เรามักจะเห็นข่าวชิป Atom กันในเครื่อง UMPC มาหลายต่อหลายเครื่องไม่ว่าจะเป็น MSI Wind, Asus Eee, หรือจะเป็น Cloudbook Max แต่ชิป Atom ก็ยังคงเป็นเพียงชิปในตระกูล x86 ที่ประสิทธิภาพในแง่ของพลังงานดีมากตัวหนึ่ง จึงสามารถนำมาใช้งานเดสก์ทอปปรกติได้
แต่ที่น่าสนใจในเรื่องนี้คือเมนบอร์ด Intel D945GCLF ที่วางตลาดออกมานั้น เริ่มวางจำหน่ายในอังกฤษแล้วด้วยราคา 42 ปอนด์อังกฤษ (ไม่รวมภาษี 17.5 เปอร์เซนต์) หรือประมาณ 2700 บาทเท่านั้น นับว่าถูกกว่าคู่แข่งอย่าง VIA C7 แทบทุกรุ่น แต่ให้ประสิทธิภาพที่ดีกว่าอย่างชัดเจน
MSI Wind เป็นอีกค่ายที่น่าจับตามองในตลาด UMPC ด้วยการเลือกใช้ชิป Atom (Eee 900 ใช้ Celeron) และรูปร่างหน้าตาที่น่ามองพอควร สำหรับสเปคที่น่าสนใจของ Wind นั้น
เอเอ็มดีเผยแผนการผลิตโพรเซสเซอร์ Opteron สำหรับเซิร์ฟเวอร์จำนวน 6 และ 12 คอร์ รหัส Sao Paulo และ Magny-Cours โดยจะใช้สถาปัตยกรรมใหม่ชื่อ Maranello ซึ่งจะมาแทนที่ Barcelona ที่ดูเหมือนว่าจะถูกยกเลิกแผนการผลิตไปแล้ว
สาเหตุที่ชิป Bacelona จำนวน 8 คอร์ถูกยกเลิกการผลิตไปนั้นเป็นเพราะว่าเอเอ็มดีสามารถชิปจำนวน 12 คอร์ได้ง่ายกว่านั่นเอง โดย Maranello มีแผนจะออกสู่ตลาดในปี 2010
อินเทลประกาศความร่วมมือกับ Cray เจ้าพ่อซูเปอร์คอมพิวเตอร์ โดยซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ของ Cray ที่จะออกมาในปี 2010-2011 จะใช้ตัวเร่งความเร็วทศนิยม (FPU) จากชิพรหัส Larrabee ของอินเทล ซึ่งจะออกวางตลาดในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันพอดี
ซีอีโอของ Cray โฆษณาว่าเครื่องนี้จะเป็น "biggest and baddest supercomputers" เลยทีเดียว
หลังจากการปล่อย iMac ที่มี Front-Side Bus ความเร็ว 1066MHz อาจจะทำให้หลายคนนั้นเข้าใจว่า แอปเปิลนั้นได้สิทธิพิเศษในการเข้าถึงแพลตฟอร์ม Montevina ที่อินเทลเตรียมจะเปิดตัวในเดือนมิถุนายนนี้ แต่ที่จริงแล้วไม่ได้อย่างนั้นแต่อย่างใด
ตลอดเวลาที่ผ่านมานั้น หน่วยประมวลผลของอินเทลได้มีการรวมตัวโปรเซสเซอร์, ชิปเซตและ Wireless เข้าด้วยกันเป็น "แพลตฟอร์ม" โดยอินเทลได้ให้โค้ดเนมแก่แต่ละแพลตฟอร์มที่ผลิตออกมา เช่น Santa Rosa หรือ Montevina แต่ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่ แอปเปิลไม่เคยได้ใช้แพลตฟอร์มเหล่านี้แต่อย่างใด (เนื่องจากแอปเปิลใช้เทคโนโลยี AirPort ของตัวเอง) แต่ในคนในวงการแมคหลาย ๆ คนได้ใช้ชื่อโค้ดเนมเหล่านี้กับแมครุ่นต่าง ๆ กัน
การปะทะคารมระหว่างอินเทลและ NVIDIA ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่องหลังจากที่ทางอินเทลได้เปิดตัวแผนการรวมส่วนประมวลกราฟิกเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของซีพียู แล้วประกาศว่า "ชิปกราฟิกกำลังจะตาย" ทาง NVIDIA ก็ออกมาโต้ตอบด้วยท่าทีที่รุนแรงพอๆ กันว่าซีพียูต่างหากที่กำลังจะตายไป
พนักงานของ NVIDIA ที่ออกมาพูดเรื่องนี้คือ Roy Taylor ในอีเมลของเขาระบุว่าที่จริงแล้วผู้ใช้ไม่ได้ต้องการซีพียูที่เร็วกว่าในตอนนี้ไปสักเท่าใหร่นัก โดยชิปที่ผู้ใช้ต้องการให้เร็วขึ้นจริงๆ คือ GPU หรือชิปกราฟิกนั่นเอง เพราะงานที่ผู้ใช้ต้องการเช่น การชมภาพยนตร์, เร่งความเร็วเกม, และการเข้าบีบอัดภาพยนตร์จากแผ่นดีวีดีก็ตามที
พอดีทำงานกับเซิร์ฟเวอร์อยู่หลายเครื่อง อีกหน่อยถ้าการ์ดจอในเซิร์ฟเวอร์แรงๆ จะได้แอบเล่นเกม
หลังจากประกาศผลประกอบการไตรมาสแรกไม่ถึงสัปดาห์ อินเทลก็ได้ประกาศลดราคาซีพียูหลายรุ่น ที่รุนแรงก็ Quad Core Xeon X3230 ลดครึ่งหนึ่ง จากราคา $530 เหลือเพียง $266 (ต่อการซื้อ 1000 ชิ้น) ส่วนรุ่นอื่นๆ ก็ลดลงราว 15-30% นอกจากนี้ยังเปิดตัว Dual Core Celeron E1400 2GHz ในราคาเพียง $53 (~1700 บาท) ลองดูรายละเอียดตามลิงค์
ใครจะซื้อก็ช้าก่อน พี่ Intel ทำกันแบบนี้ AMD ผมจะตายไหมเนี่ย
ที่มา - eWEEK
หลังจากอินเทลเปิดตัวโน้ตบุ๊กต้นแบบที่ใช้แพลตฟอร์ม Atom ไปได้ไม่กี่วัน (ข่าวเก่า) ชาร์ปก็ได้เปิดตัว Ultra-mobile PC ที่ใช้แพลตฟอร์ม Atom เครื่องแรกที่ญี่ปุ่น โดยชาร์ปได้ผลิตเครื่องนี้ออกมา สำหรับใช้กับเครือข่ายของ Willcom (ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถืออันดับที่ 4 ของญี่ปุ่น) โดยเฉพาะ
Ultra-mobile PC ตัวนี้มีชื่อรุ่นว่า Willcom D4 หรือ Sharp WS016H สเปคก็ตามนี้
Jen-Hsun Huang ซีอีโอของ Nvidia เปิดศึกโจมตี GPU แบบออนบอร์ดของอินเทล
ศึกรอบนี้ตามหลังงาน Intel Developer Forum ที่เซี่ยงไฮ้เมื่ออาทิตย์ที่แล้ว ซึ่งอินเทลเผยรายละเอียดของ GPU (แบบไม่ออนบอร์ด) รหัส Larrabee และซีพียูรหัส Nehalem ซึ่งจะรวมเอา GPU ออนบอร์ด GMA 4500 เข้ามาในแพกเกจของซีพียู (บางรุ่น)
โดย Jen-Hsun Huang บอกว่า GPU ออนบอร์ดของอินเทลนั้นเป็นเรื่องตลก และต่อให้อินเทลเพิ่มความสามารถของ GPU ได้สิบเท่าในปี 2010 ก็จะเพิ่งจะเท่ากับฮาร์ดแวร์ของ Nvidia ในวันนี้ ฮาร์ดแวร์ของอินเทลเหมาะสำหรับรัน Excel เท่านั้น
ที่งาน Intel Developer Forum ที่เซี่ยงไฮ้ปีนี้ทางอินเทลยังคงเดินหน้ากับแพลตฟอร์มใหม่เพื่อคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กต่อไปด้วยการเปิดตัวโน้ตบุ๊กต้นแบบที่ทำงานได้จริงโดยใช้ชิป Atom มาให้คนร่วมงานได้สัมผัสกัน
โน้ตบุ๊กต้นแบบที่ยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการนี้ออกแบบโดย MSI สเปคที่ออกมาคือ
หลังจากลงทุนไปกว่า 1.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก็เริ่มมีข่าววงในว่าอินเทลกำลังพิจารณาที่จะถอนตัวออกจาประเทศฟิลิปปินส์ ภายใน 6 ถึง 9 เดือนข้างหน้า
ข่าวลือนี้คาดการณ์จากปัญหาราคาพลังงานในประเทศฟิลิปปินส์ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอินเทลมีการกระจายข่าวสารภายในว่าการรักษาโรงงานที่ฟิลิปปินส์ให้อยู่ได้ในระยะยาวจะต้องมีการลงทุนเพิ่มเติมเป็นจำนวนมาก
โรงงานในฟิลิปปินส์นั้นมีพนักงานกว่าสามพันคน
ที่มา - Physorg
หลังจากเปลี่ยนชื่อ Pentium ที่ใช้สืบเนื่องยาวนานมาเป็น Core เราก็ไม่คิดว่าอินเทลจะมีชื่อทางการค้าใหม่ๆ มานำเสนอไปอีกพักใหญ่ แต่ตอนนี้มีแล้วครับ เมื่ออินเทลเปิดตัวชื่ออย่างเป็นทางการของซีพียูรหัส Silverthorne และ Diamondville และชิปเซ็ตสำหรับแพลตฟอร์ม Menlow ในชื่อว่า Atom และ Centrino Atom
ทั้ง Atom และ Centrino Atom จะจับตลาด mobile Internet devices (MIDs) และอุปกรณ์พกพาแบบใหม่ๆ ที่จะตามมาในอนาคต (ตัวอย่างที่ออกมาแล้วก็เช่น UMPC) การที่อินเทลหันมาจับตลาดนี้อย่างจริงจัง ทำให้เราพอคาดเดาตลาดอุปกรณ์พวกนี้ในอนาคตว่าสดใสแน่
อินเทลยังคงเดินหน้าตอกย้ำความเป็นผู้นำในตลาดไมโครโปรเซสเซอร์ต่อไป ด้วยการเปิดตัวชิปในตระกูล Penryn ที่ใช้เทคโนโลยี 45 นาโนเมตรเข้าสู่ตลาดพร้อมกันถึง 16 รุ่น โดยแบ่งเป็นชิปสำหรับโน้ตบุ๊กห้ารุ่น ชิปสำหรับเดสก์ทอปเจ็ดรุ่น และชิปสำหรับเซิร์ฟเวอร์อีกสี่รุ่น โดยทั่วไปแล้วชิปเหล่านี้จะทำงานที่สัญญาณนาฬิกาสูงขึ้นกว่าชิปเดิมเล็กน้อย พร้อมกับประหยัดไฟอีกนิดหน่อย (ไม่ระบุในสเปค) แต่เมื่อเทียบกับทางฝั่งเอเอ็มดีที่ไม่มีอะไรใหม่มานานแล้วการเปิดตัวนี้ก็นับเป็นปัญหาหนักสำหรับเอเอ็มดีอยู่พอตัว
อินเทลยังคงเตรียมการบุกตลาด UMPC ไปพร้อมๆ กันด้วยการระบุถึงแพลตฟอร์ม Menlow ที่จะเปิดตัวอย่างเป็นทางการภายในไตรมาสแรกของปีนี้
อินเทลขอถอนตัวจากโครงการ One Laptop Per Child หลังจากที่มีเรื่องแตกหักเกี่ยวกับการผลิตชิพของอินเทล
เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อทางผู้ก่อตั้ง OLPC นาย Nick Negroponte ได้ขอร้องให้อินเทลนั้นเลิกที่จะผลิต Classmate PC ระหว่างร่วมโครงการ OLPC ที่ใช้ชิพของ AMD โดยการตลาดของ Classmate PC นั้นเป็นปัญหามาตั้งแต่ก่อนที่อินเทลจะเข้าร่วม OLPC แล้ว โดย Negroponte เคยออกมากล่าวหาก่อนที่อินเทลจะเข้าร่วมมื่อเดือนพฤษภาคมว่าอินเทลต้องการกลั่นแกล้งโครงการ OLPC โดยการทำให้ราคาของ Classmate PC นั้นต่ำกว่าต้นทุน
เพียงหกเดือนหลังความร่วมมือระหว่างอินเทลและโครงการ OLPC ความร่วมมืออันหวานชื่นก็ถึงคราวต้องสิ้นสุดลง เมื่อทางอินเทลได้ประกาศยกเลิกความร่วมมือกับโครงการ OLPC ไปอย่างเป็นทางการแล้วในวันนี้ โดยบอร์ดของ OLPC จากทางอินเทลจะลาออกพร้อมกับยกเลิกโครงการชิปสำหรับ OLPC รุ่นต่อไป
อินเทลมีโครงการคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กเป็นของตัวเอง โดยเป็นคู่แข่งโดยตรงกับโครงการ OLPC และยังเดินหน้าในการพัฒนาและการผลิตต่อไป
ที่มา - Wall Street Journal
แม้อินเทลจะจูบปากกับโครงการ OLPC ไปแล้ว แต่โครงการ Classmate PC ของทางอินเทลเองก็ยังเดินหน้าต่อไป โดยล่าสุดเครื่อง Classmate PC นี้ก็ไปปรากฏตัวในตลาดเวียดนามแล้วในชื่อว่า Hacao Classmate PC
ตัวเครื่องแทบไม่ต่างอะไรไปจาก Classmate PC ของทางอินเทล แต่ที่พิเศษคือการใช้ Puppy Linux ที่ปรับแต่งเป็นพิเศษให้ใช้งานภาษาเวียดนามได้ ด้านฮาร์ดแวร์นั้นก็เป็น Celeron 900 เมกกะเฮิร์ต กับแรม 256 เมกกะไบต์ (น้อยไปหน่อย) พร้อมหน่วยความจำแบบแฟลชอีก 1 กิกะไบต์
ราคาวางจำหน่ายในเวียดนามอยู่ที่ 340 ดอลลาร์ แต่ถ้าเป็นการสั่งซื้อจากสถาบันการศึกษาจะเหลือเพียง 250 ดอลลาร์เท่านั้น
ที่มา - DesktopLinux
บริษัท อินเทล ผู้นำด้านการผลิตชิป ได้วางแผนที่จะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นเป็น 12.2% โดยปัจจุบันมูลค่าของตลาดเซมิคอนดักเตอร์ทั้งหมดมีการโตขึ้น 2.9 % จากปีที่แล้ว โดยคิดเป็นมูลค่า 270.3 พันล้านดอลลาห์สหรัฐ
โดยยอดขายของอินเทล ณ ปัจจุบันโตเป็น 2 เท่าของการเติบโตของตลาด ซึ่งเกิดจากการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ติดชิปอินเทลถูกขายมากขึ้น และปีที่แล้ว อินเทลครองส่วนแบ่งตลาดไปทั้งหมด 11.6 %
ในกลุ่มผู้นำด้านการผลิตชิปเจ้าอื่น เช่นโตชิบาคาดการณ์ว่าจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 28% (ดอลลาห์สหรัฐ)
ที่มา - Reuter.com
นอกเหนือจากการคาดเดากันว่าแอปเปิลจะเปิดตัว MacBook สุดบางขนาด 13.3 นิ้วแล้วยังมีความเป็นไปได้ว่าแอปเปิลจะอัพเดท MacBook Pro ทั้งตระกูลด้วย
โดยการอัพเดท MacBook Pro ในครั้งนี้คาดว่าจะมีการเปลี่ยนมาใช้ชิพใหม่จากอินเทลที่ใช้โค้ดเนมว่า Intel Penryn โดย Penryn X9000 มีความเร็วนาฬิกาของซีพียูอยู่ที่ 2.8GHz และมี L2 cache เพิ่มขึ้นมาเป็น 6MB ถ้าหากมาเปรียบเทียบชิพตระกูล Penryn ใหม่นี้กับตระกูล Santa Rosa จะพอเทียบได้ดังนี้...
อินเทลออกซีพียูรุ่นใหม่รหัส "Penryn" ซึ่งออกมาแทนรุ่นที่ใช้คอร์ Merom ซึ่งใช้มานานตั้งแต่ปี 2006
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของ Penryn คือเปลี่ยนมาใช้การผลิตที่ 45 นาโนเมตร ซึ่งส่งผลให้ประหยัดพลังงานมากขึ้น อินเทลให้ตัวเลขว่าเครื่องเซิร์ฟเวอร์จะกินไฟไม่เกิน 120 วัตต์ ส่วนรุ่นโน้ตบุ๊คที่จะออกปีหน้ากินแค่ 25 วัตต์ (ปัจจุบันโน้ตบุ๊คที่ใช้ซีพียู 65 นาโนเมตรกินไฟ 35 วัตต์) นอกจากนั้นก็มี SSE4 และเปลี่ยนมาใช้ทรานซิสเตอร์แบบ high-k metal-gate แทนซิลิคอน ซึ่งช่วยให้กระแสไฟรั่วน้อยลง ที่สำคัญไม่ใช้สารตะกั่วด้วย (ข่าวเก่า)
เมื่อหลายเดือนก่อนอินเทลได้ตกลงเข้าร่วมโครงการ OLPC อย่างเป็นทางการทำให้การแข่งขันระหว่าง Classmate PC กับ OLPC XO ดูเหมือนจะจบลงไปแล้ว และในตอนนี้ความร่วมมือที่ว่านี้ก็กำลังจะมีผลผลิตออกมาให้เราเห็นกันเป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น เมื่ออินเทลประกาศว่าบริษัทกำลังเตรียมเปิดตัวชิปเซ็ตใหม่ที่ออกแบบมาเพื่อ OLPC โดยเฉพาะ ในงาน Intel Developer Forum (IDF) ที่เซี่ยงไฮ้ในปีหน้า
ในตอนนี้เครื่อง OLPC XO ใช้ชิป Geode จากทางเอเอ็มดี ที่ออกแบบเพื่อเครื่องกินพลังงานต่ำโดยเฉพาะ ส่วน Classmate PC นั้นใช้ชิป Celeron ที่เราๆ เคยเห็นกันในตลาดโน้ตบุ๊กเมื่อหลายปีก่อน
ยังไม่มีข่าวจากทางเอเอ็มดีว่าจะออกชิปรุ่นใหม่มาแข่งขันกันด้วยหรือไม่อย่างไร
The Inquirer รายงานว่าแอปเปิลได้ทำการสั่งจองชิปเซ็ต Penryn Xeon 3.2GHz ที่มีโค้ดเนมเก่าว่า Harpertown สำหรับปีนี้เกือบหมดมีผลทำให้แทบจะไม่มีเหลือให้ผู้ผลิตรายอื่นได้ใช้เลย
เจ้าชิปเซ็ต Penryn Xeon 3.2GHz ตัวนี้มีบัสความเร็วสูงถึง 1600MHz และมี L2 Cache ขนาด 12MB โดยชิปเซ็ตชุดนี้จะเป็น Quad-core ที่จะอัพเกรดไลน์สินค้าตระกูล Mac Pro ของแอปเปิลที่ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมาปีนิด ๆ แล้ว (แอปเปิลจริง ๆ แล้วเปิดตัว Mac Pro 8-core เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาแต่ไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงรุ่นอื่น ๆ แต่อย่างใด)
ก่อนหน้านี้ไม่มีรายงานว่า Penryn Xeon จะมีความเร็วนาฬิกาถึง 3.2GHz แต่อย่างใด
AppleInsider รายงานว่า Leopard หรือ Mac OS X 10.5 อาจจะเป็นระบบปฏิบัติการตัวสุดท้ายจากแอปเปิลที่ยังคงสนับสนุนการใช้งานบนระบบ PowerPC
หลาย ๆ คนที่อยู่ในวงการแอปเปิลมานานคงจะเริ่มรู้ตัวแล้วว่า Mac OS X 10.6 อาจจะไม่สามารถติดตั้งบนเครื่องแมคที่ใช้ระบบ PowerPC ของ IBM โดยเครื่องแมคที่สามารถรองรับระบบปฏิบัติการใหม่ได้นั้นอย่างน้อยจะต้องเป็นเครื่องแมคที่ใช้ชิปจากอินเทล ซิ่งเริ่มวางขายตั้งแต่ช่วงต้นปี 2006 มาแล้ว
ไม่ว่าอย่างไรก็ตามแอปเปิลยังไม่ได้ตัดสินใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ หากมาดูจากวงจรการผลิตระบบปฏิบัติการของแอปเปิลแล้วนั้น Mac OS X 10.6 ไม่น่าจะออกจนกว่าปี 2009
อินเทลกับผู้ร่วมพัฒนาในโครงการเทคโนโลยี Universal Serial Bus หรือ USB ได้เตรียมตัวที่จะเปิดตัว USB 3.0 ในครึ่งแรกของปี 2008 โดยจะมีการนำไฟเบอร์ออฟติกเข้ามาใช้ร่วมกับสายไฟทองแดงปกติ ทำให้เจ้า USB 3.0 นี้มีความเร็วสูงสุดมากกว่า USB 2.0 ถึง 10 เท่าที่ 4.8 Gbps (กิกาบิตต่อวินาที)
นาย Pat Gelsinger ตัวแทนและผู้จัดการทั่วไปของอินเทลได้ออกมาเปิดเผยว่าในความจริงแล้วมักจะใช้เวลาประมาณหนึ่งถึงสองปีในการปรับตัวของผู้ผลิตกว่า USB 3.0 จะนำมาใช้จริงได้หลังการเปิดตัว เพราะฉะนั้นคาดว่าเราจะมี USB 3.0 ใช้กันภายในปี 2009 หรือ 2010
ทุกวันนี้นับได้ว่าเป็นยุคของ USB อย่างแท้จริง จากที่เราเห็นอุปกรณ์สารพัดล้วนทำงานบนพอร์ต USB ทั้งหมด จากความตั้งใจแรกที่จะให้ USB มาแทนที่พอร์ตอื่นๆ เช่น PS/2 จึงเริ่มเปลี่ยนไปโดยมีความต้องการที่จะใช้ความเร็วจากพอร์ต USB สูงขึ้นเรื่อยๆ จนมาถึง 480 Mb/s กันแล้วในตอนนี้
อินเทลเตรียมวางแผนให้มาตรฐาน USB เดินหน้าต่อไป ด้วยการจัดตั้งกลุ่มสนับสนุน USB 3.0 ที่จะเรื่มพูดคุยกันว่ามาตรฐานในยุคต่อไปควรเป็นอย่างไร ที่น่าสนใจคือจะมีการพูดคุยกันในประเด็นการเตรียมตัวไปใช้สายไฟเบอร์ออปติกส์ต่อไปในอนาคตด้วย ทิศทางของ USB ตอนนี้จึงดูเหมือนจะกลายเป็นพอร์ตความเร็วสูงแทนที่จะเป็นพอร์ตอเนกประสงค์ไปแล้ว
ส่วนพวกคีย์บอร์ดอีกหน่อยก็ไร้สายกันหมดสินะ
อินเทลประกาศว่า ได้ทำการเซ็นสัญญาเข้าซื้อบริษัท Havok แล้ว โดย Havok จะกลายเป็นบริษัทย่อยของอินเทลไป
Havok เป็นบริษัทสัญชาติไอร์แลนด์ผู้พัฒนาเทคโนโลยีและเอนจินสำหรับใช้ในเกม, ภาพยนตร์, และแอนิเมชัน ตัวที่รู้จักกันดีคือ Havok Physics ที่ใช้ในเกมดังอย่าง Half Life 2, Halo 2, BioShock, Oblivion, และอีกหลายร้อยเกมบนสิบกว่าแพลตฟอร์ม
ที่มา - Gamasutra