Tags:
Node Thumbnail

Amazon รายงานถึงความก้าวหน้าของโครงการอินเทอร์เน็ตผ่านดาวเทียม Kuiper ที่เตรียมจะให้บริการอินเทอร์เน็ตทั่วโลกด้วยดาวเทียม 3,236 ดวงที่โคจรในวงโคจรระดับต่ำ โดยตอนนี้จานดาวเทียมทดสอบกับดาวเทียมจริงสำเร็จแล้ว และทำแบนวิดท์ได้ถึง 400Mbps พร้อมกับระบุว่าในเวอร์ชั่นต่อๆ ไปจะทำแบนวิดท์ได้สูงกว่านี้

จานดาวเทียมของ Kuiper เป็นจานในคลื่นวิทยุย่าน Ka แบบ single aperture phased array ตัวจานมีขนาด 30 เซนติเมตรใช้ทั้งรับและส่งข้อมูล

ผลทดสอบจานนี้ทดสอบกับดาวเทียมไม่เปิดเผยชื่อดวงหนึ่งที่โคจรในวงโคจรค้างฟ้า (GEO) แม้ว่าดาวเทียม Kuiper ของจริงจะโคจรระดับต่ำกว่านี้ 50 เท่า

ที่มา - Amazon

Get latest news from Blognone

Comments

By: ketting
Android
on 19 December 2020 - 12:54 #1190513

ถ้าซื้อมาใช้นี่ไม่ต้องไม่ต้องผ่านการเซ็นเซอร์ใดๆ ใช่เปล่า?

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 19 December 2020 - 15:54 #1190522 Reply to:1190513
TeamKiller's picture

ขึ้นกับ gateway ตอนขาออกที่ภาคพื้นละครับ ถ้าแบบ ISP ในไทยจับมือเป็นฐานรับส่งสัญญาณ มันก็เน็ทบ้านไทยๆ นี่ละครับ ยกเว้นแต่ ไม่มีสถานีที่ไทยไปออกที่อเมริกาเลยก็ตามแต่ละเจ้าเลย

By: jokerxsi on 19 December 2020 - 18:45 #1190544 Reply to:1190513

ใช่ครับ แต่กฎหมายไทยใช้ไม่ได้ ถ้าจำไม่ผิดนะ

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 19 December 2020 - 15:55 #1190523
TeamKiller's picture

แต่ละเจ้าก็ปล่อยๆ จะเป็นขยะอวกาศไปไหมเนี่ย

By: lew
FounderJusci's WriterMEconomicsAndroid
on 19 December 2020 - 16:58 #1190533 Reply to:1190523
lew's picture

ถ้าหมดอายุแล้วดันลงให้ไหม้ในชั้นบรรยากาศหมดก็ไม่เป็นขยะ?


lewcpe.com, @wasonliw

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 19 December 2020 - 17:06 #1190534 Reply to:1190533
TeamKiller's picture

จริงๆ ผมห่วงที่มันอยู่บนท้องฟ้า แบบหลายพัน หลายหมื่นดวง ยานปล่อยขึ้นไปจะไปเฉี่ยวกันไหมเนี่ย หรืออีกหน่อยจะเป็นอุปสรรคของการปล่อยจรวจ ตอนนี้ประเทศที่ยิงจรวจขึ้นได้ยังมีกี่ประเทศเลยอาจจะยังไม่เห็นผลกระทบอะไร

By: pd2002 on 19 December 2020 - 17:47 #1190542 Reply to:1190534

1.มันมีระบบป้องกันการชนครับ บังคับให้มันหลบกันได้ (แบบออโต้)
2.มันมีอายุการใช้งานพอหมดอายุ หรือมันเสื่อม malfunction ก็ดึงมากลับเข้ามาในชั้นบรรยากาศ เผาหมดเกลี้ยงครับ ดาวเทียมมันเล็กๆน้ำหนักเบามาก ออกแบบมาให้ชั้นบรรยากาศเผาหมดไม่เหลือซาก
3.เรื่องปล่อยจรวดอย่าห่วงเลยครับ ปัญหาจิ๊บจ๊อยมากครับ

By: TeamKiller
ContributoriPhone
on 19 December 2020 - 17:57 #1190543 Reply to:1190542
TeamKiller's picture

ไม่ห่วงมันชนกันหรอกครับ ถ้าชนกันเองก็เป็นปัญหาของภายในกันเอง แต่ไปชนยานลำอื่น หรือขวางทางไรงี้ ปัญหามันจิ๊บจ๊อย จริงๆ เหรอครับ อีกหน่อยแต่เจ้าก็ปล่อยกันเต็มฟ้าไปหมด

เรื่องเสียนี่ถ้าเสียแบบควบคุมได้คงไม่เท่าไรสั่ง burn วิ่งเข้าชั้นบรรยากาศโลกได้

By: Kazu
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 19 December 2020 - 20:43 #1190550 Reply to:1190543

ดาวเทียมมีวงโคจรตายตัวครับ ไม่ได้ยิ่งขึ้นไปกันมั่วๆ

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 19 December 2020 - 21:12 #1190552 Reply to:1190533
hisoft's picture

จริงๆ ผมห่วงที่วงโคจรสุสานมากกว่าครับ ? https://spaceth.co/end-of-mission-ep-1/

By: pd2002 on 19 December 2020 - 17:48 #1190541

เห็น Amazon ก็เป็นห่วงอยู่เหมือนกันว่ามี 6% ในการที่ดาวของ Amazon จะชนกับ Starlink