Tags:
Node Thumbnail

นักวิจัยจากญี่ปุ่นค้นพบว่าหมูสามารถรับเอาออกซิเจนเข้าทางรูทวารหนักได้แทนการหายใจตามปกติทางจมูกและปาก ซึ่งนี่อาจนำไปสู่แนวทางใหม่สำหรับการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ

ทีมนักวิจัยพบจาก Tokyo Medical and Dental University ได้ทำการทดลองอัดของเหลวที่มีส่วนผสมของออกซิเจนเข้าทางรูทวารหนักผ่านไปยังลำไส้ของหมู ทำให้มันสามารถมีชีวิตรอดอยู่ได้แม้ไม่มีการหายใจด้วยปอด กล่าวคือร่างกายของหมูสามารถรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านลำไส้

ซึ่งการวิจัยทดลองนี้มาจากการสังเกตธรรมชาติของปลาชนิดหนึ่ง ก่อนจะเริ่มทดลองกับสัตว์ขนาดเล็กอย่างหนู และมาสู่การทดลองกับหมูในงานวิจัยล่าสุด ซึ่งอนาคตก็เตรียมจะทำการทดลองกับร่างกายคนเป็นลำดับถัดไป

No Description

จุดเริ่มต้นนี้ทั้งหมดทั้งมวลมาจากการสังเกตปลาโลชซึ่งเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่มีความพิเศษตรงที่มันสามารถหายใจผ่านลำไส้ได้เมื่อตกอยู่ในภาวะขาดออกซิเจน โดยเนื้อเยื่อบริเวณลำไส้ของปลาโลชจะปรับเปลี่ยนโครงสร้างตัวเองทำให้ปลาหายใจได้ และจากจุดนั้นก็ทำให้นักวิทยาศาสตร์เกิดความสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะสามารถหายใจผ่านทางลำไส้ได้แบบเดียวกับปลาโลชหรือไม่

จากการสังเกตปลาจึงนำมาซึ่งการทดลองที่ทีมนักวิทยาศาสตร์ของ Tokyo Medical and Dental University ร่วมกับ Nagoya University Graduate School และแผนกศัลยแพทย์ทางเดินหายใจของ Kyoto University นำเอาหนูที่อยู่ในภาวะขาดออกซิเจนมารับการอัดก๊าซออกซิเจนผ่านทางรูทวารหนัก ซึ่งก็พบว่าหนูที่ได้รับการอัดก๊าซมีชีวิตรอดอยู่ได้นานกว่าหนูอีกกลุ่มที่ขาดออกซิเจนแต่ไม่ได้รับการอัดก๊าซ

จากนั้นทีมวิจัยได้ทดลองเพิ่มเติมโดยการลอกเยื่อเมือกในลำไส้ออกจากหนูเพื่อดูว่ามันจะสามารถรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายได้ดีขึ้นกว่าเดิมหรือไม่ ซึ่งผลการทดลองก็พบว่าหนูมีชีวิตรอดอยู่ได้นานกว่าเดิมเมื่อเปรียบเทียบกับตอนที่รับการอัดก๊าซเฉยๆ โดยไม่ได้ลอกเยื่อเมือกออก ทั้งนี้การทดลองในขั้นตอนนี้ไม่เพียงแต่จะพบว่าหนูมีชีวิตรอดได้นานขึ้นเท่านั้น แต่ยังพบว่าหนูไม่แสดงอาการหอบและไม่เกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นด้วย

No Descriptionการลอกเยื่อเมือกในลำไส้ของหนูออกก่อนการทดสอบให้ออกซิเจน

หลังผ่านกระบวนการทดลองในขั้นตอนที่ลอกเยื่อเมือกออกจากลำไส้ของหนูแล้ว ทีมวิจัยจินตนาการว่าเมื่อลอกเยื่อเมือกออกย่อมทำให้เกิดความรู้สึกระคายเคืองดังนั้นอาจจะดีกว่าหากสามารถทำการให้ออกซิเจนในรูปแบบของเหลวแทนการให้ในสถานะก๊าซ จึงเกิดการทดลองในขั้นถัดมาโดยเปลี่ยนจากการอัดก๊าซออกซิเจนเป็นการอัดของเหลวทำละลายออกซิเจนเข้าไปแทน โดยใช้สาร perfluorodecalin ที่มีคุณสมบัติสามารถทำละลายออกซิเจนปริมาณมากได้ (สารนี้เคยใช้สำหรับการให้ออกซิเจนแก่ทารกแรกเกิดที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ และใช้เป็นเลือดเทียมเพื่อช่วยในกระบวนการแลกเปลี่ยนออกซิเจนระดับเนื้อเยื่อ) ซึ่งก็ได้ผลลัพธ์ว่าหนูสามารถหายใจด้วยการรับออกซิเจนในรูปแบบของเหลวได้เช่นกัน

No Descriptionภาพอธิบายการทดสอบให้ออกซิเจนในรูปแบบของเหลวผ่านทวารหนักให้หนู

งานวิจัยทดลองทั้งหมดที่ทำกับหนูทดลองดังที่กล่าวมานั้นได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เมื่อปีก่อน และปีนี้ทีมวิจัยได้เปลี่ยนมาทดลองกับหมูซึ่งเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น และก็พบว่าหมูสามารถหายใจด้วยการรับออกซิเจนผ่านทางรูทวารหนักทั้งในสถานะก๊าซและของเหลวได้เช่นเดียวกัน โดยหมูที่มีขนาดตัว 50 กิโลกรัมสามารถรับออกซิเจนผ่าทางทวารหนักและมีชีวิตรอดอยู่ได้นาน 30 นาทีแม้จะอยู่ในภาวะทางเดินหายใจล้มเหลวที่ปกติแล้วมีความรุนแรงในระดับที่ทำให้ตายได้

ทีมวิจัยกำลังพิจารณาวางแผนเพื่อจะเริ่มทดลองกับร่างกายคนในลำดับถัดไป ซึ่งหากได้ผลเชิงบวกเหมือนการทดลองกับหนูและหมูดังเช่นก่อนหน้านี้ ก็อาจนำไปสู่เทคนิคการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการหายใจด้วยวิธีการใหม่เพิ่มเติมจากที่ในปัจจุบันมีอยู่ 2 วิธี คือการใช้เครื่องช่วยหายใจอัดอากาศเข้าสู่ร่างกายคนผ่านทางจมูกและปาก และการใช้เครื่อง ECMO ซึ่งเป็นการดึงเอาเลือดออกจากร่างกายผู้ป่วยมาเข้าเครื่องปอดเทียมเพื่อรับออกซิเจนก่อนหมุนเวียนกลับเข้าสู่ร่างกาย

ผู้ที่สนใจสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจากเอกสารงานวิจัยได้ที่นี่

ที่มา - Vice

Get latest news from Blognone

Comments

By: 7
Android
on 11 August 2022 - 02:37 #1257908
7's picture

พอเป็นญี่ปุ่นแล้วมันรู้สึกโรคจิตชอบกล ฮา

By: sp on 11 August 2022 - 08:15 #1257924 Reply to:1257908

+1

By: api on 11 August 2022 - 04:11 #1257910

คล้ายๆที่เอาเหล้ายัดรูก้นแล้วจะเมาเร็วกว่ากินทางปากสินะ

By: pepporony
ContributorAndroid
on 11 August 2022 - 06:42 #1257915

ทำไมมันดูโคตรทรมาน จากรูปกับคำอธิบายคือ force ให้ขาดอากาศแล้วเอามาทดลอง = =

By: whitebigbird
Contributor
on 11 August 2022 - 06:57 #1257918 Reply to:1257915
whitebigbird's picture

วิทยาศาสตร์การแพทย์โหดร้ายกับสัตว์แบบนั้นตลอดมาครับ

By: zumokik
ContributorAndroidUbuntuWindows
on 11 August 2022 - 07:32 #1257919

David Blaine ถูกใจสิ่งนี้


@zumokik

By: pepporony
ContributorAndroid
on 11 August 2022 - 08:03 #1257921 Reply to:1257919

ภาพการแสดงต่อไปผุดเข้ามาในหัวเลย

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 11 August 2022 - 08:40 #1257926
TeamKiller's picture

นึกว่าใช้แทนการหายใจปกติได้ซะอีก แบบดำน้ำแล้วหายทางก้นได้

By: zerost
AndroidWindows
on 11 August 2022 - 09:08 #1257931
zerost's picture

อ่านแต่หัวนึกถึง human centipede เลย

By: zipper
ContributorAndroid
on 11 August 2022 - 09:13 #1257932

ถ้าอย่างนั้นแล้วเวลามีอุจจาระค้างอยู่ที่ลำไส้ใหญ่ มีก๊าซอยู่ในลำไส้เนื่องจากการหมักของแบคทีเรียในลำไส้ ก๊าซพวกนั้นก็เข้าสู่ร่างกายคนเราได้ด้วยสิ แล้วจะส่งผลอะไรต่อสุขภาพคนเราด้วยหรือเปล่า

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 11 August 2022 - 09:26 #1257937 Reply to:1257932
nessuchan's picture

ิสิ่งที่ควรระวังคือน้ำในอุจาระมากกว่าครับ จะสังเกตุว่าเวลาเราท้องผูกอุจาระจะแข็ง นั่นเพราะว่าร่างกายเราดูดซึมน้ำพวกนั้นไปใช้ต่อในร่างกาย พวกเชื้อโรคต่าง ๆ ก็จะถูกดูดซึมเข้าไปในกระแสเลือดด้วยครับ ทำให้เกิดการอักเสบและระบบภูมิคุ้มกันทำงานหนักขึ้น อาการก็จะเป็นอ่อนเพลียท้องอืด สิวขึ้น ประมานนั้นครับ ถ้านาน ๆ เข้าส่งผลเสียต่อร่างกายแน่นอนครับ

By: ravipon
iPhoneWindows
on 11 August 2022 - 09:59 #1257948 Reply to:1257937
ravipon's picture

เออ ในลำไส้มีเชื้อโรคประจำถิ่นเป็นปกติอยู่แล้วนะครับ แล้วการดูดซึมน่าจะไม่สามารถดุโซึมเอาเชื้อโรคเข้าไปในร่างกายได้นะครับ ไม่งั้นคนเราคงติดเชื้อในกระแสเลือดกันได้ง่าย ๆ แล้วละครับ

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 11 August 2022 - 15:07 #1257985 Reply to:1257948
nessuchan's picture

ดูดซึมได้ครับถึงแม้ว่าจะไม่ได้ง่ายแบบดูดซึมทั้งหมดแต่มันกันได้ไม่หมดครับ และร่างกายก็มีระบบภูมิคุ้มกันที่จัดการเชื้อโรคอยู่แล้วครับไม่ได้ติดเชื้อในกระแสเลือดกันได้ง่าย ๆ อย่างมากก็เกิดการอักเสบในร่างกายครับ (สิวขึ้น)

ขอยกตัวอย่างนะครับมันมีโรคที่ชื่อว่า diverticulitis ครับ ภาษาไทยเรียกว่า โรคกระเปาะที่ลำไส้ใหญ่ มีสองแบบ แบบไม่มีเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า diverticulosis ส่วนแบบมีเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า diverticulitis ครับ โรคนี้ถึงแม้ว่าจะยังไม่แน่ชัดว่าเกิดจากสาเหตุอะไร แต่เข้าใจว่าถ้าทานอาหารที่ไฟเบอร์น้อยทำให้ท้องผูกบ่อยและร่างกายดูดซึมน้ำไปหมดจนอุจาระแข็งบ่อย ๆ เข้าจะเป็นการสร้างแรงกดผนังลำไส้ นานวันเข้าจึงเกิดเป็นกระเปาะที่ผนังลำไส้ได้ ถึงตอนนี้เชื้อแบคทีเรียก็สามารถเข้าไปในร่างกายได้และต้องใช้ยาปฏิชีวนะช่วยรักษาด้วยครับ

By: rattananen
AndroidWindows
on 11 August 2022 - 16:59 #1257995 Reply to:1257948

ลำไล้ใหญ่ดูดซึมโดยวิธี Osmosis ครับ
ฉะนั้น ถ้าสิ่งที่ดูดโมเลกุลมันเล็กพอที่จะผ่านเนื้อเยื่อได้มันดูดหมดล่ะครับ ไม่ว่าจะสารอะไรก็ตาม

By: zipper
ContributorAndroid
on 11 August 2022 - 15:35 #1257991 Reply to:1257937

แสดงว่าน้ำในอุจจาระเป็นปัจจัยหลักอยู่ เรื่องลำไส้ดูดซึมก๊าซได้อาจจะไม่มีผลกระทบอะไรต่อสุขภาพคนก็ได้

By: rattananen
AndroidWindows
on 11 August 2022 - 10:47 #1257956

ผมก็หายใจทางก้นได้นะ แต่หายใจออกได้อย่างเดียว

By: whitebigbird
Contributor
on 11 August 2022 - 13:53 #1257978 Reply to:1257956
whitebigbird's picture

อันนั้นเค้าเรียกว่าตดครับ ไม่น่ามีการแลกเปลี่ยนออกซิเจน น่าจะมีแต่มีเทน

By: gamoman
AndroidWindows
on 11 August 2022 - 14:27 #1257982 Reply to:1257978

มี O2 ผสมอยู่หน่อย ๆ และเป็นการแลกเปลี่ยนแกมบังคับกับคนที่ไม่ได้ยินเสียง
ประสิทธิภาพในการแลกเปลี่ยนจะดีมากขึ้นเมื่ออยู่ในสถานที่ปิดไม่มีอากาศถ่ายเท เช่น ลิฟต์ หรือ ผ้าห่ม

By: whitebigbird
Contributor
on 11 August 2022 - 14:52 #1257984 Reply to:1257982
whitebigbird's picture

ถ้าเราเอาท่อมาต่อกับจมูกโดยตรงน่าจะลดการสูญเสีย o2 ไปได้ระดับนึง และลดการปนเปื้อนของเคมีอื่นๆ จากสภาพแวดล้อมด้วย

By: nessuchan
iPhoneAndroidWindows
on 11 August 2022 - 15:08 #1257986 Reply to:1257984
nessuchan's picture

ทำไมผมอ่านเม้นนี้แล้วขมคอ

By: errin on 11 August 2022 - 12:40 #1257969

นึกถึง Black Mirror

By: Architec
ContributorWindows PhoneAndroidWindows
on 11 August 2022 - 13:08 #1257971

ผมก็นึกว่าทดแทนปอดได้เลย จนมาอ่านถึงตรงนี้

และมีชีวิตรอดอยู่ได้นาน 30 นาที

😐

By: ตะโร่งโต้ง
WriterAndroidWindows
on 11 August 2022 - 17:44 #1257997 Reply to:1257971
ตะโร่งโต้ง's picture

ผมก็ไม่แน่ใจเหมือนกันครับว่าหลังจาก 30 นาทีนั้นมันเป็นยังไงกันแน่...ระหว่าง
1. หมูตายเพราะทนไม่ไหว
2. ทีมวิจัยปล่อยให้หมูหายใจตามปกติ


ช่างไฟสมัครเล่น (- -")

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 11 August 2022 - 20:10 #1258008 Reply to:1257971

ไม่น่าแทนได้อยูแล้วครับ เพราะอ่านดูไม่มีตรงไหนเอา CO2 ออกจากร่างกายเลย มีแต่อัด O2 เข้าอย่างเดียว แถมอัดเข้าตรงลำไส้ ไม่มีทางที่เลือดที่ได้ O2 จากตรงนั้นมันจะวิ่งไปทั่วร่างอยู่แล้วมั้งครับ เพราะร่างกายไม่ได้ออกแบบมาแบบนั้น


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: big50000
AndroidSUSEUbuntu
on 11 August 2022 - 20:54 #1258013 Reply to:1258008
big50000's picture

เลือดที่ CO2 สูงจะโดนผลักออกแล้วแทนที่ด้วย O2 ในกระบวนการหายใจอยู่แล้ว เพราะต้องปรับความเข้มข้นให้เท่ากันผ่านกระบวนการแพร่ (Diffusion) แต่กรณีของของเหลวผมยังไม่รู้ว่าต้องใช้พลังงานมากขนาดไหนในการนำ CO2 จากเลือดเข้าสู่ของเหลว แต่มากกว่าแก๊สแน่ ๆ

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 12 August 2022 - 21:08 #1258053 Reply to:1258013

CO2 โดนผลักออกแล้วมันไปไหนต่อครับ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!

By: big50000
AndroidSUSEUbuntu
on 12 August 2022 - 22:54 #1258063 Reply to:1258053
big50000's picture

อยู่ในของเหลว PFC นั่นแหละ จนกว่าของเหลวจะมีความเข้มข้นของ CO2 ระหว่างจุดที่แลกเปลี่ยนแก๊สและของเหลวมีค่าใกล้เคียงกัน การแพร่จะลดลงเรื่อย ๆ

แต่ถ้าหมายถึงจะแลกเปลี่ยนออกมาสู่สภาพแวดล้อมอย่างไร อันนี้แม้แต่วิจัยก็ไม่ทราบเพราะไม่ได้บอกว่าทดลองเรื่องนั้นด้วย แต่ถือว่าเป็นนิมิตหมายที่ดีในการต่อยอด อาจจะพัฒนากระบวนการไหลเวียนของของเหลว PFC ทำให้สามารถกำจัด CO2 ออกไปได้

By: -Rookies-
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 14 August 2022 - 13:49 #1258131 Reply to:1258063

โอ้ ขอบคุณครับ


เทคโนโลยีไม่ผิด คนใช้มันในทางที่ผิดนั่นแหละที่ผิด!?!