Tags:
Node Thumbnail

ราชกิจจานุเบกษาลง ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง หลักเกณฑ์การอนุญาตและเงื่อนไขในการบังคับหรือปล่อยอากาศยานซึ่งไม่มีนักบินประเภทอากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก พ.ศ. 2558 ซึ่งลงประกาศตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตามประกาศดังกล่าวได้นิยามความหมายไว้ดังนี้

  • “อากาศยานที่ควบคุมการบินจากภายนอก” หมายความว่า อากาศยานที่ควบคุมการบินโดยผู้ควบคุมการบินอยู่ภายนอกอากาศยานและใช้ระบบควบคุมอากาศยาน ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเครื่องบินเล็ก ซึ่งใช้เป็นเครื่องเล่นตามกฎกระทรวงกําหนดวัตถุซึ่งไม่เป็นอากาศยาน พ.ศ. 2548
  • “ระบบควบคุมอากาศยาน” หมายความว่า ชุดอุปกรณ์อันประกอบด้วยเครื่องเชื่อมโยงคําสั่งควบคุมหรือการบังคับอากาศยาน รวมทั้งสถานีหรือสถานที่ติดตั้งชุดอุปกรณ์เหล่านี้หรือเครื่องมือที่ใช้ควบคุมการบินจากภายนอกและตัวอากาศยานด้วย

    อากาศยานในประกาศนี้แบ่งเป็นสองประเภทตามวัตถุประสงค์คือ

  • ประเภท 1 ใช้เพื่อการเล่นเป็นงานอดิเรก เพื่อความบันเทิง หรือเพื่อการกีฬา

  • ประเภท 2 ใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกจากตามประเภท 1 คือรายงานข่าว รายการโทรทัศน์หรือภาพยนตร์ วิจัยและพัฒนาอากาศยาน หรือเพื่อการอื่น ๆ

ประเภทที่ 2 นั้นกำหนดขนาดไม่เกิน 25 กิโลกรัม ขณะที่ประเภทที่ 1 มีแบ่งย่อยตามขนาด ดังนี้
ประเภท 1.ก มีน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุมากกว่า 18 ปี หรือมีผู้แทนโดยชอบธรรมควบคุมดูแล ซึ่งอากาศยานในข้อนี้ กระทรวงคมนาคมอนุญาตให้ทำการบินได้ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้

เงื่อนไข
(1) ก่อนทําการบิน

(ก) ตรวจสอบว่าอากาศยานอยู่ในสภาพที่สามารถทําการบินได้อย่างปลอดภัย ซึ่งรวมถึงตัวอากาศยานและระบบควบคุมอากาศยาน
(ข) ได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ที่จะทําการบิน
(ค) ทําการศึกษาพื้นที่และชั้นของห้วงอากาศที่จะทําการบิน
(ง) มีแผนฉุกเฉิน รวมถึงแผนสําหรับกรณีเกิดอุบัติเหตุ การรักษาพยาบาล และการแก้ปัญหากรณีไม่สามารถบังคับอากาศยานได้

(2) ระหว่างทําการบิน

(ก) ห้ามทําการบินในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และรบกวนความสงบสุขของบุคคลอื่น
(ข) ห้ามทําการบินเข้าไปในบริเวณเขตห้าม เขตกํากัด และเขตอันตรายตามที่ประกาศใน เอกสารแถลงข่าวการบินของประเทศไทย (Aeronautical Information Publication – Thailand หรือ AIP – Thailand) รวมทั้ง สถานที่ราชการ หน่วยงานของรัฐ โรงพยาบาล เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่
(ค) แนวการบินขึ้นลงของอากาศยานจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง
(ง) ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องสามารถมองเห็นอากาศยานได้ตลอดเวลาที่ทําการบิน และห้ามทําการบังคับอากาศยานโดยอาศัยชุดกล้องบนอากาศยานหรืออุปกรณ์อื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง
(จ) ต้องทําการบินในระหว่างเวลาพระอาทิตย์ขึ้นถึงพระอาทิตย์ตก ซึ่งสามารถมองเห็นอากาศยานได้อย่างชัดเจน
(ฉ) ห้ามทําการบินเข้าใกล้หรือเข้าไปในเมฆ
(ช) ห้ามทําการบินภายในระยะเก้ากิโลเมตร (ห้าไมล์ทะเล) จากสนามบินหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของหรือผู้ดําเนินการสนามบินอนุญาตหรือที่ขึ้นลงชั่วคราวอนุญาต
(ซ) ห้ามทําการบินโดยใช้ความสูงเกินเก้าสิบเมตร (สามร้อยฟุต) เหนือพื้นดิน
(ฌ) ห้ามทําการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่
(ญ) ห้ามบังคับอากาศยานเข้าใกล้อากาศยานซึ่งมีนักบิน
(ฎ) ห้ามทําการบินละเมิดสิทธิส่วนบุคคลของผู้อื่น
(ฏ) ห้ามทําการบินโดยก่อให้เกิดความเดือดร้อน ความรําคาญ แก่ผู้อื่น
(ฐ) ห้ามส่งหรือพาวัตถุอันตรายตามที่กําหนดในกฎกระทรวงหรืออุปกรณ์ปล่อยแสงเลเซอร์ติดไปกับอากาศยาน
(ฑ) ห้ามทําการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบกับบุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรืออาคาร น้อยกว่าสามสิบเมตร (หนึ่งร้อยฟุต)

ประเภท 1.ข มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 25 กิโลกรัม กำหนดให้ผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี ไม่เป็นผู้มีพฤติการณ์เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ไม่เคยโดนโทษจำคุกในความผิดตามกฎหมายยาเสพติดหรือศุลกากร และต้องขึ้นทะเบียนต่ออธิบดีกรมการขนส่งทางอากาศ โดยต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้เหมือนประเภท 1.ก และเพิ่มเติมอย่างการบำรุงรักษาอากาศยาน ความชำนาญในการบังคับอากาศยาน ความเข้าใจในกฎจราจรทางอากาศ ต้องมีอุปกรณ์ดับเพลิงที่ใช้งานได้ติดตัว มีประกันภัยต่อบุคคลที่สาม วงเงินไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อครั้ง เพิ่มระยะห่างในข้อ (ฑ) เป็นไม่น้อยกว่าห้าสิบเมตร (หนึ่งร้อยห้าสิบฟุต) เมื่อมีอุบัติเหตุเกิดขึ้นต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยไม่ชักช้า

สำหรับอากาศยานประเภท 2 ก็ต้องขึ้นทะเบียนและปฏิบัติเงื่อนไขเช่นเดียวกับประเภท 1.ข กรณีที่ใช้เพื่อรายงานเหตุการณ์หรือรายงานจราจร (สื่อมวลชน) หรือวิจัยและพัฒนาอากาศยาน การขึ้นทะเบียนต้องเป็นนิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ตามนั้น ส่วนเพื่อใช้ถ่ายภาพหรือการอื่นจะขึ้นทะเบียนเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลได้ โดยการขึ้นทะเบียนเป็นนิติบุคคลต้องระบุรายชื่อผู้บังคับหรือปล่อยอากาศยานหรือบุคคลที่จำเป็นในการปฏิบัติการบินของอากาศยานด้วย

ทั้งนี้ หนังสือการขึ้นทะเบียนมีอายุ 2 ปีตั้งแต่วันที่ออกหนังสือ

ที่มา : ราชกิจจานุเบกษา

Get latest news from Blognone

Comments

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 29 August 2015 - 08:13 #838439
panurat2000's picture

ขณะที่ประเภทที่ 1 มีแบ่งย่อตามขนาด ดังนี้

แบ่งย่อ => แบ่งย่อย

ประเภท 1.ก มีน้ําหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม

ประเภท 1.ข ที่มีน้ําหนักเกิน 2 กิโลกรัม

น้ําหนัก => น้ำหนัก

หรืออุปกรณอื่นที่มีลักษณะใกล้เคียง

อุปกรณ => อุปกรณ์

กรณีที่ใใช้เพื่อรายงานเหตุการณ์หรือรายงานจราจร

ที่ใใช้ => ที่ใช้

By: Kittichok
Contributor
on 29 August 2015 - 12:27 #838516 Reply to:838439

ขอบคุณครับ แก้ไขตามที่แจ้งแล้ว

By: droidz
Windows PhoneAndroidWindows
on 29 August 2015 - 09:13 #838450

ทำไมต้องอายุ18ปีขึ้นไปครับ?(สงสัยมาก)

By: osmiumwo1f
ContributorWindows PhoneWindows
on 29 August 2015 - 09:21 #838453 Reply to:838450
osmiumwo1f's picture

เป็นอายุที่ถือว่า "เป็นผู้ใหญ่" แล้วครับ

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 29 August 2015 - 09:28 #838455 Reply to:838453

ประเด็นคือ ใบขับขี่รถจักรยานยนต์ทำได้ตั้งแต่ 15 แต่โดรนไม่เกิน 2 กิโลกรัมอาจหมายความถึง โดรนปิดได้ในระยะ 10-20 เมตรอันจิ๋วๆก็ไม่สามารถเล่นได้ถ้าไม่มีผู้ปกครองครับ คือทำไมวางกฏหมายกันอยู่คนละฐานความคิดขนาดนั้น เรากำลังจะบอกว่าอนาคตของจะสามารถทำอะไรได้18 ขึ้นไปหรือ??? แล้วพวกเด็กม.ต้น ม.ปลายมีความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องการประดิษฐ์โดรนเพื่อพัฒนาวิทยาการแต่จะทดสอบได้ก็ต้องมีอาจารย์มาคุม มันก็ไม่ใช่ปืนนะครับ =_=

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 29 August 2015 - 09:44 #838461 Reply to:838455

อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ
ถ้าประกาศมาจากความต้องการของกองทัพกฎมักจะเป็นลักษณะแบบนี้แหละครับปิดกั้นหยุมหยิมจนสุดท้ายเอาไปใช้ประโยชน์ไม่ได้ เพราะเขามองโดรนในลักษณะว่าอันตรายต่อความมั่นคงกลัวคนเอาไปทำจารกรรมโน่นนี่นั่น
ตัวประกาศมันส่อเจตนาในตัวอยู่แล้วว่าเขาคิดยังไงกับโดรน เขาไม่ได้มองว่าโดรนเป็นของเล่น แต่มองในแง่ร้ายสุดๆเลยล่ะ
แต่ไม่ได้มองในแง่การนำไปศึกษา ใช้เพื่อการศึกษา แม้แต่นิดเดียว
ส่วนฝ่ายกฎหมายก็ร่างๆเอาใจอย่างเดียว ไม่ได้เคยลงไปดูหรอกว่าความเป็นจริงคนเราเอาไปใช้งานอะไรบ้าง

By: osmiumwo1f
ContributorWindows PhoneWindows
on 29 August 2015 - 16:20 #838565 Reply to:838455
osmiumwo1f's picture

ความหมายที่ผมต้องการสื่อคือพร้อมที่จะรับผิดชอบกับสิ่งที่ตนเองทำลงไปครับ และไม่ได้หมายความว่า 18 ปีแล้วจะทำอะไรก็ได้นะครับ แต่หลังจากครบ 18 ปีบริบูรณ์แล้วสามารถทำอะไรที่กฎหมายต้องการความรับผิดชอบสูงมากๆ ได้ครับ

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 29 August 2015 - 17:45 #838596 Reply to:838455
mr_tawan's picture

จักรยานยนต์มีการขี่ตั้งแต่อายุน้อย ๆ มานาน ถ้าออกกฎหมายจำกัดอายุไว้ต่ำมาก ๆ ประชาชนอาจจะต่อต้านได้ (และนี่ขนาดว่าออกกฎหมายแล้วมันยังละเมิดกันตามปรกติเลย)

อะไรที่เป็นของใหม่นี่มักจะมีการควบคุมที่เข้มงวดกว่าเพราะทำง่ายกว่าล่ะครับ


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: droidz
Windows PhoneAndroidWindows
on 29 August 2015 - 19:21 #838616 Reply to:838453

ผมกลับมองว่าอายุไม่น่ามีผลขนากนั้นครับ มันอยู่ที่จิตใต้สำนึกมากกว่า

By: เอี้ยก้วย ณ แอนฟิลด์ on 1 September 2015 - 16:42 #839384 Reply to:838616

"บรรลุนิติภาวะ"

By: devilblaze
iPhoneAndroidWindows
on 29 August 2015 - 09:56 #838464 Reply to:838450
devilblaze's picture

ประเภท 1ก ต้องมีอายุเกิด18 หรือมีผู้แทนโดยชอบธรรมควบคุมดูแล

ต้องเข้าใจนะว่าเด็กบนโลกนี้ ไม่ได้เอาโดรนมาเพื่อสร้างสรรคอย่างเดียว บางรายเอามาถ้ำมองชาวบ้านก็มี โลกมีสองด้านเสมอ ทั้งดีและเลว การที่กำหนดให้ต้องอายุ18ขึ้นไป เพราะถ้านำไปกระทำความผิดจะได้รับผิดชอบได้ หรือมีผู้แทนที่สามารถรับผิดชอบได้

โดรนมันทำได้มากกว่าเป็นของเล่น

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 29 August 2015 - 11:18 #838492 Reply to:838464

ถ้าคิดแบบนั้นก็ต้องเอามีดจัดเป็นประเภทอาวุธครับจะมีต้องขึ้นทะเบียน เพราะมันใช้ฆ่าคนได้ โทษสูงสุดถึงประหารชีวิตครับ ผมรู้สึกว่าผู้ใหญ่จะคิดมากกว่าไหมครับแบบนั้น งั้นก็ห้ามผู้ใหญ่เล่นด้วยเลยครับ

ประเด็นที่ผมจะสื่อคือมันมีขนาด ทำการบินไปน้อยมากๆ อย่าง 10 เมตรแต่ก็ต้องเป็นคนที่อายุ 18 ขึ้นไป ซึ่งไอระยะทำการเช่นนั้นมันแบกกล้องไม่ได้ด้วยซ้ำครับ

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 29 August 2015 - 11:23 #838494 Reply to:838492

เรื่องแบกกล้องนี่ผมว่าไม่แน่นะครับ กระแส IoT มาแรงมาก ผมว่าโดรนได้รับอานิสงค์เต็ม ๆ อุปกรณ์ทุกอย่างมีแนวโน้มเล็กลงและความสามารถเพิ่มขึ้น อีกไม่กี่ปีโดรนเล็กใหญ่อาจมีกล้องติดมาหมดก็ได้

ส่วนเรื่องอายุผมก็คิดว่ากำหนดเยอะไปเหมือนกัน อย่างน้อยก็ 15 ก็ยังดี


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: devilblaze
iPhoneAndroidWindows
on 29 August 2015 - 13:30 #838529 Reply to:838492
devilblaze's picture

หากคุณจะใช้ตรรกะประหลาดแบบนั้น ก้อนหินทุกก้อนบนโลกนี้ก็เป็นอาวุทได้ครับ

ส่วนข้อกำหนดเขาไม่ได้บอกว่า 10เมตรนิครับ เขาบอก 30เมตร และสูงไม่เกิน 90เมตร

โดยรวมแล้วกฏค่อนข้างครอบคุมพื้นที่ชุมชน เป็นไปได้ยากที่คนที่มีบ้านอยู่เมืองจะเล่นได้โดยไม่กระทบเงื่อนไข เพราะฉนั้นหากอยากเล่นต้องไปหาสถานที่เล่นที่เหมาะสม

ส่วนการที่ท่านอ้างว่า เด็กอยากประดิษฐสร้างสรรค์โครงการอะไรของท่าน ท่านก็แค่ขออนุญาติอาจาร์ยของท่านให้เขารับรองโครงการของท่าน เท่านี้ท่านก็บินได้โดยไม่ต้องห่วงอะไรนักแล้ว แต่อย่าอ้างอีกนะว่าจะต้องที่บ้านเท่านั้น เท่ากับว่าคุณนั้นจะไม่เคารพสิทธิของผู้อื่นเลยหรอ ผมก็ไม่อยากให้ใครเอาโดรนมาบินเหนือบ้านเหมือนกัน ถ้าเจอแล้วจะยิงโดรนให้ร่วง

By: jokerxsi on 29 August 2015 - 13:52 #838535 Reply to:838450

คนไทยสามารถมีใบขับขี่เครื่องบินได้โดยต้องมีอายุอย่างน้อย 17 ปี
ถ้าจำไม่ผิดกฎหมายการบินเราอ้างจากต่างประเทศนะครับ
ดังนั้นคนไทยจึงสามารถมีใบขับขี่เครื่องบินก่อนได้รับใบขับขี่รถยนต์ได้

สรุปโดรนน่าจะขับยากกว่า และมีความรับผิดชอบมากกว่าเครื่องบิน

By: Jessy
Red HatUbuntuWindows
on 29 August 2015 - 14:12 #838538 Reply to:838535

เครื่องบิน ผู้ขับอยู่ในเครื่องบิน ไม่มีใครอยากตาย ดังนั้นการขับขี่ต้องรอบคอบ

โดรน บังคับทะเล่อทะล่า ไปชนศรีษะคนขับมอเตอร์ไซด์ที่ขับมาด้วยความเร็ว คนขับมอเตอร์ไซด์ล้มไปกระแทกระแท็กซี่ แท๊กซี่คว่ำ อะไรก็เกิดขึ้นได้ครับ

การต้องมีผู้ควบคุม ถือว่าเป็นเรื่องดีครับ อย่างน้อยก็มีคนรับผิดชอบความผิด ขนาดพลุ โคมไฟ โคมลอย เขายังจำกัดเวลา จำกัดสถานที่เลยครับ แถมต้องขออนุญาตก่อนในหลายๆ กรณี มันบินช้าจะตาย แต่โดรนนี่เล็ก และไว สังเกตยาก แถมถ้าอนุญาตให้เล่น มันจะลามไปทุกที่ ทุกตรอก ซอกซอย โดยไม่จำกัดเทศกาล ฤดูกาล หรือเวลา ถ้าบินต่ำก็อันตรายสำหรับมอเตอร์ไซด์มาก

By: Hadakung
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 29 August 2015 - 09:17 #838451

โอโห้โดรนสมัยนี้เด็กก็เล่นไม่ได้แล้วแหะ บินไม่เกิน 5 เมตรเด็กเล่นไม่ได้หรือครับ เห็นคอปเตอร์จิ๋วโดรนจิ๋วระยะบินไม่เกิน 10 เมตรของเด็กก็กลายเป็นต้อง 18 ขึ้นไปหรือมีผู้ปกครองดูแลถึงเล่นได้ มันยิ่งกว่าขี่แมงกะไซต์อีกหรอครับ 15 มีจะขี่ไปไหนก็ได้แล้ว สงสัยคนไทยชอบให้เด็กแว๊นมากกว่าจะมาทำกิจกรรมปลูกปัญญา

By: sachikogear
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 29 August 2015 - 09:28 #838459
sachikogear's picture

เชียงใหม่ สนามบินมันติดเมืองอะ แล้วระยะตั้ง9km.....(- -" )

By: nat3738
ContributorAndroidRed HatUbuntu
on 29 August 2015 - 09:58 #838465 Reply to:838459

ปกติ 5nm (~9km) รอบสนามบินเป็น Controlled Airspace (ในไทยรู้สึกจะเป็น Class C) ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่ควบคุมการบิน และเปิดใช้ transponder ตลอดเวลาอยู่แล้วครับ ที่บินๆ กันอยู่ผิดกฎหมายจราจรอากาศอยู่แล้ว

By: Polwath
ContributoriPhoneWindows PhoneAndroid
on 29 August 2015 - 11:02 #838473
Polwath's picture

ออกกฎหมายโดยไม่มีการศึกษาความเป็นจริง และไม่มีการให้คนที่มีความรู้ด้านนี้ช่วยแนะนำแบบนี้ โดยเฉพาะบังคับโดยใช้กล้องเนี่ย ผมว่าไม่ไหวนะ


Get ready to work from now on.

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 29 August 2015 - 10:36 #838478

DSLR ตัวนึงก็หนักเอาการอยู่นะ ทำแบบนี้มันก็ทำลายธุรกิจสื่อหน้าใหม่ด้วยสิ

By: the mee
iPhoneAndroidWindows
on 29 August 2015 - 20:48 #838629 Reply to:838478

เดี่ยวนี้เห็นว่าเอาพวก mirrorless ขึ้นกันสบายๆๆแล้วนะครับ

By: crucifier
iPhoneAndroidUbuntu
on 29 August 2015 - 10:38 #838479

เรื่องอื่นไม่รู้ ผมห่วงเรื่องเดียวคือการเอามาใช้ผิดๆ จำพวกถ้ำมองหรือบุกรุกเข้ามาในพื้นที่ส่ว่นตัว คือเด็กอายุน้อยๆ (ส่วนหนึ่ง) จะมีความคึกคะนองอยู่แล้ว ก็เหมือนพวกหัดแฮ็กเว็บชาวบ้านตั้งแต่เด็กนั่นแหละ

กันไว้ดีกว่าแก้ ถ้าอยากเล่นการขออนุญาตไม่น่ายาก หรือถ้าขออนุญาตยากก็แยกเป็นอีกประเด็นหนึ่งไป

By: Niiskandar
ContributorAndroidWindows
on 29 August 2015 - 10:44 #838483
Niiskandar's picture

(ฌ) ห้ามทําการบินเหนือเมือง หมู่บ้าน ชุมชน หรือพื้นที่ที่มีคนมาชุมนุมอยู่

แล้วผมจะไปเล่นที่ไหนครับนี่


ทดลองติดตั้ง 3 OS | Windows Ubuntu Android

By: tstcnr1u
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 29 August 2015 - 13:32 #838530 Reply to:838483

เหมือนว่าในป่ากับในทะเลยังไม่ห้ามครับ

By: mr_tawan
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 29 August 2015 - 17:46 #838597 Reply to:838483
mr_tawan's picture

บ้านตัวเองไงครับ (ก็พื้นที่ที่ตัวเองครอบครอง)


  • 9tawan.net บล็อกส่วนตัวฮับ
By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 30 August 2015 - 01:03 #838669 Reply to:838597

เล่นในเขตบ้านตนเองเพื่อนบ้านก็ฟ้องได้ครับโทษฐานทำให้รำคาญหรือรบกวน
ไม่ได้หมายความว่าเล่นในบ้านตัวเองจะรอดนะครับ
ดูจากกฎแล้วเล่นในบ้านตนเองก็ไม่ได้ครับยกเว้นบ้านคุณอยู่ตามชนบทที่บ้านแต่ละบ้านอยู่ห่างกันมากๆ

เจอกฎข้อนี้ก็จบครับ ห้ามทําการบินในลักษณะที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน และรบกวนความสงบสุขของบุคคลอื่น ถ้าโดรนมันมีเสียงใบพัดดังหึ่งแล้วคนข้างบ้านได้ยินแล้วรำคาญนอนไม่หลับ แม้จะเล่นในบ้านตนเองก็ไม่สามารถทำได้ครับ
กฎมันดีครับแต่ในทางปฏิบัติมันใช้งานไม่ได้ครับ เถียงกันประจำกับพวกร่างกฎครับ สุดท้ายเลยกลายเป็นห้ามมากไปจนใช้งานไม่ได้อยู่ดี

By: Kittichok
Contributor
on 30 August 2015 - 02:41 #838675 Reply to:838669

เอ่อ เป็นปัญหาความสัมพันธระหว่างเพื่อนบ้านก่อนแล้วนะครับ ถ้าให้เป็นปัญหาเสียงดังรบกวนก็ฟ้องร้องว่าเป็นเหตุรำคาญตาม พ.ร.บ.การรสาธารณสุข ได้

By: Khow
Windows PhoneAndroid
on 30 August 2015 - 04:00 #838680 Reply to:838675

ถ้าเอาตามหลักจริงๆฟ้องแพ่งได้อยู่แล้วแต่กรณีนี้มันมีประกาศกระทรวงเข้ามาแจมครับ
ผมถึงบอกว่าถ้าจะเล่นได้ก็ต้องเป็นบ้านตามชนบทที่บ้านแต่หลังอยู่ห่างกันมากจนไม่ได้ยินเสียงแต่ถ้าเป็นบ้านตามในเมือง
คุณจะแน่ใจได้อย่างไรว่าเพื่อนบ้านคุณจะไม่รำคาญ
บินในบ้านเราแต่เพื่อนบ้านนอนๆอยู่ตื่นมาเห็นอะไรบินไปบินมาจนสร้างความรำคาญ ก็ต้องลุ้นว่าเพื่อนบ้านรอบตัวจะไม่ไปแจ้งตำรวจเอาครับ
ซึ่งเราก็เล่นในบ้านเราไม่ได้ครับ ผมจึงโต้แย้งตรรกะที่ว่า เล่นในบ้านตนเองได้ครับ มันมีปัจจัยอื่นที่ทำไม่ให้เล่นได้อยู่ดี
ผมโดนมากับตัวเรื่อง คอปเตอร์เล็กๆและโดรน เด็กๆที่นี่เล่นในบ้านผมก็ขอให้เจ้าของบ้านห้ามลูกเขาได้เพราะเขาบังคับไม่เก่งมันจะบินชนหัวผมเอา และมันอันตรายมากๆ ผมเกือบถีบเด็กไปหลายทีเหมือนกันแต่ต้องห้ามใจไว้ครับ เพราะบังคับฮอ. ได้กวนประสาทมากจะบินใส่คนอย่างเดียว ผมเลยบอกว่าถ้าไปทำแบบนี้กับคนอื่นเดี๋ยวเขาก็ต่อยเอา แล้ววันต่อมาก็โดนต่อยจริงๆด้วยเตือนไม่ค่อยจะฟังเด็กมันดื้อแต่ก็สมควรแหละ

มันก็เหมือนแก้ผ้าในบ้านตัวเอง ถ้าเป็นห้องนอนปิดมิดชิดก็ไม่มีปัญหา
แต่ถ้าแก้ผ้าแล้วนั่งหน้าบ้านแม้จะอยู่เขตบ้านตัวเองก็ผิดกฎหมายอยู่ดี

By: Kittichok
Contributor
on 30 August 2015 - 12:36 #838715 Reply to:838680

ผมกับคุณเหมือนจะเข้าใจตรงกันครับ เพื่อนบ้านเข้าใจกันได้ก็ไม่มีปัญหา

By: Golflaw
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 29 August 2015 - 10:48 #838486
Golflaw's picture

ผมไม่เห็นด้วยแค่ 2 ข้อนะ
1. ควรมีประเภทที่เล็กกว่า 1ก. จำพวกของเล่นจริงระยะทำการ 5-10 เมตร
2. ประเภท 2 (หรืออาจจะ 1ข. ด้วย) ควรให้สามารถติดกล้องได้ หรือควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Auto pilot) ได้


A smooth sea never made a skillful sailor.

By: gobman
iPhoneAndroidSymbianUbuntu
on 29 August 2015 - 11:05 #838489

ถือว่าเป็นก้าวแรกที่ดีนะ อย่างน้อยก็จะไม่มีโดรนบินผ่านห้องน้ำเวลาที่เรากำลังอาบน้ำอยู่ โดยไม่จำเป็น

By: HoLY CoMM@nDo on 29 August 2015 - 11:11 #838490
HoLY CoMM@nDo's picture

แล้วงี้พวกเครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์บังคับวิทยุ ที่เราๆ ท่านๆ ซื้อมาบินเล่นกัน มันก็ต้องไปขออนุญาตบินกันหมดเลยสิครับ ไมว่าจะขนาดจิ๋ว,เล็ก,กลาง,ใหญ่ (1 ฟุต ที่มันมีใบพัด 2 ชั้น 3 channel (บินไปหน้า ถอยหลัง), 4 channel (บินไปหน้า ถอยหลัง เอียงข้าง), 6 channel (ไปหน้า ถอยหลัง เอียงข้าง ตีลังกา) แบบนี้ไม่วุ่นกันหมดเลยหรือ แล้วเรื่องการใช้ในเรื่องการศึกษาก็ด้วย แล้วยังมีเรื่องหัดบินอีก ถ้าบังคับเลยว่าต้องใช้เป็น แล้วเราจะเอาเวลาไหนมาหัดบิน เหมือนรถยนต์ ที่เราต้องฝึกหัดขับรถก่อน (ผมเห็นเด็กอายุไม่ถึง 15 แต่บิน ฮ.เก่งระดับนักกีฬาระดับประเทศ)

ที่ผมอยากรู้คือ ที่เขาพูกันว่า จะจัดระเบียบเมื่อต้นปี (เจาะข่าวเด่น 28 ม.ค. 2558 > https://www.youtube.com/watch?v=6zatnPc1_u0) ตกลงแล้วที่พูดคุยกันมานี้ มันมีความหมายและวัตถุประสงค์ยังไงกันแน่

By: sdh on 29 August 2015 - 13:53 #838536 Reply to:838490

ทั้งนี้ ไม่รวมถึงเครื่องบินเล็ก ซึ่งใช้เป็นเครื่องเล่นตามกฎกระทรวงกําหนดวัตถุซึ่งไม่เป็นอากาศยาน พ.ศ. 2548 ?

By: Kittichok
Contributor
on 29 August 2015 - 15:01 #838546 Reply to:838490

ประเภท 1.ก ไม่ต้องขออนุญาตนะครับ แต่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข

By: jane
AndroidUbuntu
on 29 August 2015 - 12:08 #838510
jane's picture

วิทยุสมัครเล่น ยังมีสอบ วิทยุสมัครเล่น ผ่านแล้วค่อยไปขอ call sign
ต่อไปโดรนคงมีสอบ โดรนสมัครเล่น ด้วยไหมนี่

By: poa
Android
on 29 August 2015 - 15:34 #838549

มีกฎหมายออกมาก็ดีแล้ว อย่างน้อยคนที่เล่นพวกนี้จะได้มีขอบเขตกันหน่อย
ส่วนกฎที่ออกมาจะดีหรือไม่ดียังไงก็ค่อยๆ ปรับแก้กันไป

By: anirut
ContributorAndroidSymbianUbuntu
on 29 August 2015 - 16:40 #838574

มีกฏหมายควบคุมมาก็ดีครับ เท่าที่อ่านก็ไม่เข้มงวดจนเกินไป เพื่อความปลอดภัยต่อผู้อื่น


I'M... , NOT A CLONE.

By: benTECH
iPhoneWindows PhoneAndroid
on 29 August 2015 - 19:08 #838615

ไม่ถึง 18 ยังเป็นเยาวชนอยู่ ทำอะไรผิดรุนแรงมากๆ เต็มที่ก็มีกฏหมายคุ้มครองเด็กอยู่
สมมุติ คนอายุ 15 เล่นโดรนรุ่นใหม่ดีๆแรงๆ ไม่สนกฏหมายที่ประกาศ บังคับโดรนเข้าใกล้สนามบิน อยากถ่ายรูปเครื่องบินสวยๆ ปรากฏเครื่องบินไม่เห็น โดรนเข้าไปนใบพัด เครื่องบินระเบิด อายุ15 คิดว่าจะรับผิดชอบอะไรได้มั้งครับ
เปิดการ์ดรู้เท่าไม่ถึงการณ์ รึเปล่า ?
เพราะก่อนหน้านี่เมืองนอกก็มีข่าวโดรนเกือบชนกับเครื่องบินมาแล้ว