Bitcoin

เมื่อต้นเดือนที่แล้ว Bitcoin ก็มียอดพุ่งสูงไปจนถึง 5,000 ดอลลาร์ได้สำเร็จ จากนั้นก็ตกลงมาที่ 4,000 ดอลลาร์ แต่ล่าสุดตอนนี้ Bitcoin ก็ได้ทะยานอีกครั้งจนมีจุดสูงสุดทะลุ 6,000 ดอลลาร์ไปอยู่ที่ 6,063 ดอลลาร์เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ช่วงนี้ก็ยังคงมีข่าวเกี่ยวกับ Bitcoin ออกมาเป็นระยะ โดยข่าวล่าสุดนั้นเป็นของ Ben Bernanke อดีตประธานธนาคารกลางของสหรัฐฯ ซึ่งเขาเห็นว่า Bitcoin จะไม่ประสบความสำเร็จ เพราะว่ายังคงเน้นการเก็งกำไรมากกว่า

ที่มา - Reuters

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

เด่วก็มีข่าว ฟองสะบู่บิตคอยน์แตกครับ....ซึ่งเป็นพวกตกขบวนปล่อยข่าว รอซ้อน

ผมได้ข่าวมาว่ามีความพยายามทำให้ Bitcoin เป็นสินทรัพย์ซึ่งนำไปใช้ค้ำประกันเงินกู้ได้ด้วย ทำให้มันเป็นเหมือนทองเข้าไปทุกทีๆ และใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆ ได้จริงเป็นรูปธรรมมากขึ้น

งวดที่แล้ว ก็ได้ยินแบบนี้ แต่ก็ได้กำไรจาก BCH กันพอสมควร
งวดนี้ ก็เหมือนงวดที่แล้ว.... คนที่ฉลาดส่วนมาก จะถอนทุนแล้ว ที่ถือไว้คือกำไร
ถ้ามันเป็นฟองจริง ก็แค่กำไรหด แต่ถ้ามันขึ้นมา ก็เหมือนถูกหวยเลย..

การลงทุนมีความเสี่ยง... ถ้าไมเสี่ยงก็ไม่ใช่การลงทุน

การ์ดจอไม่ได้เอาไว้ขุด btc ครับ มันเอาไว้ขุด alt coin
แล้วยิ่งถ้า btc พุ่งไม่หยุด คนจะแลกเปลี่ยน alt coin ไปถือ btc กันหมด ทำให้ราคามันต่ำสุด ๆ จนสายขุดเงินร้อนทั้งหลาย เอาริกมาขาย

ที่การ์ดจอมือสองในตลาดเพียบ ก็เพราะว่า แมงเม่าบินเข้ากองไฟเยอะครับ แต่พวกที่เก่งๆเซียนๆ หรือพวกที่ถือเงินเย็น ไม่มีใครปล่อยหรอกครับ บางคนซื้อการ์ดจอมารอเปิดร้านเกมส์ 50-60 ใบ แต่เอามาขุดเหรียญก่อน เพราะมันได้ดีกว่าเปิดร้าน ตอนนี้ขุดมา 3-4 เดือน เกือบได้ทุนการ์ดล่ะ พอมันไม่คุ้มทุนเด่วผมค่อยเอามาเปิดร้านยังไม่เสียหายเลย การืดก็ยังใช้ได้ แต่คุ้มทุนเพราะขุดเหรียญไปแล้ว... อยู่ที่มุมมอง และวิธีการ มันเป็นทุกสมรภูมิแหละ อ่อนแอ ก็แพ้ไป

จริงๆ ถ้ามันขึ้นๆๆ อย่างเดียวก็ดีกว่าครับ แต่ถ้ามันขึ้นๆลงๆ ไม่เซียนจริงก็จบครับ แต่ที่ซื้อการ์ดจอนั้น มันเอามาทำอย่างอื่นได้ครับ ขี้ๆ ก็ขาดมือสองได้ครับ ถึงจะขาดทุนก็น้อยกว่า เทรดล้วนๆครับ

ได้ยินว่าเหมืองจีนแตกครับ
นักขุดหลายรายเสียว รบ. สั่งแบน
เลยปล่อยออกมา กำเงินจริงอุ่นใจกว่า
เพราะขุด/ถือต่อไป ต่อให้ไปถึง10,000$ ก็เอามาใช้ไม่ได้ถ้าโดนแบน

เหมือนยังไม่เข้าใจบิตคอยน์น่ะครับ โดนแบนยังไง ก็ยังเอาออกมาใช้ได้ครับ มันไม่ใช่การอายัดบัญชีเงินฝากน่ะครับ ตราบใดทีคุณถือบิตคอยน์ในกระเป๋า ไม่ว่าจะอยุ่ที่ไหนก็เอาออกมาใช้ได้ ขนาดว่าเขากำลังขอส่งไปดาวอังคารกันเลยน่ะ อย่าว่าแต่ในโลกนี้เลย

ส่งอะไรไปดาวอังคารครับ? ถ้าบิตคอยน์นี่อยู่ที่นู่นอย่างมากก็ใช้รับเงินส่งเงินได้ (ด้วยเวลาเป็นชั่วโมง? บนโลกที่ช้าแล้วนี่ก็ช้าไปอีก แต่อืม ก็ยังใช้ได้แหละครับ) แต่ถ้าเรื่องขุดนี่ลืมไปได้เลย ถ้าเข้าท่าสุดก็คงเป็นส่งไปเพื่อสำรองข้อมูล?

อ่านจบแล้วผมยังหาประโยชน์มันไม่เจอเลยสักนิดนะครับว่ามันจะช่วยให้ง่ายกว่าการสร้างค่าเงินดาวอังคารขึ้นมาก่อนหรือวิธีอื่นๆ ได้ยังไง หรือทำไปเพื่ออะไร ยังไม่นับว่าแล้วจะแก้ปัญหาระยะเวลาการซื้อขายได้ยังไง

น่าจะไม่เข้าใจเมืองจีน(หรือทั่วไป)นะครับ
คนขุดต้องจ่ายค่าไฟเป็นเงินหยวน
แต่รบ.สั่งแบน ปิดที่แลก BTC เป็นเงินจริง
เท่ากับขุดต่อไปมีแต่เข้าเนื้อครับ

ผมเข้าใจหลายๆคนที่ cheer bitcoin กันเยอะ และฝันว่าวันนึงมันจะเป็นยุคใหม่ของ currency ของโลกใบนี้

แต่อย่างนึงที่อยากจะบอกคือ พื้นฐานของมูลค่าของสิ่งต่างๆบนโลกไปนี้คือ มูลค่าในตัวมันเอง + การเก็งกำไรของคนที่รู้ว่าของนี้มีมูลค่าจึงโก่งราคาเพื่อขายมัน

เช่น เงินของประเทศต่างๆมีมูลค่าตามทองและ bond ของรัฐบาล + การเก็งกำไรของเงินที่สะพัดอยู่ในตลาด ถ้าเงินราคา 100 บาท อาจจะมาจากสัดส่วน 90+10

แต่ bitcoin เป็นสัดส่วน 0+100 ล้วนๆ เพราะ bitcoin ไม่ได้เป็นสิ่งที่ต้องมีในโลกใบนี้ ทุกอย่างยังขับเคลื่อนไปได้ไม่ว่าจะมีหรือไม่มี bitcoin ก็ตาม แปลว่า ราคา bitcoin แกว่งได้ตั้งแต่ 0 ถึงเท่าไหร่ก็ได้ที่คนเก็งกำไรอยากจะให้มันไป แล้วเรื่องแบบนี้ไม่ใช่ไม่เคยเกิดขึ้น

โลกใบนี้เคยขายดอกทิวลิป ดอกละ 5 บาท(มูลค่าจริงของมัน) แล้วลากมันไปเก็งกำไรดอกละ 200 บาทภายใน 3 ปี แล้วก็กลับมาที่จุดเริมต้นมันภายในไม่กี่วันมาแล้ว

บางคนปากพูดเหมือนรู้จักการเงิน ทั้งๆที่ไม่เข้าใจการเงินเลยแม้แต่น้อย มองว่าการที่รัฐบาลเข้าแทรกแซงการเงินคือวิบัติ แต่หารู้ไหม การที่ไม่มีใครถ่วงสมดุลการเงิน นั่นแหละคือวิบัติกว่า ไปฝากเงินใว้ในที่ๆไม่มีหลักประกัน ราคาค่าเงินที่มีการควบคุมไม่ให้กวัดแกว่ง ไม่ให้แข็งตัวหรืออ่อนตัวจนเกินไป กลับมองว่าเป็นเรื่องเลวร้าย ถ้าค่าเงินลอยตัวมันดีจริงไทยคงไม่วินาศในต้มยำกุ้งหรอก ฝากถึงพวกสาย coin ทั้งหลาย
#จากคนในสถาบันการทุนaus

แต่ตอนนั้นไทยก็แทรกแซงเงินแต่สู้ไม่จนเป็นต้มยำกุ้ง ที่มันพังก็เพราะความสามารถในการบริการเงินของรัฐตอนนั้นไม่ใช่หรอครับ ถึงจะบอกว่าพ่อมดทางการเงินมาเล่นงานแต่ก็เพราะเราวางแผนไม่ดีตั้งแต่แรก ผมไม่ได้มองว่าบิตคอยด์มันดีมันเริศที่สุดอะนะ แต่แค่ความคิดต่างจากคุณที่ให้คน ๆ นั้นไม่รู้การเงินแล้วบอกว่าตัวเองมาจากสถาบันไหนมันทำให้สถาบันที่คุณอยู่ขายหน้าครับ...

เห็นด้วยเลย
if you not control, you will be controlled.

จุดเริ่มต้นความวินาศคือ
ฝรั่งให้เราเปิดเสรีการเงิน เงินเลยไหลเข้าแบบไม่สามารถควบคุมได้
เข้าตลาดหุ้นก็ฟองสบู่
เข้าตลาดเงินก็โดนดอกเบี้ย
แล้วเราก็เจ๊ง
การสู้ค่าเงินมันเป็นฉากท้ายๆละ

แต่คือถ้าปล่อยลอยตัวแต่แรกเงินมันก็ไม่ไหลเข้าแบบไม่สามารถควบคุมได้รึเปล่าครับ?

อันนี้แค่สงสัยนะครับ ยุคนั้นผมยังไม่รู้เรื่องอะไรหรอกครับแล้วก็ไม่ได้ศึกษาด้านนี้ด้วย

เท่าที่เข้าใจ
ถ้าตอนนั้น ในยุคที่เรายังเป็นเสือ แล้วเปิดเสรีพร้อมลอยตัวด้วย
สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เงินทะลักเข้า -> เงินบาทแข็ง -> ส่งออกทรุด -> เกิดปัญหาอยู่ดี

จริงๆการลอยตัวก็มีต้นทุนของมัน แต่เราไม่ค่อยรู้ตัว
ทุกวันนี้ ธ.แห่งประเทศไทย ต้องยอมขาดทุนตลอดเวลา
เวลาโดนปั่นให้แข็ง ก็ต้องยอมขายบาทในราคาถูกกว่า(แต่อยู่ในช่วงที่กำหนด) เพื่อไม่ให้บาทแข็งเร็วเกินไป
เวลาโดนปั่นให้อ่อน ก็ต้องยอมซื้อบาทในราคาแพงกว่า(แต่อยู่ในช่วงที่กำหนด) เพื่อไม่ให้บาทอ่อนเร็วเกินไป

เรียกว่าจริงๆแล้ว เศรษฐกิจเราโดนสูบเลือดจาก​ hedge อยู่ตลอดเวลาแต่เราไม่รู้ตัว และไม่ค่อยเป็นข่าว
(จะมีก็จากเกมการเมืองเป็นระยะๆ เพื่อโจมตีหาว่า ผู้ว่าการ ธปท. เป้าหมายว่าบริหารขาดทุน ทั้งๆที่มันเป็นหน้าที่ ธปท.)

คือเข้าใจว่าแบบนั้น แต่อย่างน้อยเงินมันก็จะไม่ไหลเข้าขนาดนั้นรึเปล่าครับ? หรือสุดท้ายการพยายามพยุงไม่ให้แกว่งเกินไปมันจะทำให้ไม่ต่างกันอยู่ดี คือนึกว่ามันน่าจะทำให้ความพยายามทุบมันจะต้องใช้กำลังมากกว่านี้มากกว่าหลายเท่าอะไรแบบนี้

มองแบบคร่าวๆ คือ มันเป็น dilemma problem
-ถ้าลอยตัวเสรีเลย ค่าเงินจะโดนกระชากขึ้น-ลง ธุรกิจในประเทศเจ๊งหมด
-ถ้าผูกค่าเงินเลย ค่าเงินจะนิ่ง แต่โดนตีโจมตีค่าเงิน เจ๊งอยู่ดี
เราเลยเหมือนโดนบังคับให้ เสรีโดยมีการกำกับดูแล และขาดทุนให้ hedge fund ผ่าน ธปท. เรื่อยๆ

แต่ต้นปัญหาจริงๆ "ผมว่า" มันคือ hedge fund ต่างหากที่ทำให้ การผูกค่าเงินดูแย่

ว่ากันจริงๆ การลอยตัวนั้นจริงๆไม่สมเหตุสมผล
เพราะถ้าเศรษฐกิจส่งออกดี = demand มากกว่า supply => เงินแข็งค่า => ส่งออกลด
มันประหลาด
เหมือนกับว่า เราทำกิจการได้ดีกลับเหมือนโดนบังคับให้ขึ้นราคาโดยระบบ ทั้งๆที่เราไม่ได้อยากขึ้น
คิดๆดูว่า มีใครทำธุรกิจเห็นขายดีกำไรบาน เงินเข้ามากกว่าเงินออก เลยขึ้นราคาเล่นๆบ้าง?
สุดท้าย ราคาขึ้นไป เราก็จะขายได้ไม่ดีเท่าเดิม / แพ้คู่แข่งไป

ประเทศไทยปีนี้
ส่งออกเกินดุลมหาศาล ค่าเงินบาทแข็ง => ธปท.ต้องช่วยไม่ให้บาทแข็ง => ขาดทุนไปไม่น้อย

จีนตลอดเวลาที่ผ่านมา ควบคุมการไหลของเงิน/ราคา มาตลอด 30ปี
เศรษฐกิจโตเอาๆ เพราะราคาไม่ผันผวน + hedge fund โจมตีไม่ได้

จนฝรั่งบีบให้เปิดเสรีผ่าน WTO ตอนนี้ก็เริ่มเซแล้วเหมือนกัน
เพราะโดนบีบให้หยวนแข็งค่าขึ้นจนเสียความสามารถในการแข่งขันไป
และ hedge fund ก็ทำงานได้
อย่างตัวเลขการโจมตีจีนปีก่อนอยู่ระดับ ล้านล้านเหรียญ
แต่จีนรู้ทันเล่นอายัดไว้ไม่ให้กระชากเอาเงินออก เลยรอดมาได้
แต่ก็โดนตั้งแง่ว่าผิดข้อตกลง WTO
ถ้าจีนยอมให้โดนกระชากก็คือพินาศ
และจริงๆแล้ว ก็อาจจะแค่ซื้อเวลาเพราะไม่สามารถ"ยึดทรัพย์"พวกนี้ได้
เงินพวกนี้เลยพร้อมเคลื่อนไหวโจมตีอีกเมื่อสบโอกาส

เงินจำนวนเดียวกันนี้ ประเทศไทยปลิวเป็นฝุ่นสบายๆ

ปัญหามันเป็นระบบที่ฝรั่ง set มาแล้วว่าเราไม่มีสิทธิชนะ

ที่คุณ Hoo เขียนไว้ถูกครับ ผมขอเพิ่มอีกมุมละกัน

อันนี้เล่าก่อนว่าสาเหตุนึงที่เกิดวิกฤติเพราะช่วงนั้นเกิดฟองสบู่ ดอกเบี้ยเงินกู้ในประเทศสูง รัฐเลยสนับสนุนให้คนไทยกู้เงินจากต่างประเทศ ดอกแค่ไม่กี่ % มาใช้แทน คนก็แห่ไปกู้มาใช้อะไรเรื่อยเปื่อย/เก็งกำไร เพราะคิดว่าดอกถูก + ไม่มีใครคิดถึงความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนเลย (เพราะตอนนั้นรัฐตรึงค่าเงินไว้ ถ้าเป็นสมัยนี้ก็จะกู้ + ทำสัญญากำหนดอัตราแลกเปลี่ยนไว้ล่วงหน้า) พวกพ่อมดเห็นจุดอ่อนตรงนี้เลยเข้ามาโจมตี พอรัฐสู้ไม่ไหวปล่อยลอยตัว จากที่จะหนี้ 25 บาท ดอก 20% (ถ้ากู้ในประเทศ) เลยกลายเป็นหนี้ 55 บาท ดอก 3% (เพราะกู้ต่างประเทศแล้วค่าเงินเปลี่ยน) แทน บริษัทก็เจ๊งกันรัวๆ จนสถาบันการเงินเจ๊งตาม

ส่วนที่ถามว่า "ถ้าปล่อยลอยตัวแต่แรกเงินมันก็ไม่ไหลเข้าแบบไม่สามารถควบคุมได้รึเปล่าครับ?" ต้องถามว่าคำว่า "แต่แรก" คือ "เมื่อไหร่" ครับ

ถ้าหมายถึงนมนานกาเลหลายสิบปีก่อน ผลคือประเทศไทยจะไม่เจริญแบบทุกวันนี้ครับ เพราะที่ผ่านมาไทยพึ่งพาการส่งออกเป็นหลักเสมอมา มีช่วงสิบ-ยี่สิบปีหลังที่ท่องเที่ยวเด่นขึ้น แต่ก็ยังส่งออกเป็นหลักอยู่ดี ถ้าปล่อยค่าเงินลอยตัวมาตลอด ของจะแพง ส่งออกไปขายได้ไม่ดี จะเป็นลูปค่าเงินแพง-ขายไม่ได้-เศรษฐกิจตกต่ำ-ค่าเงินถูกลง-เริ่มขายได้-เศรษฐกิจดีขึ้น-ค่าเงินแพง ยังงี้ไปเรื่อยๆ ชีวิตคนไทยจะงงๆ การลงทุนจากภายนอกจะไม่ค่อยเยอะเท่านี้ เพราะกลัวลูปนี้

ถ้าหมายถึงลอยตัวช่วงใกล้ๆ ปี 40 ช่วงที่ไทยมีนโยบายภาครัฐจะกู้เงินจาก ตปท. มาใช้ คนก็จะไม่ค่อยกู้ เพราะถึงจะได้ดอกถูกแต่ค่าเงินจะสูงขึ้นเรื่อยๆ จนไม่คุ้ม และค่าเงินก็จะเหวี่ยงๆ แบบข้างบน ตอนนั้นมีฟองสบู่อยู่แล้วสุดท้ายก็คงพังอยู่ดี แต่คงไม่หนัก

ถ้าหมายถึงปล่อยลอยตัวทันทีใน "เช้าวันนั้น" ที่โดนพ่อมดโจมตี เขาเดากันว่าค่าเงินน่าจะอ่อนลงจาก 25 บาท ไปเป็นสัก 30-40 บาท ไม่เกินนั้น เพราะฝั่งพ่อมดจะเริ่มไม่คุ้มต้นทุนที่จะโจมตีต่อ ก็คงเจ็บไม่มาก ใครกู้เงินไปเก็งกำไร ใช้อะไรเล่นๆ ก็คงเจ๊งไป แต่บริษัทที่กู้ไปลงทุนจริงๆ น่าจะรับมือไหว

แต่สุดท้ายคนสู้ตัดสินใจสู้หมดหน้าตัก ผลเลยออกมาอย่างที่เห็น ซึ่งจริงๆ ก็มีข้อดีอยู่บ้างคือ แบงก์ชาติกลายเป็นคนขี้กลัว ทุกวันนี้สถาบันการเงินไทยถือว่าโคตรแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับประเทศเจริญแล้วทั้งหลาย (เพราะโดนสั่งตั้งสำรองสูงๆ โดนห้ามทำนั่นทำนี่ละเอียดยิบ) กำไรกันโครมๆ แทบทุกแบงก์ทุกปี ส่วน Lehman Bro. ที่มากอบโกยตอนปี 40 ตอนนี้เจ๊งไปละ Deutsche Bank ที่ใหญ่อันดับต้นๆ ของโลกก็มีปัญหา แต่เอาจริงๆ สิ่งที่เสียไปตอนนั้นไม่คุ้มหรอก

ต้องถามว่าคำว่า "แต่แรก" คือ "เมื่อไหร่" ครับ

ได้ยินมาว่ามันมีช่วงที่ไทยจำกัดการแลกเงิน กับช่วงที่ปล่อยให้แลกค่าเงินได้เสรีน่ะครับ

ทุกวันนี้สถาบันการเงินไทยถือว่าโคตรแข็งแกร่งเมื่อเทียบกับประเทศเจริญแล้วทั้งหลาย

อันนี้เพิ่งรู้เลยครับ ก็ยังมีข้อดีหลุดมาบ้างสินะ

จริงๆ ผมอาจจะพูดเกินจริงไปนิดครับ เรียกว่าเราได้บทเรียนจากครั้งนั้น และทำอะไรแบบ "ปลอดภัยไว้ก่อน" ดีกว่า

ส่วนเรื่องจำกัดการแลกเงิน อันนี้ไม่ชัวร์ว่าเริ่มมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่ทุกวันนี้ก็ยังจำกัดอยู่นะครับ เวลาจะแลกถ้าเกินเท่าไหร่ๆ ต้องระบุธุรกรรมรองรับด้วย ถึงคุณจะรวยแต่จะหอบเงินไปแลกแล้วนอนกอดเก็งกำไรเฉยๆ ที่บ้านไม่ได้นะครับ

อืมมม ที่อ่านมา (ซื่งผมก็ไม่ได้ศึกษาต่อว่าจริงมั้ย) คือยุคที่ว่าแลกไม่ได้เลยถ้าไม่ยื่นเรื่องให้อนุมัติน่ะครับ กับยุคที่แลกได้โดยไม่ต้องยื่นเรื่องขอก่อนในระดับนึง ส่วนที่ว่าทุกวันนี้จำกัดก็รู้เหมือนกันครับแต่ไม่รู้ว่าจำกัดเท่าไหร่เพราะไม่มีเงินไปแลกให้ติดลิมิต 555

ขอบคุณคุณ Holy ที่เสริม
จริงๆเรื่องผิดปกติของแนวคิดระบบการเงินปัจจุบัน มีเยอะครับ

อย่าง "ค่าเงิน" เนี่ย
ปกติจะดูที่ "ทุนสำรองระหว่างประเทศ" ถ้ามีมาก ก็ยิ่งมีค่า
แล้วมีการนิยามซ้อนว่า
ให้ใช้ราคาจากตลาดแลกเปลี่ยน ด้วยหลัก supply-demand
มันเลยเกิดความประหลาดขึ้น เมื่อมีการ hedge

ถ้าเศรษฐกิจ ส่งออก-นำเข้า สมดุล
อยู่ๆมา hedge ค่าเงินก็ผันผวนแบบไม่มีเหตุผล

เวลาเศรษฐกิจส่งออกดี demand บาท จะมากกว่า supply
hedge ก็ซ้ำตามน้ำด้วยการซื้อบาท
บาทจะแข็งเร็วกว่าความเป็นจริง
จน ธปท ต้องปล่อย supply บาทออกไป เพื่อให้ราคาบาทลด
ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศมากขึ้นไปอีก เพราะได้ดอลเข้ามา
ก็ยิ่งดูว่า เงินบาท มี ทุนสำรองระหว่างประเทศ หนุนมาก ยิ่งมีค่าขึ้นไปอีก

พอค่าเงินแพงจนส่งออกลด นำเข้าเยอะ
supply บาท จะมากกว่า demand
hedge ก็ซ้ำตามน้ำด้วยการขายบาท
บาทจะอ่อนเร็วกว่าความเป็นจริง
จน ธปท ต้องซื้อ บาท เพื่อไม่ให้ราคาบาทอ่อนเร็วเกินไป
ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศลด เพราะเอาดอลไปแลก
ก็ยิ่งดูว่า เงินบาท มีค่าน้อยลงไปอีก เพราะ ทุนสำรองระหว่างประเทศน้อยลง!!

ตอนต้มยำกุ้ง
ถ้าไม่สู้ ก็แล้วแต่จะมองนะ ว่า

  1. สภาพอาจจะดีกว่าหน่อย เพราะเมื่อมองว่าเรามีทุนสำรองเงินบาทจะดูมีค่าอยู่
    บาทอาจจะแข็งกว่าที่เราเคยโดน
    กับ
  2. มันไม่เกี่ยวกับว่าเรามีทุนสำรองเท่าไหร่!!
    แต่การที่เราไม่สู้ ไม่มีคนควบคุมดูแล
    hedge มันจะปั่น bid-offer ในตลาดที่ราคาเท่าไหร่ก็ได้ตามใจชอบ (Bitcoin ก็เช่นกัน)
    เศรษฐกิจเราพินาศเหมือนเดิม!!!
    อาจจะดีกว่าหน่อยตรงที่ไม่มีข่าวร้ายเสริมว่า เงินทุนระหว่างประเทศเกลี้ยงคลังเท่านั้น

ส่วนตัวผมว่า

  1. ทางออกที่ถูกต้องน่าจะเป็นแบบมาเลเซียคือ
    หยุดเสรีการเงิน แล้วเข้าควบคุมการซื้อขาย ทำให้มาเลเซียรอดมาได้
    (แต่จริงๆเรามีข้อจำกัดคือต้องนำเข้าน้ำมัน แต่มาเลเซียไม่ต้อง)
  2. ควรนับการ hedge เป็น อาชญากรรมทางการเงินประเภทนึงได้แล้ว

จริงๆ ผมสงสัยอีกอย่างนึงครับ ทำไมมันถึงไม่มีค่าเงินกลางให้จบๆ กันไปเลย - -" (อืออออ นึกออกก็ความวุ่นวายระดับใหญ่อยู่ แต่มันก็อาจจะคุ้ม?) แบบซิมบับเวที่สลับไปใช้ USD แก้ปัญหาตอนวิกฤติ คือพอค่าเงินมันโดนล็อคในสเกลใหญ่มันก็น่าจะไม่มีปัญหาอะไรพวกนี้?

ไม่น่าเป็นไปได้
แต่ละประเทศต่างก็ต้องการอธิปไตยทางการเงินกันทั้งนั้น
พื้นฐานเศรษฐกิจแต่ละประเทศก็ไม่เหมือนกัน

ต่อให้มีเงินสกุลโลกเกิดขึ้นจริง
ใครจะดูแลส่วนเศรษฐกิจมหภาค อย่าง fiscal / monetary policy?

ถ้ามีหน่วยงานกลางระดับระหว่างประเทศขึ้นมา
ก็อาจจะเป็นอย่าง เงินยูโร ที่กำลังจะพังละ
เพราะทำให้ประเทศอ่อนอย่างกรีซ ออกนโยบายแก้ปัญหาตัวเองไม่ได้ เจ๊งหนัก
ขณะที่ประเทศรวยอย่าง เยอรมัน ฝรั่งเศส ก็ได้เปรียบเยอะไปเลย

หรือถ้าไม่มีไปเลย (แนวคิด BitCoin? สกุลเดียวใช้ทั้งโลก
ไม่มีใครดูแลนโยบายเศรษฐกิจมหภาคด้วย)
ใครรวย อำนาจต่อรองเยอะ มีกำลัง hedge ก็ทำอะไรก็ได้ตามสะดวก
เป็นแบบ man against man ของโทมัส ฮอป แต่เป็นด้านเศรษฐกิจ
ก็...น่าจะเละมากกว่า

อีกอันที่ใกล้เคียงน่าจะเป็น SDR
แต่มันเกิดจากคำนวณตระกร้าเงินสกุลหลักอยู่ดี

ปกติแล้ว รัฐจะควบคุมค่าเงินด้วยนโยบายการเงิน ซึ่งมีวิธีหลักๆ 3 วิธีครับ จะใช้กี่วิธีก็ได้ (ปกติก็ใช้ทุกวิธีรวมกันอ่ะนะ) คือ

  1. ควบคุม Money Supply (ปริมาณเงินในระบบ) อันนี้ตรงไปตรงมา คืออยากได้เงินเพิ่มก็พิมพ์ขึ้นมา เดิมมี 10 Trillion จะพิมพ์เพิ่มเป็น 20 Trillion ก็ได้ แต่ทันทีที่เงินไหลเข้าระบบ ราคาสินค้าต่างๆ จะพุ่งขึ้นทันที (ก็คือค่าเงินอ่อนลง) ของ 10 บาทจะราคา 20 บาททันที ประโยชน์คือใช้ลดค่าเงินได้อย่างรวดเร็ว หรือถ้าอัดฉีดเข้าแต่พอดีก็ช่วยให้เศรษฐกิจหมุนไปต่อได้ เพราะเงิน 1 บาทที่ใส่เข้าระบบไป (เช่น เอาไปจ้างคนมาทำถนน) มันจะหมุนต่อไปได้หลายรอบ (คนทำถนนไปซื้อข้าว คนขายข้าวไปซื้อของจากโลตัส โลตัสไปจ่าย Supplier etc.)

หรือจะไม่ต้องพิมพ์เพิ่มก็ได้ ใช้วิธี "ดูด/ปล่อย" สภาพคล่องผ่านการออกพันธบัตร ธปท. เช่น วันนี้รู้สึกว่าเศรษฐกิจโตเร็วเกินไป จะเป็นฟองสบู่ ก็ออกพันธบัตรมาล็อตนึงสักแสนล้านบาท ให้ดอกเบี้ยเท่าที่กะว่าจะมีคนเอาเงินมาซื้อประมาณนี้ ก็ดูดเงินออกได้ทันที ซึ่งเหตุการณ์นี้ "เกิดขึ้นทุกวัน" อยู่แล้วครับ ถ้าอยากปล่อยสภาพคล่องก็แค่ลดดอกเบี้ยลง หรืองดออกใหม่ซะเฉยๆ พันธบัตรที่ครบกำหนดก็จะคืนเงินให้คนซื้อเดิม เงินก็เข้าระบบเอง

  1. ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยน (โดยใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศ) คือรัฐจะเข้ามาแทรกแซงอัตราแลกเปลี่ยนแบบที่คุณ Hoo ว่า โดยมีเงินบาท/เงินต่างประเทศสำรองไว้กองนึง เมื่อก่อนไทยปักค่าเงินไว้ที่ 25 บาท/USD ถ้ามันจะตกไป 26-27 รัฐก็ควักเงินตปท.มาขายเพื่อให้มันกลับมาที่ 25 ถ้ามันแข็งเกินก็ทำตรงข้ามกัน เอาเงินบาทไปซื้อดอลลาร์ให้อ่อนลงมา แต่การปักตรึงไว้ที่ค่าเดียวเสมอมีความเสี่ยงจะโดนถล่มแบบที่ไทยเคยโดนไป ต้องแข็งจริงถึงทำได้แบบที่จีนเคยปักไว้ที่ 5 หยวนมายาวนาน ส่วนไทยตอนนี้เป็นแบบ Manage Float คือมันจะขึ้นจะลงก็ปล่อยมันไปตาม Flow เพียงแต่ช่วยชะลอไม่ให้มันขึ้นลงเร็วเกินไป

  2. กำหนดอัตราดอกบี้ยนโยบาย คือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ธปท. จะจ่ายให้ธนาคารที่เอาเงินเหลือมาฝากไว้ แนวคิดคือถ้ารัฐคิดว่าเศรษฐกิจโตไว้ไปเกิดฟองสบู่แล้ว รัฐจะตั้งอัตราดอกเบี้ยสูงๆ แบงก์ก็จะเอาอัตรานี้ไปอ้างอิงกำหนดดอกเบี้ยเงินฝาก/เงินกู้ของตัวเอง ถ้าดอกเบี้ยฝากเงินสูง กู้แพง คนก็จะเอาเงินมาฝากมากกว่าไปลงทุน เงินจากต่างประเทศก็จะไหลเข้าไทย (มาเอาดอกเบี้ยสูงๆ ) ค่าเงินก็จะแข็ง ของก็จะแพง นักลงทุนตปท.ก็ชะลอลงทุนไปลงประเทศอื่นที่ถูกๆ ดีกว่า เศรษฐกิจก็ชะลอลง ถ้าอยากกระตุ้นเศรษฐกิจก็ทำตรงข้ามกันครับ

ทีนี้ การที่มีค่าเงินกลางเพียงค่าเดียว เท่ากับตัดกลไกของรัฐข้อ 2 ทิ้งไปเลย ส่วนข้อ 1-3 ถึงพยายามทำก็ไม่มีประโยชน์ เช่น สมมติว่าเศรษฐกิจไทยเกิดฟองสบู่ ของแพงอยากดึงเงินออกชะลอเศรษฐกิจ ในทางตรงข้าม เศรษฐกิจชิลีฝืดเคืองอยากกระตุ้นเศรษฐกิจ อัดเงินเข้าระบบ ผลคือวินาทีที่ชิลีปล่อยเงินเข้าระบบ เงินจะไหลโดยอิสระ (เพราะไม่มีอัตราแลกเปลี่ยนมาควบคุมแล้ว) และอาจจะไหลไปเข้ามือไทยที่พยายามดึงเงินออกจากระบบตัวเองทันที กลายเป็นว่าเงินในไทยก็ไม่โดนดึงออก เงินในชิลีก็ไม่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริงก็แบบกรีซกับเยอรมันที่คุณ Hoo ว่าไว้ครับ (นั่นขนาดภูมิภาคเดียวกัน ศาสนาเดียวกันนะ)

Hoo Thu, 10/26/2017 - 13:34

In reply to by Holy

+100
เขียนขยายความได้ชัดเจนและเข้าใจง่ายมากเลยครับ

มองสะว่า มันคือธุรกิจ มันคือสงคราม มันต้องมีคนแพ้ และคนชนะ ทุกธุรกิจ ก็เป็นแบบนี้แหละ
อยู่ที่ว่า คนที่มีข้อมูลครบ คนที่รุ้จักวิธีการ และดวงดี คือคนชนะทุกวงการ..

อ่อนแอ ก็แพ้ไป รอดูโพสต์ต่อไปที่ 6500 และ 7000 US

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
NVIDIA
public://topics-images/srvczsfq_400x400.jpg
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find My Device
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png
Airbnb
public://topics-images/airbnb.png
PS5
public://topics-images/ps5.png
Krafton
public://topics-images/krafton.png
Doom
public://topics-images/doom-game-s_logo.svg_.png
AMD
public://topics-images/amd_logo.svg_.png
GTA
public://topics-images/gta_0.png
DoorDash
public://topics-images/doordash.png
YouTube
public://topics-images/yt.png
YouTube Music
public://topics-images/yt-music.png
Facebook
public://topics-images/fb.png
iQiyi
public://topics-images/iqiyi_0.png
Viu
public://topics-images/viu.png
Amazon Prime Video
public://topics-images/prime-vid.png
Spotify
public://topics-images/spotify.jpg
Apple TV
public://topics-images/apple-tv.png
HBO Max
public://topics-images/max.png
Threads
public://topics-images/threads.png
Alexa
public://topics-images/alexa.png
Kindle App
public://topics-images/kindle.png
Shopee
public://topics-images/shopee.png
Waze
public://topics-images/waze.png
Bilibili
public://topics-images/bili.png
Google Maps
public://topics-images/maps.png
Apple Music
public://topics-images/apple-music.png
Claude
public://topics-images/claude.png
TikTok
public://topics-images/tiktok.png
Xbox
public://topics-images/xbox.png
Tesla
public://topics-images/tesla.png
Chrome
public://topics-images/chrome.png
Google Calendar
public://topics-images/gcal.png
Google Home
public://topics-images/ghome.png
Google Meet
public://topics-images/meet.png
NotebookLM
public://topics-images/notebooklm.png
Reddit
public://topics-images/reddit.png
Assassin’s Creed
public://topics-images/ac.png
Mark Zuckerberg
public://topics-images/zuck.jpg
Meta
public://topics-images/meta.png
Meta AI
public://topics-images/meta-ai.png
Epic Games
public://topics-images/epic_games_logo.svg_.png
Unreal
public://topics-images/unreal_engine_logo-new_typeface-svg.png
Fortnite
public://topics-images/fortnite.png
DeepMind
public://topics-images/deepmind.png
Databricks
public://topics-images/databricks.png
Netflix
public://topics-images/netflix-logo.png
Microsoft Azure
public://topics-images/azure.png
Microsoft Copilot
public://topics-images/microsoft_copilot_icon.svg_.png
Bing
public://topics-images/bing.png
EA
public://topics-images/ea.png
Intel
public://topics-images/intel.png
Amazon
public://topics-images/amazon.png
AWS
public://topics-images/aws.png
Zoom
public://topics-images/zoom.png
Dropbox
public://topics-images/dropbox_0.png
Roblox
public://topics-images/roblox.png
Dell Technologies
public://topics-images/dell-tech.png
Nothing
public://topics-images/nothing.svg_.png
Microsoft Teams
public://topics-images/teams.png
Mojang
public://topics-images/mojang.png
Minecraft
public://topics-images/minecraft.png
Redis
public://topics-images/redis_logo.svg_.png
Ubisoft
public://topics-images/ubisoft_logo.svg_.png
Elden Ring
public://topics-images/elden.png
Brave
public://topics-images/brave.png
Opera
public://topics-images/opera.png
Vivaldi
public://topics-images/vivaldi.png
Microsoft Edge
public://topics-images/edge.png
Duolingo
public://topics-images/duolingo.png
LinkedIn
public://topics-images/linkedin.png
Canva
public://topics-images/canva.png
Realme
public://topics-images/realme.png
NASA
public://topics-images/nasa-logo.png
Booking.com
public://topics-images/booking.png
Agoda
public://topics-images/agoda.png
Bolt
public://topics-images/bolt.png
Grab
public://topics-images/grab.png
Temu
public://topics-images/temnu.png
LINE
public://topics-images/line.png
Facebook Messenger
public://topics-images/messenger.png
WhatsApp
public://topics-images/whatsapp.png
Telegram
public://topics-images/telegram.png
Signal
public://topics-images/signal.png
X.com
public://topics-images/x.png
Grok
public://topics-images/grok.png
xAI
public://topics-images/xai.png
CapCut
public://topics-images/capcut.png
Edits
public://topics-images/edit.png
Google One
public://topics-images/gone.png
Tinder
public://topics-images/tinger.png
Whoscall
public://topics-images/whoscall.png
OneDrive
public://topics-images/onedrive.png
Lightroom
public://topics-images/lr.png
Meitu
public://topics-images/meitu.png
Outlook
public://topics-images/outlook.png
Excel
public://topics-images/excel.png
PowerPoint
public://topics-images/ppt.png
Microsoft Word
public://topics-images/word.png
Phone Link
public://topics-images/phone-link.png
OneNote
public://topics-images/onenote.png
Windows App
public://topics-images/windows-app.png
Notion
public://topics-images/notion.png
Google Drive
public://topics-images/drive.png
YouTube Kids
public://topics-images/yt-kids.png
Gboard
public://topics-images/gboard.png
DeepSeek
public://topics-images/deepseek_logo.svg_.png
Prince of Persia
public://topics-images/prince-persia.png
Sony
public://topics-images/nq0nd2c0_400x400.jpg
Tencent
public://topics-images/z4xi4oyc_400x400.jpg
Cisco
public://topics-images/jmyca1yn_400x400.jpg
Alibaba
public://topics-images/4axflwia_400x400.jpg
Alibaba Cloud
public://topics-images/qm43orjx_400x400_cloud.png
Coinbase
public://topics-images/consumer_wordmark.png
CarPlay
public://topics-images/carplay.png
Rust
public://topics-images/rust-logo-blk.png
Red Hat
public://topics-images/redhat.png
Anthropic
public://topics-images/anthropic.png
Xcode
public://topics-images/xcode.png
Tim Cook
public://topics-images/tim-cook.jpg
Donald Trump
public://topics-images/trump.jpg
Microsoft Surface
public://topics-images/surface.jpg
Copilot+ PC
public://topics-images/copilotpc.png
CoreWeave
public://topics-images/hwqgzewx_400x400.jpg
Stellar Blade
public://topics-images/stellar-blade.jpg
Snapdragon
public://topics-images/snapdragon_chip.png
Qualcomm
public://topics-images/qualcomm-logo.svg_.png