Tags:
Node Thumbnail

นักวิทยาศาสตร์จากทั่วโลกร่วมกันโหวตอนุมัติการเปลี่ยนนิยามมาตรฐานของ "กิโลกรัม" ไปแล้วเมื่อกลางวันวันนี้ ณ ที่ประชุมทั่วไปด้านน้ำหนักและการชั่งตวงวัดที่เมืองแวร์ซาย ประเทศฝรั่งเศส

การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนการนิยามจาก "น้ำหนัก 1 กิโลกรัมหนักเท่ากับมวลสารแบบประถมระหว่างประเทศของกิโลกรัม" เป็นการอ้างอิงจากค่าคงที่ธรรมชาติ โดยใช้ค่าคงที่ของพลังค์ (Planck Constant) แทน โดยการวัดเทียบค่าอย่างซับซ้อนเป็นเวลาหลายปี เพื่อให้ได้ค่าคงที่ของพลังค์ที่แม่นยำที่สุดออกมา นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงนิยามของหน่วย เคลวิน โมล และแอมแปร์ เพื่อให้มาอ้างอิงกับค่าคงที่ใหม่ของกิโลกรัมนี้ตามด้วย โดยจะมีผลในวันที่ 20 พฤษภาคมที่จะถึงนี้

ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงนิยามนี้ ไม่ได้ทำให้น้ำหนัก 1 กิโลกรัมเปลี่ยนไปแต่อย่างใด แต่ทำให้เราไม่จำเป็นต้องอ้างอิงกับวัตถุ ที่มีโอกาสเปลี่ยนแปลงมวลโดยไม่ทราบสาเหตุได้ และเราสามารถชั่งน้ำหนักได้อย่างแม่นยำมากขึ้นทุกที่ทุกเวลา

ที่มา: Vox

Get latest news from Blognone

Comments

By: jimmyis on 17 November 2018 - 02:19 #1082366

แพลงค์ (Plank) ไม่มีครับ มีแต่ พลังค์ (Planck)

By: icez
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 17 November 2018 - 13:33 #1082438 Reply to:1082366

แก้ไขแล้วครับ

By: terdsak.s on 19 November 2018 - 12:58 #1082645 Reply to:1082366

เป็นธรรมดาของคนเราที่ต้องมีพลาดพลังค์ไปบ้าง

By: mrdd on 17 November 2018 - 03:48 #1082369

สั้นจนงง

By: petersticker
AndroidWindows
on 17 November 2018 - 17:07 #1082459 Reply to:1082369
petersticker's picture

แบบละเอียดคับ
https://www.bbc.com/thai/features-46195219

By: Witna
ContributoriPhoneAndroidWindows
on 17 November 2018 - 06:17 #1082374

"น้ำหนัก 1 กิโลกรัมหนักเท่ากับมวลสารแบบประถมระหว่างประเทศของกิโลกรัม"

อ่านแล้วงงอะครับ

By: carrot on 17 November 2018 - 09:30 #1082392 Reply to:1082374

ทุกวันนี้ทั้งโลก ถ้าจะอ้างอิง นน. 1KG เขาก็จะเอามาเทียบกับนน.ก้อนนึง แต่ถ้าก้อนนี้มันเพี้ยนไป มันก็เพี้ยนไปกันหมดทั้งโลก หรือถ้าจะไปชั่งมันที่ดาวอังคาร ก็ต้องยกเอาเครื่องชั่งที่เทียบกับไอก้อนนี้ไปด้วย

เค้าเลยเปลี่ยนไปใช้แรงทางฟิสิกส์อ้างอิงแทน ซึ่งทำที่ไหนก็ได้ในจักรวาล และไม่ขึ้นกับไอก้อนนี้ต่อไป แต่ทั้งนี้ 1KG ก็มีค่าเท่าเดิม

By: p-joy on 17 November 2018 - 12:57 #1082430 Reply to:1082392

ประถม​ -​> ปฐมภูมิ​

By: icez
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 17 November 2018 - 13:31 #1082437 Reply to:1082430

อ้างอิงชื่อไทยตาม พรบ.ชั่งตวงวัด ครับ

By: p-joy on 17 November 2018 - 14:58 #1082449 Reply to:1082437

โอเคครับ พึ่งรู้เหมือนกันว่า ในพจนานุกรมราชบัณฑิต คำว่า ประถม = ปฐม

By: In2theBlue
AndroidWindows
on 17 November 2018 - 08:26 #1082378
In2theBlue's picture

ทุกวันนี้ น้ำหนัก 1 kg ชั่งจากวัตถุต้นแบบที่ทำจาก แพลตินัม-อิริเดียม อัลลอย ซึ่งมีข้อเสียคือเกิดมันหายไปหรือเปลี่ยนแปลงค่าก็จะทำให้โลกนี้วุ่นวาย ซึ่งปัจจุบันน้ำหนักมันได้หายไปประมาน 50 ไมโครกรัม ทำให้นักวิทยาศาสตร์อยากเปลี่ยนไปอ้างอิงน้ำหนักจากวัตถุที่มีอยู่ในธรรมชาติแทน ซึ่งมันก็คือค่าคงที่พลังค์ (Planck constant) ซึ่งเป็นคอนเซ็บพื้นฐานของกลไกควอนตัม ที่ไม่มีวันเปลี่ยนแปลงค่านั่นเอง (งงกว่าเก่าไหม แปลมาให้)

By: TigerST
Contributor
on 17 November 2018 - 09:30 #1082391 Reply to:1082378

จริงๆคนเขียนข่าวเขียนจน งง เองครับ ไม่รู้ว่ารีบหรืออย่างไร

By: titleN
iPhone
on 18 November 2018 - 10:46 #1082525 Reply to:1082378

ผมเข้าใจมาตลอดว่าคิดมาจากน้ำ 1 ลิตร = 1 kg สะอีก

By: hisoft
ContributorWindows PhoneWindows
on 18 November 2018 - 15:01 #1082545 Reply to:1082525
hisoft's picture

อันนั้นเลิกไปนานมากแล้วครับเพราะของเหลวอย่างน้ำมีปัญหาเยอะกว่ามาก

By: waroonh
Windows
on 17 November 2018 - 08:35 #1082379

ไม่เข้าใจก็ไม่แปลกครับ

Newtons
น้ำหนัก = m x g (mass x gravity)
g = ประมาณ 9.8 m/sกำลังสอง

Einstein
และ e = m c ยกกำลังสอง
c คือ speed of light m/s

Quantum
และ e = h c / ความยาวคลื่นที่ Sub Atomie ปล่อยออกมา
h คือ Planck constant

เปลี่ยนจาก เอา Kg ไปหา h
ก็ fix h แล้วคำนวนว่า
ค้องใช้อะตอมของอะไร จำนวนเท่าไหร่
จึงจึงจะเท่ากับ 1 Kg

ในเมื่อวิธีการหา h เปลี่ยน
วิธีการคำนวน กระแสไฟ คำนวนด้านเคมี อุณภูมิ ก็ต้องไปเริ่มจาก h ตามไปด้วย

By: sian
Windows PhoneAndroidWindows
on 17 November 2018 - 09:53 #1082399
sian's picture
By: iamfalan
iPhoneAndroidWindows
on 17 November 2018 - 11:02 #1082408

คือปกติเขาจะสร้างก้อน 1กิโลขึ้นมาครับ มีก้อนเดียวในโลก
แล้วก็ทำก้อนเทียบเท่าให้แต่ละประเทศเก็บไว้
แต่ปัญหาคือมันจะมี error ครับ
ที่ผ่านมาหน่วยวัดอื่นๆก็เป็นแบบนี้ แต่ตอนหลังเขาพยายามเปลี่ยนเป็นการเทียบเคียงกับธรรมชาติ เช่นระยะทางที่แสงสามารถเดินทางในช่วงเวลาหนึ่งมากำหนดระยะทาง อะไรแบบนี้ครับ

By: TigerST
Contributor
on 17 November 2018 - 17:18 #1082461 Reply to:1082408

จริงๆอย่างเคส kg ไม่เชิง Error เชิงการวัดเน้อ เพียงแต่มวลที่เก็บที่ฝรั่งเศสเวลามาสอบทานใหม่มวลมันหายไป(จากการสลาย)
เพราะนิยามของ SI ที่ใช้ตอนนี้คือ
The kilogram is the unit of mass; it is equal to the mass of the international prototype of the kilogram. ซึ่งถามว่า Error ไหม ถ้าใช้นิยามนี้ถ้ามวลสลาย ไม่ Error นะครับ เพราะมวลอ้างอิงมันก็ใช้ก้อนนั้นแหละ แต่พอสอบทานมันไม่เท่าอะ เลยต้องแก้ เพราะสุดท้ายมวลต้นแบบต้องสลาย

ปอลิง ขออ้างอิง BIPM นะครับ
Initially the IPK had two official copies; over the years, one official copy has been replaced and four others have been added, so that there are now six official copies.
นะครับ ไม่ได้มีก้อนเดียวในโลก เขาใช้วิธีจากมวลก้อนนั้นที่ประชุมกันครั้งแรก ก็สร้างเก็บไว้ แล้วสร้าง Copy เพิ่ม เผื่อมันหายโน่นนี่นี่นั่น

จริงๆในปีที่แล้วถ้าจำไม่ผิดมีการสอบทานค่าต่างๆ เช่นค่าคงที่ของพลังค์ เลขอโวการ์โดร์ ก่อน เพื่อให้แม่นเพราะมันมีความไม่แน่นอนในการวัดของไฮเซนเบิร์กมาเกี่ยว เพราะอย่างโมล ถ้าบอกว่าอ้างอิงจำนวนอะตอมของ C-12(คาร์บอนมี 3 ไอโซโทป) มวล 12 กรัม มวลก็สลายได้

By: tekkasit
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 18 November 2018 - 13:14 #1082540
tekkasit's picture

ที่สถาบันมาตรวิทยา เค้าใช้คำนี้นะครับ

มวลของตุ้มน้ำหนักต้นแบบระหว่างประเทศ แทน (International Prototype of Kilogram, IPK)

ไม่ใช่ ประถม, ปฐม ใดๆ คืองง ว่าต้นฉบับคับ Prototype ไหงออกมาเป็น ประถม, ปฐมได้?

By: icez
ContributoriPhoneAndroidRed Hat
on 19 November 2018 - 00:09 #1082594 Reply to:1082540

อ้างอิงชื่อไทยตาม พรบ.ชั่งตวงวัด ครับ หน้า 22

By: titleds
AndroidUbuntuWindows
on 19 November 2018 - 14:16 #1082664

ลาก่อน เลอ-กร็องกา