Tags:
Node Thumbnail

Google Reader เว็บแอปสำหรับอ่านข่าวและเนื้อหาเว็บต่าง ๆ ผ่าน RSS ได้ปิดตัวลงเมื่อ 10 ปีที่แล้ว และอาจเป็นการปิดตัวผลิตภัณฑ์กูเกิลที่แม้ผู้ใช้งานไม่เยอะ แต่ทุกคนที่ใช้ต่างเสียดายกับการผลิตภัณฑ์ของกูเกิลนี้เป็นจำนวนมาก The Verge ได้ทำบทสัมภาษณ์พิเศษทีมงานของ Google Reader ในเวลานั้น ตั้งแต่จุดเริ่มต้น การเติบโตของผลิตภัณฑ์ อุปสรรค จนนำไปสู่การปิดตัว

Tags:
Node Thumbnail

Chris Wetherell ผู้สร้าง Google Reader (ปัจจุบันเขาไม่ได้เป็นพนักงานของกูเกิลแล้ว) ให้สัมภาษณ์หลังกูเกิลปิดบริการ Google Reader ว่านโยบายนี้ของกูเกิลจะส่งผลลบต่อพนักงานที่มีไอเดียแปลกใหม่ ทำให้พนักงานเหล่านี้อาจเลือกลาออกจากบริษัทไปพัฒนาไอเดียของตัวเอง แทนที่จะทดลองสร้างผลิตภัณฑ์นั้นใต้ร่มเงาของกูเกิล

Wetherell บอกว่าถ้าเขามีไอเดียสร้าง Google Reader ในตอนนี้ เขาจะเลือกลาออกจากบริษัทไป เพราะเขารู้สึกแย่ถ้าไอเดียของเขาจะต้องมาแข่งกับ Google+ กันเองภายในบริษัท

Tags:
Node Thumbnail

จากข่าวก่อนหน้า กูเกิลประกาศปิดอีกหลายบริการ - Google Reader ก็โดนด้วย วันนี้ก็มาถึงแล้ว หากตอนนี้เข้าไปยังหน้า Google Reader จะพบกับเพจแจ้งว่า Google Reader ได้ปิดตัวลงแล้ว พร้อมทั้งแนบลิงค์บริการทางเลือกอื่นสำหรับใช้อ่าน feed แทน Google Reader และยังตอบคำถามที่ถูกถามบ่อย (FAQ) ไว้ 3 ข้อ คือ

Tags:
Node Thumbnail

หลังจากที่ Google ประกาศปิดบริการ Google Reader ในวันที่ 1 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ Digg ที่เคยประกาศไว้ว่าจะทำโปรแกรมอ่านฟีดทดแทนก็ได้ฤกษ์ออก Digg Reader รุ่น Beta เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยผู้ใช้จะต้องล็อกอินเข้ากับบัญชีของ Google แล้วฟีดข่าวจะถูกคัดลอกมายัง Digg อัตโนมัติ (ถ้ามี)

ฟีเจอร์ที่มีก็คือ

Tags:
Node Thumbnail

ควันหลงจากการที่ Google Reader กำลังจะปิดบริการในวันที่ 1 กรกฎาคม บริการทดแทนที่คนกำลังวิ่งใส่อย่าง Feedly ได้ประกาศย้ายมาใช้เซิร์ฟเวอร์ฟีดของตัวเองแล้ว (ก่อนหน้านี้ใช้ของ Google Reader)

Feedly บอกว่ากระบวนการย้ายข้อมูลทั้งบน iOS, Android และบนเดสก์ท็อปได้เริ่มขึ้นแล้ว โดยผู้ใช้ไม่ต้องทำอะไรทั้งสิ้น เมื่อเสร็จสิ้นจะมีแจ้งเตือนให้อัพเดตแอพอีกที สิ่งที่หายไปในระหว่างย้ายข้อมูลจะเป็นตัวเลขข่าวที่ยังไม่ได้อ่าน และข่าวที่เก็บไว้ ซึ่งจะกลับมาใช้งานได้หลังจากที่จัดการเรียบร้อย

ข่าวดีปิดท้ายคือระบบซิงก์ฟีดของ Feedly นี้จะเปิดให้นักพัฒนาภายนอกมาใช้ด้วย นั่นหมายความว่าแอพอื่นๆ ที่เคยใช้เซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลจะมีที่พึ่งใหม่นั่นเอง