Tags:
Topics: 
Node Thumbnail

การเป็นนิรนาม (Anonymity หรือ Anonymous) และอินเทอร์เน็ตอาจจะดูว่าเป็นสิ่งคู่กัน แต่ในมุมมองของ Alexander Ntoko หัวหน้าฝ่ายแผนปฏิบัติการของ International Telecommunication Union (ITU) อินเทอร์เน็ตในยุคเริ่มต้นไม่ได้เป็นเช่นนั้น และมันก็ไม่ควรจะเป็นเช่นนั้นในอนาคตเช่นกัน

ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะมีกระแสการเรียกร้องถึงการทำให้อินเทอร์เน็ตเป็นสภาวะนิรนาม แต่ Ntoko มีมุมมองที่แตกต่างออกไป โดยเขาเชื่อว่าบางส่วนของข้อมูลส่วนตัวควรถูกเปิดเผยไว้ เพราะข้อมูลบางอย่างเราสามารถรับรู้ได้ทันทีจากการพบกันซึ่งหน้าแต่ไม่สามารถรับรู้ได้จากการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น รู้ว่าคนที่กำลังพูดคุยด้วยอยู่ขณะนี้เป็นเด็กหรือผู้ใหญ่, อยู่ในพื้นที่ภูมิภาคเดียวกันหรือไม่ หรือแม้กระทั่งรูปร่างลักษณะเป็นยังไง เขายังบอกอีกด้วยว่าในยุคเริ่มแรก อินเทอร์เน็ตก็เป็นเช่นนี้ คือไม่ได้ถูกสร้างโดยมีเป้าหมายว่ามันจะต้องเป็นสังคมนิรนาม

"ในยุคเริ่มแรกของอินเทอร์เน็ต มันเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อของบุคคลที่รู้จักกัน ในยุคของ ARPAnet นั้นทุกคนรู้จักกันหมด คุณสามารถระบุได้เลยว่ากำลังติดต่อกับใครอยู่เพียงแค่ดูจาก IP address"

แต่ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตถูกนำไปใช้เป็นหนึ่งในหัวใจหลักของระบบสาธารณูประโภค และจะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจในยุคต่อๆ ไป ซึ่งหากว่าไม่มีการสร้างอัตลักษณะในสังคมออนไลน์ (Online Identity) อาจจะทำให้เกิดการลิดรอนสิทธิของผู้ใช้ได้

"บางคณะรัฐบาลอาจจะตัดบริการบางอย่างออกไปเพื่อตัดปัญหา เนื่องจากไม่สามารถแยกแยะได้ว่าใครเป็นใครที่ใช้บริการพวกนั้นอยู่"

ถึงแม้ว่า IP address จะสามารถใช้ในการแยกแยะบุคคลได้บ้าง แต่ IP address นั้นผูกติดอยู่กับพิกัดที่อยู่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล และถึงแม้ว่า IPv6 จะสามารถทำให้บุคคลทุกคนมี IP เป็นของตัวเองได้ แต่มันก็ไม่สามารถทำให้เกิดขึ้นจริงได้ เพราะ IPv6 ท้ายที่สุดแล้วก็ยังผูกติดอยู่กับพิกัดหรือวัตถุ ไม่ใช่บุคคลผู้ใช้จริงของมัน

"เราเชื่อมต่ออุปกรณ์และสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกัน จนถึงจุดจุดหนึ่ง เราต้องเริ่มหาทางแยกแยะแล้วว่าอะไรเป็นเพียงสิ่งของหรืออุปกรณ์ และอะไรเป็นคนจริงๆ ซึ่งหากว่าไม่มีการสร้างวิธีแยกแยะบุคคลบนอินเทอร์เน็ตเลย มันจะเป็นเรื่องที่ยากมาก ในขณะนี้มีบริการบางอย่างที่เราไม่สามารถบอกได้เลยว่า เรากำลังให้บริการอยู่กับโปรแกรม[ของวัตถุสิ่งของเครื่่องใช้ต่างๆ] หรือคนจริงๆ"

มันอาจจะเป็นไปได้ที่องค์กรอย่าง Facebook จะสามารถกลายมาเป็นผู้ให้บริการในการแยกแยะบุคคลได้ แต่มันก็ยังมีปัญหาอยู่ เช่นว่า มีข้อจำกัดในการเข้าถึง, รัฐบาลบางที่อาจจะไม่ไว้ใจในการที่จะให้ Facebook หรือบริษัทใดๆ มาทำหน้าที่ในจุดนี้ หรือขึ้นอยู่สถานที่ตั้งของบริษัท บริษัทเหล่านั้นอาจจะไม่สามารถทำตามกฎหมายควบคุมการใช้ข้อมูลจากต่างชาติ (data-protection laws) ของประเทศอื่นๆ ได้

ที่มา - ZDNet Australia

Get latest news from Blognone

Comments

By: nuntawat
WriterAndroidWindowsIn Love
on 9 February 2012 - 21:27 #381997
nuntawat's picture
  • "ทำให้เกิดปัญหาในลดสิทธิของผู้ใช้ได้" น่าจะเรียบเรียงใหม่ได้เป็น "ทำให้ไปลิดรอนสิทธิของผู้ใช้"
  • อินเตอร์เน็ต -> อินเทอร์เน็ต
By: HudchewMan
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 9 February 2012 - 23:45 #382019
HudchewMan's picture

เห็นด้วยกับประเด็นนี้ เพราะทุกวันนี้นักเลงคีย์บอร์ดจำนวนมากมักคิดว่าในโลกอินเทอร์เน็ตไม่มีใครรู้จัก จะกากจะเกรียนยังไงแบบไหนก็ได้


~ HudchewMan's Station & @HudchewMan~

By: platalay
iPhoneWindows PhoneAndroidWindows
on 10 February 2012 - 00:33 #382036 Reply to:382019

แล้วก็โดนสาวไส้มาเยอะแล้วเช่นกัน

By: Kazu
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 9 February 2012 - 23:56 #382022

เห็นด้วย แฃะเคยคิดแบบนี้มานานแล้ว ปัญหาในอินเตอร์เน็ทส่วนใหญ่ที่มันเกิดในตอนนี้ก็มาจากการที่มันนิรนามนี้แหละ

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 10 February 2012 - 00:31 #382034

กลับกัน ความนิรนาม ทำให้เรามองเห็นถึงตรรกะและเหตุผล ของแต่ละคคห.และตัดสินจากสิ่งที่เขาพูด/พิมพ์ โดยไม่จำเป็นต้องใช้อคติจากหัวโขนในโลกจริง ที่เราอาจต้องเกรงใจ ไว้หน้า หรือเกลียดชังมาปะปนหรือบดบังในการคิดพิจารณาหรือแสดงความคิดเห็นครับ

เอาง่ายๆ ถ้าผมบอกว่าผมเป็นดร.จากNASA หรือจริงๆแล้วเป็นอาจารย์ของคุณ เวลาพูดอะไรก็มีคนรับฟังมากกว่าผมบอกว่าผมเป็นชาวนาหรือเป็นเด็กประถมหรือเปล่า? (บางท่านอาจจะไม่สนใจ แต่ผมเคยเจอโดนถามระดับการศึกษาในเวบนึง เพื่อพยายามdiscreditคคห.ผม ทั้งๆที่มันไม่เกี่ยวกับสิ่งที่ผมพูดเลยสักนิดเดียว ซึ่งสุดท้ายแล้วกลายเป็นว่ามันไม่ใช่อย่างที่เขาคิดซะอีก)

มันก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ที่จะต้ัองมาหาจุดสมดุล

By: Kazu
iPhoneWindows PhoneAndroidUbuntu
on 10 February 2012 - 00:48 #382045 Reply to:382034

นิรนาม ก็มีนะที่คุณว่ามา อย่างเว็บทั่วไปก็วัดกันที่จำนวนโพส เห็นบ่อยๆ หรือวัดกันที่ตำแหน่งในเว็บ admin mod หรือหน้าตาของยูเซอร์ในเว็บนั้นๆ(สิ่งที่เคยทำมา) ซึ่งสุดท้ายมันก็ไม่ได้ต่างอะไรกับชีวิตจริง ทำอะไรคนอื่นก็จะมองแบบนั้น นิรนามหรือไม่ก็ตาม แต่จะต่างที่นิรนาม คุณสามารถ reset ตัวเองได้ทุกเมื่อเพียงแค่สมัครใหม่ ต่างจากชีวิตจริงที่ถ้าคุณทำอะไรผิดมันก็จะติดไปยันตาย มันน่าจะมีผลต่อสามัญสำนึกของคนมากพอสมควรเลย

By: Fourpoint
Windows PhoneAndroidSymbian
on 10 February 2012 - 09:45 #382127 Reply to:382045

เรื่องสร้่างอัตลักษณ์ตัวตนในเนท ก็เป็นเรื่องที่บางคนชอบไม่ชอบแตกต่างกันไป โดยส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับสิทธิพิเศษใดๆจากการตอบเยอะๆ เพราะมันก็แค่การตลาดของเวบแบบหนึ่ง ให้คนอยากมาช่วยกันมีปฎิสัมพันธ์ในเวบนั้นมากๆเท่านั้นเอง

ส่วนเรื่องความรับผิดชอบ ผมว่า ไม่ว่ากรณีใดๆ จะนิรนามหรือไม่ ผู้ใช้ก็ต้องรับผิดชอบทางกฎหมายอยู่แล้วนี่ครับ? ก็เห็นมีคดีคอมฯและคดีหมิ่นประมาทกันประจำ ยกเว้นว่าคุณไป post ในประเทศที่เขามีเสรีภาพในการพูดมาก รัฐนั้นๆอาจจะไม่คิดว่าสิ่งที่คุณไม่ชอบว่าเป็นความผิดก็ได้

เรื่องเกรียนหรือไม่ ไม่เห็นจะเกี่ยวกันเลย บางเวบบางที่loginมีอายุ post รูปตัวเองบ่อยๆมีลูกมีเมียแล้ว กลับไปเกรียนทะเลาะกับเด็กๆอย่างไร้เหตุผลก็เยอะ ยิ่งเอาหัวโขนในโลกจริงมาเท่าไร ยิ่งมีอัตตาเยอะขึ้นครับ ประมาณว่าเถียงเด็กด้วยเหตุผลไม่ได้ก็ต้องโวยวายใช้อาวุโสข่ม ความเกรียนไม่เข้าใครออกใครครับ

แต่การบ่งบอก เพศ อายุ มันก็สร้างอคติในการสนทนาได้แล้วอย่างหนึ่ง เช่นในเวบโลกสวย ถ้ากระทู้ไหนลงท้ายด้วย "ค่ะ" จะมีคนรีบมาช่วยกันตอบเต็มไปหมด และจะยอมรับการใช้เหตุผลวิบัติของคนนั้นได้ง่ายขึ้น ทั้งๆที่บางทีก็เป็นผู้ชายปลอมตัวมาด้วยซ้ำ ที่บางคนไม่ชอบการปกปิด เพราะกลัวเจอชายปลอมเป็นหญิงแล้วจะเสียอารมณ์ที่เสียเวลาจีบไปแบบนี้หรือเปล่า(ฮา)

โดยส่วนตัวแล้วเสน่ห์ของ internet คือการที่เราสามารถโต้ตอบกันได้ โดยการพิจารณาจากความเหตุเป็นผลของสิ่งที่เขาโต้ตอบล้วนๆ ไม่ต้องคอยพะวงหัวโขนในโลกจริงนี่แหละ อย่าง FB เองก็น่าเบื่อ บางครั้งเห็นเพื่อนเรา(ที่ไม่สนิทมาก)ใช้เหตุผลวิบัติด่ากันแรงๆโชว์ขึ้นมาในหน้ารวม เราก็อยากจะไปโต้แย้ง ก็ต้องเกรงใจเขา(เคยไปโต้แย้งตรงๆ เจ้าตัวก็บอกว่าฉันอยากจะด่ามีอะไรไหมไม่สนใจรับฟังอะไรทั้งนั้น แล้วก็มีคนอื่นมารุมบอกว่า ไว้หน้าเพื่อนกันบ้าง อย่าแย้งตรงๆ?!?!) มันทำให้รู้สึกว่าสุดท้ายก็ต้อง fake กันมากขึ้น ทั้งๆที่เราเปิดเผยตัวจริงกันมากขึ้นนี่แหละ

ผมเลยคิดว่า หัวโขน เก็บไว้ในโลกจริงก็พอจะดีกว่าไหม?

By: deeplite
Android
on 14 February 2012 - 00:22 #383261 Reply to:382127
deeplite's picture

+755 ครับ

By: deeplite
Android
on 10 February 2012 - 01:42 #382062
deeplite's picture

ไม่จริงหรอกครับ ถึงจะนิรนามแต่ก็ต้องรับผิดชอบตาม กฎหมายครับ

ยกตัวอย่างง่ายๆ เวลาเราไปที่ไหนก็คงไม่อยากจะแขวนป้ายไว้ว่าเราชื่ออะไร นามสกุลอะไร และเราก็คงจะไม่อยากให้ใครๆรู้ว่าเราไปไหนมาบ้าง
ความเป็นส่วนตัวก็สำคัญครับ เราไม่มีหลักประกันว่า web site จะไม่เอาข้อมูลเราไป ทำอะไรที่ไม่ถูกต้องและ การเข้าถึง internet ของเรา จะถูกติดตามได้ง่ายเช่นเดียว กับ การที่มีคนติด gps ไว้กับเราตลอดเวลา

By: plawanja
Android
on 10 February 2012 - 08:05 #382105 Reply to:382062
plawanja's picture

ตามกฏหมาย ต้องเกิดความเสียหายขึ้นก่อนน่ะสิครับ มันไม่เหมือนในหนัง minority report ที่จะมีตำรวจอนาคตมาเช็คบิลล่วงหน้า
สังคมนิรนามก่อให้เกิดปัญหาการล่อลวงทางเพศ ฉ้อโกง ฯลฯ

สมาชิก blognone เริ่มต้นกันง่ายๆ ด้วยการเอารูปจริงมาแปะ ก็น่าจะดีนะครับ

By: naphob
ContributoriPhone
on 10 February 2012 - 08:42 #382109 Reply to:382062

เพราะข้อมูลบางอย่างเราสามารถรับรู้ได้ทันทีจากการพบกันซึ่งหน้าแต่ไม่สามารถรับรู้ได้จากการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต เช่น รู้ว่าคนที่กำลังพูดคุยด้วยอยู่ขณะนี้เป็นเด็กหรือผู้ใหญ่, อยู่ในพื้นที่ภูมิภาคเดียวกันหรือไม่ หรือแม้กระทั่งรูปร่างลักษณะเป็นยังไง

ผมเห็นด้วยกับเค้าตรงนี้นะ คือไม่ต้องถึงขั้นบอกเราว่าชื่อไร ประวัติอะไร แต่อย่างน้อยควรจะรู้ลักษณะคร่าวๆของคนนั้นได้บ้าง ไม่ใช่ชายปลอมเป็นหญิง หญิงปลอมเป็นชาย ปลอมเป็นเด็ก แล้วก็มาดราม่ากัน

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 10 February 2012 - 01:58 #382064
McKay's picture

ก็แค่เหตุผลหนึ่งเพื่อเข้าแทรกแซงตัวบุคคลของรัฐบาล และ ITU/FBI?

Don't those Feds know how much they've been hated?

ปล. อ่าน Talkback ในที่มาแล้วสะใจ "Remind me again how people can get to a leadership position with absolutely no practical knowledge?"


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: HMage
AndroidWindows
on 10 February 2012 - 02:22 #382070

ผมว่ามันมีทั้งข้อดีข้อเสียซึ่งต้องดูเป็นกรณีไปนะครับ

ถ้าเชื่อมกับตัวบุคคล

  • ผู้ใช้ต้องรับผิดชอบการกระทำทุกอย่างด้วย ซึ่งมีข้อดีคือเกรียนและอาชญากรจะต้องยั้งมือบ้าง แต่ก็ทำให้ต้องระวังผลเสียทุกอย่างแม้เพียงเล็กน้อยก็ตาม เช่น ต้องเกรงใจเวลาคุยกับผู้ใหญ่จะวิจารณ์ก็ไม่ได้
  • สามารถเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลได้ง่าย ทำให้สะดวกในหลายๆ เรื่อง แต่ก็อันตรายกรณีที่มีผู้ประสงค์ไม่ดีต่อผู้ใช้เช่นกัน

ถ้าไม่เชื่อม

  • อย่างที่เห็นๆ กันอยู่ จะกากเกรียนยังไงก็ได้
  • สะดวกมากๆ ในกรณีที่เป็นการสื่อสารทางเดียว เช่น อ่านประกาศ, ส่งเสริมการขาย

สรุป ผมเห็นว่าต้องทำไว้ทั้ง 2 ระบบ ด้วยเหตุผลเดียวกับที่ต้องแลกบัตรเข้าตึกนั่นแหละครับ

By: McKay
ContributorAndroidWindowsIn Love
on 10 February 2012 - 02:34 #382072 Reply to:382070
McKay's picture

ระบบกากเกรียนนี่แก้ด้วย Username และ User Privilege ได้นะครับ


Russia is just nazi who accuse the others for being nazi.
someone once said : ผมก็ด่าของผมอยู่นะ :)

By: j03w
ContributoriPhoneAndroid
on 10 February 2012 - 20:05 #382370
j03w's picture

ในความเป็นจริงมันคงเป็นไปได้ยากมากๆ ครับ ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับความคิดเห็นของคนที่มา comment ในบทความต้นฉบับสุดๆ ผมเข้าใจว่าสิ่งที่คนให้สัมภาษณ์ต้องการสื่อได้หมายถึงจะใช้ IPv6 เป็น ID

แต่ถ้ามองในมุมของ info sec จริงๆ แล้วมันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมี ID ออนไลน์ มันจะมีระบบอะไรที่ออกมาแล้วยืนยันได้ว่าจะไม่มีการปลอมแปลงกันได้ครับ?​


The Cake is a Lie