Tags:
Node Thumbnail

จบลงไปแล้วสำหรับงาน TechJam 2019 โดย KBTG กับเวทีการแข่งขันเฟ้นหาตัวจริงด้านเทคโนโลยีและการออกแบบ ปีนี้เป็นการเฟ้าหาผู้รู้จริงทั้งด้าน Coding, Data และ Design ผู้ชนะได้เงินรางวัล 1 แสนบาทพร้อมบินดูงานเทคโนโลยีระดับโลกที่ซิลิคอนวัลเล่ย์ และยังมีโอกาสเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ KBTG ในการร่วมสร้างอนาคตให้ขับเคลื่อนสู่ยุคดิจิทัล
No Description

การแข่งขันรอบสุดท้ายจัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 พ.ย. - 1 ธ.ค. 2562 ที่ผ่านมา มีคนร่วมแข่งขัน 1,750 คน จากหลากหลายวัยและอาชีพ แบ่งเป็นการเข้าร่วมการแข่งขัน Deep Code 800 คน ผ่านเข้ารอบ 38 ทีม ในขณะที่ Deep Data มาแรง มีผู้สมัครมากกว่าปี 2018 หนึ่งเท่าตัวอยู่ที่ 650 คน ผ่านเข้ารอบ 20 ทีม ส่วน Deep Design มียอดคนสมัคร 300 คน ผ่านเข้ารอบ 20 ทีมเช่นกัน

ผู้ชนะเลิศอันดับที่ 1 ของทั้ง 3 Deep ได้แก่ Deep Code คือ Team FM and POL , Deep Data คือ Team AlannKuma และ Deep Design คือ Team GTBK

การแข่งขันในแต่ละ Deep มีโจทย์หลากหลาย ท้าทายความสามารถผู้เข้าแข่งขันเพราะต้องแก้โจทย์เรียลไทม์ในเวลาจำกัด และมีการจำลองสถานการณ์ขึ้นมาหลายรูปแบบเพื่อให้แน่ใจว่าผู้เข้าแข่งขันสามารถแก้ปัญหาได้
No Description

ผู้ชนะในด้าน Deep Code คือทีม FM and Pol ของนายพล สุรกิจโกศล และนายเอกลักษณ์ ลีละศรชัย

โจทย์ที่ได้รับในการแข่งขัน Deep Code คือโจทย์ปัญหาเชิงอัลกอริทึม วัดความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหาเชิงคำนวณ (Problem Analysis) ออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหา (Algorithm Design) และสามารถลงมือเขียนโค้ดเพื่อแก้ไขปัญหาได้จริง (Programming) นอกจากนี้ยังมีโจทย์ปัญหาให้เขียน Web Service Application ตาม Requirement ที่กำหนดให้
No Description

ความท้าทายที่ผู้เข้าแข่งขันต้องเจอคือ Requirement จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ต้องแก้โจทย์ภายในเวลาจำกัด ต้องชั่งน้ำหนักให้ดีว่าถ้าเพิ่มฟีเจอร์แก้ปัญหาเข้าไปแล้วจะไปทำลายโครงสร้างเดิมที่สร้างไว้หรือไม่ ดังนั้นโค้ดที่เขียนขึ้นในทีแรก ต้องยืดหยุ่นและรองรับการเปลี่ยนแปลงในภายหลังได้ ซึ่งทีม FM and Polเป็นทีมเดียวที่ได้คะแนนทั้ง 3 พาร์ทอยู่ในระดับ consistent ทำให้ได้รับชัยชนะไป
No Description

ผู้ชนะด้าน Deep Data คือ Team AlannKuma ของนายวัชรินทร์ เหลืองวัฒนากิจ และนางเอมฤดี จงทวีสถาพร

ในการแข่งขันเป็นการวัดความสามารถจาก 2 ส่วนคือ Technical Skills ความช่างสังเกต ดูวิธีการแจกแจงข้อมูลที่ไม่ได้บอกความหมายใดๆ และ Business Skill หรือการนำข้อมูลไปใช้จริงในเชิงธุรกิจ

เกณฑ์การตัดสินคือ ให้ผู้เข้าแข่งขันสร้างโมเดลจากข้อมูลที่ให้ไป โดยวัดที่ความสามารถในการทำนายความต้องการของลูกค้าได้อย่างแม่นยำ พร้อมด้วย presentation skills ซึ่งจะมีเวลาให้ทีมละ 5 นาที และตอบคำถาม 3 นาที

ทางผู้เข้าแข่งขันเล่าว่าทีมได้ชุดข้อมูลที่ไม่บอกความหมายใดๆ มาชุดหนึ่ง และจะต้องนำข้อมูลนั้นมาวิเคราะห์แล้วตีให้แตกและหา insight ให้ได้ว่าลูกค้ามีพฤติกรรมอย่างไร และควรจะเสนอบัตรเครดิตประเภทไหนถึงจะตอบโจทย์ลูกค้า
No Description

ผู้ชนะเลิศ Deep Design ได้แก่ทีม GTBK ของนายธนนท์ วงศ์ประยูร และนายตฤณ นิลกรณ์

โจทย์การแข่งขันของ Deep Design คือวัดความสามารถจากการค้นหา Insight จากตัวแทนของกลุ่มผู้ใช้งาน Platform กลุ่ม Gen Z ที่ทางทีมผู้จัดการแข่งขันเตรียมไว้ให้ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาออกแบบ Platform

เกณฑ์การตัดสิน คือ การนำเสนอผลงาน (Pitching) ในเวลา 5 นาที เพื่อนำเสนอผลงานไอเดีย ทั้งนี้ เกณฑ์การให้คะแนนจะวัดจากการทำความเข้าใจผู้ใช้งาน นำเสนอประเด็นที่คนทั่วไปไม่รู้มาก่อน การตีประเด็นปัญหาที่มีความเชื่อมโยงกับ Insight และ สื่อสารเข้าใจ กระชับ ตรงประเด็น
No Description

สิ่งที่ทีม GTBK ทำคือ สร้างประสบการณ์รีวิวสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ โดยนำ Pain Point ของผู้ใช้งานทั่วไปเข้ามาคือ ไม่อยากรีวิวด้วยเหตุผลที่ว่ารีวิวไปก็ไม่ได้อะไร หรืออาจจะขี้เกียจรีวิว นอกจากนี้ระบบการรีวิวแบบให้ดาว ก็ไม่สะท้อนผลลัพธ์ที่ได้

ทีม GTBK จึงเปลี่ยนการรีวิวแบบเขียนและให้ดาว เป็นการให้ Reaction อีโมจิแบบเฟซบุ๊ก คู่กับการโพสต์รูปแบบ Stories ใน Instagram ซึ่งสะท้อนความรู้สึกของผู้รีวิวได้จริงและยังสนุกกว่าการเขียนรีวิวยืดยาวและให้ดาวแบบธรรมดา
No Description

นายเรืองโรจน์ พูนผล ประธาน KASIKORN Business-Technology Group (KBTG) ระบุว่า ด้วยโจทย์ที่เข้มข้นและท้าทายของการแข่งขัน TechJam 2019 by KBTG จะเป็นมาตรฐานใหม่ของการแข่งขันด้านไอที เพื่อเฟ้นหา “ตัวจริง” ที่เป็นสุดยอดฝีมือด้านเทคโนโลยีและการออกแบบที่จะมีส่วนร่วมสร้างอนาคตขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคดิจิทัลต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของ KBTG ที่จะสร้างทีม สร้างคน สร้างวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อม ๆ กับการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เพื่อก้าวไปเป็นบริษัทด้านไอทีอันดับ 1 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ภายในปี 2565

Get latest news from Blognone