Canon

ปัญหาผู้ใช้ซื้อเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ทแล้วนำไปดัดแปลงติดกล่องเก็บน้ำหมึกภายนอก หรือที่เราเรียกกันว่า “หมึกแท็งก์” มีมายาวนาน ผู้ผลิตอ้างว่าอาจเสี่ยงกับน้ำหมึกที่ไม่ได้คุณภาพและอาจทำให้หัวพิมพ์ (printhead) เสียหายได้ โดยข้อดีของการติดแท็งก์คือสามารถจุน้ำหมึกได้ปริมาณมากกว่าตลับหมึก (cartridge) แบบดั้งเดิม และมองเห็นปริมาณน้ำหมึกที่เหลืออยู่ได้ด้วยตาเปล่า ภายหลังผู้ผลิตหลายยี่ห้อทนไม่ไหวเพราะไม่สามารถโน้มน้าวให้ผู้ใช้กลับมาใช้หมึกแบบตลับได้ จึงตัดสินใจออกเครื่องพิมพ์ของตนแบบเป็นแท็งก์มาขายซะเลย

Canon PIXMA G3000 เป็นเครื่องพิมพ์ในซีรีส์ G ที่เป็นไลน์ใหม่ของแคนอน ขณะนี้มีออกมาด้วยกันสามรุ่น คือ G1000, G2000 และ G3000 เรียงจากรุ่นล่างไปรุ่นท็อป เป็นเครื่องพิมพ์ระบบแท็งก์ทุกตัว โดยรุ่นที่ผมจะรีวิวครั้งนี้คือ G3000 เป็นรุ่นท็อปที่มีฟีเจอร์ครบครันสำหรับการใช้งานตามบ้าน และผู้ใช้ทั่วไป

สเปก

จะเห็นว่าความแตกต่างของทั้งสามรุ่นชัดเจนเข้าใจง่าย คือรุ่น G1000 เป็นเครื่องพิมพ์ซิงเกิลฟังก์ชัน พิมพ์ได้อย่างเดียว, รุ่น G2000 เพิ่มสแกนเนอร์เข้ามา และรุ่น G3000 เพิ่มฟีเจอร์เชื่อมต่อผ่าน Wi-Fi และฟีเจอร์เกี่ยวกับคลาวด์เข้ามา นอกจากนี้ยังรับประกันนานกว่ารุ่นอื่น

ฮาร์ดแวร์

Canon PIXMA G3000 มาในบอดี้สีดำ ขนาดใกล้เคียงเครื่องพิมพ์ตามบ้านทั่วไป สิ่งแรกที่สะดุดตาคือแท็งก์เก็บหมึกบริเวณด้านซ้ายและขวาของเครื่อง โดยแท็งก์สีดำอยู่ทางซ้ายมีขนาดใหญ่ ส่วนสีฟ้า, บานเย็น และเหลือง มีขนาดเล็กกว่า อยู่ด้านขวามือ

แท็งก์หมึกดำ


แท็งก์หมึกสี ด้านข้างก็มีช่องให้ดูระดับหมึกด้วย

ปุ่มควบคุมอยู่ด้านบน

สแกนเนอร์ขนาด A4

ในกล่องมีหมึกให้มา 4 สี แต่เครื่องรีวิวมีสีดำให้มาเพิ่มอีก 2 ขวด (หมึกผลิตที่ญี่ปุ่น)

ด้านหลังมีพอร์ต USB Type B

ลักษณะพร้อมใช้งานเป็นแบบนี้

การติดตั้ง และเปิดใช้งานครั้งแรก

เมื่อเป็นเครื่องพิมพ์แบบแท็งก์ การติดตั้งจึงต่างกับเครื่องพิมพ์แบบตลับ ผู้ใช้ต้องบีบหมึกเข้าไปในแท็งก์แต่ละสีเอง โดยการเปิดจุกยางของแต่ละแท็งก์ออก จากนั้นเปิดขวดหมึกที่แถมมา (หน้าตาเหมือนยาหยอดตาขนาดยักษ์) ค่อยๆ จิ้มเข้าไปในรูเติมหมึก แล้วคว่ำลงตามรูป สุดท้ายก็บีบหมึกเข้าไปจนหมด และนำจุกยางมาปิดให้สนิท



ใต้ฝามีรูปวิธีเติมหมึก

ดึงจุกยางไปเสียบไว้ตรงเสาเสียบเล็กๆ ก่อนเติมหมึก ตรงนี้ผมว่าเป็นการออกแบบที่ดี


คว่ำขวดหมึกลงแล้วบีบหมึกเข้าแท็งก์

เติมจนถึงขีดที่กำหนด

การเติมหมึกสีสามสีที่เหลือก็ทำแบบเดียวกัน

ส่วนการติดตั้งหัวพิมพ์ต้องบีบตัวล็อกให้เปิดออก แล้วนำหัวพิมพ์ทั้งสองอันที่ได้มา (แบ่งเป็นหัวสำหรับสีดำอันนึง และอีกสามสีอีกอัน) ใส่เข้าไปในช่องตามที่มีอักษร B (Black) และ C (Color) กำกับอยู่ จากนั้นปิดล็อกและกดปุ่มสีน้ำเงินทั้งสองปุ่มลงไปเป็นอันเสร็จ


ตัวล็อกหัวพิมพ์

เปิดอ้าออกแล้ววางหัวพิมพ์ลงไป ในรูปคือติดตั้งแล้ว ชิ้นที่มีอักษร C และ B

ด้านใต้หัวพิมพ์ C (Color) หัวเดียวสามสี

การใช้งานครั้งแรกหลังจากเสียบปลั๊กแล้วกดเปิดเครื่อง ให้กดปุ่ม Stop ค้างไว้ เครื่องจะทำการ “ชาร์จหมึก” ใช้เวลาสักพักก็เสร็จ จากนั้นก็ติดตั้งไดรเวอร์ที่คอมพิวเตอร์ตามปกติ โดยเครื่องพิมพ์รุ่นนี้ไม่มีหน้าจอใดๆ การเชื่อมต่อ Wi-Fi จึงต้องทำผ่านสมาร์ทโฟน ผู้ใช้ต้องโหลดแอพมาติดตั้งและกรอกรหัส Wi-Fi ในแอพ แอพจะเชื่อมต่อเข้าไปที่เครื่องพิมพ์แบบ ad-hoc (ต่อตรงไม่ผ่านเราเตอร์) และเชื่อมต่อเครื่องพิมพ์เข้าเครือข่ายให้ จึงพร้อมใช้งาน

คุณภาพการพิมพ์

มาถึงส่วนที่สำคัญที่สุด คือคุณภาพการพิมพ์ ผมลองพิมพ์เอกสารทั่วไป รวมถึงรูปถ่ายลงกระดาษ A4 และใช้กล้องติดเลนส์มาโครถ่ายเจาะให้ดูกันเลยครับ

Disclaimer: ผมใช้กระดาษ A4 ที่แคนอนให้มา ไม่ทราบว่าเป็นกระดาษยี่ห้ออะไร ความหนากี่แกรม แต่จับดูแล้วคุณภาพโอเค ไม่บางมาก ส่วนตอนทดสอบพิมพ์รูปถ่าย เนื่องจากแคนอนไม่ได้ให้กระดาษโฟโต้มาด้วย และหากพิมพ์ลง A4 ธรรมดาจะให้คุณภาพที่แย่ และกระดาษจะเปื่อยเป็นคลื่นๆ เพราะใช้หมึกมากกว่าปกติ ผมจึงใช้กระดาษอิงค์เจ็ทส่วนตัวที่มีอยู่มาทดสอบ เป็นกระดาษด้านที่มีการโค้ทกันน้ำไว้ ทำให้ไม่เปื่อยยุ่ยเวลาพิมพ์รูปถ่าย แต่ก็ยังไม่ใช่กระดาษที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการพิมพ์รูปถ่ายอยู่ดีนะครับ

ทดลองพิมพ์เอกสารที่สร้างจาก Google Docs (ดูต้นฉบับได้ที่นี่)

ผมวางรูปเป็นคู่ๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเปรียบเทียบ โดยรูปบนเป็น standard quality และรูปล่างเป็น high quality จากนั้นตามด้วยรูปแบบครอป 100% นะครับ



ตัวหนา


ตัวหนังสือปกติ


หัวข้อตัวใหญ่


รูปในเอกสาร









รูปนี้คุณภาพ Standard ใช้กระดาษ A4 ที่แคนอนให้มา (กระดาษงอเพราะเปื่อยหลังพิมพ์สีเต็มหน้า)

รูปนี้เซ็ตไว้ว่าพิมพ์รูป หลอกเครื่องว่าใช้กระดาษโฟโต้ แต่จริงๆ ใส่กระดาษอิงค์เจ็ตแบบกันน้ำ พิมพ์สวยขึ้นมาก สังเกตสีผนังเหลืองนวล, สีเขียวใต้ชายคา


สองอันนี้ถ่ายเจาะ ไม่ได้ครอป


ถ่ายเจาะเช่นกัน

สแกนเนอร์

ผมได้ทดสอบการสแกนโดยสแกนหน้าปกแคตตาล็อก IKEA และโบรชัวร์ของไทยวัสดุทั้ง 300 และ 600dpi ทำงานได้ตามที่ควรจะเป็น สีเที่ยงตรงดี (ดาวน์โหลดไฟล์จากการสแกนได้ที่นี่)

แอพพลิเคชัน

แอพพลิเคชันและฟีเจอร์ที่ต้องใช้อินเทอร์เน็ตต่างๆ มีตามรูปนี้

สรุป

ข้อดี

  • หมึกแท็งก์ จุได้เยอะ พิมพ์ได้ยาวนาน
  • ไม่ต้องระแคะระคายว่าหมึกหมดจริงหรือไม่ เห็นชัดเจนกันไปเลย
  • คุณภาพการพิมพ์ถือว่าดี สำหรับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป
  • มี Quiet Mode ลองแล้วพบว่าเสียงดึงกระดาษเงียบลงมาก และพิมพ์ช้าลง
  • เปิดเครื่องเร็วมาก ไม่ถึงครึ่งนาทีก็พร้อมพิมพ์แล้ว
  • พิมพ์แบบไร้ขอบ (borderless) บนกระดาษธรรมดาได้ (ผมเคยเจอบางยี่ห้อบังคับว่าต้องเป็นกระดาษชนิดพิเศษเท่านั้น)
  • การประกอบ รวมถึงการออกแบบทั้งภายนอกและภายในทำได้ดีมาก
  • ประกันนานกว่ายี่ห้ออื่น

ข้อเสีย

  • ไม่มีหน้าจอ ทำให้การสั่งงานและการเชื่อมต่อ Wi-Fi ลำบากไปหน่อย
  • พิมพ์สองหน้าอัตโนมัติไม่ได้
  • ราคาค่อนข้างแพง ถ้าคิดว่าไม่เอาหมึกแท็งก์ ด้วยราคานี้จะสามารถซื้อเครื่องพิมพ์ที่มีถาดเก็บกระดาษ, สแกนเนอร์แบบ ADF และพิมพ์สองหน้าอัตโนมัติได้เลย

หมายเหตุ: เนื่องจากผมถ่ายรูปงานพิมพ์ด้วยเลนส์มาโคร ทำให้ดูเหมือนตัวหนังสือไม่คม แต่การดูด้วยตาเปล่าถือว่าคมใช้ได้สำหรับเครื่องพิมพ์คลาสนี้นะครับ

Hiring! บริษัทที่น่าสนใจ

CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's company cover
CP AXTRA Public Company Limited - Lotus's
CP AXTRA Lotus's is revolutionizing the retail industry as a Retail Tech company.
Token X company cover
Token X
Blockchain, ICO, Tokenization, Digital Assets, and Financial Service
Carmen Software company cover
Carmen Software
Hotel Financial Solutions
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd. company cover
Next Innovation (Thailand) Co., Ltd.
We are web design with consulting & engineering services driven the future stronger and flexibility.
United Information Highway Co., Ltd. company cover
United Information Highway Co., Ltd.
UIH is Thailand’s leading Digital Infrastructure and Solution Provider for Business
KKP Dime company cover
KKP Dime
KKP Dime บริษัทในเครือเกียรตินาคินภัทร
Kiatnakin Phatra Financial Group company cover
Kiatnakin Phatra Financial Group
Financial Service
Fastwork Technologies company cover
Fastwork Technologies
Fastwork.co เว็บไซต์ที่รวบรวม ฟรีแลนซ์ มืออาชีพจากหลากหลายสายงานไว้ในที่เดียวกัน
Thoughtworks Thailand company cover
Thoughtworks Thailand
Thoughtworks เป็นบริษัทที่ปรึกษาด้านเทคโนโยลีระดับโลกที่คว้า Great Place to Work 3 ปีซ้อน
Iron Software company cover
Iron Software
Iron Software is an American company providing a suite of .NET libraries by engineer for engineers.
CLEVERSE company cover
CLEVERSE
Cleverse is a Venture Builder. Our team builds several tech companies.
Nipa Cloud company cover
Nipa Cloud
#1 OpenStack cloud provider in Thailand with our own data center and software platform.
CDG GROUP company cover
CDG GROUP
Provider of IT solutions to public, state, and private sectors in Thailand for over 56 years
Bangmod Enterprise company cover
Bangmod Enterprise
The leader in Cloud Server and Hosting in Thailand.
CIMB THAI Bank company cover
CIMB THAI Bank
MOVING FORWARD WITH YOU - CIMB is the leading ASEAN Bank
Bangkok Bank company cover
Bangkok Bank
Bangkok Bank is one of Southeast Asia's largest regional banks, a market leader in business banking
Gofive company cover
Gofive
“We create world-class software experience”
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group company cover
KBTG - KASIKORN Business-Technology Group
KBTG - "The Technology Company for Digital Business Innovation"
Siam Commercial Bank Public Company Limited company cover
Siam Commercial Bank Public Company Limited
"Let's start a brighter career future together"
Icon Framework co.,Ltd. company cover
Icon Framework co.,Ltd.
Global Standard Platform for Real Estate แพลตฟอร์มสำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครบวงจร มาตรฐานระดับโลก
REFINITIV company cover
REFINITIV
The Financial and Risk business of Thomson Reuters is now Refinitiv
H LAB company cover
H LAB
Re-engineering healthcare systems through intelligent platforms and system design.
LTMH TECH company cover
LTMH TECH
LTMH TECH มุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สามารถช่วยพันธมิตรของเราให้บรรลุเป้าหมาย
Seven Peaks company cover
Seven Peaks
We Drive Digital Transformation
Wisesight (Thailand) Co., Ltd. company cover
Wisesight (Thailand) Co., Ltd.
The Best Choice For Handling Social Media · High Expertise in Social Data · Most Advanced and Secure
MOLOG Tech company cover
MOLOG Tech
We are Modern Logistic Platform, Specialize in WMS, OMS and TMS.
Data Wow Co.,Ltd company cover
Data Wow Co.,Ltd
We enable our clients to realize increased productivity by solving their most complex issues by Data
LINE Company Thailand company cover
LINE Company Thailand
LINE, the world's hottest mobile messaging platform, offers free text and voice messaging + Call
LINE MAN Wongnai company cover
LINE MAN Wongnai
Join our journey to becoming No.1 food platform in Thailand

ในบรรดาเครื่องปริ้น ink jet หมึกคมที่สุด ก็ต้อง lexmark ปริ้นแล้ว นึกว่าออกมาจากเลเซอร์เลยทีเดียว อีกเรื่องนึงคือ ทำไมต้องเป็นน้ำหมึกด้วย เทคโนโลยีเครื่องปริ้นทุกวันนี้ ถ้ายังใช้น้ำหมึก มันก็ไม่ๆด้ไกลไปกว่า 20 ปีที่แล้วเลยนะ

ผมไม่ได้ติดตามมานาน ตอนนี้มีอะไรดีกว่าน้ำหมึกครับ?
แล้วพวกไหนที่จะเหมาะกับปริ้นรูปถ่าย ลงกระดาษพวก Hahnemuhle glossy ครับ

ผมทำงานกับเอกสารขาวดำเป็นหลัก เนื้อแท้อยากได้เครื่องปริ้นแบบ laser engrave แต่ไม่เข้าใจว่า 20 ปีที่ผ่านมา ฝ่าย R&D ของแต่ละเครื่องปริ้นเค้าทำอะไรกัน เชื่อว่าเค้าเองคงมีวิจัย แต่ไม่ทำมาขายเพราะจะฟันกำไรกับน้ำหมึกรึเปล่านี่สิ แต่ถ้าจะปริ้นรูปสี ระดับภาพถ่าย ก็ใช้ inkjet ไปเถอะครับ แต่บางทีก็อยากยกเทคโนโลกยีให้เป็นฉายแสงลงกระดาษอัดภาพบ้างน่าจะดี

แล้วมาหาอะไรในเครื่องพิมพ์ inkjet ครับ ในเมื่อสิ่งที่คุณต้องการมันคือเครื่องพิมพ์แบบเลเซอร์ ซึ่งมันคนละกลุ่มกัน

คำตอบมันอยู่ที่คอมเมนท์ก่อนหน้าของคุณแล้วนี่ครับ
"แต่ถ้าจะปริ้นรูปสี ระดับภาพถ่าย ก็ใช้ inkjet ไปเถอะครับ"

"แต่บางทีก็อยากยกเทคโนโลกยีให้เป็นฉายแสงลงกระดาษอัดภาพบ้างน่าจะดี"
เรากำลังพูดถึงระดับ Consumer Printer กันอยู่นี่ครับ
ถ้ามีเครื่องพิมพ์ระบบฉายแสงออกมาขาย Consumer จริงๆคงราคาเครื่องหลักหลายหมื่น

อยากได้ Printer ติด Tank จากโรงงาน แต่เลือกไม่ถูกเลยครับ

แต่เห็นที่แนะนำว่าถ้าไม่Print ทุกวันควรเลือก Brother เพราะมีระบบ ล้างหัวอัตโนมัติ

นี่มี Cannon มาอีกยี่ห้อ

ทุกยี่ห้อก็มีระบบล้างหัวนะครับ ที่จริงผมว่าไม่ควรล้างอัตโนมัติด้วย เพราะเปลืองหมึก (มันก็แค่เอาหมึกฉีดออกมาแรงๆ เพื่อดันหมึกที่แห้งอยู่ออกไป) เราล้างเฉพาะตอนที่พิมพ์แล้วเป็นเส้นๆ ดีกว่าครับ

ผมว่ากรณีนี้สำหรับคนที่ใช้งานเป็นครั้งคราว มันช่วยได้มากครับเพราะถ้าปล่อยทิ้งไว้นานหัวหมึกมันจะตัน งานเข้าอีก
ส่วนถ้าต้องมานั่งปริ้นท์สัปดาห์ละครั้ง สองครั้ง ก็ขี้เกียจอีกเช่นกัน บางที่ยุ่งจนลืมมาดูแลปริ้นท์เตอร์

ข้อดี

  • หมึกแท็งก์ จุได้เยอะ พิมพ์ได้ยาวนาน
  • ไม่ต้องระแคะระคายว่าหมึกหมดจริงหรือไม่ เห็นชัดเจนกันไปเลย

ข้อเสีย

  • พิมพ์สองหน้าอัตโนมัติไม่ได้

มันเป็นข้อดีข้อเสียของInkTankจากโรงงาน ทุกรุ่นอยู่แล้วนี่ครับ ถ้าแยกไว้ด้วยจะเป็นประโยชน์ต่อคนที่จะเทียบinktankรุ่นอื่น

Canon ตั้งราคานี้ Spec นี้นี่ไม่คิดจะเอาลูกค้าใหม่เลยเหรอครับเนี่ย
ที่ราคาใกล้เคียงกันน่าจะได้ยี่ห้ออื่นที่เป็น Tank ที่ Spec ใกล้เคียงกัน แต่มี ADF ตัวดูกระดาษเพิ่มความสะดวกเวลา Copy/Scan หลายๆแผ่น แม้ว่ามันจะเร็วกว่า Load มือเองนิดเดียวก็เถอะ

เท่าที่ดูเหมือนจะพิมพ์ตัวอักษรได้ชัดกว่า Epson L5XX Series นะครับ

เพิ่มข้อดีอีกอย่างนึงก็ได้ครับ

  • ประกันนานกว่าเครื่อง InkTank ยี่ห้ออื่น เพราะยี่ห้ออื่นประกัน 1 ปี

ADF สำคัญมาก ครับ
เพราะ ผม ซื้อหนังสือมา ผมจะตัดสันทิ้ง แล้ว เอาเข้าสแกน
สแกนหน้า คี่ก่อน
แล้วก็ สแกน หน้าคู่ เรียงกลับหลัง
แล้วก็ ใช้ PDFSAM รวมเข้าด้วยกัน

ถ้าไม่มี ADF นี่ จบเลย ไม่ต้องทำกันล่ะ

หัวพิมพ์อยู่ที่ตลับแยกหรอครับ มันจะหมดอายุขัยง่ายไหมเนี่ย
(เทียบกับที่เคยต่อแทงก์ พิมพ์รัวๆได้ประมาณ2รีม ก็เป็นเส้นล้างไม่หายแล้ว

ผมใช้ Epson R230x ติดแท๊งค์มาหลายปีแล้ว หัวพิมพ์ยังใช้งานได้ดีอยู่เลย ส่วนระบบแท๊งค์ก็มีต้องไปรีเซทบ้าง แต่ก็ไม่ได้บ่อยอะไร โดยรวมก็พอใจมากครับ

ส่วน Cannon นี่เพิ่งซื้อมาตัวนึงกะว่าใช้ครั้งเดียวทิ้ง.... เพราะถ้าเปลี่ยนตลับครบชุด 2 ทีคงได้ค่าเครื่องละ เลยกะใช้มาปริ้นเอาแค่พัง จบงานเดียว เลิก

รีวิวเข้าใจง่ายดีครับ

ว่าแล้วถามเลยเพราะคนอยู่เยอะ ;) ถ้าเป็นพวกนาน ๆ (ถึงนานมาก) จะใช้พิมพ์สักที ยี่ห้อไหนจะเหมาะครับ หัวตันจนซ่อมไม่ได้ไปตัวละ

ถ้าไม่เป็นคนที่พิมพ์รูปภาพอยู่แล้ว แนะนำซื้อเครื่องเลเซอร์ทีเดียวจบครับ แต่ถ้าช่วงไหนที่คุณไม่ได้ใช้ก็ต้องห่อพลาสติกทั้งตัวเครื่องดีๆครับ (ฝุ่นจะเข้าไปทำลายฟิล์มได้)

ใช้ HP อยู่หัวไม่เคยตัน เพราะหัวพิมพ์ อยู่ที่ตลับ เปลี่ยนหมึกทีไร เหมือนเปลี่ยนหัวพิมพ์เลย ข้อดี คือ ไม่ต้องมาปวดหัวกับเรื่องหัวตัน ข้อเสียคือ ราคาแพงกว่าชาวบ้าน

แต่ชอบใช้ HP เพราะมี onsite ไม่ต้องแบกไปซ่อม วุ่นวาย และเครื่องมัน ถึกทนมากมาย

น่าสนใจมากครับ แต่ราคาน่าจะลงอีกนิด

อยากทราบราคาหมึกครับ พอจะมีข้อมูลเปรียบเทียบกับยี่ห้ออื่นไหม

epson เท่านั้น เพราะใช้หัว piezo ช้ากว่าแต่เย็นและทนมาก

canon brother hp เป็นแบบ thermal ทั้งนั้น (เลยต้องทำให้เปลี่ยนได้ เพราะอายุมันสั้นกว่า)

โดยส่วนตัวแล้วเป็นคน พิมพ์งานน้อย นานๆจะพิมพ์สักครั้ง หัวพิมพ์เลยตันบ่อย ผมไม่เหมาะกับ ink tank ครับ ผมจึงเลือกเครื่องพิมพ์ HP ครับ

เพราะ
1 ตลับถูกมากมีปัญหาก็แค่เปลี่ยนตลับ
2 ไม่มีระบบล้างพิมพ์(ในรุ่นราคาถูกตามบ้าน) มีปัญหาก็เปลี่ยนตลับไปเลยตลับถูกอยู่แล้ว และไม่ต้องกลัวปัญหาที่ซับน้ำหมึกเต็มครับ เพราะ HP รุ่นสำหรับใช้งานตามบ้านทั่วไปไม่มีตัวซับน้ำหมึก

ข้อเสีย คือ ไม่เหมาะกับคนทำงานที่ต้องพิมพ์มาก เพราะหมึกหมดเร็ว หรือหากพิมพ์ครั้งละมากๆหัวพิมพ์อาจจะไหม้ได้

เอาเป็นว่าใครที่นานๆจะพิมพ์งานที แล้วไม่อยากทะเลาะกับเครื่องพิมพ์ ก็ HP แล้วกัน

ปล. ไม่ชอบ Laser คลับ เกลียดผงหมึก

จากประสบการณ์เคยใช้ Epson l200 แล้ว แม้จะใช้หมึกแท้ตลอดแต่ 2-3 เดือนพิมพ์งานครั้งหัวพิมพ์ตันต้องล้างหัวพิมพ์จนซับหมึกเติม ต้องมานั่งเคลียร์ค่าเคาน์เตอร์ตัวซับหมึก ต้องต่อท่อส่งน้ำหมึกออกทางด้านหลังแล้ว รู้สึกว่าเสียเวลา ก็เลยเปลี่ยนมาใช้ HP หมดเรื่อง แต่ก็ต้องซื้อตลับมาเก็บสำรองไว้อย่างละสองตลับเผื่อพิมพ์หนักๆหมึกหมดก็เปลี่ยนเลยไม่ต้องออกไปซื้อ

ถ้าพิมพ์ไม่บ่อย นาน ๆ พิมพ์รูปทีแต่อยากได้ print&scan A3 อิงค์เจ็ทรุ่นไหนทนแบบไม่จุกจิกบ้างครับ (พอดีติดว่าต้องส่งแบบเป็น A3)

อยากถ่ายรูปให้ดูมาก canon เป็นอะไรที่กากมาก ราคาถูกจริง แต่ 4. 5 พันสำหรับผมถือว่าแพง พังหมด ซื้อมา3 ตัว ตัวล่าสุดมั่นใจจะไม่ติดแท้ง จนตอนนี้ซื้อตลับหมึกแท้ไป 3 อะนแล้ว ไม่ไหวกับมะนละ เปลืองมาก ตลับนึงแกะใหม่ ปริ้นแปปๆเดียว จะหมดอีกแล้ว 600 สำหรับผมมีค่ามากครับ ผมคงไม่ได้รวยมั้ง ค่ารายงานส่งอาจารย์

จีนก๊อบได้ทุกอย่าง แต่สงสัยว่าทำไมไม่ก๊อบเครื่องปริ้นเตอร์หรือทำเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตจีนเองซักที

จะได้เครื่องถูกลง ตลับหมึกก็ถูกลง เพราะตลับหมึกแพงมากมาย ถ้าติดแท้งค์ให้ด้วยนี่ ฟินเลย

หรือคิดว่าเทคโนโลยีเครื่องพิมพ์เป็นเทคโนโลยีที่สูง ก๊อบปี้ลำบาก ?

อาจจะมองว่าทำแล้วไม่คุ้ม อัตราการใช้ก็ลดลง อะไรทำนองนีั้

แต่เทคโนโลยีสูงก็ใช่ครับ อย่าง inkjet มันก็ต้องควบคุมการฉีดหยดหมึก (หรือดีดหยดหมึก ถ้าเป็น Epson) ซึ่งก็เป็นงานละเอียดนะ ไม่รู้สิผมก็แค่เดา ไม่มีความรู้ 555

เคยใช้ PIXMA IP3000 ครับ ชอบมากๆ บางช่วงไม่ใช้สองสามเดือนกลับมาใช้ก็ไม่เคยพิมพ์ขาด หัวพิมพ์ไม่เคยอุดตัน เสียดายเครื่องนั้นมากครับ

ตอนที่ผมซื้อแผ่นแบบพิมพ์ได้มา เอามันใส่เข้าไป คือวันที่เครื่องเสียพอดีหลังจากรอมาหลายปีครับ - -" เสียดายมาก ยังไม่เคยพิมพ์สักแผ่นเลย

ไม่แน่ใจว่าเป็นรุ่นแรกๆ ของสายนี้ไหม รุ่นนี้ของผมบอร์ดช๊อต (เช็คจาก Service Manual)

ผมเคยผ่านมาหลายรุ่นมาก

3000, 4790, 4970, 7270

โดยรวมถือว่ารุ่นพวกนี้หัวพิมพ์ก็ทนมากๆ ครับ คุ้มนะถ้าใช้เยอะมากๆ

แต่รุ่นใหม่ๆ ยิ่งผลิต ยิ่งไม่ค่อยทน...

ผมวัดความทนทานจริงปริมาณการพิมพ์เยอะๆ หนักๆ หลายหมื่นแผ่นต่ออายุการใช้งาน

แต่ไม่มีอันไหนที่ทนเท่า Brother เลย หัวพิมพ์ดีมากๆ พิมพ์กันหลายหมื่นสบายๆ แต่สีซีดไม่ค่อยโอเค

ถ้าพืมพ์งานเอกสารก็ได้อยู่นะ...

HP ก็ทน... ส่วนมากรุ่นตลับแยกจากหัว จะทนหมด

Epson ไม่ใช้ ช้าเกิน...

ใช่ครับ บอร์ดช็อตเหมือนกัน orz แล้วหลังจากนั้นผมก็ไม่มีเครื่องพิมพ์ใช้อีกเลย ตอนนี้จะพิมพ์อะไรทีนี่งานงอกเลยเพราะแถวนี้ไม่มีร้านรับพิมพ์ ใกล้สุดก็ต้องเข้าไปร้านถ่ายรูปในเซ็นทรัลซึ่งก็แพ๊ง แพง

ชอบ 3000 เพราะมันสวย (สวยแบบสเปคผมเลย ยังไม่เห็นตัวไหนสวยแบบนี้อีก) ทน นานๆ พิมพ์ทีก็ไม่ตัน แถมพิมพ์เร็วจัดมากๆ รวมถึงพิมพ์สองหน้าอัตโนมัติด้วยครับ

ผมชอบขอบๆ มุมๆ มัน กับเครื่องสีเทาๆ ปุ่มซ่อนตรงมุมพอดี

รุ่นนี้น่าจะเป็นตัวแรกๆ ที่ใช้เทคโนโลยีในสายนี้รึเปล่าไม่แน่ใจครับ

แต่ภายในนี้ตันมาก รุ่นใหม่แกะมา ก๊องแก๊งมาก

โยนทิ้งแล้วครับ 555 พังแล้วไม่มีอะไหล่

ว่าจะถามอยู่เลย อีกอย่างคือราคาตัวหัวพิมพ์ ที่น่าจะมีโอกาสเสียง่าย เดี๋ยวนี้ต่อให้ราคาเครื่องถูกมันจะมาหนักพวกนี้น่ะสิ

ล่าสุดผมได้ลองเปรียบเทียบกับหลายๆ ยี่ห้อแล้ว โดยส่วนตัวผมเลือก Brother DCP-T500W นะ
ไม่ทราบว่าในนี้มีใครใช้อยู่บ้าง

ผมเคยลองไปติดตั้ง PIXMA G3000 ให้ที่ออฟฟิสเพื่อน ซึ่งเครื่องของ Canon ส่วนมากเวลาใช้กับแมคต้องหาไดร์เวอร์มาติดตั้ง ในบางรุ่นต้องโหลดไดร์เวอร์ถึง 2 ตัว (ไดร์เวอร์สำหรับการเชื่อมต่อกับเครื่องปริ๊นท์ในวงแลน กับไดร์เวอร์สั่งการทำงาน)

ส่วนค่ายอื่นอย่าง Brother, HP, Epson แทบไม่เจอปัญหาเรื่องการติดตั้งไดร์เวอร์กับแมคเลย (มีไดร์เวอร์อยู่ในเซิร์ฟของ apple)

เลยอยากลองแนะนำ Brother DCP-T500W เผื่อเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่น่าสนใจครับ

ผมชอบที่ทำถาดป้อนกระดาษไว้ใต้เครื่อง ซึ่งดีกว่าวางไว้ด้านหลังตัวเครื่องแบบเสียบแนวตั้งเพราะกระดาษไม่ยับ และเสียงเวลาใช้งานถือว่าค่อนข้างเงียบมากครับ

Wireless Printer

มีข้อดีข้อเสียต่างกันครับ ระบบการฟีดกระดาษทั้งสองแบบ

Brother รุ่นนี้สีเป็นยังไงครับ ซ๊ดมั๊ย

gรื่องสีไม่ได้สดน่ะครับ ถ้าเลือกพิมพ์ธรรมดา ด้อยกว่าเจ้าอื่นหน่อยนึง
แต่โดยรวมพิมพ์งานเอกสารได้ดีครับ ถ้าต้องการพิมพ์พวกภาพถ่าย ปรับโหมดเป็นความละเอียดสูง จะค่อนข้างสีสดชัดเจนไม่แพ้หรือดีกว่าเจ้าอื่นในรุ่นเดียวกัน แต่พิมพ์นานมาก

Apple
public://topics-images/apple_webp.png
SCB10X
public://topics-images/347823389_774095087711602_515970870797767330_n_webp.png
Windows 11
public://topics-images/hero-bloom-logo.jpg
Huawei
public://topics-images/huawei_standard_logo.svg_.png
Google Keep
public://topics-images/google_keep_2020_logo.svg_.png
Instagram
public://topics-images/instagram_logo_2022.svg_.png
SCB
public://topics-images/9crhwyxv_400x400.jpg
Microsoft
public://topics-images/microsoft_logo.svg_.png
Basecamp
public://topics-images/bwpepdi0_400x400.jpg
FTC
public://topics-images/seal_of_the_united_states_federal_trade_commission.svg_.png
Pinterest
public://topics-images/pinterest.png
Palantir
public://topics-images/-nzsuc6w_400x400.png
AIS Business
public://topics-images/logo-business-2021-1.png
PostgreSQL
public://topics-images/images.png
JetBrains
public://topics-images/icx8y2ta_400x400.png
Krungthai
public://topics-images/aam1jxs6_400x400.jpg
Palworld
public://topics-images/mccyhcqf_400x400.jpg
Bill Gates
public://topics-images/bill_gates-september_2024.jpg
VMware
public://topics-images/1nj4i1gp_400x400.jpg
Take-Two Interactive
public://topics-images/0khle7nh_400x400.jpg
OpenAI
public://topics-images/ztsar0jw_400x400.jpg
Thailand
public://topics-images/flag_of_thailand.svg_.png
ServiceNow
public://topics-images/ytnrfphe_400x400.png
Klarna
public://topics-images/urcllpjp_400x400.png
Google Play
public://topics-images/play.png
Drupal
public://topics-images/drupal.png
Virtua Fighter
public://topics-images/virtua_figther_2024_logo.png
Paradox Interactive
public://topics-images/paradox_interactive_logo.svg_.png
Europa Universalis
public://topics-images/europa-icon.png
Nintendo Switch 2
public://topics-images/mainvisual.png
Cloudflare
public://topics-images/cloudflare_logo.svg_.png
Samsung
public://topics-images/samsung.png
Google
public://topics-images/google_2015_logo.svg_.png
Uber
public://topics-images/uber.png
Microsoft 365
public://topics-images/m365.png
USA
public://topics-images/flag_of_the_united_states.svg_.png
GM
public://topics-images/0pe0po-z_400x400.jpg
Perplexity
public://topics-images/perplex.jpg
Xperia
public://topics-images/xperia.png
iOS 18
public://topics-images/ios-18-num-96x96_2x.png
True
public://topics-images/true_logo.png
SoftBank
public://topics-images/softbank.jpg
Pac-Man
public://topics-images/pacman.png
Harry Potter
public://topics-images/harry.png
Marvel
public://topics-images/marvel.png
Skydance
public://topics-images/skydance.png
SEA
public://topics-images/sealogo.png
Find My Device
public://topics-images/find.png
Gemini
public://topics-images/google_gemini_logo.svg__1.png
Accessibility
public://topics-images/accessibility-128x128_2x.png
Material Design
public://topics-images/m3-favicon-apple-touch.png
Android 16
public://topics-images/android16.png
Android
public://topics-images/android_0.png
Firefox
public://topics-images/firefox_logo-2019.svg_.png
Google Messages
public://topics-images/messages.png
Notepad
public://topics-images/notepad.png
Singapore
public://topics-images/flag_of_singapore.svg_.png
Airbnb
public://topics-images/airbnb.png
PS5
public://topics-images/ps5.png
Krafton
public://topics-images/krafton.png
Doom
public://topics-images/doom-game-s_logo.svg_.png
AMD
public://topics-images/amd_logo.svg_.png
GTA
public://topics-images/gta_0.png
DoorDash
public://topics-images/doordash.png
YouTube
public://topics-images/yt.png
YouTube Music
public://topics-images/yt-music.png
Facebook
public://topics-images/fb.png
iQiyi
public://topics-images/iqiyi_0.png
Viu
public://topics-images/viu.png
Amazon Prime Video
public://topics-images/prime-vid.png
Spotify
public://topics-images/spotify.jpg
Apple TV
public://topics-images/apple-tv.png
HBO Max
public://topics-images/max.png
Threads
public://topics-images/threads.png
Alexa
public://topics-images/alexa.png
Kindle App
public://topics-images/kindle.png
Shopee
public://topics-images/shopee.png
Waze
public://topics-images/waze.png
Bilibili
public://topics-images/bili.png
Google Maps
public://topics-images/maps.png
Apple Music
public://topics-images/apple-music.png
Claude
public://topics-images/claude.png
TikTok
public://topics-images/tiktok.png
Xbox
public://topics-images/xbox.png
Tesla
public://topics-images/tesla.png
Chrome
public://topics-images/chrome.png
Google Calendar
public://topics-images/gcal.png
Google Home
public://topics-images/ghome.png
Google Meet
public://topics-images/meet.png
NotebookLM
public://topics-images/notebooklm.png
Reddit
public://topics-images/reddit.png
Assassin’s Creed
public://topics-images/ac.png
Mark Zuckerberg
public://topics-images/zuck.jpg
Meta
public://topics-images/meta.png
Meta AI
public://topics-images/meta-ai.png
Epic Games
public://topics-images/epic_games_logo.svg_.png
Unreal
public://topics-images/unreal_engine_logo-new_typeface-svg.png
Fortnite
public://topics-images/fortnite.png
DeepMind
public://topics-images/deepmind.png
Databricks
public://topics-images/databricks.png
Netflix
public://topics-images/netflix-logo.png
Microsoft Azure
public://topics-images/azure.png
Microsoft Copilot
public://topics-images/microsoft_copilot_icon.svg_.png
Bing
public://topics-images/bing.png
EA
public://topics-images/ea.png
Intel
public://topics-images/intel.png
Amazon
public://topics-images/amazon.png
AWS
public://topics-images/aws.png
Zoom
public://topics-images/zoom.png
Dropbox
public://topics-images/dropbox_0.png
Roblox
public://topics-images/roblox.png
Dell Technologies
public://topics-images/dell-tech.png
Nothing
public://topics-images/nothing.svg_.png
Microsoft Teams
public://topics-images/teams.png
Mojang
public://topics-images/mojang.png
Minecraft
public://topics-images/minecraft.png
Redis
public://topics-images/redis_logo.svg_.png
Ubisoft
public://topics-images/ubisoft_logo.svg_.png
Elden Ring
public://topics-images/elden.png
Brave
public://topics-images/brave.png
Opera
public://topics-images/opera.png
Vivaldi
public://topics-images/vivaldi.png
Microsoft Edge
public://topics-images/edge.png
Duolingo
public://topics-images/duolingo.png
LinkedIn
public://topics-images/linkedin.png
Canva
public://topics-images/canva.png
Realme
public://topics-images/realme.png
NASA
public://topics-images/nasa-logo.png
Booking.com
public://topics-images/booking.png
Agoda
public://topics-images/agoda.png
Bolt
public://topics-images/bolt.png
Grab
public://topics-images/grab.png
Temu
public://topics-images/temnu.png
LINE
public://topics-images/line.png
Facebook Messenger
public://topics-images/messenger.png
WhatsApp
public://topics-images/whatsapp.png
Telegram
public://topics-images/telegram.png
Signal
public://topics-images/signal.png
X.com
public://topics-images/x.png
Grok
public://topics-images/grok.png
xAI
public://topics-images/xai.png
CapCut
public://topics-images/capcut.png
Edits
public://topics-images/edit.png
Google One
public://topics-images/gone.png
Tinder
public://topics-images/tinger.png
Whoscall
public://topics-images/whoscall.png
OneDrive
public://topics-images/onedrive.png
Lightroom
public://topics-images/lr.png
Meitu
public://topics-images/meitu.png
Outlook
public://topics-images/outlook.png
Excel
public://topics-images/excel.png
PowerPoint
public://topics-images/ppt.png
Microsoft Word
public://topics-images/word.png
Phone Link
public://topics-images/phone-link.png
OneNote
public://topics-images/onenote.png
Windows App
public://topics-images/windows-app.png
Notion
public://topics-images/notion.png
Google Drive
public://topics-images/drive.png
YouTube Kids
public://topics-images/yt-kids.png
Gboard
public://topics-images/gboard.png
DeepSeek
public://topics-images/deepseek_logo.svg_.png
Prince of Persia
public://topics-images/prince-persia.png
Sony
public://topics-images/nq0nd2c0_400x400.jpg
Tencent
public://topics-images/z4xi4oyc_400x400.jpg
Cisco
public://topics-images/jmyca1yn_400x400.jpg
Alibaba
public://topics-images/4axflwia_400x400.jpg
Alibaba Cloud
public://topics-images/qm43orjx_400x400_cloud.png
Coinbase
public://topics-images/consumer_wordmark.png
CarPlay
public://topics-images/carplay.png
Rust
public://topics-images/rust-logo-blk.png
Red Hat
public://topics-images/redhat.png
Anthropic
public://topics-images/anthropic.png
Xcode
public://topics-images/xcode.png
Tim Cook
public://topics-images/tim-cook.jpg
Donald Trump
public://topics-images/trump.jpg
Microsoft Surface
public://topics-images/surface.jpg
Copilot+ PC
public://topics-images/copilotpc.png
Stellar Blade
public://topics-images/stellar-blade.jpg
Snapdragon
public://topics-images/snapdragon_chip.png
Qualcomm
public://topics-images/qualcomm-logo.svg_.png
CoreWeave
public://topics-images/coreweave.png
Ford
public://topics-images/ford.png
Xiaomi
public://topics-images/xiaomi.png
Google Cloud
public://topics-images/google_cloud_logo.svg_.png
PlayStation Network
public://topics-images/psn.png
PlayStation Plus
public://topics-images/ps-plus.png
Windsurf
public://topics-images/windsurf.png
Square Enix
public://topics-images/square-enix.png
MIT
public://topics-images/x7hyjl3t_400x400.jpg
Zoox
public://topics-images/zoox.jpg
Evernote
public://topics-images/1neatidg_400x400.jpg
Magic the Gathering
public://topics-images/magic.png
Call of Duty
public://topics-images/cod.png
NVIDIA
public://topics-images/nvidia_logo.svg_.png