Special Report

ผู้อ่าน Blognone คงคุ้นเคยกับดิสโทรลินุกซ์ยอดนิยม Ubuntu ซึ่งที่ผ่านมา เราก็รีวิว Ubuntu มาหลายรุ่นมาก (แทบจะทุกรุ่นในช่วงหลัง)

คราวนี้ Ubuntu 11.04 หรือรหัส "Natty Narwhal" ออกรุ่นจริงเรียบร้อย มีของใหม่มากมายโดยเฉพาะ Unity อินเทอร์เฟซแบบใหม่ของ Ubuntu เอง เรามาดูกันว่าเป็นอย่างไร ควรหรือไม่ควรใช้แค่ไหน

รีวิว Ubuntu ที่ผ่านมา

ก่อนอื่นขอแปะรีวิว Ubuntu ที่เคยเขียนมาทั้งหมด สำหรับคนที่อยากอ่านตอนเก่าๆ จะได้เห็นวิวัฒนาการ

Natty Narwhal กับ "จุดเปลี่ยน" ครั้งสำคัญของ Ubuntu

Ubuntu เป็นดิสโทรที่ผูกกับระบบเดสก์ท็อป GNOME อย่างแนบแน่น โดยเฉพาะกระบวนการออกรุ่นที่ออกทุก 6 เดือนตาม GNOME (Ubuntu จะออกช้ากว่า GNOME ประมาณหนึ่งเดือนเสมอ) แต่ในช่วง 1-2 ปีให้หลัง Ubuntu ก็มีทิศทางการพัฒนาที่หันเหออกจาก GNOME อย่างชัดเจน โดยเฉพาะเมื่อ GNOME ยกเครื่องระบบเดสก์ท็อปของตัวเองใหม่ใน GNOME 3 ที่ใช้ GNOME Shell เป็นส่วนติดต่อผู้ใช้แบบใหม่ สถานการณ์กลายเป็นว่า Ubuntu ไม่ยอมใช้ GNOME Shell แต่เลือกสร้างระบบเดสก์ท็อป Unity ของตัวเอง (รายละเอียดอ่านจาก สงครามภายในโลกโอเพนซอร์ส เมื่อ GNOME ไม่เห็นด้วยกับ Ubuntu)

Unity เปิดตัวครั้งแรกเมื่อเดือน พ.ค. 2010 โดยเริ่มใช้กับ Ubuntu 10.10 Maverick Meerkat ในฐานะอินเทอร์เฟซสำหรับเน็ตบุ๊ก ในช่วงแรก Unity ยังไม่ค่อยลงตัวนัก แต่ทางทีมงาน Ubuntu ก็ค่อยๆ แก้ไขบั๊กเรื่อยมา พอมาถึงรุ่น 11.04 ก็ตัดสินใจใช้ Unity เป็นอินเทอร์เฟซหลักทั้งเดสก์ท็อปและเน็ตบุ๊ก

Unity เป็นอินเทอร์เฟซที่เรียกว่า "สร้างขึ้นโดย Ubuntu และเพื่อ Ubuntu" อย่างเต็มปาก ตอนนี้ก็ชัดเจนแล้วว่า Ubuntu จะมุ่งไปในทิศทางนี้ ในขณะที่ดิสโทรอื่นๆ อย่าง OpenSUSE หรือ Fedora มุ่งไปในทาง GNOME Shell ตาม GNOME 3

Natty Narwhal เป็น Ubuntu รุ่นแรกที่นำ Unity มาใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนับตั้งแต่เกิดโครงการ Ubuntu ขึ้นมา รีวิวชิ้นนี้จะเจาะลึกไปที่ Unity เป็นหลัก และจะไม่พูดถึงของใหม่อย่างอื่นๆ ใน Natty อย่าง Firefox 4, LibreOffice, Banshee ซึ่งไม่ใช่ "หน้าใหม่" ในโลกของลินุกซ์

เริ่มต้นกับ Unity

ผมข้ามกระบวนการติดตั้งทั้งหมดไปเลยนะครับ เมื่อเข้ามายังเดสก์ท็อปของ Natty จะพบกับหน้าจอมาตรฐานดังภาพ

สิ่งที่หายไปคือ panel ด้านล่างของหน้าจอ และเมนูสำหรับเรียกโปรแกรมที่อยู่ด้านบนของหน้าจอ ส่วนสิ่งที่เพิ่มเข้ามาคือ "Unity Launcher" ที่ขอบซ้ายของจอ

ดูจากหน้าตาแล้ว Unity Launcher จะคล้ายกับ Dock ของ Mac OS X หรือ Superbar ของ Windows 7 ซึ่งก็เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องในระดับหนึ่ง แต่กระบวนการทำงานเรียกโปรแกรม-สลับงานทั้งหมดของ Unity นั้นก็มีความแตกต่างออกไปบ้าง จนเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองไม่น้อย

การทำงานกับ Unity

หมายเหตุ: การอธิบายกระบวนการทำงานของ Unity โดยใช้ข้อความ+ภาพทำได้ยากมาก ผมแนะนำว่าเพื่อความเข้าใจที่ดี ผู้อ่านควรทดสอบ Ubuntu 11.04 ด้วยตัวเอง (เป็น live image ก็ทำได้ง่ายมากแล้ว) หรืออย่างน้อยๆ ลองหาวิดีโอใน YouTube ดูประกอบก็ได้

การเรียกโปรแกรมจาก Unity Launcher

ดูจากหน้าตาของ Unity Launcher แล้วก็น่าจะเดากันได้ว่า การคลิกที่ไอคอนของโปรแกรมคือการเรียกโปรแกรมนั้นๆ ขึ้นมา อันนี้เข้าใจง่ายตรงไปตรงมาครับ

จากภาพผมคลิกไอคอนแรก Home Folder โปรแกรมจัดการไฟล์ Nautilus ก็โผล่ขึ้นมาให้เห็น สังเกตว่าตรงไอคอน Home Folder จะมีสามเหลี่ยมขึ้นมาสองอัน อันทางซ้ายมือหมายถึงว่าโปรแกรมกำลังรันอยู่ ส่วนไอคอนทางขวามือบอกว่าเป็นโปรแกรม active ณ ขณะนั้น

ในกรณีที่มีไอคอนบน Unity Launcher มากๆ ไอคอนที่อยู่ท้าย ๆ จะถูกย่อลงตามภาพ (เมื่อเอาเมาส์ไปชี้ก็จะกลับสู่สภาพเดิม)

Unity ยังมีฟีเจอร์ด้าน accesability สำหรับเรียกโปรแกรมโดยไม่ต้องใช้เมาส์ โดยกดปุ่ม Super (Windows) ค้างไว้ จะมีหมายเลขปรากฏขึ้นมาตามลำดับ เราก็กดปุ่มตัวเลขให้ตรงตามโปรแกรมเป็นพอ

Context menu ของ Unity Launcher

ถ้าคลิกขวาที่ไอคอนใน Unity จะมี context menu ปรากฏขึ้นมา อันนี้จะคล้ายกับ Mac OS X คือมีคำสั่งให้เลือกว่าจะเก็บไว้ใน Unity Launcher หรือไม่ และคำสั่งปิดโปรแกรม

เมนูของ Unity Launcher จะรองรับคำสั่งพิเศษแบบเดียวกับ Jump List ของ Windows 7 ด้วย ตัวอย่างในภาพคือโปรแกรมจับหน้าจอ Shutter แสดงคำสั่งที่ใช้บ่อยหลายอัน

Global Menu ย้ายเมนูบาร์ไปไว้ด้านบน

จุดที่น่าสังเกตอีกอย่างคือ "เมนูบาร์" ที่เคยอยู่ใต้ชื่อหน้าต่าง ถูกย้ายไปไว้ในแถบด้านบนสุดของหน้าจอ อันนี้เหมือนกับ Mac OS X แบบเด๊ะๆ แต่จะว่าลอกก็คงพูดได้ไม่เต็มปาก (เพราะอะไร? อ่านต่อไปครับ) แนวทางนี้ถูกเรียกว่า "Global Menu" เพราะพื้นที่แสดงเมนูอันเดียวใช้ได้กับทุกโปรแกรม

เหตุผลที่เมนูบาร์ถูกนำไปไว้ด้านบน เป็นเพราะ Ubuntu ต้องการเพิ่มพื้นที่แสดงผลในแนวตั้งให้มากที่สุดนั่นเอง

การรันโปรแกรมแบบเต็มหน้าจอ

จากภาพก่อนหน้านี้ ผมรัน Nautilus ในโหมดหน้าต่าง ทีนี้ลองกดปุ่ม maximize เพื่อขยายเต็มจอ จะได้ผลลัพธ์ดังภาพข้างบน

จะเห็นว่า Unity Launcher หายไป ส่วนโปรแกรม Nautilus ถูกขยายเต็มหน้าจอ โดยปุ่มควบคุมหน้าต่าง 3 ปุ่มถูกย้ายไปอยู่ในแถบด้านบนสุด (พื้นที่ที่เคยแสดง titlebar หายไป)

แถบด้านบนสุดจะทำหน้าที่สองอย่าง คือ

  1. แสดงข้อความที่เคยอยู่ใน titlebar
  2. แสดงเมนูบาร์

วิธีการสลับระหว่างสองโหมดนี้ก็มีหลายทาง อย่างแรกคือกดปุ่ม Alt ข้อความไตเติลจะกลายเป็นเมนูบาร์ (ลักษณะเดียวกับ Firefox 4) อย่างที่สองคือลากเมาส์ขึ้นไปชนขอบบนสุดของหน้าจอ ก็จะได้ผลแบบเดียวกัน

จุดนี้ทำให้ Unity ต่างกับ Mac OS X เพราะแถบข้างบนสุดใช้ประโยชน์ได้สองอย่าง (กรณีของ Mac OS X ใช้เป็นเมนูบาร์ได้อย่างเดียว) แนวคิดเหล่านี้พัฒนามาจาก Ubuntu Netbook Remix ในอดีต ที่ต้องดิ้นรนเพื่อสร้างพื้นที่แสดงผลในแนวตั้งเช่นกัน

เท่าที่ผมใช้ก็พบว่าไม่มีปัญหาอะไรครับ ยิ่งคนที่คุ้นเคยกับ Mac OS X มาแล้ว ยิ่งปรับตัวได้ง่าย

การเรียก Unity Launcher ในโหมดเต็มหน้าจอ

เมื่อโปรแกรมของเราถูกสั่ง maximize ในหัวข้อก่อน Unity Launcher ก็หายไปจากหน้าจอ การเรียกมันกลับมาก็เดาได้ไม่ยาก เพียงแค่ลากเมาส์ไปชนขอบซ้ายสุดของหน้าต่าง Unity Launcher จะกลับมาอีกครั้งในรูป overlay คือ "ลอยทับ" หน้าต่างที่อยู่ข้างใต้

แนวคิดนี้ไม่ต่างอะไรกับ autohide ของ Taskbar หรือ Dock

การสลับหน้าต่าง

GNOME ใช้แนวคิดการมอง "หน้าต่าง" แบบเดียวกับ Windows คือ "หน้าต่าง" เป็นวัตถุชนิดเดียวบน Taskbar หนึ่งโปรแกรมมีกี่หน้าต่างไม่สนใจ เพราะระบบจะสนใจการ "สลับ-เปลี่ยน-ปิด" หน้าต่างเท่านั้น

แนวคิดนี้จะต่างจาก Mac OS X ที่แยกชนิดของ "โปรแกรม" และ "หน้าต่าง" ทำให้การจัดการโปรแกรม/หน้าต่างมีความซับซ้อนขึ้น (ซึ่งคนใช้แมคใหม่ๆ จะงงกับ "การปิดหน้าต่างไม่ปิดโปรแกรม" นั่นเอง)

กลับมาที่ Unity Launcher การ "สลับหน้าต่าง" แบ่งได้เป็น 2 กรณีย่อย

  • สลับไปยังหน้าต่างของโปรแกรมอื่น
  • สลับไปยังหน้าต่างอื่นของโปรแกรมเดียวกัน

กรณีแรกตรงไปตรงมา เพราะเราคลิกที่ไอคอนของโปรแกรมนั้นๆ บน Launcher ก็จะเรียกหน้าต่างของโปรแกรมนั้นขึ้นมาแสดง

ส่วนกรณีที่สอง เราต้องคลิกไปที่ไอคอนของโปรแกรมเดิม (ซึ่งจะแสดงจำนวนหน้าต่างเป็น "จุดสีขาว" แบบเดียวกับ Mac OS X) ผลก็คือหน้าจอแบบ Expose นั่นเอง

แนวทางการสลับหน้าต่างแบบนี้จะคล้ายๆ กับ Superbar ของ Windows 7 ที่แสดง "ภาพพริวิวของหน้าต่างที่เปิดอยู่" เหนือไอคอนของโปรแกรม เพียงแต่กรณีของ Unity จะแสดงพรีวิวเต็มหน้าจอ ต่างไปจาก Windows 7 ที่แสดงภาพพรีวิวขนาดเล็กๆ เหนือไอคอน

การสลับ Workspace

เดสก์ท็อปของลินุกซ์มีแนวคิดของ workspace หรือพื้นที่ทำงานหลายอัน มานานแล้ว และมันก็ตามมาใน Unity ด้วย

วิธีการใช้งานคือกดไอคอนที่สามจากด้านล่าง (รูปสี่เหลี่ยม 4 อัน) จะพบหน้าจอมุมสูงของ workspace ทั้งสี่อัน เลือกย้ายโปรแกรมกันได้ตามสะดวก (ช็อตคัตของหน้าจอเลือก workspace คือ Super+W)

การเรียกโปรแกรมที่ไม่ได้อยู่บน Launcher

ไอคอนบน Unity Launcher มีเพียงไม่กี่อันเท่านั้น คำถามคือเราจะเรียกโปรแกรมอื่นๆ ที่เหลือได้อย่างไร?

คำตอบก็คือไอคอน Ubuntu เล็กๆ ที่อยู่มุมซ้ายบนสุดของหน้าจอ เมื่อกดแล้วจะพบกับหน้าต่างลอย (overlay) สีเทาเข้มดังภาพ

หน้าต่างนี้เทียบได้กับ Start Menu ของ Unity ครับ แถวบนคือหมวดของโปรแกรมที่ใช้บ่อย ส่วนแถวล่างคือช็อตคัตของโปรแกรมที่ใช้บ่อย (โปรแกรมทั้งหมดต้องกด More Apps)

แต่เอาเข้าจริงแล้ว เราแทบไม่ได้คลิกอะไรในหน้าจอนี้เลย เพราะมันออกแบบมาให้เรา "พิมพ์" ชื่อโปรแกรมในช่องค้นหา ลักษณะเดียวกับ Start Menu ของวินโดวส์รุ่นหลังๆ (ถ้าใครเคยใช้ GNOME Do, Launchy หรือ Quicksilver จะเข้าใจได้ไม่ยาก)

หน้าจอเรียกโปรแกรมนี้สามารถใช้ช็อตคัตปุ่ม Super (หรือปุ่ม Windows) เรียกมันขึ้นมาได้ ดังนั้นกระบวนการทำงานจะเป็นกด Super แล้วพิมพ์ชื่อโปรแกรมที่ต้องการ แล้วกด Enter เพื่อเรียกโปรแกรมนั่นเอง (ส่วนโปรแกรมที่ใช้บ่อยขึ้เกียจพิมพ์ ก็นำไปไว้ใน Unity Launcher ซะ)

รู้จักกับ Lens

แพลตฟอร์ม GNOME 3 มีโปรแกรมใหม่ตัวหนึ่งชื่อว่า Zeitgeist ทำหน้าที่เก็บ metadata ของโปรแกรม ไฟล์ ข้อมูล กิจกรรมต่างๆ ของผู้ใช้ ทำให้โปรแกรมรุ่นใหม่สามารถเรียกใช้ข้อมูลเหล่านี้ เพื่อสร้างการใช้งานที่มีความหมายมากขึ้นได้

Unity ก็เรียกใช้ข้อมูลจาก Zeitgeist เช่นกัน ผ่านแนวคิดที่เรียกว่า "เลนส์" (lens) ซึ่งจะมองว่ามันเป็น "ฟิลเตอร์" ก็ได้

Ubuntu 11.04 ให้ "เลนส์" มาตรฐานมาสองตัว มันคือไอคอนรูปแว่นขยายสองอันท้ายใน Unity Launcher

อันแรกรูปเครื่องหมายบวกคือ Application Lens ซึ่งจะ "กรอง" เอาโปรแกรมต่างๆ มาแสดงให้เราเห็นเป็น 3 หมวด ได้แก่

  • โปรแกรมที่ใช้บ่อย (Most Frequency Used)
  • โปรแกรมทั้งหมดที่อยู่ในเครื่อง (Installed)
  • โปรแกรมที่เลือกติดตั้งเพิ่มได้ (Apps Available for Download)

อันที่สองรูปเอกสารคือ Files Lens จะ "กรอง" ไฟล์และโฟลเดอร์ที่เราน่าจะใช้บ่อยๆ 3 หมวด ได้แก่

  • ไฟล์ล่าสุดที่เปิด (Recent)
  • ไฟล์ที่ถูกดาวน์โหลดมา (Downloads)
  • โฟลเดอร์ที่ใช้บ่อย (Favorite Folders)

แนวคิดเรื่อง Lens ไม่จำกัดเฉพาะโปรแกรมหรือไฟล์เท่านั้น มันสามารถนำไปพลิกแพลงได้อีกมาก เช่น

  • Lens สำหรับแสดงข้อความทวีต (จากโปรแกรม Gwibber)
  • Lens สำหรับแสดงเพลงบนร้านค้า Ubuntu One Music Store
  • Lens สำหรับแสดงวิดีโอที่น่าสนใจบน YouTube
  • Lens สำหรับแสดงหนังสือจาก Google Books

รายละเอียดลองดูใน OMG Ubuntu ครับ

การปรับแต่ง Unity Launcher

จุดอ่อนของ Unity Launcher คือมันยังใหม่มาก หลายจุดยังทำไม่เสร็จดี และตอนนี้ก็ปรับแต่งอะไรแทบไม่ได้เลย แม้แต่ขนาดของตัว Launcher เองก็ปรับไม่ได้ ปรับให้ Unity ไม่ autohide ก็ทำไม่ได้

ทางแก้แบบอ้อมๆ ก็มีครับ นั่นคือโปรแกรม CompizConfig Settings Manager (CCSM) ต้องลงเพิ่มจาก Ubuntu Software Center มันมาพร้อมกับปลั๊กอินในการปรับแต่ง Unity ดังภาพ

โปรแกรม CCSM สามารถปรับแต่ง Unity ได้พอสมควร เช่น ปรับขนาดของไอคอน (จากภาพลดขนาดเหลือ 32 จากขนาดปกติ 48), ปรับไม่ให้ autohide, เปลี่ยนปุ่มลัดสำหรับสั่งงานต่างๆ และปรับสี-แอนิเมชัน

คนอื่นจะชอบยังไงไม่รู้ แต่ผมลองมาหลายท่าแล้ว พบว่าสั่งให้ Unity ปรากฏตัวอยู่ตลอด ดีกว่าให้มัน autohide ก็ตั้งค่าไปตามนั้น (เวลา maximize โปรแกรมเต็มหน้าจอ จะสวยกว่ามาก)

Indicator/Notifier

Ubuntu 10.04 Lucid Lynx ที่ออกเมื่อ 1 ปีก่อน เริ่มนำระบบ panel/indicator/notification แบบใหม่มาใช้ ทำให้กระบวนการแจ้งเตือนรวมศูนย์อยู่ที่เดียวกันทั้งหมด ใช้งานง่ายไม่เกะกะ ระบบนี้ถูกปรับปรุงให้สมบูรณ์ขึ้นใน Ubuntu 10.10 Maverick Meerkat และเมื่อมันเดินทางมาถึง Natty Narwhal ก็ต้องถือว่ามันเติบโตเต็มที่แล้ว โปรแกรมสำคัญๆ รองรับเกือบครบแล้ว

Natty ตัดเอา Panel แบบเก่าของ GNOME 2.x ทิ้งไปเลย ดังนั้น Panel Applet แบบเก่าๆ จึงไม่สามารถใช้งานได้ (ต้องเป็น Indicator Applet แบบใหม่ของ Ubuntu เท่านั้น) อย่างไรก็ตาม Applet ที่ Natty ให้มาก็ถือว่าครอบคลุมงานทั่วๆ ไปเกือบหมดแล้ว

ผู้ที่ต้องการปรับแต่ง Indicator เพิ่มเติม สามารถหาข้อมูลได้จาก OMG Ubuntu หมวด Indicator Applets

Scrollbar แบบลอย

การเปลี่ยนแปลงสำคัญอีกอย่างของ Ubuntu 11.04 คือ scrollbar ที่เปลี่ยนจากแบบเก่าๆ มาเป็นแบบ overlay (ตัวแถบเลื่อนปรากฏเมื่อเอาเมาส์ไปชี้ - ข่าวเก่า) ซึ่งได้แรงบันดาลใจมาจากระบบปฏิบัติการสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ

เหตุผลของการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ก็เพราะต้องการเพิ่มเนื้อที่แสดงผล ลดความเกะกะของ scrollbar บนหน้าจอ และเตรียมพร้อมต่อโน้ตบุ๊กหน้าจอสัมผัสที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ นั่นเอง

Scrollbar แบบใหม่จะยังงงๆ ไม่ค่อยสม่ำเสมออยู่บ้าง บางครั้งจะปรากฏนอกขอบหน้าต่าง (เหมือนภาพก่อนหน้านี้) บางครั้งจะปรากฏภายในหน้าต่าง (เหมือนภาพนี้) และบางโปรแกรมที่ไม่ได้เขียนด้วย GTK+ แท้อย่าง Firefox ก็จะยังใช้ scrollbar แบบเก่าอยู่

Ubuntu One

บริการซิงค์ไฟล์ Ubuntu One ก็เริ่มมีฟีเจอร์อื่นๆ งอกขึ้นมาแล้ว เช่น Contacts Sync และ Bookmarks Sync แถมตัวโปรแกรม Ubuntu One เองก็ถูกปรับอินเทอร์เฟซไปจากเดิมมาก

ปรับแต่ง Chromium

อันนี้ไม่ใช่รีวิวเท่าไร แต่เป็นเทคนิคที่อยากแนะนำครับ

บางคนที่ไม่ชอบ Firefox หรืออยากมีเบราว์เซอร์มากกว่าหนึ่งตัว อาจเลือกลง Chromium (ไม่ใช่ Chrome) ได้จาก Ubuntu Software Center ได้โดยตรง แต่ Chromium รุ่นที่มากับ Natty ยังเป็นรุ่น 10.x ที่มีปัญหาภาษาไทยบนลินุกซ์อยู่

ทางแก้ก็ตรงไปตรงมาคือเปลี่ยนมาใช้ Chromium รุ่นที่ใหม่กว่านั้น ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือติดตั้ง PPA Chromium Daily Builds ซึ่งจะได้ Chromium รุ่นใหม่ที่สุดเสมอ (แบกรับความเสี่ยงเอาเองนะครับ) วิธีการติดตั้งก็ดูจากหน้าเว็บของ PPA ได้เลยครับ

อย่างไรก็ตาม Chromium รุ่น Daily ก็ยังไม่ประสานเข้ากับ Ubuntu อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะการรองรับ Global Menu และการขยายเต็มหน้าจอ ผมลองค้นข้อมูลดูพบว่า Chromium รุ่นใหม่ๆ รองรับแล้ว แต่เราต้องเปิดใช้เองในหน้า about:flags แล้วสั่งเปิด Experimental GNOME menu bar support ดังภาพ

บั๊ก บั๊ก บั๊ก

เท่าที่ลองใช้มา ก็เจอบั๊กเล็กๆ น้อยๆ เช่น ปุ่มกดไม่ติด (log out แล้วหาย), สั่ง logout แล้วเจอ Ubuntu One ไม่ยอมปิดตัว เป็นต้น ซึ่งบั๊กเหล่านี้ถือว่า "ยอมรับได้"

แต่ปัญหาสำคัญตัวใหญ่เป้งคือ "การสลับภาษาไทย" ครับ

สำหรับคนที่ใช้ปุ่ม Alt+Shift เป็นปุ่มสลับภาษา จะเจอปัญหาว่าการกด Alt ไปชนกับปุ่มเรียกเมนูบาร์ใน Global Menu ทำให้บางครั้ง (ที่จังหวะการกดปุ่มไม่ดี) กดปุ่ม Alt+Shift เพื่อเปลี่ยนภาษา จะกลายเป็นการกดเปิดเมนูบาร์แทน การพิมพ์ต่างๆ จะหยุดชะงัก (เพราะเมนูถูกเปิดอยู่) ต้องกด Alt อีกครั้งเพื่อปิดเมนู จากนั้นจึงจะพิมพ์ต่อได้ ทำให้การพิมพ์ภาษาไทยบน Natty มีปัญหาอย่างมาก

เท่าที่ผมลองหาข้อมูลพบว่าไม่มีทางเลือกอื่น นอกจากเปลี่ยนปุ่มสลับภาษาเป็นปุ่มอื่นที่ไม่มี Alt (เช่น Caps Lock) ซึ่งก็ต้องปรับนิสัยการพิมพ์คีย์บอร์ดกันใหม่

ผมแจ้งบั๊กนี้ไว้ที่ #768930 ซึ่งตอนนี้ยังเงียบอยู่ (มีคนเสนอว่าอาจซ้ำกับ #729007 ก็ต้องติดตามดูต่อไปว่าจะเป็นอย่างไร

สรุป

Unity เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในจักรวาลของ Ubuntu ระบบเดสก์ท็อปแบบเดิมๆ ถูกเปลี่ยนแปลงไปหมด (คนที่ไม่ชอบยังสามารถเปลี่ยนกลับได้ตอนล็อกอิน เลือกเป็น Ubuntu Classic) ต้องปรับตัวกันพอสมควร โดยเฉพาะวิธีการเรียกโปรแกรมที่ต้องเปลี่ยนมากด Super เพื่อพิมพ์ชื่อโปรแกรม

แต่เมื่อคุ้นเคยกับ Unity แล้ว จะพบว่า Ubuntu กำลังเดินหน้าไปในทิศทางที่น่าสนใจมาก ข้อดีที่สุดของ Unity คือพื้นที่หน้าจอที่ได้กลับคืนมาเยอะมาก ถ้าเรารอ Unity ให้พัฒนามากขึ้นอีกรุ่นหรือสองรุ่น (รุ่นหน้ามีข่าวว่า Unity จะปรับแต่งได้แล้ว) การใช้งานเดสก์ท็อปบน Ubuntu จะสมบูรณ์ขึ้นอีกมาก

ผมไม่กล้าฟันธงว่าผู้ใช้ Ubuntu 10.10 ควรอัพเกรดมาใช้ 11.04 หรือไม่ ด้วยเหตุผลว่า Unity ยังมีจุดบกพร่องอยู่บ้าง (แม้จะใช้งานทั่วไปได้แล้ว) และเรื่องบั๊กภาษาไทยตามที่กล่าวไป ดังนั้นขอแนะนำว่าควรลองโหลด live image มาทดสอบดูก่อน แล้วค่อยตัดสินใจด้วยตัวเองครับ

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

tukzazaza Sun, 05/01/2011 - 21:25

คนแรก !!!
โดยส่วนตัวเคยลองใช้เวอชั่นก่อนหน้านี้ ซักระยะ แล้วไม่ไหวครับ ตอนสนองผมไม่ได้ ถนัด Windows 7 มากกว่า

ผมไม่เจอปัญหาปุ่ม Alt กับเมนูบาร์แฮะ ไม่รู้ทำไม

ปัญหาจริง ๆ คือ Zeitgeist นี่ล่ะครับ มันดีเกิน เวลาพิมพ์หาโปรแกรมแล้วบางทีมี recent documents พร้อม thumbnail ติดร่างแหโผล่มาด้วย แล้วบางที thumbnail ดังกล่าวมันก็ไม่ใช่สิ่งที่อยากให้คนอื่นเห็นอะนะ มีวิธีปิดอยู่แต่ยุ่งยากพอประมาณ

ที่ขัดใจอีกอย่างคือ Dash ของ Unity มันยังทำงานได้ไม่เท่า Gnome-Do เช่น pause เพลงใน Rhythmbox ไม่ได้ เป็นต้น เลยยังต้องมี Gnome-Do ไว้อยู่

ขอบคุณครับสำหรับบทความดี ๆ ที่แนะนำสิ่งต่าง ๆ ที่น่าสนใจอยู่สม่ำเสมอ ด้วยคุณภาพ ความตั้งใจอันเต็มเปี่ยมครับ

  • ชอบเรื่องของเมนูด้านบนมาก ที่เน้นแนวคิดเรื่องของการเพิ่มพื้นที่ในแนวตั้ง เพราะผมใช้ Mac แล้วก็รู้สึกว่ามันสะดวกดีแต่มันก็กินเนื้อที่อยู่เหมือนกัน วิธีการนี้ถือว่าแก้ไขปัญหานี้ได้ดีเลยทีเดียว
  • การเลือกโปรแกรมที่เปิดอยู่แบบ Expose นั้น ผมชอบที่สุดแล้วรู้ว่าใช้งานได้จริง
  • การแสดงรายการโปรแกรม ของ Ubantu ทำได้น่าสนใจครับ มีสิ่งหลัก ๆ ที่น่าจะมีเลยคือ การพิมพ์เพื่อค้นหาโปรแกรม กับการจัดกลุ่มโปรแกรมที่ใช้งานบ่อย ๆ ในกรณีที่เราลืมชื่อโปรแกรม
  • ระบบการแจ้งเตือนต่าง ๆ บน Mac และ Windows ยังปัญหานิดหน่อยเกี่ยวกับการแสดงประวัติย้อนหลัง ไม่แน่ใจว่าบน Ubantu นั้นจะสามารถดูย้อนหลังได้หรือเปล่า ถ้าเป็นบน Mac นั้น คงต้องรอจนกว่า iOS จะมีการนำเสนอการแจ้งเตือนต่าง ๆ ได้ดีกว่านี้ ถึงจะถูกยกมานำเสนอใน Mac ต่อไปมั้งครับ (ช.ม.นี้ iOS เดินนำ Mac เดินตาม)
  • สุดท้าย scroll bar แบบลอย+แบบซ่อนอัตโนมัติน่าจะเพิ่มพื้นที่การแสดงผลได้มากขึ้น อย่างใน Mobile OS แน่นอนครับ

ผมลองลงดูก็ได้ GNOME มาเหมือนกันครับ ลองไปค้นหาดูเหมือนจะติดฮาร์ดแวร์ขั้นต่ำ (ในเว็บให้ข้อมูลว่า GeForce 9200 ขึ้นไปของผมยังใช้ 8800GTS อยู่)

https://wiki.ubuntu.com/DesktopExperienceTeam/UnityHardwareRequirements

นอกจากนี้ได้เจอคำสั่งเทสว่ารองรับ Unity หรือไม่มาด้วย

/usr/lib/nux/unity_support_test -p

แหะๆ ผมลืมไปครับว่าลงบน VM คาดว่าลงปกติน่าจะได้แต่ยังไม่ได้ลอง

[update] ไปเจอวิธีทำให้ 11.04 บน VM สามารถใช้ Unity 2D ได้ (เค้าบอกว่ารันบน VM ใช้แบบ 3D ยังไม่ได้)

http://www.youtube.com/watch?v=ZAVLcp2inTg

ลงปุ๊บ ปวดหัวปั๊บ กับไอ้ Unity นี่ล่ะครับ

กว่าจะปรับตัวได้ ก็พอทนใช้ได้ระดับนึง แต่ยังไม่ได้ช่วยให้อีกขึ้น
จนต้องไปนั่งหาวิธียำเจ้า Launcher ให้พอใช้งานได้สะดวกขึ้น

ที่มีปัญหาสำหรับผมคอื

  1. แต่เดิมใช้ Gnome เราสามารถเลือกระดับ desktop effect ได้ แต่พอมาเป็น unity แล้วไม่ได้
    ต้องอาศัย CCM มาปรับเอา ลดลูกเล่นบางอย่างลง แต่โดยรวมยังมีกินแรม หรือ process อยู่บ้าง

  2. ปัญหา Alt นี่ล่ะครับ

Unity Launcher เวลา Maximize window แล้ว ตัว launcher ก็จะหดลงไปอัตโนมัติ ตรงนี้ชอบมากกครับ อยากให้ dock ของ OS X ทำได้แบบนี้บ้าง

nant Sun, 05/01/2011 - 22:37

ผมมองมองว่า ถ้าจะเปรียบเทียบกับ microsoft หละก็ unity ตัวนี้เทียบเท่ากับ windows vista ดังนั้นถ้าจะลอง ถ้าไม่อยากเจอประสบการณ์ไม่ค่อยดี แนะนำให้ข้ามตัวนี้ไปเลยดีกว่าครับ รอตัวหน้าเลยทีเดียว

การทำงานทำได้แย่กว่า Gnome Do มาก รายนั้นฉลาดกว่า พิมพ์แค่ตัวเดียวโปรแกรมที่เรียกบ่อยก็โผล่ มา พิมพ์ตัวอักษรอยู่ส่วนไหนก็ได้ อย่าง System Monitor พิมพ์ sys mo ยังเจอเลย

ภาษาไทยผมไม่ค่อยเจอนะ อาจเพราะชินแล้วก็ได้ (เมื่อก่อนกดปุ่มนี้ร่วมกับปุ่มอื่น (อย่าง F) ก็เรียกเมนูได้ + บน Windows ก็เป็นแบบนั้นอยู่แล้วนี่ครับ?)

ผมไม่ชอบวิธีสลับหน้าต่างสักเท่าไหร่ ต้องคลิก 2 ครั้ง (ถ้าเปิดโปรแกรมอื่นอยู่ก็ 3) เพื่อไปหน้าต่างที่ต้องการ แต่เวลาพอจะปิดหน้าต่างอีกอันที่เปิดทิ้งก็ต้องเปิดก่อน แล้วก็คลิกปิด ถ้าคลิกปิดที่หน้า Expose ได้ก็คงดี

ใครใช้ LibreOffice แล้วลง Global Menu เจอปัญหา เมนู Window หายกันบ้างไหม? ถ้าโปรแกรมอื่นผมไม่คิดว่าจะเป็นปัญหานะ แต่เป็น Calc แล้วมันสั่ง Split/Freeze ไม่ได้...

วินโดวส์กับ Unity ดักอีเวนต์ของคีย์บอร์ดไม่เหมือนกันครับ

กรณีของวินโดวส์/Firefox 4: ถ้ากด Alt ค้าง (OnKeyDown) เมนูจะยังไม่ปรากฏขึ้นมา ต้องปล่อย Alt ก่อน (OnKeyUp) จึงจะโชว์ ทำให้การกด Alt แล้ว Shift ไม่เจอปัญหานี้

กรณีของวินโดวส์กับโปรแกรมอื่นๆ (e.g. Notepad): การกด Alt ค้างจะยังไม่เปิดเมนู แต่จะเป็นแค่ไฮไลท์ตัวอักษรบนเมนูเท่านั้น โฟกัสของเคอร์เซอร์จะยังอยู่ที่ textarea ยังไม่ถูกขโมยไปที่เมนู

แต่ของ Unity: เหมือนว่ามันจะดัก Alt โดนกด (OnKeyDown) แล้วเปิดเมนูทันที ทำให้ชนเข้าเต็มๆ กับการกด Alt+Shift ที่จังหวะการกดไม่ดีครับ

ผมไม่เจอนะ กด alt อย่างเดียวแล้วปล่อย ก็ยังพิมพ์ต่อได้ เมนูไม่ถูกเรียก

ผมเจอปัญหานี้กับ Windows มากกว่า เพราะถ้าเรากด alt แล้วปล่อยมันจะไปโฟกัสที่เมนูแรก อย่าง File แล้วพิมพ์ต่อไม่ได้ แต่บน Natty นี่ไม่เจอจริง ๆ ครับ

เวลาลากหน้าต่าง มันไม่เด้งเหมือนเดิมแล้วอะครับ
ชอบให้มันเด้งดึ๋งแบบเดิมสวยกว่า

jeeradate Sun, 05/01/2011 - 23:22

ผม Upgrade จาก 10.10 แล้วไปเปิด Rotate Cube ใน CCMS ซึ่งมันบังคับให้ปิด Desk Wall
เท่านั้นเป็นเรื่อง Rotate Cube ก็ไม่ Enable แล้ว Desk Wall ก็หาย เรียกโปรแกรมไม่ได้ Switch Windows ก็ไม่ได้ ต้องลงใหม่เลยเสียเวลาน่าดู

กลับมาใช้ 10.10 ก่อนดีกว่ารอ 11.10 จะลองอีกที
หรือไม่ก็ย้ายค่ายไปใช้ค่ายที่ยังใช้ Gnome อยู่

ปวดกบาล บั๊กตรึม
Multidisplay เน่า, Time Setting ก็เหมือนเดิม, Keyboard ก็ไปเซ็ตเอง, Usability ก็พอได้ แต่ไม่ยืดหยุ่น , firefox เปิดมาทีแรกยังไม่ทำอะไรเลยก็ไปละ ใช้ mint เหมือนเดิมดีกว่า -*-

= = จะอัพเกรด Notebook ทำงานไปใช้เวอร์ชันนี้อยู่ สงสัยคงต้องได้พับโครงการไปก่อน

เคย Download ตัว Unity เฉยๆมาเล่นกับ 10.10 ผลปรากฏว่า..ไม่ปลื้ม

กรณีผมกลับตรงกันข้ามแฮะ เรื่อง Alt เปลี่ยนภาษาแล้วไปเรียกเมนูทำให้ขัดการทำงาน เพราะว่าดันไปเจอบน Windows 7 แต่กลับไม่มีปัญหาใน Ubuntu 11.04

ในส่วน Unity เนื่องจากอัพเกรดเป็น 11.04 ตั้งแต่ต้นเดือน (ยังเป็น Beta) ช่วงแรกๆ ก็มีปัญหาติดบั๊กแถบข้างกดแล้วไม่มาบ้าง overlay ไม่ขึ้นบ้าง ไดรเวอร์พังบ้าง แต่ก็ถูกแก้แล้วก่อนจะ Release ออกมา 2-3 วัน

ที่ติดตามจาก Community ของ Ubuntu เองก็พอสรุปได้ว่า Multidisplay ยังไม่ชัดเจนว่าจะแก้ไขเมื่อไหร่ (แต่ดูจาก Feedback แล้วคาดว่าคงจะโดนกดดันให้แก้ในเร็ววัน)

ฟีเจอร์ Lens ที่เหมือนจะมาชดเชย Gnome Do ก็ทำได้ดีพอควร ไม่เป๊ะแต่ไม่เป็นปัญหา (ผมจำชื่อขึ้นต้นของ App ที่จะเรียกเป็นปกติ) อื่นๆ พวก Expose ผมไม่ออกความคิดเห็นเพราะปัญหาน่าจะมาจากการปรับตัวไม่เต็มที่ จับ Mac มาน้อยด้วย :P

สิ่งที่ประทับใจใน 11.04 (จริงๆ ส่วนใหญ่มันก็คือ Unity) คือ Snap หน้าต่างได้เหมือน Windows 7 (Snap ซ้ายขวาได้) กับการใช้ Windows + Num Key สลับหรือเรียกโปรแกรมบน Launcher ซึ่งปกติผมติดนิสัยเปิดหน้าต่างค้างไว้เยอะมาก และไม่จำ Shortcut Key ใดๆ เลย อันนี้ให้อารมณ์เหมือนเรียกสกิลในเกมเลย Enjoy กับมันมาก :P

อีกจุดเล็กๆ น้อยๆ ที่ดีขึ้นเมื่อเป็น Unity คือไอคอนบิ๊กเบิ้มดีครับ ดูง่ายกว่าแต่ก่อนที่เป็น Panel แสดง Text เวลาเปิดเยอะมากๆ แล้วงมหาไม่เจอว่าหน้าต่างที่จะเปิดอยู่ช่องไหน

สรุปว่ามันดีขึ้นมากในกรณีเริ่มหัดใช้ Ubuntu เพราะผมเชื่อเสมอครับว่า Application มันเสนอทางเลือกเยอะ จนบางที Utility เล็กๆ ง่ายๆ งานเดียวดันโผล่มาเพียบจนไม่รู้จะเลือกลงอันไหนดี

มันไม่ใช่ทุกคนที่จะสนุกกับการลองของนะครับ :P เปิดมาใช้งานพื้นฐานได้ง่ายๆ User จะปลื้มกว่า
(แต่ไม่น่าปลื้มสำหรับ Advanced User เนอะ)

ubuntu ยังไม่ได้ตัด gnome2 ทิ้งนะครับ indicator ที่เห็นพวก ตัวเปลี่ยนภาษา ตัวเน็ตเวิร์ค หรือ add on ตัวอื่นๆ ยังใช้อยู่นะครับ โครงสร้างพื้นฐานภายในยังเป็น gnome2 อยู่ มีเพียง ui ที่ชื่อว่า unityมาครอบบเฉยๆ

ส่วน alt+shift คือการกดพร้อมกัน ฉนั้นจะไม่ให้มันเกิดปัญหาต้องกดพร้อมกัน ไม่ก็เลี่ยงวิธีได้โดยการกด alt ก่อนแล้วตามด้วย shift หรือสลับกันโดยกด shift ก่อน

ลืมรีวิว snapping window หรือเปล่าครับ (killer feature เลยนะเนี่ย)

ส่วนตัวปิด unity ลง cairo-dock = แจ่ม!

ต่อออกจอ 2 แล้ว blink เลยยังไม่ใช้งานครับ

โดยรวมรู้สึกว่ามันเร็วมากๆๆๆๆ

และให้อารมณ์ mac มากขึ้นด้วย

ใครรับไม่ได้กับแนวคิดของ unity / gnome shell เตรียมย้ายมา xfce4 หรือ kde ได้เลยครับ

ubuntu classic จะมีแค่รุ่นนี้รุ่นสุดท้าย

(สังเกตอย่างหนึ่งว่า เราไม่มี gnome shell ให้ใช้ในรุ่นนี้ นอกจากจะลง PPA และมันจะพัง unity ด้วย เนื่องจากรุ่นนี้เป็นการใช้ gnome2 อยู่เบื้องหลัง)

^เป็นรุ่นสุดท้ายที่จะพ่วง gnome classic เข้ามาในแผ่นนะครับ ใน main repo ก็ยังมีอยู่แน่นอน เพราะองค์ประกอบเบื้องหลังคือ gnome2

ลง gnome(3)-shell แล้วพังแน่นอนครับ มันไปตีกัน ไม่ใช้เป็นเพราะ gnome2 แต่เป็นเพราะสภาวะแวดล้อมมันต่างกันนะฮะ
แล้วก็ ppa นั้น ทางผู้ทำไม่ได้ดูแลแล้ว

ALT สลับภาษาผมไม่เจอปัญหานะ พิมพ์รัว ๆ ก็ไม่เจอ จะว่าเพราะชินก็ไม่เชิง คงเกี่ยวกับจังหวะในการกด และการรับสัมผัสของปุ่มบน keyboard ด้วย

สำหรับ Unity จุดที่ชอบจริง ๆ คือ Global Menu เพราะมันยืดหน้าจอขึ้นไปได้อีก อยากได้แบบนี้มานานแล้ว แต่ข้อเสียมันก็มีนะ เอาล่ะ ชอบแบบนี้ จะกี่คลิกก็ไม่สน

Launcher ของ Unity จะติก็คือการเรียกโปรแกรมนี่ล่ะครับ ปกติ User ที่ข้ามมาก็งงอยู่แล้วว่างานไหนจะใช้โปรแกรมอะไรทำ เดิมที่เป็น Menu Bar ก็มีทั้งชื่อโปรแกรมและคำอธิบายช่วยเอาตัวรอดได้ แต่มาแบบ Unity นี่ต้องรู้ชิ่อโปรแกรมเลย แต่มันก็ไม่ตีบตันซะขนาดนั้น เพราะเท่าที่ลอง งานส่วนใหญ่มันก็มีชื่อคล้ายโปรแกรม เช่น พิมพ์ keyboard มันก็เจอให้ไปตั้งค่าคีย์บอร์ด ก็นะ ลดการคลิกให้ไปพิมพ์ เวิร์กจริงเหรอ ?

Lens นี่ Killer Feature ของจริงเลยครับ (ฆ่าเราได้เลยจริง ๆ) Thumbnails มันนี่ ... เอาเป็นว่าเครื่องนี้ ชื่อล็อกอินนี้ ต้องปิด ต้อง Log Off ทุกครั้งเวลาห่างเครื่อง และห้ามคนอื่นเล่นทุกกรณีครับ ก็ชอบที่มันแสดงพรีวิว แต่ก็ไม่ชอบที่จะให้ใครเห็น (ขอ Option ที่แบบ ปิด-เปิด Lens ไปเลยครับ ขอจริง ๆ นะ ไม่ไหวจริง ๆ แบบนี้)

ที่ใหม่ (เรา เก่าเค้า) ก็คือ Snapping Window ที่มาแบบเนียน ๆ แต่เซอร์ไพรส์มาก

ส่วนตัวคิดว่าการมาของ Unity นั้น นอกเหนือจากพื้นที่การแสดงผล หรืออะไรแล้ว ทาง Ubuntu คงมองแล้วว่า GNOME 3 ไม่ถูกใจ อนาคต Unity จะแยกจาก GNOME ขาดไหม ? ผมว่าไม่ครับ เพราะ Ubuntu ยังต้องใช้อะไรจาก GNOME อีกหลายอย่าง การพัฒนาของ Unity คงจะอิงกับ GNOME ไปเรื่อย ๆ เนียนๆ แม้ GNOME จะไม่แล แต่มันจะยากอะไรกับนักพัฒนา ก็แค่ใส่ Indicator มาเงียบ ๆ เปิดใช้เมื่อเจอสภาพแวดล้อมเป็น Unity งานก็เพิ่มขึ้นไม่มากเท่าไรนะผมว่า ..

สรุป สำหรับผมชอบ Ubuntu 11.04 ครับ ที่เคยกลัว Unity จนจะเปลี่ยนไปใช้ตัวอื่นนั้นล้มเลิกความคิดไปแล้ว ใช้ไปใช้มายังแอบคิดว่ามันล้ำกว่า Aero ของ Windows 7 อีกนะเนี่ย ส่วนหนึ่งอาจเพราะใช้ Dock มานานแล้ว การเรียก การย่อ ก็คุ้นเคยดี เลยไม่เป็นปัญหา และหลาย ๆ อย่างก็ล้ำ และดูดี อย่าง Messaging Menu ที่ผมมองว่ามันแน่มากที่รวม Social Network ต่าง ๆ มาให้เลย ล็อกอินแล้วใช้ได้เลย ผสมผสานกันแบบเนียน ๆ และ MeMenu ที่โพสต์ข้อความไป Facebook, Twitter ได้เลย จริง ๆ มันไม่ใหม่ แต่ผมว่ามันใช้ได้ดีในรุ่นนี้นะ ก่อนหน้านี้ไม่รู้ทำไม ใช้แล้วไม่ถูกใจ

เรื่องการสลับภาษาไทยนี่ผมใช้ปุ่ม Shift+Caps Lock ครับ ผมว่ามันเหมาะดีกับผมที่วางมือบนคีย์บอร์ดแบบพิมพ์สัมผัส เพราะไม่ต้องลื่นนิ้วมากนักแค่ นิ้วก้อยขวากด Shift ขวา บวกกับนิ้วก้อยซ้ายกด Caps Lock

ทำมาให้เป็นเขาวงกตขึ้นมากเลย Unity หรือว่าผมชินกับของเก่า(gnome) กับ windows มากจนเกินไป มาเจออะไรใหม่แบบทันทีทันใดแล้ว เขาวงกตดี ๆ นี้เอง

ในทางกลับกัน ผมชอบ scroll bar นะสวยดีถนัดมือกว่าด้วย

แนวทางการเพิ่มหน้าจอให้ใช้งานมากที่สุด ผมว่ามาถูกทางนะ แต่ไม่ค่อยเห็นด้วยกับ Unity

อีกเรื่องที่หงุดหงิด หาโปรแกรมยากเหลือเกินใน Unity เขาวงกตมาก ๆ

cmmadnat Mon, 05/02/2011 - 11:54

Maverick meerkat ไม่เคยปิดตัวเองเพราะร้อนไปเลย แต่ natty narwhal ทำได้
Unity อาจจะทำให้เครื่องร้อนจนปิดเองได้ ใครเป็นอย่างผมบ้าง รู้สึกมันร้อนขึ้น

ขออนุญาติแนะนำมินิรีวิวอีกที่นะครับที่ ubuntuclub grin

สำหรับรุ่น natty เป็นความเปลี่ยนแปลงด้านส่วนติดต่อผู้ใช้ครั้งใหญ่ของอูบุนตู ในการใช้งานช่วงแรกๆ ของผมก็งงไม่น้อยเหมือนกับการจัดการพวกหน้าตาและการหาโปรแกรม (เพราะมันคุ้นกับ gnome menu)

เรื่องบั๊กนี่เป็นของคู่กันกับตัวที่เพิ่งรีลิสเลย ในเว็บต่างประเทศก็ได้รายงาน 6 บั๊กร้ายแรง นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า natty บูตช้ากว่ารุ่นอื่นๆ

เรื่องอื่นๆ ก็คงเป็นเรื่องช่องค้นหา กับช่องพิมพ์คำสั่ง (Alt+F2) ซึ่งผมว่าควรจะรวมเป็นอันเดียวกันเลย และหวังว่าในอนาคตเมื่อพิมพ์คำสั่ง จะมีระบบ autocomplete พร้อมคำแนะนำเบื้องต้นให้ ผู้ใช้หน้าใหม่จะได้ไม่พิมพ์คำสั่งกันผิดๆ

sawanlunla Mon, 05/02/2011 - 16:39

ผมว่า Shortcut ของการสลับหน้าต่างเป็น Super+W นะครับ ส่วนของการสลับ WorkSpace เป็น Super-S ครับ

มันเปลี่ยน core module ที่เรียก wifi driver อะครับ
ยังไงลองหา driver ตัว update ล่าสุดดูก่อน ถ้าไม่ได้อาจลอง ndiswrapper (แต่ตัวนี้ผมก็ลองไม่ผ่านแฮะ - ตัดใจ wifi ไปละ - -")

หาวิธีแก้ได้แล้ว
https://answers.launchpad.net/ubuntu/+question/155431

สุดท้ายแล้ว linux ไม่เหมาะกับ end user จริงๆด้วย
วิธีแก้คือพิมพ์ใน terminal

sudo apt-get update; sudo apt-get install hwinfo grep; sudo lshw -C network; rfkill list; sudo iwlist scanning; cat /etc/network/interfaces; cat /etc/lsb-release; lspci -nn; lsusb; sudo lshw -short; uname -a; dmesg | egrep 'acx|at76|ath|b43|bcm|CX|eth|ipw|irmware|isl|lbtf|orinoco|ndiswrapper|NPE|ound|p54|prism|rtl|rt2|rt3|rt6|rt7|usb|witch|wl'; iwconfig; cat /etc/modprobe.d/* | egrep 'acx|at76|ath|b43|bcm|CX|eth|ipw|irmware|isl|lbtf|orinoco|ndiswrapper|NPE|p54|prism|rtl|rt2|rt3|rt6|rt7|witch|wl'; sudo hwinfo --netcard ; cat /var/lib/NetworkManager/NetworkManager.state; sudo lsmod

แล้วมนุษย์ปุชนทั่วไปจะรูไม๊ล่ะครับ

เห็นวิธีแก้แล้วปวดตับเลยครับ

จริง ๆ ผมเข้าใจว่าใช้ Linux ก็จะมีคนบอกวิธีแก้ปัญหาต่าง ๆ เอาไว้ค่อนข้างเยอะนะครับใน internet แต่จุดที่ผมไม่ชอบอยู่อย่างหนึ่งคือแม้ว่าผมจะแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ ที่พบได้ด้วยการค้นจาก google แต่มันไม่ได้ทำให้ผมรู้ถึงปัญหาที่แท้จริงที่เกิดขึ้นเท่าไร ส่วนมากก็จะเน้น copy แล้วก็ paste แล้วลองดูว่าใช้ได้หรือไม่ได้ ส่วนใหญ่ solution แรกที่ลองมักจะ fail ซึ่งทำให้ผมต้องลองหลาย ๆ ครั้ง ทำไปเรื่อย ๆ สุดท้ายก็ใช้ได้

ผมอาจจะเป็นคนใฝ่รู้ไม่ถึงขั้นเลยไม่ได้ลองจนเข้าใจลึกซึ้งทุกคำสั่งที่แก้ผ่าน terminal ว่ามันแก้อย่างไร ทำอะไรบ้าง เครื่องของผมมีปัญหาอะไร ทำไมคนอื่นไม่เป็น ซึ่งพอผมเจอแบบนี้เรื่อย ๆ แล้วสุดท้ายก็พบว่าการเสียเวลาหาทางแก้ปัญหาต่าง ๆ บน Linux โดยที่ไม่จำเป็น (อย่างเช่น Wifi เป็นต้น) มันให้ประโยชน์กับผมน้อยเหลือเกินจนไม่คุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปเลย

ผมชอบแนวคิด Unity ของ Ubuntu นะครับทั้งส่วนที่คิดเองและได้รับแรงบันดาลใจมาจากคนอื่น ออกแบบได้ดีตั้งแต่ภายในจนภายนอกเลยครับ แต่ตราบใดที่ Linux ยังมีปัญหากับเรื่องพื้นฐานยิบย่อยพวกนี้อยู่ ผมว่าผมก็คงต้องขอผ่านไปก่อนดีกว่า เสียเงินซื้อ OS ที่มีคน support และผ่านการทดสอบมาแล้วอย่างดีน่าจะคุ้มค่ากว่าสำหรับผมครับ

ชอบไม่ชอบ คิดต่างอย่างไร ขอคำติชมแนะนำแบบสร้างสรรค์นะครับ ;)

มันแล้วแต่คนครับ

ผมเป็นผู้บริโภคคนสุดท้ายคนนึง ที่ชอบแก้ปัญหา ชอบหาปัญหา และชอบที่แก้ปัญหาได้ ถึงแม้เริ่มแรกมันจะเป็นการก็อป แล้ววาง แต่เราสามารถศึกษาได้นี่ครับ มันก็ภาษาอังกฤษ ดู ๆ ไป ไม่เข้าใจก็จำเอา หรือ google เอา ไม่เสียหายนะ เผื่อจะช่วยเหลือคนรอบข้างได้บ้าง

ลองเอาบรรทัดนี้ search ดู
'acx|at76|ath|b43|bcm|CX|eth|ipw|irmware|isl|lbtf|orinoco|ndiswrapper|NPE|ound|p54|prism|rtl|rt2|rt3|rt6|rt7|usb|witch|wl

ผมยอมรับว่าผมไม่สามารถตรัสรู้ได้จริงๆว่ามันคือคำสั่งอะไรมั่ง

วิธีแก้ปัญหาบนลีนุกซ์ ไม่ต่างอะไรกับการกดขึ้นขึ้นลงลง A B Select Start.

เห็นด้วยจากใจครับ ความรู้สึกประมาณเดียวกับผมเลย

แก้ปัญหาก็สนุกดีครับ(แรกๆ) แต่พองานยุ่งๆเข้า เด็ดไลน์กระชั้น ก็ไม่มีอารมณ์และเวลาจะมาแก้ปัญหาแล้วครับ
การเสียตังเพื่อแลกกับOSที่พร้อม ที่ใช้แล้วได้ทำงานจริงๆ(มากกว่ามานั่งแก้ปัญหา) จึงเป็นทางเลือกที่ดีกว่า...สำหรับบางท่านอ่ะนะครับ คงไม่ใช่เพราะเขาไม่อยากเรียนรู้อะไร

แต่ผมก็จะรอต่อไป...วันที่ Linux จะกลายเป็น Mainstream OS กับเค้าบ้าง อิอิ

ส่วนตัวคิดว่า คง 12 แหละครับ ถึงจะเข้าที่

ซึ่งบางที ตอนนั้นอาจจะมี Adobe Photoshop CS6 for linux ก็ได้ ฮ่าๆๆ

http://www.omgubuntu.co.uk/2011/04/adobe-photoshop-for-linux-definitely-on-the-radar/

เมื่อเช้าเพิ่ง apt-get update (ไม่ได้ใช้ auto update ของคนอื่นคง update ไปแล้ว) พบว่ามี update ของ Chromium ที่แก้ปัญหาเรื่องการแสดงผลภาษาไทยเรียบร้อยแล้วครับ

ส่วนตัวแล้วผมถูกใจ unity นะ

เหตุผลก็ไม่ได้อยู่ที่ตัวผม แต่เป็นเพราะ คนอื่นๆในครอบครัว ที่เค้าไม่ geek สามารถใช้งานได้ smooth เหมือนตอนใช้ windows

ค้นหาโปรแกรม หรือ แปะไว้บน Launcher ก็สะดวกดี ใครๆก้เข้าใจได้ง่าย
ทำให้ผู้ใช้ธรรมดาสามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องเปิด terminal อีกเลย

ส่วนเรื่องเปลี่ยนภาษา ตอนแรกโดนคนอื่นด่าว่า มันใช้ยาก ให้มา alt+shift ยุ่งยาก
ผมเลยใช้วิธี ลงภาษาไทยไว้ใน ibus แล้วให้ grave เป็นปุ่ม activate ibus ขึ้นมา
ก็จะเหมือน windows ที่คนอื่นๆคุ้นเคยกัน ทำให้คนทั่วๆไปไม่ต่อต้าน ว่าใช้ยาก วุ่นวาย

แนวโน้มที่จะให้คนทั่วไปยอมรับ สวยงามดีทีเดียว แม้คนที่ไม่ geek ก็พึงพอใจเหมือนกัน

เจอเหมือนกันครับ ของผมต้อง Login 2 ครั้งด้วยซ้ำ ไม่รู้เพราะอะไรกำลังหาสาเหตุอยู่เหมือนกัน และมี notification เกี่ยวกับ Avahi network อะไรสักอย่างขึ้นประจำตอนเปิดเครื่องใหม่

ตั้งบอกให้ Auto login แล้วก็ไม่เห็นจะทำให้
เจอปัญหา Wifi หลุด และระบบ Notification บนมุมบนขวาค้างเป็นบางครั้งครับ

มีครับ ตั้งให้ไม่ต้องใส่ password แล้วก็ยังเป็น

ของผมเจอปัญหาไม่ยอม hibernate ครับ
อาจเพราะเป็น notebook ด้วย เลยมีปัญหานี้

หลังจากทดลองใช้มาได้สักพักใหญ่ ถอยละครับ ไม่ไหวจริงๆ กับยูนิตี้

ขอเปลี่ยนไปใช้ KDE ดีกว่า มันจี๊ดกว่ามาก และก็ดูตัวอื่นที่น่าสนใจสำรองไว้ด้วย

ก็ ดี นะ ครับ แต่ ที่ทำให้ คน ใช้น้อย ผมว่า เป็นเพราะ มันไม่ ค่อย จะ มีไดว์เวอร์ กับ เครืองคอมพ์ รุ่น ต่าง ๆ และก็ โอเพนออฟฟิส พอแปลงมาเป็น ms office แล้วมัน เฟี้ย นี้และ เรื่องใหญ่

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Doom
public://topics-images/doom_logo.png
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Threads
public://topics-images/threads-app-logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Fortnite
public://topics-images/fortnitelogo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
Tinder
public://topics-images/hwizi8ny_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
PS5
public://topics-images/playstation_5_logo_and_wordmark.svg_.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find My Device
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png