Tags:
Node Thumbnail

รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้ประกาศข่าวโครงการพัฒนาโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบฟิวชั่น ตั้งเป้าเริ่มเดินระบบให้ได้ภายในปี 2040 โดยหากสำเร็จตามแผนโครงการนี้จะเป็นโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบฟิวชั่นเพื่อการใช้งานเชิงพาณิชย์แห่งแรกของโลก

ในปัจจุบันนี้โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่ผลิตไฟจ่ายเข้าสู่ระบบในหลายประเทศทั่วโลกนั้นล้วนแล้วแต่เป็นระบบนิวเคลียร์แบบฟิชชั่น ซึ่งได้พลังงานจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่มีกระบวนการแตกตัวของนิวเคลียสของอะตอมของธาตุที่ทำปฏิกิริยา ส่วนปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชั่นซึ่งได้พลังงานจากการหลอมรวมของนิวเคลียสในอะตอมของธาตุนั้นยังไม่เคยมีการนำมาใช้งานเพื่อการผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ ยังคงมีแต่การสร้างระบบเพื่อใช้ในการศึกษาทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น

สำหรับโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟัวชั่นแห่งใหม่นี้มีชื่อว่า ‘STEP’ (Spherical Tokamak for Energy Production) ซึ่งคำว่า "Tokamak" ที่ปรากฎในชื่อนั้นหมายถึงอุปกรณ์เก็บกักพลาสมาด้วยสนามแม่เหล็กซึ่งได้รับความนิยมใช้เพื่อการวิจัยผลิตพลังงานนิวเคลียร์แบบฟิวชั่นที่ควบคุมได้ โดยทำเลที่ตั้งของมันที่รัฐบาลเลือกไว้คือสถานีไฟฟ้า West Burton ในเขต Nottinghamshire ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวนั้นแต่เดิมเป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่กำลังจะหยุดใช้งาน

No Descriptionโรงไฟฟ้า STEP ซึ่งจะมีเครื่อง Tokamak ทรงกลมอยู่ข้างใน

โครงการสร้างโรงไฟฟ้า STEP นี้มีแผนงานระยะแรกที่จะพัฒนางานออกแบบในเชิงหลักการให้แล้วเสร็จภายในปี 2024 จากนั้นจึงจะมีการลงรายละเอียดงานด้านวิศวกรรมควบคู่ไปกับการสำรวจความเห็นและการขอใบอนุญาตต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และตั้งเป้าก่อสร้างโรงไฟฟ้าให้พร้อมเปิดทำการภายในปี 2040 โดยรัฐบาลสหราชอาณาจักรอนุมัติงบประมาณลงทุน 220 ล้านปอนด์สำหรับขั้นตอนการออกแบบเชิงหลักการแล้ว และคาดว่าเงินลงทุนที่จะต้องใช้ทั้งหมดจนโครงการนี้เสร็จสมบูรณ์จะมากถึง 10 พันล้านปอนด์

No Descriptionภาพภายนอกของงานออกแบบโรงไฟฟ้า STEP

ในทางทฤษฎีแล้วโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิวชั่นสามารถผลิตไฟฟ้าได้มากกว่าการใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน, น้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติเป็น 4,000,000 เท่า โดยไม่ปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระหว่างการใช้งาน ด้วยปฏิกิริยาแบบเดียวกับที่เกิดขึ้นบนดวงอาทิตย์และดาวฤกษ์ต่างๆ จะทำให้ได้ความร้อนมหาศาลจากปฏิกิริยาอันจะถูกนำไปให้ความร้อนแก่ก๊าซไฮโดรเจนจนอุณหภูมิสูงถึงระดับ 100 ล้านองศาเซลเซียส ซึ่งอุณหภูมิที่สูงระดับนี้ย่อมไม่มีวัสดุชนิดใดที่จะทนความร้อนจากการสัมผัสก๊าซโดยตรงได้ การจะควบคุมพื้นที่การเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟัวชั่นจึงไม่อาจใช้วิธีการสร้างภาชนะบรรจุธาตุที่ทำปฏิกิริยาไว้ภายใน หากแต่จำเป็นต้องใช้แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ามาช่วย และนั่นเองคือหน้าที่ของเครื่อง Tokamak ที่จะใช้แรงแม่เหล็กไฟฟ้ามากักเก็บพลาสมาให้เสถียรเป็นการควบคุมปฏิกิริยาให้เกิดเฉพาะในบริเวณที่กำหนด

ข้อมูลที่พึงตระหนักอีกอย่างของปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นนี้ก็คือ แม้ว่ามันจะถูกเรียกว่าเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์เช่นเดียวกับแบบฟิชชั่น แต่ในการใช้งานระบบฟิวชั่นนี้จะไม่มีการก่อให้เกิดกากกัมมันตรังสี ซึ่งนั่นหมายความว่าโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบฟิวชั่นไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดหายนะภัยพิบัติเฉกเช่นที่เคยเกิดกับโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลในปี 1986 หรือเหตุการณ์ภัยพิบัติโรงไฟฟ้าฟุกุชิม่าในปี 2011

ในอดีตสหราชอาณาจักรก็เป็นประเทศแรกที่มีการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แบบฟิชชั่นขึ้นเพื่อผลิตไฟใช้งานเป็นครั้งแรกของโลกในปี 1950 จึงไม่น่าแปลกใจนักที่ครั้งนี้จะมีความมุ่งมั่นและกล้าจะริเริ่มโครงการใหม่กับนิวเคลียร์ฟิวชั่น

ที่มา - GOV.UK ผ่าน Interesting Engineering

Get latest news from Blognone

Comments

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 6 October 2022 - 11:57 #1264246
nessuchan's picture

ไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่ามันทำได้แล้วนึกว่ายังเป็นการทดลองอยู่เลย

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 6 October 2022 - 11:59 #1264247 Reply to:1264246
lew's picture

ทำได้แล้วหลายปีแต่ยังใช้พลังงานกระตุ้นให้เกิด fusion มากกว่าที่ fusion ให้พลังงานกลับออกมาครับ กลายเป็นโรงงานดูดพลังงานไป แทนที่จะผลิตพลังงาน


lewcpe.com, @wasonliw

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 6 October 2022 - 13:05 #1264267 Reply to:1264247
nessuchan's picture

นั่นแหละครับที่ผมทราบ ไม่เคยรู้ว่ามันพัฒนาจนสามารถสร้างโรงไฟฟ้าได้แล้วน่ะครับ (หมายถึง Output มากกว่า Input)

By: Hoo
AndroidWindows
on 6 October 2022 - 12:10 #1264249

มันจะกลายเป็นปล่อย ฮีเลียม ออกมาในชั้นบรรยกาศแทน co2 นะสิ 🤔

ถ้าฮีเลียมสะสมในชั้นบรรยกาศมากๆจะเกิดอะไรขึ้นก็ไม่รู้
แถมกลไกธรรมชาติในการดึงฮีเลียมลงมาก็ไม่มี
co2 ยังมี พืช/แพลงตอน ดึงลงมาได้

By: rattananen
AndroidWindows
on 6 October 2022 - 12:29 #1264252 Reply to:1264249

ไม่ใช่ครับ
มันจะได้ อนุภาคไมนอฟสกี ออกมาแทนครับ

แล้วเราก็จะเข้าสู่ศักราช UC กัน

By: nex2004s on 6 October 2022 - 12:59 #1264266 Reply to:1264252

อย่างนี้การสื่อสารจะติดขัดกันหมดนะครับ

By: tom789
Windows Phone
on 6 October 2022 - 14:20 #1264276 Reply to:1264252

ห้า อ่านเพลินๆ นึกว่ามีอะไร

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 6 October 2022 - 13:16 #1264268 Reply to:1264249
tekkasit's picture

He มันเบากว่าโมเลกุลอื่นๆในบรรยากาศโลกมาก ที่หลุดมา​ มันจะลอยทะลุชั้นบรรยากาศโลกหมดครับ ออกไปนอกโลก

สังเคราะห์ขึ้นมาได้ก็ดี จะได้มีแหล่งผลิต He บ้าง เอาไปขายได้อีก มันมีความต้องการใช้งานมาก แต่ไม่ค่อยพอใช้ แถมใช้ซ้ำยาก เพราะมันเบา รั่วไหลง่าย และไม่เหลือในชั้นบรรยากาศ เอาที่ใกล้ตัวหน่อยก็ทุกเครื่อง MRI ที่มีในทุกโรงพยาบาลขนาดใหญ่ ต่างก็ต้องใช้ He หล่อแม่เหล็กกำลังสูงทั้งสิ้น

By: ECOS
Windows
on 6 October 2022 - 13:12 #1264269 Reply to:1264249
ECOS's picture

ไม่ต้องกังวลไปหรอกครับ
He จากฟิวชั่นผลิตออกมาน้อยกว่า CO2 ที่โรงไฟฟ้าทั่วไปผลิตออกมาเป็นล้านเท่า
โรงไฟฟ้าฟิวชั่นไม่น่าปล่อยทิ้งด้วย เพราะ He บนโลกหายาก ใช้ในอุตสาหกรรมหลายอย่าง อาจจะดักเก็บมาใช้
อีกอย่าง He เป็นแก๊สเบามาก มันจะลอยไปสู่บรรยากาศช้ันสูงและโดนลมสุริยะทำปลิวไปหมด นี่คือสาเหตุที่โลกเราเกือบไม่มี He เลยในชั้นบรรยากาศ
ทำให้เราต้องลำบากหา He มาใช้ ปัจจุบันความต้องการ He ในอุตสาหกรรมยังคงมีสูง
.
เพื่อความชัดเจน ให้ดูตัวเลข
มนุษย์ใช้ไฟฟ้าปีๆนึงประมาณ 24,000TWh = 8.64x10^19J
นิวเคลียร์ฟิวชั่น ถ้าทำจนสำเร็จแล้วได้พลังงานคุ้มกว่าที่ป้อนเข้าไป เอาน้อยๆซัก 20% (กระตุ้น 100 เก็บได้ 120) ถ้าจะทดแทนพลังงานทั้งโลก ต้องผลิตพลังงาน 6 เท่าของค่าปัจจุบัน = 5.18x10^20J
D-T fusion ให้พลังงาน 17.6MeV/ปฏิกิริยา และให้ He 1 ตัว
ดังนั้นต้องใช้จำนวนปฏิกิริยา = 5.18x10^20/(17.6*10^6x1.6x10^-19) = 1.84x10^32 ปฏิกิริยา และได้ He เท่านี้ตัวด้วย ซึ่งเทียบเท่า He 1.84x10^32/6.02x10^23 = ประมาณ 300 ล้านโมล
เทียบเป็นมวลก็คือประมาณ 1200 ตัน หรือ 6.72ล้านลูกบาศก์เมตร
ปี 2019 มนุษย์ผลิต He มาใช้ประมาณ 160 ล้านลูกบาศก์เมตร หลักๆมาจาก He ที่ละลายอยู่ในแก๊สธรรมชาติใต้ดิน
เทียบกับเลขอีกตัว
มนุษย์ปล่อย CO2 ออกสู่บรรยากาศ 35,000 ล้านตันต่อปี มากกว่า He ที่คำนวณได้ถึง 30 ล้านเท่า
.
edit เปลี่ย * เป็น x

By: Hoo
AndroidWindows
on 6 October 2022 - 13:33 #1264272 Reply to:1264269

โอ ข้อมูลแน่นมาก
ขอบคุณครับ

By: GyG on 6 October 2022 - 15:30 #1264286 Reply to:1264249
GyG's picture

ฮีเลี่ยมที่ปล่อยออกมา มีปริมาณน้อยกว่า co2 ที่ถูกปล่อยออกมาจากเชื้อเพลิงฟอสซิลเยอะมาก ๆ ครับ กว่ามันจะสะสมได้มาก ๆ มันน่าจะถูกลมสุริยะเป่าลอยออกไปจนเกือบหมดก่อนที่จะสะสมได้ขนาดนั้นแล้ว (ฮีเลี่ยมมันหนักกว่าแค่ไฮโดรเจน ทำให้มันลอยขึ้นไปนอกชั้นบรรยากาศได้ไวกว่า co2 ที่หนักกว่าเยอะ)

และฮีเลี่ยมเป็นหนึ่งในแกสเฉื่อยที่แทบจะไม่ทำปฏิกิริยากับอะไรเลย น้อยกว่าไนโตรเจนที่มีเป็นส่วนใหญ่ในอากาศซะอีก ทำให้มันปลอดภัยมาก ๆ เมื่อเทียบกับแกสอื่น ๆ ครับ

By: zionzz on 6 October 2022 - 19:26 #1264314 Reply to:1264249

อย่างที่หลายท่านว่า ฮีเลียมเป็นก๊าซที่มีคุณประโยชน์สูงด้วยความที่มันเป็นก๊าซที่คงสภาพได้ดีมากๆๆ หาได้จากการขุดเจาะเท่านั้น พอรั่วออกมาก็บินออกนอกโลกไปเลย

การนำมาใช้งานก็มักจะเป็นแบบใช้แล้วทิ้ง เช่นผสมในถังอ๊อกซิเจนนักประดาน้ำป้องกันโรคอะไรซักอย่าง ใช้ดันเชื้อเพลิงในไอพ่นของกระสวยอวกาศ ใช้เติมลูกโป่งให้เด็กแบบปลอดภัย555

ฉะนั้น มันแพงครับ เป็นไปได้เขาไม่อยากปล่อยให้มันรั่ว ไม่เหมือน CO2

By: ECOS
Windows
on 6 October 2022 - 13:16 #1264271
ECOS's picture

ลุ้นให้สำเร็จนะ
แต่ยากมากๆเลย เพราะตอนนี้ยังไม่มีการทดลองไหนที่ใกล้เคียงการเอามาใช้งานเชิงพานิชย์ได้จริงเลย
ขนาด ITER เตาขนาดยักษ์ที่กำลังสร้างเฟสทดลองน่าจะเสร็จช่วง 2040 เหมือนกัน แล้วคงมีปัญหาทางวิศวกรรมให้แก้ตามมาอีก

By: tom789
Windows Phone
on 6 October 2022 - 14:21 #1264277

น่าสนใจตรงไม่มีกาก น่าจะได้พลังงานบริสุทธ์

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 6 October 2022 - 16:32 #1264292
hisoft's picture

แก้ปัญหาน้ำทะเลท่วมโลก ด้วยการแยกไฮโดรเจนออกมาจากน้ำแล้วเอาไปทำฮีเลียมแทน ได้ผลพลอยได้เป็นออกซิเจนบริสุทธิ์ด้วย อื้มมม

ไฮโดรเจนจากน้ำ 1 ลิตรนี่ให้พลังงานทั้งโลกได้กี่นานแค่ไหนนะ 🤔

By: ECOS
Windows
on 6 October 2022 - 20:09 #1264318 Reply to:1264292
ECOS's picture

ไม่นานเท่าไหร่ครับ
ปัญหาอีกอย่างของฟิวชั่นในปัจจุบันคือใช้ไฮโดรเจนธรรมดาเหมือนในดวงอาทิตย์ไม่ได้ ทำยากเกินไป
ต้องไปใช้ดิวทิเรียม ทริเทรียมแทน ซึ่งทริเทรียมหายากมาก พบบนดวงจันทร์มากกว่าบนโลก (เลยจะไปดวงจันทร์กันยุคนี้แหละ) เพราะดวงอาทิตย์ผลิตทริเทรียมออกมาตลอด
ดิวทิเรียมพบประมาณ 1.5 ในหมื่นของอะตอมไฮโดรเจน
สมมุติถ้าหาทริเทรียมพอ 1 ลิตรของน้ำจะมีดิวทิเรียม 0.00015x2x6.02x10^23/22.4=8x10^18 อะตอม
ก็ให้พลังงานได้ 8x10^18x17.6MeV/reaction = 22.8 ล้านจูล
ให้ทั้งโลกใช้ได้ 22.8x10^6/(8.64x10^19)=6.24x10^-13 ปี คิดเป็น 8 ไมโครวินาทีครับ
ถ้าจะให้พอทั้งปีต้องใช้น้ำ 4 ล้านล้านลิตร = 4 ลูกบาศก์กิโลเมตร
ถ้าจะสกัดดิวทิเรียมมาใช้ให้หมดโลกจากน้ำ ก็จะใช้ได้นานประมาณ 350 ล้านปี
.
ปริมาณน้ำขนาดนี้ทำได้ยากและเป็นปัญหาในระยะยาว
สุดท้ายแล้วเราควรขยับไปสู่ proton-proton chain แบบที่ดวงอาทิตย์ใช้ในซักวัน การใช้ไฮโดรเจนปกติจะหาง่ายกว่ามากๆ (มีให้ใช้มากกว่าประมาณ 2200 เท่า)
ถ้าเอาไฮโดรเจนปกติไปใช้ได้ 1 ลิตรของน้ำจะให้พลังงานกับทั้งโลกได้เป็น 26.4ms แทน หรือใช้น้ำปีละ 1.2พันล้านลิตรแทน

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 6 October 2022 - 23:07 #1264332 Reply to:1264318
hisoft's picture

ก็ยังโหดอยู่ดีครับ กระทั่งใช้ไฮโดรเจนสามัญแล้ว orz

ขอบคุณสำหรับข้อมูลมากครับ ละเอียดมากเลย

By: Hoo
AndroidWindows
on 7 October 2022 - 21:58 #1264476 Reply to:1264318

โห ฟังแล้วสยองน้ำหมดโลกแทน 😰

By: Aize
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 6 October 2022 - 16:43 #1264295
Aize's picture

เหมือนสร้างพระอาทิตย์จำรองที่จีนมั้ยนะ


The Dream hacker..

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 6 October 2022 - 19:13 #1264313 Reply to:1264295
hisoft's picture

nuclear fusion เหมือนกันครับ

By: panther
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 6 October 2022 - 21:33 #1264324
panther's picture

พึ่งดู scope wsj เดือนก่อน แลบที่ uk นี่แหละบอกว่าเทคโนโลยีด้าน นิวเคลียร์ฟิวชั่นก้าวหน้าเร็วกว่าสมัยก่อนมาก เพราะไม่ได้จำกัดอยู่แค่นี้หน่วยงานรัฐแต่มีบริษัทสตาร์ตอัพเข้ามาแข่งขันเยอะ
ลักษณะเดียวกับเทคโนโลยีอวกาศตอนนี้ ที่ก้าวหน้าไวกว่าสมัยก่อนมาก เพราะมีเอกชนเข้ามาแข่งขัน
ปล...เทคโลโลยีพลังงานสะอาดอื่นๆก็พัฒนาเร็วนะ อย่างโรงไฟฟ้าพลังงานจากคลื่นก็ผลิตได้ในปริมาตรมากละ แต่ราคาต้นทุนต่อหน่วยยังแพงกว่าไฟฟ้าจากระบบปกติอยู่มาก แพงกว่า 5 เท่าได้มั้ง