Intel

เห็นได้ว่าช่วงหลังนี้อินเทลเริ่มมีการเคลื่อนไหวในความพยายามที่จะยัด GPU ลงไปบนชิปซีพียูตั้งแต่ที่ออกซีพียู Core i เป็นต้นมา แม้ว่าประสิทธิภาพจะยังไม่สู้ดีเท่าไหร่นัก แต่ก็ได้รับการปรับปรุงมาเรื่อยอย่างที่ได้เห็นล่าสุดในชิปรุ่น Sandy Bridge ที่เรียกได้ว่าพอใช้ได้แล้ว

ล่าสุดอินเทลได้ทำการปิดดีลครั้งประวัติศาสตร์กับบริษัทผู้ผลิต GPU รายใหญ่อย่าง NVIDIA เป็นมูลค่ากว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (หรือราว 45 พันล้านบาท) โดยการเซ็นสัญญาครั้งนี้ทำให้อินเทลสามารถเข้าถึงสิทธิบัตรของ NVIDIA อันได้แก่สิทธิบัตรในส่วนของ GPU และในส่วนของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ได้ เช่นเดียวกับทาง NVIDIA ที่สามารถเข้าถึงสิทธิบัตรของอินเทลได้เช่นกัน ยกเว้นในส่วนของสถาปัตยกรรม x86 และในส่วนของเทคโนโลยีแฟลชเมโมรี่ โดยสัญญาดังกล่าวมีระยะเวลาทั้งหมดราว 6 ปี โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 18 มกราคม และไปสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคมในปี 2016

แน่นอนการทำสัญญาครั้งนี้น่าจะช่วยให้ GPU ที่จะพ่วงมากับชิปซีพียูค่ายอินเทลมีประสิทธิภาพมากขึ้นอย่างแน่นอน ถ้าอินเทลปิดงานเร็วพอ ไม่แน่เราอาจจะได้เห็นของดีที่มากับชิปรุ่น Ivy Bridge ก็เป็นได้ รับรองว่างานนี้ AMD หนาวแน่ๆ

ที่มา - Electronista, Ars Technica

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

ถามนิดนึงครับ

45 พันล้านบาท
4.5 หมื่นล้านบาท
4 หมื่น 5 พันล้านบาท

อันไหนถูกต้องตามหลักการแปลครับ

ว่าจะท้วงอยู่ ถ้าถามผมต้องอันล่างสุดล่ะครับ แต่ควรจะเขียนว่า
สี่หมื่นห้าพันล้านบาท มากกว่าที่จะใช้ตัวเลข มั้งนะ
สำหรับผมนี่ 45 พันล้านบาท มันขัดๆ กับการอ่านตัวเลขของคนไทยพอสมควรนะ เพราะไทยมีคำเรียกหน่วยของตัวเลขไปจนถึงเจ็ดหลักก็น่าจะใช้ให้ถูกหลักด้วยน่ะครับ

ผมไม่มีปัญหากับ 15พัน 4.5 พันล้านอะไรเถือกนั้น

แต่ไม่เข้าใจจุดยือดของ blognone บากเรื่องก็ภาษาไทยจ้ามากๆ

แต่เรื่องนี้กลับ แปลไทยแบบเอาอ่านสะดวก(อาจจะสำหรับบางคน) โดยใช้สำเนียงฝรั่ง

ถ้าเน้นสะดวก เรื่องอื่นก็น่าจะเน้นเอาอ่านสะดวกไปด้วย

หลายเรื่องไม่มีแนวทางไหนถูกต้องชัดเจน เราก็อนุโลมให้ใช้ทางไหนก็ได้นี่ครับ

เรื่องตัวเลขนี่ถกกันมานานแล้ว และไม่มีใครหากฏเกณฑ์อะไรมาบอกว่าอะไรถูกผิด ผมก็ไม่เห็นประเด็นว่าบังคับทางใดทางหนึ่งทำมไ

หมายถึง

45 พันล้านบาท
4.5 หมื่นล้านบาท
4 หมื่น 5 พันล้านบาท

ถูกทุกข้อใช้ไหมครับ หรือว่ามีอันไหนที่ prefer อยากให้ใช้กันหรือเปล่า

เอาตามหลักภาษาไทยที่ผมเรียนนะครับ (ไม่มีแหล่งอ้างอิงให้นะครับ)

คือภาษาอังกฤษเขาสิ้นสุดที่"พันล้าน"ทำให้จำนวนที่มากกว่าพันล้านจะเป็นการเริ่มนับใหม่ เช่น 5 พันล้าน, 50 พันล้าน, 500 พันล้าน (จริงๆสิ้นสุดที่"พัน"เพราะเขาไม่มี"หมื่น"หรือ"แสน" การเีรียกหมื่นจึงเป็น 10 พัน เรียกแสนเป็น 100 พัน (A hundred thousand)

แต่สำหรับเราภาษาไทยเป็นคำเฉพาะคือหมื่นและแสน จึงเรียกว่าหมื่นล้านหรือแสนล้านได้นะครับ

ถ้างั้นสามารถใช้คำแบบนี้ในการเขียนข่าวได้มั้ยครับ

ขอยกตัวอย่างแบบเห็นชัดเจนเลยนะครับ

"Appstore มีจำนวน application เกิน 10 หมื่นตัวแล้ว โดยที่ราคาตัวที่แพงที่สุดอยู่ที่ 20 พันบาท"

ถ้าจงใจขนาดนั้น ผมก็คงไม่ปล่อยให้ขึ้นหน้าแรกล่ะครับ ผมว่าเนื้อข่าวนี้เองก็เข้าใจได้พอสมควร (พยายามใช้พันล้านเหมือนกัน) กรณีแบบนี้ถ้า Writer ยืนยันจะไม่แก้ผมจะปล่อยตามการยืนยันของ Writer ครับ

ส่วนถ้าคุณ (ซึ่งยังไม่ได้เขียนสักข่าวเลย) มาเขียนโดยจงใจเช่นนี้ ผมก็ไม่คิดว่าจะมี Writer คนไหนมาปล่อยข่าวขึ้นหน้าแรกให้นะครับ

ผมยกตัวอย่างสุดโต่งให้ดูนะครับเพื่อจะแสดงว่า การอนุโลมให้ใช้แบบไหนก็ได้เป็นแต่เหตุผลที่ยกมาอ้างเท่านั้นแหละ

พอผมยกตัวอย่าง 10หมื่น กับ 20พัน ทุกคนรู้ว่ามันผิด จนคุณยังบอกผมได้ว่าคงไมมี writer คนไหนปล่อย

ผมถึงบอกว่า ผมงง ว่า blognone ที่เอาตามกฏภาษาไทยจ๋า แต่เอาความถนัดเข้าว่ากับเรื่องตัวเลข

เราปล่อยหลายเรื่องมากครับ คุณคิดเอาเองเรื่อง "ตามกฏภาษาไทยจ๋า" ที่เห็นชัดไม่ยมก ตลอดจนคำแปลหลายอย่างที่เรา "อนุโลม"

เส้นความยอมรับได้แต่ละที่ แต่ละเว็บ และแต่ละคนไม่เท่ากันครับ ที่นี่เราก็มีเส้นของเรา หลายอย่างเราปล่อยเพราะเราคิดว่ามัน "สมเหตุสมผล" หลายอย่างคุณอาจจะคิดว่าควรปล่อยแต่เราก็ไม่ปล่อยไป

ส่วนถ้าคุณพยายามจะบอกว่าเกณฑ์ของเราไม่สมเหตุผลจากการคอมเมนต์ ผมได้รับทราบความเห็นของคุณแล้วครับ และความเห็นของคุณตกไปจากการพิจารณาของผม อย่างน้อยก็ในตอนนี้

ขอแทรกข้อสังเกตนิดนึงครับ

คือถ้าใช้คำว่า -สิบพันล้าน แทน คำว่า หมื่นล้าน ตามภาษาไทยมันจะมีรูปประโยคแบบนึงที่ดูแล้วมันแปลกๆที่คนทั่วไปไม่ใช้กัน อย่างเช่นหัวข้อข่าวนี้ คือ มูลค่าหลายหมื่นล้าน ก็ยังใช้คนละแบบกันกับเนื้อข่าวซึ่งคงไม่มีใครใช้ว่า มูลค่าหลายสิบพันล้าน แน่นอน เพราะรูปประโยคที่คนไทยนิยมพูด/เขียนกันมักจะเป็นการบอก หน่วย เพียงอย่างเดียวเพื่อประมาณมูลค่าเพียงอย่างเดียวมากกว่า

เว้ากันซื่อๆนะครับ

คือเรื่องนี้เถียงกันไม่จบครับ แต่ละแบบ แต่ละความเห็น ก็มีเหตุผล เลยหยวนๆให้ใช้กันไปก่อน จนกว่าจะมี "อะไรบางอย่าง" มาตัดสินให้ชัด

ภาษาไทยคำไทยส่วนใหญ่มีพจนานุกรมเปนมาตรฐาน ก็คือ "อะไรบางอย่าง" ที่ตัดสินให้ชัดไปแล้ว

ส่วนตัวผมก็ไม่เห็นด้วยกับแนวทางนี้
แต่ยังไงมันก็เปนแนวทางของที่นี่
ครับ

ผมว่าภาษาไทยในปัจจุบันก็อ่านว่า "สี่หมื่นห้าพันล้านบาท" กันหมดนี่ครับ เพิ่งเห็นที่นี่แหละที่นิยมอ่านว่า สี่สิบห้าพันล้านบาท... = ="

เรื่องนี้ถกกันอย่างน้อยๆ ก็สามครั้งแล้วนะครับ ถ้าผู้อ่านคนไหนยังมีประเด็นเรื่องนี้ต่อ ผมขอให้ตั้งกระทู้ใน forum เพื่อคุยกันเป็นที่เดียวกันไป ไม่อย่างนั้นก็จะต้องมาคุยกันซ้ำๆ ไปเรื่อยๆ ไม่หยุด

ดีครับ ขอให้พัฒนาให้ CPU + GPU เร็วแรงๆ ออกมาขายราคาอย่าแพง ขี้เกียจซื้อหลายๆอุปกรณ์ เปลืองตัง
แล้วก็ ขอให้เจ้าผลิตเมนบอร์ด ผลิตบอร์ดตัวเล็ก แล้วก็มีเคส ขนาดเท่า Router ซักตัว จะได้หิ้วไปมาได้สะดวก
ต่อไปก็ ทำ Socket ให้มันเสียบง่ายๆเหมือน USB ผู้ใช้ทั่วไปก็ซื้อมาเสียบใช้ง่ายดี

PiKO Tue, 01/11/2011 - 11:51

งั้น Sandy Bridge ก็ยังไม่ควรซื้อซินะ :D (core i ตัวเก่าๆ ราคาลงบ้างมั้ยอะ..)

ผมมองว่า AMD ไม่หนาวหรอกครับ Nvidia ยังขาย VGA แยกต่อไป AMD ก็ยังขาย VGA ATI แยกต่อไป

รุ่นที่เอามาลงใน CPU ยังไงก็แค่รุ่นเล็กๆเล่นยิงไข่ ดูหนัง HD ได้แค่นั้น

แต่คิดถูกแล้วหรือ ที่ใช้ Nvidia ที่ดูหนัง แล้วสีจืด ชืด

lancaster Tue, 01/11/2011 - 12:14

amd มี ati อยู่ในมือตั้งนานแล้ว ยังไม่ค่อยเห็นผลเลย

polaromonas Tue, 01/11/2011 - 13:14

In reply to by lancaster

AMD ไม่มีเงินเป็นถุงเป็นถังขนาด intel น่ะสิครับ จะเปิดไลน์พัฒนาหรือผลิตอะไรทีเลยยุ่งยากและใช้เวลากว่า intel หรือ nvidia

ส่วนตัวผมคิดว่าปีนี้จะเป็นปีที่ดีของ AMD นะครับ Brazo ได้รับผลตอบรับค่อนข้างดี (จาก OEM) แล้วเดี๋ยวกลางปีมี Llano กับ Bulldozer ตามออกมาอีก ยังไม่นับว่าสิ้นปีก็ควรจะมี Radeon HD7K Series ด้วย ผมว่าตอนนี้ด้าน Hardware ไม่ค่อยเสียเปรียบคู่แข่งเท่าไหร่ AMD ควรจะผลักดัน Fusion fund ของตัวเองเพื่อดึงศักยภาพของ APU ออกมาเร็วๆมากกว่า (CPU+GPGPU) ในขณะที่ intel ยังไม่ลงมาในระดับ DX11

ผมกลับมองสวนทางว่านี่คือนวัตกรรมใหม่เลยทีเดียว

ถ้าสิ่งที่ Intel และ Nvidia ร่วมมือกันทำให้เกิด cpu รวมกับ gpu แล้วเป็นสินค้าพื้นฐาน ต่อไปคอมเครื่องไหนๆ ก็จะรองรับการประมวลผล 3D พื้นฐานได้ (เอาสัก เล่น starcraft 2 medium ไม่กระตุก) โดยไม่ต้องอัพเกรดอะไรเลย ต่อไปเอฟเฟกต์ที่เราเห็นแต่ในเกมอาจจะมาปรากฏในชีวิตประจำวันมากขึ้น ทั้งในเว็บเพจทั่วไป หรือแม้แต่โปรแกรมต่างๆ

อาจมีคนสงสัยว่า เอฟเฟกต์สวยแล้วช่วยอะไร? บาง feature ของ compiz ก็ช่วยให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้สะดวกขึ้น อย่างน้อยเอฟเฟกต์สวยๆ มันจะช่วยเพิ่มอรรถรสในการรับชมเว็บเพจบางประเภท หรือช่วยให้การโต้ตอบ interactive ระหว่างผู้ใช้กับโปรแกรมนั้นดูน่าสนใจมากขึ้น แต่ไหนแต่ไร โปรแกรมในระบบปฏิบัติการจะดูมืดๆ ทึมๆ ส่วนหนึ่งเพราะ hardware พื้นฐานมันมีข้อจำกัด เหตุผลสำคัญก็คือ hardware ของผู้ใช้งานที่รองรับความสามารถ 3D มีน้อยเมื่อเทียบกับจำนวน CPU ที่ Intel ขายไป ยิ่งตามบริษัทนี่ยิ่งแล้วใหญ่

แต่ถ้าต่อๆ ไป ซื้อ cpu ปุ๊บ ได้ความสามารถ 3d พ่วงติดมาด้วยเลย ไม่แน่ ต่อปใน application พื้นๆ บางตัวอาจจะมีระบบ GUI ใหม่ๆ แบบ 3D หรือมีการผนวกประสิทธิภาพการทำงานแบบ 3D มาช่วยให้เราทำงานได้มีประสิทธิภาพก้าวล้ำไปอีกขั้นหนึ่งก็ว่าได้

อยากให้แยกออกจากกันระหว่างการ์ดจอ 3D มีไว้เพื่อเล่นเกม กับ ความสามารถในการประมวลผลแบบ 3D อาจนำไปสู่การทำงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่เฉพาะการเล่นเกมเท่านั้น ออกจากกัน

อีกนิดๆ
Nvidia เสียจุดยืนตรงนี้แน่นอน เพราะในอดีตคนที่จะยอมจ่ายเงินสูงกว่าเพื่อเลือกใช้ Dedicate VGA แทนการใช้ Integrate VGA chip ก็เพราะต้องการสมรรถนะที่สูงกว่า ซึ่งโดยเหตุผลส่วนใหญ่มักจบลงที่ "อยากเล่นเกม" ผมเองก็ไม่สามารถหาคำตอบอื่นให้กับตัวเองได้ว่าผมจะซื้อ Geforce GTX 480 แล้วต่อ SLI มาใช้ทำอะไรถ้าผมไ่ม่ได้ต้องการเล่นเกม (คงไม่น่าจะเป็นคำตอบที่ว่า เอามาเพื่อเปิด 3DMark Vantage แล้วดูว่าได้คะแนนสูงจัง เปิดเล่นๆ ชอบบ..?)

อย่างไรก็ีดี ถ้า CPU ใหม่ของ Intel ออกมาจริง ตลาด high end graphic card ไม่ได้รับผลกระทบแน่นอนครับ เพราะคนละ target กันอย่างชัดเจน แต่ในส่วนของตลาด low end graphic card นั้น น่าจะหายไปเลยก็ว่าได้ อันที่จริงผมก็อดสงสัยไม่ได้ว่ายอดขายของตลาดในกลุ่ม low end dedicate vga นั้นสูงหรือเปล่า เพราะตัวแปรของตลาดสองกลุ่มนี้มันต่างกัน ระหว่างตลาด high end ที่การ์ดจอราคาแสนแพงประสิทธิภาพสูง กับตลาดการ์ดจอระดับ low end ที่ราคาถูกลงมา แต่อาจจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการเหล่านักเล่นเกมได้อย่างเพียงพอ แบบว่า เล่น medium แล้วกระตุก

แล้ว CPU+GPU ใหม่ จะ SLI กับ dedicate graphic card ที่จะเสียบเพิ่มได้ไหม? (ผมมองว่าควรจะ้ต้องทำให้ทำได้อยู่แล้ว และอาจจะต้องใช้ได้กับเฉพาะ Nvidia เท่าันั้น) และก็สุดท้ายจะแพงกว่า APU ของ AMD ไหม?

ตลาด low end ใหญ่กว่าอยู่แล้วครับ แต่งานนี้คงไม่ถึงกับทำใ้ห้เอ็นวิเดียเสียจุดยืนหรอกครับ
ดีลยังงี้ คงประมาณว่าอินเทลขายได้แค่ไหน ก็แบ่งเอ็นวิเดียแค่นั้นมากกว่า กินค่าสิทธิบัตรกันยาวๆ

Nvidia เตรียมหนี x86 ไป ARM อยู่แล้วครับ เพราะทุกวันนี้ Intel ค่อนข้างจะครองตลาดมาก แล้วไม่ยอมปล่อย license x86 ให้รายอื่นกันแล้ว หลาย ๆ เจ้าก็เริ่มย้ายไปทางด้าน ARM กันหมด ขนาดไมโครซอฟท์ยังเริ่มอพยพแล้วเลย

คิดว่าการยอมรับดีลนี้ก็แค่หาเงินไปลงกับโปรเจค ARM ที่กำลังดำเนินอยู่มากกว่า

ผมมองว่าถึงจุดนึงเราอาจจะไม่ต้องการ dedicated GPU อีกต่อไปแล้วก็ได้ เหมือนกับที่เคยเป็นกับชิพตัวอื่น ๆ อย่าง FPU หรือ Memory Controller Nvidia น่าจะเห็นจุดนี้และพยายามที่จะหาทางไปให้กับตัวเองซึ่งไม่สามารถหา license สำหรับ x86 ได้ ซึ่งหนึ่งในสิ่งแรก ๆ ที่เราเห็นก็คือ Tegra นั่นเอง

ผมมองว่าเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องที่แปลก (หรือน่าตื่นเต้น) ขนาดนั้นนะครับ

  1. นี่ไม่ใช่ความร่วมมือในการสร้างชิปใหม่ แต่เป็นการแลก "สิทธิ์ในการใช้งานสิทธิบัตร" หรือที่เรียกว่า Cross-Licensing
  2. Cross Licensing เป็นแนวทางปรกติของระบบทรัพย์สินทางปัญญาในสหรัฐฯ ที่ค่อนข้างมีปัญหา ที่แม้ไม่ได้ตั้งใจลอก แต่คล้ายๆ ก็โดนฟ้องได้ ทำให้บริษัทมักจ่ายเงินให้ "ขาใหญ่" ในวงการเพื่อขอสิทธิ์ในการใช้สิทธิบัตรแบบครอบจักรวาล
  3. อินเทลนั้นไม่ว่าจะอย่างไรก็มีแนวทางจะพัฒนา GPU แบบ integrated ในดีขึ้นเรื่อยๆ โอกาสที่จะไปทับเส้นกับขาใหญ่เช่น NVIDIA หรือ ATI/AMD นั้นก็มากขึ้นเนื่องจากมาทีหลัง ทางออกที่ดีกว่าคือการจ่ายให้ NVIDIA ให้เรียบร้อย
  4. สัญญามีอายุเพียง 6 ปีนับจากนี้ ชิปตัวหนึ่งพัฒนาใช้เวลานานหลายปี สัญญานี้เพียงแต่บอกว่าอินเทลจะไม่ถูกฟ้องจาก NVIDIA ไปอีกหกปี
  5. สัญญา Cross Licensing ไม่ใช่หมายถึงอินเทลจะเอา GPU ของ NVIDIA ไปวางบนชิปตัวเองได้เลย แต่หมายถึงอินเทลสร้าง GPU ที่มีแนวทางพื้นฐานเดียวกันได้เท่านั้น

สัญญามีอายุเพียง 6 ปีนับจากนี้ ชิปตัวหนึ่งพัฒนาใช้เวลานานหลายปี สัญญานี้เพียงแต่บอกว่าอินเทลจะไม่ถูกฟ้องจาก NVIDIA ไปอีกหกปี

ผมว่า Intel แอบทำมานานแล้ว พอใกล้เสร็จค่อยจ่ายมากกว่า
ไม่ถึงครึ่งปีคงเปิดตัวผลงานจากเรื่องนี้

ไม่ได้แอบครับ วางอยู่ข้าง CPU แทบทุกตัวตอนนี้

ประเด็นของผมคือถ้าหวังว่าสัญญานี้จะทำให้ CPU รุ่นต่อไปเหมือนมี NVIDIA GTX มาวางข้าง CPU ผมไม่เชื่ออย่างนั้นนะ

แล้วก็ ถ้า ความคิดเห็นไหน ไม่มีรูป display ข้อความในความคิดเห็นก็จะไปทับ กับ ตำแหน่ง display ที่ไม่มีรูป

giogio Tue, 01/11/2011 - 13:39

ยังสงสัยที่ gpu ที่ยัดเข้ามาใน intel cpu new 'i' series นี่จะใส่เข้ามาใน cpu ทุกตัวเลยหรือเปล่า เพราะถ้าเอะอะใส่เข้ามาแล้วเพิ่มราคา cpu ขึ้นอีกโขแต่สุดท้ายผมไม่ใช้ integrated gpu อยู่ดีเพราะใช้ gpu แยกอยู่แล้ว อย่างนี้เหมือนยัดเยียดภาระให้ลูกค้าอย่างผมรึเปล่า หรือมีรุ่นที่เป็นแค่ cpu เพียวๆมั่งมั้ย กลัวจริงๆ

น่าจะเป็นอย่างนั้น มันเหมือนกับว่าการพัฒนาของซีพียูมันจะถึงทางตันอีก (เมื่อก่อนพัฒนาจนความถี่ไปต่อไม่ได้ก็หันมาเล่นคอร์แทน) จะทำให้งบที่ใช้ในการพัฒนาสูงขึ้นมากในขณะที่ยังเก็บเกี่ยวรายได้จากของที่มีอยู่ยังไม่เต็มที่ (เมื่อก่อนค่อยๆ ขึ้นความถี่ทีละขยัก) ก็อาศัยเสริมโน่นนิดต่อนี่หน่อยแถมขึ้นราคาหากินได้เรื่อยๆ และถ่วงเวลาของที่จะออกในรุ่นถัดไป และอีกประการหนึ่งเป็นการลดข้อครหาที่บอกว่าซีพียูอินเทลที่มากับชิปแสดงผลกากๆ

ก็ประมาณ Intel Centrino ที่ยัด Wi-Fi เข้าไปครับ โดยคอมแบบเคลื่อนที่น่าจะต้องการ Wi-Fi ดังนั้นก็ยัด Wi-Fi ลงในโปรเซสเซอร์หรือชิปเซ็ตไปเลย แต่ในอีกมุมหนึ่ง ก็เหมือนผูดขาดและยัดอะไรเพิ่มเข้ามา (Core i5/i7 บางรุ่นยังมี Centrino อยู่เลย) ก็คงแนวเดียวกับเรื่องนี้ คือ คอมทุกเครื่องก็คงต้องการ GPU เพื่อแสดงผลอยู่แล้ว ก็แนบเข้าไปบน die เดียวกันกับ CPU เลยซะ ประสิทธิภาพ(พื้นฐาน)จะดีกว่าและประหยัดกว่าการ์ดจอแยก อีกทั้งเหมาะกับงานแบบ GPGPU แต่มันก็ยังตอบโจทย์ของคอเกมไม่ได้ ถ้าต้องการความละเอียดสูงก็ยังต้องพึ่งการ์ดจอแยก แต่ถ้า Intel พัฒนาจนถึงขั้นชิปต่ำกว่า 10nm ก็คงน่าตื่นตากว่า Intel HD Graphics 3000 ใน Sandy Bridge อย่างแน่นอน

ปิดฟังก์ชัน GPU ในชิปลูกผสม GPU-CPU ได้ครับ เช่น ใน Sandy Bridge (ผม comment ไว้อีกที่)

AMD เริ่มหนาวแล้วสิครับ แต่....คนที่น่าจะหนาวกว่าคงจะเป็นผู้ซื้อ Intel inside คิดว่าราคาน่าจะกระโดดไปไกล จากที่มันแพงลิบอยู่แล้ว

และก็มองไปอีกไกลว่า ไม่แน่ Intel อาจซื้อ nVidia

เดิมเอเอ็มดีเปลี่ยน ATi --> AMD เพื่อที่จะให้โลโก้ Intel คู่กับ AMD
แล้วอินเทลใช้สิทธิบัตรของ nVidia ไม่แน่ว่าต่อไปชิปของอินเทลจะมาคู่กับ nVidia ด้วย ซึ่งจะหมายถึงการดับฝันไม่ให้ป้ายชื่อ AMD เข้ามาเคียงคู่โลโก้ของตัวเอง

ราคาไม่น่าโดด คิดว่าที่อินเทลซื้อเพราะงบพัฒนาเหลือแต่ไม่รู้จะพัฒนาอะไรต่อ เลยคิดจะพัฒนาด้านกราฟฟิค ซึ่งก็ติดปัญหาด้านสิทธิบัตรของ Nvidia ก็เลยต้องซื้อ

ัมันออกแนวข่าว business มากกว่า IT อีกนะครับเนี่ย

ถ้ารู้เรื่อง finance ของ nvidia แล้วจะเข้าใจเรื่องได้มากขึ้น

  1. profit margin ของสินค้า highend สูงกว่าตลาด low end มากๆ

  2. 1.5 พันล้านเยอะกว่ากำไรทั้งปีที่ผ่านมาของ nvidia ซะอีก

  3. ทั้งยอดขายและกำไรของ nvidia 3 ปีลดลงทุกปีไปกว่าครึ่งแล้ว สวนกับต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อชิ้นเพิ่มขึ้นเกือบ 50%

ดีลนี้ถือเป็นโชคดีของ nVidia มากกว่า intel ซะอีก

ถ้าอ่านคอมเม้นท์ของคุณลิ่วจะรู้ว่ามันไม่ใช่โชคดีครับ เผอิญว่าระบบ IGP ใน CPU ของ intel มันไปทับกับ IP ของ nvidia ก็เลยจ่ายเงินค่า cross-license ไปจะได้จบๆครับ

สงสัยผมเขียนรวบรัดเกินไป เรื่องนี้มองได้ 2 มุม

  1. nvidia โชคดีที่ intel ต้องการ IP นี้พอดี เลยขายซะ
  2. Intel โชคดีที่ nvidia ปล่อย IP นี้ให้

แล้วมองจากสถานการณ์ intel ยังแข็งแกร่งสบายๆ มีวิธีอื่นๆอีกที่จะเลี่ยงการซื้อครั้งนี้ ซื้อมาได้คน intel อาจจะเฉยๆ

แต่กับ nvidia ที่เหมือนกำลังดิ่งลงเหว ปล่อยเช่า IP ให้ intel ได้นี้เหมือนถูกหวย เลยทีเดียว

ส่วนเรื่องแลก IP มาจากการ negotiation มากกว่า ถ้า nvidia เลือกได้คงไม่เอา ip แต่ขอเพิ่มเงินแทน

เห็นอ้างหลักภาษาไทยมาก็เยอะแล้ว แค่เปลี่ยนแนวการเขียนการอ่านตัวเลขให้ถูกต้องอีกสักอย่างจะเป็นอะไรไป เดี๋ยวจะมีปัญหากับกรณีอื่นๆ เช่น เบราเซอร์ บราวเซอร์ ไม่งั้นจะมีปัญหาเรื่องมาตรฐาน พอจี้จุดมากก็ไล่อีก

สำหรับผมไม่มีปัญหาใครจะเขียนถูกเขียนผิด ยึดหลักภาษาหรือไม่ แค่ผมเข้าใจเท่านั้นพอ

ตามที่ผมทำงานธนาคารนะครับ หลักการอ่านทางการที่ถูกต้องนะครับ คือ สี่หมื่นห้าพันล้านบาท = 45,000,000,000 บาท

ส่วนการอ่าน

ก.) 45 พันล้าน
ข.) 4.5 หมื่นล้าน

เป็นการอ่านแบบฝรั่งแปลไทย ตรงๆ ดื้อๆ ครับ

ในฐานะที่ยังไม่มีใครไปตั้งกระทู้ใน forum เพื่อคุยเรื่องนี้อย่างจริงจัง ผมก็ขอเม้นที่ข่าวนี้อีกสักคนละกันนะครับ

ผมเห็นด้วยกับความเห็นนี้ที่ผม reply คือการแปลว่า 4.5 พันล้าน มันเป็นการแปลตามภาษาอังกฤษตรงๆ ถื้อๆ เลย ซึ่งอ่านเข้าใจได้จริงครับ แต่มันก็ตะหงิดๆ

อยากให้ลองนึกดูนะครับว่า ตอนคุณเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สมัยชั้นไหนก็จำไม่แม่นแล้วแหละ ที่จะมีการสอนเรื่องการเขียนแปลความหมายจากตัวเลข ให้เป็นประโยคในภาษาไทย ผมมั่นใจว่าไม่มีครูคนไหนสอนให้เขียน 45,000,000,000 = สี่จุดห้าพันล้าน อย่างแน่นอน

เพราะฉะนั้น ถ้าจะเขียนเป็นประโยคภาษาไทยให้หมด มันก็ควรเป็น สี่หมื่นห้าพันล้าน หรือถ้าจะใช้การผสมระหว่างตัวเลข และคำจำกัดความของหน่วยในภาษาไทย ก็จะได้สองแบบคือ 4.5 หมื่นล้าน หรือ 45,000 ล้าน ซึ่งบางคนก็จะบ่นๆ ว่า การใส่เลข ๐ หลายๆ ตัวตาลายขี้เกียดนับ อันนี้ก็คงแล้วแต่ผู้เขียนจะพิจารณาถึงความสะดวกของผู้อ่านเอาเองแล้วล่ะครับ แต่โดยส่วนตัว จะเขียนเลข ๐ มากี่ตัวผมก็ไม่มีปัญหานะ เพราะไม่ต้องนับเองอยู่แล้ว 55

เหอะๆ แต่ผมว่า Intel คงอยู่กับ Nvidia ได้ไม่นานนัก
เพราะ Intel ยังคงต้องการ GPU ของ AMD ต่อไป
ถ้าเกิดปัญหาแบบนี้ไปเรื่อยๆ คำว่า CPU จะแยกสายออกเป็นสาย AMD กับสาย Intel
เพราะมันจะห่างกันออกเรื่อยๆ (จากเดิม CPU กับ GPU ต้องคุยกันด้วยภาษากลางๆ)

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find My Device
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png
Airbnb
public://topics-images/airbnb.png
PS5
public://topics-images/ps5.png
Krafton
public://topics-images/krafton.png
Doom
public://topics-images/doom-game-s_logo.svg_.png
AMD
public://topics-images/amd_logo.svg_.png
GTA
public://topics-images/gta_0.png
DoorDash
public://topics-images/doordash.png
YouTube
public://topics-images/yt.png
YouTube Music
public://topics-images/yt-music.png
Facebook
public://topics-images/fb.png
iQiyi
public://topics-images/iqiyi_0.png
Viu
public://topics-images/viu.png
Amazon Prime Video
public://topics-images/prime-vid.png
Spotify
public://topics-images/spotify.jpg
Apple TV
public://topics-images/apple-tv.png
HBO Max
public://topics-images/max.png
Threads
public://topics-images/threads.png
Alexa
public://topics-images/alexa.png
Kindle App
public://topics-images/kindle.png
Shopee
public://topics-images/shopee.png
Waze
public://topics-images/waze.png
Bilibili
public://topics-images/bili.png
Google Maps
public://topics-images/maps.png
Apple Music
public://topics-images/apple-music.png
Claude
public://topics-images/claude.png
TikTok
public://topics-images/tiktok.png
Xbox
public://topics-images/xbox.png
Tesla
public://topics-images/tesla.png
Chrome
public://topics-images/chrome.png
Google Calendar
public://topics-images/gcal.png
Google Home
public://topics-images/ghome.png
Google Meet
public://topics-images/meet.png
NotebookLM
public://topics-images/notebooklm.png
Reddit
public://topics-images/reddit.png
Assassin’s Creed
public://topics-images/ac.png
Mark Zuckerberg
public://topics-images/zuck.jpg
Meta
public://topics-images/meta.png
Meta AI
public://topics-images/meta-ai.png
Epic Games
public://topics-images/epic_games_logo.svg_.png
Unreal
public://topics-images/unreal_engine_logo-new_typeface-svg.png
Fortnite
public://topics-images/fortnite.png
DeepMind
public://topics-images/deepmind.png
Databricks
public://topics-images/databricks.png
Netflix
public://topics-images/netflix-logo.png
Microsoft Azure
public://topics-images/azure.png
Microsoft Copilot
public://topics-images/microsoft_copilot_icon.svg_.png
Bing
public://topics-images/bing.png
EA
public://topics-images/ea.png
Intel
public://topics-images/intel.png
Amazon
public://topics-images/amazon.png
AWS
public://topics-images/aws.png
Zoom
public://topics-images/zoom.png
Dropbox
public://topics-images/dropbox_0.png
Roblox
public://topics-images/roblox.png
Dell Technologies
public://topics-images/dell-tech.png
Nothing
public://topics-images/nothing.svg_.png
Microsoft Teams
public://topics-images/teams.png
Mojang
public://topics-images/mojang.png
Minecraft
public://topics-images/minecraft.png
Redis
public://topics-images/redis_logo.svg_.png
Ubisoft
public://topics-images/ubisoft_logo.svg_.png
Elden Ring
public://topics-images/elden.png
Brave
public://topics-images/brave.png
Opera
public://topics-images/opera.png
Vivaldi
public://topics-images/vivaldi.png
Microsoft Edge
public://topics-images/edge.png
Duolingo
public://topics-images/duolingo.png
LinkedIn
public://topics-images/linkedin.png
Canva
public://topics-images/canva.png
Realme
public://topics-images/realme.png
NASA
public://topics-images/nasa-logo.png
Booking.com
public://topics-images/booking.png
Agoda
public://topics-images/agoda.png
Bolt
public://topics-images/bolt.png
Grab
public://topics-images/grab.png
Temu
public://topics-images/temnu.png
LINE
public://topics-images/line.png
Facebook Messenger
public://topics-images/messenger.png
WhatsApp
public://topics-images/whatsapp.png
Telegram
public://topics-images/telegram.png
Signal
public://topics-images/signal.png
X.com
public://topics-images/x.png
Grok
public://topics-images/grok.png
xAI
public://topics-images/xai.png
CapCut
public://topics-images/capcut.png
Edits
public://topics-images/edit.png
Google One
public://topics-images/gone.png
Tinder
public://topics-images/tinger.png
Whoscall
public://topics-images/whoscall.png
OneDrive
public://topics-images/onedrive.png
Lightroom
public://topics-images/lr.png
Meitu
public://topics-images/meitu.png
Outlook
public://topics-images/outlook.png
Excel
public://topics-images/excel.png
PowerPoint
public://topics-images/ppt.png
Microsoft Word
public://topics-images/word.png
Phone Link
public://topics-images/phone-link.png
OneNote
public://topics-images/onenote.png
Windows App
public://topics-images/windows-app.png
Notion
public://topics-images/notion.png
Google Drive
public://topics-images/drive.png
YouTube Kids
public://topics-images/yt-kids.png
Gboard
public://topics-images/gboard.png
DeepSeek
public://topics-images/deepseek_logo.svg_.png
Prince of Persia
public://topics-images/prince-persia.png
Sony
public://topics-images/nq0nd2c0_400x400.jpg
Tencent
public://topics-images/z4xi4oyc_400x400.jpg
Cisco
public://topics-images/jmyca1yn_400x400.jpg
Alibaba
public://topics-images/4axflwia_400x400.jpg
Alibaba Cloud
public://topics-images/qm43orjx_400x400_cloud.png
Coinbase
public://topics-images/consumer_wordmark.png
CarPlay
public://topics-images/carplay.png
Rust
public://topics-images/rust-logo-blk.png
Red Hat
public://topics-images/redhat.png
Anthropic
public://topics-images/anthropic.png
Xcode
public://topics-images/xcode.png
Tim Cook
public://topics-images/tim-cook.jpg
Donald Trump
public://topics-images/trump.jpg
Microsoft Surface
public://topics-images/surface.jpg
Copilot+ PC
public://topics-images/copilotpc.png
Stellar Blade
public://topics-images/stellar-blade.jpg
Snapdragon
public://topics-images/snapdragon_chip.png
Qualcomm
public://topics-images/qualcomm-logo.svg_.png
CoreWeave
public://topics-images/coreweave.png
Ford
public://topics-images/ford.png
Xiaomi
public://topics-images/xiaomi.png
Google Cloud
public://topics-images/google_cloud_logo.svg_.png
PlayStation Network
public://topics-images/psn.png
PlayStation Plus
public://topics-images/ps-plus.png
Windsurf
public://topics-images/windsurf.png
Square Enix
public://topics-images/square-enix.png
MIT
public://topics-images/x7hyjl3t_400x400.jpg
Zoox
public://topics-images/zoox.jpg
Evernote
public://topics-images/1neatidg_400x400.jpg
Magic the Gathering
public://topics-images/magic.png
Call of Duty
public://topics-images/cod.png
NVIDIA
public://topics-images/nvidia_logo.svg_.png
Satya Nadella
public://topics-images/nadella.png
Nintendo
public://topics-images/nintendo.png
Japan
public://topics-images/japan_flag.png
China
public://topics-images/china-flag-sq.png
Sam Altman
public://topics-images/sam-altman.png
SNK
public://topics-images/snk_logo.svg_.png