Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

2-3 วันที่ผ่านมาเกิดประเด็น gender ขึ้นในองค์กร Google เมื่อมีอีเมลไวรัลที่ส่งมาจากพนักงานคนหนึ่งใน Google ตั้งข้อสงสัยถึงความพยายามสร้างความหลากหลายในองค์กร อีเมลนี้ใช้ชื่อว่า Google’s Ideological Echo Chamber หรือแนวคิดที่สะท้อนไปมาอยู่ใน Google

เนื้อหาเริ่มต้นด้วย พวกเราเคารพในความหลากหลายและความมีส่วนร่วม และไม่เห็นด้วยกับการกีดกันทางเพศ แต่มีบางอย่างที่ต้องถกเถียงคือ ความแตกต่างของลักษณะชายและหญิงอาจอธิบายได้ว่า เพราะอะไรเราถึงไม่สามารถมีสัดส่วนชายหญิงครึ่งต่อครึ่งได้

No Description
ภาพจาก Press Google

ที่ Google เราจะพูดถึงแต่อคติเรื่องเพศและเชื้อชาติ แต่ไม่ค่อยมีใครพูดถึงอคติทางจริยธรรม และการเมือง หรือทฤษฎีทางสังคม เช่น ออกไปทางซ้ายจัด ขวาจัด ความเห็นอกเห็นใจผู้อ่อนแอกว่า เคารพผู้ที่เข้มแข็งกว่าหรือมีอำนาจมากกว่า
ความไม่เสมอภาคที่จากความอยุติธรรม ความแตกต่างตามธรรมชาติ มนุษย์เป็นสัตว์ช่วยเหลือกัน หรือแข่งขันกัน เป็นต้น

ไม่มีแนวคิดใดถูกต้องทั้งหมด แต่ทุกแนวคิดเป็นส่วนหนึ่งและมีความสำคัญต่อสังคม และเราไม่ได้บอกว่าผู้ชายทุกคนต่างจากผู้หญิง เราเพียงจะบอกว่าการกระจายตัวของความชอบและความสามารถของผู้ชายและผู้หญิงแตกต่างกันไปอันเนื่องจากสาเหตุทางชีววิทยา และความแตกต่างเหล่านี้อาจอธิบายได้ว่าทำไมเรายังเห็นบทบาทผู้หญิงในด้านเทคโนโลยีและความเป็นผู้นำน้อยกว่าผู้ชาย ซึ่งผู้หญิงโดยเฉลี่ยมีการเปิดกว้างทางความรู้สึกและสุนทรียศาสตร์มากกว่าความคิด (Openness directed towards feelings and aesthetics rather than ideas) ผู้หญิงมีความสนใจในผู้คนและสังคมมากกว่าสนใจสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ความแตกต่างทั้งสองนี้อธิบายถึงเหตุผลที่ผู้หญิงชอบงานในพื้นที่ทางสังคมและศิลปะมาก

No Description
ภาพจาก Google

เรามักถามว่าทำไมเราไม่เห็นผู้หญิงในตำแหน่งผู้นำ แต่เราไม่เคยถามว่าทำไมเราเห็นผู้ชายจำนวนมากในงานเหล่านี้ อาจเป็นเพราะตำแหน่งเหล่านี้ต้องแลกมาด้วยความเครียดเป็นระยะเวลายาวนาน ซึ่งอาจไม่คุ้มค่าถ้าต้องการชีวิตที่สมดุล ทางออกคือ เราสามารถทำให้วิศวกร นักพัฒนาซอฟต์แวร์มีการทำงานร่วมกันมากขึ้น หรือเขียนโปรแกรมแบบคู่ อนุญาตให้ผู้แสดงความเห็นและพยายามแสดงความมีส่วนร่วมได้เติบโตในองค์กรได้ สร้างบรรยากาศการทำงานที่ผ่อนคลายความตึงเครียด

ผู้เขียนอีเมลยังคงยืนยันว่า เชื่อมั่นในเรื่องเพศและความหลากหลายทางเชื้อชาติและคิดว่าเราควรพยายามให้มากขึ้น เพื่อให้ได้มาซึ่งการแสดงออกทางเพศและทางเชื้อชาติที่เท่าเทียมกัน

Danielle Brown หัวหน้าด้านการสร้างความหลากหลายในองค์กร เพิ่งเข้ารับตำแหน่งไม่กี่อาทิตย์ ก็เจอโจทย์ท้าทายเสียแล้ว เธอเขียนอีเมลหาพนักงานหลังจากอีเมลไวรัลดังกล่าวได้เผยแพร่ไปทั่วว่า การตั้งคำถามและการแสดงความเห็นเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรที่ควรจะมี แต่ส่วนหนึ่งของเนื้อหานั้นที่ทำให้ฉันรู้สึกว่ามันเป็นปัญหา คือความลำเอียงในการกำหนดว่าผู้หญิงหรือผู้ชายส่วนใหญ่ รู้สึก หรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งได้ดีกว่า นั่นถือเป็นเรื่องอันตราย

ที่มา - Recode

Get latest news from Blognone

Comments

By: TheOrbital
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 7 August 2017 - 14:33 #1001498
TheOrbital's picture

ผมมีความเห็นด้วยในบางส่วนของอีเมลนี้ แต่บางส่วนก็ไม่เห็นด้วย

ออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้มีความคิดกีดกันทางเพศนะ บางครั้งจะเอียงไปทาง Feminist ด้วยซ้ำ
ผมเองทำงานอยู่ในองค์กรที่มีผู้หญิงมากกว่าผู้ชายเยอะ ถึงขนาดบางแผนกเป็นผู้หญิงทั้งแผนกยันไปถึงหัวหน้าถึงผจก.เลย และงานบางอย่างผู้หญิงก็ทำสู้ผู้ชายไม่ได้เรียกว่าหลายๆแผนกที่มีแต่ผู้หญิงแต่ตำแหน่งงานนี้ล้วนเป็นผู้ชายก็มี

ผู้หญิงกับผู้ชายไม่ได้ต่างกันแค่สรีระภายนอกเท่านั้น แต่ความคิด อารมณ์ ความชื่นชอบ ความถนัดบางอย่างก็ต่างกัน บางครั้งงานบางประเภท หรือบางตำแหน่ง มันเป็นธรรมชาติที่ผู้ชายสนใจมากกว่าผู้หญิง แค่วัดตัวเลขว่าสัดส่วนผู้หญิงน้อยกว่าผู้ชายแล้วตีความว่ามีการกีดกันทางเพศมันดูจะมองง่ายๆเกินไป อย่างไรก็ดีก็ไม่ได้หมายความว่าจะปิดกั้นว่าไม่ให้ผู้หญิงมาสมัคร ขอเพียงแค่ในการพิจารณางานหรือพิจารณาเลื่อนตำแหน่งไม่มีประเด็นเรื่องเพศก็พอแล้ว ส่วนจะได้เพศไหนมากน้อยก็ให้สัดส่วนเป็นไปตามธรรมชาติ ไม่เห็นจำเป็นต้องกดดันกันมากเกินไป

รวมไปถึงเรื่องเชื้อชาติ สีผิวก็เช่นกัน ความต่างในวัฒนธรรมก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้แต่ละเชื้อชาติมีความต่างด้านความรู้ ความสามารถและความสนใจ คนละแบบ ขอเพียงแค่เปิดกว้าง ไม่ตั้งแง่ตั้งแต่ต้น ไม่กีดกันก็คงเพียงพอแล้ว ไม่ถึงกับต้องมาคำนวณอัตราส่วนมากน้อยต้องมีคนเอเชียเท่านั้นอเมริกันเท่านี้กันขนาดนั้น บางครั้งอัตราส่วนที่ออกมาก็เป็นไปตามธรรมชาติของมัน

แต่ที่ผมไม่เห็นด้วยในเมลนี้ คือ เรื่อง "ทำไมเรายังเห็นบทบาทผู้หญิงในด้านเทคโนโลยีและความเป็นผู้นำน้อยกว่าผู้ชาย.." ไปจนถึง "...เรามักถามว่าทำไมเราไม่เห็นผู้หญิงในตำแหน่งผู้นำ แต่เราไม่เคยถามว่าทำไมเราเห็นผู้ชายจำนวนมากในงานเหล่านี้" ตรงนี้คุณตัดสินไม่ได้ การที่คุณบอกว่า ก็ดูทั่วไปสิผู้หญิงไม่เห็นได้ทำตำแหน่งนี้ เพราะผู้หญิงนิสัยแบบนี้ความคิดแบบนี้นี่แหละ เลยเป็นผู้ชายที่ทำตำแหน่งนี้มากกว่า นี่คุณตัดสินมันมาจากผล ซึ่งผลนี้อาจจะผ่านการกีดกันทางเพศมาแล้วก็ได้ คุณไม่อาจรู้ได้เลยว่าผลที่คุณเห็นทั่วๆไป เกิดจากการกีดกันทางเพศมาหรือเปล่า

โดยทั้งหมดทั้งมวล ไม่รวมความเห็นเรื่องการคุกคามนะ ถ้าเป็นกรณีการคุกคามทางเพศหรือเชื้อชาติ อันนี้ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง

By: dangsystem
iPhoneAndroidBlackberryWindows
on 7 August 2017 - 18:48 #1001522 Reply to:1001498
dangsystem's picture

ที่ทำงานผม ผู้หญิง 90% ครับ และก็เป็นผู้ชายไม่แท้ไปอีก 3%

By: Holy
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 7 August 2017 - 20:29 #1001534 Reply to:1001522
Holy's picture

ทำงานสายพวกสอบบัญชีรึเปล่าครับเนี่ย...

By: TheOrbital
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 8 August 2017 - 11:27 #1001628 Reply to:1001522
TheOrbital's picture

หรือทำงานสาย แฟชั่น/เสริมสวย/บันเทิง หรือเปล่าครับ สายนี้ผู้หญิงกับผู้ชายไม่แท้ค่อนข้างเยอะ

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 7 August 2017 - 15:09 #1001501
panurat2000's picture

และการเมือง หรือทฤษฎทางสัมคม

ทฤษฎ => ทฤษฎี

สัมคม => สังคม

เป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมองคกร

องคกร => องค์กร

By: sunnywalker
WriterAndroid
on 7 August 2017 - 15:15 #1001503 Reply to:1001501

ขอบคุณค่ะ

By: SlingShot
AndroidIn Love
on 8 August 2017 - 10:05 #1001612
SlingShot's picture

เป็นอีเมลที่เรียกร้องความเท่าเทียมแต่
เนื้อหาส่อไปในทางกีดกันทางเพศ

By: SlingShot
AndroidIn Love
on 8 August 2017 - 10:26 #1001617
SlingShot's picture

เป็นอีเมลที่เรียกร้องความเท่าเทียมแต่
เนื้อหาส่อไปในทางกีดกันทางเพศ

By: Avexiouz
AndroidUbuntuWindows
on 8 August 2017 - 21:52 #1001706

ผมรู้สึกว่าบางทีมันไม่ใช่ความพยายามเพื่อให้เกิดความเท่าเทียมทางเพศ แต่เป็น feminist มากกว่า

เคยเจอองค์กรที่มีนโยบายโควต้ารับผู้หญิงหนึ่งคนต่อผู้ชายหนึ่งคน
ถามว่าเท่าเทียมไหมถ้าคนที่จบจากสาขาที่เหมาะกับงานนี้มีอัตราส่วน ชาย:หญิง เป็น 2:1 แปลว่าผู้ชายต้องแข่งกันหนักกว่าผู้หญิงเท่าตัวเพื่อที่จะเข้าบริษัทนี้

โอเค มันต้องเพื่อชดเชยความเสียเปรียบของผู้หญิงบ้าง แต่ถามว่าแล้วงั้นต้องชดเชยให้ขนาดไหน
ถ้าวันนึงทุกองค์กรทุกบริษัทมีนโยบายรับ ชาย:หญิง 1:1 แต่คนที่เรียนจบมา 2:1 เหมือนเดิม แบบนี้แฟร์ไหม ไม่เรียกว่ากีดกันผู้ชายเหรอ