Tags:
Node Thumbnail

ไอบีเอ็มที่เพิ่งซื้อบริษัท SoftLayer ไปออกบริการศูนย์ข้อมูลสำรองในกรณีเกิดภัยพิบัติ โดยประกาศเกือบพร้อมกับคู่แข่งอย่าง VMware ที่ประกาศบริการ vCloud Hybrid Service - Disaster Recovery ออกมาใกล้ๆ กัน

บริการของไอบีเอ็มมีชื่อเต็มว่า IBM Business Continuity and Resilience Services (BCRS) โดยเปิดให้ลูกค้าสามารถสำเนาข้อมูลขึ้นไปยังระบบสำรองของ SoftLayer ได้ตลอดเวลาและสามารถสลับไปใช้งานศูนย์ข้อมูลสำรองนี้ได้เมื่อจำเป็นโดยลดเวลาดาวน์ระบบให้เหลือน้อยที่สุด ไอบีเอ็มระบุวางแผนจะตั้งศูนย์ BCRS นี้ทั้งหมดถึง 150 ศูนย์ทั่วโลกเพื่อลดเวลาสำรองข้อมูลให้น้อยที่สุด และเพื่อให้ลูกค้าสามารถทำตามข้อบังคับได้ (ข้อมูลหลายประเภทติดกฎหมายห้ามนำออกนอกประเทศ)

ส่วนบริการ vCloud Hybrid Service - Disaster Recovery นั้นต่างออกไป มันเป็นระบบสำรองข้อมูลจากอิมเมจของดิสก์วันละรอบเพื่อส่งไปยังศูนย์ข้อมูลของ VMware กระบวนการนี้มีข้อดีคือไม่ต้องลงซอฟต์แวร์ลงในตัว VM แต่อย่างใด และการสำรองข้อมูลวันละรอบทำให้ตั้งเวลาเลือกช่วงเวลาที่ใช้งานน้อยเพื่อส่งข้อมูลไปยัง VMware ได้ ราคาค่าสมัครบริการ 835 ดอลลาร์ต่อเดือน ลูกค้าจะได้ซีพียูรวม 20 GHz, แรม 20 GB และดิสก์อีก 1 TB สามารถนำไปแบ่งเป็นเครื่องย่อยๆ ได้เองตามการใช้งาน

ทั้งสองบริการมีแนวทางสำคัญคือแทนที่ลูกค้าจะสร้างศูนย์ข้อมูลสำรองที่ต้องเลือกสถานที่ให้ดี (เช่นในไทยปีที่แล้วหากใครเลือกแจ้งวัฒนะกับบางรักแม้จะไกลกันแต่ก็เจอปัญหาได้) ตอนนี้ก็สามารถใช้บริการคลาวด์สาธารณะเหล่านี้์ร่วมกับศูนย์ข้อมูลหลักของตัวเองอย่างเดียวโดยไม่ต้องดูแลศูนย์ข้อมูลสำรองอีก

ที่มา - IBM, VMware

Get latest news from Blognone

Comments

By: panurat2000
ContributorSymbianUbuntuIn Love
on 17 April 2014 - 00:50 #695798
panurat2000's picture

มันเป็นระบบสำรองข้อมูลจากอิมเมจของดิสก์วันระรอบเพื่อส่งไปยังศูนย์ข้อมูลของ VMware

วันระรอบ => วันละรอบ

คือแทนที่ลูกค้าจะสร้างศูนย์ข้อมูลสำรองที่ต้องะเลือกสถานที่ให้ดี

ที่ต้องะเลือก ?

ตอนนี้ก็สามารถใช้บริการคลาวด์สาธารณะเหล่านี้์ข้อมูลหลักของตัวเองอย่างเดียว

เหล่านี้์ข้อมูลหลัก ?

ที่มา - IBM, [VMware](

[VMware]( ?

By: laner
Windows
on 17 April 2014 - 11:49 #695900 Reply to:695798
laner's picture

บางที ถ้า google แปลไม่สะดุจ คงไม่เกิดชาวด์แทกไทย ที่มั่วเอาการในหนังต่างแดน แน่แท้

By: itpcc
ContributoriPhoneRed HatUbuntu
on 17 April 2014 - 01:02 #695800
By: laner
Windows
on 17 April 2014 - 12:17 #695910
laner's picture

ระบบพวกนี้ มีหลักการทำงานคล้าย Netware สมัยก่อน
หรือเหมือนระบบ Diskless ในร้านเกมส์ปัจจุบัน

เพราะข้อมูลทั้งหมด ตั้งอยู่ในสถานที่ที่ปลอดภัยเชื่อมต่อผ่าน Fiber Optic หรือ VPN เหมาะสำหรับใครก็ได้ที่มีเงินจ่ายเดือนละ 8ร้อยกว่าสหรัสต่อเดือน
ได้ CPU มา 20 Ghz แต่ไม่รู้ว่ากี่คอร์ ได้แรมมา 20 GB ไม่รู้ว่า Bus เท่าไหร่ 1333 หรือ 1600 แต่ที่มั่นใจคงต้องเป็นแบบ ECC Register แน่นอน ได้พื้นที่สำรองข้อมูลขนาด 1 Tarabyte ก็ถือว่าคุ้มน่ะ (ไม่ต้องเสียค่าไฟเอง ค่าดูแลรักษาเอง ค่าเสี่ยงภัยพิบัติ etc.)

แต่ถ้าเอา 835 * 12 10,020$ ต่อปี คิดเป็นเงินไทย ประมาณ 330,660 บาท ต่อปี (x33฿/1us) ในระยะเวลา 2 ปีก็ถือว่าคุ้มกับค่าใช้จ่ายในระดับนี้ แต่เมื่อเลยปีที่ 3 ไปแล้ว CPU 20 Ghz แรม 20 GB ฮาร์ดดิสก์ 1000GB เห็นว่าจะไม่คุ้ม

ให้นึกว่าเป็นการสำรองข้อมูลเผื่อเกิดภัยพิบัติ เกิดสงคราม แผ่นดินไหว แต่น่าจะไม่เหมาะกับหน่วยงานของไทยสักเท่าไหร่นัก (เว้นเสียแต่ว่าภัย...ของบ้านเมืองที่พึงระวังเหมือน ตึก กสท บางรักเป็นกรณีตัวอย่าง

Note.
หน่วยความจำที่มีอยู่ตามท้องตลาดมีสองมาตรฐานคือ (มีสองสามาตรฐานแต่ไม่ผิด มีได้เฉพาะแรมเท่านััน)
1. หน่วยความจำชนิดแบบ Non-ECC ใช้สำหรับเครื่อง PC,Notebooks,แทบเลต มือถือ อุปกรณ์การใช้งานตามบ้านทั่วไป เป็นต้น
2. หน่วยความจำชนิดแบบ ECC ใช้สำหรับเครื่อง Server, Workstation เป็นต้น มีราค่าต่อหน่วยแพงกว่าแรมแบบ non-ecc ทั่วไปค่อนค้างจะมาก (แล้วซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ใช้แรมชนิดไหน ตอบ ECC Register นั่นเองครับซึ่งมีคุณสมบัติพิเศษกว่า แบบ ECC Memory ทั่วๆ ไป แต่เครื่อง Server ก็ใช้ได้