เว็บไซต์ Motherboard รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวจากคนที่ทำงานด้านการให้เสียงบรรยาย (Voice Actor) ซึ่งใช้ในงานเช่น โฆษณา เสียงเปิดไตเติ้ล หรืออนิเมชั่น ในอเมริกา ว่าพวกเขาเริ่มถูกแจ้งให้เซ็นสัญญาเพิ่มเติม เพื่ออนุญาตให้สิทธิการใช้งานเสียงกับผู้ว่าจ้าง ทำให้ผู้ว่าจ้างสามารถนำเสียงของเขาไปเทรนข้อมูลสำหรับพัฒนา AI สร้างเสียงบรรยายขึ้นมาต่อได้เอง
สถานการณ์นี้ค่อนข้างยากลำบาก เพราะหากผู้ให้เสียงบรรยายไม่เซ็นยินยอม ก็เป็นไปได้ว่าโอกาสได้งานอื่นในอนาคตอาจลดลงด้วย
ในประเด็นนี้ NAVA หรือสมาคมกลุ่มผู้ทำงานด้าน Voice Actor ก็ออกคำแนะนำว่าผู้ให้เสียงบรรยาย ต้องไม่เซ็นสัญญาที่อนุญาตให้สิทธิการนำเสียงไปใช้งานอื่นต่อ นอกเหนือสำหรับใช้ประกอบชิ้นงานนั้นที่ตกลงกัน แม้แนวทางหนึ่งที่อาจทำให้ปัญหานี้ลดลงได้คือการให้ผลประโยชน์กับเจ้าของเสียงเป็นรายครั้ง หากมีการนำเสียงสังเคราะห์ไปใช้งาน แต่ส่วนแบ่งที่ได้ก็ย่อมน้อยลง เทียบกับการให้เสียงบรรยายเอง
SungWon Cho หรือ ProZD ผู้ให้เสียงบรรยายอนิเมชั่นที่มีผลงานจำนวนมาก มองว่าแนวทางนี้ไม่ให้เกียรติกับผู้ให้เสียงบรรยายในเชิงสร้างสรรค์ แม้คนอาจมองว่า AI สามารถทดแทนกันได้ในหลายมิติ ทั้งโทนเสียง อารมณ์ แต่สุดท้ายก็ทำได้แค่การเลียนแบบเท่านั้น
ที่มา: Motherboard ภาพ Pixabay
Comments
ไม่เซ็นก็ไม่ได้งาน เซ็นไปอนาคตก็ไม่ได้งาน
เห็นด้วยกับนักพากย์
แต่เอาเสียงของคนที่ตายไปแล้ว train แทนได้ไหม
บางคนแบบว่าตำนานจนอยากให้พากย์ตลอดไป อย่างเสียงท่านเปาบุ้นจิ้นของ version แรกของไทย ยังจำได้ไม่ลืม
+1 “หวังเฉาหม่าฮั่น! ไปเตรียมเครื่องประหารหัวสุนัข!!”
เหว่ หวู่
ของไทยจะเจอเหตุการณ์แบบนี้รึเปล่านะ
แต่ก็เริ่มเห็น Botnoi ทำมาบ้างแล้วนี่ครับ
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
โห อาชีพที่อาจจะหายไปในอนาคต
เราอาจจะได้ยินเสียงแบบ สหมงคลฟลีม ในหนังทุกเรื่อง ที่เขาไม่ทำพากไทย ผมว่ามันต้องมาแน่ คนดูได้ประโยช เต็มๆเว็ปดูหนังเถื่อน ก็สบายละทีนี้ มันน่าจะรุ่งเหมือนพวกโหลดบิต เพราะหลายคนก็ชอบดูของฟรีกันทั้งนั้น
แต่นักพากย์ไทยอาจล้มหายได้ ถ้าเทคโนโลยีมันไปไกลถึงขั้นสุดชนิดที่ไม่ต้องพึ่งพานักพากย์แล้ว
แค่มนุษย์คนนึงที่อยากรู้เกี่ยวกับวงการไอที
Me: 'Hey, Google เปิดไฟให้หน่อย'
Google: 'กำลังจะเปิดไฟในแบบดุดันใน 3 2 1'