Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยจาก Georgia Institute of Technology, University of California จากสหรัฐอเมริกา และ Chinese Academy of Sciences, Chongqing University จากจีน ได้ร่วมกันคิดค้นสร้างต้นแบบแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์แบบใหม่ ที่ไม่ต้องอาศัยแหล่งพลังงานภายนอกมาเลี้ยงตัวมันเอง และยังมีระบบรู้จำแยกแยะผู้ใช้งานตัวมันได้โดยอ้างอิงจากรูปแบบการพิมพ์ของแต่ละคนที่จะแตกต่างกันไป

โครงสร้างหลักที่คอยทำหน้าที่ตรวจจับการพิมพ์ คือแผ่นพลาสติก PET ที่เคลือบด้วยฟิล์มตัวนำ ITO ไว้ทั้งด้านบนและด้านล่าง (และมีเส้นทางให้ประจุไฟฟ้าไหลผ่านไปมาหากันได้) โดยด้านบนมีการเคลือบทับแผ่นฟิล์ม ITO อีกชั้นด้วยวัสดุสังเคราะห์ FEP

ในภาวะปกติตัว FEP จะมีค่าประจุไฟฟ้าเป็นลบ ทำให้เกิดการผลักประจุลบในแผ่นฟิล์ม ITO ให้ลงไปอยู่ด้านล่างของ PET จนเมื่อปลายนิ้วของผู้ใช้ซึ่งมีค่าประจุไฟฟ้าเป็นบวกมาสัมผัสกับแป้นพิมพ์ที่ชั้นบนของ FEP ก็จะทำให้เกิดแรงดูดอิเล็กตรอนให้ไหลจากแผ่นฟิล์ม ITO ชั้นล่างมาสู่แผ่นฟิล์ม ITO ชั้นบน เกิดเป็นสัญญาณไฟฟ้านั่นเอง และเมื่อผู้ใช้ยกปลายนิ้วขึ้นจากแป้นพิมพ์ อิเล็กตรอนที่อยู่บริเวณแผ่นฟิล์ม ITO ชั้นบนก็จะไหลกลับลงสู่แผ่นฟิล์มชั้นล่างอีกครั้ง

No Description

No Description

การก่อให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าด้วยหลักการที่กล่าวมา ทำให้แป้นพิมพ์รับรู้การพิมพ์ได้ โดยไม่ต้องใช้ระบบเชิงกลใดๆ และด้วยโครงสร้างที่ว่ามา ทำให้แป้นพิมพ์ต้นแบบงานวิจัยนี้มีข้อดีตรงที่ไม่ค่อยสกปรก เพราะมีซอกหลืบให้ฝุ่นละอองสิ่งสกปรกไปสะสมได้น้อย แตกต่างจากแป้นพิมพ์เชิงกลโดยทั่วไปที่ต้องมีการเคลื่อนที่ของปุ่มกด

ความสามารถที่สำคัญของแป้นพิมพ์ต้นแบบงานวิจัยนี้ก็เป็นผลพวงมาจากหลักการตรวจจับการสัมผัสที่จะมีกระแสไฟฟ้าไหลทุกครั้งที่ผู้ใช้สัมผัสแป้นพิมพ์ ซึ่งหากมีการพิมพ์อย่างต่อเนื่องเพียงพอ แป้นพิมพ์ก็จะสามารถแปรเปลี่ยนสัญญาณไฟฟ้าที่เกิดขึ้นให้เป็นพลังงานสำหรับเลี้ยงตัวมันเอง และอาจเหลือพอที่จะใช้งานเพื่อชาร์จไฟให้แก่อุปกรณ์ภายนอกได้ด้วย

เท่านั้นยังไม่พอ แป้นพิมพ์สุดล้ำนี้ยังมีระบบวิเคราะห์เพื่อแยกแยะตัวตนของผู้ใช้งานได้ โดยอาศัยข้อมูลจากระบบตรวจจับสัมผัสมาเป็นเกณฑ์ในการระบุตัวตนผู้ใช้ ไม่ว่าจะเป็นแรงกดที่กระทำต่อแป้นพิมพ์, ความเร็วในการพิมพ์, การเว้นจังหวะและระยะเวลาในการกดแป้นพิมพ์แต่ละตัว ซึ่งผู้ใช้แต่ละคนจะมีรูปแบบข้อมูลที่ว่ามาแตกต่างกันไป

No Description

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งมาจากกระทวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็หวังว่าหน่วยงานรัฐจะช่วยผลักดันให้สิ่งประดิษฐ์นี้ได้เดินหน้าสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ออกวางจำหน่ายจริงได้ในอนาคตอันใกล้ โดยหนึ่งในทีมวิจัยระบุว่า ตอนนี้แป้นพิมพ์ของพวกเขาใกล้จะสมบูรณ์แล้ว และน่าจะพร้อมสำหรับการผลิตในเชิงพาณิชย์ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ขาดก็แต่เพียงนักลงทุนเท่านั้น

ใครที่สนใจรายละเอียดของงานวิจัยสุดยอดแป้นพิมพ์นี้ สามารถเข้าไปอ่านเอกสารตัวเต็มได้ที่ ACSNano

ที่มา - TechCrunch

Get latest news from Blognone

Comments

By: darthvader
Windows PhoneWindows
on 27 January 2015 - 06:02 #785497
darthvader's picture

ผมอ่านแล้วยังไม่ค่อยเข้าใจว่ามีประโยชน์ตรงไหนเลยครับ นอกจากไม่สกปรก

By: put4558350
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 27 January 2015 - 06:48 #785503 Reply to:785497
put4558350's picture

โดยเฉลี่ย แป้นคีย์บอร์ด มีความสกปรกมากกว่ากว่า ฝารองนั่งชักโครก ถึง 60 เท่านะครับ ...


samsung ใหญ่แค่ใหน ?
https://youtu.be/6Afpey7Eldo

By: darthvader
Windows PhoneWindows
on 27 January 2015 - 08:47 #785542 Reply to:785503
darthvader's picture

ขอบคุณครับ อ่านข้อความนี้แล้วถึงกับต้องก้มลงมองคีย์บอร์ดเลย

By: Bigkung
iPhoneWindows Phone
on 27 January 2015 - 09:54 #785579 Reply to:785503
Bigkung's picture

วัดกันทางเชื้อโรคกับแบคทีเรียสินะ แต่ความน่าขยะแขยงกับความสะอิดสะเอียนมันต่างกันครับ

By: secure on 27 January 2015 - 06:50 #785504 Reply to:785497

ในนี้เขียนว่า ระบุตัวตนผู้ใช้ได้ กับถ้ากดต่อเนื่องพอก็มีพลังงานในตนเอง

ต้นทางจะมีเขียนเรื่องการใช้เป็น smart security system (detect, alert, recording, identification) แล้วถ้าพิมพ์เร็วขนาด 100 ตัวต่อนาที ก็จะชาร์จอุปกรณ์ได้ด้วย

ผมว่ามันก็น่าสนใจตรง cyber security เช่น สมมติคน hack เข้ามาแต่ถ้า pattern การพิมพ์ไม่ตรงกับผู้ดูแลระบบก็อาจจะ alert หรืองดการใช้อะไรแบบนี้ครับ

By: darthvader
Windows PhoneWindows
on 27 January 2015 - 08:48 #785543 Reply to:785504
darthvader's picture

อ้อครับ แบบนี้เห็นภาพชัดครับ ผมไม่ได้อ่านต้นทาง ต้องขอบคุณมากๆครับ

By: platalay
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 27 January 2015 - 17:21 #785849 Reply to:785497

อยากรู้ว่าคีบอร์ดโสโครกขนาดไหน ต้องลองไปทำงานซัพพอร์ทของบริษัทใหญ่ๆครับ

ผมเคยทำบริษัทนึง ดูแลคอมให้ ธ. ห้าง หลายแห่ง ทำความสพอาดเดือนละครั้ง อยากจะบอกว่า.......

เศษเล็บ เศษขนม เส้นผม ขี้ฝุ่น คลิปหนีบกระดาษ ฯลฯ คีบอร์ดบางอัน ถึงขนาดต้องแงะปุ่มออกมาก่อน แล้วเคาะ ถึงเอาเศษต่างๆออกมาได้ ไม่รู้มันจับยัดลงไปได้ยังไง 555

นี่ขนาดทำทุกเดือนนะครับ ถ้าปีละครั้งลองคิดดูว่าจะเป็นยังไง

ปล.ลองเคาะคีบอร์ดคุณดูรึยัง

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 27 January 2015 - 06:41 #785502
panurat2000's picture

โครงการวิจัยนี้ได้รับทุนสนับสนุนส่วนหนึ่งมาจากกระทวงพลังงานของสหรัฐอเมริกา

กระทวง => กระทรวง

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 27 January 2015 - 07:51 #785517
itpcc's picture

ใช้การเป็น Hipster ได้ประโยชน์ดีจริมๆ :3


บล็อกส่วนตัวที่อัพเดตตามอารมณ์และความขยัน :P

By: tuttap
Android
on 27 January 2015 - 08:32 #785538
tuttap's picture

ถ้ามันพัง จะต่างอะไรกับ แบตในตัวมันหมดอะ

By: Aize
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 27 January 2015 - 09:55 #785581
Aize's picture

การกดคีย์บอร์ดแล้วปุ่มมันไม่บุบลงไปมันไม่รู้สึกว่าทำงานได้หรือกดสำเร็จแหะ


The Dream hacker..

By: leeyiankun
Windows PhoneAndroidWindows
on 27 January 2015 - 10:08 #785591

คีย์บอร์ดที่ดี เขาสนแค่มันตอบสนองกับการพิมพ์ดีหรือเปล่าเท่านั้นแหละ ไม่ได้สนหรอกว่ามันจะชาร์จไฟได้หรือเปล่า
คิดถึงรองเท้า ถ้ามันชาร์จไฟได้ก็ดี แต่ถ้ามันใส่ไม่สบายจะมีประโยชน์อะไร?

By: TheOrbital
iPhoneWindows PhoneAndroidSymbian
on 27 January 2015 - 12:29 #785671
TheOrbital's picture

ผมเลือกที่สัมผัสดีๆมากกว่านะ
คีย์บอร์ดที่เป็นแผ่นบางๆ หรือคีย์บอร์ด บนจอสัมผัส การสัมผัสเมื่อกดก็ยังไม่รู้สึกดีเหมือนคีย์บอร์ดจริงอยู่ดี
อย่าว่าอย่างงั้นอย่างงี้เลย
บางครั้งกดคีย์บอร์ดโน๊ตบุ๊คผมยังรำคาญใจที่มันเด้งไม่เท่าคีย์บอร์ดจริงๆ

By: zipper
ContributorAndroid
on 27 January 2015 - 14:05 #785744

มันก็คงประหยัดไฟได้ แต่ไม่รู้ว่าปกติคียบอร์ดมันกินไฟเท่าไหร่

แต่เรื่องระบุตัวตนจากคียบอร์ด เราใช้สำหรับ login ได้หรือเปล่าหว่า หรือจะเอาไปจับได้ว่าข้อความที่พิมพ์มานี้ใครพิมพ์