Tags:
Node Thumbnail

ที่งาน ISSCC ทีมวิจัยจาก MIT เสนอสถาปัตยกรรมซีพียู Eyeriss ที่ออกแบบมาเพื่อการจำลองเครือข่ายประสาทเทียมโดยเฉพาะ ทำให้สามารถสร้างคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผลแบบปัญญาประดิษฐ์ระดับสูงในชิปที่กินพลังงานต่ำได้

สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ทุกวันนี้มักอาศัยการสื่อสารระหว่างซีพียูผ่านหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ แม้แต่ชิปกราฟิกที่มีคอร์ขนาดเล็กจำนวนมากๆ ก็ยังต้องสื่อสารผ่านหน่วยความจำหลักอยู่ดี แต่ Eyeriss เปิดช่องทางให้แต่ละคอร์มีหน่วยความจำขนาดเล็กเป็นของตัวเองและสื่อสารกันได้โดยตรงล้อรูปแบบมาจากการประมวลผลเครือข่ายประสาทเทียม ขณะที่ช่องทางการสื่อสารระหว่างคอร์ก็สามารถปรับแต่งเส้นทางได้

การเสนอให้ซีพียูมีคอร์ขนาดเล็กจำนวนมากและสามารถสื่อสารถึงกันได้โดยตรงมีมานานตั้งแต่ปี 2004 อินเทลเคยเสนอสถาปัตยกรรม Terascale ในปี 2007 ที่ซีพียูเรียงตัวกันเป็นตารางและเชื่อมต่อถึงกันกับซีพียูข้างๆ

Eyeriss มีคอร์ทั้งหมด 168 คอร์และชิปต้นแบบสามารถรันซอฟต์แวร์ปัญญาประดิษฐ์ได้แล้ว โดยทีมวิจัยสาธิตการรันซอฟต์แวร์จดจำวัตถุ ถ้าสามารถผลิตชิปจริงได้ประสิทธิภาพพลังงานตามที่หวังในอนาคตเราอาจจะมีชิปขนาดเล็กที่สามารถจดจำใบหน้าหรือจดจำเสียงได้โดยใช้พลังงานต่ำ

ที่มา - MIT News

Get latest news from Blognone

Comments

By: tanapon000 on 8 February 2016 - 21:10 #882873
tanapon000's picture

โลพัฒนาไปทุกวัน อยากให้ไทยมีบริษัทแนวๆนี้บ้าง

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 8 February 2016 - 21:13 #882874
hisoft's picture

คราวนี้คิดว่าคงไปได้เร็วล่ะครับ ทำดีๆ นี่เป็น bottom-up ได้เลยนะเนี่ย (หรือ A.I. เดี๋ยวนี้เค้า bottom-up กันแล้วแต่ผมตกข่าว?)

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 9 February 2016 - 00:13 #882931
mr_tawan's picture

เล่นหาบได้ไหม ?


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: sukjai
iPhoneAndroidRed HatUbuntu
on 9 February 2016 - 07:05 #882957

น่ากลัวไปทุกวัน

By: btoy
ContributorAndroidWindows
on 9 February 2016 - 10:44 #883012
btoy's picture

โอย ฟังแล้วก็เริ่มรู้สึกหวั่นๆใจลึกๆเหมือนกันนะเนี่ย


..: เรื่อยไป