนเดิมแหละครับ เพราะผมเข้าไปดูใส้ในเมื้อกี้ ทั้ง launcher ทั้ง app พะยี่ห้อ Blur หราเหมือนเดิมทุกอย่าง 555 แต่น่าสนใจตรงที่พอโมโตโรลาโละชื่อ MotoBlur ออกจากการโปรโมตเสียงวิจารณ์ในแง่ลบเกี่ยวกับ UI ตัวนี้ก็น้อยลง จริงอยู่ที่มันอาจเป็นเพราะความลื่นไหลที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก แต่พวกคำบ่นที่ว่า "เพราะมันเป็น Blur" น้อยลงเยอะเลย (สงสัยที่คนๆเคยบอกว่าชื่อนี้มันอัปมงคลท่าจะจริง) :P

ส่วนตัวผมไม่ค่อยชอบจอ Amoled เลย สีมันสดเกินจริง แถมยังอมเขียว แต่ชอบที่มันบาง และเจ้า RAZR ไม่เหมือน Galaxy SII ที่ปรับอุณหภูมิสีได้ เจ้านี่พอลดความสว่างลงก็มองไม่เห็นรายละเอียดสีมืดอีก คงต้องเข้าไปดูว่ามีให้แก้คอนทราสต์ใน root ไหม.

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find My Device
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png
Airbnb
public://topics-images/airbnb.png
PS5
public://topics-images/ps5.png
Krafton
public://topics-images/krafton.png
Doom
public://topics-images/doom-game-s_logo.svg_.png
AMD
public://topics-images/amd_logo.svg_.png
GTA
public://topics-images/gta_0.png
DoorDash
public://topics-images/doordash.png
YouTube
public://topics-images/yt.png
YouTube Music
public://topics-images/yt-music.png
Facebook
public://topics-images/fb.png
iQiyi
public://topics-images/iqiyi_0.png
Viu
public://topics-images/viu.png
Amazon Prime Video
public://topics-images/prime-vid.png
Spotify
public://topics-images/spotify.jpg
Apple TV
public://topics-images/apple-tv.png
HBO Max
public://topics-images/max.png
Threads
public://topics-images/threads.png
Alexa
public://topics-images/alexa.png
Kindle App
public://topics-images/kindle.png
Shopee
public://topics-images/shopee.png
Waze
public://topics-images/waze.png
Bilibili
public://topics-images/bili.png
Google Maps
public://topics-images/maps.png
Apple Music
public://topics-images/apple-music.png
Claude
public://topics-images/claude.png
TikTok
public://topics-images/tiktok.png
Xbox
public://topics-images/xbox.png
Tesla
public://topics-images/tesla.png
Chrome
public://topics-images/chrome.png
Google Calendar
public://topics-images/gcal.png
Google Home
public://topics-images/ghome.png
Google Meet
public://topics-images/meet.png
NotebookLM
public://topics-images/notebooklm.png
Reddit
public://topics-images/reddit.png
Assassin’s Creed
public://topics-images/ac.png
Mark Zuckerberg
public://topics-images/zuck.jpg
Meta
public://topics-images/meta.png
Meta AI
public://topics-images/meta-ai.png
Epic Games
public://topics-images/epic_games_logo.svg_.png
Unreal
public://topics-images/unreal_engine_logo-new_typeface-svg.png
Fortnite
public://topics-images/fortnite.png
DeepMind
public://topics-images/deepmind.png
Databricks
public://topics-images/databricks.png
Netflix
public://topics-images/netflix-logo.png
Microsoft Azure
public://topics-images/azure.png
Microsoft Copilot
public://topics-images/microsoft_copilot_icon.svg_.png
Bing
public://topics-images/bing.png
EA
public://topics-images/ea.png
Intel
public://topics-images/intel.png
Amazon
public://topics-images/amazon.png
AWS
public://topics-images/aws.png
Zoom
public://topics-images/zoom.png
Dropbox
public://topics-images/dropbox_0.png
Roblox
public://topics-images/roblox.png
Dell Technologies
public://topics-images/dell-tech.png
Nothing
public://topics-images/nothing.svg_.png
Microsoft Teams
public://topics-images/teams.png
Mojang
public://topics-images/mojang.png
Minecraft
public://topics-images/minecraft.png
Redis
public://topics-images/redis_logo.svg_.png
Ubisoft
public://topics-images/ubisoft_logo.svg_.png
Elden Ring
public://topics-images/elden.png
Brave
public://topics-images/brave.png
Opera
public://topics-images/opera.png
Vivaldi
public://topics-images/vivaldi.png
Microsoft Edge
public://topics-images/edge.png
Duolingo
public://topics-images/duolingo.png
LinkedIn
public://topics-images/linkedin.png
Canva
public://topics-images/canva.png
Realme
public://topics-images/realme.png
NASA
public://topics-images/nasa-logo.png
Booking.com
public://topics-images/booking.png
Agoda
public://topics-images/agoda.png
Bolt
public://topics-images/bolt.png
Grab
public://topics-images/grab.png
Temu
public://topics-images/temnu.png
LINE
public://topics-images/line.png
Facebook Messenger
public://topics-images/messenger.png
WhatsApp
public://topics-images/whatsapp.png
Telegram
public://topics-images/telegram.png
Signal
public://topics-images/signal.png
X.com
public://topics-images/x.png
Grok
public://topics-images/grok.png
xAI
public://topics-images/xai.png
CapCut
public://topics-images/capcut.png
Edits
public://topics-images/edit.png
Google One
public://topics-images/gone.png
Tinder
public://topics-images/tinger.png
Whoscall
public://topics-images/whoscall.png
OneDrive
public://topics-images/onedrive.png
Lightroom
public://topics-images/lr.png
Meitu
public://topics-images/meitu.png
Outlook
public://topics-images/outlook.png
Excel
public://topics-images/excel.png
PowerPoint
public://topics-images/ppt.png
Microsoft Word
public://topics-images/word.png
Phone Link
public://topics-images/phone-link.png
OneNote
public://topics-images/onenote.png
Windows App
public://topics-images/windows-app.png
Notion
public://topics-images/notion.png
Google Drive
public://topics-images/drive.png
YouTube Kids
public://topics-images/yt-kids.png
Gboard
public://topics-images/gboard.png
DeepSeek
public://topics-images/deepseek_logo.svg_.png
Prince of Persia
public://topics-images/prince-persia.png
Sony
public://topics-images/nq0nd2c0_400x400.jpg