Thailand

วันนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนายปิยะ ผู้ถูกกล่าวหาว่าใช้เฟซบุ๊กในชื่อ "นายพงศธร บันทอน" และ "Tui Fishing" เพื่อโพสต์ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมกับข้อความหยาบคายในลักษณะหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น โดยศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 6 ปี

จำเลยคือนายปิยะ เคยสวมชื่อบุคคลอื่นก่อนจะแจ้งตายและแจ้งเปลี่ยนชื่อเป็นนายพงศธร บันทอนและเขาเองเคยใช้เฟซบุ๊กในชื่อพงศธร บันทอน ในช่วงปี 2553-2554 แต่ภายหลังใช้ชื่อ Piya เมื่อทราบว่ามีการใช้ชื่อเดิมของเขาโพสต์ก็พยายามล็อกอินแต่ล็อกอินไม่ได้ เขาระบุว่าเคยพยายามติดต่อเฟซบุ๊กและกูเกิลให้ลบข้อความออกแล้วด้วยอีเมล joob1459

ผู้อำนวยการสำนักป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีเป็นพยานในคดีนี้ระบุว่าปกติคดีคอมพิวเตอร์จะต้องตรวจสอบหมายเลขไอพี แต่คดีนี้ทางเฟซบุ๊กไม่ให้หมายเลขไอพีมา ทางด้านเจ้าหน้าที่ปอท. ระบุว่ามีของกลางจากจำเลย 5 รายการ เป็นคอมพิวเตอร์สองเครื่อง, โทรศัพท์หนึ่งเครื่อง, USB (น่าจะเป็นดิสก์ USB), และ micro SD พบข้อมูลการเข้าใช้อีเมล joob1459 ในโทรศัพท์ส่วนอุปกรณ์อื่นไม่พบข้อมูล และ micro SD ชำรุดตรวจสอบไม่ได้

คดีนี้มีพยานโจทก์คือนายอัจฉริยะ เรืองรัตนพงษ์ ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ เป็นประธานชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรม โดยระบุว่ามีเจ้าหน้าที่ของชมรมเป็นผู้เชี่ยวชาญเข้าไปขอเป็นเพื่อนนายพงศธรในเฟซบุ๊กและสืบประวัติถึงที่ทำงาน

ศาลชั้นต้นพิพากษาระบุถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่เปลี่ยนชื่อหลายครั้ง และการแจ้งให้กูเกิลลบข้อความก็เกิดหลังเกิดเหตุเกือบหนึ่งปี ตัดสินโทษให้มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) (5) ลดโทษให้ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 6 ปี

รายละเอียดคดีอ่านได้ในที่มา

ที่มา - iLaw, ประชาไท, ประชาไท (2)

upic.me

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
TechFlow Solution Co., Ltd. company cover
TechFlow Solution Co., Ltd.
TechFlow is a tech company which developing a one stop service platform for construction business.
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH (WM) _TECH company cover
LTMH (WM) _TECH
LTMH (WM) _TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

ความอาญาศาลต้องตัดสินโดยเคร่งครัด

ปล.มองว่าเฟสบุคไม่ยอมให้ไอพีเพราะประเมินจากข้อกล่าวที่ค่อนข้างหงผิดหลักมนุษยชนเลยไม่มอบหลักฐานให้

ไปหารายละเอียดผู้ร้องทุกข์แล้ว เอ่อ....

ซึ่งชมรมจะให้ความสำคัญกับกรณีที่มีผู้บริสุทธิ์ตกเป็นแพะรับบาปและต้องติดคุก แต่ต้องตรวจสอบแล้วว่าไม่เคยมีประวัติอาชญากรรมติดตัวมา นายอัจฉริยะ อดีตผู้รับเหมาได้กล่าวไว้
"ผู้บริสุทธิ์ที่ตกเป็นแพะและต้องติดคุก ต้องอยู่กับความทุกข์ทรมานไปเกือบตลอดชีวิต เช่นเดียวกับคนในครอบครัว เมื่อรู้ว่าคนในบ้านต้องติดคุกด้วยความผิดที่ไม่ได้ก่อขึ้น ก็ย่อมต้องทุกข์ใจกันทั้งครอบครัว"
นายอัจฉริยะได้กล่าวไว้อีกว่า คนบริสุทธิ์มักจะตกเป็นเหยื่อเพราะการทำงานที่แย่ ๆ ของตำรวจ ซึ่งบางทีก็ขาดหลักฐานและพยาน แต่ก็ยืนยันที่จะจับแพะให้ได้

อ่านดูแล้วเป็นการใช้พยานแวดล้อมเพียงอย่างเดียว(พยานบุคคลที่ยกมา ไม่ใช่พยานโดยตรงด้วยซ้ำ) ด้วยการอ้างว่า จำเลยเคยใช้ชื่อปลอมนั้นมาก่อนในสถานที่อื่น

แบบนี้ใครไปตั้งFBแล้วตั้งชื่อเลียนแบบนามแฝงผม ก็กล่าวโทษว่าผมเป็นคนทำได้แล้วงั้นหรือ?

แถมกลุ่มผู้กล่าวโทษมีการสืบสวนด้วยตัวเอง(?) ผมนี่นึกถึงred guard ของเหมา เลยนะนั่น

ที่เป็นปัญหาคือพยานบุคคลส่วนใหญ่อ้างว่าได้อ่านข้อความจากที่มีการตัดแปะจากที่อื่น
ไม่ใช่ที่จำเลยโพสต์ พยานบุคคลที่อ้างว่าเห็นมีปากเดียวตามในข่าวแต่กลับไม่มีการเอาภาพปรินท์สกรีนที่อ้างว่าเห็นมา
มีแต่ภาพตัดแปะ
ผมว่าหลักฐานอ่อนด้วยซ้ำ ในการซักพยานก็บอกว่ามาปลอมเฟสบุ๊คกันได้และปลอมไม่นานก็ลบทิ้งได้
รอบนี้อ่านคำพิพากษาผมไม่เห็นด้วยกับศาลเต็มๆในเรื่องการให้น้ำหนักพยานหลักฐาน

ถ้าจะอุทธรณ์ ต้องเน้นไปที่พยานที่อ้างว่าเห็นมีการโพสต์นี่แหละเพราะตัวพยานเองมีอคติ แม้ไม่รู้จักกันมาก่อนแต่พฤติกรรมเข้าข่ายลักษณะล่าแม่มดมากๆ แล้วตัวพยานเองไม่ใช่พยานผู้เชียวชาญพยานอ้างความเห็นของคนในชมรมแต่ไม่เอาคนๆนั้นเข้ามาเป็นพยานด้วย
ปัญหาคือศาลรับฟังไปได้อย่างไร นี่มันพยานบอกเล่าชัดเจนไม่ใช่ประจักษ์พยาน

เรื่องการอ้างว่ารูปที่อัพลงเฟสต้องมีรูปในเครื่องถึงจะอัพได้
ปัญหาคือคนที่ปลอมเฟสมันก็ไปเซฟรูปมาอัพได้เหมือนกัน
รูปเมื่อขึ้น internet แล้วใครๆก็ไปเซฟรูปมาอัพลงเฟสได้

เรื่องอุทธรณ์ ประเด็นเรื่องหลักฐาน คงต้องหาพยานผู้เชี่ยวชาญมาให้ได้ แสดงตัวอย่างการปลอมFBให้ดูเลย ว่าตั้งชื่อซ้ำกันก็ยังได้(ใช้เทคนิคอักขระที่ไม่แสดงผล)

แต่ตอนนี้ก็มี dilemma คือ

อุทธรณ์ต่อ แต่ต้องจำคุกไปเรื่อยๆ ไม่ให้ประกันตัว รอคดีอีกอย่างน้อย 1ปี

ไม่อุทธรณ์ รอขออภัยโทษอาจจะได้ออกมาเร็วกว่า

คดี112โหดตรงเรื่องห้ามประกันตัวนี่แหละ ผิดไม่ผิดไม่รู้ ต้องนอนคุกก่อนอย่างน้อยเป็นปี

ส่วนเรื่องผู้กล่าวโทษนี่ พฤติกรรมเข้าข่ายการล่าแม่มดมากๆ กล่าวหาเอง แล้วถึงสุดท้ายยกฟ้องก็เอาผิดคืนไม่ได้ด้วย

สนิมเกิดจากเนื้อในตน - สิ่งที่คิดว่าแข็งแกร่ง มักแพ้ภัยจากในตนเองทั้งนั้น
กฎที่แข็งแกร่ง ยังพังทลายจากผู้ใช้กฎ

พอดีเป็นคนสูบบุหรี่อ่านแล้วตกใจมาก เลยไปค้นหาใน Google แต่หาดูเท่าไหร่ก็ไม่มีกฏหมายข้อนี้ มีแต่สูบบุหรี่ในที่ห้ามสูบปรับ 2000 บาท ไม่ทราบว่ามีที่มาให้ดูมั้ยครับ

ผมอ่านยังไงก็เล่นเรื่อง "และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14" นะครับ มีข่าวไหนเล่นเรื่อง 112 โดยไม่มีพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ บ้างครับ?

เล่นเรื่องนี้แล้วไงครับ?

ตราบใดที่ยังมีการตัดสินไม่รอบคอบ มันก็ต้องเล่นเรื่อยๆแหละครับ

ที่แปลกคือตัวคุณมากกว่า ที่มีผู้ที่เป็นแพะ หรืออาจเป็นแพะรับบาป แล้วมีคนมาวิจารณ์ข้อเท็จจริงให้ดู แล้วบอกว่าเล่นเรื่องนี้อีกแล้ว

บอกได้แค่ว่า คนอย่างคุณไม่สมควรมีที่ยืนอยู่บนสังคมครับ

เรียกว่าคนยังดีเกินไปด้วยซ้ำ

ผมโดนล่าแม่มดซะแล้ว

ความไม่เป็นธรรมในสังคมมีหลายเรื่องนะครับ การเล่นประเด็นเฉพาะเรื่องใด ๆ ก็อาจมองได้ว่ามีอเจนด้าแฝงได้

ถ้าหมิ่นโดยการพิมพ์ภาพ แล้วเอาไปโปรยเป็นใบปลิวแจกตามถนน คุณคิดว่า blognone ก็ต้องเอามาลงใช่ไหมครับ เพราะต้องการเล่น 112

คุณไม่ได้โดนล่าแม่มดหรอกครับ

คุณเป็นบุคคลซึ่งยินดีกับภัยอันตรายที่จะเกิดกับบุคคลอื่นที่'แค่อาจ'มีความเชื่อแตกต่างกับตน แม้บุคคลนั้นจะไม่ได้สร้างภัยอันตรายให้กับคุณหรือบุคคลอื่น (ขอย้ำคำว่า แค่อาจ)

คุณยังคิดเรื่องอเจนด้าแฝงได้อึก ทั้งๆที่บุคคลนั้นต้องติดคุกจริงๆไปแล้ว

จาก attitude ที่คุณมีเสมอมา คุณไม่ได้เป็นแม่มดปลอมๆครับ แต่คุณคือแม่มดตัวจริง กรุณาอย่าใช้คำว่าโดนล่าแม่มดให้ตนเองดูดีครับ

ถ้าคุณยังคิดว่าคุณเป็นแม่มดปลอมๆ ลองกลับไปคิดดูครับว่า

'คนที่ไม่'ยินดีกับภัยอันตรายที่จะเกิดกับบุคคลอื่นที่'แค่อาจ'มีความเชื่อแตกต่างกับตน แม้บุคคลนั้นจะไม่ได้สร้างภัยอันตรายให้กับคุณหรือบุคคลอื่น (ขอย้ำคำว่า แค่อาจ)

ปกติแล้วคำพูดและการแสดงออกของกลุ่มนี้เป็นอย่างไร

โดนมองว่าเป็นอย่างนี้ ผมก็โดนล่าแม่มดจริง ๆ นั่นแหละ

ก็เพราะทุกวันนี้การเสนอข่าวเลือกจะเล่นประเด็นที่ตนต้องการ ผลพวงมันก็ทำให้คนเราขาดสติและเหตุผลกัน ก็เป็นเบี้ยให้คนอื่นเขาไม่รู้ตัวกันไป

ส่วนท่านที่อยู่เบื้องหลังก็ดูผลงานที่เกิดขึ้นเพราะท่านละกันครับ กินอิ่มนอนหลับกันรึเปล่า

ตัวคุณเองรู้ดีกว่าใครครับ :)

เหมือนคุณจะไม่รู้คำตอบทึ่ผมถามไปนะครับเรื่อง

'คนที่ไม่'ยินดีกับภัยอันตรายที่จะเกิดกับบุคคลอื่นที่'แค่อาจ'มีความเชื่อแตกต่างกับตน แม้บุคคลนั้นจะไม่ได้สร้างภัยอันตรายให้กับคุณหรือบุคคลอื่น (ขอย้ำคำว่า แค่อาจ)

ผมตอบให้ได้ง่ายๆเลยครับ คือทำแบบที่คุณ lew ทำอยู่ หรือ'อย่างน้อยๆ' ก็ไม่ทำแบบคุณครับ

ก็ยังคุยกันอยู่นี้ครับ ไม่ได้มีใครไปล่าแม่มดโดยการตามหาตัวจริงของคุณ แล้วก็ตามไปที่บ้าน แล้วก็จับไปทำร้ายโดยอ้างความถูกต้องของตนข้างเดียว อันนั้นจึงเรียกล่าแม่มดครับ แต่ถ้ามาตอบความเห็นกันไปมามันก็คือคุยกันด้วยเหตุผล ต่อให้คุยกันแรงแค่ไหนก็ไม่ทำให้ใครบาดเจ็บล้มตาย วิธีคุยกันจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดครับ

ในบ้านหลังนึงมีคนหลายคน หลายอาชีพ เชี่ยวชาญแล้วเข้าใจกันคนละด้าน

นาย ก ที่เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ จึงชี้ให้เห็นว่าระบบตรวจสอบคอมพิวเตอร์ในบ้านมีปัญหา นำมาซึ่งผลลัพธ์ที่แย่ในอนาคตได้

นาย ข กล่าวโทษ นาย ก ว่าเอาแต่ชี้เฉพาะเรื่องคอมพิวเตอร์ ทำไมไม่ไปชี้ปัญหาเรื่องเครื่องแอร์ และ เครื่องทำน้ำอุ่นในบ้านบ้าง.....

บางทีก็ยากเกินไปที่จะเข้าใจ นาย ข

ก็ไม่ต้องถึงกับไปแอร์เครื่องทำน้ำอุ่นหรอกครับ คอมพิวเตอร์ก็มีหลากหลายปัญหาครับ แต่น้ำหนักไปกับเรื่องใดมากเป็นพิเศษรึเปล่า

ผมไม่เคยเห็น blognone เอาข่าวนอกเหนือเรื่องเกี่ยวกับเทคโนโลยีมาลงเลยนะครับ 112 มันมีเยอะมากอย่างของหมอหยอง blognone ก็ไม่ได้เอามาลงนี้ครับ

darkfaty Thu, 21/01/2016 - 17:23

In reply to by mode

ใช่ครับ ข่าวนี้มันเกี่ยวโยงกับเทคโนโลยี และมีผลกระทบต่อคนที่ใช้อย่างมาก (ติดคุก 6 ปีนี้ไม่ตลกเลย ถ้ายิ่งเป็นแพะนี้น่ากลัวมาก) เอามาลงให้ได้รู้กันก็ดีแล้วนี้ครับ

ตัดสินได้ห่วยที่สุดและแย่มาก ระบบกฎหมายไทยมันก็เป็นซะแบบนี้ คุณภาพต่ำ คนเป็นแพะใช้กฎหมายปกป้องตนเองก็ไม่ได้ ให้น้ำหนักที่หลักฐานบ้าๆ คนส่วนใหญ่จึงอยากไปฟ้องศาล เพราะเสียทั้งเงิน เวลา อาชีพ ความยุติธรรม และความรู้สึกทั้งโจทก์และจำเลยธรรมดา มีเรื่องเอาเปรียบเยอะ ผ่อนผันโทษกันเป็นว่าเล่น

มีศาลตัดสินง้าวๆแบบนี้ อย่ามีศาลเลยดีกว่า ปิดไปเลยและทุบทิ้งให้ดวยนะ เสียดายงบประมาณเอามาพัฒนาประเทศ(ที่เหมาะสม)ได้อีกตั้งเยอะ

แบบนี้เรียกว่าดูหมิ่นศาลหรือเปล่าครับ ถ้ามีคนจับภาพส่งไปให้ทางการจะเกิดอะไรขึ้นหว่า

พิสูจน์ได้ยากครับ เพราะเรื่องนี้เว็บต่างประเทศไม่ให้ความร่วมมือหรอก ส่วนหลักฐานที่ติดตัวก็ทำให้มันใช้ไม่ได้ซะก็จบ ยกเว้นคนบ้าหรือทำเพราะอารมณ์ชั่ววูบ อันนี้เจอหลักฐานง่ายหน่อยเพราะไม่ได้เตรียมการเป็นขั้นตอน ผมสงสัยว่า micro SD มันเสียง่ายขนาดนั้นเลยเหรอ

แต่ดูจากหลักฐานที่รวมมาได้จริงๆก็ไม่น่าจะตัดสินได้นะมันไม่น่าจะแน่นหนาพอที่จะมัดตัวจำเลย

ป.ล.ใครคิดว่าผมข้างศาลก็ตามใจโลด เราว่าถอดหน้ากากมาคุยกันเลยเลยดีกว่าครับ แต่ให้คงความสุภาพไว้นะครับเหอๆ

แนวคิดแบบนี้แถวแอฟริกาน่าจะพอเห็นได้บ้าง สงครามระหว่างเผ่าเกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ เพราะต่างเผ่าก็ยึดถึงกฎใครกฎมัน เผ่าเล็กเผ่าน้อยก็ต้องดูแลกันเอง

อีกอย่างหนึ่งคือ ผมไม่คิดว่าการยกเลิกระบบนี้ไปจะทำให้อะไรมันดีขึ้น มีแต่จะแย่ลงและทำให้เกิดการก่ออาชญากรรมมากยิ่งขึ้น

ผมคิดว่าที่ท่านเห็นว่า Blognone มักจะนำเสนอคดีเกี่ยวกับ 112 บ่อยครั้งนั้น จริง ๆ แล้วผมนับว่าไม่บ่อยเท่าไหร่นะครับ เพราะจริง ๆ แล้วคดี 112 มีมากกว่านี้เยอะ แต่ประเด็นที่ถูกนำเสนอจะเกี่ยวข้องกับประเด็นทางด้าน IT ดังเช่นข่าวนี้

ผมคาดว่าผู้เขียนต้องการตั้งคำถามหรือแสดงความคิดเห็นถึงความไม่ชัดเจน ความกำกวมในการพิจารณาคดีทางอาญาซึ่งมีโทษสูง

ดังที่เพื่อนสมาชิกได้เรียนไปแล้วว่า ปกติแล้วการพิจารณาคดี หากไม่มีหลักฐานมัดตัวชัดเจนโดยเฉพาะคดีอาญา มักจะยกฟ้อง

กรณีที่คาดว่ามีผู้สนใจที่สุดใน blognone คือกรณีอากง SMS ที่มีการอธิบายเรื่องอีมี่ปลอม ซึ่งผมคิดว่าทาง blognone ก็ชัดเจนนะครับว่า มันเป็นประเด็นน่าสนใจทาง IT

คนที่คิดว่า ถ้าทำผิดจริงก็สมควรโดนลงโทษ

แต่คุณจะรู้ได้ไงว่าเขาทำผิดจริงๆ?

ประเด็นที่เขาลงในเวบนี้ ก็คือพยานหลักฐานทางคอมพิวเตอร์ที่อ่อนมากและมีข้อสงสัยมากมาย การใช้พยานแวดล้อม อ้างว่า นายคนนี้เคยใช้ชื่อนี้ ว่าเป็นคนเดียวกับ FB ที่ใช้ชื่อเก่านี้ โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นๆชี้ได้เลย

แถมเป็นการใช้พยานบุคคลแค่คนเดียวกับภาพcap หน้าจอจากมือถือ โดยไม่มีแม้แต่เอกสาร ข้อมูล IP อื่นๆ

ส่วนคนที่คิดว่าไม่ผิดจะกลัวอะไร ลองคิดอีกนิดว่า ถ้าเราสามารถลงโทษด้วยหลักฐานเพียงแค่นี้ได้ วันนึงมีคนหมันไส้จะทำลายคุณ แค่ไปสร้าง FBปลอม โดยsave รูปจากFBจริงของคุณ ตั้งชื่อให้เหมือนคุณเลยก็ยังได้ แล้วไปpost อะไรที่ร้ายแรง

แล้ววันนั้นคุณอาจจะเพิ่งฉุกคิดได้ก็สายไปแล้ว?

กลับกัน ผมสามารถโพสหมิ่นแค่ไหนก็ได้ จาบจ้วงแค่ไหนก็ได้ แล้วก็แค่ปิด facebook ตัวเอง
เพราะยังไงหลักฐานก็มีแค่ภาพ capture แล้วก็ไม่สามารถขอ ip จากทาง facebook ได้
ถูกไหมครับ?

ถ้ามันมีหลักฐานแค่นั้นจริงผมว่ามันก็เอาผิดไม่ได้ถูกแล้วนี่ครับ คือมันปลอมขึ้นมาง่ายมากๆ จะเชื่อจริงๆหรอครับ?

McKay Thu, 21/01/2016 - 13:33

In reply to by chunbogbog

ใช่ครับ ถ้าคุณทำลายพยานหลักฐานชี้มัดได้ดีพอ

และในทางเดียวกัน คุณก็สามารถปลอมเป็นชื่อใครก็ได้ แล้วก็กระทำการเช่นเดียวกันได้เช่นกันครับ

ตราบเท่าที่นานาชาติยังไม่เห็นด้วยกับ 112 นั่นแหละครับ

chunbogbog Thu, 21/01/2016 - 13:45

In reply to by McKay

ถูกครับ ก็หลักฐานชี้มัดสามารถทำลายได้ง่าย
ศาลถึงต้องพิจารณาจากพยานและหลักฐานแวดล้อมไม่ใช่เหรอ

แม้แต่พยานหลักฐานแวดล้อมก็ไม่เพียงพอครับ

หลักฐานแวดล้อมอื่นๆแทบไม่มี พยานปากสำคัญอย่างเจ้าหน้าที่ที่นายอัจฉริยะกล่าวถึง แฟนสาวของนายปิยะ หรือแม้แต่ Tui Fishing ซึ่งน่าจะเป็นพยานสำคัญที่สุดก็ไม่ได้มาให้การ

ถ้าไม่นับพยานหลักฐานแวดล้อมที่ปรากฎ คดีนี้มีสิ่งที่น่าสงสัยหลายอย่างมาก เช่นทำไมนายปิยะต้องเปลี่ยนชื่อและปลอมแปลงบัตรประชาชน(ซึ่งทำการเปลี่ยนมาก่อนที่จะเกิดเหตุด้วยซ้ำ ดังนั้นไม่ได้เป็นการเปลี่ยนชื่อเพื่อหนี'คดีนี้'แน่) ใครเป็นคนแจ้งตายนายปิยะ แจ้งเพื่ออะไร นาย Tui Fishing เป็นใคร รู้จักกับนายปิยะหรือนายอัจฉริยะมาก่อนหรือเปล่า การที่นายอัจฉริยะแสดงอารมณ์เกลียดชังฉุนเฉียวจนอยากจะไปกระทืบนายปิยะ ทำให้ความสามารถในการระบุและรับรู้ตัวตนนายปิยะของนายอัจฉริยะบิดเบือนหรือไม่

lunatic Thu, 21/01/2016 - 13:48

In reply to by chunbogbog

คุณ chunbogbog
แบบนั้นแหละครับ
แต่ปกติเค้าใช้หลัก ปล่อยโจร 10 คน ดีกว่าลงโทษผู้บริสุทธิ์คนเดียว
หรือคิดว่าใช้หลักอื่นดีกว่า

adirak Thu, 21/01/2016 - 14:00

In reply to by lunatic

หรือพอ 112 แล้ว เขาใช้หลักจับผู้บริสุทธิ์ 10 คน ดีกว่าปล่อยโจรไปได้หนึ่งคน โจรวิ่งไปไหนจับให้หมดยังไงคงมีโจรซักคนล่ะครับ ......เหอๆๆ T_T

เมื่อไหร่เมืองไทยจะมีการใช้ระบบลูกขุนมาพิจารณาคดีน้อ

เพราะผมว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยมันไม่เข้มแข็งและไม่น่าเชื่อถือ ก็เพราะอำนาจของกระบวนการนี้มันไปกระจุกรวมอยู่ที่คนไม่กี่คนนี่แหละ
ซึ่งอารมย์มันเหมือนSGWเลย เป็นการรวมอำนาจมาไว้ที่เดียวกันหมด ทำให้เกิดเป็นจุดอ่อนของระบบทั้งหมดขึ้น หากใครอยากจะมีอำนาจ แทนที่จะโจมตีหลายๆจุดเพื่อยึดครออำนาจทั้งหมด ก็กลายเป็นแค่ โจมตีแค่จุดๆเดียวก็พอที่จะยึดครองอำนาจทั้งหมดแล้ว

ถ้าจะบอกว่าประชาชนชาวไทยยังมีคุณสมบัติไม่เพียงพอต่อระบบนี้ มันก็ยิ่งฟังไม่ขึ้น เพราะในเมื่อเรายอมรับกระบวนการคัดสรรผู้บริหารประเทศจากการโหวตเสียงส่วนมากโดยการเลือกตั้ง การพิจารณาคดีโดยใช้การโหวตเสียงส่วนมากจึงไม่น่าเป็นปัญหาเช่นกัน

ขนาดลายลักษณ์อักษรอักษรยังมีปัญหาขนาดนี้ ใช้กระบวนการลูกขุนอาจจะไม่ได้ต่างกัน หรืออาจจะมีปัญหากว่าด้วย เพราะก็ไม่รู้ว่าการคัดสรรคณะลูกขุนที่มีอยู่จะยึดโยงกับประชาชนผู้มอบอำนาจมากขนาดไหน แค่ตอนนี้ สว สส นายก ยังเถียงกันไม่จบเลย ประกอบกับแนวคิดหลายๆ อย่างที่ฝังหัวประชาชนอาจทำให้มัยแย่ลงด้วยซ้ำ

สมมุติผมอยากแกล้งแฟนใหม่ของแฟนเก่าผม ผมแค่หารูป+ชื่อจริงของเขามาสร้างfbปลอม แอดเพื่อนไว้เยอะๆ
และโพสต์112.แบบpubic แค่นี้ก็แกล้งให้คนนั้นติดคุกข้อหา112. ถึงแม้แฟนใหม่ของแฟนเก่าของผมจะปฎิเสธว่าไม่ใช่facebookของตน แต่ศาลมักไม่ฟัง และตัดสินให้คนนั้นติดคุกข้อหา112.ใช่ไหมครับ

ผมว่าน่าจะยากอยู่น่ะครับ เพราะในการ์ตูนทั้งสองเรื่องนี้ ผู้รักษากฏหมายค่อนข้างเอาจริงเอาจังและเข้มงวดอยู่น่ะครับ
และญี่ปุ่นมีกฏหมายแนวๆ112ด้วยเหรอครับ

แบบให้มาเที่ยวเมืองไทย หรือมาเกาะเต่าก็ได้ คินดะอาจไม่กล้าเอาชื่อปู่เป็นเดิมพันเลยก็ได้ครับ

แต่ปกติซึ่งในกระบวนการสอบสวนมีเรื่องของเวลาขั้นตอนและการยืนยันว่านายคนนี้เป็นเจ้าของเฟสจริง มันมีลำดับอยู่ อาจไม่ได้ใช้แค่ไอพี อย่างเดียว รายละเอียดปลีกย่อยมันเยอะ เช่นเราออกมาหน้าบ้านพื้นเปียก เราก็รู้ว่าฝนตก ถ้าไม่มีปัจจียอื่นๆนะ นี่ตัวอย่างง่ายๆ มันมีคดีหมินคดีหนึ่ง เกิดจากบ้านหลังหนึ่งมีคอม20ตัวศาลยกฟ้อง ไม่รูว่าโพสจากตัวเจ้าของบ้าน เพราะมีคนเข้าถึงหลายคน กมอาญาตัดสินตามตัวบท ตีความอย่างเคร่งครัด ไม่เปรียบเทียบหรือใช่จารีตหรือกมใกล้เคียงขาดองค์ประกอบใดองค์ปรกอบหนึ่งยกฟ้อง ปรี้ดแตกที่กรมขนส่ง ยังไงกม ก็คนเขียนคนตีความเหตุการณ์ที่เกิด

คนที่แคพคือ Tui Fishing ไม่ได้มาเป็นพยานนะครับ

แม้แต่พยานที่'อ้างว่า'เคยเห็นข้อความต้นฉบับ ก็ยังไม่มีหลักฐานว่าเคยเห็นจริงๆเลยครับ ตัวหลักฐานที่ส่งฟ้องก็เป็นเพียงภาพที่ Tui Fishing แคพมา

ส่วนเรื่องปกติหรือไม่ปกติ มันไม่ปกติตั้งแต่สอบสวนในทางลับ+ไม่ให้พบทนายแล้วหล่ะครับ

Hoo Thu, 21/01/2016 - 18:23

อ่านต้นทาง

คำพิพากษาศาลชั้นต้น

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงในคดีนี้รับฟังได้ว่าในวันเวลาตามฟ้องมีผู้โพสต์ภาพและข้อความลงในเฟซบุ๊กชื่อนายพงศธร บันทอน ข้อความที่ประกอบภาพพระบรมฉายาลักษณ์เข้าใจได้ทันทีว่ามีเจตนา ดูหมิ่น หมิ่นประมาท แสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14 จึงมีปัญหาต้องวินิจฉัยเพียงว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิดตามฟ้องหรือไม่

ในคดีนี้ โจทก์มีอัจฉริยะ เรื่องรัตนพงศ์ มาเบิกความว่าพบเห็นข้อความจากเฟซบุ๊กของนายพงศธรโดยตรง และทราบว่าจำเลยเคยใช้ชื่อ Vincent Wang ซึ่งจำเลยก็รับว่าเคยใช้ชื่อดังกล่าวจริง อัจฉริยะยังเบิกความว่าสืบทราบมาว่าพงศธรมีบ้านอยู่ที่เขตดอนเมือง ซึ่งตรงกับที่พนักงานสอบสวนเบิกความว่าจำเลยเคยสวมชื่อเป็นนายพงศธร บันทอน ที่สำนักงานเขตดอนเมือง คำเบิกความของอัจฉริยะจึงสอดคล้องกันมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ

ทั้งพฤติการณ์ของจำเลยในคดีนี้มีการเปลี่ยนชื่อและสวมชื่อหลายครั้ง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ส่อเจตนาเพื่อไม่ให้ผู้อื่นสามารถทราบถึงตัวตนได้ ที่จำเลยเบิกความว่าเพิ่งพบเห็นข้อความตามฟ้องจากการที่แฟนมาบอก แต่ก็ไม่ได้นำตัวแฟนมาเบิกความต่อศาล และที่จำเลยเบิกความว่าเคยแจ้งให้ google ลบภาพนี้จากระบบค้นหาก็เป็นการแจ้งหลังเกิดเหตุเป็นเวลาเกือบหนึ่งปี พยานจำเลยจึงไม่มีน้ำหนักหักล้างพยานโจทก์ได้

จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(3) (5) ให้ลงโทษตามมาตรา 112 ในฐานกฎหมายที่มีโทษหนักสุด กำหนดโทษ 9 ปี เนื่องจากการให้การของจำเลยเป็นประโยชน์ต่อทางพิจารณา ลดโทษให้ 1 ใน 3 เหลือจำคุก 6 ปี

ผมว่า ศาลน่าจะมองแบบ นิติศาสตร์
คือ จะเอาหลักฐานต่างๆ ทุกทางมาชั่งน้ำหนัก
ไม่ใช่แค่ หลักฐานด้านเทคนิค IP กันอย่างเดียว
IP มันเป็นแค่ 1 ในหลักฐาน ที่จะใช้ได้ในชั้นศาล

ต่อให้ขาดหลักฐาน IP แต่หลักฐานอื่น รวมกันแล้ว น้ำหนักมันได้ ศาลก็ตัดสินไปตามนั้นแหละ
กรณีนี้น่าจะเป็น E-mail ใน โทรศัพท์นั่นแหละ ที่ผูกมัดจำเลย
ยิ่งพยานเบิกความไม่พลาดเลย ทำให้น้ำหนักพยานสูง อีก

คิดว่า
-หลักๆคือ E-mail ใน โทรศัพท์นั่นแหละครับ ที่ผูกมัดจำเลยชัดเจน ไม่ใช่ผูกด้วย IP อย่างที่แล้วมา
-จำเลยมีพฤติกรรม เปลี่ยนชื่อ บ่อยๆ มุมมองนิติศาสตร์ ก็มองได้ว่าพยายามปกปิดตัวตน
-กว่าจะแจ้งลบก็ผ่านไป 1 ปี ผิดวิสัยถ้าตัวเองไม่ได้โพสน่าจะรีบลบเร็วกว่านี้
-ยิ่งพยานเบิกความไม่พลาดเลย ตรงกับข้อเท็จจริงหมดเป๊ะๆ ทำให้น้ำหนักพยานสูงในมุมมองนิติศาสตร์ อีก

ก็เข้าใจว่า ที่นี่เป็นศูนย์รวมคนด้านเทคนิค IT ทำให้มอง และ ให้น้ำหนักคดีในเชิงเทคนิค มาก
แต่จะวิจารณ์ศาลเนี่ย ผมว่าใช้นิติศาสตร์ในการมอง จะดีกว่าครับ

  1. email ที่ใช้เป็น email ที่ใช้สมัคร Facebook แต่ไม่มีอะไรยืนยันได้ว่า account ที่เมล์นั้นสมัครเป็น account ที่ใช้โพสข้อความจริง หรือแม้แต่ข้อความนั้นจะถูก Forge โดย Tui Fishing หรือไม่แม้แต่น้อย หลักฐานที่นายอัจฉริยะมีก็เป็นภาพจาก Tui Fishing ไม่ใช่ภาพต้นฉบับตามที่นายอัจฉริยะกล่าวอ้างว่าเจอจริงๆ(และปกติแล้วคนเราเมื่อเห็นของจริงจะเอาหลักฐานนั้นไปแจ้งความ โดยเฉพาะเมื่อเห็นว่าแจ้งความแล้วหลังจากนั้นข้อความยังอยู่ต่ออีกเป็นสัปดาห์อย่างน้อยก็จะเก็บหลักฐานนั้นไว้)
  2. พฤติกรรมเปลี่ยนชื่อบ่อยๆของจำเลยเป็นมาก่อนเรื่องนี้ ชื่อที่ใช้ปลอมแปลงบัตรประชาชนก็ด้วย(2544) รวมถึงชื่อที่ถูกแจ้งตายเกิดขึ้นเมื่อปี 2543 ด้วย ดังนั้นการเปลี่ยนชื่ออาจจะเกี่ยวกับคดีอื่นๆ หรือการบาดหมางกับนาย Tui Fishing แต่ไม่เกี่ยวกับคดีนี้
  3. นายปิยะอ้างว่าได้ส่งเมล์หา Google ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากเห็นข้อความและภาพ
  4. พยานเบิกความแต่ละคนไม่มีน้ำหนักอะไรเลย เพราะเป็นเพียงพยานที่เห็นภาพที่นาย Tui Fishing โพส พยานคนเดียวที่อ้างว่าเคยเห็นต้นฉบับคือนายอัจฉริยะ ซึ่งก็ไม่มีหลักฐานที่อ้างได้ว่าเห็นจริง

เชิงนิติศาสตร์? มันคือ facts ว่าพยานและหลักฐานแทบทั้งหมดไม่สามารถเชื่อมโยงกับนายปิยะได้เลยนอกจาก'ชื่อที่ปรากฎบนรูปที่นาย Tui Fishing'โพส ครับ

ถ้าเป็นอย่างที่คุณว่าจริง
ผมเชื่อว่า fact ที่คุณได้มา ไม่ตรงกับ fact ในสำนวนที่ส่งให้ศาล

ซึ่งมันออกได้ 2 หน้าคือ

  1. คนทำสำนวนที่ส่งศาล ไม่ตรง fact
  2. สำนวนที่ส่งศาล ตรง fact จนศาลตัดสินไปตามนั้น
    แต่มีคนพยายามสร้างชุด fact ที่คุณได้รับ บนเน็ตเพื่อสร้างกระแส

หรือมันอาจจะอยู่ในรูป มี fact บางอย่างในสำนวนศาล แต่ไม่ปรากฎ iLaw,ประชาไท
เช่น facebook ไม่บอก IP
แต่ยืนยัน ข้อความที่โพส ว่าตรงกับที่ แคปมาจริง ก็เป็นได้

facts ไหนบ้างที่ไม่ตรงหรือครับ? กรุณาอธิบาย

ผมออกหน้าที่ 3 ให้ครับ ว่าศาลตัดสินว่าจำเลยทำผิดจริงตาม facts นี้ :)

ถ้า Facebook ยืนยันว่าเป็นของจริง ไม่มีทางที่เรื่องนี้จะไม่อยู่ในสำนวนครับ เพราะมันเป็นหลักฐานสำคัญ อีกอย่างนึง Facebook เค้าไม่ยืนยันให้หรอกครับ เพราะอะไรคุณก็น่าจะรู้ดี

หลักๆ ตรงข้อ 3) ละครับ
fact ที่คุณได้มา ว่าแจ้งใน 1 สัปดาห์

แต่คำพิพากษาเขียนว่า
"ที่จำเลยเบิกความว่าเคยแจ้งให้ google ลบภาพนี้จากระบบค้นหาก็เป็นการแจ้งหลังเกิดเหตุเป็นเวลาเกือบหนึ่งปี"

ผมถึงตะหงิดๆ แปลกๆ

ผมเขียนชัดเจนนะครับว่า 'นายปิยะอ้างว่า'

อัยการถามถึงข้อความที่ปิยะส่งไปหากูเกิล เรื่องให้ลบภาพและข้อความตามฟ้อง ปิยะจำไม่ได้แน่ชัดว่าส่งไปเมื่อใด แต่จำได้ว่าส่งไปภายใน 1 สัปดาห์หลังเห็นข้อความและภาพดังกล่าว อัยการให้ปิยะดูภาพตามเอกสารที่ส่งให้กูเกิ้ลเพื่อยืนยัน ปิยะตอบอัยการว่า เอกสารดังกล่าวเป็นอีเมล์ที่กูเกิ้ลตอบกลับมา แต่ไม่มีอีเมล์ที่ตนส่งให้กูเกิ้ลรวมอยู่ด้วย

ทำไมคุณค้านแค่ข้อ 3 แต่ไม่ได้ค้านข้อ 1 2 4 ซึ่งหนักแน่นกว่ามากหล่ะครับ?

ผมเขียนแค่ 3) เพราะมันชัดสุด และขี้เกียจตอบทุกข้อ ครับ
ถ้าให้เขียนหมดก็ประมาณว่า

  1. "อัจฉริยะยังเบิกความว่าสืบทราบมาว่าพงศธรมีบ้านอยู่ที่เขตดอนเมือง ซึ่งตรงกับที่พนักงานสอบสวนเบิกความว่าจำเลยเคยสวมชื่อเป็นนายพงศธร บันทอน ที่สำนักงานเขตดอนเมือง คำเบิกความของอัจฉริยะจึงสอดคล้องกันมีน้ำหนักน่าเชื่อถือ"

เห็นได้ว่า ศาลให้น้ำหนัก พยานบุคคล ที่พูดแล้วตรงกับ พยานหลักฐาน นะครับ
แล้วทนายของปิยะ ก็ไม่ดิ้นเรื่อง Forge เลย
จะว่าความไม่เต็มที่ เพื่อให้ลูกความเข้าคุกเหมือนอากงหรือเปล่าก็ไม่รู้?

  1. การเปลี่ยนชื่อ ทำให้น้ำหนักของนายปิยะ ในคดีนี้ลดลง
    "พฤติการณ์ของจำเลยในคดีนี้มีการเปลี่ยนชื่อและสวมชื่อหลายครั้ง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
    ส่อเจตนาเพื่อไม่ให้ผู้อื่นสามารถทราบถึงตัวตนได้"
    แต่คุณพยายามจะบอกว่า การเปลี่ยนชื่อไม่มีผลในคดีนี้??

  2. เหมือนข้อ 1) ศาลให้น้ำหนัก พยานบุคคล ที่พูดแล้วตรงกับ พยานหลักฐาน

เฮ้อออ....

ที่ผมโพสไปนี่คุณไม่ได้อ่านเพื่อคิดเลยใช่ไหมครับว่ามันไม่เกี่ยวข้องกันยังไง แต่คุณตั้งธงไว้แล้ว เพราะศาลตัดสินแบบนั้น ใช่ไหมครับ?

  1. การที่คนคนนึงสืบทราบที่อยู่ของอีกคนได้ ไม่ได้แปลว่าคนคนนั้นน่าเชื่อถือครับ 'คนคนนั้นก็แค่สืบได้' และการที่สืบว่ามีพงศธร และพงศธรคือปิยะ ก็ไม่ได้แปลว่านายปิยะเป็นคนโพสจริง ลองกลับไปอ่านข้อ 1. ใหม่ครับ หรือจะให้ดี'กลับไปอ่านคำให้การของพยานทั้งหมด'ใหม่ดูครับ
    ทำไมเค้าจะไม่ดิ้นเรื่อง forge ครับ? ไอ้ที่เจ้าพนักงานทำกันอยู่นี่ไม่ได้เป็นการตรวจสอบว่ารูปจริงหรือรูป forge เหรอครับ? อีกครั้งนึงครับ กลับไปอ่านคำให้การของพยานทั้งหมด
  2. ลองไปอ่านดูครับว่าปีที่เปลี่ยนปีไหน คดีเกิดปีไหน

ผมมั่นใจครับว่าคุณจะไม่กลับไปอ่าน และก็จะนำคำตัดสิน'ที่คนวิพากย์วิจารณ์'มาโพสตอบอีกรอบ เพราะฉะนั้นถ้าคุณยังไม่มีอะไรใหม่เรื่องพยานและหลักฐาน และยังไม่ได้แสดงให้เห็นถึงการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ เอาแต่อ้างนู่นอ้างนี่ ผมขอหยุดการตอบแค่นี้นะครับ

ปัญหาคือ
เท่าที่ผมอ่านมา นิติศาสตร์ไม่ได้คิดตรรกะแบบเข้มข้นเหมือนคนIT อย่างเราๆ ครับ

อย่างเราไปเยี่ยมบ้านเพื่อน แล้วเพื่อนตั้งวงไพ่
หรือ นั่งรถไปกับเพื่อน แล้วเพื่อนดันมียาเสพติดอยู่
ตำรวจมาจับ ถึงเราจะอ้างว่าไม่รู้เรื่องอย่างไร
นิติศาสตร์จะมองว่า เรามีส่วนกับยานั้นด้วย จนกว่าเราจะหาหลักฐานมาว่าเราไม่เกี่ยว
เพราะนิติศาสตร์มองว่า เป็นการง่ายที่จะอ้างลอยว่าไม่รู้เรื่อง

แต่ถ้าคิดแบบตรรกะเข้มข้น เราจะมองว่า
"แค่เราอยู่บนรถเพื่อน มันไม่แน่ว่าเราจะเกี่ยวกับยาเสพติด"
ศาลควรจะปล่อย

สุดท้าย คุกครับ ... ว่ากันว่า 1/3 ของคดียาเสพติด คือติดร่างแหแบบนี้แหละ

ตรงนี้แหละครับ จุดอ่อนของคน IT ที่จะเข้าใจนิติศาสตร์
และเป็นการง่ายที่กลุ่มการเมืองจะชี้นำว่า ศาลตัดสินไม่เวิร์ค

การติดอยู่กับทฤษฏี "ต้องพิสูจน์จนสิ้นสงสัย" เป็น Dunning–Kruger effect กับนิติศาสตร์เต็มๆ
เพราะนิติศาสตร์มีหลักอื่นอยู่ด้วยครับ

จะเห็นว่า
ไม่ว่านายปิยะจะอ้างอย่างไร สุดท้ายทุกอย่างที่นายปิยะอ้างจะไม่มีน้ำหนักในชั้นศาล
เพราะนายปิยะมีคดีติดตัว ทำให้การให้น้ำหนักทางนิติศาสตร์หายไป จนกว่าจะมีพยานวัตถุ
ซึ่งนายปิยะจะมีพยานวัตถุ แค่ E-mail จาก Google ที่ลงวันที่ เกือบหนึ่งปีหลังเกิดเหตุ
แต่คุณมาให้น้ำหนักกับ คำอ้างของนายปิยะ แล้วบอกว่าคนอื่นไม่ยอมอ่าน ศาลไม่ยอมฟัง
ดังนั้น ศาลห่วย ผมที่มาพูดกับคุณก็ห่วย
...มันใช่เหรอครับ??

แถมมาหาว่าผมเอา คำตัดสิน'ที่คนวิพากย์วิจารณ์' ลอยๆในอากาศมาตอบ
ทั้งๆที่ ผม quote มาทั้งหมด คือ คำพิพากษาของศาลที่ได้มาจากใน iLaw นั่นแหละ

ก็...เอาที่สบายใจเลยครับ

ในฐานะทีเรียนนิติศาสตร์ที่คุณอ้างมาไม่สมเหตุสมผลเลย
ส่วนเรื่องการอ้างคดียาเสพติดเนี่ยคุณเข้าใจรึเปล่า
คุณอ้างมาเป็นแค่การอ้างภาระการนำสืบให้ไปตกที่จำเลย
แต่คดีมาตรา 112 เป็นการที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดโจทก์ก็ต้องหาพยานหลักฐานมามัดตัวจำเลยให้แน่ชัดให้ได้
คดีนี้ผมไม่คิดว่าทนายพลาด แต่คุณเคยสังเกตไหมครับว่าคดีมาตรา 112 แทบไม่เคยนำมาออกข้อสอบ
เพราะคดีมาตรา 112 ไม่มีมาตรฐาน แล้วแต่ดุลพินิจขององค์คณะ

ผมแนะนำให้คุณกลับไปเรียนใหม่อีกรอบครับผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับการกล่าวหาว่าไม่มีมุมมทางนิติศาสตร์ผมเรียนทั้งสองสายครับแล้วคิดแบบเชิงตรรกะด้วย
คดีนี้หลักฐานมันอ่อนแต่ศาลลงโทษ ตอนอุทธรณ์ทนายต้องเล็งเป็นจุดๆเพื่อให้ศาลอุทธรณ์กลับคำพิพากษา
คดีนี้ผิดหลักวิอาญาตรงตำรวจไม่ให้พบทนายในตอนแรก ซึ่งเป็นสิทธิพื้นฐานของจำเลยที่ควรมี
การกระทำเช่นนี้เป็นการเอาเปรียบในทางคดีซึ่งไม่ยุติธรรมกับจำเลยเพราะระหว่างกักขังจำเลยไม่สามารถหาหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตนได้โดยง่ายอยู่แล้ว

คุณกล่าวหาคนอื่นว่ามองแบบ IT ไม่มองแบบนิติศาสตร์แต่ผมนี่มองแบบนิติศาสตร์ตรงๆเลยล่ะ
ไม่งั้นไม่มีคำเหน็บกันในวงการศาลว่า "ลูกร้านทอง" ซึ่งหมายถึงผู้พิพากษาที่พ่อแม่ส่งให้เรียนอย่างเดียวโดยไม่มีความรู้และประสบการณ์อื่นๆที่จะสามารถปรับใช้กับคดี ที่จะสามารถอำนวยความยุติธรรมให้ประชาชนได้
จริงๆคดีอาญามันควรเปลี่ยนจากระบบกล่าวหาเป็นระบบไต่สวนได้แล้ว ปัจจุบันแพะล้นคุกไปหมดแล้ว

คำถาม ในคดีอาญาจำเลยอ้างว่าเอกสารที่โจทก์อ้างมานั้นเป็นเอกสารปลอม
ใครต้องนำสืบว่าเป็นเอกสารจริง โจทก์หรือจำเลย
ในคดีอาญาจำเลยอ้างลอยได้ ไม่เหมือนคดีแพ่ง
เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะสู้คดีได้ทุกวิธี

คดีนี้จำเลยยอมรับว่ามีการกระทำจริงแต่ไม่ใช่ตามที่โจทก์อ้างยอมรับแบบนี้ถือว่าปฏิเสธ
โจทก์ต้องนำสืบ

ในมุมมองของผม
คดีนี้ นายปิยะ ถ้าจะสู้จริงๆ มีหลายทางมาก

ทางที่ผมคิดว่าดีที่สุดคือ
"เป็นผู้ร้องขอ Facebook ให้เปิดข้อมูลด้วยตัวเอง"
มันจะเป็นพยานวัตถุที่สำคัญ

-ถ้ามันไม่เคยมีการโพสแบบนั้น ก็จะเป็นหลักฐานว่าเป็นภาพ Forge จะทำให้คดีนี้ตกไป

-แต่ถ้ามันมีการโพส
ศาลจะได้ IP ของตัวคนที่แฮก จาก Facebook แล้วลากคอมาดำเนินคดีได้สบายๆ
และคดีนี้ นายปิยะจะหลุดโดยอัตโนมัติ

แต่ ปิยะ และ ทนายก็ไม่ทำ
สู้คดี แบบหวังแต่ว่าให้ศาลมองหลักฐานโจทก์อ่อน แล้วคดีจะตกไปเอง
เป็นการสู้คดีที่ "โง่บัดซบ" หรือ ไม่ก็คือตั้งใจสังเวยจำเลยให้เข้าคุก ด้วยซ้ำ

สังเกตเลย คดี 112 กี่คดีแล้ว
สู้แบบ ให้พูดอ้างลอยในศาล แล้วรอศาลปล่อยให้หลุด
ชนิดไม่มีการหาพยานวัตถุมาสู้เลย
พอศาลตัดสิน ก็ออกมาก่อหวอดว่า ศาลตัดสินด้วยหลักฐานอ่อน
มันตั้งใจจะสู้ในศาล หรือ นอกศาล หึ??

เรื่องที่ตลกคือถึงแม้อยากจะเปิดเผยข้อมูลมันก็ทำไม่ได้ครับ account อยู่ได้ 14-30 วันหลัง delete IP log ฝั่ง Facebook อยู่ได้ไม่เกิน 90 วัน ฝั่ง ISP ก็ 90 วันเช่นกัน

เหตุเกิดเมื่อ 27 กรกฎาคม 2556 ถึง 28 พฤศจิกายน 2556
คนอื่นๆฟ้อง 26 - 28 พฤศจิกายน 2556
อัจฉริยะพบเจอข้อความหมิ่น ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2556 สืบหานายปิยะจนทราบถึงตัวในวันที่ 29 กรกฎาคม 2556
ร.ต.ท. กงกล่าวว่านายอัจฉริยะมาแจ้งความในวันที่ 29 กรกฎาคม 2557(1 ปีเต็มหลังจากนั้นพอดี) ด้วยภาพที่ Tui Fishing โพสไม่ใช่ภาพต้นฉบับ

ซึ่ง 1 ปีเป็นระยะเวลาที่นานมาก ผ่านระยะเวลา 90 วันไปตั้งนานแล้วครับ และคุณเห็นอะไรแปลกๆไหมครับ?

ผมขอเสริมต่อจากคุณ Khow หน่อยว่าสิ่งทั้งหมดที่คุณโพสมา มันก็แค่พยายามสร้างความชอบธรรมให้อำนาจหน้าที่และการตัดสินของศาลครับ แต่ไม่ได้อธิบายแม้แต่นิดเดียวว่า'ทำไมนายปิยะถึงไม่ได้เป็นแพะ'

ผมถามก่อนเลยว่าคุณรู้จักคดีมาตรา 112 มากน้อยแค่ไหน
ส่วนใหญ่กักขังจำเลยเอาไว้เฉยๆก่อน

การต่อสู้คดีของจำเลยถ้าไม่มีพยานผู้เชี่ยวชาญมาช่วย เป็นการเอาเปรียบในทางคดีมาแต่ต้น
ผมภาวนาขอให้เรื่องแบบนี้เกิดกับคนรู้จักของคุณหรือตัวคุณเองมากกว่าคุณจึงจะเข้าใจว่าจริงๆการเอาเปรียบทางคดีมันเป็นอย่างไร
เพราะหลายคนที่เคยถกด้วยพอโดนเสียเองนี่เงียบเป็นเป่าสาก

เคสนี้พยากปากนึงที่ศาลใช้เอามาชั่งน้ำหนักตัดสินจำเลยนั้นโกรธเกลียดจำเลยมาแต่แรก จะด้วยสาเหตุที่ว่าปักใจเชื่อว่าจำเลยเป็นคนทำหรืออะไรก็ตาม ศาลก็ควรใช้ดุลยพินิจอย่างระมัดระวัง
คำพิพากษาหลายอันเกี่ยวกับมาตรา 112 ในคำพิพากษาเองก็ขัดแย้งในจุดที่ว่า คิดว่าจำเลยเป็นคนทำ
เคสนี้ถ้าจะสู้ก็ต้องสู้ที่ว่าพยานปากนี้ปักษ์ใจเชื่ออะไรผิดๆมารึเปล่า

พยานอ้างว่ามีคนในชมรมตรวจสอบให้แต่กลับไม่เรียกคนที่ตรวจสอบหรือพยานผู้เชี่ยวชาญเข้ามาเพิ่มเติมมันทำให้พยานปากนี้เป็นพยานบอกเล่าไม่มีน้ำหนักให้รับฟังแต่แรกทั้งพฤติการณ์ที่ว่าพยานเคยคิดที่จะพาพวกไปกระทืบจำเลยอีก (ตรงนี้ศาลกลับไม่ได้จดเอาไว้แต่ในเนื้อข่าวต้นทางมีข้อมูลตรงนี้) ก็ชัดว่าพยานปากน่าจะมีเรื่องโกรธแค้นอะไรกับจำเลยด้วย

แต่เท่าที่เห็นคือสอนอีกอย่างตัดสินอีกอย่าง ก็สมควรที่คนจะหมดศรัทธาแหละครับ
ใครก่อหวอดในศาลหรือนอกศาลกันแน่

จะอวยศาลหรือยังไงก็ตามดูความเป็นจริงด้วยครับ

ผมแนะนำให้คุณกลับไปเรียนวิชากฎหมายลักษณะพยานใหม่ ดูเหมือนว่าคุณจะไม่เข้าใจสิ่งที่หลายๆคนพูด
เขาก็สื่อกลายๆว่าถ้าตัดสินแบบนี้จะเรียนวิชากฎหมายลักษณะพยานไปทำไม

ผมขอพูดตามตรงระบบมันเละจนสมควรต้องปรับปรุงหลายทีแล้ว

ส่วนกรณีที่พยานไปแจ้งความ 1 ปีให้หลังนี่ก็ส่อพิรุธ
เนื่องจากพยานพบเห็นการกระทำผิดนานแล้วก็น่าจะมีการ capture ภาพตัวต้นฉบับเอาไว้อยู่แล้ว
แต่หลักฐานชิ้นนี้กลับไม่มีเสียอย่างนั้น

อ้าว ที่ไม่ได้ IP จาก facebook
จริงๆแล้วไม่ใช่ facebook ไม่ให้ความร่วมมือ
แต่เพราะลบไปแล้ว??

ถ้าเล่นเรื่อง delete นี่จบเลย

-ถ้า แฮกเกอร์ แฮก แล้วโพส เสร็จแล้วลบ
นายปิยะต้องได้ Email แจ้งลบ ไม่มีทางที่จะไม่รู้
-ถ้า ไม่มีการลบ นายปิยะนั่นแหละ
ที่เลือกจะไม่เปิดข้อมูลที่ไม่เป็นผลดีต่อตน

การพิจารณาคดีของศาล
ศาลได้ข้อเท็จจริงของคดีจากไหนบ้างครับ นอกจากหลักฐานโจทก์?

ผมขอเทียบ story

story แรก จากที่พวกคุณเขียนมาคือ

---ก่อนเกิดคดี นายปิยะ มีข้อขัดแย้งส่วนตัว Tui Fishing
-วันที่ 27 กค 2556 - 28 พย 2556 มีการโพสต์หมิ่น
-อัจฉริยะมาแจ้งความในวันที่ 29 กรกฎาคม 2557(1 ปีเต็มหลังจากนั้นพอดี)
-11 ธันวาคม 2557 นายปิยะ ถูกจับกุม
<ไต่สวน+สู้คดี>
-20 มกราคม 2559 ศาลตัดสินลงโทษ อย่างงี่เง่า
โดยมีหลักฐานแค่ รูปที่ไม่รู้ว่า Forge หรือเปล่า
กับพยานหลายปากที่ไม่น่าเชื่อถือ

แต่ สิ่งที่ผมเห็นคือ จากในคำพิพากษา คือ

-วันที่ 27 กค 2556 - 28 พย 2556 มีการโพสต์หมิ่น

-"ในวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 [นายอัจฉริยะ]ได้รวบรวมสมาชิกไปยังบ้านดังกล่าวจำนวนมาก
แต่เมื่อไปแล้วหาตัวไม่เจอจึงไปแจ้งความที่ปอท." (ไหนครับ แจ้งหลังโพส 1 ปี??)

-11 ธันวาคม 2557
"ปิยะให้การปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นเจ้าของเฟซบุ๊ก ที่ใช้ชื่อว่า “นายพงศธร บันทอน”"

-17 พฤศจิกายน 2558
สืบพยานโจทก์ปากที่ห้า อัจฉริยะ เรืองรัตนพงษ์ ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ
"หลังเสร็จสิ้นการสืบพยานปากนี้
ฝ่ายจำเลยแถลงรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเปลี่ยนชื่อของจำเลย และรับว่าจำเลยเคยใช้ชื่อว่านายพงศธร บันทอน"
(นายปิยะโดนนายอัฉริยะ ต้อน น๊อคคาศาล)

-24 พฤศจิกายน 2558
"ปิยะ เล่าว่า ช่วงปี 2553-2554 เคยใช้เฟซบุ๊กชื่อ "นายพงศธร บันทอน (Siamaid)"
หลังจากนั้นไม่ได้ใช้แล้ว แต่มาใช้เฟซบุ๊กชื่อ Piya"
(ปกติไม่มีใครเขาลบ account เพราะเปลี่ยนชื่อหรอก
มีแต่ทำผิด เลยลบ account หนี ต่างหาก
และเพราะลบไปแล้ว จะอ้างเวลาลบเมื่อไหร่ก็ได้)

เห็นได้ชัดว่า
story ที่พยายามจะ build อารมณ์ร่วม ว่า
"อยู่เฉยๆก็สามารถโดนใส่ความด้วย ม.112 ได้
และไม่มีทางต่อสู้ระหว่างดำเนินคดีเลย,
ไม่ว่า โจทก์ หรือ หลักฐานจะอ่อนยังไง
ศาลก็ไม่รับฟังจำเลย จนแพ้คดีแทบจะแน่นอน"
ว่ามันจริงขนาดไหน

ผมบอกเลย
ตราบใดที่ยังสู้คดีกันด้วยการอ้างลอยอย่างเดียว ไม่มีการหาหลักฐานมาช่วย
มีพฤติกรรมกลบเกลื่อนหลักฐาน
แถมโดนต้อน เจอข้อเท็จจริง จนต้องเปลี่ยนคำให้การกลางศาลตลอดแบบนี้
คุณด่าศาลว่าตัดสินไม่ยุติธรรมไม่ได้หรอก

บ้านเมืองจะลุกเป็นไฟ
ก็เพราะมีการเผยแพร่ นิติศาสตร์บิดเบือน นี่แหละ

นี่คุณบ้า หรือ บ้า? คนที่ไม่รู้ว่ามีคนทำผิดในชื่อตัวเองที่ไหนจะมีไปแจ้งลบอะไรในชื่อตัวเอง? คนเปลี่ยนเฟซบ่อยเยอะแยะจะตายไป แฟนทิ้ง หนีนู่นหนีนี่ ทำไมต้องเจอะจงว่าเป็นเพราะเรื่องนี้เรื่องเดียว? Tui Fishing เป็นใครเอาภาพมาจาก account จริงหรือเปล่าก็ไม่มีใครรู้

ก็ไอ้ 29 กรกฎา 2556 นั่นแหละที่ไปตามหาบ้านปิยะ แต่ไปฟ้องตำรวจ 29 กรกฎาคม 2557 ตามคำให้การของ ร.ต.ท. กง flow ต่อจากนั้นคือสืบหาตัวในเดือนตุลา 2557 และจับได้ในวันที่ 11 ธันวาคม 2557 อันนี้คุณจะบอกว่า ร.ต.ท กง ให้การไม่น่าเชื่อถือ?, ตำรวจทิ้งคดีไป 1 ปี และอยู่ๆดันกลับมาทำคดีใหม่ 1 ปีหลังจากนั้น? อีกครั้งครับไปอ่านคำให้การของพยานทั้งหมดไม่ใช่แค่คำให้การของนายอัจฉริยะและคำตัดสินของศาลสองอย่าง ไม่งั้นคุณเองนั่นแหละครับที่จะเป็นคนที่อ้างลอยๆ เนื่องจาก knowledge ที่คับแคบ

และถ้าคุณไม่ได้โง่ขนาดนั้น คุณจะรู้เลยว่าไม่มีทางที่นายอัจฉริยะจะฟ้องในวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 ได้ เพราะหลักฐานที่นายอัจฉริยะนำไปฟ้องคือภาพจาก Tui Fishing ซึ่งโผล่มาเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน 2556

มันมีความเป็นไปได้ครับ ที่นายได้ทำการโพสหมิ่น แต่โอกาสแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่นายปิยะจะทำการโพสหมิ่นเหมือนในภาพของ Tui Fishing

ลองมาดูอะไรแปลกๆกันดีไม๊?
ปิยะบอกว่าเจอโพส 27 กรกฎาคม 2556 สืบนายปิยะไปบ้านในวันที่ 29 กรกฎาคม 2556
Tui Fishing incident เกิดหลังจากนั้น 120 วัน(26 พฤศจิกายน 2556) ซึ่งเป็นระยะเวลาที่นานมาก ปิยะโพสไปตั้งแต่กรกฎาคม ทำไม Tui Fishing ถึงพึ่งโผล่มาตอนนี้? ทำไมรูปภาพถึงขึ้นว่า 1 hr ago?
หลังจาก Tui Fishing incident คนอื่นๆไปฟ้องกันตั้งแต่ 26 พฤศจิกายน 2556 แต่ทำไมอัจฉริยะกลับไปฟ้อง 29 กรกฎาคม 2557?

ไม่มีอะไรจะพูดแล้วครับ เบื่อ เหนื่อย ถ้าคุณยังไม่รู้และไม่เข้าใจว่าฝ่ายโจทย์นี่ก็ใช้การ'อ้างลอย'เหมือนกันนี่คุยกันไม่รู้เรื่องหรอกครับ คือแม้แต่คำให้การของพยานคนอื่นคุณก็ยังไม่อ่านเลย

ปล่อย เชิญตามสบายครับ อ่านแต่คำให้การของนายอัจฉริยะไปนั่นแหละดีแล้ว

โอเค เข้าใจละว่า ไม่ได้มองเป็นแฮค แต่เป็นการ
สร้าง account "พงศธร บันทอน" เพื่อกลั่นแกล้ง
โดยใช้ภาพนายปิยะ เพื่อโพสหมิ่น และลบหนี จนนายปิยะไม่รู้ตัว

ผมอ่านหมดก่อนตอบกระทู้นี้แล้วครับ ไม่งั้นคงไม่ quote หรือ พูดเรื่อง email ในโทรศัพท์ได้หรอก
แต่เรื่อง 29 กรกฎาคม 2556 กับ 29 กรกฎาคม 2557 นี่
เนียนโคตร!!!
ยอมรับว่า ผมไม่สังเกตเลย ว่าเลขปีต่างกัน
ถ้าไม่ใช่ มีการพิมพ์ผิด หรือ มีข้อเท็จจริงอื่นอีก
มันก็น่าสนใจในประเด็นนี้มากๆ
เพราะพี่แกจงใจแจ้งความให้เลขวันที่ตรงกันซะขนาดนี้

ดังนั้น story (จากย่อหน้าสุดท้ายของคุณ McKay) จะเป็น

-27 กรกฎาคม 2556 นายอัจฉริยะ อ้างว่าพบโพสของปิยะ
-29 กรกฎาคม 2556 อัจฉริยะไปที่บ้านนายปิยะ
(อัจฉริยะอ้างว่าหลังจากนั้นก็ไปแจ้งความ)

-26-28 พฤศจิกายน 2556 เหล่าพยานเห็นโพสปิยะอีกครั้ง และทยอยเข้าแจ้งความ
โดยเป็นภาพจาก Tui Fishing
ซึ่งไม่รู้ว่า แคปได้จริง หรือ Forge ขึ้นมา
และเพราะดันไปขอให้ google ลบ กลายเป็นหาเวลา และที่มาของภาพไม่ได้ซะอีก!!

-29 กรกฎาคม 2557 ร.ต.ท กง รับแจ้งความจาก นาย อัจฉริยะ
(ที่โดน Time Slip ข้ามอนาคตมา 1 ปี :P )
-เดือนตุลา 2557 พ.ต.ท.จาตุรนต์ ได้รับหมายจับ จึงออกสืบหา และ
-11 ธันวาคม 2557 จับกุมนายปิยะได้

ผมแค่จะชี้ว่า
1)น้ำหนักในศาล ไม่ได้มีแต่จาก หลักฐาน/พยานโจทก์ อย่างที่พยายามพูดย้ำซ้ำไปมาเท่านั้น
มันเหมือนชี้นำให้ "จ้องใบไม้จนไม่เห็นป่า"
จ้องที่ หลักฐาน/พยานโจทก์อย่างเดียว จนไม่เห็นว่ารูปคดีทั้งหมด จะมี "ข้อเท็จจริงที่ฝั่งศาลค้นพบเอง" ด้วย
ทำให้เราตกหล่น และ คิดว่า ระบบศาลเรามีปัญหา ศาลให้น้ำหนักกับ หลักฐาน/พยานโจทก์มากเกินไปหรือเปล่า??
2) เพราะ พิรุธจำเลย อย่างการกลับคำให้การกลางศาล มันก็มีผลไม่น้อยเลย
อย่างในเรื่องการลบ email ในมือถือ และ นายปิยะโดนต้อนกลางศาล มันก็เป็นพิรุธจำเลย เสียแต้มไปเยอะอยู่
3) แนวทางการให้จำเลยสู้คดีแบบอ้างลอย มันมีแต่กับเจ๊า(อ้างลอย ศาลไม่ให้น้ำหนัก)
หรือ เจ๊ง (อ้างผิดจากข้อเท็จจริง แล้วกลับคำให้การกลายเป็น มีพิรุธจำเลย)

เห็นเลยว่า ฝั่งจำเลยควรเลิกสู้แบบอ้างลอยอย่างเดียว แบบที่ผ่านๆมาได้แล้ว มันไม่เวิร์ก!!

อ่านมานานก็อยากตอบความคิดเห็นของคุณ Hoo บ้างครับ

  1. เพราะ พิรุธจำเลย อย่างการกลับคำให้การกลางศาล มันก็มีผลไม่น้อยเลย
    อย่างในเรื่องการลบ email ในมือถือ และ นายปิยะโดนต้อนกลางศาล มันก็เป็นพิรุธจำเลย เสียแต้มไปเยอะอยู่

ผมไม่ได้เชี่ยวชาญเรื่องนี้นะครับ แต่ผมกลับมองว่าเรื่องการกลับคำให้การเนี่ยมันสามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติ เมื่อจำเลยพิจารณาแล้วเห็นว่ามันน่าจะทำให้ฝั่งของตัวเองมีโอกาสรอดหรือได้ประโยชน์ ซึ่งบางครั้งก็น่าจะมาจากคำแนะนำของทนาย

ส่วนเรื่องเทคโนโลยี คุณคิดว่าในไทยมีกี่คนที่รู้และเข้าใจเรื่องระบบและการทำงานของอินเตอร์เน็ตหรือ Facebook ได้ถ่องแท้ถึงขนาดว่าสามารถใช้ความรู้เหล่านี้มาต่อสู้ได้อย่างดีบ้าง สำหรับคนใน Blognone ที่คุ้นเคยและรู้ท่ีมาที่ไปของเรื่องพวกนี้ก็อาจจะมองเป็นเรื่องง่าย แต่ถ้าเป็นคนทั่วไป ผมก็เห็นยังมีคนที่ใช้งาน Facebook อย่างสุ่มเสี่ยงเต็มไปหมด ทั้งๆ ที่บางอย่างมันเป็นเรื่อง security ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นต้องรู้จักป้องกันตัวเอง อย่างที่เห็นๆ ทั่วไปคือมีการลืมมือถือทิ้งไว้แล้วเพื่อนหรือคนอื่นสามารถเข้าถึงบัญชีของเราแล้วไปโพสต์ข้อความแกล้งกันได้ ฉะนั้นเรื่องการลบข้อมูลอะไรที่สำคัญใดๆ เช่นอีเมลของคนทั่วไปมันก็น่าจะสามารถเกิดขึ้นได้เช่นกัน

การกลับคำให้การ เพื่อประโยชน์ทางคดีของตัวเองนี่
ไม่ใช่เรื่องปกติในกระบวนการยุติธรรมนะครับ (อย่างน้อยก็ตามหลักนิติศาสตร์)

ลองคิดดูนะครับว่า
โจทก์ก็ให้การ เพื่อประโยชน์ทางคดีของตน โดยไม่สนใจความจริง
จำเลยก็ให้การ เพื่อประโยชน์ทางคดีของตน โดยไม่สนใจความจริง
สิ่งที่เราได้จาก แนวคิดแบบนี้คือ "ระบบอยุติธรรม" เสียมากกว่า
เพราะเราจะไม่ได้ตัดสิน จากความจริง โดยระบบแบบนี้เลย

แนวคิดของนิติศาสตร์ คือ "แสวงหาความจริง" ก่อน
แล้วจึงตัดสิน จาก ความจริงที่แสวงหามาได้

ซึ่งจริงๆ การ "แสวงหาความจริง" มันควรเป็นเป้าหมายหลักของทุกฝ่าย
ไม่ว่า อัยการ/โจทก์ จำเลย ทนาย ผู้พิพากษา
นิติศาสตร์มีหลักว่า "โจทก์ต้องมีหลักฐานมีน้ำหนักแน่นหนา" ก็จริง
แต่ไม่ได้หมายความว่า "ถ้าจำเลยมีหลักฐานขัดกับการกล่าวหาโจทก์ ก็ไม่ต้องเอาหลักฐานมาให้ศาล"
โดยหวังว่าศาลมีหน้าที่ ต้องมองหลักฐานโจทก์ให้ออกว่ามันอ่อน แล้วยกฟ้องไปเองให้แก่ตน
แบบนั้น งอมืองอเท้าเกินไป

คิดแบบนี้ ศาลมีแต่เจ๊งกะเจ๊า
ถ้าตัดสินลงโทษ/ปล่อย ได้ตรงความจริง ก็ดีไป
ถ้าตัดสินลงโทษ/ปล่อย ไม่ตรงความจริง ระบบก็เสียความยุติธรรม
ศาลตัดสินผิด ลงโทษจำเลย เพราะจำเลยไม่เอาหลักฐานมาให้ มันควรโทษศาลมั๊ย???
ศาลก็เป็นคนนะครับ ไม่ใช่พระเจ้าหรือสุวรรณสุวาณ ที่จะรู้ทุกอย่างโดยไม่ต้องบอก

ถ้าทนายรู้ความจริงว่า ลูกความผิดจริง
ตามจรรยาบรรณทนาย ควรจะยอมตามความจริง แล้วหาช่องขอลดหย่อนโทษไปตามกฎหมาย ให้มากที่สุด
ไม่ใช่ "ให้ลูกความให้การบิดเบือนรูปคดี โดยหวังว่ามันเป็นผลดีกับลูกความ" ไปเรื่อยๆ

ผมแย้งคุณในเรื่องของการ "กลับคำให้การ" ครับ ซึ่งมันก็เป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นอยู่แล้ว หรือว่าไม่ใช่? แล้วความเป็นมาของศาลมันก็คือการจัดเวทีเพื่อให้ทั้งสองฝั่งต่อสู้เพื่อประโยชน์ทางคดีของตนอยู่แล้วนี่ครับฝ่ายโจทย์ก็ได้ฟ้องฝ่ายจำเลยก็ได้แก้ต่าง ทั่วโลกเค้าก็เป็นแบบนี้กันนี่นา ถ้าเป็นแบบที่คุณว่ามามันก็คงไม่จำเป็นต้องมีศาลแล้ว คือคนทำผิดก็รู้ตัวเองว่าผิดเดินเข้าคุกด้วยตัวเองไป

แล้ว paragraph ที่ว่า "ระบบอยุติธรรม" คุณก็ทึกทักต่อยอดขยายความคิดไปเองคนเดียวอีก ส่วนเรื่อง "ความจริง" ที่คุณยกมา อะไรคือความจริงที่ว่าครับ ตามที่ผมเข้าใจ หลักฐานที่ฝ่ายโจทย์เอามามันดูขาดน้ำหนักจนไม่ควรที่จะเอามาเป็นหลักฐานได้ด้วยซ้ำ

การกลับคำให้การ เพื่อประโยชน์ทางคดีของตัวเองนี่
ไม่ใช่เรื่องปกติในกระบวนการยุติธรรมนะครับ (อย่างน้อยก็ตามหลักนิติศาสตร์)

ถ้าคุณไม่รับประโยคนี้ ก็ไม่จำเป็นต้องคุยต่อครับ บาย

นั่นคือสิ่งที่มันควรจะเป็นไปตามอุดมคติครับ แต่ว่าผมสงสัยมากว่าในโลกนี้เวลาขึ้นศาสมีใครสักกี่คนที่ต่อสู้เพื่อให้เห็นว่าตัวเองนั้นผิดจริง ผมว่าคุณเหมือนจะสับสนระหว่างความผิดชอบชั่วดี หลักนิติศาสตร์ กับสิ่งที่จำเลยสามารถทำได้ เพราะมันเป็นคนละเรื่องครับ ถึงอย่างนั้นเมื่อจำเลยกลับคำให้การ สุดท้ายแล้วก็ต้องต้องยอมรับกับผลที่จะตามมาอยู่ดี ซึ่งผลมันสามารถออกมาได้หลายหน้า บายครับ

การกลับคำให้การเป็นสิทธิของจำเลย
แต่การกลับคำให้การแล้วขัดแย้งกันเองจะทำให้คำการให้การของจำเลยมีน้ำหนักอ่อนลงแค่นั้น
โจทก์เองถ้าแก้คำให้การก็มีผลเช่นกัน

แต่ข้ออ้างของคุณไม่เกี่ยวกับหลักนิติศาสตร์ครับ
หลักจริงๆคือจำเลยให้การอย่างไรก็ได้จะยอมรับหรือปฏิเสธก็ได้ นั่นคือหลักจริงๆตามกฎหมาย

การกลับคำให้การของจำเลยในกรณีถูกข่มขู่ให้รับสารภาพในชั้นพนักงานสอบสวนมีบ่อยจนกลายเป็นปกติแล้ว
คดีนี้มันเกมตั้งแต่ไม่ให้เข้าพบทนายตั้งแต่แรกแล้ว

สำหรับคนแบบคุณคงต้องให้โดนด้วยตัวเองเสียก่อนจึงจะเข้าใจ
ผมเองก็ถกกับศาลเรื่องด้านมืดของพวกนี้จนเบื่อแล้ว

แล้วเรื่องแบบนี้นะครับถ้ามีความรู้ด้าน social engineering แล้วล่ะก็ การจะปลอมขึ้นมาไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะทำ
เขาบอกว่าระบบมันห่วยคุณก็เถียงแต่คนไปด่าศาลไปเรื่อยๆ

คดีพวกนี้ถ้าศาลใช้ logic เดิมๆแพะเกลื่อนแน่ๆเพราะทางที่จำเลยจะชนะจะต้องใช้พยานผู้เชี่ยวชาญมาหักล้างโจทก์อย่างเดียว ซึ่งลักษณะแบบนี้เป็นการเอาเปรียบทางคดี
ให้พูดตามตรงนะศาลพลาดมาเยอะล่ะครับหลายเคสแล้วระบบมันควรจะปรับปรุงได้แล้ว

แสดงว่าคุณศึกษานิติศาสตร์แต่ตัวหนังสือไม่ได้ลงไปดูในโลกแห่งความเป็นจริงว่า
การเอาเปรียบในการดำเนินคดีมาตรา 112 เป็น เช่นไร

ผมยกตัวอย่างง่ายๆคดีจับแท็กซี่ผิดตัวเป็นคดีที่ทำให้ศาลเปิดเผยตัวเองว่ามีความบกพร่องมากที่สุด
การต่อสู้คดีจำเลยที่อยู่ในคุกไม่มีทางที่จะออกไปหาหลักฐานมาพิสูจน์ความบริสุทธิ์ตนเองได้หรอก
คูรบอกให้ไปาหลักฐานมาหักล้างสิ เอางี้นะครับ ผมจะขอให้คุณไปนอนคุกระหว่างพิจารณาคดีก่อนสัก 1เดือนห้ามติดต่อทนาย แล้วสู้คดีโดยหาทนายมาทีหลัง

การถูกใส่ความจนจำเลยแพ้มันไม่ได้มีคดีเดียวครับมีมานานมากและหลายคดี
ผมว่าคุณก็จัดอยู่ในกลุ่ม "ลูกร้านทอง" นั่นแหละครับ
แล้วก็อ้างว่าเขาเอานิติศาสตร์มาบิดเบือนโดย เพิกเฉยเรื่องการเอาเปรียบจำเลยในกระบวนการดำเนินคดี
สิ่งที่ผมเรียนมาหลายอย่างก็มาจากประสบการณ์ที่มันไม่มีในหนังสือนี่แหละ

ที่สำคัญแม้จำเลยกับพยานไม่เคยรู้จักกันแต่พฤติกรรมพยานนั้นโกรธแค้นจำเลยมาแต่แรกมันทำให้น้ำหนักพยานอ่อนแต่แรกและมีปมที่มันขัดแย้งกันเองค่อนข้างมาก
คุณบอกว่านายปิยะโดนต้อนคาศาล
ผมอ่านคำให้การของพยานเขาถามว่าเฟสมันปลอมได้ไหมพยานบอกปลอมได้

ที่สำคัญจำเลยแม้จะปฏิเสธว่าไม่ได้เป็นเจ้าของเฟสที่ว่ามา
จำเลยยอมรับเรื่องเคยมีชื่อนี้ มันเป็นคนล่ะอย่างกัน
พยานก็พูดเองว่าเฟสมันปลอมกันได้ ผมว่าคำให้การจำเลยมันไม่ได้ขัดกันด้วยซ้ำเพราะว่าเขาชื่อนี้จริงแต่เฟสนี้ไม่ใช่ของเขา เท่าที่ผมดูความเห็นของคุณจะบอกว่าเรื่องการลบเฟซเพราะมีความผิดเปลี่ยนชื่ออ้างเป็นพิรุธเพราะกระทำผิดเนี่ยไม่ใช่ตรรกะที่ฟังขึ้นนะ ไม่งั้นเพจ สมรักฯ ที่ปิดเป็นว่าเล่นก็ปิดเพราะกระทำผิดงั้นสิ

จะบอกให้ว่ามันไม่ยุติธรรมมาตั้งแต่ต้นทางแล้วครับยันศาลเลยล่ะ
คดีมาตรา 112 ถ้าเส้นไม่ใหญ่จริงไม่มีทางประกันตัวได้
ที่คนเขากังวลคือแม้ไม่มี IP มามัดก็ใช้หลักฐานแวดล้อมได้ การทำหลักฐานปลอมนั้นไม่ยากเลย
ถ้าเป็นผมจะขอตัว capture ต้นฉบับว่ามันมีอยู่จริงรึเปล่าก็พอ
เพราะรูปที่ฟ้องมันคือรูปที่ผ่านการตัดต่อมาแล้ว ถ้ามีประจักษ์พยานจริงก้ต้องมีรูปตอนไม่ได้ตัดต่อแต่แรกมาตรวจดูได้
ซึ่งผมจะสู้ตรงนี้นี่แหละ พยานปากอื่นไม่มีความหมายเพราะดูรูปจากที่ตัดต่อมาแล้ว

เคสนี้ต่างจากสู้ลอยๆแล้วแพ้ค่อนข้างมาก
ถ้าอ่านให้ดีจะรู้จำเลยโดนเอาเปรียบตั้งแต่ตอนโดนจับแล้ว
ชีวิตคุณมันชิลไม่เคยเจอแพะไม่เข้าใจหรอกครับว่าจะใส่ความกันถ้าพูดกันจริงๆไม่ยากเลยแค่ซักซ้อมพยานก็พอ
คุณเองเสียมากกว่าที่ปกปิดเรื่องแย่ๆในวงการยุติธรรม

สรุปคือคุณไม่อ่านที่ผมจะสื่อเรื่องระบบกล่าวหากับระบบไต่สวน
แนะนำว่าไปศึกษามาใหม่ครับ

หลักฐานทางเทคโนโลยีถือเป็นหลักฐานที่เข้มแข็งมากๆ ถ้ามันไม่มี ก็บอกอะไรไมไ่ด้เลย เขาอาจจะทำ หรืออาจจะโดนใส่ร้ายก็เป็นไปได้ทั้งหมด ไม่มีใครสงสัยนายอัจฉริยะนี่เลยหรือ ว่าเป็นใครมาจากไหน ทำไมจู่ๆมาตีสนิทเพื่อหาข้อมูลแล้วไปร้องทุกข์กล่าวโทษกันดื้อๆ แถมไปสืบขนาดรู้ว่าบ้านอยู่ไหนอีก?แถมคนcap ภาพหลักฐานชิ้นสำคัญเป็นคนละคนกับคนร้องทุกข์ และไม่ได้มาเป็นพยานอีก?

อย่างข้อมูลที่อ้างว่าทราบ จริงๆมันก็ใช้social engineering รวบรวมได้ แบบที่ผมพอจะบอกได้ว่า คุณเคยอยู่ ทำงาน หรือเรียนที่จีนมาก่อน ทั้งๆที่ผมก็ไม่ได้รู้จักคุณเป็นการส่วนตัว

ถ้าจะอ่านต้องอ่านตั้งแต่พยานโจทก์พยานจำเลยครับ
ปัญหาคือหลักฐานและพยานแต่ล่ะปากล้วนแล้วแต่เป็นพยานที่มีน้ำหนักน้อยทั้งนั้น
คือถ้าเรียนนิติศาสตร์มาบ้างก็น่าจะทราบดีว่า
พยานเอกสารน้ำหนักดีกว่าพยานบุคคล
ประจักษ์พยานน้ำหนักดีกว่าพยานบอกเล่า

แต่จากเนื้อในที่อ่านดูพยานฝ่ายโจทก์ส่วนใหญ่เป็นพยานบุคคลและล้วนแล้วแต่เป็นพยานบอกเล่าทั้งสิ้น (ไม่รวมพยานผู้เชียวชาญ)
พยานปากอื่นๆก็คือเห็นข้อความจาก Tui Fishing มาแทบทั้งหมด
คือดูภาพที่ถูกตัดแปะมาแล้วมันน่าสงสัยที่ว่าทำไมโจทก์ไม่เบิกตัวเจ้าของเพจ Tui Fishing มาเป็นพยานทั้งๆที่เป็นประจักษ์พยาน

คือถ้าเอาความน่าสงสัยในตัวจำเลยมาอ้างว่าจำเลยกระทำผิด
มันผิดหลักวิธีพิจารณาความอาญาสุดๆ
ในคดีอาญาหลักมันมีอยู่ว่าจะลงโทษจำเลยได้ก็ต่อเมื่อปราศจากความสงสัยว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด
แต่ในคำพิพากษามันขัดกับฎีกาหลายๆฎีกาอยู่นะอ่านดูในคำพิพากษายังดูเหมือนว่าศาลยังคงสงสัยอยู่บ้างแต่กลับลงโทษจำเลย ผมพอเข้าใจว่าทำไมคนในอยากออกคนนอกอยากเข้า
พิพากษาถ้าสุดท้ายผิดตัวจริงๆ บาปกรรมตกกับผู้พิพากษาคณะนั้นๆ

ถ้าศาลชั้นต้นตัดสินกันแบบนี้ไม่ต้องมีหรอกครับศาล
ส่วนพยานเบิกความไม่พลาดเลยมันซักซ้อมพยานกันได้ไม่แปลก
อย่าได้เอาเป็นสาระสำคัญ
คือถ้าศาลตัดสินกันแบบนี้แม้แต่คนทั่วไปยังสงสัย ได้ถึงกลียุคแน่นอนครับ
มันจะเข้าสู่ยุคศาลเตี้ยกันแทน

ผมไม่กลัวที่จะวิจารณ์ศาลเพราะผมก็จบนิติศาสตร์มาโดยตรง

ในคดีต่างๆ เราสามารถแพ้คดีได้จากวิธีพิจารณาความได้ป่าว เช่นเราไม่ส่งสำเนาให้คู่ความ อันนี้ผมขอความรู้นะ เพราะหลักฐานใช้ไม่ได้ ซึ่งเป็นหลักฐานเดียวที่มีน้ำหนักของเรา

Khow Fri, 22/01/2016 - 07:13

In reply to by att

แพ้ได้ แล้วแต่กรณี
แต่การส่งสำเนาคู่ความนั้นจำไม่ผิดเราแค่ไปยื่นที่ฝ่ายงานนั้นๆของศาลไม่ต้องไปส่งสำเนาเองทางศาลจะส่งส่งสำเนาคู่ความไปให้คู่ความของเราเอง พูดง่ายๆคือไม่จำเป็นต้องส่งเอง ถ้าจ้างทนายเขาต้องทำให้เราอยู่แล้วมันเป็นงานของเขา
แต่มีบางกรณีที่แพ้เพราะวิธีพิจารณาความอาญา เช่น ฟ้องผิดตัว วันที่กระทำความผิดนั้นเป็นวันหลังกระทำผิด (คนปกติคงไม่สามารถรู้ถึงการกระทำผิดในอนาคตได้) ทำให้ถูกยกฟ้องก็มี

Fourpoint Fri, 22/01/2016 - 06:59

In reply to by att

คุ้นๆว่า เคยมีคนเล่นประเด็นนี้ในคดีอื่น โดยเฉพาะเรื่องการ"สอบสวนลับ"

แต่สุดท้ายเขาก็ยกประโยชน์ให้โจทก์ ด้วยการบอก่า เพราะเป็นเรื่อง"ความมั่นคง"จึง"จำเป็น"ต้องกระทำการที่ไม่ปกติ.....

ที่ศาลตัดสินจำเลยทั้งที่ยิงมีข้อสงสัย น่าจะมาจาก 112 หรือไม่
ถ้าเป็น พรบ คอม กับหมิ่นประมาททั่วไปน่าจะรอด ?

ถ้าคิดว่าคำสั่งหรือพิพากษาศาลถูกทั้งหมดผมอยากให้ดูกรณีตัวอย่าง
สั่งไม่ให้ประกันตัวคนขับแท็กซี่ ให้เหตุผลว่าเป็นคดีร้ายแรง ทั้งๆที่จำเลยที่อยู่เป็นหลักแหล่งและไม่มีพฤติการณ์หลบหนี
สุดท้ายผู้ต้องหารอดเพราะคนร้ายตัวจริงก่อคดีอีกครั้ง (ถ้าคนร้ายฉลาดรอแพะโดนโทษประหารคงได้ตายฟรีๆ)

อีกคดีให้ประกันตัวนายตำรวจซึ่งถูกศาลชั้นต้นพิพากษา (น่าจะประหารชีวิต) ในคดีฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (คดีร้ายแรงและมีโทษสูง) ศาลกลับให้ประกันตัว

ดังนั้นอย่าได้แปลกใจว่าประชาชนทำไมไม่เชื่อมั่นในศาลก็ตัวอย่างที่หามาตรฐานในการใช้ดุลยพินิจไม่ได้มันมีเยอะมาก
ผู้พิพากษาหลายคนอยากลาออกเพราะไม่อยากมีเวรกรรมติดตัว

ความเชื่อที่ว่าฝ่ายการเมืองชักนำน่ะ ถ้ามันไม่มีมูลคนจะเชื่อเหรอก็มันคาตาขนาดนี้
สำหรับผมใครมาชักนำก็ไม่เชื่ออยู่แล้วเพราะต้องดูและพิจารณาด้วยตัวเอง

จนอธิบดีศาลชั้นต้นต้องออกมาชี้แจง

อ. คณิต ณ นคร เคยให้ความเห็นเรื่องคำสั่งเกี่ยวกับการประกันตัว ว่า "ไม่มีมาตรฐาน"

ยิ่งเรียนลึกจะยิ่งเห็นสนิมจากด้านในเลยครับ อย่าว่าคนในวงการการเมืองชี้นำเลยครับ
คนในด้วยกันเองยังไม่เชื่อเลยครับในคำตัดสินบางคดี

อ่านแล้วน้ำตาจะไหล นี่ผมต้องอยู่กับระบบงี่เง่าๆแบบนี้ไปจนตายเลยหรือเนี่ย

จากมุมมองของคนใน หนทางที่จะเปลี่ยนแปลงพอจะมองเห็นมั่งมั๊ยครับ แค่แสงสว่างปลายอุโมงก็ยังดี

จริงๆมีการขัดกันในองค์กรว่าจะปฏิรูปศาลหลายทีแล้วแต่ไม่เป็นผล
ผู้พิพากษาที่ดีตั้งใจทำงานก็มีแต่ปัญหามาจากระบบด้วยส่วนหนึ่ง
หลายคนมักคิดว่าศาลตัดสินไปตามหลักฐานแต่ปัญหามาจากการใช้ดุลยพินิจของศาลที่บางครั้งเรียกว่า อำเภอใจก็ว่าได้
การไม่ให้ประกันตัวแถมยังไม่ให้พบทนายก็ไม่ต่างจากเตะฟุตบอลแล้วอีกฝั่งไม่มีกฎการล้ำหน้านั่นแหละครับ

แล้วก็มาบ่นว่าคนทำไมไม่เชื่อถือศาล อย่าว่าแต่คนธรรมดาเลยครับนักกฎหมายด้วยกันยังไม่เชื่อเลย
ตราบใดที่ศาลไม่ปรับปรุงการใช้ดุลยพินิจ (มีฎีกาองค์ประชุมใหญ่ไว้ทำไม จริงๆน่าจะออกเป็นระเบียบเรื่องการใช้ดุลยพินิจให้ชัดเจนไม่ใช่ออกแนวตามอำเภอใจแบบนี้) ดุลยพินิจถ้าผิดพลาดขึ้นมาคนที่เดือดร้อนคือคู่ความ
บางคดีจำเลยตายคาคุกแต่มีคนไปขุดคุ้ยดคีมาทำจนทราบว่าจำเลยบริสุทธิ์ ด้วยซ้ำไป
"ความยุติธรรมที่ล่าช้าคือความไม่ยุติธรรม"

บ้านเมืองเราลุกเป็นไฟก็เพราะสิ่งนี้แถมมีการเลือกปฏิบัติอีก
ไม่งั้นไม่โดนนานาชาติประเมินให้อยู่อันดับท้ายๆหรอกครับ

เรื่องความงี่เง่าในระบบไปนั่งเรียนเนติแล้วฟังเองครับ
เรื่องส่วนนี้มีหลุดมาในการบรรยายแต่ไม่หลุดในคำบรรยายที่เป็นหนังสือ

ขอขุดกระทู้นี้แล้วกันนะ

ตอนนี้มีข่าวว่านายอัจฉริยะ รับตังแม่เด็กเหยื่อค้ากาม 15,000 ไปแล้วนิ่งๆด้วยนะ หลังจากไม่นานมานี้ออกตัวแรงว่าครูไม่ใช่แพะแต่เป็นแกะด้วย

edit: ติดตามต่อได้ที่ 1,2

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find Hub
public://topics-images/find.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png
Airbnb
public://topics-images/airbnb.png
PS5
public://topics-images/ps5.png
Krafton
public://topics-images/krafton.png
Doom
public://topics-images/doom-game-s_logo.svg_.png
AMD
public://topics-images/amd_logo.svg_.png
GTA
public://topics-images/gta_0.png
DoorDash
public://topics-images/doordash.png
YouTube
public://topics-images/yt.png
YouTube Music
public://topics-images/yt-music.png
Facebook
public://topics-images/fb.png
iQiyi
public://topics-images/iqiyi_0.png
Viu
public://topics-images/viu.png
Amazon Prime Video
public://topics-images/prime-vid.png
Spotify
public://topics-images/spotify.jpg
Apple TV
public://topics-images/apple-tv.png
HBO Max
public://topics-images/max.png
Threads
public://topics-images/threads.png
Alexa
public://topics-images/alexa.png
Kindle App
public://topics-images/kindle.png
Shopee
public://topics-images/shopee.png
Waze
public://topics-images/waze.png
Bilibili
public://topics-images/bili.png
Google Maps
public://topics-images/maps.png
Apple Music
public://topics-images/apple-music.png
Claude
public://topics-images/claude.png
TikTok
public://topics-images/tiktok.png
Xbox
public://topics-images/xbox.png
Tesla
public://topics-images/tesla.png
Chrome
public://topics-images/chrome.png
Google Calendar
public://topics-images/gcal.png
Google Home
public://topics-images/ghome.png
Google Meet
public://topics-images/meet.png
NotebookLM
public://topics-images/notebooklm.png
Reddit
public://topics-images/reddit.png
Assassin’s Creed
public://topics-images/ac.png
Mark Zuckerberg
public://topics-images/zuck.jpg
Meta
public://topics-images/meta.png
Meta AI
public://topics-images/meta-ai.png
Epic Games
public://topics-images/epic_games_logo.svg_.png
Unreal
public://topics-images/unreal_engine_logo-new_typeface-svg.png
Fortnite
public://topics-images/fortnite.png
DeepMind
public://topics-images/deepmind.png
Databricks
public://topics-images/databricks.png
Netflix
public://topics-images/netflix-logo.png
Microsoft Azure
public://topics-images/azure.png
Microsoft Copilot
public://topics-images/microsoft_copilot_icon.svg_.png
Bing
public://topics-images/bing.png
EA
public://topics-images/ea.png
Intel
public://topics-images/intel.png
Amazon
public://topics-images/amazon.png
AWS
public://topics-images/aws.png
Zoom
public://topics-images/zoom.png
Dropbox
public://topics-images/dropbox_0.png
Dell Technologies
public://topics-images/dell-tech.png
Nothing
public://topics-images/nothing.svg_.png
Microsoft Teams
public://topics-images/teams.png
Mojang
public://topics-images/mojang.png
Minecraft
public://topics-images/minecraft.png
Redis
public://topics-images/redis_logo.svg_.png
Ubisoft
public://topics-images/ubisoft_logo.svg_.png
Elden Ring
public://topics-images/elden.png
Brave
public://topics-images/brave.png
Opera
public://topics-images/opera.png
Vivaldi
public://topics-images/vivaldi.png
Microsoft Edge
public://topics-images/edge.png
Duolingo
public://topics-images/duolingo.png
LinkedIn
public://topics-images/linkedin.png
Canva
public://topics-images/canva.png
Realme
public://topics-images/realme.png
NASA
public://topics-images/nasa-logo.png
Booking.com
public://topics-images/booking.png
Agoda
public://topics-images/agoda.png
Bolt
public://topics-images/bolt.png
Temu
public://topics-images/temnu.png
LINE
public://topics-images/line.png
Facebook Messenger
public://topics-images/messenger.png
WhatsApp
public://topics-images/whatsapp.png
Telegram
public://topics-images/telegram.png
Signal
public://topics-images/signal.png
X.com
public://topics-images/x.png
Grok
public://topics-images/grok.png
xAI
public://topics-images/xai.png
CapCut
public://topics-images/capcut.png
Edits
public://topics-images/edit.png
Google One
public://topics-images/gone.png
Tinder
public://topics-images/tinger.png
Whoscall
public://topics-images/whoscall.png
OneDrive
public://topics-images/onedrive.png
Lightroom
public://topics-images/lr.png
Meitu
public://topics-images/meitu.png
Outlook
public://topics-images/outlook.png
Excel
public://topics-images/excel.png
PowerPoint
public://topics-images/ppt.png
Microsoft Word
public://topics-images/word.png
Phone Link
public://topics-images/phone-link.png
OneNote
public://topics-images/onenote.png
Windows App
public://topics-images/windows-app.png
Notion
public://topics-images/notion.png
Google Drive
public://topics-images/drive.png
YouTube Kids
public://topics-images/yt-kids.png
Gboard
public://topics-images/gboard.png
DeepSeek
public://topics-images/deepseek_logo.svg_.png
Prince of Persia
public://topics-images/prince-persia.png
Sony
public://topics-images/nq0nd2c0_400x400.jpg
Cisco
public://topics-images/jmyca1yn_400x400.jpg
Alibaba Cloud
public://topics-images/qm43orjx_400x400_cloud.png
Coinbase
public://topics-images/consumer_wordmark.png
CarPlay
public://topics-images/carplay.png
Rust
public://topics-images/rust-logo-blk.png
Red Hat
public://topics-images/redhat.png
Anthropic
public://topics-images/anthropic.png
Xcode
public://topics-images/xcode.png
Tim Cook
public://topics-images/tim-cook.jpg
Donald Trump
public://topics-images/trump.jpg
Microsoft Surface
public://topics-images/surface.jpg
Copilot+ PC
public://topics-images/copilotpc.png
Stellar Blade
public://topics-images/stellar-blade.jpg
Snapdragon
public://topics-images/snapdragon_chip.png
Qualcomm
public://topics-images/qualcomm-logo.svg_.png
CoreWeave
public://topics-images/coreweave.png
Ford
public://topics-images/ford.png
Xiaomi
public://topics-images/xiaomi.png
Google Cloud
public://topics-images/google_cloud_logo.svg_.png
PlayStation Network
public://topics-images/psn.png
PlayStation Plus
public://topics-images/ps-plus.png
Windsurf
public://topics-images/windsurf.png
Square Enix
public://topics-images/square-enix.png
MIT
public://topics-images/x7hyjl3t_400x400.jpg
Zoox
public://topics-images/zoox.jpg
Evernote
public://topics-images/1neatidg_400x400.jpg
Magic the Gathering
public://topics-images/magic.png
Call of Duty
public://topics-images/cod.png
NVIDIA
public://topics-images/nvidia_logo.svg_.png
Satya Nadella
public://topics-images/nadella.png
Nintendo
public://topics-images/nintendo.png
Japan
public://topics-images/japan_flag.png
China
public://topics-images/china-flag-sq.png
Sam Altman
public://topics-images/sam-altman.png
SNK
public://topics-images/snk_logo.svg_.png
EPYC
public://topics-images/epyc.png
HPE
public://topics-images/hpe.png
Juniper
public://topics-images/juniper.png
CMA
public://topics-images/cma.png
App Store
public://topics-images/app-store.png
DoJ
public://topics-images/doj.png
Siri
public://topics-images/siri.png
Apple Intelligence
public://topics-images/apple-intelligence.png
Acer
public://topics-images/acer.png
GeForce
public://topics-images/geforce.png
Omen
public://topics-images/omen.png
HP
public://topics-images/hp.png
Alienware
public://topics-images/alienware.png
Dell
public://topics-images/dell.png
Bungie
public://topics-images/bungie.png
Marathon
public://topics-images/marathon.png
Intel Arc
public://topics-images/badge-arc-graphics.png
GitHub
public://topics-images/8zfrryja_400x400.png
GitHub Copilot
public://topics-images/copilot.png
Foxconn
public://topics-images/foxconn_0.png
Visual Studio
public://topics-images/vs.png
Visual Studio Code
public://topics-images/vscode.png
WSL
public://topics-images/wsl.png
Linux
public://topics-images/linux.png
Tencent
public://topics-images/tencent_logo_2017.svg_.png
Entra
public://topics-images/microsoft_entra_id_color_icon.svg_.png
RHEL
public://topics-images/rhel-icon.png
MSI
public://topics-images/msi-logo-for_digital_use_b.png
MCP
public://topics-images/mcp.png
Docker
public://topics-images/docker.png
RISC-V
public://topics-images/risc-v-logo.svg_.png
Fedora
public://topics-images/fedora.png
ASUS
public://topics-images/asus.png
ROG
public://topics-images/rog-logo_red.png
Naughty Dog
public://topics-images/naughty-dog.png
AIS
public://topics-images/357073423_657473419752809_8491928084596189631_n.png
National Telecom
public://topics-images/nt.jpg
Elon Musk
public://topics-images/elon_musk_2015_0.jpg
OpenShift
public://topics-images/openshift-logotype.svg-0.png
Shift Up
public://topics-images/shiftup.png
Bethesda
public://topics-images/bethesda.png
The Elder Scrolls
public://topics-images/tes.png
CATL
public://topics-images/img_7841.png
Radeon
public://topics-images/radeon.png
Borderlands
public://topics-images/borderlands4.png
Android XR
public://topics-images/android-xr.png
Ninja Theory
public://topics-images/ninja.jpg
Jonathan Ive
public://topics-images/ive.jpg
Bitcoin
public://topics-images/bitcoin.svg_.png
Baidu
public://topics-images/baidu.jpg
Wear OS
public://topics-images/wearos.png
Activision
public://topics-images/activision.svg_.png
Netmarble
public://topics-images/netmarble.png
NetEase
public://topics-images/netease.png
Fujifilm
public://topics-images/l_9ycfw2_400x400.png
Google Vids
public://topics-images/vids.png
Google Docs
public://topics-images/docs.png
Google Sheets
public://topics-images/sheets.png
Google Chat
public://topics-images/gchat.png
Google Slides
public://topics-images/slides.png
Google Photos
public://topics-images/photos_0.png
Snapchat
public://topics-images/snapchat.png
Google TV
public://topics-images/gtv.png
Android Auto
public://topics-images/aauto.png
Gmail
public://topics-images/gmail.png
Google Forms
public://topics-images/forms.png
Google Workspace
public://topics-images/workspace_0.png
Android Studio
public://topics-images/android_studio_logo_2024.svg_.png
Pocket
public://topics-images/spnhfky8_400x400.png
Mozilla
public://topics-images/mozilla.jpg
Thunderbird
public://topics-images/thunderbird.png
Bluesky
public://topics-images/bluesky.jpg
Warhammer
public://topics-images/warhammer-bw.png
Relic Entertainment
public://topics-images/relic_entertainment_logo.svg_.png
Age of Empires
public://topics-images/age_of_empires_franchise_logo.png
Azul
public://topics-images/azul.png
Meta Quest
public://topics-images/meta-quest.png
Informatica
public://topics-images/qzlzwpsp_400x400.jpg
Salesforce
public://topics-images/salesforce.com_logo.svg_.png
Steam
public://topics-images/steam.png
Valve
public://topics-images/valve_logo.svg_.png
SteamOS
public://topics-images/steamos_wordmark.svg_.png
Steam Deck
public://topics-images/steam-deck.png
Arch Linux
public://topics-images/archlinux-logo-standard-version.svg_.png
Half-Life
public://topics-images/orange_lambda.svg_.png
Counter-Strike
public://topics-images/counter-strike.png
OnlyFans
public://topics-images/onlyfans_logo_icon_blue.png
Strava
public://topics-images/strava.png
Mortal Kombat
public://topics-images/mortal-kombat.png
Canon
public://topics-images/canon.png
Snipping Tool
public://topics-images/snipping.png
Microsoft Paint
public://topics-images/paint.png
Microsoft Photos
public://topics-images/photos.png
File Explorer
public://topics-images/file_explorer.png
Git
public://topics-images/git-logo.svg_.png
Star Wars
public://topics-images/star-wars.png
Activision Blizzard
public://topics-images/actvision-blizz.png
Microsoft Store
public://topics-images/microsoft-store.png
France
public://topics-images/france.png
Ricoh
public://topics-images/ricoh_logo_2005.svg_.png
Xeon
public://topics-images/xeon.png
.NET
public://topics-images/dotnet.png
SQL Server
public://topics-images/microsoft_sql_server_2025_icon.svg_.png
Power BI
public://topics-images/power-bi.png
Microsoft Fabric
public://topics-images/fabric.png
MSN
public://topics-images/msn.png
SharePoint
public://topics-images/sharepoint.png
Ubuntu
public://topics-images/ubuntu-logo-2022.svg_.png
Debian
public://topics-images/debian-openlogo.svg_.png
LLM
public://topics-images/7410e129-824e-479c-93c7-558e87130b8f.png
Meituan
public://topics-images/meituan.png
Logitech
public://topics-images/logitech_logo.svg_.png
Llama
public://topics-images/llama.png
Oracle
public://topics-images/oracle_logo.svg_.png
Arc Browser
public://topics-images/arc.png
Circle
public://topics-images/circle.png
T-Mobile
public://topics-images/tmobile.jpg
Starlink
public://topics-images/starlink.jpg
SpaceX
public://topics-images/hbri04tm_400x400.jpg
Apple Arcade
public://topics-images/en-us-large-1x.png
TypeScript
public://topics-images/typescript.svg_.png
AlmaLinux
public://topics-images/almalinux.png
Subnautica
public://topics-images/subnautica.png
Clair Obscur
public://topics-images/clair-33.png
Dragon Quest
public://topics-images/dragon_quest_logo.png
Twitter
public://topics-images/twitter300.png
One UI
public://topics-images/one-ui.png
Fire TV
public://topics-images/amazon_fire_tv_2024.svg_.png
Stellantis
public://topics-images/stellantis.png
Taobao
public://topics-images/taobao.png
WeChat
public://topics-images/wechat.png
Alipay
public://topics-images/alipay.png
DingTalk
public://topics-images/dingtalk.png
Alibaba
public://topics-images/alibaba-group-logo.svg_.png
Pokemon
public://topics-images/international_pokemon_logo.svg_.png
NBTC
public://topics-images/nbtc.png
CD Projekt
public://topics-images/cd_projekt_logo.svg_.png
Cyberpunk 2077
public://topics-images/cyberpunk.png
The Witcher
public://topics-images/witcher.png
Boeing
public://topics-images/boeing.png
Discord
public://topics-images/discord.png
Grammarly
public://topics-images/grammarly.png
Google Lens
public://topics-images/lens.png
WordPress
public://topics-images/wordpress.png
Automattic
public://topics-images/automattic.png
Zotac
public://topics-images/zotac.png
Black Forest Labs
public://topics-images/flux.png
Sega
public://topics-images/sega.png
Twitch
public://topics-images/twitch.png
Person
public://topics-images/gemini_generated_image_ddj47iddj47iddj4.png
IntelliJ
public://topics-images/intellij.png
CrowdStrike
public://topics-images/cs_logo.png
Bandai Namco
public://topics-images/bandainamco.png
Oppo
public://topics-images/oppo.png
Dontnod
public://topics-images/don-t_nod.png
Hugging Face
public://topics-images/huggingface.png
Bixby
public://topics-images/logo_bixby_new.svg_.png
Gemma
public://topics-images/gemma.png
Flash Express
public://topics-images/flash.png
Lyft
public://topics-images/lyft.png
James Bond
public://topics-images/007.png
Snowflake
public://topics-images/snowflake.png
IO Interactive
public://topics-images/ioi.png
The Sims
public://topics-images/the_sims.png
Character.AI
public://topics-images/character_ai.png
IBM
public://topics-images/xy93qvy4_400x400.png
USB
public://topics-images/usb-logo.png
Zynga
public://topics-images/zynga.svg_.png
Broadcom
public://topics-images/broadcom.png
Photoshop
public://topics-images/ps.png
Adobe
public://topics-images/adobe.png
Premiere Pro
public://topics-images/premier.png
Database
public://topics-images/gemini_generated_image_nlgayenlgayenlga.png
GeForce Now
public://topics-images/gf-now.png
Go
public://topics-images/o6aczwfv_400x400.png
ChatGPT
public://topics-images/chatgpt.png
Final Fantasy
public://topics-images/ff.png
Swift
public://topics-images/swift_logo.svg_.png
Cursor
public://topics-images/cursor.png
AirPods
public://topics-images/airpods_pro2.png
AirPods Max
public://topics-images/airpodsmax.png
Koei Tecmo
public://topics-images/koei_tecmo.png
Team Ninja
public://topics-images/team-ninja.png
Disney+
public://topics-images/disney-plus.png
Capcom
public://topics-images/capcom.png
Pornhub
public://topics-images/pornhub-logo.svg_.png
Proton
public://topics-images/proton.png
PlayStation
public://topics-images/playstation.png
GOG
public://topics-images/gog-logo.png
Mistral
public://topics-images/mistral.png
No Man's Sky
public://topics-images/nomansky.png
Hello Games
public://topics-images/hello-games-logo.png
SCB
public://topics-images/scb.png
Kasikorn Bank
public://topics-images/kbank.png
Grasshopper Manufacture
public://topics-images/grasshopper-100.png
Metal Gear
public://topics-images/metal_gear_franchise_logo.svg_.png
Google Wallet
public://topics-images/g-wallet.png
PayPal
public://topics-images/paypal.png
Mark Cuban
public://topics-images/cuban.jpg
Giant Squid
public://topics-images/giant-squid.png
Black Myth: Wukong
public://topics-images/blackmyth.jpg
Deathloop
public://topics-images/deathloop_logo.webp_.png
Resident Evil
public://topics-images/residentevil.png
Street Fighter
public://topics-images/street_fighter_logo.png
Ryu Ga Gotoku
public://topics-images/ryugagotokustudio.png
Like a Dragon
public://topics-images/lad-logo.png
Sonic the Hedgehog
public://topics-images/sonic.png
Blender
public://topics-images/logo_blender.svg_.png
Volvo
public://topics-images/volvo-iron-mark-black.svg_.png
Atomic Heart
public://topics-images/atomic.png
Hitman
public://topics-images/hitman.png
Mac
public://topics-images/apple-finder.png
Arc Raiders
public://topics-images/arc-raiders.jpg
Krungsri Bank
public://topics-images/krungsri.png
Lenovo
public://topics-images/branding_lenovo-logo_lenovologoposred_low_res.png
Owlcat Games
public://topics-images/owlcat.png
Scale
public://topics-images/scale_ai.png
The Outer Worlds
public://topics-images/1600px-outerworlds-logo.png
Obsidian Entertainment
public://topics-images/obsidian_entertainment.svg_.png
Avowed
public://topics-images/avowed.png
Grounded
public://topics-images/grounded.png
Atlus
public://topics-images/atlus_logo_thin_stroke_277x108.png
High on Life
public://topics-images/high-logo.png
Ryzen
public://topics-images/ryzen.png
Flight Simulator
public://topics-images/microsoft_flight_simulator.png
Indiana Jones
public://topics-images/indiana_jones_logo.svg_.png
Dawnwalker
public://topics-images/the-blood-of-dawnwalker-logo-light.png
Rebel Wolves
public://topics-images/rebel-wolves-logo-black.png
inXile
public://topics-images/inxile_entertainment_logo.png
Double Fine Productions
public://topics-images/double-fine.png
Game Freak
public://topics-images/game_freak_logo.svg_.png
iOS 26
public://topics-images/ios26.png
Tahoe
public://topics-images/macos26.png
iPadOS 26
public://topics-images/ipados26.png
Zelda
public://topics-images/zelda_logo.svg_.png
watchOS 26
public://topics-images/watchos26.png
Apple Vision Pro
public://topics-images/applevisionpro.png
Amiibo
public://topics-images/amiibo.png
Thunder Lotus
public://topics-images/thunder-lotus.png
Games
public://topics-images/role-playing_video_game_icon.svg_.png
Waymo
public://topics-images/waymo.png
Grab
public://topics-images/grab_0.png
Fallout
public://topics-images/fallout_logo.svg_.png
Warner Bros. Discovery
public://topics-images/wbd.png
Splatoon
public://topics-images/splatoon.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.png
Kingston
public://topics-images/kingston.png
Roblox
public://topics-images/roblox_thumb.png
Google Pixel
public://topics-images/pixel_wordmark.svg_.png
Jensen Huang
public://topics-images/jensen-headshot-1906-600x338.png
Midjourney
public://topics-images/61396273.png
NBCUniversal
public://topics-images/umh_w5l-400x400.png
Disney
public://topics-images/disney.png
Snap
public://topics-images/snap_inc.png
Wikipedia
public://topics-images/wikipedia-logo-v2.svg_.png
Kaggle
public://topics-images/kaggle_logo.svg_.png
Wikimedia Foundation
public://topics-images/wikimedia_foundation.png
IonQ
public://topics-images/ionq.png
Apple TV+
public://topics-images/apple_tv_plus.png
Slack
public://topics-images/slack.png
Webex
public://topics-images/webex.png
Wayland
public://topics-images/wayland.png
GNOME
public://topics-images/gnomelogo.svg_.png
X.Org
public://topics-images/xorg.png
PCI-SIG
public://topics-images/pci-sig_logo.png
PCI
public://topics-images/pci_express.svg_.png
Instinct
public://topics-images/instinct.png
MariaDB
public://topics-images/img_9067.png
Mattel
public://topics-images/mattel-2019-svg.png
Silent Hill
public://topics-images/silent_hill_2022_logo.png
Bloober Team
public://topics-images/blooberlogo260b.png
India
public://topics-images/flag_of_india.png
Nexon
public://topics-images/nexon.svg_.png
Helldivers
public://topics-images/helldivers_print_logo.png
Mac Mini
public://topics-images/mac-mini-202410-gallery.png
Dyson
public://topics-images/dyson.png
Mario Kart
public://topics-images/mario-kart-100.png
Germany
public://topics-images/flag_of_germany.svg_.png
Gears of War
public://topics-images/gears-of-war-logo-2006.png
Warren Buffett
public://topics-images/buffett.png
Craig Federighi
public://topics-images/craige1.png
Boston Dynamics
public://topics-images/boston.png
aespa
public://topics-images/aespa.png
NewJeans
public://topics-images/newjeans.png
iPhone 16
public://topics-images/iphone16_.png
iPhone 16 Pro
public://topics-images/iphone16_pro.png
Indonesia
public://topics-images/indo_flag.png