Tags:
Node Thumbnail

เหล่าวิศวกรชีววิทยาแห่ง MIT ได้สร้างภาษาสำหรับการเขียนโปรแกรมขึ้นมาใหม่ ด้วยการเขียนโปรแกรมดังกล่าว พวกเขาจะสามารถออกแบบวงจรรหัสพันธุกรรมให้แก่เซลล์สิ่งมีชีวิตเพื่อกำหนดลักษณะเฉพาะของเซลล์นั้นได้

ด้วยภาษาที่ถูกพัฒนาขึ้นมานี้ ไม่ว่าใครก็สามารถออกแบบฟังก์ชั่นของเซลล์ได้ เช่น สั่งให้เซลล์ตรวจสอบสภาพแวดล้อมและทำการตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งเมื่ออยู่ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่กำหนด จากนั้นพวกเขาก็จะสร้างรหัสพันธุกรรมขึ้นมาตามโปรแกรมที่เขียนเอาไว้ ก่อนจะนำไปใส่ไว้ในเซลล์สิ่งมีชีวิต

ถึงตอนนี้สิ่งมีชีวิตที่เหมาะแก่การใส่รหัสพันธุกรรมที่ได้จากการเขียนโปรแกรมมาก็คือเซลล์แบคทีเรีย โดย Christopher Voigt หัวหน้าทีมวิจัยงานนี้พร้อมด้วยทีมจาก Boston University และ National Institute of Standards and Technology ได้อธิบายรายละเอียดเรื่องนี้ลงใน Science ประจำวันที่ 1 เมษายน ว่าพวกเขาสร้างวงจรรหัสพันธุกรรมให้เซลล์คอยตรวจจับสัญญาณ 3 อย่าง โดยให้แสดงการตอบสนองเมื่อได้รับสัญญาณแต่ละอย่างแตกต่างกันไป 3 แบบ ซึ่งในอนาคตเราสามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเทคนิคนี้ได้มาก เช่น การเขียนโปรแกรมสั่งให้เซลล์แบคทีเรียปล่อยสารที่เป็นตัวยาต้านมะเร็งเมื่อตรวจเจอก้อนเนื้อร้ายในร่างกาย, การเขียนโปรแกรมให้ยีสต์หยุดการแพร่พันธุ์ตัวเองเมื่อพบว่าในระหว่างการหมักนั้นเกิดสารพิษไม่พึงประสงค์ขึ้นในกระบวนการ

การออกแบบเซลล์ให้มีฟังก์ชั่นนั้นไม่ใช่เรื่องใหม่ ไม่ว่าจะเป็นการใส่นาฬิกาชีวภาพไว้ในเซลล์, การใส่เซ็นเซอร์ตรวจวัดสภาพแวดล้อม หรือกระทั่งให้เซลล์มีสถานะเป็นหน่วยความจำนั้นก็ยังได้ หากทว่าที่ผ่านมาการจะทำงานเหล่านี้ได้ต้องใช้กระบวนการด้านพันธุวิศวกรรมซึ่งต้องลงมือทำโดยผู้มีความชำนาญเท่านั้น และต้องผ่านการลองผิดลองถูกมาไม่น้อยกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ แต่งานวิจัยออกแบบเซลล์ด้วยการเขียนโปรแกรม จะทำให้ใครก็ออกแบบเซลล์แบบพิเศษได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุวิศวกรรม

ตัวภาษาที่ใช้ในงานนี้ถูกพัฒนาต่อมาจาก Verilog ซึ่งนิยมใช้ในการเขียนโปรแกรมชิปคอมพิวเตอร์ ทีมวิจัยออกแบบองค์ประกอบพื้นฐานของงานโปรแกรม เช่น ลอจิกเกต, เซ็นเซอร์ (มีหลากหลายประเภททั้งที่ใช้ตรวจจับออกซิเจน, กลูโคส, แสง, อุณหภูมิ, ความเป็นกรด-ด่าง ฯลฯ) ให้สามารถเข้ารหัสเป็นส่วนหนึ่งของสาย DNA ได้ ซึ่งความยากนั้นก็อยู่ที่การออกแบบลอจิกเกตทั้ง 14 ประเภทให้ไม่มีรูปแบบรหัสพันธุกรรมที่อาจก่อกวนกัน

ถึงตอนนี้ทีมวิจัยของ MIT ได้พัฒนาวงจรรหัสพันธุกรรมสำหรับฟังก์ชั่นเฉพาะของเซลล์หลากหลายถึง 60 แบบแล้ว ซึ่ง 3 ใน 4 ของฟังก์ชั่นเหล่านั้นสามารถใช้งานได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ทดสอบ โดยขณะนี้ได้ทดสอบใช้กับแบคทีเรีย E. coli เท่านั้น แต่ในอนาคตอันใกล้พวกเขาจะขยายผลงานไปทดลองใช้กับ Bacteroides ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่พบได้ในทางเดินอาหารของมนุษย์ และ Pseudomonas ซึ่งเป็นแบคทีเรียที่อยู่บริเวณรากพืช

ตอนนี้ทีมวิจัยกำลังออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งานเพื่อให้คนทั่วไปสามารถเขียนโปรแกรมนี้ผ่านทางเว็บได้

ที่มา - MIT News

Get latest news from Blognone

Comments

By: ekaphop
iPhoneWindows PhoneAndroidBlackberry
on 4 April 2016 - 11:25 #900459

น่าภาคภูมิใจะ

By: KuLiKo
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 4 April 2016 - 11:28 #900461
KuLiKo's picture

ต่อไปมันจะเป็นปัญหาทางมนุษยธรรมมั้ยครับนี่

By: Aize
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 4 April 2016 - 11:33 #900465
Aize's picture

micro bio-bot ของจริง สินะๆ


The Dream hacker..

By: Wasipo
iPhoneAndroidWindowsIn Love
on 4 April 2016 - 11:36 #900466
Wasipo's picture

**Spoiler Alert

The Division

By: adente
ContributorSUSESymbianWindows
on 4 April 2016 - 11:42 #900468
adente's picture

อีกหน่อยคงมีคนเขียนไวรัสที่เป็นไวรัสจริงๆ ซะทีน่ากลัวไวรัสคอมเป็นไหนๆ

By: ehere on 4 April 2016 - 11:43 #900469

ต่อไปคงมีบริการรับลง antivirus ในตัวคน

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 4 April 2016 - 11:52 #900471
panurat2000's picture

โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านพันธุวิศวรรม

พันธุวิศวรรม => พันธุวิศวกรรม

By: Jaddngow
AndroidUbuntuWindows
on 4 April 2016 - 11:53 #900472
Jaddngow's picture

น่าสนใจ

By: nununu
Windows Phone
on 4 April 2016 - 11:56 #900473

ข้อดี
ปล่อย cell ในกระแสเลือด หากระดับน้ำตาลสูงเกิน สร้าง insulin ให้เลย ไม่ต้องฉีดแล้ว
ข้อเสีย
ถ้ามี Bug ?
ถ้า mutate
ถ้าเอาไปใช้ในทางที่ผิด

By: Krit04
iPhoneWindows
on 4 April 2016 - 12:23 #900477
Krit04's picture

ทำไมคิดถึงอาวุธชีวภาพ พวกไวรัสซอมบี้หลุดจากห้องทดลองนะ

By: amfeelgood
AndroidWindows
on 4 April 2016 - 12:28 #900478

สร้างเซลล์ที่ให้ผมสามารถปล่อยสนามแม่เหล็กควบคุมโลหะได้

By: zartre
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 4 April 2016 - 13:22 #900496
zartre's picture

เรามาถึงจุดจุดนี้ได้ยังไง.......

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 4 April 2016 - 13:59 #900505 Reply to:900496
nessuchan's picture

คิดเหมือนผมเลย นี่มันล้ำมากเลยอ่ะ

By: Yone on 4 April 2016 - 14:20 #900508 Reply to:900496

ยังอีกไกลครับ ในด้านแล็ปมันไม่ง่าย เร็วสุดอย่างน้องก็อีก 50 ปี

By: winit_a on 4 April 2016 - 13:38 #900501

หรือจะเป็น จุดกำเนิด ทีไวรัส

By: rattananen
AndroidWindows
on 4 April 2016 - 14:35 #900510

ต่อไปหลักสูตร computer science ต้องเรียนชีวะด้วยไหม

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 4 April 2016 - 18:14 #900559 Reply to:900510

สาขา biomedical ครับ เขาต้องเรียนแล้วเขียนเอง ถ้าให้ cs เรียนด้วยคงอ้วกแตกละ

By: artman
Windows
on 4 April 2016 - 15:09 #900516

ไคจูมาแน่นอน เตรียมสร้างหุ่นบังคับได้เลย

By: maoIndie
Ubuntu
on 4 April 2016 - 15:43 #900525
maoIndie's picture

ผมว่ามันล้ำโคตรๆเลย เขียนโปรแกรมใส่ dna ของสิ่งมีชีวิต

By: alph501
iPhoneWindowsIn Love
on 4 April 2016 - 15:53 #900527
alph501's picture

มันเหนือกว่าจิตนการของผมไปแล้ว

By: dtobelisk
AndroidWindows
on 4 April 2016 - 16:27 #900538
dtobelisk's picture

สุดยอด

By: lojorider
AndroidUbuntuWindowsIn Love
on 4 April 2016 - 16:29 #900539

ตรวจสอบระดับ อะดรีนาลีน ในกระแสเลือด และส่งข้อมูลไปกระตุ้นการงอกของกระดูดหลังมือ

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 4 April 2016 - 17:42 #900551 Reply to:900539
nessuchan's picture

เหลือแค่แร่อะดาเมนเที่ยมเท่านั้น

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 4 April 2016 - 17:36 #900550
btoy's picture

โห อ่านแล้วอ้าปากค้างเลยอ่ะ สุดยอดมาก


..: เรื่อยไป

By: Hoo
AndroidWindows
on 4 April 2016 - 20:58 #900596

รอเทคโนโลยี ครรภ์เทียมด้วย
ต่อไปจะสร้างสัตว์แบบไหน ก็เขียนโปรแกรมเอา
แล้วคอมไพล์ออกมาเป็น รหัสเบส ACGT แทน ไบนารี่
ส่งเข้าเครื่องเรียงรหัส DNA ยิงเข้าไข่ เอาไปฝังในครรภ์เทียม แล้วก็รอ กี่สัปดาห์ก็ว่าไป...

By: Krit04
iPhoneWindows
on 5 April 2016 - 11:03 #900733 Reply to:900596
Krit04's picture

แล้วไอ้ตัวหัวยาว ๆ สีดำ ๆ ฟันแหลม น้ำลายยืด ๆ ก็แหวกครรภ์เทียมออกมา

By: Teeradesh on 4 April 2016 - 22:02 #900617

ฟังก์ชั่น>>ฟังก์ชัน

By: Greatpot
Windows PhoneWindows
on 5 April 2016 - 17:32 #900946
Greatpot's picture

ไม่คิดว่าโลกยุคนี้จะมีจริง ฮ่า ๆ

รู้สึกโชคดีที่เกิดมายุคที่ทันเห็นอะไรเปลี่ยนแปลงแบบนี้ (และหวังว่าอยู่ถึงมันใช้งานในเชิงพาณิชย์ได้นะ)

By: loptar on 8 April 2016 - 11:33 #901805
loptar's picture

ล้ำสุดๆ

By: Virusfowl
ContributorAndroidSymbianWindows
on 9 April 2016 - 23:58 #902313

ลล :Oะละละล้ำไปแล๊วววว


@ Virusfowl

I'm not a dev. not yet a user.